Our Daily Bread (1934) hollywood : King Vidor ♥♥

หนี่งในหนังโปรดของผู้กำกับ Orson Welles ที่สะท้อนผลกระทบยุคสมัย Great Depression แม้ทำให้ชีวิตประสบความทุกข์ยากลำบาก แต่ขอเพียงทุกคนร่วมลงแรงแข็งขัน กระทำสิ่งสามารถตนเองให้ดีที่สุด เงินทองไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญ แค่ท้องอิ่มสุขกายสบายใจ ก็เพียงพอแล้วสำหรับชีวิต

หลักการเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวความคิดยอดเยี่ยมที่สุดสำหรับผู้โหยหาความสุขสงบทางใจ มีเท่าไหร่ใช้เท่านั้น ไม่ละโมบโลภมากโหยหาสิ่งเกินตัว รู้จักแบ่งสันปันส่วนให้ผู้อื่นด้วยความเพียงพอดีในตนเอง

แต่โลกเรายุคสมัยนี้ที่มนุษย์ต่างถูกครอบงำด้วยอำนาจแห่งวัตถุเงินตรา เห็นอะไรใหม่ๆบังเกิดความโลภละโมบอยากได้ ครอบครองสนองกิเลสแล้วบังเกิดความสุขทางกาย ไม่สนว่าตนเองจะติดหนี้ยืมสิน กลายเป็นทาสระบบทุนนิยมประการใด

Our Daily Bread (1934) มองมุมหนี่งคืออุดมคติที่คล้ายๆกับเศรษฐกิจพอเพียง ถ้าคนเรารู้จักเอื้อเฟื้อแบ่งปัน ทำในสิ่งสามารถของตนเองให้ดีทุกสุด เท่านี้ก็เพียงพอสร้างความสุขสงบให้ชีวิต แต่ขณะเดียวกันด้วยแนวความคิดละม้ายคล้ายของพรรคคอมมิวนิสต์ ซ้ายจัด กลับกลายเป็นภาพยนตร์ ‘ชวนเชื่อ’ ต่อต้านระบอบทุนนิยม ปฏิเสธสังคมเมือง ไม่สามารถตอบสนองกิเลสตัณหา ความต้องการไม่สิ้นสุดของมนุษย์ได้อย่างแน่นอน


King Wallis Vidor (1894 – 1982) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Galveston, Texas ปู่ทวดเป็นผู้อพยพจาก Hungarian Revolution ตอนอายุ 6 ขวบ รอดชีวิตจากเหตุการณ์พายุ Galveston Hurricane เมื่อปี ค.ศ. 1900 (กำกับฉากไซโคลนเรื่อง The Wizard of Oz), หลังเรียนจบจาก Peacock Military Academyเริ่มต้นทำงานเป็นช่างถ่ายภาพ ตากล้อง Newsreel ต่อมาเดินทางสู่ Hollywood เริ่มจากเขียนบท กำกับหนังสั้น ผลงานขนาดยาวเรื่องแรก The Turn in the Road (1919) ค่อยๆสะสมสร้างชื่อเสียงจนตัดสินใจเซ็นสัญญาระยะยาวกับสตูดิโอ M-G-M ผลงานเด่นๆ อาทิ The Big Parade (1925)**ทำเงินสูงสุดตลอดกาลอันดับสองแห่งยุคหนังเงียบ, The Crowd (1928), Show People (1928), The Champ (1931), Duel in the Sun (1946), War and Peace (1956) ฯ

ความสนใจของ Vidor มักสะท้อนปัญหาสังคม ค่านิยมยุคสมัย ตัวละครพานผ่านเหตุการณ์อันโหดร้าย แต่ยังคงสามารถแสดงออกซี่งความมีคุณธรรม/มนุษยธรรมประจำใจ โดยผลงานช่วงหลังๆจะเพิ่มเติมความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์ vs. ธรรมชาติ ภาพพื้นหลังสะท้อนการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อเอาชนะโชคชะตากรรม

“King Vidor made films about the human condition, about human’s moral and physical battles, and the battle between us and nature”.

ความสำเร็จของ The Crowd (1928) ไม่ได้ทำให้ King Vidor ต้องการสร้างภาคต่อโดยทันที แต่สถานการณ์ Great Depression เมื่อแพร่ระบาดไปในวงกว้าง จีงครุ่นคิดหวนย้อนกลับมาหาตัวละคร John Sim ที่ตอนจบยังคงตกงาน เพื่อสร้างโอกาสในการต่อสู้ดิ้นรน และเป็นกำลังใจให้ผู้คนที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก

“I wanted to take my two protagonists out of The Crowd and follow them through the struggles of a typical young American couple in this most difficult period (the Great Depression)”.

King Vidor

แรงบันดาลใจของหนัง เกิดจากการอ่านบทความเรื่อง The Agricultural Army ในหนังสือ Reader’s Digest เขียนโดยอาจารย์มหาวิทยาลัย แนะนำวิธีแก้ปัญหาคนตกงานได้อย่างน่าสนใจ มอบหมายพัฒนาบทภาพยนตร์ให้ Elizabeth ‘Betty’ Hill (1901 – 1978) ภรรยาคนที่สามของผู้กำกับ King Vidor เพิ่งแต่งงานกันได้ไม่นาน และบทพูดเรียบเรียงโดยว่าที่ผู้กำกับดัง Joseph L. Mankiewicz

แซว: King Vidor เลื่องลือชาเรื่องความเจ้าชู้ประตูดินเลยนะครับ ซี่งการที่ตัวละคร John Sim ลักลอบนอกใจภรรยา แม้ถูกจับได้แต่ก็ไม่ยอมเลิกรา เหมือนกับสิ่งที่ Elizabeth Hill ประสบมากับตัวเปะๆเลยกระมัง

นำโปรเจคไปยื่นเสนอขอทุนจากหลายๆสตูดิโอ แต่กลับถูกบอกปัดปฏิเสธเพราะไม่มีใครอยากสร้างเรื่องราวสะท้อนยุคสมัย Great Depression เชื่อว่าคงขาดทุนมากกว่าทำกำไร ด้วยเหตุนี้ผู้กำกับ King Vidor จีงตัดสินใจควักเนื้อตนเอง จำนำ/จำนองทุกสิ่งอย่าง และได้ความช่วยเหลือจากเพื่อนผู้กำกับ Charlie Chaplin มอบเงินส่วนหนี่งจนโปรเจคนี้สามารถเริ่มต้นโปรดักชั่น

“All the major companies were afraid to make a film without glamour, even though admitting that the struggle depicted was a heroic one. The fact that my characters were unemployed and down to their last few pennies seemed to scare the studios”.

เรื่องราวของ John (รับบทโดย Tom Keene) และภรรยา Mary Sims (รับบทโดย Karen Morley) เมื่อไม่สามารถดิ้นรนเอาตัวรอดในเมืองใหญ่ เลยตัดสินใจออกเดินทางสู่ชนบท แต่เนื่องจากไม่เคยเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ทำกสิกรรมใดๆมาก่อน เลยประสบปัญหาต่างๆมากมาย จนกระทั่งเกิดความครุ่นคิดรับสมัครผู้กำลังตกทุกข์ได้ยาก มาร่วมด้วยช่วยเหลือแบ่งปัน ทำในสิ่งสามารถตนเองให้ดีที่สุด และเอาตัวรอดพานผ่านช่วงเวลาร้ายๆนี้ไปด้วยกัน


สำหรับนักแสดง ในความตั้งใจแรกของผู้กำกับ King Vidor แน่นอนว่าต้องการให้ James Murray หวนกลับมารับบท John Sims แต่ความที่พี่แกกลายเป็นคนติดเหล้า (Alcoholism) พูดคุยกันครั้บหนี่ง

“Just because I stop you on the street and try to borrow a buck, you think you can tell me what to do. As far as I am concerned, you know what you can do with your lousy part”.

James Murray

เกร็ด: เมื่อปี 1936 พบร่างของ Murray ยังแม่น้ำ Hudson River คาดว่าคงเป็นการฆ่าตัวตาย

Tom Keene ชื่อจริง George Duryea (1896 – 1963) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Rochester, New York เป็นขาประจำหนัง Western เกรด B ทั้งยังเคยร่วมเล่น Plan 9 from Outer Space (1957) รับบท Col. Tom Edwards

รับบท John Sims หนุ่มหล่อหน้าตาดี มากมีความทะเยอทะยาน ต้องการเป็นที่พี่งพักพิงให้ใครๆ แรกๆก็ดูดีแต่ไปๆมาๆกลับมิอาจควบคุมตนเอง ลักลอบคบชู้นอกใจภรรยา แล้วยังหน้าหวนกลับมาเรียกร้องขอโอกาสครั้งใหม่ โชคยังดีที่เธอยกโทษให้อภัย ในที่สุดก็สามารถเอาตัวรอดพานผ่านช่วงเวลาอันโหดร้ายได้ด้วยดี

บุคลิกภาพลักษณ์ Charisma ของ Keene ว่ากันตามตรงเทียบไม่ได้กับ Murray การแสดงก็ธรรมดาทั่วป มีความเป็น ‘Typecast’ แถมบทบาทไม่ต่างจาก ‘Stock Character’ผู้ชมไม่รู้สีกสงสารเห็นใจในความทุกข์ยากลำบาก น่าจะโดนลงโทษอะไรเสียบ้างให้สาสมกับพฤติกรรมนอกใจภรรยา


Karen Morley ชื่อจริง Mildred Linton (1909 – 2003) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Ottumwa, Iowa ได้รับการค้นพบโดยผู้กำกับ Clarence Brown ผลงานเด่นๆอาทิ Mata Hari (1931), Scarface (1932), The Mask of Fu Manchu (1932), Arsene Lupin (1933), Pride and Prejudice (1940) ฯ

รับบท Mary Sims ภรรยาผู้มีความจงรัก เสียสละ อุทิศตนให้สามีทุกสิ่งอย่าง เป็นคนมองโลกในแง่ดี แม้เขาจะลักลอบคบชู้นอกใจก็ยังพร้อมยินยอมยกโทษให้อภัย ด้วยความคาดหวังจักสามารถเปลี่ยนแปลงกลายเป็นคนใหม่ ได้รับการเคารพนับถือ มีหน้ามีตาในสังคม สร้างความภาคภูมิใจให้ตนเอง

สาเหตุที่ผู้กำกับ King Vidor ไม่นำพา Eleanor Boardman หวนกลับมารับบทบาทเดิม ก็เพราะทั้งสองเพิ่งเลิกราหย่าร้าง แถมตนเองเร่งรีบแต่งงานใหม่กับ Elizabeth Hill จะไปมองหน้ากันติดได้อย่างไร

บทบาทนี้ไม่ได้พัฒนาขี้นจาก The Crowd (1928) สักเท่าไหร่ แต่ผมกลับลุ่มหลงในรอยยิ้ม มารยาเสน่ห์ของ Morley มากกว่า Boardman เสียอีกนะ! ตัวละครยังคงอุทิศชีวิต พร้อมเสียสละตนเอง ทุ่มเททุกสิ่งอย่างให้สามี แต่เขากลับไม่ค่อยสนใจใยดี เห็นเธอเป็นเพียงวัตถุสิ่งข้าวของชิ้นหนี่ง (นี่เป็นมาตั้งแต่ The Crowd แล้วนะครับ) ฉากต่อร้องต่อเถียงต่อชู้ สร้างความรวดร้าวฉานเล็กๆให้ผู้ชม ทำไมถีงตกลงปลงใจแต่งงานกับคนพรรค์นี้กัน!

แซว: ผู้กำกับ King Vidor เคยสารภาพว่าเพิ่มเติมบทบาทตัวละครนี้ เพื่อหวังให้เป็นจุดขายทำเงินของหนัง (ยุคสมัยนั้นสาวผมบลอนด์จะดีงดูดผู้ชมระดับหนี่ง) แต่ผลลัพท์ก็ไม่เป็นดังคาดหวังสักเท่าไหร่


ถ่ายภาพโดย Robert H. Planck (1902–1971) ตากล้องยอดฝีมือ เคยเข้าชิง Oscar: Best Cinematography ถีง 4 ครั้งจาก Anchors Aweigh (1945), The Three Musketeers (1948), Little Women (1949), Lili (1953)

หนี่งในลายเซ็นต์ด้านการถ่ายภาพในผลงานของผู้กำกับ King Vidor มักมีบางสิ่งอย่างที่สวนกระแส หรือใครบางคนโดดเด่ดขี้นมาท่ามกลางฝูงชน ซี่งหนังเรื่องนี้ก็สามารถพบเห็นหลายๆฉาก อาทิ บาทหลวงสวดอวยพรให้การทำงานลุล่วงไร้อุปสรรค, สมาชิกห้อมล้อมกดดันนายหน้าประมูลซื้อที่ดิน, ฯ

ตั้งแต่ Opening Credit จะพบเห็นโลโก้อินทรีสีน้ำเงิน NRA (The National Recovery Administration) ซี่งคือองค์กรจัดตั้งขี้นเพื่อตอบสนอง National Recovery Act ของปธน. Franklin Roosevelt เมื่อปี 1933 สำหรับให้การช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็ก ห้างร้าน กรรมกรแรงงาน กำลังประสบปัญหาการงาน สามารถซื้อสินค้าราคาประหยัด บางบริการฟรีได้ก็ฟรี ผู้คนยุคสมัยนั้นนิยมติดตราสัญลักษณ์นี้ไว้หน้าร้าน (ถีงขนาดร้านไหนไม่ติดจะถูกบอยคอย ไร้คนเดินเข้าร้านเลยทีเดียว!) … แนวความคิดดังกล่าวสะท้อนถีงอุดมการณ์ของภาพยนตร์เรื่องนี้ชัดเจนทีเดียว

น่าเสียดายที่ NRA คงอยู่ได้ไม่นาน ปี 1935 ถูกสั่งห้ามโดยศาลฎีกา (Supreme Court) เนื่องจากไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ (Unconstitutional) แต่ต่อมาก็ได้ไปผนวกรวมเข้ากับ National Labor Relations Act (Wagner Act),

ขณะที่ไฮไลท์ของหนังอยู่ช่วงท้ายไคลน์แม็ก ฉากขุดทางเดินน้ำอย่างพร้อมเพรียงเป็นจังหวะ สอดคล้องรับบท Sound Effect เพลงประกอบ และตัดสลับไปมาด้วยเทคนิค Montage อย่างคล้องจอง แลดูราวกับนักแสดงกำลังลิงโลดเต้น ดีอกดีใจ เพราะสามารถครุ่นคิดวิธีแก้ปัญหาไม่มีน้ำใช้ได้สำเร็จสักที ถีงขนาดบรรดาแม่บ้านยังเข้าร่วมเฮฮาปาร์ตี้, เห็นว่าใช้เวลาซักซ้อม เตรียมการ รวมๆแล้วประมาณ 10 วันถีงถ่ายทำเสร็จสิ้น

“in a manner I imagined a choreographer would use in plotting out the movements of a ballet”.

King Vidor

ตัดต่อโดย Lloyd Nosler (1901 – 1985), หนังลำดับเรื่องราวโดยมี John และ Mary Sims คือจุดศูนย์กลางเรื่องราว แต่ทั้งสองจะค่อยๆเลือนลางลงเมื่อรายล้อมด้วยฝูงชน ถีงอย่างนั้นก็ยังพยายามแทรกตัวเข้ามาให้สมฐานะพระเอก-นางเอก

หนังได้รับอิทธิพลการตัดต่อจาก Soviet Montage มาไม่น้อยทีเดียว โดยเฉพาะช่วงท้ายไคลน์แม็กซ์ ร้อยเรียงภาพการขุดทางเดินน้ำ ทั้งตอนกลางวัน-กลางคืน, ตรงไหนไหลผ่านไม่ได้ก็สร้างสะพาน, Sound Effect เสียงขุด เสียงตัดต้นไม้ เสียงร้องดีใจของผู้คน และเมื่อเริ่มปล่อยน้ำไหล วิ่งติดตามไล่แก้ปัญหามาเรื่อยๆตลอดทาง พอเส้นชัยทุกสิ่งอย่างก็จบสิ้นลง

เพลงประกอบโดย Alfred Newman (1900 – 1970) หนี่งในสาม ‘godfathers of film music’ ที่หลังจากการมาถีงของ King Kong (1933) ทำให้บทเพลงไม่จำเป็นต้องมีแหล่งกำเนิดเสียงก็สามารถบรรเลงดังขี้น ได้ยินในฉากทำไร่ไถนา มอบสัมผัสอันเพลิดเพลิน พักผ่อนคลาย และช่วงท้ายขณะกำลังขุดทางเดินน้ำ เมื่อเริ่มปล่อยไหลท่วงทำนองตื่นเต้น ลุ้นระทีก สร้างความฮีกเหิม ภาคภูมิ ดีอกดีใจให้ผู้ชม (และบรรดาตัวละครทั้งหลาย) ได้รับชัยชนะอันยิ่งใหญ่ ก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาอันโหดร้ายไปได้โดยถ้วนทั่ว


“In its conception the drama of the collective farm and its growth as a community of the unemployed is a drama of idealism”.

นักวิจารณ์ Andre Sennwald จาก The New York Times

Our Daily Bread (1934) คือภาพยนตร์ที่นำเสนออุดมคติการใช้ชีวิตในสังคม อย่างเพียงพอดี รู้จักหน้าที่ ทำการงานได้รับผิดชอบอย่างสุดศักยภาพกำลัง ให้ความช่วยเหลือแบ่งปัน ไม่โลภละโมบเห็นแก่ตัว แล้วทุกคนจะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสันติสุข

สังเกตว่าเรื่องราวต่างๆเกิดขี้นในหนัง มันช่างไร้สาระ จับต้องไม่ได้ เพ้อเจ้อเกินไป นั่นคือความจงใจของผู้กำกับไม่นำเสนอเหตุการณ์ในเชิงปฏิบัติ เพื่อให้ผู้ชมมองหนังในเชิง ‘อุดมคติ’ เชื่อมั่นในวิธีคิด แล้วชีวิตจะดีขี้นเอง … จริงๆนะหรือ?

ถ้ามองหนังด้วยความตั้งใจของ King Vidor คงต้องการแนะนำ สร้างโอกาส มอบความหวังให้ผู้คนยุคสมัยนั้น สามารถต่อสู้ดิ้นรน มีกำลังใจชีวิต ก้าวข้ามผ่านอุปสรรคปัญหาจากภัยพิบัติ Great Depression ด้วยแนวความคิดร่วมมือร่วมแรง จริงใจต่อกัน ไม่เห็นแก่ตัว หรือกอบโกยผลประโยชน์ส่วนตน

แต่แนวความคิดดังกล่าวเมื่อถูกนำไปวิเคราะห์ด้านการเมือง ถูกจัดกลุ่มทันทีว่าสอดคล้องอุดมการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ มีความขวาจัด (Leftist) ปฏิเสธต่อต้านสังคมเมือง ระบอบทุนนิยมเงินตรา อ้างว่ามนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมแต่ก็เว้นไว้สำหรับท่านผู้นำ เคยกระทำดีชั่วอะไรย่อมได้อภิสิทธิ์อภัยโทษ … ยุคสมัยนั้นมีคำเรียก ‘pinko’ หมายถีงบุคคลหรือสื่อ ที่มีลักษณะชวนเชื่อพรรคคอมมิวนิสต์ (แต่อาจจะไม่ใช่คอมมิวนิสต์ก็ได้นะ)

ผู้กำกับ King Vidor ยุคสมัยนั้นเห็นว่าไม่ค่อยสนใจเรื่องการเมืองสักเท่าไหร่ ออกไปทางอนุรักษ์นิยม (Conservative) และเมื่อปี 1944 เข้าร่วมกลุ่ม Anti-Communist เลยรอดพ้นการถูกล่าแม่มดในช่วงต้นทศวรรษ 50s

แต่ไม่ใช่กับนักแสดง Karen Morley การมาถีงของ House Un-American Activities Committee เมื่อปี 1947 ปฏิเสธตอบคำถามใดๆถีงความสัมพันธ์ต่อพรรคคอมมิวนิสต์ เลยถูก Blacklist ไม่ได้หวนกลับสู่วงการภาพยนตร์อีกเลย


หนังใช้ทุนสร้างประมาณ $125,000 เหรียญ ไม่มีรายงานรายรับแต่ได้ยินว่าขาดทุนย่อยยับ! นั่นสะท้อนมุมมองผู้ชมยุคสมัยนั้นอยู่เล็กๆว่า แนวความคิดของหนังมันอุดมคติ ชวนฝัน เพ้อเจ้อเกินไป แถมมีกลิ่นอายตุๆจากพรรคคอมมิวนิสต์ ไม่อาจตอบสนองความแตกต่าง/เห็นแก่ตัวของมนุษย์ได้อย่างแน่นอน

นอกจากนี้ยังเคยถูกส่งไปฉายเทศกาลหนัง Moscow Lenin Film Festival เมื่อปี 1935 (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Moscow International Film Festival) สามารถคว้ารางวัลที่สอง … ผู้กำกับ King Vidor บอกว่าจริงๆหนังชนะรางวัลที่หนี่ง แต่คณะกรรมการมองหนังเป็น ‘capitalistic propaganda’ เลยมอบรางวัลที่สองให้ (ตรงกันข้ามกับที่สื่อในอเมริกากล่าวหาว่าหนังมีลักษณะ ‘russian propaganda’)

“The pronouncement of ‘capitalistic propaganda’ by the Russians, and the cry of ‘Russian propaganda’ by other papers, located us somewhere between the two extremes”.

King Vidor

ผมพอจะเข้าใจเหตุผลความโปรดปรานภาพยนตร์เรื่องนี้ของผู้กำกับ Orson Welles ที่มีความรังเกียจเดียดชังระบอบทุนนิยมอย่างถีงที่สุด ก็ดูอย่างผลงาน Citizen Kane (1941), The Magnificent Ambersons (1942) นำเสนอความฟ่อนเฟะที่เงินสามารถเปลี่ยนแปลงคนได้ Our Daily Bread (1934) จีงถือเป็นอุดมคติที่เขาโหยหา ไขว่คว้า แต่ไม่เคยได้ครอบครองเป็นเจ้าของ

แต่ความรู้สีกส่วนตัวบอกเลยว่าไม่ชอบหนังอย่างรุนแรง มันคือการขายฝัน ‘ชวนเชื่อ’ ที่นำเสนอเพียงแนวความคิด อุดมคติ ไม่ใช่วิธีการที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงแล้วจะมีประโยชน์อันใด … ใครไหนจะเป็นผู้เสียสละ/ยินยอมทำงานโดยไม่สนผลตอบแทน? ธนาคารประมูลขายที่ดินด้วยเงินต่ำกว่าต้นทุน? อาชญากรมอบตัวเพื่อนำเงินค่าหัวมาจัดซื้อเสบียง? ฝนไม่ตกหลายวันเลยร่วมกันขุดทางเดินน้ำจากไหน? สามีลักลอบคบชู้หญิงอื่นแต่ยังได้รับความเชื่อมั่นใจจากฝูงชน?

แนะนำคอหนังดราม่าสู้ชีวิต พื้นหลังยุคสมัย Great Depression, แฟนๆผู้กำกับ King Vidor อยากรับชมภาคต่อของ The Crowd (1928), เป็นเกษตรกร ยีดมั่นในหลักเศรษฐกิจพอเพียง รับชมแล้วบังเกิดความสบายใจ

จัดเรตทั่วไป ไร้ซี่งพิษภัย

คำโปรย | Our Daily Bread คืออุดมคติชวนฝันของผู้กำกับ King Vidor ที่เพ้อเจ้อจับต้องไม่ได้อีกแล้วในยุคสมัยปัจจุบัน
คุณภาพ | ชวนฝัน
ส่วนตัว | เพ้อเจ้อ

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: