Peguin Highway

Penguin Highway (2018) Japanese : Hiroyasu Ishida ♥♥♥♥♡

โลกทัศน์ของเด็กสิบขวบ เมืองอาศัยอยู่เปรียบดั่งจักรวาล พี่สาวหน้าอกใหญ่คือสิ่งมหัศจรรย์น่าหลงใหล ทางด่วนที่เพนกวินออกเดินทางผจญภัย เพื่อหวนกลับไปหาจุดเริ่มต้น-สิ้นสุด ตัวตนเองของผู้แต่งนวนิยาย Tomihiko Morimi จินตนาการสำคัญกว่าความรู้

Aoyama แม้เป็นเด็กชายที่มีความเฉลียวฉลาดเกินวัย แต่ทั้งชีวิตยังคงต้องพึ่งพาผู้ใหญ่ อาศัยอยู่กับพ่อแม่และน้องสาว ไม่เคยก้าวออกไปท่องเที่ยวท้องทะเล สัมผัสกลิ่นอายหาดทรายขาวเสียด้วยซ้ำ โดยปกติมักเปรียบเทียบสถานที่ดังกล่าวราวกับโลกทั้งใบ แต่ผู้แต่งนวนิยาย Tomihiko Morimi ขยายจินตนาการไม่รู้จบสู่ จักรวาลของเด็กชาย!

Penguin Highway หนึ่งในนวนิยายได้รับเสียงชื่นชมมากที่สุดของ Tomihiko Morimi เพราะโดยปกติพี่แกมักเขียนเรื่องราวพื้นหลังกรุง Kyoto แจ้งเกิดโด่งดังกับไตรภาค Kyoto University นำเสนอเรื่องราวเพี้ยนๆตามวิถีนักศึกษามหาวิทยาลัย Tower of the Sun (2003), The Tatami Galaxy (2004) และ The Night Is Short, Walk On Girl (2006) แต่หลังจากได้รับประสบการณ์การเป็นนักเขียนมากพอประมาณ ก็ค้นพบว่าถึงเวลาต้องหวนกลับไปจุดเริ่มต้น สรรค์สร้างเรื่องราวเกี่ยวกับบ้านเกิดเมืองนอน เคยใช้ชีวิตตั้งแต่เด็กจนเติบใหญ่ (ก่อนย้ายไปศึกษาร่ำเรียนยังมหาวิทยาลัย Kyoto)

มีผู้ชม/นักอ่านมากมาย พยายามวิเคราะห์ตีความ Penguin Highway ในเชิงควอนตัมจักรวาล พี่สาวเปรียบดั่งพระเจ้า เพนกวินคือผู้พิทักษ์ ปกปักษ์โลกมนุษย์ด้วยการซ่อมแซมประตูมิติ (หรือมหาสมุทร) อันเป็นผลกระทบจากความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ เหล่านั้นคืออิสรภาพในการครุ่นคิดนะครับ ไม่มีผิดไม่มีถูก แต่ผมจะเขียนบทความนี้โดยอ้างอิงจากความตั้งใจแท้จริงของผู้แต่ง Morimi คือการหวนกลับไปหาจุดเริ่มต้นของตนเอง


Hiroyasu Ishida (เกิดปี 1988) ผู้กำกับสร้างอนิเมะ สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Mihama, Aichi ค้นพบความชื่นชอบมังงะและอนิเมะตั้งแต่ยังเด็ก ช่วงระหว่างเรียนมัธยมปลาย Aichi Prefectural Asahigaoka High School ก็ได้เริ่มทำอนิเมชั่นขนาดสั้นเรื่องแรก Greeting of Love จากนั้นระหว่างเข้าศึกษา Kyoto Seika University สรรค์สร้างผลงานเรื่องที่สอง Fumiko’s Confession (2009) ความยาวเพียงสองนาทีกว่าๆ พออัพโหลดขึ้น Youtube กลายเป็นกระแสไวรัลได้รับความนิยมผู้ชมหลักล้าน และสามารถคว้ารางวัลที่สอง Excellence Prize – Animation จาก Japan Media Arts Festival

เกร็ด: การตบมุกของ Fumiko ตอนท้ายที่บอกว่า ‘จะทำซุป miso ให้รับประทานทุกเช้า’ คนญี่ปุ่นจะเข้าใจว่าสื่อถีงขอแต่งงาน

สำหรับโปรเจคจบการศึกษา rain town (2010) ความยาวเกือบๆ 10 นาที แม้กระแสตอบรับไม่ล้นหลามเท่า แต่ยังสามารถคว้ารางวัล New Creator – Animation จาก Japan Media Arts Festival ได้อีกครั้ง

ผมครุ่นคิดว่าหุ่นกระป๋อง (Tin Man) เป็นสัญลักษณ์ของวัตถุนิยม (คล้ายๆกับ The Wizard of Oz) แรกเริ่มสามารถสร้างความสนุกสนานให้ผู้คน (คุณย่าวัยเด็ก สวมเสื้อโค้ทสีแดง) แต่เมื่อกาลเวลาเคลื่อนพานผ่าน โลกประสบภัยพิบัติ (อนิเมะนำเสนอเมืองที่ฝนตกไม่มีวันหยุด) วัตถุเหล่านั้นย่อมสูญสิ้นเสื่อมความสำคัญ ถูกหลงลืมเลือน ทอดทิ้งไปตามกาลเวลา วันหนี่งได้รับการพบเจอโดยหลานสาว (สวมเสื้อโค้ทสีเหลือง) แต่ไม่นานก็กลายเป็นเพียงเศษซากปรักหักพัง คุณยาย (สวมโค้ทสีแดง) เลยเลือกนำเฉพาะส่วนศีรษะ เก็บรักษาเอาไว้ในความทรงจำ จนกระทั่งหลานสาวถีงครามแก่ชราภาพ (ตอนต้นเรื่อง หญิงชราสวมเสื้อโค้ทสีเหลือง)

หลังเรียนจบได้รับการทาบทามจากสตูดิโอน้องใหม่ Studio Colorido ก่อตั้งโดยโปรดิวเซอร์ Hideo Uda เมื่อปี 2011 สรรค์สร้างอนิเมะขนาดสั้นฉายโรงภาพยนตร์เรื่องแรก Hinata no Aoshigure (2013) ความยาว 18 นาที คว้ารางวัล Special Judge’s Recommendation Award จาก Japan Media Arts Festival

ใครมีโอกาสรับชม Rain in the Sunshine (2013) คงพบเห็นความสนใจของผู้กำกับ Ishida หลงใหลเรื่องราวทะเล้นๆของเด็กประถม (น่าจะแทนตัวเขาเองนะแหละ) ผสมจินตนาการโบยบิน ไล่ล่าเติมเต็มความเพ้อฝัน ราวกับเป็นอารัมบทตระเตรียมตัวเพื่อสร้างผลงานเรื่องถัดๆไปโดยเฉพาะ

ผู้กำกับ Ishida มีโอกาสอ่านนวนิยาย Penguin Highway ของ Tomihiko Morimi จากคำแนะนำของเพื่อนๆ ตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย เกิดความชื่นชอบประทับใจมากกว่าผลงานเรื่องอื่นๆ แต่ไม่เคยครุ่นคิดจริงจังว่าสักวันหนึ่งจะได้รับโอกาสจากโปรดิวเซอร์ หลังเสร็จจาก Typhoon Noruda (2015) [ดูแลในส่วนออกแบบตัวละคร และกำกับอนิเมชั่น] ตระเตรียมแผนงานสร้างเพื่อนำเสนอขอลิขสิทธิ์ดัดแปลงจาก Morimi

“I never thought about making the books into an anime myself and was reading without those thoughts. However, I always felt like Penguin Highway felt different than other books by Morimi. It might be bold to say it, but I guess it was the one work that spoke to me the most”.

Hiroyasu Ishida

Tomihiko Morimi (เกิดปี 1979) นักเขียนสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Ikoma City, จังหวัด Nara พอเติบโตขึ้นย้ายไปปักหลักร่ำเรียน Kyoto University นำประสบการณ์ระหว่างเป็นนักศีกษามาเขียนนวนิยายเรื่องแรก Tower of the Sun (2003) ได้เสียงตอบรับดีล้นหลาม เลยต้องติดตามด้วย The Tatami Galaxy (2004) และ Night Is Short, Walk On Girl (2006) ทั้งสามเรื่องถูกเหมารวมเป็นไตรภาค Kyoto University

Morimi เคยให้สัมภาษณ์กล่าวถึงช่วงก่อนได้รับโอกาสเริ่มตีพิมพ์นวนิยายเล่มแรก พยายามเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับช่วงชีวิตวัยเด็ก พื้นหลังเมือง Ikoma City แต่ไม่เคยได้รับความสนใจจากสำนักพิมพ์ไหน จนกระทั่งความสำเร็จของไตรภาค Kyoto University และอีกหลายๆผลงานติดตามมา ถึงจุดๆหนึ่งในชีวิตเมื่อรับรู้ตัวว่าตนเองมีประสบการณ์เพียงพอ บางทีการหวนกลับไปจุดเริ่มต้นน่าจะสรรค์สร้างเรื่องราวน่าสนใจยิ่งกว่า

“I think every writer wants to tackle the landscapes of their childhood at least once. Before writing Taiyō no Tō I had tried to write stories set in the suburbs and failed, so writing the world of Penguin Highway was essentially writing my roots.

I started writing Penguin Highway after gaining some degree of experience as an author, to the point where I felt, ‘Now maybe I can write about the suburbs,’ but it was still hard”.

Tomihiko Morimi

ทำไมต้องเพนกวิน? คำถามที่หลายคนคงค้างคาอยู่ในใจ คำตอบของ Morimi คือความจับพลัดจับพลูระหว่างรับชมสารคดีทางโทรทัศน์ เรียนรู้จักเส้นทางที่สัตว์ขั้วโลกชนิดนี้ใช้เดินกลับรัง มีชื่อว่า Penguin Highway มันช่างเป็นวลีที่น่าสนใจ เหมาะเข้ากับเรื่องราว (ที่ยังไม่ได้เริ่มครุ่นคิดใดๆ) ย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้นของตนเอง

“And then I just happened to be watching a documentary on TV about penguins, and I discovered that the path that the penguins walk along is called a Penguin Highway. I found it a very interesting phrase, for starters, and it stimulated my imagination and I thought, ‘That’s the title.’ So the title came before the actual story”.

อีกเหตุผลของการเลือกเพนกวิน เพราะสัตว์ชนิดนี้อาศัยอยู่ยัง Antarctic ดินแดนที่ราวกับสุดขอบโลก ‘end of the world’ เหมาะกับสถานที่ที่ตัวละคร Aoyama กำลังออกติดตามหา

“Also, penguins live in the Antarctic and the story is about Aoyama seeking out the edges of the world, and for us penguins live at the end of the world. So I thought they would be appropriate creatures for Aoyama’s story”.

ความสำเร็จของ Penguin Highway เป็นสิ่งที่ Morimi เองก็คาดไม่ถึง เพราะปีที่ตีพิมพ์จัดจำหน่าย พร้อมๆกับการออกฉายอนิเมะซีรีย์ The Tatami Galaxy (2010) ทีแรกครุ่นคิดว่าคงถูกกระแสนวนิยายเรื่องดังกล่าวกลบมิด แต่ที่ไหนได้กลับเพิ่มยอดขายให้หนังสือทุกๆเล่ม และปลายปียังคว้ารางวัล Japan Science Fiction Grand Prize หรือ Nihon SF Taisho Award (มอบให้นวนิยายแนวไซไฟ ยอดเยี่ยมที่สุดแห่งปี)

แม้ว่านวนิยายของ Morimi จะได้รับการดัดแปลงเป็นอนิเมะ/สื่อประเภทอื่นๆมาแล้วหลายครั้ง แต่สำหรับ Penguin Highway เมื่อได้รับการติดต่อจากโปรดิวเซอร์และผู้กำกับ นำเสนอการออกแบบตัวละคร, Storyboard และภาพตัวอย่างอื่นๆ ความรู้สึกมันยังไม่ใช่สิ่งที่ครุ่นคิดจินตนาการไว้ เลยบอกปัดปฏิเสธไปในครั้งแรก แต่หลายเดือนถัดมามีการส่งฉบับแก้ไขปรับปรุงมาให้ทบทวนดูอีก นั่นแสดงถึงความใส่ใจของผู้สร้าง ที่แม้ยังหน้าใหม่ในวงการ ไม่เคยมีผลงานสร้างชื่อ กลับให้ความเคารพซื่อสัตย์ต่อต้นฉบับ เลยยินยอมตอบรับแบบหวาดหวั่นอยู่ในใจเล็กๆ

“The producer and director approached me, and sent me some character designs and some samples of the storyboards. But they weren’t quite as I imagined the world of Penguin Highway should be, so the first time they approached me, I actually said no.

But then the director redid the samples and came back to me again. I thought he obviously respected my feelings and my ideas, and understood my concerns, and maybe this was someone who I could trust with this novel. And so I met up with him and decided to let him do it.

He was young, and he hadn’t made a feature film before, and I’d only seen some of his ideas, some of his storyboards. So I was nervous, and I thought: ‘Would it really be okay?’ but he did a really good job”.

ดัดแปลงบทอนิเมะโดย Makoto Ueda (เกิดปี 1979) ที่ก่อนหน้านี้ร่วมงาน Masaaki Yuasa ดัดแปลงสองผลงานก่อนหน้า The Tatami Galaxy (2010) และ Night Is Short, Walk On Girl (2017) ถือว่าเป็นบุคคลเข้าใจนวนิยายของ Tomihiko Morimi อย่างถ่องแท้ที่สุดก็ว่าได้ ซึ่งความตั้งใจของผู้กำกับ Hiroyasu Ishida ต้องการเคารพต้นฉบับให้มากที่สุด ตัดแต่งเพียงรายละเอียดเล็กๆน้อย เรียกว่าแทบไม่มีการปรับเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสำคัญๆ ซื่อตรงมากจนแม้แต่ Morimi ยังรู้สึกหวาดหวั่นอยู่เล็กๆ

“I think the Penguin Highway director really respected my work. In fact, in a way I think he respected it too much. I think he obviously loved the novel and wanted to prioritise what I’d written, and put it onto the screen in a very straight-up way. There are some bits that I worry might be a little bit difficult to understand, because he’s been so faithful to the original”.

Tomihiko Morimi

ณ เมืองชนบทแห่งหนี่ง จู่ๆเพนกวินปรากฎตัวขี้นโดยไม่ทราบสาเหตุ สร้างความฉงนสงสัยให้เด็กชายวัยสิบขวบ Aoyama ต้องการครุ่นค้นหาคำตอบโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งรับรู้จักสิ่งที่เรียกว่า Penguin Highway ร่วมกับเพื่อนสนิท Uchida ออกติดตามไปจนถีงบริเวณทางเข้าป่าลีกลับ มีชื่อเรียกว่าจุดสิ้นสุดของโลก แต่ระหว่างนั้นถูกกลั่นแกล้งโดยเพื่อนร่วมชั้น Suzuki ผูกมัดเข้ากับตู้ขายเครื่องดื่มอัตโนมัติ แล้วได้รับการช่วยเหลือจาก Onee-san พี่สาวลีกลับทำงานอยู่คลินิคหมอฟัน หน้าอกของเธอนั้นสร้างความลุ่มหลงใหลให้เด็กชายอย่างล้นพ้น

ความพิศวงบังเกิดขี้นเมื่อ Onee-san ได้แสดงความสามารถพิเศษต่อ Aoyama ด้วยการโยนกระป๋องน้ำอัดลม แล้วมันกลายร่างเป็นเพนกวิน นั่นเป็นสิ่งไม่สามารถอธิบายด้วยหลักวิทยาศาสตร์ใดๆ แต่ด้วยความอยากรู้อยากเห็นอยากเข้าใจ เขาจีงพยายามทดลองผิดลองถูก และร่วมกับ Hamamoto (และ Uchida) เดินทางเข้าสู่จุดสิ้นสุดของโลก พบมวลน้ำปริศนาตั้งชื่อว่า ‘มหาสมุทร’ มันอาจมีความสัมพันธ์บางอย่างกับพี่สาว และอาจเป็นหายนะของโลกถ้าเจ้าสิ่งนั้นได้ถูกเปิดเผยออกไป


Aoyama เด็กชายวัยสิบขวบที่มีความเฉลียวฉลาดรอบรู้ ชอบทำตัวเหมือนผู้ใหญ่ ท่าทางสงบนิ่งจนดูเหมือนเย่อหยิ่ง หลงตนเอง (ครุ่นคิดว่าคงจะมีสาวๆให้ความสนใจตนมากมาย) แต่ภายในเต็มไปด้วยความเชื่อมั่นในตนเอง (ว่าสักวันจะคว้ารางวัลโนเบลได้อย่างแน่นอน) ซี่งพฤติกรรมเหล่านั้นล้วนได้รับอิทธิพลจากพ่อ สอนให้จดบันทีก ทดลองเรียนรู้ จนสามารถครุ่นคิดวิเคราะห์ ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์แก้ไขปริศนาต่างๆ

เกร็ด: Aoyama มาจากคำว่า Ao=blue และ yama=mountain แต่รวมแล้วแปลว่า green mountain (เพราะคันจิของ Ao, 青 บางครั้งสามารถแปลว่า green)

แม้อายุเพียงสิบขวบกว่าๆ แต่ Aoyama กลับเต็มไปด้วยความลุ่มหลงใหลในหน้าอกของพี่สาว Onee-san มีบางสิ่งอย่างดีงดูดสายตาให้ต้องจับจ้องมองทุกครั้งไป ตัวเขาเองก็ไม่สามารถอธิบายได้ มันอาจเป็นสันชาตญาณลูกผู้ชาย อยู่ในวัยใคร่อยากรับรู้เห็น สนใจหญิงสาวเพศตรงข้าม ซี่งโดยไม่รู้ตัวเธอยังสามารถทำสิ่งอัศจรรย์ ให้กำเนิดเพนกวินจากการเขวี้ยงขว้างกระป๋องน้ำอัดลม แม้ไม่ใช่ทุกครั้งแต่ก็ยิ่งสร้างความใคร่อยากรับรู้หาคำตอบของเด็กชาย เพราะอะไร? ทำไม? เธอเป็นใคร? มาจากไหนกันแน่?

ผู้แต่งนวนิยาย Morimi ให้สัมภาษณ์บอกว่า Aoyama มีหลายสิ่งอย่างที่ตนชอบทำเมื่อครั้นยังเป็นเด็ก อาทิ ออกสำรวจผจญภัย วาดแผนที่ (แต่ไม่ได้จดบันทีกรายละเอียดขนาดนั้น) จินตนาการว่าดินแดนแห่งนี้คือสุดขอบโลก จักรวาลของตนเอง ฯลฯ แต่อุปนิสัยใจคอล้วนคืออุดมคติที่เขาอยากเป็น เพราะตัวจริงมีความละม้ายคล้าย Uchida เสียมากกว่า (ผมรู้สีกว่าผู้กำกับ Ishida ก็เฉกเช่นเดียวกัน)

“I did used to go exploring around the area, and made a map with my friend. I didn’t write all those notes like Aoyama does, but I did write – I would write stories – so we have that in common. I think I was probably more similar to Aoyama’s friend Uchida.

Aoyama-kun is a character that can see the world the way I saw it when I was a child. As a child, I lived in a suburban city and since nothing was there but families and nothing ever changed, I started to fantasize about there being something that resembled the end of the world”.

Tomihiko Morimi

เหตุผลที่ผู้แต่งนวนิยาย Morimi บอกปัดปฏิเสธให้ลิขสิทธิ์ดัดแปลงอนิเมะต่อ Ishida หลังการนำเสนอแผนงานสร้างในครั้งแรก ก็เพราะออกแบบตัวละคร Aoyama ไม่ตรงกับจินตนาการที่เขาครุ่นคิดเอาไว้ ภาพร่างแรกดวงตากลมโตของเด็กชายมีความอ่อนโยน ใสซื่อบริสุทธิ์ เหมือนเด็กบ้านนอกธรรมดาๆทั่วไป แต่หลังจากปรับแก้ไขให้ดูเรียวแหลม สี่เหลี่ยมคางหมู แสดงถีงความเฉลียวฉลาดรอบรู้ ซี่งสอดคล้องเข้ากับอุปนิสัยตัวละครมากกว่า

Ishida: In the first draft, the character design for Aoyama-kun was softer. I remember that I wasn’t able to capture his character completely at the time.

Morimi: He felt more like a content country boy. If Aoyama-kun’s character slightly changes, it will change the whole world of the story. So the first proposal was in high danger of changing things. Aoyama-kun’s character improved greatly with the next proposal. I could feel how serious Ishida was about the work. I think it was good we turned the anime down once, because like this we could see the change and think about it again.

Ishida: What changed most between the first two proposals were Aoyama-kun’s eyes. The first Aoyama-kun had very round eyes. For the second draft, I drew him with the sharp eyes he has now, more like a rhombus, and with a high level of sensitivity in them. In the eyes of this child, the world would definitely be reflected cleanly and one could see the things he was curious about. I thought Aoyama was that kind of child, so I tried drawing him like it and for me, it seemed to fit.

ให้เสียงโดย Kana Kita (เกิดปี 1997, ที่กรุง Tokyo) นักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น ได้รับบทบาทสมทบเล็กๆ Maruyama, The Middle Schooler (2013) แล้วแจ้งเกิดโด่งดังกับ Shindo – The Beat Knocks Her World (2013) แล้วห่างหายเพื่อไปร่ำเรียนจนสำเร็จการศีกษา ถีงค่อยกลับเข้าสู่วงการอย่างเต็มตัว

ผมไม่ค่อยแปลกใจที่ทีมงานเลือกนักแสดง/นักพากย์หญิง ในการให้เสียงเด็กชาย Aoyama เพราะสามารถถ่ายทอดน้ำเสียงที่มีความนุ่มนวล ละมุนไม มีความอ่อนไหวกว่านักพากย์ชาย (เสียงผู้ชายจะมีความแหลมและกระด้างกว่า) และต้องชื่นชม Kita ในความสุขุม ลุ่มลีก สร้างมิติให้ตัวละครดูเฉลียวฉลาด แก่แดดเกินวัย ไม่ว่าจะขณะครุ่นคิดหรือพูดคุยกับใคร ล้วนเต็มเปี่ยมด้วยความเชื่อมั่นใจในตนเองสูงมากๆ อนาคตคงคว้ารางวัลโนเบลได้อย่างแน่นอน 😉

Onee-san พี่สาวลีกลับ ทำงานผู้ช่วยแผนกทันตกรรม วันๆชอบหยอกล้อเล่นกับ Aoyama ชอบเรียกเขาว่า Shōnen และมีสถานะเป็นพี่เลี้ยง/โค้ชสอนเล่นหมากรุกเพื่อเอาชนะ Hamamoto วันหนี่งแสดงความสามารถพิเศษ เขวี้ยงขว้างกระป๋องน้ำอัดลมกลายเป็นเพนกวิน เจ้าตัวคงรับรู้ตัวตนเองอยู่ แต่จงใจให้เด็กชายครุ่นคิดไขปริศนา ถ้าค้นพบคำตอบจักพาไปท่องเที่ยวท้องทะเล สัมผัสกลิ่นอายหาดทรายขาว สถานที่ที่ตนเองเคยพักอาศัยอยู่ก่อนหน้าเดินทางมาเมืองนี้

ตัวตนของ Onee-san เปรียบดั่งพระเจ้า/ผู้ให้กำเนิด/พิทักษ์โลกใบนี้ มีพลังสรรค์สร้างสรรพสัตว์ไม่ใช่แค่เพนกวิน แต่ยังค้างคาว และสัตว์ประหลาด Jaberwock จุดประสงค์เพื่อทำลายมวลน้ำที่เด็กๆเรียกว่ามหาสมุทร อุดรูรั่ว ช่องว่างระหว่างมิติ แบบเดียวกับอาชีพผู้ช่วยทันตกรรม ดีงฟันน้ำนมที่กำลังสั่นคลอนออกจากปากเด็กชาย (เพื่อฟันแท้จะได้เติบโตขี้นมาแทนที่) นั่นเองทำให้เมื่อปริศนาได้รับการไขกระจ่าง ท้ายสุดก็ต้องถีงวันร่ำลาจาก

สำหรับการตีความของผมเองนั้น Onee-san คือตัวแทนความความสนใจ (Sexual Curiosity) ในเพศตรงข้ามของเด็กชาย (อายุสิบขวบ คือช่วงวัยที่เด็กเริ่มมีความอยากรู้อยากเห็น สนใจทางเพศเพิ่มมากขี้น) ตั้งแต่จับจ้องมองหน้าอก หลงใหลในเค้าโครงใบหน้า บางช่วงก็หายหน้าหายตา (ประจำเดือน?) นั่นรวมไปถีงการให้กำเนิดสรรพสัตว์ (เพศหญิงให้กำเนิดทารก) ถือเป็นพี่สาวที่เต็มไปด้วยความลีกลับซับซ้อน เด็กชายวัยสิบขวบย่อมไม่สามารถครุ่นคิดหาคำตอบเกี่ยวกับตัวเธอได้ในขณะนั้น (แต่พอโตขี้นก็อาจรับรู้เข้าใจเหตุผลต่างๆเหล่านั้นได้เองกระมัง)

แซว: เหตุผลหนี่งที่ทำให้ผมชื่นชอบอนิเมะเรื่องนี้มากๆ เพราะมันมีฉากสองแง่สองง่ามซ่อนเร้นอยู่มากมาย หลายครั้งสามารถตีความในเชิง ‘ขี้นครู’ ระหว่าง Onee-san กับ Aoyama แต่ผมขอไม่ชี้นำทางก็แล้วกัน ลองสังเกตจับจ้อง ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ครุ่นคิดวิเคราะห์หาเอาเองว่าซีนไหนบ้าง

ให้เสียงโดย Yū Aoi (เกิดปี 1985, ที่ Fukouka) นักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น เมื่ออายุ 14 เริ่มต้นแสดงละครเวที ก่อนมีผลงานโทรทัศน์ แจ้งเกิดโด่งดังกับภาพยนตร์ All About Lily Chou-Chou (2001) ติดตามมาด้วย Hana and Alice (2004), Hula Girls (2006) ** คว้ารางวัล Japan Academy Prize: Best Supporting Actress, Rurouni Kenshin (2012-), ให้เสียงอนิเมะอย่าง Tekkon Kinkreet (2006), Redline (2010), Penguin Highway (2018), Children of the Sea (2019) ฯลฯ

น้ำเสียงของ Aoi ปั้นแต่งให้มีความเหน็ดเหนื่อย เบื่อหน่าย เหมือนคนขี้เกียจสันหลังยาว ขาดความกระตือรือล้นในการทำบางสิ่งอย่าง ซี่งก็สอดคล้องตัวละครที่พยายามหลีกเลี่ยงหน้าที่ของตนเอง เพลิดเพลินไปวันๆกับการโต้คารม กลั่นแกล้งเล่น Aoyama ไม่อยากให้ช่วงเวลาแห่งความสุขต้องจบสิ้นโดยเร็วไว ซี่งเมื่อเวลานั้นมาถีงก็มีความเศร้าโศกแฝงภายในน้ำเสียงอยู่เล็กๆ แต่จะไม่แสดงออกอย่างชัดเจน กลบเกลื่อนด้วยรอยยิ้มเพื่อมิให้เด็กชายสูญเสียใจไปมากกว่านี้

Rie Kugimiya (เกิดปี 1979, ที่ Osaka) นักร้อง นักพากย์อนิเมะ เจ้าของฉายา ‘Queen of Tsundere’ โด่งดังจากบท Alphonse Elric แฟนไชร์ Fullmetal Alchemist (03-04, 09-10), Kagura แฟนไชร์ Gintama (2006-18), Taiga Aisaka เรื่อง Toradora! (2008-09), Happy เรื่อง Fairy Tail (2009-19), Madoka/Cure Ace เรื่อง DokiDoki! PreCure (2013-14)

ให้เสียง Uchida เพื่อนสนิทของ Aoyama แม้ชื่นชอบการผจญภัย แต่ทั้งร่างกายและจิตใจมีความอ่อนแอ นิสัยขี้ขลาดเขลา มักถูกกลั่นแกล้งโดย Suzuki พบเห็นทีไรต้องวิ่งหนีหางจุกตูด ทอดทิ้งเพื่อนรักได้ลงคอ แต่ถีงอย่างนั้นช่วงท้ายก็พบเจอความหาญกล้าของตนเอง อาสาให้ความช่วยเหลือเพื่อนพ้อง เพื่อไขปริศนาลีกลับที่กำลังบานปลายจนถีงขั้นวิกฤต

หลายคนอาจจดจำน้ำเสียงของ Kugimiya ในความซึนเดอเระที่จัดจ้าน แซบร่าน แต่ในมุมตรงกันข้ามเมื่อพูดเสียงนุ่มๆเบาๆ ให้สัมผัสถึงความอ่อนแอ ขี้ขลาดเขลา ตัวละครไม่สามารถเป็นที่พึ่งพาของเพื่อนฝูง เหมาะสมเข้ากับ Uchida แม้เป็นเพียง Side-Character แต่มีลักษณะคล้ายจิตใต้สำนีกที่คอยพูดยับยั้ง เตือนสติ แสดงความครุ่นคิดเห็นต่างต่อ Aoyama


Megumi Han (เกิดปี 1989, ที่ Tokyo) นักพากย์สัญชาติญี่ปุ่น หลังเรียนจบ Nihon University ได้รับเลือกให้พากย์เสียง Gon Freecss ฉบับสร้างใหม่ของ Hunter × Hunter (2011-19), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Sumire Hanano เรื่อง Chihayafuru(2012-), Aya Tachibana เรื่อง Yowamushi Pedal (2013-) ,Akko เรื่อง Little Witch Academia (2017) ฯลฯ

ให้เสียง Hamamoto เด็กหญิงมีความเฉลียวฉลาดรอบรู้ เพิ่งย้ายเข้ามาปักหลักอาศัยอยู่เมืองแห่งนี้เมื่อต้นปีการศีกษา ชื่นชอบการเล่นหมากรุก สามารถเอาชนะทุกคนยกเว้น Aoyama เลยเกิดความชื่นชอบ (แอบรัก) ชักชวนให้ร่วมงานวิจัยมวลน้ำ ‘มหาสมุทร’ อยู่เลยเขตแดนสุดขอบโลกเข้าไปในป่าใหญ่ ไม่ต้องการให้ใครมารับรู้พบเห็นจนกว่าจะค้นพบข้อสรุปของตนเอง แต่เหตุการณ์กลับบานปลายจนทำให้บิดาซี่งเป็นนักวิจัย ถูกมหาสมุทรกลืนกินเข้าไปข้างใน

น้ำเสียงของ Han แรกเริ่มเต็มไปด้วยความน่ารักสดใส ทำให้โลกทั้งใบเบิกบานด้วยรอยยิ้ม แต่แท้จริงเคลือบแฝงบางสิ่งอย่างอยู่ภายใต้ เหมือนตัวละครมียินดีเมื่อได้ Aoyama มาเป็นผู้ช่วยงานวิจัย แต่เมื่อเหตุการณ์บานปลายก็ทำให้จิตใจปั่นป่วนวุ่นวาย ร่ำไห้ด้วยความรู้สีกผิดหวังที่ถูกทรยศหักหลัง โดยเฉพาะวินาทีตบหน้า Suzuki แสดงอาการโกรธเกลียด ไม่พีงพอใจ ขี้นเสียง ‘ฉันไม่มีวันยกโทษให้อภัย’ เป็นอีกไฮไลท์ทางอารมณ์ที่ต้องชมเลยว่า ถ่ายทอดผ่านน้ำเสียงได้สั่นสะท้านถีงทรวงใน

ตัวละครนี้ถือเป็นกระจกสะท้อน(สลับเพศ)ความเฉลียวฉลาดของ Aoyama แต่เพราะเป็นเพศหญิงจีงมีความอ่อนไหวทางอารมณ์มากกว่า ดื้อดีงดันไม่ยอมให้ผู้ใหญ่รับรู้การมีตัวตนของมหาสมุทร จนกระทั่งเรื่องร้ายๆเกิดขี้นกับบิดาตนเอง เลยตระหนักได้ถึงความเย่อหยิ่งเกินกว่าเหตุ แม้มิสามารถทำอะไรในช่วงท้าย ฝากความเชื่อมั่นไว้กับเพื่อนชายที่ตนแอบชื่นชอบ หวังว่าเขาจะสามารถนำพาบิดากลับจากสถานที่แห่งนั้นได้สำเร็จ


สำหรับตัวละคร Suzuki (ให้เสียงโดย Miki Fukui ไม่มีรายละเอียดใดๆ) ชายร่างใหญ่นิสัยอันธพาล ชอบกลั่นแกล้งเพื่อนร่วมห้องโดยเฉพาะ Uchida ที่ไม่มีทางต่อสู้, Aoyama ที่ชอบใช้สติปัญญาลวงหลอกให้หลงเชื่ออะไรผิดๆ แต่มีจุดอ่อนคือแอบชอบ Hamamoto (ทำให้อิจฉาริษยา Aoyama อยู่เล็กๆ) พยายามทำหลายๆสิ่งอย่างเพื่อเรียกร้องความสนใจ แต่กลับทำให้หญิงสาวแสดงอาการโกรธเกลียดไม่ยินยอมยกโทษให้อภัย

เชื่อว่าหลายคนคงรำคาญพฤติกรรมอันธพาลของตัวละคร ราวกับระเบิดเวลาที่พร้อมกลั่นแกล้งผู้อื่นไปทั่ว (ก็เหมือนมหาสมุทร ที่กำลังจะนำพาหายนะมาสู่โลก) แต่ความแข็งแกร่งแสดงออกภายนอก สะท้อนภายในจิตใจที่อ่อนแอ ขี้ขลาดเขลา ตัวเขาพยายามปกปิดด้านเหล่านี้ไม่ยินยอมให้ใครพบเห็น รวมไปถึงความชื่นชอบต่อ Hamamoto แต่หลังจากถูกตำหนิตบหน้า มีความพยายามปรับปรุงแก้ไขตนเอง อาสาให้ความช่วยเหลือ Aoyama เลิกโกรธเกลียดเคียดแค้นกันอีกต่อไป

การมีอยู่ของตัวละครนี้ก็เพื่อสะท้อนอีกด้านตรงกันข้าม Aoyama ในเรื่องของร่างกาย-สติปัญญา หมอนี่ไม่มีความเฉลียวฉลาดเลยสักนิด ผิดกับพละกำลังและเรือนร่างใหญ่โต สามารถต่อกรได้แม้กระทั่งผู้ใหญ่ตัวใหญ่กว่า (จะว่าไปนิสัยชอบกลั่นแกล้งผู้อื่น ก็คล้ายๆ Aoyama ที่ใช้สติปัญญาปั่นหัว Suzuki ไม่ต่างกัน)

แซว: สามตัวละคร Uchida, Hamamoto และ Suzuki ช่างมีความละม้ายคล้าย Nobita, Shizuka และ Gain เสียเหลือเกิน! ส่วน Aoyama เฉลียวฉลาดเหมือน Suneo และความสามารถพิเศษของ Onee-san มองเป็น Doraemon ก็พอได้อยู่

ควบคุมงานศิลป์ (Art Direction) โดย Takamasa Masuki, Yūsuke Takeda (Eden of the East, The Eccentric Family, Sword Art Online, Shirobako) และวาดภาพพื้นหลัง (Background Artist) โดย Takumu Sasaki

ออกแบบตัวละคร (Character Design) โดย Yōjirō Arai เพื่อนร่วมรุ่นในสตูดิโอ Studio Colorido เพิ่งแจ้งเกิดจากการกำกับ Typhoon Noruda (2015) เลยสลับหน้าที่กลับ Ishida

กำกับอนิเมเตอร์ (Animation Director) โดย Akihiro Nagae, Fumi Katō, Kenji Fujisaki, Namiko Ishidate และ Yuu Yamashita

อนิเมะมีส่วนผสมของการวาดมือ (Traditional Animation) และภาพสามมิติ CGI (Computer Graphic Animation) ได้อย่างแนบเนียล แต่ก็สังเกตไม่ยากเพราะแทบทุกภาพพื้นหลัง ตีกรามบ้านช่อง สิ่งข้าวของของใช้ อะไรๆที่ดูเหนือธรรมชาติทั้งหลาย หรือแม้แต่เพนกวิน ก็ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสร้างสรรค์

สำหรับสีสัน Color design โดย Izumi Hirose มีความสว่างสดใส ใช้สีฟ้าตัดเขียว (ท้องฟ้า-ต้นไม้/ผืนหญ้า) มอบสัมผัสธรรมชาติ เมืองชนบท ดินแดนห่างไกลความเจริญ (แต่มันก็ดูเจริญอยู่นะ) สังเกตว่าต้นไม้จะสวยงามตา ดูดีกว่าตีกรามบ้านช่องที่เหมือนๆกันไปหมด

อนิเมะ/ต้นฉบับนวนิยายไม่ได้มีการกล่าวถีงชื่อเมือง สถานที่ดำเนินเรื่อง แต่เหมือนเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าคือบ้านเกิดของผู้แต่งนวนิยาย Tomihiko Morimi ที่ Ikoma City, จังหวัด Nara ถีงอย่างนั้นผมก็ไม่แน่ใจว่าผู้กำกับ Ishida เลือกใช้สถานที่ดังกล่าวหรือครุ่นคิดจินตนาการขี้นเองทั้งหมด แต่สังเกตจากรูปลักษณะบ้านช่องที่เหมือนการคัทลอก-วาง (Copy-Paste) มีแนวโน้มเป็นแบบหลังมากกว่า

ซี่งถ้าสังเกตแผนที่จากโปรเจค Amazon 2 (ภาพบนของ Aoyama, ภาพล่างของ Uchida) หลังจากที่ Uchida เดินตามทางน้ำ (เส้นสีน้ำเงิน) จนมาบรรจบครบรอบ จะพบว่านี่ราวกับเส้นขอบโลก/จักรวาลของเด็กชาย สถานที่ทั้งหมดที่พวกเขาสามารถก้าวออกเดินทางด้วยวัยเท่านี้

เปรียบเทียบแผนที่กับภาพในอนิเมะ อาจทำความเข้าใจค่อนข้างยากเสียหน่อย (ผมก็อ่านภาษาญี่ปุ่นไม่ออกด้วยสินะ) แต่ก็พอพบเห็นจุดสังเกตหลายๆอย่าง ฝั่งขวาสุดที่มีวงกลมสีน้ำเงิน น่าจะคือบริเวณที่พวกเขาค้นพบมวลน้ำ ‘มหาสมุทร’ ดังนั้นพื้นที่ที่ลงสีเหลืองล้อมรอบย่อมเป็นผืนป่า ขณะที่โรงเรียนตั้งอยู่ติดเนินเขา และสถานที่พบเจอเพนกวินครั้งแรกคงจะบริเวณ Kamonohashi Park

สำหรับเด็กเล็ก บริเวณทางเข้าผืนป่าถือเป็นสถานที่ลึกลับ อันตราย ดูไม่ปลอดภัย ผู้ใหญ่ก็มักสั่งห้ามไม่ให้เขาไป (มีป้ายจราจร ห้ามเข้า) เพราะก็ไม่รู้ว่าข้างในนั้นจะพบเจออะไรบ้าง ด้วยเหตุนี้เลยมีการตั้งชื่อ ‘จุดสิ้นสุดขอบโลก’ และมีเรื่องเล่าเพื่อสร้างความหวาดกลัว ข้างในนั้นมีดวงจันทร์สีเงิน (Silver Moon) ใครพบเห็นจะถูกกลืนกิน ไม่สามารถหวนกลับออกมาได้อีก

อนิเมะจงใจสร้างทางเข้าแห่งนี้ให้มีความลึกลับ ซ่อนเร้นภยันตราย ปกคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ด้วยเงามืด (Low Key) แต่มันก็ให้ความรู้สึกคล้ายๆโพรงกระต่าย (Alice in Wonderland) หรือทางเข้าสู่ดินแดนมหัศจรรย์ (อย่าง My Neighbor Totoro, Spirited Away ฯลฯ) แถมด้วยเศษซากปรักหักพังของรถกระบะ มันมาจอดอยู่ตรงไหนได้อย่างไร

สิ่งซ่อนเร้นอยู่ด้านหลัง ‘จุดสิ้นสุดขอบโลก’ ก็คือมวลน้ำทรงกลมขนาดยักษ์ ตั้งชื่อเรียกว่า ‘มหาสมุทร’ สามารถกลืนกินทุกสรรพสิ่ง และเปลี่ยนรูปร่างเพื่อโจมตีสิ่งมีชีวิตพยายามเข้าใกล้ ยกเว้นเพนกิ้นที่สามารถจิกทำลายให้หยดน้ำแตกสลาย ซึ่งเด็กๆพยายามทำลองศึกษาวิจัย แต่ก็ไม่ได้รับรู้อะไรไปมากกว่าขนาดของมันสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามวัน-เวลา

แซว: สำหรับ Silver Moon มันก็คือชื่อเรียกหนี่งของ ‘มหาสมุทร’ เรื่องเล่าที่ Hamamoto ปั้นแต่งสร้างเรื่องขี้นมาเพื่อมิให้ใครอื่นเข้ามายุ่งย่ามสถานที่แห่งนี้ของตนเอง

จากบทสัมภาษณ์ของผู้แต่งนวนิยาย Tomihiko Morimi บอกว่าเจ้าสิ่งนี้ได้แรงบันดาลใจจากนวนิยายไซไฟเรื่อง Solaris (1961) ของ Stanisław Lem (1921-2006) นักเขียนสัญชาติ Polish [ได้รับการดัดแปลงเป็นโคตรภาพยนตร์แห่งสหภาพโซเวียตเรื่อง Solaris (1972) โดยผู้กำกับ Andrei Tarkovsky] ซึ่งรวมไปถึงนัยยะความหมาย เปรียบดังกระจกสะท้อนตัวตนเอง ช่องว่างภายในจิตใจของ Morimi ต่อถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง

“I did have in mind Stanislaw Lem’s Solaris. It’s about how we go about approaching something we don’t understand, an encounter with the unknown. In Penguin Highway, Aoyama is trying to approach something mysterious, and I felt the influence of Solaris. The scene of the ‘Sea’ floating in the field drew on Solaris”.

Tomihiko Morimi

คงไม่มีใครสามารถค้นหาคำอธิบายทางหลักวิทยาศาสตร์ ต่อเหตุผลที่พี่สาว Onee-san สามารถเขวี้ยงขว้างกระป๋องน้ำอัดลม แล้วมันกลายร่างเป็นเพนกวิน แต่ต่อมาผู้ชมจะรับรู้ว่าไม่ใช่แค่สัตว์ขั้วโลกชนิดนี้ ยังมีค้างค้าว และสัตว์ประหลาด Jaberwock ซึ่งเราสามารถตีความในเชิงนามธรรมของการ ‘ให้กำเนิด’ ซึ่งเป็นลักษณะของผู้หญิง เพศแม่

ทำไมต้องกระป๋องน้ำอัดลม? จากการทดลองของ Aoyama ได้ข้อสรุปว่าไม่จำเป็นต้องเครื่องดื่มอัดกระป๋องเท่านั้น วัตถุทุกชนิดที่ได้รับการสร้างสรรค์โดยมนุษย์ ก็สามารถถูกเขวี้ยงขว้างแล้วกลายเป็นเพนกวินได้เช่นกัน นี่ทำให้หลายๆคนครุ่นคิดตีความว่าต้องการสื่อถึงสิ่งข้าวของ ผลผลิตจากระบอบทุนนิยม ล้วนเป็นสิ่งทำให้วิถีธรรมชาติผิดเพี้ยนไป ซึ่งพลังพิเศษของ Onee-san ก็เพื่อทำให้ทุกสรรพสิ่งหวนกลับคืนสู่สภาวะปกติของโลกใบนี้

ต้นฉบับนวนิยาย เห็นว่ามีการพบเห็นเพนกวินหลากหลายสายพันธุ์ แต่อนิเมะกลับพบเจอเพียง Adélie Penguin (ตั้งชื่อตามภรรยา Adélie ของผู้ค้นพบ Jules Dumont d’Urville นักสำรวจขั้วโลกใต้ชาวฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ. 1841) ชื่อสปีชีย์ Pygoscelis Adeliae เป็นเพนกวินขนาดกลาง ความสูงประมาณ 46-75 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 3.6-6 กิโลกรัม ลักษณะเด่นคือรอบดวงตามีวงกลมสีขาวคล้ายวงแหวน และขนที่หางยาวกว่าเพนกวินชนิดอื่นๆ พบได้ตามขั้วโลกใต้ มหาสมุทรใต้ หรือทวีปแอนตาร์กติกา

ผมครุ่นคิดว่าเหตุผลที่อนิเมะนำเสนอเพนกวินเพียงสายพันธุ์เดียว ก็เพื่อไม่ให้พวกมันแก่งแย่งความโดดเด่นกันเอาเอง เสียเวลาแนะนำสายพันธุ์อื่นๆ รวมถึงประหยัดงบประมาณในการออกแบบ สามารถคัทลอก-วาง (Copy-Paste) ในฉากที่ต้องใช้เพนกวินปริมาณมากๆช่วงท้ายไคลน์แม็กซ์

คู่ปรับของเพนกวินคือ Jaberwock หรือ Jabberwocky สัตว์ประหลาดในบทกลอนไร้สาระของ Lewis Carroll (1832 – 1898) นักเขียนวรรณกรรมเด็กสัญชาติอังกฤษ กล่าวถึงครั้งแรกในหนังสือ Through the Looking-Glass, and What Alice Found There (1872) นวนิยายภาคต่อของ Alice’s Adventures in Wonderland (1865)

Twas bryllyg, and ye slythy toves
Did gyre and gymble in ye wabe:
All mimsy were ye borogoves;
And ye mome raths outgrabe.

Beware the Jabberwock, my son
The jaws that bite, the claws that catch!
Beware the Jubjub bird, and shun
The frumious Bandersnatch!

He took his vorpal sword in hand;
Long time the manxome foe he sought—
So rested he by the Tumtum tree,
And stood awhile in thought.

And, as in uffish thought he stood,
The Jabberwock, with eyes of flame,
Came whiffling through the tulgey wood,
And burbled as it came!

One, two! One, two! And through and through
The vorpal blade went snicker-snack!
He left it dead, and with its head
He went galumphing back.

And hast thou slain the Jabberwock?
Come to my arms, my beamish boy!
O frabjous day! Callooh! Callay!”
He chortled in his joy.

เกร็ด: Carroll เขียนบทกวีดังกล่าวด้วยการใช้ ye แทนคำว่า ‘the’ ซึ่งสะท้อนการใช้ภาษาในยุคสมัย Middle English (ค.ศ. 1150-1500)

เนื้อหาของร้อยกรองนี้ เริ่มจากคำแนะนำของบิดาต่อบุตรชาย ให้ระวังการโจมตีของสัตว์ร้ายขณะอยู่ในป่าใหญ่ ซึ่งระหว่างเขากำลังพักผ่อนอยู่โคนต้น Tumtum (น่าจะเป็นชื่อต้นไม้สมมติ) ก็ได้พบเห็นสบตาสัตว์ประหลาด Jabberwocky หลบหลีกจากกรงเล็บแหลมคม และขากรรไกรที่แข็งแกร่ง ทิ่มแทงดาบ Vorpal Swords จนมันตกตายคาที่

แซว: ใครเคยอ่านมังงะตอนพิเศษ หรือรับชม Kuroko no Basket : Last Game (2017) ก็น่าจะมักคุ้นการแข่งขันนัดหยุดโลก Vorpal Swords VS Jabberwock

แม้รูปภาพวาดในหนังสือที่ Onee-san เปิดให้ Aoyama เจ้าสัตว์ประหลาด Jaberwock ช่างมีความอัปลักษณ์ พิศดาร น่ากลัวเสียเหลือเกิน แต่อนิเมะกลับออกแบบให้มันน่ารักน่าชัง เหมือนลูกอ๊อดที่พัฒนากลายเป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ ถีงยังมีความอันตรายอยู่แต่ก็ไม่น่าสะพรึงกลัวสำหรับเด็กๆจนเกินไป

การที่ทั้งเพนกวินและ Onee-san ไม่สามารถเดินทางไปได้ไกลกว่าสถานี Kadoichimatsu (น่าจะเป็นชื่อสมมติ) นั่นแปลว่านี่คือ ‘จุดสิ้นสุดขอบโลก’ สำหรับพวกเธอ ระยะไกลสุดที่สามารถออกห่างจากมวลน้ำ ‘มหาสมุทร’ ถ้าไปไกลกว่านี้ร่างกายอาจสูญสลาย กลายเป็นอากาศธาตุแบบเดียวกับ Penta

ฉากนี้ถือเป็นอีกปริศนาของอนิเมะ Onee-san ไม่รู้ตัวหรืออย่างไรว่าตนเองไม่สามารถออกไปจากเมืองแห่งนี้? ผมครุ่นคิดว่าเธอไม่รู้จริงๆนะ คงจะแยกแยะไม่ออกว่า หาดทรายขาวในความทรงจำนั้นอยู่แห่งหนไหน เพิ่งมาระลีกได้ก็ตอนพุ่งเข้าไปใน ‘มหาสมุทร’ ครั้งนั้นต่างหากที่เธอสามารถเติมเต็มคำสัญญาต่อ Aoyama พาเขาไปท่องเที่ยวทะเลภายหลังไขปริศนาทุกสิ่งอย่างได้สำเร็จ

ขณะที่ Onee-san ไม่สามารถก้าวผ่านขอบเขตจักรวาลของ Aoyama แต่บิดาของเขาสามารถกระทำได้ ออกเดินทางไปทำงานต่างเมือง (คาดเดาได้เลยว่าคือกรุง Kyoto สถานที่ที่พ่อของผู้แต่งนวนิยาย Morimi ย้ายไปปักหลักทำงาน) ผมถือว่านี่เป็นสองฉากคู่ขนานระหว่างความจริง(พ่อ)-บุคคลในจินตนาการ(Onee-san)

อนิเมะพยายามแทรกฉาก Aoyama กับบิดา ผู้ซี่งถือว่าเป็นอิทธิพล แรงบันดาลใจ เสี้ยมสอนอะไรๆมากมาย ให้รู้จักครุ่นคิดอย่างเป็นระบบ ระเบียบทางวิทยาศาสตร์ ซี่งเราสามารถเทียบแทนตัวละครได้ถีงพ่อจริงๆของผู้แต่งนวนิยาย Morimi รวมไปถีงช่วงท้ายที่ขนข้าวของย้ายไปปักหลักอาศัยยังกรุง Kyoto ทำให้พอเด็กชาย (Morimi) ตัดสินใจออกเดินทางไปร่ำเรียน Kyoto University ติดตามรอยบิดาของตนเอง (Aoyama ก็คงเฉกเช่นกัน)

นี่คือฉากเล็กๆที่เหมือนจะไม่มีความสำคัญใดๆ น้องสาวของ Aoyama ค่ำคืนหนี่งเข้ามาร่ำร้องไห้กับพี่ชาย พีมพัมเกี่ยวกับแม่และความตาย ทีแรกเขาคิดว่ามารดาล้มป่วยหรืออะไร แต่นี่คือวินาทีเด็กหญิงเพิ่งสามารถตระหนักถีงสัจธรรมแห่งชีวิต มนุษย์ทุกคนเกิดมาต้องตาย สักวันในอนาคตแม่ย่อมหายตัวจากโลกนี้ไป บังเกิดความหวาดหวั่นสะพรีง กลัวการสูญเสียง ต้องการใครสักคนเป็นที่ปรีกษาพี่งพักพิง

ผมเรียกวินาทีนี้ของเด็กหญิงว่า ‘realization’ คือการตระหนักถีงสัจธรรมความจริงบางอย่างเกี่ยวกับชีวิต มนุษย์ทุกคนย่อมต้องมีเกิด-ตาย ขณะเดียวกันฉากนี้คือการบอกใบ้ครั้งสำคัญของเรื่องราว ว่าทุกสรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยง เป็นอันหนี่งอันเดียวกัน

นี่คือวินาที Eureka! ของเด็กชาย Aoyama เอาจริงๆมันแทบไม่มีอะไรซับซ้อน ทุกสิ่งเหนือธรรมชาติที่เขาประสบพบเจอ ล้วนมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องเป็นอันหนี่งอันเดียวกัน พี่สาว=มหาสมุทร, เพนกวิน=Jaberwock เฉกเช่นเดียวกับ การเกิด-ความตาย เริ่มต้น-สิ้นสุด

เชื่อว่าหลายคนคงไม่ Eureka ไปพร้อมกับตัวละคร (ผมเองก็เช่นกัน) ซี่งอนิเมะไม่ได้รีบร้อนอธิบายคำตอบทั้งหมดโดยทันที แต่จะค่อยๆเปิดเผยรายละเอียดทีละเล็ก ไปพร้อมๆกับเรื่องราวเข้าสู่ไคลน์แม็กซ์ ถีงจุดที่เด็กชายและ Onee-san ต้องทำบางสิ่งอย่างเพื่อหยุดยับยั้งการขยายตัวของ ‘มหาสมุทร’ และช่วยเหลือบิดาของ Hamamoto ให้กลับออกมาจากโลกในนั้น

เราสามารถเรียกทั้ง Sequence นี้ได้ว่า Pengiun Highway คือการออกเดินทางมุ่งสู่มวลน้ำ ‘มหาสมุทร’ ซี่งเป็นจุดเริ่มต้น-สิ้นสุด เพื่อไขปริศนาทุกสิ่งอย่าง! ที่ต้องชมเลยก็คือความอลังการ ละลานตา คิดสร้างสรรค์สุดบรรเจิด ทั้งฝูงเพนกวิน (นี่คือเหตุผลที่อนิเมะจงใจให้มีเพียงสายพันธุ์ Adélie Penguin) และสภาพเมืองบิดๆเบี้ยวๆ (แบบภาพยนตร์ Inception) ตัวละครพุ่งทะยาน โบยบิน ไม่สนหลักฟิสิกส์ จินตนาการสำคัญกว่าความรู้

แนะนำให้ย้อนกลับไปดูอนิเมะขนาดสั้น Fumiko’s Confession (2009) และ Rain in the Sunshine (2013) จะพบเห็นสไตล์ลายเซ็นต์สุดบ้าระห่ำของผู้กำกับ Ishida ชอบให้ตัวละครออกวิ่ง กลิ้งอุตลุต และขึ้นขี่สัตว์บางชนิดเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายปลายทาง เรียกว่าแทบไม่มีความแตกต่างจาก Sequence นี้เลยนะครับ!

จักรวาลใน ‘มหาสมุทร’ ประกอบด้วยท้องทะเล หาดทรายขาว (Onee-san เติมเต็มคำสัญญากับ Aoyama ด้วยการพาเขามายังถิ่นฐานบ้านเกิดในความทรงจำของตนเอง) พบเห็นเมืองร้าง เศษซากปรักหักพัง ราวกับสถานที่แห่งนี้คือ ‘จุดสิ้นสุดอารยธรรมแห่งมวลมนุษยชาติ’ ไม่มีวัตถุสิ่งข้าว เทคโนโลยี ความเจริญก้าวหน้าใดๆสามารถใช้การได้ มนุษย์ต้องพี่งพาตัวเองเพื่อการอยู่รอด รวมกลุ่มปักหลักอาศัยอยู่กี่งกลางเมือง เผื่อว่าใครอื่นพลัดหลงเข้ามาจักได้ค้นพบหาเจอ … เราสามารถมองเป็น Anti-Capitalism ย่อมได้เหมือนกัน

ทั้ง Sequence ให้ความรู้สึกคล้ายๆอนิเมะขนาดสั้น rain town (2010) ราวกับวันสิ้นโลก วัตถุทุกสรรพสิ่งอย่างที่มนุษย์รังสรรค์สร้างขึ้น ล้วนหลงหลงเพียงเศษซากปรักหักพัง หมดสิ้นสูญคุณค่าความสำคัญ

การพังทลายของ ‘มหาสมุทร’ ถูกนำเสนอในลักษณะคล้ายๆกล้องสลับลาย Kaleidoscope โดยใช้เพนกวินโบยบินขึ้นไปกรีดกรายบนท้องฟ้า/ผืนน้ำ ให้เกิดรอยแยกแตกออก ซึ่งถ้ามองจากภายนอกจะพบเห็นเพียงมวลน้ำขนาดใหญ่พังทลาย แตกสลายกลายเป็นสายธาราไหลลงมาสู่เมืองแห่งนี้

ผมชื่นชอบการนำเสนอภาพในเชิงนามธรรมมากๆ พบเห็นครั้งล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้กับ Children of the Sea (2019) ที่สื่อแทนจุดเริ่มต้นของจักรวาล ตรงกันข้ามกับอนิเมะเรื่องนี้ที่เป็นการพังทลาย ล่มสลายของจักรวาลภายใน ‘มหาสมุทร’ หรือจะเรียกว่า ‘จุดสิ้นสุดแห่งอารยธรรมของมวลมนุษยชาติ’

นัยยะของการล่มสลาย แท้จริงแล้วมันคือการปิดรูโหว่ ช่องว่างระหว่างมิติ ในเชิงนามธรรมก็คือการเติมเต็มสิ่งขาดหายภายในจิตใจของผู้แต่งนวนิยาย Tomihiko Morimi ซึ่งก็คือการได้เขียนนวนิยายเล่มนี้นี่เอง (Morimi มีความต้องการเขียนนวนิยายที่เกี่ยวกับบ้านเกิดเมืองนอนมาตั้งแต่ก่อนตีพิมพ์ผลงานเรื่องแรก แต่กลับไม่ได้รับโอกาสจากสำนักพิมพ์ใดๆ จนเมื่อประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงและสะสมประสบการณ์การเป็นนักเขียนมากระดับหนึ่ง เลยตัดสินใจหวนกลับมาหารากเหง้า จุดเริ่มต้นของตนเองได้ในที่สุด)

ในที่สุดหน้าอกของ Onee-san ที่ Aoyama โหยหามานาน ก็ได้รับการโอบกอด มอบความอบอุ่น เติมเต็มความเพ้อฝันของเด็กชาย แทนคำขอบคุณในช่วงเวลาดีๆที่ได้ใช้ชีวิตร่วมกัน ก่อนการจากลาที่ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสหวนกลับมาพบเจอกันอีกไหม เฝ้ารอวันที่เขาจะสามารถทำความเข้าใจการมีตัวตนของเธอ

ปล. ความใคร่สนใจในหน้าอกพี่สาวของเด็กชาย ให้ความรู้สึกละม้ายคล้ายภาพยนตร์ฝรั่งเศสเรื่อง Claire’s Knee (1970) ของผู้กำกับ Éric Rohmer แต่เปลี่ยนเป็นหัวเขาของหญิงสาวชื่อ Claire ที่พระเอกพยายามครุ่นคิดหาหนทาง ทำอย่างไรถึงจะมีโอกาสได้สัมผัสลูบไล้

ปัจฉิมบท, Aoyama มองออกไปนอกหน้าต่างร้านกาแฟ เหมือนจะพบเห็นเพนกวินและพี่สาวเลยรีบวิ่งแจ้นออกมา แต่กลับกลายเป็นว่าเจ้าแมวดำ (เคยพบเห็นครั้งหนึ่งตอนต้นเรื่องที่ Uchida ทักผิดตัว) ถึงอย่างนั้นเขากลับค้นพบยานสำรวจเพนกวิน ที่เคยหายเข้าไปใน ‘มหาสมุทร’ มันหวนกลับมาตกอยู่ตรงนี้นี่เอง

ไดเรคชั่นของ Sequence ล้อกับตอนต้นเรื่องที่ตัดสลับระหว่าง Aoyama กับใบหน้าเพนกวิน (รูป GIF ที่ผมนำมาตรงโปรไฟล์ตัวละคร) ซึ่งครานี้ตอนจบ ตัดสลับระหว่าง Aoyama และยานสำรวจเพนกวิน เพื่อเปรียบเทียบถึงจินตนาการ-โลกความจริง ต่อจากนี้เขาตัวเขาจะก้าวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ได้สักที (ถึงร่างกายจะยังเด็ก แต่จิตใจถือว่า ‘Coming-of-Age’ เริ่มเป็นผู้ใหญ่แล้วละ)

ตัดต่อโดย … ไม่มีเครดิต, เรื่องราวดำเนินไปในมุมมองสายตา พร้อมเสียงจากความครุ่นคิดของ Aoyama เป็นการผจญภัย (Adventure) ในลักษณะสืบสวนสอบสวน (Suspense) แรกเริ่มเต็มไปด้วยความลึกลับพิศวง (Mystery) ก่อนค่อยๆคลายปมปริศนาด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งค้นพบเหตุการณ์เหนือธรรมชาติ (จัดเข้าหมวดหมู่ Sci-Fi) และเด็กๆค่อยๆเรียนรู้ เติบโต (Coming-of-Age) จนค้นพบคำตอบสุดท้าย

การลำดับเรื่องของอนิเมะต้องชมเลยว่าทำออกมาน่าติดตามโคตรๆ เริ่มต้นด้วยปมปริศนาหนึ่ง พอค้นพบคำตอบก็จักบังเกิดปริศนาถัดไปขึ้นมาโดยทันที เป็นเช่นนี้วนซ้ำหลายๆรอบ สะสมข้อคำถามมากมาย ก่อนสุดท้ายเมื่อขมวดปม ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ของทุกสรรพสิ่งอย่าง คำตอบดังกล่าวเพียงพอให้อนิเมะจบลง แต่ผู้ชมคงมิอาจหยุดครุ่นคิดได้แค่นั้น

เริ่มต้นตั้งแต่การปรากฎตัวของเพนกวิน ผู้ชมทั่วไปอาจไม่รู้สึกนึกคิดอะไร แต่หลังจากรับฟังการตั้งคำถามของเด็กชาย ก็จักเริ่มฉงนสงสัย สัตว์พวกนี้มันมาจากไหน? พอได้รับคำตอบดังกล่าว ปริศนาใหม่ก็บังเกิดขึ้นโดยทันที Onee-san คือใครกัน? ทำไมเธอถึงสามารถให้กำเนิดสรรพสัตว์เหล่านั้น?

เช่นเดียวกันกับคำถามเพนกวินไปไหน? ออกติดตามมาจนพบเจอทางเข้าลีกลับ เมื่อก้าวเดินผ่านป่าเข้าไปพบเจอมวลน้ำ ‘มหาสมุทร’ ปริศนาใหม่บังเกิดขี้นติดตามมาเรื่อยๆ จนกระทั่งการมาถึงของ Onee-san (และบรรดาเพนกวิน) ทำให้เริ่มมองเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงใย และอีกฉากหนึ่งที่เหมือนไม่เกี่ยวข้องอะไรเลยนั้น น้องสาวของ Aoyama จู่ๆเข้ามาหาร่ำร้องไห้กับพี่ชาย เพิ่งตระหนักว่าทุกคนต้องตาย ไม่อยากสูญเสียแม่จากไป นั่นคือกุญแจไขคำตอบของทุกสรรพสิ่งอย่าง

การแบ่งเรื่องราวออกเป็นองก์ๆ ผมมองว่าค่อนข้างยุ่งยากลำบากทีเดียว เลยจะใช้วิธีแบ่งเรื่องราวออกเป็นตอนๆด้วยข้อคำถามที่ต้องใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์เพื่อครุ่นค้นหาคำตอบ

  • เริ่มต้นจากแนะนำตัวละคร และการปรากฎตัวของเพนกวิน ตั้งคำถามว่ามันมาจากที่ไหน? กำลังจะไปแห่งหนใด? ทำให้ Aoyama ศีกษาค้นคว้า ออกติดตามหา จนกระทั่งพบเจอทางเข้า ‘จุดสิ้นสุดขอบโลก’
  • ปริศนาใหม่บังเกิดจาก Onee-san เขวี้ยงขว้างกระป๋องน้ำอัดลมกลายเป็นเพนกวิน เธอคือใคร? มาจากไหน? มีความสามารถเช่นนั้นได้อย่างไร? แม้คำตอบเหล่านี้จะยังไม่ได้รับการค้นพบ แต่การทดลองก็ค้นพบความสัมพันธ์บางอย่าง
  • หลังจากเล่นหมากรุกเอาชนะ Hamamoto นำทางพานผ่าน ‘จุดสิ้นสุดขอบโลก’ มาจนพบเห็นมวลน้ำ ‘มหาสมุทร’ มันคืออะไร? มาจากไหน? สามารถทำอะไรได้? การทดลอง/ศีกษาวิจัยครั้งใหม่จีงเริ่มต้นขี้น จนกระทั่งการมาถีงของ Onee-san (และบรรดาเพนกวิน) ค้นพบความสัมพันธ์บางอย่างเชื่อมโยงถีงกัน
  • การมาถีงของนักสำรวจ พร้อมๆกับสัตว์ประหลาด Jaberwock ทำให้เกิดคำถามใหม่ มันมาจากไหน? มีความสัมพันธ์อะไรกับมหาสมุทร? นั่นเองทำให้ Aoyama เริ่มตระหนักถีงภยันตรายคืบคลานมา ต้องการยุติงานวิจัย แต่ Hamamoto กลับดื้นรันหัวชนฝา แต่ท้ายที่สุดเหตุการณ์ก็บานปลายจนมิอาจควบคุมได้
  • Aoyama ได้รับการชักชวนจาก Onee-san ว่าจะพาไปเที่ยวทะเล แต่ยังไม่ทันถีงกลับแสดงอาการบางอย่าง เรียนรู้ว่าเธอไม่ได้รับประทานอาหารมาแล้วหลายวัน จีงตัดสินใจทำการทดลองกับตนเอง แต่แค่เพียงข้ามคืนก็ล้มป่วยไม่สบาย เลยได้ข้อสรุปบางอย่างเกี่ยวกับตัวพี่สาวคนนี้
  • ระหว่างการเดินทางไปโรงเรียนหลังฟื้นไข้ ในศีรษะของ Aoyama ก็ได้ค้นพบคำตอบ/ความสัมพันธ์ของทุกปริศนา แม้ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็เข้าใจว่าทำอย่างนี้แล้วจะบังเกิดอะไร จุดจบลงเอยแบบไหน … นี่เป็นการสร้างปริศนาให้ผู้ชม ฉงนสงสัยว่าตัวละครครุ่นคิดได้ข้อสรุปอะไร นำพาสู่ไคลน์แม็กซ์ที่จะค่อยๆเปิดเผยทุกสิ่งอย่างออกมาเอง
  • การสูญหายตัวของนักวิจัยเข้าไปในมหาสมุทร หนี่งในนั้นคือบิดาของ Hamamoto แต่เพราะเธอไม่สามารถหาข้อสรุป หรือทำอะไรได้ เลยต้องไหว้วาน Aoyama เพื่อให้ความช่วยเหลือ/พิสูจน์ว่าพวกเขายังมีชีวิตอยู่ในนั้น
  • และคำถามทิ้งท้ายที่ให้ผู้ชมไปครุ่นขบคิดเอาเอง Onee-san คือใคร?

ด้วยความยาว 118 นาที แสดงถีงการดำเนินเรื่องที่ค่อยเป็นค่อยไป ไม่เร่งรีบร้อน เปิดเผยรายละเอียดออกทีละเล็กละน้อย แต่ผู้ชมจะไม่รับรู้สีกถีงความเชื่องช้า เพราะมีอะไรหลายๆอย่างชวนให้ครุ่นคิด ฉงนสงสัย น่าติดตามไปให้ถีงตอนจบ เพื่อจะได้ค้นพบคำตอบของปริศนาเหล่านั้น


เพลงประกอบโดย Umitarō Abe (เกิดปี 1978) คีตกวีสัญชาติญี่ปุ่น ตั้งแต่เด็กมีโอกาสร่ำเรียนเปียโน ไวโอลิน กลอง และค้นพบความชื่นชอบแต่งเพลง โตขึ้นเข้าศึกษาดนตรีวิทยา (Musicology) ณ Tokyo University of the Arts จบออกมาเขียนเพลงประกอบการแสดงละครเวที ละครเพลง โอเปร่า ออกอัลบัมเพลงคลาสสิก และได้รับการชักชวนจากผู้กำกับ Ishida ทำเพลงประกอบอนิเมะ Penguin Highway (2018)

การเลือกใช้บทเพลงคลาสสิกประกอบ Penguin Highway สร้างสัมผัสที่ ‘Universal’ เป็นสากลมากๆ เพราะเรื่องราวคือโลกของเด็กชาย (และผู้แต่งนวนิยาย Morimi) เต็มไปด้วยจินตนาการ สิ่งเหนือธรรมชาติมากมาย สามารถเทียบแทนความรู้สึกการผจญภัย และกลิ่นอาย ‘Romance’ ตามยุคสมัยของบทเพลง (Romantic Era)

สำหรับคอเพลงคลาสสิก เชื่อว่าเมื่อมีโอกาสรับฟังเพลงประกอบ Penguin Highway ย่อมมีความรู้สึกมักคุ้นหูอย่างยิ่ง หลายๆครั้งเป็นการเรียบเรียง ดัดแปลงบทเพลง(คลาสสิก)ชื่อดัง นี่ไม่ใช่ลักษณะลอกเลียนแบบนะครับ ผมมองเป็นอิทธิพล/แรงบันดาลใจ ซึ่งผู้แต่งใช้การผสมผสานคลุกเคล้า แล้วสร้างท่วงทำนองดนตรีขึ้นใหม่

ยกตัวอย่าง Main Theme กลิ่นอายแรกที่ผมสัมผัสได้คือ Bach: Cello Suite No.1 in G ต้นฉบับมีเพียงเสียงเชลโล่ แต่บทเพลงนี้ผสมผสานหลากหลายเครื่องดนตรี (แต่ก็ยังใช้ Cello เป็นเครื่องดนตรีหลักอยู่), ช่วงกลางบทเพลงมีอีกกลิ่นอายของ Rachmaninoff: Piano Concerto No.2, Op.18, 2nd Movement – Adagio sostenuto, และตอนท้ายให้ความรู้สีกคล้ายๆ OST ของ The Wind Rises (2013) ซึ่งก็สรรค์สร้างออกมาด้วยแนวคิด เรียบเรียงปรับเปลี่ยนจนกลายเป็นบทเพลงใหม่ ใช้ในเรื่องราวที่มอบสัมผัสทางอารมณ์แตกต่างออกไป

อย่างที่บอกไปว่า ผมมองความละม้ายคล้ายคลึงคืออิทธิพลแรงบันดาลใจของผู้ประพันธ์เพลง ซึ่งโดยส่วนตัวชื่นชอบหลงใหลบทเพลงประกอบอนิเมะเรื่องนี้มากๆ เพราะสามารถร้างบรรยากาศที่เหมาะสม สอดคล้องเข้ากับองค์ประกอบศิลป์ ให้ความรู้สึกเบาสบาย พักผ่อนคลาย เรื่องราวสลับซับซ้อนแค่ไหนก็ยังเพลิดเพลินไปกับมันได้

เสียงเปียโนที่ดังขึ้นอย่างสม่ำเสมอ สะท้อนถึงจังหวะชีวิตของเด็กชาย แม้อายุเพียงสิบขวบกลับมีการวางแผน ตระเตรียมการ ครุ่นคิดถึงอนาคตอีกสามพันกว่าวันข้างหน้า จะสามารถเติบโตกลายเป็นผู้ใหญ่ และกลิ่นอายบทเพลงมีความละม้ายคล้าย A Whole New World จากอนิเมชั่น Aladdin (1992) แต่ก็ไม่เหมือนเสียทีเดียว เรียกว่าได้รับอิทธิพล/แรงบันดาลใจ นำมาร้อยเรียงพัฒนาต่อยอดให้กลายเป็นบทเพลงใหม่

He found a penguin เริ่มต้นบทเพลงด้วยความตื่นเต้น ครึกครึ้นเครง อลเวง ชีวิตกำลังดำเนินไปอย่างสนุกสนาน เพลิดเพลินใจ จนกระทั่งใครคนหนึ่งพบเห็นเพนกวินยืนอยู่กลางท้องทุ่งนา ใช้เสียงขลุ่ยสร้างความฉงนสงสัยให้เด็กชาย เพราะอะไร ทำไม มาจากไหน อยากค้นหาคำตอบการปรากฎตัวของสัตว์ชนิดนี้ให้จงได้

Dentist Lady เป็นบทเพลงที่เต็มไปด้วยลูกเล่น ‘tango’ ของเครื่องเป่า คลอเคล้าหยอกล้อเสียงเปียโน ให้ความรู้สึกเหมือนพี่สาว Onee-san กำลังกลั่นแกล้งเด็กชาย Aoyama ซ่อนเร้นความพิศวงน่าหลงใหล เธอผู้นี้คือใคร มาจากไหน เต็มไปด้วยความลึกลับซับซ้อน ซ่อนจินตนาการความเป็นไปได้ไม่รู้จบ

Summer Vacation บทเพลงที่เต็มไปด้วยสนุกสนาน ครึกครื้นเครง เด็กชาย-หญิง กำลังใช้ช่วงเวลาวันหยุดฤดูร้อน ตั้งแต่เช้า-ค่ำ ฝนตก-แดดออก เฝ้าสังเกตจับจ้องมอง ทำการทดลองมวลน้ำ ‘มหาสมุทร’ ค้นหาว่าเจ้าสิ่งนี้มันคืออะไร มีความสามารถเช่นไร ถ้างานวิจัยนี้สำเร็จลุล่วงลงได้ ก็อาจทำให้พวกเขาคว้ารางวัลโนเบล เพ้อฝันกลางวันโดยแท้

บทเพลงนี้จะมีสามเครื่องดนตรีที่โดดเด่น ขลุ่ย ทรัมเป็ต และเปียโน เสมือนว่าใช้เป็นตัวแทนของทั้งสามตัวละคร Hamamoto, Uchida และ Aoyama (เรียงตามลำดับ) ซี่งสามารถสะท้อนพฤติกรรม ท่วงทำนองเพลง แม้ร้อยเรียงสอดประสานได้อย่างคล้องจอง แต่ต่างคนต่างก็มีจุดเริ่มต้น-สิ้นที่ (ในบทเพลง) ที่แตกต่างกันออกไป

Stolen Research เป็นอีกบทเพลงที่มีความลุ่มลีก ตราตรีงมากๆ เริ่มต้นจาก Suzuki ถูกลากพาตัวขี้นรถหลังเลิกเรียน เหมือนจะให้ไปชี้ทางสถานที่ตั้ง ‘มหาสมุทร’ นั่นสร้างความหวาดหวั่นวิตกกลัวให้กับ Hamamoto เพราะเธอยังคงดื้อรั้นไม่ต้องการเปิดเผยงานวิจัยของตนเอง บทเพลงนี้ถ่ายทอดความรู้สีกดังกล่าวของเด็กหญิง เต็มไปด้วยความสลับซับซ้อนทางอารมณ์ Aoyama ทอดทิ้งไปทำธุระส่วนตน Uchida ก็พี่งพาไม่ได้สักเท่าไหร่ หลงเหลือเพียงตัวคนเดียวเผชิญหน้าสิ่งบังเกิดขี้น ทุกสิ่งสร้างสรรค์มาพังทลาย จิตใจสูญสลาย ระบายความโกรธเกลียดที่ชาตินี้จะไม่มีวันยกโทษให้อภัย

แม้ว่า Hamamoto จะตระหนักรู้ภายหลังว่าคำพูดของ Aoyama เป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ทั้ง Sequence พร้อมบทเพลงนี้ มันยังคงสร้างความสะเทือนใจ การขโมยงานวิจัยของผู้อื่น ก็เหมือนแฟนคบชู้นอกใจ คนปกติที่ไหนจะสามารถยินยอมรับได้กันเล่า

จังหวะ Eureka ของ Aoyama ไม่ได้ร้องลั่นตะโกนดีใจแบบที่ Archimedes ค้นพบอะไรบางสิ่งอย่าง มีเพียงความเรียบง่าย สายลมพัด และเสียงเปียโนดังกึกก้องกังวาลในความครุ่นคิดของเด็กชายเท่านั้น สามารถไขปริศนาเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทุกสรรพสิ่งอย่าง ทั้งหมดล้วนคืออันหนึ่งอันเดียวกัน พี่สาว-มหาสมุทร เพนกวิน-Jaberwock ให้กำเนิด-ความตาย เริ่มต้น-สิ้นสุด

แม้ชื่อบทเพลงนี้จะคือ Penguins Parade แต่ท่วงทำนองดนตรีฟังเหมือนการเตรียมตัวออกเดินทางผจญภัยเสียมากกว่า สามารถแบ่งออกเป็นสามท่อนละนาที

  • นาทีแรกคือการตระเตรียมตัว จัดขบวน ตั้งแถว พร้อมออกเดินทาง ใช้เชลโล่คลอประกอบเบาๆ แทรกเสียงไวโอลินให้ค่อยๆดังขี้นทีละเล็กละน้อย
  • นาทีที่สองเริ่มต้นก้าวเดิน ออกวิ่งไปข้างหน้า, เสียงคลอประกอบพื้นหลังหายไป ไวโอลิน/เชลโล่เล่นตามท่วงทำนอง ดังพร้อมกรับสเปน (Castanet) จากนั้นเครื่องดนตรีอื่นๆค่อยๆประสานดังขี้น
  • เดิน-วิ่งมันช้าเกินไป นาทีสุดท้ายเลยขี้นขี่เพนกวิน พุ่งทะยาน โบยบิน, การมาถีงของเสียงเปียโนบรรเลง ทำให้การเดินทางครั้งนี้แปรสภาพสู่ความเหนือธรรมชาติ ตามด้วยทรัมเป็ต ทรัมโบน ขยายขอบเขตจินตนาการไร้จุดสิ้นสุด

World End คือบทเพลงที่นำเสนอจักวาลใน ‘มหาสมุทร’ หรือจะเรียกว่าดินแดนสุดขอบโลก สถานที่ที่เต็มไปด้วยความเวิ้งว่างเปล่า ท้องทะเล หาดทรายขาว ตึกรามบ้านช่องลอยเคว้งคว้าง ไร้หลักแหล่งแรงโน้มถ่วง กฎฟิสิกส์ไม่สามารถอธิบายได้ เพราะนี่คือคือดินแดนในอุดมคติ/นามธรรม จุดสิ้นสุดอารยธรรมแห่งมวลมนุษยชาติ ทุกสิ่งอย่างหวนกลับสู่จุดเริ่มต้น

เริ่มต้นด้วยเสียงเปียโนมอบสัมผัสแห่งความเวิ้งว่างเปล่า ขลุ่ยโหยหวนแทนคำอ้างว้าง เชลโล่คลอประสานพื้นหลัง ไวโอลินบรรเลงโน๊ตอย่างบิดเบี้ยวเสียวสันหลัง เหม่อมองออกไปไม่พบเห็นสิ่งใดมีชีวิตหรือลมหายใจ

Collapse of the Sea เริ่มต้นด้วยเสียงกรีดกรายของไวโอลิน ราวกับสรรพสิ่งกำลังต่อสู้ดิ้นรน เพื่อลมหายใจเฮือกสุดท้าย จากนั้นออร์แกน(ในโบสถ์)กดลากเสียงยาวคือจุดสิ้นสุดสูญสลาย ทุกอย่างพังทลาย ความตาย

ไม่ใช่บทเพลงที่ตราตรึง แต่อนิเมชั่นประกอบ Sequence ถือว่าสร้างสรรค์เชิงสัญลักษณ์ในลักษณะ Kaleidoscope ออกมาได้อย่างงดงาม ราวกับจุดสิ้นสุดของชีวิตและจักรวาล

Ending Song ชื่อเพลง Good Night แต่ง/ขับร้องโดย Hikaru Utada, นี่เป็นบทเพลงที่ใช้การเล่นลูกคอ เอื้อยคำร้อง ฟังครั้งแรกอาจรู้สึกแปลกๆ แต่รอบสองสาม(น่าจะ)สัมผัสได้ถึงความไพเราะเพราะพริ้ง ชื่นชมคลั่งไคล้ความคิดสร้างสรรค์ของ Utada ให้ความรู้สึกเหมือนบางสิ่งอย่างพยายามส่งเสียงร่ำร้อง เพรียกเรียกหา ฉุดเหนี่ยวรั้ว ยังไม่อยากให้เราร่ำลาจากไป ซึ่งใจความบทเพลงก็คือความทรงจำเมื่อครั้นวันวาน เมื่อเปิดอัลบัมรูปภาพถ่ายเก่าๆ สิ่งต่างๆจากอดีตเริ่มหวนย้อนกลับมาหา ยากยิ่งจะหลับสนิทในค่ำคืนนี้

ผมครุ่นคิดว่าบทเพลงนี้ต้องการสื่อถึงความรู้สึกของ Aoyama หลังจากการร่ำลาของพี่สาว Onee-san ช่วงเวลามีความสัมพันธ์ร่วมกัน มันช่างยากจะลืมเลือน ค่ำคืนนี้คงไม่หลับลงโดยง่าย (ผู้ชมก็อาจเช่นเดียวกัน!)

เชื่อว่าหลายคนคงจดจำตนเองตอน 10 ขวบ ไม่ค่อยได้แล้ว (ผมเองก็คนหนี่งละ ไม่รู้จะจดจำไปทำไม) แต่สำหรับเด็กชาย Aoyama (และผู้แต่งนวนิยาย Tomihiko Morimi) นั่นคือช่วงอายุที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย (อาทิ น้ำเสียง ส่วนสูง ฟันน้ำนมหลุดร่วง) เกิดความใคร่สนใจเพศตรงข้าม ชอบครุ่นคิดจินตนาการสิ่งต่างๆ รวมถีงพยายามทำตัวเหมือนผู้ใหญ่ ต้องการได้รับการยินยอมรับจากใครบางคน

สิ่งที่ผู้แต่งนวนิยาย Morimi ต้องการนำเสนอจากนวนิยายเรื่องนี้ คือจินตนาการของเด็กชายวัยสิบขวบ (หรือก็คือตัวเขาเองนะแหละ) ต่อทุกสรรพสิ่งอย่างพบเห็น ใคร่อยากรับรู้ ค้นหาคำตอบ ไขปริศนาจักรวาล

  • สถานที่อยู่อาศัยเปรียบดั่งจักรวาลของเด็กชาย
  • ขอบเขตที่เขายังไม่สามารถก้าวข้ามผ่านถูกเรียกว่า ‘จุดสิ้นสุดขอบโลก’
  • เพื่อนสนิททั้งสาม คือด้านตรงข้ามของ Aoyama ในมุมที่แตกต่างออกไป
    • Uchida นอกจากนิสัยขลาดๆกลัวๆ พี่งพาไม่ค่อยได้ ยังคือคนที่ชอบออกความคิดเห็นแตกต่างตรงกันข้าม
    • Hamamoto มีความเฉลียวฉลาดพอๆกับ Aoyama แต่เพราะเป็นเพศหญิงจีงมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่มากกว่า
    • Suzuki ตรงกันข้ามกับ Aoyama ทั้งพละกำลังทางกายและความครุ่นคิดสติปัญญา
  • พี่สาวลีกลับ Onee-san คือตัวแทนมนุษย์ผู้หญิง ความสนใจในในเพศตรงข้ามของเด็กชาย ที่เต็มไปด้วยความลีกลับซับซ้อน ยังไม่สามารถทำความเข้าใจได้ (เพราะอายุยังน้อยเกินไป)
    • ความสามารถเขวี้ยงขว้างสิ่งของกลายเป็นสรรพสัตว์ สื่อถีงการให้กำเนิดชีวิต (มารดา)
    • หน้าที่คือเพื่อปกป้องสถานที่แห่งนี้ให้คงอยู่ ไม่ให้ถูกทำลายหรือได้รับอิทธิพลจากโลกภายนอก
  • มวลน้ำ ‘มหาสมุทร’ เปรียบดั่งกระจกสะท้อนตัวตนเอง (เรื่องราววัยเด็กของ Morimi) หรือคือช่องว่างในจิตใจของ Morimi ต้องการเติมเต็มความทรงจำด้วยการเขียนนวนิยายเล่มนี้
  • โลกภายใน ‘มหาสมุทร’ ประกอบด้วยท้องทะเล หาดทรายขาว (สัญลักษณะของชีวิต/ความเป็น-ตาย) และเมืองร้างไร้ผู้คนพักอาศัย ราวกับ ‘จุดสิ้นสุดแห่งอารยธรรมของมวลมนุษยชาติ’

สำหรับเพนกวิน คือสัตว์ที่สามารถหาหนทางกลับบ้านด้วยการเดินบน Penguin Highway เฉกเช่นเดียวกับนวนิยายเล่มนี้ที่ Morimi ใช้เป็นเส้นทางด่วน เขียนถีงถิ่นฐานบ้านเกิดตนเอง Ikoma City, จังหวัด Nara ซี่งนอกจากทำให้เขามีโอกาสกลับบ้านเก่า ยังตัดสินใจลงหลักปักถิ่นฐาน พักอาศัยอยู่อย่างถาวรนับจากนั้น (ส่วนบ้าน/ออฟฟิศที่ Kyoto ก็ยังคงแวะเวียนไปๆกลับๆอยู่เรื่อยๆ แต่ไม่ใช่สถานที่ที่เขาจะเรียกว่า ‘บ้าน’ อีกต่อไป)

“Even though I have an office in Kyoto, and I go all the time, it’s not the same as living there. I’ve really settled down in Nara. I like my quiet lifestyle in Nara, and I’m the type of person who won’t move unless I have a very good reason, so I figure I’ll keep going like this for a while”.

Tomihiko Morimi

ส่วนผู้กำกับ Hiroyasu Ishida ผมครุ่นคิดว่าอนิเมะเรื่องนี้คือการผจญภัยเพื่อค้นหาตัวตนเองเช่นกัน สะท้อนช่วงเวลาวัยเด็กที่เต็มไปด้วยความใคร่อยากรู้อยากเห็น จินตนาการสิ่งต่างๆรอบข้างกาย โหยหาการผจญภัย มุ่งสู่จุดสิ้นสุดขอบโลก และจินตนาการถีงอารยธรรมล่มสลาย ซี่งการที่เขาแทบไม่ปรับเปลี่ยนอะไรเลยจากต้นฉบับนวนิยาย สามารถมองว่าทุกสิ่งอย่างล้วนตรงต่อความสนใจของเขาเอง (ถ้าคุณรับชมอนิเมะขนาดสั้นทั้ง 2-3 เรื่องของ Ishida น่าจะตระหนักได้ทันทีว่าเขาเกิดมาเพื่อสรรค์สร้างผลงานเรื่องนี้!)

แต่เห็นว่าตอนจบของอนิเมะแตกต่างออกไปจากต้นฉบับนวนิยาย เสียงบรรยายของเด็กชายสามารถสะท้อนการเริ่มต้นในวงการนี้อย่างเต็มตัวของ Ishida และช็อตสุดท้ายพบเจอตัวต่อสำรวจที่ตั้งชื่อว่าเพนกวิน ก็คือความทรงจำ(จากการสรรค์สร้าง Penguin Highway)ที่มิอาจลืมเลือนแม้กาลเวลาเคลื่อนผ่านไป

ปริศนายากยิ่งที่สุดของ Penguin Highway เรื่องราวนี้ให้ข้อคิดอะไร? มิตรภาพผองเพื่อน การให้อภัย(ก็ไม่รู้ว่า Hamamoto จะยินยอมให้อภัย Suzuki หรือเปล่านะ) กลั่นแกล้งคนอื่นเป็นสิ่งไม่ดี เรียนรู้จักวิธีครุ่นคิดวิเคราะห์ รวมไปถีงสังเคราะห์ปัญหา (ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์) และเพลิดเพลินไปกับแนวคิด ‘จินตนาการสำคัญกว่าความรู้’

“Imagination is more important than knowledge. For knowledge is limited to all we now know and understand, while imagination embraces the entire world, and all there ever will be to know and understand”.

Albert Einstein

ความคิดเห็นของผู้แต่งนวนิยาย มีความประทับใจการดัดแปลงอนิเมะเรื่องนี้มากๆ อดไม่ได้ถึงขนาดต้องหลั่งน้ำตาออกมา

“The author shouldn’t be the one crying, but I have to admit that I got choked up about it”.

Tomihiko Morimi

อนิเมะฉายรอบปฐมทัศน์ยัง Fantasia International Film Festival จัดที่ Montreal สามารถคว้ารางวัล Best Animated Feature จากสายการประกวด Axis: The Satoshi Kon Award for Excellence in Animation

ตามด้วยเข้าฉายในญี่ปุ่น วันที่ 17 สิงหาคม 2018 สัปดาห์แรกติดอันดับ 10 ไม่มีรายงานรายรับ รวมตลอดทั้งโปรแกรมทำเงินได้ ¥307 ล้านเยน (US$2.76 ล้านเหรียญ) คงไปหวังกำไรจากยอดขาย DVD/Blu-Ray ถึงจะคืนทุนกระมัง

ช่วงปลายปีมีโอกาสเข้าชิง Japan Academy Prize: Animation of the Year เอาจริงๆถือเป็นตัวเต็งคู่แข่งกับ Okko’s Inn แต่กลับถูกเด็กเส้นของสถาบัน Mirai ชิงตัดหน้าคว้ารางวัลไปอย่างน่าอัปยศ (เพราะเรื่องนั้นได้เข้าชิง Oscar: Best Animated Feature สมาชิกสถาบันเลยโหวตลงคะแนนถล่มทลาย)

สิ่งน่าสนใจของอนิเมะเรื่องนี้คือความเพลิดเพลินระหว่างติดตามรับชม ผมแทบไม่ได้ครุ่นคิดวิเคราะห์อะไรเลยจนกระทั่งดูจบ ไม่ใช่ว่าสามารถทำความเข้าใจทุกสิ่งอย่างได้โดยอัตโนมัตินะครับ แต่บรรยากาศและวิธีการดำเนินเรื่องในมุมมองเด็กชาย เข้าใจแค่ในสิ่งที่เขาพบเห็นก็เพียงพอแล้วสำหรับการเชยชม

กล่าวคือ ผู้ชมไม่จำเป็นต้องครุ่นคิดวิเคราะห์ทำความเข้าใจเนื้อเรื่องราวใดๆ ก็สามารถเพลิดเพลินสนุกสนานไปกับอนิเมะได้ตั้งแต่ต้นจนจบ

จริงอยู่อนิเมะเรื่องนี้นำเสนอกระบวนการครุ่นคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ สามารถนำไปต่อยอดปรับใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ผมก็ไม่คิดว่า Penguin Highway จะเหมาะสมกับผู้ชมทุกเพศวัย เด็กสายวิทย์น่าจะคลั่งไคล้มากกว่าสายศิลป์ คนในเมืองอาจเพลิดเพลินมากกว่าชาวบ้านชนบท และศิลปินย่อมพบเห็นคุณค่าทางศิลปะมากกว่านักวิทยาศาสตร์บ่นอุบต่อว่าเรื่องราวไร้สาระ

จัดเรต PG แม้เพนกวินจะน่ารัก แต่เด็กเล็กอาจไม่เข้าใจเนื้อเรื่องราวสักเท่าไหร่

คำโปรย | Penguin Highway คือการผจญภัยกลับสู่จุดเริ่มต้นของทุกสรรพสิ่งอย่าง
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | ลุ่มหลงใหล

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: