Painted Fire

Painted Fire (2002) Korean : Im Kwon-taek ♥♥♥◊

My poor friend! Genius shows, even in a baby! ศิลปินที่มีชื่อเสียงโด่งดัง มักจะมีอยู่ 2 ประเภทเสมอ หนึ่ง)คืออัจฉริยะตั้งแต่เกิด และสอง)คนที่มีความเพียรพยายามฝึกฝนตัวเองจนไปถึงที่สุด แต่เมื่อใดที่อัจฉริยะทำตัวแบบสอง เขามักจะก้าวผ่านจุดสูงสุดไปยังดินแดนที่ไม่มีใครไปถึง และเมื่อนั้นเขาจะกลายเป็นตำนาน

Chi-hwa-seon เป็นหนังชีวประวัติ Biographical ของ Jang Seung-Ub (นามปากกา Ohwon) นักวาดภาพชื่อดัง ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ Joseon Dynasty ของ Korea จากเด็กกำพร้า ชาติกำเนิดไม่มีใครรู้ อัจฉริยะภาพของ Ohwon เริ่มต้นจากการจ้องมอง จดจำแล้วสามารถวาดภาพนั้นออกมาได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน ทำให้ไปเข้าตาขุนนาง Kim Byung-Moon รับเลี้ยงและเป็นครู (mentor) ไม่นานนักความสามารถของเขาก็เป็นที่รู้จักไปทั่ว จนกระทั่งได้รับตำแหน่งใน Joseon court เพื่อวาดภาพถวายพระมหากษัตริย์ (เป็นคนธรรมดาไม่กี่คนเท่านั้นที่ได้รับเกียรติเช่นนี้) Ohwon ภายหลังได้ถูกยกย่องว่าเป็น 1 ใน 3 ‘Three Wons’ แห่งยุค Joseon-period เคียงคู่กับ Danwon และ Hyewon

Im Kwon-Taek เขาคือผู้กำกับคนแรกของ Korea ที่สามารถคว้ารางวัล Best Director เทศกาลหนังเมือง Cannes จาก Chi-hwa-seon หรือ Painted Fire เรื่องนี้นี่แหละ ซึ่งมันก็สมควรแก่เวลาที่เขาจะได้รับรางวัลในระดับนานาชาติเสียที, Im Kwon-Taek เริ่มทำหนังมาตั้งแต่ปี 1962 เรื่อง Farewell to the Duman River ว่ากันว่าผู้กำกับคนนี้ไม่ได้เริ่มต้นทำหนังจากความชื่นชอบ หรือมีหนังเรื่องที่ประทับใจ กลายมาเป็นแรงบันดาลใจเหมือนผู้กำกับส่วนใหญ่ในสมัยนี้ จะว่าจับพลัดจับผลูมาอยู่ในอาชีพผู้กำกับก็ว่าได้ (เพราะเป็นผู้กำกับรายได้ดี) ก่อนปี 1980 เห็นว่า Im Kwon-Taek กำกับหนัง 8 เรื่องต่อปี เพราะต้องทำตามโควต้าของรัฐบาล** ช่วงนั้นจะเรียกว่าเป็นการฝึกฝนฝีมือ ได้เรียนรู้ ศึกษาวิธีการทำหนังจากการดูหนังดีๆมากมาย ปี 1978 หนังเรื่อง Jokbo (Genealogy or The Family Tree) เป็นหนังเรื่องแรกที่มีความเป็น art-house แสดงถึงจุดเริ่มต้นของการมีสไตล์ของตนเอง และ 1981 หนังเรื่อง Mandala ที่ความเป็นศิลปินในตัวได้ถือกำเนิดขึ้นมา เป็นหนังเรื่องแรกที่ได้ไปฉายตามเทศกาลหนัง ทำให้เริ่มมีคนรู้จักเขาในวงกว้าง

** อ่านรายละเอียด ทำไมยุคนั้นเกาหลีถึงต้องมีโควต้าทำหนังที่ http://www.bilaterals.org/?debate-over-s-korean-film-quota

สไตล์ของ Im Kwon-Taek หลังจากที่ได้ทำหนังเพื่อเงินมามาก เมื่อถึงจุดๆหนึ่ง (เงินพอ) เขาก็มองหาแนวทางอื่นที่น่าสนใจ และได้ค้นพบความชอบส่วนตัว นั่นคือเรื่องราวของชนชาติ เอกราช การมีตัวตนและวัฒนธรรมของเกาหลี จะเห็นได้ชัดกับหนังเรื่อง Sopyonje (1993) และ Chunhyang (2000) ได้นำเสนอ Traditional Korean Musical Art ที่ชื่อว่า Pansori ชาวต่างชาติที่ไม่เคยรู้จักประเทศเกาหลีย่อมไม่ต้องรู้จัก Pansori เป็นแน่ หนังทั้งสองเรื่องประสบความสำเร็จอย่างมากในญี่ปุ่น และได้ไปฉายตามเทศกาลหนังนานาชาติ ทำให้คนทั่วโลกได้เห็น และเข้าใจได้ นี่เป็นการนำเสนอวัฒนธรรม เผยแพร่ไปสู่สายตาชาวโลก, ผมไม่เชิงมองว่า Im Kwon-Taek เป็นคนชาตินิยมนะครับ เขาเคยให้สัมภาษณ์ถึงยุคโควต้าหนังของเกาหลี 8 เรื่องต่อปี บ้าไปแล้ว มันทำให้เขารู้สึกเหนื่อย หลังจากนั้นจึงต้องการทำอะไรที่แตกต่าง นี่คือความชอบที่เขาค้นพบ ไม่สนใครจะว่ายังไง เพราะรักถึงทำ ถ้าไม่รักก็ไม่ทำ

Painted Fire หนังเรื่องที่ 98 ของผู้กำกับ Im Kwon-Taek ใจความของหนังเล่าถึงอัจฉริยะภาพของ Jang Seung-Ub แต่อีกใจความหนึ่ง มองได้คือความอัจฉริยะของ Im Kwon-Taek แต่เขาไม่ได้เกิดมาเป็นอัจฉริยะ กี่ปีไม่รู้ที่ได้ฝึกฝนตัวเอง สะสมประสบการณ์ จากผู้กำกับหนังธรรมดาทั่วไป ค้นพบตัวเอง กลายเป็นศิลปิน จนได้รับการยอมรับในวงกว้าง ณ เวลาที่เขาสร้างหนังเรื่องนี้ ผมถือว่าเขาอยู่ระดับเดียวกับ Jang Seung-Ub แล้ว มันไม่น่าเป็นไปได้ ถ้าศิลปินไม่ได้อยู่ระดับเดียวกันจะสามารถนำเสนอภาพของศิลปินอื่นออกมาได้สวยงาม ยอดเยี่ยมขนาดนี้ แม้ภาพยนตร์กับภาพวาด จะเป็นศิลปะคนละแขนง แต่ใจความอย่างหนึ่งที่เหมือนกัน “ภาพ” มิติของงานศิลปะไม่ใช่แค่สิ่งที่เราเห็น แต่อยู่ลึกเข้าไปข้างใน สาเหตุ เป้าหมาย ใจความ วิธีการ และผลลัพท์ ศิลปะสองแขนงนี้ มีความเหมือนกันบางอย่าง ที่ใช้ตามองอาจเห็นไม่ชัดนัก ต้องใช้ใจดูจะเห็นชัดเลย

นำแสดงโดย Choi Min-sik (Old Boy-2006) ใน Korea มีนักแสดงชาย 3 คนที่ผมถือว่าเป็น King Korea (คล้ายๆ 3 King Khan ของ bollywood) ประกอบด้วย Song Kang-ho (Sympathy for Mr. Vengeance-2002, Memories of Murder-2003), Sol Kyung-gu (Peppermint Candy-1999, Oasis-2002) และ Choi Min-sik, ตัวละคร Jang Seung-Ub ถือว่ามีความขบถมากๆ เมื่อได้การแสดงของ Choi Min-sik ไปแล้ว ใช่เลย นี่แหละขบถเหมือนกัน, ช่วงเวลาที่ตัวละครนี้ค้นหาตัวเอง ผมว่ามันเจ๋งมากๆ เพราะเขากำลังค้นหาสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน ไม่มีใครสามารถให้คำแนะนำกับเขาได้ เพราะนั่นเป็นอาณาจักรที่ไม่มีใครไปถึงมาก่อน มีฉากหนึ่งที่เขาระเบิดออกมา ส่งเสียงกรีดร้องท่ามกลางสายฝน ภายในของเขาปั่นป่วนวุ่ยวาย เรียกร้องถามหา มันอยู่ที่ไหนสิ่งที่เขาค้นหา และการค้นพบ ถือเป็นอะไรที่คาดไม่ถึงทีเดียว บางคนอาจหาไม่เจอว่าช่วงไหน มันคือภาพลิงที่เขาวาดตอนเมาไม่รู้ตัว นั่นคือการค้นพบสไตล์ของตัวเอง แม้ตอนนั้นจะยังไม่เข้าใจก็เถอะว่าตัวเองวาดได้ยังไง แต่นั่นคือจุดสูงสุดของศิลปินคนนี้นะครับ

Son Ye-jin สาวสวยจาก The Classic (2003) กับ April Snow (2005) เธอโผล่มาไม่เยอะ เป็นสาวที่ใส่ฮันบกสีแดงคนแรก จะว่าเธอเป็นรักครั้งแรกของ Jang Seung-Ub แม้จะไม่มีอะไรที่เด่นชัด แต่จากบริบทต่างๆในหนังผมว่ามันชัดเลย และการที่เธอขอให้วาดภาพให้เธอก่อนจะตาย ภาพนกกระเรียน (Crane) นั่นแสดงถึงสิ่งที่ Ohwan มองเห็นเธอในตัวเธอนะครับ

Kim Yeo-jin (Peppermint Candy-2000) หญิงสาวโสเภณีคนแรกที่ใช้ชีวิตร่วมกับ Ohwan, ผมรู้สึกตัวละครนี้โคตรจะเรียกร้องความสนใจเลยนะครับ แรกๆนี่เห็นชัดว่าเป็นหญิงสาวที่เอาแต่ใจมาก อยากทำอะไรก็ทำ อยากได้อะไรก็ได้ พอไม่ได้ก็ทำตัววุ่นวาย (ตัวละครนี้มีนิสัยคล้ายพวกขุนนางในหนัง แต่ฐานะของตัวเองเป็นคนชั้นต่ำ) เหตุที่เธอขายภาพของ Ohwan มันชัดเลยนะครับว่าไม่ใช่เพราะเงิน เธอต้องการประชดเขา ขณะที่ Ohwan วาดภาพให้เธอก็แสดงความยั่ว เพื่อล่อใจเขาให้ยังอยู่กับเธอ แต่ Ohwan นั้นไม่เอาแล้ว ภาพวาดนั้นชัดเลยว่าไม่ได้วาดให้เธอ เธอจึงเอาไปขาย (ขณะที่ภาพที่เขาวาดให้เธอครั้งแรก มันคือภาพวาดที่วาดให้เธอจริงๆ จึงยังเก็บไว้) ช่วงท้ายๆที่พอทั้งคู่แก่ตัวลง ได้มีโอกาสเจอกันอีกครั้ง มีการหวนระลึกถึงอดีตค่ำคืนหนึ่ง แต่ Ohwan ก็เลือกที่จะไม่ทำร้ายเธออีก นี่คงทำให้ตัวละครนี้เข้าใจว่า ทุกอย่างมันสายไปแล้ว ไม่มีทางที่อดีตจะหวนกลับมาเหมือนเดิมได้อีก

ระบบชนชั้น ในเกาหลีก็ไม่ต่างจากไทย อินเดียหรือฝั้งตะวันตกนัก ชนชั้นขุนนางมักจะไม่คิดว่าคนธรรมดา (ชั้นต่ำ) จะสามารถเข้าใจงานศิลปะที่มีความซับซ้อนได้ (นี่รวมถึง Pansori ด้วย) ยิ่งถ้าบอกว่าชนชั้นธรรมดาเป็นผู้สร้างขึ้นมาน้อยคนจะเชื่อ นี่ชัดเจนเลยว่าคือความ Racism (เหยียด)ที่มีในทุกยุคทุกสมัย แน่นอนว่า Jang Seung-Ub ครั้งหนึ่งก็เคยถูกดูถูกดูแคลน แต่เขาไม่สนใจเสียงกาไก่ มีครั้งหนึ่งที่เขาวาดภาพเล่นๆ โดยใช้กิ่งไม้หรือเศษวัสดุที่หาได้จากธรรมดา แน่นอนว่ามันออกมายอดเยี่ยม คนชั้นสูงที่เห็นต่างชื่นชมและขอซื้อไว้ครอบครอง แต่ Ohwan ไม่ให้ เขาทำลายภาพนั้นบอกว่าไม่ได้มีไว้ขาย, ผมรู้สึกฉากนี้มีใจความประชดประชันแรงมากๆ คนชั้นสูงพวกเขาอยากทำอะไรก็ต้องได้ทำ อยากได้อะไรก็ต้องได้ เห็นเงินคือทุกสิ่งทุกอย่าง ภาพวาดของ Ohwan ถึงมันจะยอดเยี่ยมแค่ไหน แต่ต่อให้เป็นกษัตริย์หรือยิ่งใหญ่มาจากไหน ถ้าเขาไม่พอใจ ยังทำไม่เสร็จหรือไม่อยากให้ ไม่ว่าใครก็ไม่มีสิทธิ์ได้

นี่อาจเป็นผลพลอยได้จากการไปถึงจุดสุดสุดของ Jang Seung-Ub นะครับ มันทำให้เขาหยิ่งพยอง ไม่แคร์ต่ออะไรมากนัก เงินทอง ลาภยศ ตำแหน่ง ไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการ … แล้วเขาต้องการอะไร? หญิงที่ตนเคยรัก? อาจารย์ที่ชราวัย? หรืออดีตที่ผ่านไป? ผมคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ในหนังเราแทบไม่เห็นช่วงเวลาที่มีความสุขของ Ohwan เท่าไหร่นัก เขามักจะต้องเผชิญกับอะไรบางอย่าง เจอเหตุการณ์อะไรบางอย่าง ช่วงเวลาในหนังเกิดขึ้นในยุคสงคราม (ระหว่างจีนกับญี่ปุ่น) จนถึงสิ้นราชวงศ์ Joseon (หนังจบที่ตรงนี้พอดี) การเปลี่ยนไปของโลก กระทบต่อมุมมอง ความคิดศิลปินแน่นอน ไม่มากก็น้อย ผมคิดว่า Ohwan ไม่ชอบสงคราม มันขัดกับธรรมชาติของเขา (ผมเห็นภาพวาดของ Ohwan ส่วนใหญ่จะเป็นสรรพสัตว์ ธรรมชาติ ไม่ใช่ภาพคนหรือเมืองนะครับ) การเปลี่ยนแปลงทำให้เขาไม่มีความสุข และหวนระลึกถึงเหตุการณ์ในอดีต, ฉากที่เขาเจอกับอาจารย์ที่คิดว่าอาจถูกฆ่าไปแล้ว นี่แสดงถึงเขาไม่ใช่คนอกตัญญูนะครับ เพราะเขาอยากให้อาจารย์ได้กลับไปสุขสบาย ต้องการตอบแทนทุกสิ่งทุกอย่าง แต่อาจารย์บอกเขาพอแล้ว ไม่ต้องการอะไรมากไปกว่าที่มีอยู่อีกแล้ว

ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนอย่างไร แต่ศิลปินก็ถือเป็นบุคคลสำคัญของชาติ มีช่วงเวลาที่ผมคิดว่า Ohwan ต้องถูกฆ่าแน่ๆ แต่พอคณะปฏิวัติรู้ว่าเขาเป็นคนสำคัญ ก็ปล่อยตัวไป นี่แสดงถึงศิลปะเป็นสิ่งที่เหนือกาลเวลา คนในยุคนั้นอาจไม่เห็นค่า แต่ถ้ามันยังเหลือรอดมาถึงปัจจุบัน กลายเป็นของหายากเมื่อไหร่ เมื่อนั้นไม่ว่าเงินทองจะแค่ไหนก็ไม่สามารถประเมินได้

ตอนจบของหนัง ขึ้นเครดิตไว้ว่า Ohwan หายตัวไปใน Diamond Mountain และภาพบนเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นรูปคนล่องเรือ ที่หมายถึงการเดินทาง แต่อาจหมายถึงการตายก็ได้ (ในตำนานคือวิญญาณคนตายจะล่องเรือข้ามแม่น้ำ ไปขึ้นอีกฝั่งเพื่อจะได้เกิดใหม่) ส่วนการจบในหนัง ผมว่าน่าทึ่งนะที่เลือกจบแบบนี้ เกิดจากไฟ ตายด้วยไฟ ล้อกับชื่อหนัง Chi-hwa-seon ที่สามารถแปลได้ว่า วาดรูปไฟ Painted Fire, Strokes of Fire, กินเหล้ากับผู้หญิง Drunk on Women และ กวีวาดภาพไฟ Poetry Painted Fire ในหนังมีการพูดถึง Fire ครั้งหนึ่ง ว่าเป็นลายเส้นสไตล์ของ Ohwan ผมดูไม่ออกเท่าไหร่ แต่ก็รู้สึกได้ว่ามันเหมือนมี passion บางอย่างในภาพวาด ที่ลุกโชติช่วง (เหมือน Ohwan ต้องเมาก่อนถึงจะวาดภาพสวยๆได้)

ถ่ายภาพโดย Jeong Il-seong ผมสังเกตฉากที่อยู่ในบ้าน หรือถ่ายภายในมักจะตั้งกล้องไว้เฉยๆ ถ้าถ่ายข้างนอกมักจะมีการเคลื่อนไหวกล้อง นี่อาจเป็นความจงใจของผู้กำกับนะครับ, ที่ผมชอบมากๆคือการถ่ายภาพธรรมชาติที่สวยงาม เห็นสีสันของใบไม้ โดยเฉพาะฤดูใบไม้ผลิ (Autumn) จะสวยมากๆ, ฉากพายุหิมะถ่ายออกมาได้อึมครึม หมองหม่นเห็นแล้วรู้สึกหนาวจับใจ, โทนสีของหนังจะเป็นโทนอ่อนทั้งเรื่อง ไม่ค่อยมีสีเข้มหรือสีฉูดฉาด เวลาปรากฏสีแดงมันเลยโดดเด่นมากๆ โดยเฉพาะชุดฮันบกของหญิงสาว ที่มักจะมีสีแดง ทำให้เด่นสุดๆ นี่อาจหมายถึงสิ่งที่เป็นสีสันในชีวิตนะครับ

ตัดต่อโดย Park Sun-deok มีหลายครั้งที่หนังตัดต่อโดยสลับเรื่องราวกับภาพธรรมชาติ ฝูงนก ต้นไม้ สรรพสัตว์ ซึ่งมักจะกลายเป็นภาพวาดของ Ohwan ในฉากต่อไป, ส่วนการเล่าเรื่อง ใช้การตัดสลับกันระหว่างตอน Ohwan วัยกลางคน กับ ตอนวัยรุ่น ช่วงหลังๆจะตัดข้ามไปตอนแก่ ผมรู้สึกหนังมันไม่ได้เรียงช่วงเวลานะครับ อยากเอาอะไรมาใส่ตรงไหนก็ใส่ ดูไม่รู้เลย อย่างตอนที่ Ohwan ได้รับยศกลายเป็นขุนนางนั้น เป็นก่อนตอนที่ญี่ปุ่นขอให้ Ohwan วาดรูปให้หรือเป็นทีหลัง (คนศึกษาประวัติศาสตร์เกาหลี และชื่นชอบงานศิลปะ อาจจะพอรู้ได้กระมัง) ช่วงท้ายๆก็กระโดดข้ามไปหลายปี รู้อีกทีก็ผมหงอก หน้าเหี่ยว แก่กันหมดแล้ว มันอาจมีจุดสังเกตอยู่นะครับ แต่ผมมองไม่เห็นเอง

เพลงประกอบโดย Kim Yong-dong มีไม่เยอะ และเสียงไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไหร่ ทั้งหมดล้วนเป็น Tradition Music นะครับ ซึ่งผมว่าเจ๋งมากๆ หนังเรื่องนี้เป็นแนว Period ถ้าไม่ได้เครื่องดนตรี Tradition พื้นบ้านละก็ มันย่อมไม่เข้ากันอยู่แล้ว แบบนี้ทำให้หนังมีความเป็นเกาหลีมากๆ ฟังครั้งแรกๆอาจไม่เพราะเท่าไหร่ แต่ผมชื่นชมในความแตกต่าง มีอยู่ 2-3 ช่วงในหนังที่มีเสียงขับร้อง Pansori (มันเหมือนลายเซ็นต์ของผู้กำกับเลย หนังเกาหลีแท้ๆจะไม่มี Pansori ได้ยังไง) ใครแฟนหนังเกาหลี ผมไม่แน่ใจซีรีย์พวกแดจังกึม ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านเล่นประกอบหรือเปล่า ถ้าใช่คุณน่าจะคุ้นหูกับเพลงประกอบในหนังเรื่องนี้แน่นอน

อิทธิพลของจีนและญี่ปุ่นในเกาหลี ถือว่าส่งผลต่องานศิลปะไม่น้อย ต้นแบบที่ Ohwan ฝึกวาดรูปในช่วงแรกๆ เลียนแบบภาพวาดของจีน แต่ในไม่ช้าเมื่อเขาเริ่มเข้าใจความหมายของ ‘พื้นบ้าน’ ภาพวาดมันคือวิถีชีวิต ผู้คน เมือง ธรรมชาติของประเทศตัวเองที่ไม่มีที่ไหนในโลกอีก นั่นกลายมาเป็นอิทธิพลต่อภาพวาดของเขา ผมชอบที่สุดก็คือภาพวาดนกที่ฉากก่อนหน้านั้น หนังถ่ายภาพฝูงนกกำลังบินบนท้องฟ้า และฉากถัดมาเป็นภาพวาดนกในแผ่นกระดาษ นี่คือแรงบันดาลใจของศิลปิน สิ่งที่เขาเห็น ณ ช่วงเวลาและสถานที่ จับความรู้สึกออกมาเป็นภาพ นี่แหละครับคือความหมายคำว่า ‘ภาพวาด’ ของหนังเรื่องนี้

ผมค่อนข้างชอบหนังเรื่องนี้นะครับ ไม่ใช่เพราะมันมีฉากเรตที่ถือว่าแรงใช้ได้นะ (หนังเกาหลีมันมักต้องมี sex scene แบบถึงใจเสมอ) ภาพในโปสเตอร์ที่ผมเลือกมา ดูผิวเผินเหมือนไม่มีอะไร แต่จริงๆฉากนี้ในหนัง ชายหญิงกำลังมี sex กันนะครับ (ภาพนี้มันผ่านกองเซ็นเซอร์ได้ยังไงว่ะ!), เหตุผลที่ผมชอบคือ ความขบถของตัวเอก ซึ่งเมื่อเขาไปถึงจุดสูงสุด มันก็ไม่มีอะไรที่จะบังคับให้เขาทำในสิ่งที่ไม่อยากทำได้อีกต่อไป แม้มีหลายครั้งที่เขาถูกบังคับ แต่เขาก็พยายามหนีออกมา ไม่ให้ถูกกรอบของบางสิ่งบางอย่างครอบงำ คำว่า ‘ติสต์แตก’ เกิดขึ้นเพราะเขาทำในสิ่งที่คนทั่วๆไปไม่เข้าใจ แต่หนังเรื่องนี้มีคำตอบของทุกอย่าง ทำไม Ohwan ถึงชอบกินเหล้า, ใจอ่อนกับหญิงสาว, ไม่ชอบทำอะไรตามกรอบ หากันเจอหรือเปล่าเอ่ย? ด้วยวิธีการนำเสนอที่มีความเหนือชั้น แม้เรื่องราวจะไม่ได้ซับซ้อนมาก แต่เทคนี้พวกนี้คนมีประสบการณ์ดูหนังมาพอสมควรเท่านั้นถึงจะสามารถเห็นความสวยงามที่โดดเด่นได้ นี่คือเหตุผลให้ Im Kwon-taek ได้รางวัล Best Director จากเทศกาลหนังเมือง Cannes นะครับ (ได้คู่กับ Paul Thomas Anderson) น่าเสียดาย Palme d’Or ตกเป็น The Pianist ของ Roman Polanski

ผมแนะนำหนังเรื่องนี้กับคนรักศิลปะ ชอบการวาดรูป และอยากจะรู้จักกับศิลปินที่มีชื่อเสียง ผมไม่รู้นานาชาติจะมีคนรู้จัก Jang Seung-Ub มากแค่ไหน แต่ในเกาหลีย่อมต้องไม่ธรรมดาแน่ ไม่เช่นนั้นคงไม่ถูกสร้างเป็นหนังออกมา ใครเป็นแฟนของ Choi Min-sik ต้องไม่พลาด อีกหนึ่งสุดยอดการแสดงของพี่แกเลย จัดเรต 15+ มีฉาก sex scene ที่รุนแรงพอสมควรเลย

TAGLINE | “Painted Fire นี่เป็นหนังที่มี 2 อัจฉริยะ Jang Seung-Ub นำแสดงโดย Choi Min-sik และผู้กำกับ Im Kwon-taek ภาพวาดที่สัมผัสได้ถึงความร้อนแรง ดั่งหนังที่ทรงพลังดั่งเปลวเพลิง”
QUALITY | SUPERB
MY SCORE | LIKE

1
Leave a Reply

avatar
1 Comment threads
0 Thread replies
0 Followers
 
Most reacted comment
Hottest comment thread
0 Comment authors
Best of Painter & Artist Films | RAREMEAT BLOG Recent comment authors

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
newest oldest most voted
Notify of
trackback

[…]  Painted Fire (2002)  : Im Kwon-taek ♥♥♥◊ Jang Seung-Ub คืออัจฉริยะที่ค้นพบอาณาจักรของการวาดภาพที่คนธรรมดาไม่สามารถไปถึงได้ และ Im Kwon-taek คืออัจฉริยะที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวของ Jang Seung-Ub ออกมาได้อย่างเหนือชั้น, น่าเศร้าที่ Chi-hwa-seon เป็นหนังเอเชียเรื่องเดียวที่ติดชาร์ทนี้ […]

%d bloggers like this: