Persona (1966) Swedish : Ingmar Bergman ♥♥♥♥♡

(5/2/2022) ได้รับการเปรียบเทียบถึงยอดเขาเอเวอร์เรส สำหรับคนชอบครุ่นคิด ปีนป่าย ท้าทายความเข้าใจ ไปให้ถึงจุดสูงสุดของภาพยนตร์เรื่องนี้ เพื่อพบเจอกระจกบานหนึ่ง ส่องสะท้อนภาพของตัวเราเอง

[Persona] has been for film critics and scholars what climbing Everest is for mountaineers: the ultimate professional challenge. Besides Citizen Kane, it is probably the most written-about film in the canon.

Thomas Elsaesser ศาสตราจารย์/นักประวัติศาสตร์ภาพยนตร์

Persona (1966) ยังคงเป็นภาพยนตร์ที่ผมปีนป่ายไม่ถึงยอดเขาสักที ทุกครั้งที่รับชมล้วนเกิดมุมมองใหม่ๆ ความเข้าใจแตกต่างออกไป ซึ่งมันคงไม่มีถูก ไม่มีผิด มีแต่ความรู้สึกที่ยังไม่ใช่ ไม่ดีพอ ต่อให้กาลเวลาเคลื่อนพานผ่าน ก็ไม่มีสิ่งใดการันตีว่าเราจะสามารถไปถึงจุดๆนั้น

ถึงอย่างนั้นตั้งใจว่านี่จะเป็นครั้งสุดท้ายในการเขียนถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ ไม่ใช่เพราะผมปีนป่ายจนถึงยอดเขา แต่คือการได้ค้นพบจุดสูงสุดของตนเอง มันถึงเวลาหยุดครุ่นคิด เพียงพอใจในสิ่งพึงมีได้แล้วละ ทำไมเราต้องไปต่อสู้แข่งขันกับผู้อื่น สุดท้ายแล้วการเอาชนะตัวเอง สำคัญและยิ่งใหญ่กว่าเป็นไหนๆ

สิ่งที่ผมค้นพบจากจุดสูงสุดของ(ตนเอง)ภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็คือกระจกสะท้อนชีวิต-การงานของผู้กำกับ Ingmar Berman ผ่านสองนักแสดงนำ Bibi Andersson & Liv Ullmann, และสองสรรพสิ่งขั้วตรงข้าม ภายนอก-ใน, ร่างกาย-จิตใจ, จิตใต้สำนึก-ไร้สำนึก, อารมณ์-ความครุ่นคิด, สันชาติญาณ-กระทำด้วยสติ/เหตุผล, สงบนิ่งเงียบ-พูดพร่ำรุกรี้รุกรน ฯลฯ ทั้งหมดสามารถคลุกเคล้าผสมผสาน อยู่ในอันหนึ่ง บุคคลเดียวกัน

สำหรับผู้กำกับ Ingmar Bergman ความตั้งใจแท้จริงอาจไม่ได้สลับซับซ้อน ซ่อนเร้นนัยยะอย่างที่ใครต่อใครคาดคิดถึง เพราะจุดเริ่มต้นของหนังเกิดขึ้นระหว่างพักรักษาตัวจากอาการป่วย ปอดบวม (pneumonia) ร่างกายทุกข์ทรมาน จิตใจก็เหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า “ถ้าตอนนั้นไม่ได้ Persona ช่วยเอาไว้ ชีวิตผมคงจบสิ้น ไม่มีเรี่ยวแรงกลับมาสร้างภาพยนตร์อีกแน่”

Persona saved my life – that is no exaggeration. If I had not found the strength to make that film, I would probably have been all washed up.

Ingmar Bergman

Ernst Ingmar Bergman (1918-2007) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติ Swedish เกิดที่ Uppsala, Uppland บิดาเป็นอนุศาสนาจารย์ นิกาย Lutheran ทำให้วัยเด็กได้รับการสั่งสอนศาสนาอย่างเคร่งครัด กระทั่งอายุได้ 8-9 ขวบ เริ่มมีความสนใจการเล่นเงา สร้างหุ่นเชิดชัก หัดทำเองทุกสิ่งอย่างหลังกลับจากโรงเรียนที่ไม่ค่อยชอบระบบการศึกษาสักเท่าไหร่ สามารถสอบเข้า Stockholm University ร่ำเรียนศิลปะ วรรณกรรม แต่ใช้เวลาส่วนใหญ่กับการศึกษาภาพยนตร์และการแสดง แม้ไม่สำเร็จการศึกษาก็ได้ทำงานโรงละคร ผู้ช่วย เขียนบท หนึ่งในนั้นเข้าตาผู้กำกับ Alf Sjöberg สรรค์สร้าง Torment (1944), ได้รับโอกาสกำกับภาพยนตร์เรื่องแรก Crisis (1946), สะสมประสบการณ์จนกระทั่ง Smiles of a Summer Night (1955) เข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Cannes คว้ารางวัล Best Poetic Humor จึงเริ่มได้การจับตามองระดับนานาชาติ

หลังเสร็จจาก All These Women (1964) โปรเจคถัดไปที่ครุ่นคิดวางแผนไว้ตั้งชื่อว่า The Cannibals นำแสดงโดย Bibi Andersson แต่จู่ๆ Bergman พลันล้มป่วยด้วยโรคปอดบวม ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล Sophiahemmet อยู่นานหลายเดือน ทำให้แผนการดังกล่าวล้มเลิกโดยพลัน (และไม่เคยหวนกลับมาพัฒนาโปรเจคนี้ต่อ)

ช่วงระหว่างกำลังซมซานนอนอยู่บนเตียงนั้น Bergman เหลือบไปเห็นภาพถ่ายคู่กันระหว่าง Bibi Andersson และ Liv Ullmann (Andersson เป็นคนแนะนำ Ullmann ให้รู้จักกับ Bergman เมื่อปี 1964 เพราะอยากช่วยผลักดันแจ้งเกิดในวงการภาพยนตร์) รู้สึกว่าทั้งสองมีใบหน้าละม้ายคล้ายกันอย่างมาก ‘uncanny resemblance’ แล้วจู่ๆก็บังเกิดภาพความคิด สองหญิงสาวรวมเป็นหนึ่ง โรงพยาบาล บ้านพักตากอากาศ

Bergman ใช้เวลาครุ่นคิดพัฒนาบท 9 สัปดาห์ (ช่วงระหว่างยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล) โดยนำแรงบันดาลใจจากบทละครเวที Den starkare (1889) แปลว่า The Stronger สรรค์สร้างโดย August Strindberg (1849-1912), เรื่องราวมีเพียงองก์เดียว สองตัวละครหญิงสาว Mrs. X เอาแต่พูดพร่ำ ขณะที่ Miss. Y นั่งฟังอย่างเงียบงัน

โดนปกแล้วบทหนังของ Bergman ต้องเต็มไปด้วยรายละเอียด บทพูดสนทนา อากัปกิริยา ทิศทางมุมกล้อง ฯ แต่ครานี้กลับเขียนได้เพียงเค้าโครงคร่าวๆ เพราะตั้งใจพัฒนาเนื้อเรื่องราวไปพร้อมๆการถ่ายทำ (เหตุผลหนึ่งๆเพราะคือเขายังไม่รับรู้จัก Ullmann เลยต้องเว้นพื้นที่สำหรับศึกษา เรียนรู้ตัวตน โดยไม่รู้ตัวตกหลุมรัก และมีบุตรร่วมกัน 1 คน)

เกร็ด: Working Title ของหนังประกอบด้วย Kinematografi (Cinematography), Sonat för två kvinnor (Sonata for Two Women), Ett stycke kinematografi (A Piece of Cinema), Opus 27 ก่อนมาลงเอยที่ Persona ภาษาละตินแปลว่า Mask, หน้ากาก

นางพยาบาลสาว Alma (รับบทโดย Bibi Andersson) ได้รับมอบหมายให้ดูแลผู้ป่วย Elisabet Vogler (รับบทโดย Liv Ullmann) นักแสดงสาวที่ไม่ได้เจ็บป่วยทางร่างกาย-จิตใจ แต่กลับปฏิเสธพูดคุยสนทนากับใคร หลังจากพักรักษาตัวมาสักระยะใหญ่ๆ หมอจึงตัดสินใจส่งทั้งสองไปบ้านพักต่างอากาศที่เกาะ Fårö กลางทะเล Baltic Sea เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศจากโรงพยาบาล

Alma มีความร่าเริงสดใส ตั้งแต่มาเป็นนางพยาบาลให้ Elisabet ก็พูดพร่ำไม่เคยหยุด ขณะมึนเมาเล่าประสบการณ์เมื่อครั้นยังเด็กสาว เคยร่วมรักกับกลุ่มเพื่อน (Orgy/Group Sex) คือความทรงจำไม่รู้ลืมเลือน แต่เช้าตื่นขึ้นมาแอบอ่านจดหมาย (ของ Elisabet) กลับรู้สึกเหมือนถูกทรยศหักหลัง เลยครุ่นคิดกระทำบางสิ่งอย่างชั่วร้าย ตั้งใจจะให้เธอพูดบางคำออกจากปากให้จงได้

Elisabet เป็นนักแสดงมีชื่อเสียง สามารถเล่นได้แทบทุกบทบาท จนกระทั่งถูกทัดทานเพราะขาดประสบการณ์ ‘ความเป็นแม่’ จึงตัดสินใจแต่งงาน ตั้งครรภ์ แต่หลังจากคลอดบุตรตระหนักถึงบางสิ่งอย่าง ต้องการทอดทิ้งบทบาท (ความเป็นแม่) ด้วยการเสแสร้งบ้าใบ้ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล เมื่อถูกส่งมายังเกาะ Fårö หลังรับฟังเรื่องเล่าของ Alma อย่างลุ่มหลงใหล แต่แล้วกลับถูกกลั่นแกล้ง กระทำร้าย จน…

เหตุการณ์ทั้งหมดที่บังเกิดขึ้นนี้อยู่ในสายตาของเด็กชาย หลังตื่นขึ้นจับจ้องภาพหญิงสาว ใครบางคนอยู่เบื้องหลังกระจกบานใหญ่ เธอคนนั้นคือใคร มารดา? นักแสดง? ภาพยนตร์? ก็แล้วแต่ผู้ชมจะครุ่นคิดทำความเข้าใจ


Berit Elisabet Andersson (1935-2019) นักแสดงสัญชาติ Swedish เกิดที่ Kungsholmen, Stockholm เมื่อพบเห็นพี่สาว Gerd Andersson กลายเป็นนักเต้นบัลเล่ต์ยัง Royal Opera ทำให้เธอตัดสินใจมุ่งมั่นเอาดีในวงการบันเทิง เริ่มจากถ่ายแบบโฆษณา ตัวประกอบภาพยนตร์ มีโอกาสรับรู้จัก Ingmar Bergman ตั้งแต่ปี 1951 (ถ่ายโฆษณาผงซักฟอกยี่ห้อ Bris) เข้าฝึกฝนการแสดงยัง Terserus Drama School ติดตามด้วย Royal Dramatic Theatre School ช่วงระหว่างมีความสัมพันธ์กับ Bergman ติดตามเขามายัง Malmö city theatre แล้วได้เป็นตัวประกอบ Smiles of a Summer Night (1955), ปลุกปั้นให้โด่งดังกับ The Seventh Seal (1957), Wild Strawberries (1957), Brink of Life (1958), Persona (1966) ฯลฯ

ปล. ความสัมพันธ์รักระหว่าง Ingmar Bergman กับ Bibi Andersson แม้ไม่ได้ยั่งยืนยาวนัก แต่เธอก็ได้กลายเป็นหนึ่งในนักแสดงขาประจำ ร่วมงานกันหลายสิบครั้ง

รับบทนางพยาบาล Alma เต็มไปด้วยความร่าเริงสดใส หลังแรกพบเจอ Elisabet แม้ไม่ได้อยากรับหน้าที่สักเท่าไหร่ แต่อยู่ๆไปก็เริ่มปล่อยตัวปล่อยใจ ล่องลอยไปขณะมึนเมา เล่าประสบการณ์จุดสูงสุดเมื่อครั้นยังเด็กสาว เช้าตื่นขึ้นมาตระหนักถึงสิ่งบังเกิดขึ้น เลยรู้สึกเหมือนถูกทรยศหักหลัง ตัดสินใจกระทำบางสิ่งอย่างเพื่อเอาคืน โต้ตอบกลับ

เกร็ด: Alma ภาษา Spanish แปลว่า Soul, จิตวิญญาณ

ใครเคยรับชมผลงานของ Andersson น่าจะมีภาพจำการแสดง โดยเฉพาะในหนังของ Bergman ส่วนใหญ่เล่นเป็นหญิงสาวระริกรี้ แรดร่าน สนุกสนานร่าเริง โอลัลล้าไปกับชีวิต โดยไม่ครุ่นคิดรับผิดชอบใดๆ (ส่วนใหญ่เลยมักเป็นตัวประกอบ/สมทบ น้อยครั้งถึงได้รับแสดงนำ) ซึ่งบทบาทของเธอใน Persona (1966) ก็แทบไม่แตกต่างจากเดิมสักเท่าไหร่ เพิ่มเติมครึ่งหลังตัวละครแอบเปิดซองจดหมาย อ่านข้อความแล้วแสดงสีหน้าไม่พึงพอใจ เริ่มครุ่นคิดกระทำสิ่งชั่วร้าย โกรธรังเกียจ ขึ้นเสียงถ้อยคำรุนแรง กำลังจะสาดน้ำร้อนเข้าใส่ เรียกว่าพอเลิกสะดีดสะดิ้งสร้างภาพ ถอดหน้ากากออกมา ก็มีความสุดเหวี่ยงทางอารมณ์อย่างคาดไม่ถึง

ผมแอบรู้สึกว่านี่อาจเป็นบทบาทไฮไลท์การแสดงของ Andersson (แต่ยังไม่เคยรับชม Brink of Life ที่เห็นว่าไปคว้ารางวัล Best Actress จากเทศกาลหนังเมือง Cannes) เพราะความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่หลากหลาย (เหมือนสภาพอากาศคาดเดาไม่ได้) เป็นการทำลาย ‘ภาพจำ’ ของตนเอง กระทำสิ่งตรงกันข้าม อีกด้านของตัวตน ภาพสะท้อนกระจกเงา


Liv Johanne Ullmann (เกิดปี 1938) นักแสดงสัญชาติ Norwegian เกิดที่ Tokyo, บิดาเป็นวิศวกรการบิน ขณะนั้นทำงานอยู่ประเทศญี่ปุ่น พอเธออายุสองขวบ ครอบครัวหลบหนีสงครามโลกไปอยู่ Toronto, Canada ก่อนย้ายสู่ New York แล้วหวนกลับมาตั้งถิ่นฐานยัง Trondheim (หลังสิ้นสุดสงคราม), เมื่อค้นพบความชื่นชอบด้านการแสดง เริ่มมีผลงานละครเวที ตัวประกอบภาพยนตร์ รับรู้จัก Bibi Andersson ระหว่างร่วมแสดงภาพยนตร์ Short Is the Summer (1962) และคือคนแนะนำผู้กำกับ Ingmar Bergman ทีแรกจะได้แค่บทสมทบ The Cannibals แต่โชคชะตานำพาให้ได้รับบทนำ Persona (1966) แจ้งเกิดโด่งดังโดยทันที!

รับบทนักแสดง Elisabet Vogler ที่หลังจากคลอดบุตรชาย ต้องการทอดทิ้งบทบาท ‘ความเป็นแม่’ แต่เพราะไม่สามารถกระทำได้ เลยแสดงออกเหมือนคนบ้าใบ้ ปฏิเสธพูดคุยจากกับใคร จนกระทั่งได้พบเจอพยาบาลสาว Alma รับฟังเรื่องเล่ากระตุ้นเร้าความสนใจ จนมิอาจควบคุมตนเอง แล้วพลั้งเผลอพูดบางคำออกไป

Elisabet ตัดสินใจเขียนจดหมายถึงหมอ บรรยายถึงเรื่องเล่า/พฤติกรรมของ Alma ซึ่งสร้างความเข้าใจผิดให้เพื่อนสาว โดยไม่รู้ตัวถูกประทุษร้าย ใช้คำพูดเสียดสีจี้แทงใจดำ หนำซ้ำยังจะสาดน้ำร้อน จนสันชาตญาณต้องร้องเตือนออกมา ถึงอย่างนั้นเธอก็ยังคงดื้อรั้น เย่อหยิ่งด้วยศักดิ์ศรี จนกระทั่ง…

ใบหน้าของ Ullmann สามารถสื่ออารมณ์ อธิบายแทนคำพูด เลยไม่จำเป็นต้องเอ่ยปากสนทนา … นั่นคือเหตุผลที่ผู้กำกับ Bergman สรรค์สร้างตัวละครนี้ เพื่อเป็นกระจกเงาของ Bibi Andersson สะท้อนความแตกต่างขั้วตรงข้าม (นิ่งเงียบสงัด vs. พร่ำบ่น/ร้อนรน) แต่เต็มไปด้วยความลุ่มหลงใหล(อีกฝั่งฝ่าย)

It was because my face could say what he wanted to say. That made me the one he wanted to work with.

Liv Ullmann

ทุกอากัปกิริยา ท่วงท่า สีหน้าของ Ullmann ล้วนผ่านการครุ่นคิด ขยับเคลื่อนไหวด้วยสติ เต็มไปด้วยนัยยะความหมายซ่อนเร้น ซึ่งมีความเป็นธรรมชาติอย่างมาก แต่ถึงอย่างนั้นเธอกลับไม่พึงพอใจในตนเองหลายๆฉากการแสดง โดยเฉพาะอาการหวาดกลัวต่อสิ่งพบเห็นในโทรทัศน์ มันเหมือนว่า “Liv being shocked Liv” ดูปรุงปั้นแต่งจนเกินไป

ถึงผมจะชื่นชอบความสุดเหวี่ยงทางอารมณ์ของ Andersson แต่ก็ต้องชื่นชมการแสดงของ Ullmann ว่ามีมิติลุ่มลึกล้ำ เหนือชั้นกว่า เพราะการไม่พูด แสดงออกเพียงสีหน้า อากัปกิริยาท่าทาง มันขึ้นอยู่การตีความของผู้ชม จะสามารถรับสัมผัส ทำความเข้าใจ ขณะนั้นตัวละครกำลังครุ่นคิด รู้สึกเช่นไร … แต่มันก็ไม่ได้ซับซ้อนเกินไปนะครับ เพราะ Ullmann เล่นดีมากๆจริงๆ


ถ่ายภาพโดย Sven Vilhem Nykvist (1922-2006) ตากล้องสัญชาติ Swedish เกิดที่ Moheda, Kronobergs län บิดาเป็นช่างภาพถ่ายสัตว์ป่าในแอฟริกา ทำให้เขามีความชื่นชอบเล่นกล้องตั้งแต่เด็ก โตขึ้นเข้าเรียนยัง Municipal School for Photographers แค่เพียงปีเดียวก็ออกมาเป็นผู้ช่วยที่ Sandrews Studio ถ่ายทำภาพยนตร์ The Poor Millionaire (1941), จากนั้นเดินทางสู่อิตาลี ฝึกงานยัง Cinecittà Studios เมื่อกลับมาสวีเดนฉายเดี่ยวเต็มตัวกับ The Children from Frostmo Mountain (1945), นอกจากนี้ยังหาเวลาเดินทางไปช่วยงานบิดาที่แอฟริกา เรียนรู้การถ่ายทำแสงธรรมชาติ สรรค์สร้างสารคดี In the Footsteps of the Witch Doctor (1950)

Nykvist เริ่มร่วมงานกับ Ingmar Bergman ตั้งแต่ Sawdust and Tinsel (1953) จากนั้นก็กลายเป็นเพื่อนสนิท ขาประจำ นับครั้งไม่ถ้วน โดยสามารถคว้า Oscar: Best Cinematography สองครั้งจาก Cries & Whispers (1972) และ Fanny and Alexander (1982)

โดยปกติแล้วสไตล์ถนัดของ Nykvist คือการถ่ายภาพทิวทัศน์ งดงามด้วยแสงธรรมชาติ (ที่สวีเดนจะแตกต่างจากประเทศอื่นๆ เพราะมีแสงเหนือ และบางช่วงของปีแทบไม่มีตอนกลางคืน) แต่สำหรับ Persona (1966) กลับเต็มไปด้วยการทดลองเกี่ยวกับใบหน้า ด้วยระยะภาพ Close-Up อาบฉาบแสงสว่าง ปกคลุมความมืดมิด ค่อยหรี่ไฟลงจนดับสนิท หรือสร้างความมัวหมองด้วยหมอกควัน ฯ

ขณะที่ฉากภายใน (โรงพยาบาล) ถ่ายทำยัง Råsunda Studios ที่ Stockholm, บ้านพักตากอากาศตั้งอยู่บนเกาะ Fårö (ปัจจุบันมีชื่อเรียก Bergman Island เริ่มมาถ่ายทำยังเกาะแห่งนี้ตั้งแต่ Through a Glass Darkly (1961)) สถานที่โปรดของผู้กำกับ Bergman ซื้อบ้านอาศัยอยู่ละแวกนั้นจนถึงวันเสียชีวิต

หนังเริ่มต้น-สิ้นสุด ช็อตแรก-สุดท้าย ด้วยภาพของ Carbon Arc Lamp แหล่งกำเนิดแสงในโปรเจคเตอร์สมัยก่อน ด้วยการให้ความร้อนกับแท่ง Carbon Rods แล้วจะบังเกิดความสว่างขึ้นมา นี่เป็นสิ่งที่พบเจอทุกเครื่องฉายภาพยนตร์ก่อนทศวรรษ 70s ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วยแหล่งกำเนิดแสงอื่นที่ปลอดภัยกว่า (เพราะเจ้าสิ่งนี้มีความร้อนสูงมากๆ เสี่ยงต่อการเกิดเพลิงลุกไหม้)

นัยยะของเจ้าสิ่งนี้ คือการนำเสนอจุดเริ่มต้น ไม่ใช่แค่โปรเจคเตอร์หรือสื่อภาพยนตร์ ยังสามารถตีความได้ครอบจักรวาลมากๆ อาทิ การถือกำเนิด ระเบิด Big Bang แสงสว่างแห่งชีวิต จิตวิญญาณ ความเป็นมนุษย์ ฯลฯ

และที่น่าสนใจมากๆก็คือ Carbon Arc Lamp จะให้กำเนิดความสว่างขึ้นได้ ต้องเกิดจากสองแท่งหรรษา Carbon Rods ค่อยๆเคลื่อนเข้าหา เหมือนการปฏิสนธิ มีเพศสัมพันธ์ระหว่างสองสรรพสิ่ง (คือถ้ามองจากภาพมันเหมือนไอ้จ้อนสองอัน แต่เรื่องราวในหนังนำเสนอหญิงสาวสองคน สรุปแล้วผมขอเรียกว่า Sex ของสองสรรพสิ่งก็แล้วกันนะ!)

นั่นน่าจะคือเหตุผลที่ผู้กำกับ Bergman จงใจแทรกภาพไอ้จ้อน (แคปรูปยากชิปหาย!) เพื่อสื่อถึงการให้กำเนิด จุดเริ่มต้นสรรพชีวิต และถ้าใครชื่นชอบการสังเกต ช็อตต่อมาจะพบเห็นเหมือนคราบน้ำอสุจิสาดกระเซ็น

แซว: จะว่าไปไดเรคชั่นในช่วงขณะนี้ ให้ความรู้สึกเหมือนการมี Sex ระหว่างโปรเจคเตอร์กับฟีล์มหนัง สังเกตว่าภาพจะกระพริบเป็นจังหวะ (เหมือนขณะกระแทกกระทั้น) เสียงเครื่องฉายตัดกับเพลงประกอบ (กรีดร้องลั่น)

ผมพยายามมองหาว่าฉากนี้นำจากอนิเมชั่นเรื่องไหน ก็ยังค้นไม่พบเจอสักที แต่นัยยะฉากนี้นำเสนอวิวัฒนาการภาพยนตร์ หลังการปฏิสนธิระหว่าง Carbon Arc Lamp ก็ได้ให้กำเนิดภาพเคลื่อนไหว ‘Motion Picture’ หญิงสาวราวกับมีชีวิต จับต้องได้ (จับหน้าอกตัวเอง)

อย่าลืมล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสจับต้องสิ่งข้าวของต่างๆ … ไม่ใช่แระ! ท่าทางภาษามือนี้ ทำเหมือนการผสมผสานระหว่างสองสิ่ง (ก็ไม่ต่างจาก Sex สักเท่าไหร่) ให้กลายเป็นอันหนึ่งเดียว ซึ่งสะท้อนเข้ากับนัยยะของหนังตรงๆเลยละ

โครงกระดูก แดรกคูล่า นำเสนอภาพยนตร์ในสไตล์ Georges Méliès (นักแสดงขยับเคลื่อนไหวอย่างรีบเร่ง วุ่นวาย แล้วใส่ลูกเล่น มายากล สร้างความตกตะลึงให้ผู้ชมสมัยก่อน) ผมก็ยังหาไม่เจออีกเช่นเคยว่านำจากภาพยนตร์เรื่องไหน หรืออาจถ่ายทำขึ้นใหม่ก็ไม่รู้, นัยยะของฉากนี้ยังคงสื่อถึงวิวัฒนาการภาพยนตร์ ก้าวมาถึงทศวรรษ 1900s -10s ถ้าเปรียบเทียบกับมนุษย์คงประมาณเด็กอายุ 3-4 ขวบ เริ่มลุกเดิน พูดได้เป็นบางคำ สื่อสารพอเข้าใจ

ขณะเดียวกัน โครงกระดูก แดร็กคูล่า ยังเป็นการอ้างอิงถึงความตาย (Death จากภาพยนตร์ The Seventh Seal (1957)) ตัวละครเลยตัดสินใจกลับขึ้นเตียงนอน คลุมโปง ทั้งหมดนี้ขอให้มันเป็นแค่ความฝันร้าย

ใครเคยรับชม Through a Glass Darkly (1961) และ Winter Light (1963) อาจมักคุ้นเคยกับแมงมุม (ที่กลายสภาพเป็นเฮลิคอปเตอร์) คือสัญลักษณ์ของพระเจ้า (Spider-God) ที่ต่อให้มนุษย์พยายามซุกซ่อน หลบหนี ก็มิอาจดิ้นหลุดพ้นหยากไย่ (พระเจ้าสถิตอยู่กับเราทุกแห่งหน)

ตรงกันข้ามกับซีนก่อนหน้าที่พบเห็นโครงกระดูก แดร็กคูล่า เหมารวมถึงปีศาจ สิ่งชั่วร้าย, แมงมุมคือสัญลักษณ์ของพระเจ้า ในบริบทนี้สามารถสื่อถึงผู้กำกับภาพยนตร์ (หรือคือ Ingmar Bergman) สามารถสร้างโลก สร้างจักรวาล เรื่องราว ตัวละคร กำหนดทุกสรรพสิ่งอย่างให้ดำเนินไปตามความประสงค์

การเชือดแกะให้เลือดไหล จากนั้นควักเครื่องในออกมาให้พบเห็น ดูแล้วน่าจะได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ Un Chien Andalou (1929) เพื่อสื่อถึงเรื่องราวของหนัง คือการสำรวจสิ่งภายนอก-ใน ร่างกาย-จิตใจ

ในทางศาสนา ลูกแกะเป็นตัวแทนของพระเยซูคริสต์ ซึ่งซีนต่อจากนี้ยังพบเห็นการตอกตะปูเข้าที่มือ สื่อถึงการตรึงกางเขน (Crucifixion) รวมแล้วคือการเปรียบเทียบภาพยนตร์เรื่องนี้ดั่ง ‘ผู้มาไถ่’ (ตัวแทน)ของพระเจ้า/ผู้กำกับ Ingmar Bergman ที่การสร้าง Persona (1966) ราวกับทำให้เขาได้ฟื้นคืนชีพ ถือกำเนิดชีวิตขึ้นใหม่

การล้มป่วยซมซานในโรงพยาบาลของผู้กำกับ Bergman ทำให้เขาตระหนักถึงสองสิ่งขั้วตรงข้าม แท้จริงแล้วมันช่างเลือนลาง ดั่งกำแพงที่ค่อยๆเจือจาง มองออกไปสามารถพบเห็นทิวทัศน์ ลำเนาไพร (ช็อตนี้อยู่กึ่งกลางการ Cross-Cutting ระหว่างภาพผนังอิฐ และธรรมชาติภายนอก)

เฉกเช่นเดียวกับชีวิต-ความตาย ภาพยนตร์คือสื่อที่สามารถทำให้ทุกสรรพสิ่งอย่างฟื้นคืนชีพ บังเกิดชีวิตขึ้นมา นี่เป็นช็อตที่ถ้าใครตั้งใจดูมากๆอาจสะดุ้งโหยง เพราะเมื่อเสียงโทรศัพท์ดังขึ้น (หรือนาฬิกาปลุกก็ไม่รู้นะ) บุคคลนี้จู่ๆก็ลืมตาขึ้นแบบปุ๊ปปั๊ป (ใช้เทคนิค Jump Cut หรือจะเรียก Jump Scare ดีละ?)

เมื่อพูดถึงเรื่องราวของการฟื้นคืนชีพ ก็คงมีแต่พระเยซูคริสต์ที่อยู่ในความครุ่นคิดของผู้กำกับ Bergman สื่อเป็นนัยเล็กๆว่าเด็กชาย/ภาพยนตร์เรื่องนี้ เปรียบได้กับผู้มาไถ่ สวมใส่แว่น (มองผ่านเลนส์/ภาพยนตร์) หรือ ‘Through a Glass Darkly’ มองทะลุเข้าไปในกระจก สะท้อนจิตวิญญาณของเราเอง

เกร็ด: หนังสือที่เด็กชาย Jörgen Lindström อ่านอยู่นั้นคือ A Hero of Our Time (1840) แต่งโดย Mikhail Lermontov เล่มเดียวกับที่เขาเคยอ่านในภาพยนตร์ The Silence (1963) … ที่เห็นในภาพ Var Tids Hjalte คือชื่อภาษา Swedish นะครับ

เกร็ด2: A Hero of Our Time วรรณกรรมรัสเซีย เรื่องราวชีวิตของชายผู้มั่งมี (superfluous man) ดีพร้อมทุกสิ่งอย่าง แต่วันๆเอาแต่ปล่อยตัวปล่อยใจ ครอบครองหญิงสาวไปทั่ว ถึงอย่างนั้นกลับไม่สามารถไขว่คว้าเธอผู้เป็นที่รัก เมื่อถึงจุดๆหนึ่งสภาพจิตใจตกต่ำ ค่อยๆสูญเสียตนเอง และกลายเป็นคนคลุ้มคลั่ง (emotional collapse)

เด็กชายจับจ้องมองภาพใบหน้าหญิงสาวขนาดใหญ่ (กว่าขนาดตัวของเขาอีกนะ!) เท่าที่ผมสังเกตจะพบเห็นทั้ง Bibi Andersson (ภาพซ้าย) และ Liv Ullmann (ภาพขวา) สลับกันไปมาอย่างแนบเนียน ไม่ใช่ทุกคนจะแยกแยะออกได้ เหมือนแอบสื่อเป็นนัยว่าสองสาว(อาจ)คือบุคคลเดียวกัน

ผมจะยังไม่อธิบายว่าฉากนี้สื่อนัยยะถึงอะไร ในความเข้าใจเบื้องต้น เด็กชายพยายามสัมผัส ลูบไล้ เอื้อมมือไขว่คว้า เต็มไปด้วยความฉงนสงสัย อยากรับรู้เหลือเกินว่าคนในภาพนั้นคือใคร ซึ่งฉากต่อไปก็จะนำเสนอเรื่องราวของบุคคลในภาพเหล่านั้น

ช็อตแรกหลังจาก Opening Credit เป็นการเข้าสู่เรื่องราวหลักของหนัง นางพยาบาล Alma เปิดประตู(หัวใจ)เข้ามารับคำสั่งจากหมอ ให้ดูแล ช่วยเหลือ Elisabet Vogler นักแสดงสาวที่ไม่ได้มีอาการเจ็บป่วยใดๆ แต่กลับไม่ยินยอมพูดคุยสื่อสารกับใคร

การแนะนำตัวละครนี้ของผู้กำกับ Bergman เริ่มจาก Full Shot ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า จากนั้นตัดมาระยะ Medium Shot ตามด้วย Close-Up ใบหน้าเอียงซ้าย เอียงขวา ด้านหลัง และเลื่อนลงมา (Whip Pan) ตรงมือที่ไขว้หลัง เรียกได้ว่าเก็บรายละเอียดทางกายหมดจรด 360 องศา

แรกพบเจอระหว่าง Alma กับ Elisabet Vogler คนหนึ่งยืน อีกคนนอนอยู่บนเตียง (ตำแหน่งตั้งฉาก) แม้(Alma)เอ่ยปากพูดคุยสนทนา แต่จิตใจของเธอ (สังเกตจากท่ายืน การวางเท้าใต้เตียง) ไม่ได้มีความใคร่สนใจผู้ป่วยตรงหน้านัก แสดงออกไปตามมารยาทเท่านั้น

หลายคนอาจมองว่า Elisabet เป็นตัวแทนของผู้กำกับ Ingmar Bergman ขณะล้มป่วย พักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล จริงๆมันไม่ผิด แต่ก็ไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะหญิงสาวไม่ได้มีอาการป่วยทางร่างกาย-จิตใจ เพียงแค่ไม่ต้องการพูดคุยสื่อสารกับใคร (การปฏิเสธพูดคุยกับใครไม่ใช่อาการป่วยทางจิตนะครับ มันคือการตัดสินใจสวมหน้ากาก เล่นละครตบตา เพื่อเหตุผลบางอย่างของตัวละคร)

การมาถึงของ Alma ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงต่อ Elisabet ทำลายความสงบ เงียบงัน ไม่ใช่แค่เอาแต่พูดพร่ำ ยังกระทำโน่นนี่นั่น เพื่อเรียกร้อง/สร้างความสนใจ จากเคยพยายามเบือนหน้าหนี จำเป็นต้องหันมาจ้องมอง จนมิอาจละสายตา และโดยไม่รู้ตัวพูดเอ่ยคำออกมา (ด้วยสันชาติญาณ)

ระหว่างกำลังนอนฟังเพลงจากวิทยุอยู่นั้น Elisabet หันมาจับจ้องมองกล้อง พบเห็นจุดแสงไฟเล็กๆในดวงตา ความสว่างจากตะเกียงจะค่อยๆลดลงทีละเล็กจนกระทั่งมืดมิดและดับสนิท (โดยไม่มีการกระพริบตา) … นี่คือความพยายามท้าทายขีดจำกัดการถ่ายภาพ นำเสนอการเปลี่ยนแปลงระหว่างความสว่าง-มืดมิด สองสิ่งขั้วตรงข้ามที่อาบฉาบลงบนใบหน้านักแสดง ซึ่งยังสามารถสะท้อนความรู้สึกภายในจิตใจได้ด้วยเช่นกัน (ไม่ได้เจาะจงว่าความรู้สึกอะไรนะครับ เป็นการเหมารวมถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่สามารถสลับขั้วตรงข้าม สุข-ทุกข์ ดีใจ-เศร้าโศก สนุกสนานร่าเริง-เจ็บปวดรวดร้าว ตกหลุมรัก-จงเกลียดจงชัง ฯลฯ)

ก่อนจะนอนหลับฝัน Alma ลุกขึ้นมาทาครีม สวมหน้ากากลงบนใบหน้า รำพรรณาถึงอนาคต (พูดกับตนเอง) เล่าความเพ้อฝัน สิ่งกำลังจะกระทำมันให้บังเกิดขึ้น แต่ทุกเรื่องราวเล่ามานั้น ล้วนหาใช่ความต้องการของเธอเองแม้แต่น้อย (ปกปิดตัวตน ธาตุแท้จริงด้วยเครื่องสำอางค์บนใบหน้า)

ยามดึกดื่นเหมือนว่า Elisabet ยังนอนไม่หลับ เปิดโทรทัศน์ แล้วพบเห็นภาพสงคราม Vietnam War และการเผาตัวตายของพระสงฆ์ Thích Quảng Đức ทั้งหมดนี้เป็นการนำเสนอสิ่งชั่วร้ายที่บังเกิดขึ้นบนโลก สร้างความหวาดกลัว สั่นสะท้านถึงขั้วหัวใจของหญิงสาว (และผู้กำกับ Bergman) อาจคือเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เธอไม่อยากพูดคุยกับใคร

นักวิจารณ์วิเคราะห์ว่าพฤติกรรมของ Elisabet (ปฏิเสธสนทนากับใคร) ไม่แตกต่างจากการประท้วงของพระสงฆ์ Thích Quảng Đức ต้องการเรียกร้องบางสิ่งอย่าง ซึ่งปฏิกิริยาหวาดกลัวของหญิงสาว ราวกับคำเตือนที่ถ้าตนเองยังคงดื้อรั้น หัวชนฝา ไม่ยินยอมพูดคุยกับผู้อื่น ก็อาจประสบเหตุการณ์ร้ายๆ (ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นจริงๆในครึ่งหลัง ถูกประทุษร้ายจาก Alma)

ถ้าคุณตั้งใจรับฟังขณะ Alma อ่านจดหมายของ Elisabet วินาที่หญิงสาวกระชากจดหมายไปขยำทิ้ง ปฏิเสธไม่อยากรับฟัง เนื้อหา(ในจดหมาย)ขณะนั้น เหมือนกำลังจะเล่าความหลังที่ทั้งสองเคยร่วมรักกันในป่า … นี่มันล้อกับตอนที่ Alma เล่าประสบการณ์ Orgy/Group Sex ให้ Elisabet ฟังเลยนะ!

ผมพยายามจับจ้องมองรูปถ่ายของเด็กชาย ว่าคือคนเดียวกับตอนต้นเรื่องหรือเปล่า แต่มันก็ไม่ชัดเจนสักเท่าไหร่ ส่วนการกระทำของ Elisabet ฉีกภาพถ่ายออกเป็นสองท่อน สื่อตรงๆถึงความไม่ต้องการ ปฏิเสธยินยอมรับเด็กคนนี้!

การสนทนากับหมอฉากนี้ เป็นคำอธิบายชัดเจนที่สุดต่อพฤติกรรมของ Elisabet ไม่ได้มีความผิดปกติใดๆทางร่างกาย-จิตใจ แต่มันคือการตัดสินใจไม่พูดสนทนา สวมหน้ากาก เล่นละครตบตา (ทำเหมือนกำลังแสดงบนเวที) ซึ่งหมอก็ให้คำแนะนำว่า อยากทำก็ทำไปไม่มีใครว่า หมดความน่าสนใจเมื่อไหร่ก็ควรเลิกรา (เมื่อการแสดงสิ้นสุดลง ก็ควรเปลี่ยนไปเล่นบทบาทเรื่องใหม่)

มุมกล้องช็อตนี้จัดวางใบหน้าทั้งสองตำแหน่งตั้งฉาก โดยเงามืดอาบฉาบซีกหนึ่ง(บนใบหน้า)ของ Elisabet เพื่อสื่อถึงยังมีเรื่องราวที่ถูกปกปิด ซุกซ่อนเร้น แม้ว่าคำอธิบายของหมอจะถูกต้องแต่ก็แค่เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น เพราะสาเหตุผลที่เธอปฏิเสธพูดสนทนา ยังคงไม่ได้รับการเปิดเผยออกมา (ช่วงท้ายๆของหนังเลยนะครับถึงได้รับคำตอบ)

ผมครุ่นคิดอยู่นมนานว่าทำไมสาวๆถึงสนใจในเห็ด? แต่เมื่อเงยหน้าเห็นหมวกก็เลยร้องอ่อ ‘หัวเห็ด’ มันคือการเปรียบเทียบรูปลักษณะ มีความละม้ายคล้ายคลึงกันเท่านั้นเอง

ส่วนนัยยะของหมวก ไม่ได้แตกต่างจากการสวมหน้ากากสักเท่าไหร่ คือการปกปิด ซ่อนเร้นใบหน้าจากแสงแดด และสังเกตว่า Alma กับ Elisabet สวมใส่คนละสีสันสัน และรูปลักษณะ

ทุกสิ่งอย่างของช็อตนี้ล้วนมีการแบ่งแยก แตกต่างตรงกันข้าม แต่ที่ผมสนใจคือสภาพอากาศภายนอก ฝนกำลังตก (น่าจะตกจริงๆกระมัง) ทำให้สองสาวต้องรับประทานอาหารเช้าภายในบ้าน แล้วพูดเล่า-รับฟังเรื่องราวชีวิต ความสัมพันธ์ ค่อยๆเปิดเผยความรู้สึก ธาตุแท้ตัวตน (จากภายใน)

แม้ว่าสองสาวจะมีความแตกต่างขั้วตรงข้าม มักนั่งคนละฟากฝั่งหรือตำแหน่งตั้งฉาก แต่การเลือกมุมกล้องให้ใบหน้าพวกเธอซ้อนทับ (ทั้งยังสูบบุหรี่ สวมเสื้อสีเดียวกัน) สามารถสื่อถึงความเป็นอันหนึ่งเดียวกัน เรื่องเล่าของ Alma แทบไม่แตกต่างจากสิ่งที่ Elisabet เคยประสบพบเจอ … กระมัง!

Alma ระหว่างกำลังมึนเมา เริ่มเล่าเรื่องราวที่ตราฝังอยู่ในความทรงจำ Orgy/Group Sex ถือเป็นประสบการณ์สูงสุดของชีวิต ไม่มีครั้งอื่นไหนจะสามารถเปรียบเทียบเคียง

จะว่าไปกิจกรรม Orgy/Group Sex แตกต่างอะไรจากการรับชมภาพยนตร์? คนนับสิบร้อยพัน ต่างจับจ้องมอง เฝ้ารอคอยการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงสาว หรือผู้ชมกำลังเพลิดเพลินไปกับภาพยนตร์ พบเห็นเรื่องราว ตัวละคร กระทำสิ่งโน่นนี่นั่น ดำเนินมาถีงไคลน์แม็กซ์ และสิ้นสุดลง … ในเชิงนามธรรม ไม่มีความแตกต่างกันเลยนะครับ!

การจัดแสงของช็อตนี้เป็นการสร้างบรรยากาศเล่าเรื่องที่น่าหลงใหลมากๆ รายละเอียดอื่นๆในห้องจะถูกปกคลุมด้วยความมืดมิดจนมองอะไรแทบไม่เห็น หลงเหลือเพียงสองสาว(และโคมไฟ) Elisabet นั่งชันเข่าอยู่บนเตียง ขณะที่ Alma ขดตัวอยู่บนโซฟา (จนดูเหมือนภาพวาดอะไรสักอย่าง) ระยะภาพก็ค่อยๆขยับเข้าใกล้จาก Long Shot -> Medium Shot -> Close-Up แสดงปฏิกิริยาบนใบหน้าตา

หลังสำเร็จประสบการณ์เปิดบริสุทธิ์ Alma จุดบุหรี่ ลุกจากโซฟา เดินมาตรงหน้าต่าง เหม่อมองออกไปยังชายหาด (สถานที่ที่เธอเคยได้ทำกิจกรรมดังกล่าว) ราวกับยังคงโหยหาช่วงเวลาเหล่านั้น แล้วพรรณาถึงความพึงพอใจสูงสุดที่ได้ร่วมรักโดยมีคนอื่นๆจับจ้องมอง

แม้ว่าเรื่องเล่าดังกล่าวจะอยู่ในบทหนัง แต่ผู้กำกับ Bergman ก็บอกต่อ Andersson ตัดออกก็ได้นะถ้ารู้สึกว่ามันไม่ค่อยเหมาะสม แต่เธอยืนกรานอย่างไม่ตะขิดตะขวง ‘improvised’ แถมปรับแก้เปลี่ยนคำพูดด้วยตนเอง (บทของ Bergman เล่าในมุมมองผู้ชาย จึงปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับเรื่องเล่าของผู้หญิง) มอบผลลัพท์ที่ต้องถือว่า ‘captivate’ ตราตรึง จับจิตใจจับผู้ชม

เกร็ด: เรื่องเล่าของ Bibi Andersson มีการบันทึกเสียงใหม่หลังถ่ายทำ (Dubbing) เห็นว่าเพราะผู้กำกับ Bergman ไม่ค่อยชอบน้ำเสียงของเธอระหว่างเข้าฉาก ไม่รู้มีปัญหาในการบันทึกเสียงหรือเปล่านะ?

แม้อยู่บนเตียงแต่สองสาวก็มีท่วงท่า นอนราบ-เท้าหน้าผาก วางตำแหน่งตั้งฉากกัน การเลือกมุมกล้องให้ใบหน้าพวกเธอเกือบๆซ้อนทับ (แบบเดียวกับช็อตตอนนั่งแล้วใบหน้าซ้อนทับ) สามารถสื่อถึงความเป็นอันหนึ่งเดียวกัน เรื่องเล่าของ Alma (ตั้งครรภ์เพราะ Orgy เลยตัดสินใจทำแท้ง) สะท้อนความต้องการของ Elisabet (ถ้ารับรู้ว่าเด็กที่คลอดออกมาจะสร้างปัญหาในตนเอง รู้งี้ไม่มีตั้งแต่แรกเสียยังดีกว่า)

และสังเกตว่าแสงสว่างอาบฉาบเฉพาะใบหน้าของ Elisabet จับจ้องมองด้วยความลุ่มหลงใหล ขณะที่ Alma ปกคลุมด้วยความมืดมิด เหมือนรู้สึกอับอาย กำลังพูดเล่าเรื่องราวที่รู้สึกเศร้าเสียใจ ถึงขนาดไหลหลั่งน้ำตาออกมา

นี่เป็นช็อตที่ Alma พูดออกมาตรงๆเลยว่า ตนเองมีใบหน้าละม้ายคล้าย Elisabet ความน่าสนใจคือแทนที่จะถ่ายให้เห็นปฏิกิริยา (ของ Elisabet) กลับเลือกมุมด้านหลังศีรษะ ปกคลุมด้วยความเงามืดมิด เพียงใบหน้าของ Alma สะท้อนแสงเทียน หันเข้าหาหน้ากล้อง … เหมือนจะสื่อว่า ในเมื่อทั้งสองมีใบหน้าละม้ายคล้ายกัน มองเพียงใครคนหนึ่งก็เพียงพอแล้วละ

Go to bed or you’ll fall asleep here at the table.

คำพูดประโยคแรกของ Elisabet Vogler มีความนุ่มนวล อ่อนหวาน กระซิบกระซาบ แทนความรู้สึกห่วงใยออกมาจากภายใจ แม้ไม่ได้เห็นริมฝีปากขยับ Alma ก็อยู่ในอาการมึนเมา (ฟุบอยู่บนโต๊ะ) เลยเกิดความสับสน มึนงง ไม่สามารถครุ่นคิดเข้าใจสิ่งบังเกิดขึ้นสักเท่าไหร่ … คำพูดครั้งนี้ของ Elisabet ผมถือว่ากล่าวออกมาจากสันชาติญาณ (เช่นเดียวกับคำพูดครั้งหลัง) แสดงถึงช่วงเวลาอิ่มสุข ความปรารถนาดี จิตใจมีเมตตา ต้องการให้เพื่อนสาวกลับไปหลับบนเตียงดีกว่านอนตรงนี้

นี่เป็นซีนที่ฟุ้งไปด้วยหมอกควัน เพื่อสร้างสัมผัสขมุกมัว ราวกับในความเพ้อฝัน หลังจาก Alma ทิ้งตัวลงนอนบนเตียง (เหมือนเธอจะลืมทาครีมอีกแล้ว) Elisabet ในชุดนอน เดินมาจากประตูฝั่งขวา แล้วหยุดยืน ก่อนก้าวต่อไปยังห้องซ้าย ซึงจะทำให้ Alma ฟื้นตื่นลุกขึ้นมา

ผมครุ่นคิดว่าประตูสองบานนี้ สามารถเปรียบกับกระจกที่สะท้อนกันและกัน ระหว่าง Elisabet กับ Alma เดินเข้า-เดินออก ก่อนทั้งสองจะตรงเข้ามา แล้วรวมตัวกลายเป็นหนึ่ง … แต่จะมองว่าเป็นฉากที่อยู่ในความละเมอเพ้อฝันของตัวละคร ก็ได้เหมือนกัน

ซบไหล่ (การพึ่งพา/พักพิง) ปัดเสย ปล่อยผม (การเปลี่ยนแปลงสภาพ ให้ทรงผมมีลักษณะเดียวกัน) แล้วโน้มศีรษะเข้าหา (เป็นของกันและกัน) เหล่านี้คือสัญลักษณ์ของการผสมผสาน รวมตัว กลายเป็นอันหนึ่งเดียว ซึ่งหลายคนอาจตีความ Lesbian Sex ก็ไม่ผิดอะไร

การใช้บทเพลงของฉากนี้ เต็มไปด้วยความลึกลับ มิติพิศวง ขณะที่ Elisabet เสยผมของ Alma มันราวกับว่าบางอย่างชั่วร้ายได้ถูกเปิดเผย ปลดปล่อยออกมา (นั่นสะท้อนความเปลี่ยนแปลงที่บังเกิดขึ้นกับ Alma ที่หลังจากสูญเสียหน้ากาก ก็มีสภาพ…)

เอาจริงๆมันไม่มีวี่แววมาก่อนว่า Elisabet ชื่นชอบการถ่ายภาพ แต่พอเริ่มต้นครึ่งหลังของหนัง จู่ๆเธอก็กระโดดขึ้นมา ถ่ายภาพผู้ชม ‘Breaking the Fourth Wall’ เพื่อสื่อถึงจุดกลับตารปัตรของหนัง กล้องถ่ายภาพนักแสดง <> ตัวละครถ่ายภาพผู้ชม เรื่องราวหลังจากนี้ค่อยๆปรับเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้ามจากครึ่งแรก

เมื่อตอนครึ่งแรก Alma อ่านจดหมายของ Elisabet ไม่ทันจบก็ถูกกระชากขยำทิ้ง แต่ครานี้ไม่มีใครหยุดยั้บยั้งได้อีกต่อไป ถึงได้บังเกิดความเข้าใจ(ผิด)บางอย่าง ผลลัพท์นำพาเข้าสู่ช็อตนี้ เธอออกมายืนทอดน่อง จับจ้องมองภาพสะท้อนบนพื้นผิวน้ำ(หลังฝนตก) ครุ่นคิดทบทวนเหตุการณ์บังเกิดขึ้น นี่ฉันไม่น่าปล่อยตัว เชื่อไว้ใจคนแปลกหน้าเลยสักนิด!

ภาพสะท้อนนี้บนพื้นผิวน้ำนี้ สื่อถึงมุมมอง/ทัศนคติของ Alma ที่มีต่อ Elisabet จากนี้จะกลับตารปัตรตรงกันข้ามจากครึ่งแรกของหนังโดยสิ้นเชิง!

แผ่นหลังที่เปลือยเปล่า(ในชุดว่ายน้ำ)ของ Alma ราวกับว่าสามัญสำนึกถูก-ผิด ของเธอได้สูญสิ้นไป ทั้งยังความบังเอิญทำแก้วน้ำตกแตก เลยครุ่นคิดแผนการชั่วร้าย จงใจทอดทิ้งเศษกระจก คาดหวังให้ Elisabet ย่ำเหยียบ บังเกิดความเจ็บปวด (จะได้รับรู้ถึงความรวดร้าวทางใจของตนเอง)

แซว: ว่ากันว่าเพราะฉากนี้ ทำให้ Liv Ullmann หวาดกลัวเศษกระจกแตกไปเลย (หรือกลัวอยู่แล้วก็ไม่รู้นะ)

แซว2: ผู้กำกับ Bergman ก็ชมชอบใช้สัญลักษณ์กระจกแตกนี้ด้วยเหมือน ในเรื่อง Cries & Whispers (1972) เอามากรีดบาดอวัยวะเพศ ได้เสียวสะท้าน

ภาพหลุดโฟกัสหลังฟีล์มขาด นอกจากอุบัติเหตุ/ความผิดพลาดทางเทคนิคที่บังเกิดขึ้นได้ ในบริบทของหนังยังสื่อถึงความเบลอ-ชัด (สองขั้วตรงข้าม) การเปลี่ยนแปลงของสองสาวในทิศทางกลับตารปัตร ไม่ใช่แค่ Alma แต่ยัง Elisabet มีปฏิกิริยาจริงจังต่อเหตุการณ์ต่างๆบังเกิดขึ้น ซึ่งขณะนี้เธอกำลังมองหาเพื่อนสาว หายตัวไปแห่งหนไหน

หลังจากที่ Elisabet เคยจับจ้องมอง Alma อย่างใคร่เสน่ห์หาตลอดครึ่งแรกของหนัง ครานี้กลับตารปัตรทั้งสีหน้า สายตา เหตุผลที่จ้องตาไม่กระพริบ เพราะ Alma กำลังเต็มไปด้วยอคติ โกรธเกลียด ไม่พึงพอใจ หลังค้นพบว่าถูกทรยศหักหลัง และช็อตสุดท้ายที่นำมานี้ ให้ความรู้สึกเหมือนว่าเธอกำลังสนทนากับรูปปั้น (แทนได้ด้วย Elisabet) นิ่งเฉย เฉื่อยชา ไร้ปฏิกิริยาโต้ตอบกลับ ไม่ยินยอมเอ่ยคำแก้ตัวใดๆทั้งนั้น

ความไม่พึงพอใจอย่างรุนแรงของ Alma นำพาให้เธอใช้ความรุนแรง ตบตี ทำร่างกาย แต่ก็สวนกลับจนเลือดกำเดาไหล เลยตัดสินใจจะสาดน้ำร้อน แต่…

No, Don’t!

คำพูดประโยคหลังของ Elisabet Vogler เต็มไปด้วยความตื่นตระหนัก หวาดสะพรึงกลัว ถือเป็นสันชาติญาณ กลไกการป้องกันตัว เพราะถ้าไม่ส่งเสียงร้องออกมา ก็อาจได้รับบาดเจ็บร้ายแรง ถึงตาย! … ซึ่งปฏิกิริยาแสดงออกดังกล่าวได้เปิดเผยธาตุแท้ของ Elisabet ว่าเป็นคนโคตรเห็นแก่ตน สนเพียงเอาตัวรอด ปลอดภัยไว้ก่อน ใครอื่นเดือดร้อนไม่เกี่ยวกับฉัน แตกต่างตรงกันข้ามกับคำพูดประโยคแรกโดยสิ้นเชิง!

ภาพลักษณ์/หน้ากากที่ Alma เคยสวมใส่ต่อหน้า Elisabet ได้ละลายสูญสลายไปกับการต่อสู้ ตบตี ประทุษร้าย แม้เธอพยายามล้างหน้าล้างตา ล้างเลือดกำเดา เช็ดด้วยผ้าขนหนู หวีปัดแต่งทรงผม แต่มันก็ไม่สามารถทำให้ทุกสิ่งอย่างหวนกลับสู่สภาวะปกติได้อีกต่อไป

คำพูดที่ Alma กล่าวออกมานั้นล้วนคือความจริง แต่เป็นสิ่งที่ Elisabet ยินยอมรับไม่ได้ (ว่าการแสดงออกของตนเองนั้น เป็นสิ่งเห็นแก่ตัว สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น) ถึงขนาดตัดสินใจวิ่งหลบหนีออกจากบ้าน … ความพิลึกพิลั่นยิ่งกว่าคือ Alma กลับรู้สึกผิดที่พูด(ความจริง)ออกมา โทษตนเอง และต้องออกวิ่งติดตาม Elisabet ตะโกนบอกขอโทษ พร้อมยินยอมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อปกป้องเธอ

โดยปกติแล้วสองสาวจะนั่ง-ยืน ในทิศทางตั้งฉาก แต่ครานี้เมื่อ Alma เดินกลับเข้ามา พวกเธอยืนคู่ขนานหันไปทางทิศเดียวกัน หลังจากเริ่มพูดไม่เข้าหู Elisabet จึงหันหลังกลับ (แต่ยังยืนเคียงคู่ขนาน) และพอทนฟังไม่ได้ก็ออกวิ่งหลบหนี

ปฏิกิริยาของ Alma เมื่อไม่สามารถวิ่งไล่ติดตาม Elisabet ทิ้งตัวลงนอนราบ ร่ำร้องไห้ออกมา แต่เมื่อเวลาเคลื่อนพานผ่านไปสักพัก ตะวันเคลื่อนคล้อยตกดิน สามารถสงบสติอารมณ์ ลุกขึ้นมานั่งชันเข่า เหม่องมองออกไปยังท้องทะเล (Cross-Cutting จากท่านอนสู่นั่ง)

การแสดงออกดังกล่าว (จากท่านอนสู่นั่ง) สะท้อนทัศนคติที่เปลี่ยนแปลง กลับตารปัตรขั้วตรงข้ามของ Alma ต่อ Elisabet ความรู้สึกผิดที่ได้พูด/กระทำสิ่งร้ายๆ แปรสภาพสู่การปกป้อง ยินยอมพร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อเธอ (เป็นจุดเริ่มต้นของการผสมผสาน แทนที่ กลืนกิน Elisabet)

นี่คือภาพถ่ายชื่อดัง Warsaw Ghetto boy (ไม่รู้ใครถ่ายและบันทึกภาพเมื่อไหน คาดกันว่าประมาณปี 1941-43) ทหารนาซี Josef Blösche ยกปืนขึ้นจ่อเด็กชายชาวยิว (ไม่รู้แน่ชัดว่าใคร) ที่กำลังจะถูกส่งตัวไปค่ายกักกัน Umschlagplatz และอาจถูกเข่นฆาตกรที่ Majdanek หรือ Treblinka, เด็กชายคนดังกล่าวได้กลายเป็นสัญลักษณ์ ‘children in the Holocaust’ และภาพนี้ก็ถือเป็น ‘photographs of the Holocast’ ที่สร้างความหวาดหวั่น สั่นสะพรึงให้ผู้พบเห็น

ขณะที่ครึ่งแรก Elisabet พบเห็นการเผาตัวตายของพระสงฆ์ Thích Quảng Đức แสดงปฏิกิริยาหวาดกลัวจนตัวสั่น, ครึ่งหลังบังเอิญพบเจอภาพถ่าย Warsaw Ghetto boy (คั่นอยู่ในหนังสือขณะเปิดอ่าน) แม้ไม่ได้มีสีหน้าสะพรึงกลัว แต่ก็จับจ้องเด็กชายด้วยความใคร่ฉงนสงสัย (มันคงไปกระตุ้นต่อมความทรงจำ ให้หวนระลึกถึงบุตรชาย/รูปภาพที่เคยถูกฉีกทิ้งไป)

บุตรชายของ Elisabet อาจไม่ได้พานผ่านช่วงเวลาเลวร้ายแบบเด็กชายในภาพ แต่พฤติกรรมของมารดา(ที่พยายามกำจัด/ทอดทิ้งบุตรของตนเอง) ถือว่าไม่ต่างจากพวกนาซีสักเท่าไหร่ (ที่ต้องการกวาดล้างชาวยิวให้หมดไปจากโลก) เป็นการเปรียบเทียบที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกสั่นสะท้านทรวงใน

หนังสร้างความคลุมเคลือโคตรๆว่า สองสาวคืนดีกันแล้วหรืออย่างไร? แต่หลังจากฝันร้าย นอนไม่หลับ Alma จึง(แอบ)เข้ามาหา Elisabet (ตำแหน่งทิศทางตั้งฉาก) จับจ้องมอง พรรณารายละเอียด เพราะนั่นคือช่วงเวลาที่หญิงสาวไม่สามารถสวมหน้ากาก ปกป้อง ปิดบัง ซุกซ่อนเร้นตัวตน หลงเหลือเพียงเปลือกภายนอกที่ดูอัปลักษณ์ เต็มไปด้วยริ้วรอยตำหนิ ไร้ชีวิตและจิตวิญญาณ

คำรำพันของ Alma บอกเป็นนัยว่าต่อจากนี้เธอจะเข้ามาแทนที่/กลายเป็น Elisabet สลับบทบาท ตัวละครกลับตารปัตร ซึ่งจะสร้างความสับสนให้ผู้ชมในฉากถัดไปโดยทันที

ผู้กำกับ Bergman จงใจสร้างความสับสนให้ผู้ชม ทั้งๆที่ชายคนนั้นคือ Mr. Vogler (รับบท Gunnar Björnstrand) แต่กลับเป็น Alma ที่ถูกชักนำพา (โดยมือ Elisabet) แล้วกลายเป็น ‘ภาพ’ ทั้งสองสัมผัส โอบกอดจูบ พาขึ้นเตียง เสียอย่างนั้น!

ใครเคยรับชมหลากหลายผลงานของผู้กำกับ Bergman น่าจะตระหนักถึงปรากฎการณ์ ใบหน้าตัวละครอาบฉาบครึ่งหนึ่งด้วยเงามืด มักใช้เป็นสัญลักษณ์การเล่าเรื่องราวย้อนอดีต (Flashback) หรือจินตนาการเพ้อฝัน, ซึ่งช็อตนี้เริ่มจากใบหน้าของ Elisabet จากนั้นเคลื่อนให้เห็น/ทับภาพเหตุการณ์ด้านหลัง สามารถสื่อถึงความครุ่นคิด/จินตนาการ (Alma เริ่มกลายเป็น Elisabet)

หลังจาก Alma พบเห็นภาพถ่ายของเด็กชายที่ Elisabet ซุกซ่อนไว้ใต้มือ (ครั้งแรกไม่ฉีกขาด, ครั้งสองฉีกขาด) ทำให้เธอบังเกิดความเข้าใจทุกสิ่งสรรพอย่าง เลยต้องการพูดคุยเปิดอก จี้แทงใจดำ อธิบายเรื่องราวบังเกิดขึ้นทั้งหมดให้ผู้ชมรับฟัง … ซ้ำสองครั้ง!

  • ครั้งแรกมุมมอง/ถ่ายใบหน้า Elisabet แสดงปฏิกิริยาต่อข้อสรุปของ Alma ซึ่งเหตุผลที่ภาพถ่ายเด็กชายไม่ได้ฉีกขาด เพราะนั่นคือสิ่งที่ซุกซ่อนเร้นอยู่ในความทรงจำของเธอ (ความเป็นมารดา มิอาจทำลายบุตรชายได้ลง)
  • ครั้งสองมุมมอง/ถ่ายใบหน้า Alma ขณะพูดถึงข้อสรุปต่างๆ ส่วนเหตุผลของภาพถ่ายฉีกขาด เพราะจดจำจาก Elisabet เคยฉีกทำลายเมื่อครึ่งแรกของหนัง

ความตั้งใจของดั้งเดิมของผู้กำกับ Bergman ถ่ายทำฉากนี้สองครั้ง ด้วยมุมมอง(ผู้พูด) Alma และ(ผู้ฟัง) Elisabet แล้วค่อยไปเลือกตอนหลังว่าจะตัดต่อสลับไปมาเช่นไร แต่เอาเข้าจริงกลับตัดสินใจไม่ได้ เลยใส่มาทั้งสองมุมมองแบบเต็มๆ กลายเป็นเล่าเรื่องเดิมซ้ำสองครั้ง!

แต่แทนที่ฉากนี้จะสร้างปัญหาให้หนัง มันกลับเต็มไปด้วยความมนต์เสน่ห์ น่าหลงใหล นอกจากสอดคล้องนัยยะกลับตารปัตร/ขั้วตรงข้าม ผู้ชมยังสามารถจับจ้องปฏิกิริยาตัวละคร โดยไม่ไขว้เขว่กับเนื้อหาที่พูดกล่าวออกมา (คือถ้าใช้การตัดสลับไปมา มันก็แค่ Action-ReAction ทั่วๆไป แต่พอนำเสนอเฉพาะ Action จบแล้วค่อยกลับไป ReAction นั่นเป็นการทบทวน ตอกย้ำความทรงจำ ผู้ชมจะเริ่มให้ความสนใจรายละเอียดอย่างอื่น จับจ้องใบหน้าตัวละครมากขึ้นกว่าเก่า)

การบังเกิดขึ้นของฉากซ้ำสองครั้ง ทำให้ผู้กำกับ Bergman ครุ่นคิดพิเรน นำเอาช็อต Close-Up ใบหน้าสองนักแสดง Bibi Andersson และ Liv Ullmann มาตัดครึ่ง แล้วปะต่อเข้าด้วยกัน ผลลัพท์ดูไม่ออกว่านี่มันภาพใคร? Andersson ครุ่นคิดว่าคือภาพของ Ullmann? Ullmann ก็นึกว่าเป็นภาพของ Andesson?

We set the machine running, and Liv said, ‘Oh look, what a horrible picture of Bibi!’ And Bibi said, ‘No, it’s not me, it’s you!’ Then the picture stopped. Everyone’s face has a better and a worse side, and the picture is a combination of Bibi’s and Liv’s less attractive sides. At first they were so scared they didn’t even recognize their own faces. What they should have said was: ‘What the hell have you done with my face?’ But they didn’t! They didn’t recognize their own faces. I find that rather an odd reaction”

Ingmar Bergman เล่าถึงปฏิกิริยาของทั้ง Bibi Andersson และ Liv Ullmann

นัยยะของช็อตนี้ คือการผสมผสาน รวมตัว กลายเป็นภาพหนึ่ง! (นำเสนอในเชิงกายภาพ) นั่นหมายถึงตัวละครสองสาว แท้จริงแล้วคือบุคคลเดียวกัน! ซึ่งความตั้งใจจริงๆของผู้กำกับ Bergman คือมองภาพนี้แล้วสามารถเห็นใบหน้าของทั้ง Andersson และ Ullmann

แต่บอกตามตรง ผมไม่สามารถแยกแยะภาพนี้ออกแม้แต่น้อย เพราะสองสาวต่างมีรายละเอียดบนใบหน้าที่เด่นชัดของตนเอง (Ullmann มีคิ้วหนา จมูกห้อย ปากเจ่อ, ส่วน Andersson ขี้แมลงวันตรงแก้มเด่นชัดมากๆ) มันเลยดูเหมือนบุคคลที่สาม (ไม่ใช่ทั้ง Ullmann และ Andersson)

ถึงอย่างนั้นปฏิกิริยาเมื่อใครๆพบเห็นภาพนี้ (พร้อมเพลงประกอบที่ใช้เครื่องสายกรีดกราย บาดเข้าไปถึงหัวใจ) ย่อมบังเกิดความตื่นตกใจ คาดไม่ถึง สั่นสยิวกาย สะท้านทรวงใน … เป็นการเฉลยปริศนาความสัมพันธ์สองสาว พวกเธอก็คือบุคคลเดียวกันนะแหละ! (มีลักษณะเหมือนภาพสะท้อนในกระจกเงา)

หลังจากสองสาวตระหนักถึงการมีตัวตนของกันและกัน เลยไม่สามารถอดรนทนต่อสิ่งบังเกิดขึ้นได้อีกต่อไป … เหมือนการมีสองบุคลิกในคนเดียว จำต้องมีตัวตนหนึ่งพยายามควบคุม ครอบงำ กืนกลืนอีกตัวตนให้ดับสูญสิ้นไป

จากไดเรคชั่นของหนัง เหมือนว่าเป็น Alma ที่มิอาจอดกลั้นความรู้สึก ตัวสั่นเจ้าเข้า ทุบโต๊ะ กรีดกราย เมื่อถูก Elisabet ดูดเลือดเหมือนแวมไพร์ เลยตัดสินใจทุบทำร้าย เข่นฆ่าอีกฝั่งฝ่ายให้ตกตาย และค่อยๆสูญหายไป

ล้อกับช่วงต้นของหนังที่ Elisabet นอนซมซานอยู่บนเตียง ครานี้เธอถูกทำร้าย/ทุบตีโดย Alma จนมีสภาพร่อแร่ ปางตาย ตกอยู่ในสภาพไร้ชีวิต สูญสิ้นจิตวิญญาณ ซึ่งถ้ามองในเชิงนามธรรม Elisabet ได้พ่ายแพ้ต่อ Alma ยินยอมศิโรราบ ซบไหล่

ภาพช็อตนี้ยังล้อกับตอนกลางเรื่อง ในห้องนอนดึกคื่นเต็มไปด้วยหมอกควัน กลับตารปัตรมาเป็น Elisabet ซบไหล่ของ Alma ก่อนตัดภาพให้เห็นขณะกำลังเสยผม เปิดหน้าผาก (รอบนี้สื่อถึง Alma ได้กลายเป็น Elisabet อย่างเต็มตัวไปแล้ว)

ระหว่าง Alma กำลังเก็บข้าวของ ตระเตรียมตัวเดินทางกลับบ้าน ได้เดินผ่านกระจก ตัดสินใจเสยผมแล้วพบเห็นภาพซ้อน (สื่อถึง Alma และ Elisabet ราวกับได้กลายเป็นคนๆเดียวกัน) ซึ่งต่อจากนี้เธอก็จะเปลี่ยน(ทรงผม)มาเปิดหน้าผากตลอดเวลา เพื่อคงภาพลักษณ์ของ Elisabet ให้ยังอยู่กับตนเองตลอดไป

ตรงประตูขณะ Alma เดินถือกระเป๋าออกจากบ้าน พบเห็นรูปปั้นขนาดใหญ่ตั้งตระหง่าน ซึ่งช็อตต่อไปมีการทาบใบหน้า(รูปปั้น)เข้ากับ Elisabet (วินาทีที่เธอตัดสินใจเลิกพูดสนทนากับใคร) นั่นสามารถสื่อถึงหญิงสาวได้เปลี่ยนแปรสภาพสู่รูปปั้น (มีความเหมือนกันคือ ต่างปฏิเสธพูดสนทนากับผู้อื่น) และกำลังจะถูกทอดทิ้งไว้ยังสถานที่แห่งนี้

มันไม่ใช่ว่า Elisabet โดนสาปให้กลายเป็นหินนะครับ แต่คือนัยยะเชิงสัญลักษณ์หลังจากเธอถูกกระทำร้ายจนมีสภาพปางตาย นอนซมซานอยู่บนเตียง ซึ่งถือว่าเป็นผู้พ่ายแพ้ แล้วได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ Alma จึงหมดสิ้นภาระหน้าที่ หลงเหลือเพียงความแน่นิ่ง เงียบงับ ไม่ต่างอะไรจากรูปปั้นดังกล่าว … ผมก็รู้สึกว่าหนังพยายามปั้นใบหน้าให้มีความละม้ายคล้าย Elisabet อยู่นะ

สำหรับคนยังไม่เชื่อว่า Elisabet สูญสิ้นตัวตนไปแล้ว หนังยังแทรกใส่ภาพเบื้องหลังกองถ่าย กล้องเคลื่อนลงมาให้เห็นหญิงสาวในสภาพนอนแผ่ หมดสิ้นเรี่ยวแรง (เหมือนคนตายตาไม่หลับ?) และยังแฝงนัยยะถึงการแสดง(เป็นคนบ้าใบ้)ถึงจุดสิ้นสุดลง … เพราะต่อจากนี้ในรูปลักษณ์ของ Alma (กลายเป็น Elisabet) จักเต็มไปด้วยความร่าเริงสดใส เบิกบานด้วยรอยยิ้ม กระสันต์ซ่านกับชีวิตสืบไป

สรุปเรื่องราวตามความเข้าใจของผมเอง, Elisabet Vogler หลังจากคลอดบุตรชาย ตระหนักว่านั่นคือบทบาทที่ตนเองทอดทิ้งไม่ได้ เลยตัดสินใจแสร้งเป็นบ้าใบ้ สร้างบุคลิกภาพ Elisabet (Liv Ullmann) ปฏิเสธพูดสนทนากับใคร เมื่อถูกส่งเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล หมอให้คำแนะนำสร้างอีกบุคลิกภาพ Alma (ฺBibi Andersson) ที่มีความแตกต่างตรงกันข้าม แล้วสะกดจิตให้ทั้งสองเดินทางมาพักร้อนตากอากาศ

เรื่องเล่าทั้งหมดของบุคลิกภาพ Alma ล้วนคือสิ่งที่อยู่ในความทรงจำของ Elisabet Vogler เคยพานผ่านประสบการณ์ในชีวิต แต่จำต้องเก็บกดซุกซ่อนเร้น ไม่สามารถเปิดเผยธาตุแท้ตัวตนออกมา การกระทำของบุคลิกภาพ Elisabet (เขียนจดหมายเพื่อบอกเล่าเรื่องราวดังกล่าวต่อหมอ) จึงสร้างความไม่พึงพอใจอย่างรุนแรง ครุ่นคิดกระทำการประทุษร้าย ใช้ความรุนแรง ตั้งใจให้ตกตาย

สุดท้ายบุคลิกภาพ Elisabet ก็สูญสิ้นอิทธิพล กลายสภาพเป็นรูปปั้น นอนซมซานอยู่บนเตียง หลงเหลือเพียงบุคลิกภาพ Alma เก็บข้าวของ เตรียมขึ้นรถออกเดินทาง หวนกลับไปชีวิตตอบสนองตัณหา ความต้องการ พึงพอใจต่อสามีและบุตรชาย

ตัดต่อโดย Ulla Ryghe (1924-2011) สัญชาติ Swedish จากนักข่าวผันตัวสู่นักตัดต่อ เริ่มจากเป็นผู้ช่วย(ตัดต่อ) Wic Kjellin อยู่ยัง Europa Studios ก่อนย้ายมา Svensk Filmindustri ทำงานร่วมกับ Oscar Rosander ตัดต่อ The Devil’s Eye (1960) จากนั้นได้รับโอกาสจาก Ingmar Bergman ฉายเดี่ยวตั้งแต่ Through a Glass Darkly (1961) ร่วมงานกันทั้งหมด 8 ครั้ง จนถึง Shame (1968)

My skills multiplied in leaps and bounds, and by the next year Bergman had much more of an editor at his side. From the very beginning, I noted that my remarks and/or suggestions always found an ear. The response was not always immediate, but sooner or later I was told ‘let’s try it’ or ‘I have thought about it, and I do not wish to do it’ followed by his reasons. It was very instructive, and I admired that in the editing room Bergman was always more intent on getting it right than being right.

Ulla Ryghe กล่าวถึง Ingmar Bergman ในหนังสือ Memoir ชื่อ Travels in Wonderland (2008)

การจะรับชมหนังเรื่องให้พอเข้าใจ ก่อนอื่นต้องแยกแยะอารัมบท-ปัจฉิมบท ที่เหมือนไม่ได้เกี่ยงเนื่องสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องราวหลักออกไปเสียก่อน (จริงๆมันมีความสัมพันธ์อยู่นะครับ แต่เบื้องต้นให้แยกออกไปก่อนนะครับ) ซึ่งพล็อตของหนังจะเริ่มต้นหลังจบ Opening Credit นางพยาบาลสาว Alma เปิดประตูเข้ามา ได้รับมอบหมายดูแลผู้ป่วย Elisabet Vogler ซึ่งผมของแบ่งเรื่องราวออกแค่ 2 ส่วนเท่านั้น

  • อารัมบท
    • เริ่มต้นด้วย Carbon Arc Lamp ค่อยๆเคลื่อนเข้าหากันจนเกิดเป็นแสงสว่างสาดส่องโปรเจคเตอร์ภาพยนตร์
    • ร้อยเรียงวิวัฒนาการภาพเคลื่อนไหว ตามด้วยสัญลักษณ์ของพระเจ้า การเสียสละ พระผู้ไถ่
    • การฟื้นคืนชีพของเด็กชาย (ภาพยนตร์ทำให้ทุกสิ่งอย่างหวนกลับมามีชีวิตอีกครั้ง) บิดซ้ายบิดขวา ตั้งใจจะอ่านหนังสือ แต่ก็ถูกดึงดูดโดยภาพใบหน้าหญิงสาวขนาดใหญ่บนกระจก
  • ครึ่งแรก, Alma ผู้ร่าเริงสนุกสนาน
    • ในโรงพยาบาลนางพยาบาล Alma ได้รับมอบหมายให้ดูแลผู้ป่วย Elisabet Vogler
    • ความที่ Elisabet ไม่ได้มีอาการบาดเจ็บทางร่างกายใดๆ หมอเลยตัดสินใจส่งเธอ (ร่วมกับ Alma) ไปยังบ้านพักตากอากาศริมทะเล
    • หลังจากสองสาวเที่ยวเล่นสนุกสนาน ค่ำคืนนั้น Alma ก็เริ่มเล่าประสบการณ์เมื่อครั้นยังเด็กสาว
    • ดึกดื่น Elisabet เข้าไปในห้องนอนของ Alma แล้วทั้งสองก็กลายเป็นอันหนึ่งเดียว
  • ครึ่งหลัง, Alma ผู้เต็มไปด้วยความโกรธเกลียด ไม่พึงพอใจ
    • ระหว่างขับรถเข้าเมือง Alma แอบเปิดอ่านจดหมายของ Elisabet บังเกิดความไม่พึงพอใจ
    • พอกลับมาบ้านก็กระทำบางอย่างสิ่งชั่วร้าย เหมือนเพื่อแก้ล้างแค้นเอาคืน Elisabet
    • จากนั้น Alma ก็เริ่มพูดถากถาง สร้างความบาดหมาง หาหนทางให้ Elisabet เอ่ยถ้อยคำออกมาจากปาก
    • Alma พยายามหาหนทางคืนดีกับ Elisabet แต่กลับกลายเป็นเธอค่อยๆเข้ามาแทนที่
    • ที่สุดก็หลงเหลือเพียง Alma (หรือจะมองว่าสองสาวผสมผสานกลายเป็นอันหนึ่งเดียว ก็ได้เช่นกัน) พร้อมออกเดินทางกลับบ้าน
  • ปัจฉิมบท
    • กลับมาที่เด็กชายกำลังจับจ้องมองภาพใบหน้าหญิงสาวบนกระจก
    • และ Carbon Arc Lamp ค่อยๆเคลื่อนออกจากกัน

เหตุผลที่ผมเลือกแบ่งในส่วนเรื่องราวหลักเพียง 2 องก์ (จริงๆจะแยกองก์โรงพยาบาล หรือหลังจากแฟนหนุ่มเดินทางมาหา ก็ได้เหมือนกัน) เพราะต้องการนำเสนอความแตกต่างขั้วตรงข้ามของครึ่งแรก-ครึ่งหลัง สามารถเปรียบดั่งภาพสะท้อนในกระจกเงา อาทิ

  • ครึ่งแรก Alma เต็มไปด้วยความร่าเริงสดใส เบิกบานด้วยรอยยิ้ม ให้ความช่วยเหลือ Elisabet อย่างเต็มใจ แต่ครึ่งหลังกลับเต็มไปด้วยความโกรธเกลียด หน้านิ่วคิ้วขมวด พูดคำถากถาง วางแผนประทุษร้ายอีกฝั่งฝ่าย
  • ครึ่งแรก Alma เล่าประสบการณ์ที่ตนเองประทับใจสุดๆเมื่อครั้นยังเด็กสาว, ครึ่งหลังเล่าเรื่องของ Elisabet ที่สร้างความอับอาย ขายขี้หน้า ยินยอมรับความจริงไม่ได้ (ซ้ำสองครั้งด้วยนะ)
  • การรวมตัวกลายเป็นอันหนึ่งเดียว, ครึ่งแรกศีรษะของ Alma เคลื่อนเข้ามาซ้อนทับ/บดบัง Elisabet ส่วนครึ่งหลังใบหน้าของพวกเธอถูกนำมาตัดต่อคนละครึ่ง

หนึ่งในทริคตัดต่อที่น่าอัศจรรย์ใจมากๆ (องก์สอง) หลังจาก Alma กระทำแผนการชั่วร้ายสำเร็จ Elisabet เดินเหยียบเศษแก้ว หนังทำเหมือนฟีล์มหมดม้วน (ได้ยินเสียงเครื่องฉาย) แล้วพบเห็นร่องรอยขีดข่วน ภาพครึ่งหนึ่งขาดๆหายๆ (ผ้าม่านก็แบ่งครึ่งทะแยงมุม) และก็ฟีล์มระเบิด บูม! นั่นคือภาษาภาพยนตร์ของความแตกแยก ขัดแย้ง ไม่ลงรอยกันอีกต่อไป

เพลงประกอบโดย Lars Johan Werle (1926-2001) คีตกวีแนว Modernist สัญชาติ Swedish เกิดที่ Gävle, ตั้งแต่เด็กหลงใหลการแต่งเพลง เรียนรู้ด้วยตนเอง จนกระทั่งสอบเข้าคณะดนตรีศาสตร์ (Musicology) University of Uppsala ระหว่างนั้นได้เป็นผู้ช่วยนักแต่งเพลง Sven-Erik Bäck แล้วทำงานโปรดิวเซอร์ Swedish Radio ตามด้วยอาจารย์สอนดนตรี National Music Drama School และ Gothenburg Music Academy, มีผลงานทั้ง Orchestra, Opera, Chamber Music และเพลงประกอบภาพยนตร์

โดยปกติแล้วหนังของ Bergman มักไม่ค่อยใช้เพลงประกอบสักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่เป็น ‘diegetic music’ แต่สำหรับ Persona (1966) เหมือนเขาต้องการดนตรีแนว Avant-Garde ไม่ได้เน้นท่วงทำนอง หรือความไพเราะใดๆ จุดประสงค์เพื่อสร้างสัมผัสนามธรรม เหนือจริง ให้สอดคล้องเรื่องราวที่จับต้องไม่ค่อยได้ ซึ่งการเลือก Werle (ร่วมงานกันอีกครั้งใน Hour of the Wolf (1968)) ทำให้หนังเกิดมิติที่สลับซับซ้อนยิ่งๆขึ้นไปอีก

วิธีการทำงานของ Bergman ไม่ได้พูดบอกรายละเอียดหนังให้กับ Werle แต่มอบคีย์เวิร์ด พร้อมคำอธิบายเล็กๆน้อยๆ แค่นั้นเองก็เพียงพอให้เขาสรรค์สร้างบทเพลงด้วยเชลโล่สี่ตัว ไวโอลินอีกสามตัว และเครื่องดนตรีอื่นๆอีกนิดหน่อย ไม่มี Main Theme ไม่มีอัลบัม OST ดังขึ้นเป็นห้วงๆ ช่วงขณะ เพื่อขับเน้นจังหวะนั้นๆให้สั่นสะท้านถึงทรวงใน

Then he came with vague hints about how the films would look, but I understood him anyway and he gave me some keywords … I was a little surprised to be part of an artistic work that I had so little time to digest … One wonders how it is even possible that one could only see the movie once or twice and then compose the music.

Lars Johan Werle

นอกจากดนตรีของ Werle บทเพลงคลาสสิกที่ดังจากวิทยุ (Alma เปิดให้ Elisabet ขณะยังอยู่โรงพยาบาล) คือ Bach: Violin Concerto No. 2 in E Major, BWV 1042 ท่อนที่สอง Adagio นำฉบับของ Hilary Hahn ร่วมกับ Los Angeles Chamber Orchestra มาให้รับฟังกัน, นี่เป็นบทเพลงที่มอบสัมผัสโหยหา ครุ่นคำนึงถึง บ้างก็ว่าสิ่งนั้นคือความรักของมารดา ทารกน้อยต้องการการโอบกอด แนบชิดกาย ให้ได้รับความอบอุ่น รู้สึกปลอดภัย ไม่ต้องหนาบเหน็บอย่างเดียวดาย

เนื้อเรื่องหลักของ Persona (1966) นำเสนอการสูญเสียบางสิ่งอย่างของหญิงสาว (Elisabet และ Alma) ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกาย-จิตใจ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก-ใน ครุ่นคิด-แสดงออกในลักษณะแตกต่างตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง!

  • Elisabet หลังคลอดบุตรชาย ตระหนักว่าตนเองได้สูญเสียอิสรภาพชีวิต ไม่สามารถละทอดทิ้ง ‘ความเป็นแม่’ เลยตัดสินใจแสร้งบ้าใบ้ ปฏิเสธพูดคุยสนทนากับใคร ทั้งๆร่างกายไม่ได้มีความผิดปกติประการใด
  • Alma เมื่อครั้นยังเป็นเด็กสาว เคยพานผ่านประสบการณ์ Orgy/Group Sex ซึ่งสร้างความประทับใจสูงสุด หลังจากนั้นการร่วมรักหลับนอนไม่ว่ากับใคร ก็หาได้น่าตื่นเต้นถึงใจระดับนั้นอีกต่อไป
  • เช้าวันถัดมาหลัง Alma แอบอ่านจดหมาย จากเคยร่าเริงสดใส ให้ความช่วยเหลือ Elisabet อย่างเต็มอกเต็มใจ กลายเป็นโกรธเกลียดเคียดแค้น ศัตรูพร้อมประทุษร้าย ไม่พึงพอใจการกระทำของเธออย่างรุนแรง

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสะท้อนถึงอาการป่วย ปอดบวม (pneumonia) ของผู้กำกับ Ingmar Bergman จากเคยร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเป่า จิตใจเข้มแข็งแกร่ง ค่อยๆหมดสิ้นเรี่ยวแรง พละกำลัง สูญเสียขวัญพลังใจ ต้องถือว่าการเข้าโรงพยาบาลครั้งนี้ ทำให้มุมมองของเขาต่อทุกสรรพสิ่งอย่างปรับเปลี่ยนแปลงไป กลับตารปัตรตรงกันข้าม จากหน้ามือเป็นหลังมือ

ซึ่งเมื่อมีโอกาสพบเห็นภาพถ่ายของสองสาว Bibi Andersson และ Liv Ullmann ที่มีใบหน้าละม้ายคล้ายอย่างกะแกะ ทำให้ Bergman บังเกิดแนวคิดหนังที่สอดคล้องประสบการณ์ดังกล่าว โดยให้พวกเธอแสดงออกพฤติกรรมแตกต่างขั้วตรงข้าม แต่สามารถผสมผสาน กลมกลืน กลายเป็นอันหนึ่งเดียว ทั้งในเชิงรูปธรรมและนามธรรม

ในส่วนของอารัมบท-ปัจฉิมบท ภาพของเด็กชายฟื้นตื่น ลุกขึ้นมา บิดซ้ายบิดขวา เปิดอ่านหนังสือ แล้วหันมาพบเห็นใบหน้าหญิงสาวขนาดใหญ่ มีการวิเคราะห์ตีความมากมาย เท่าที่ผมมองว่าน่าสนใจมีเพียงสองสามเหตุผล

  • ตัวแทนของผู้ชม กำลังจับจ้องมองภาพยนตร์ นำเสนอเรื่องราวสองสาวที่มีความแตกต่างขั้วตรงข้าม พบเจอ-พลัดพรากจาก ตกหลุมรัก-โกรธเกลียดเคียดแค้น เคยให้ยินดีความช่วยเหลือ-คิดชั่วประทุษร้าย ฯ
  • เด็กชายคือบุตรของ Elisabet Vogler จับจ้องมองใบหน้ามารดา ขวนขวายไขว่คว้า ต้องการความรัก ความอบอุ่น และอยู่เคียงชิดใกล้
    • จะมองว่าเด็กคนนี้ยังมีชีวิต เพียงจิตวิญญาณ หรืออวตารอยู่ในครรภ์ (ยังไม่ได้คลอดออกมา) ก็ได้เหมือนกันทั้งนั้น
  • แทนด้วย ‘ผู้มาไถ่’ ของผู้กำกับ Ingmar Bergman เมื่อรักษาหายป่วยจากโรงพยาบาล การถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ ราวกับได้มีชีวิต ถือกำเนิดขึ้นใหม่อีกครั้ง
    • สองสาวจักกลายเป็นภาพแทนความครุ่นคิด สิ่งที่อยู่ภายในจิตใจของผู้กำกับ Bergman อันประกอบด้วย ร่างกาย-จิตใจ, จิตใต้สำนึก-ไร้สำนึก, อารมณ์-ความครุ่นคิด, สันชาติญาณ-กระทำด้วยสติ/เหตุผล, หน้ากาก-ตัวตนแท้จริง ฯลฯ

Persona ภาษาละตินแปลว่าหน้ากาก นั่นย่อมแสดงว่าต้องมีการสวม-ถอด เล่นละคร-ตัวตนแท้จริง ฯลฯ ล้วนเป็นตัวแทนสองสิ่งขั้วตรงข้ามที่สามารถผสมผสานกลายเป็นหนึ่ง หรือคือปัจเจกบุคคล ‘Person’ ตัวเราเอง!

the difference between persona and person is that persona is a social role while person is an individual; usually a human being.

ช็อตแรก-สุดท้ายของหนัง คือภาพของ Carbon Arc Lamp ค่อยๆเคลื่อนเข้าหา-แยกจาก ให้กำเนิดแสงสว่าง-ความมืดมิด ซึ่งยังสามารถสื่อถึงการเกิด-ความตาย และจุดเริ่มต้น-สิ้นสุดจักรวาลภาพยนตร์!


เป็นที่คาดการณ์ไว้ตั้งแต่แรกแล้วว่า หนังย่อมไม่สามารถคืนทุนทำกำไร แต่เสียงตอบรับดีล้นหลามจากนักวิจารณ์ โดยเฉพาะนิตยสาร Cahiers du Cinéma โหวตติดอันดับหนึ่งภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี รวมถึงนักวิจารณ์หน้าใหม่ (ขณะนั้น) อย่าง Roger Ebert ยังมอบคะแนนเต็ม 4 ดาว (ก่อนจัดเข้า Great Movie ในอีกสี่ทศวรรษถัดมา) จึงค่อยๆเกิดกระแสคัลท์ติดตามมา

เพียงไม่กี่ปีหลังออกฉาย Persona (1966) ก็ได้รับการโหวตภาพยนตร์ยอดเยี่ยมตลอดกาล จากนิตยสาร Sight & Sound เมื่อปี 1975 ติดอันดับ 5 รองจาก Citizen Kane (1941), The Rules of the Game (1939), Battleship Potemkin (1925) และ 8½ (1963)

ส่วนการจัดอันดับครั้งล่าสุดของนิตยสาร Sight & Sound เมื่อปี 2012

  • Critic’s Poll ติดอันดับ 17 เคียงข้าง Seven Samurai (1954)
  • Director’s Poll ติดอันดับ 13 เคียงข้าง The 400 Blows (1959) และ Andrei Rublev (1966)

อิทธิพลของหนังถือว่ามีมากมายมหาศาล โดยเฉพาะบรรดาผู้กำกับ (ดูการจัดอันดับของนิตยสาร Sight & Sound ก็ชัดเจนอยู่) เป็นที่โปรดปรานของ Andrei Tarkovsky, Akira Kurosawa, Asghar Farhadi, Ari Aster, Pablo Larraín, Sebastián Lelio, เป็นเอก รัตนเรือง ฯลฯ ทั้งยังสร้างแรงบันดาลใจภาพยนตร์ อาทิ Les Biches (1968), 3 Women (1977), Stardust Memories (1980), Fight Club (1999), Mulholland Drive (2001), Black Swan (2010) ฯลฯ

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ ‘Digital Restoraion’ คุณภาพ 2K ละเอียดจนเห็นรูขุมขน รอยกระเกลื้อนบนใบหน้านักแสดง (เพราะหนังเต็มไปด้วยช็อต Close-Up) สามารถหารับชมได้ทาง Criterion Channel

จริงๆมันมีอีกเหตุผลหนึ่งที่สร้างความเชื่อมั่นใจว่า บทความนี้จะเป็นการ Revisit ครั้งสุดท้ายของหนัง เพราะผมมองเห็นยอดเขาลิบๆรำไร สามารถเข้าใจรายละเอียดเล็กๆ เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับองค์ประกอบต่างๆ รวมถึงอ่านบทความวิจารณ์อื่นๆก็ไม่ปวดเศียรเวียนเกล้าอีกต่อไป ซึ่งแค่นั้นก็เหลือเฟือเพียงพอใจ ไม่มีความจำเป็นที่ต้องไปให้ถึงจุดสูงสุดอีกแล้วละ

การค้นพบรอบนี้ที่ทำให้ผมคลั่งไคล้ Persona (1966) ยิ่งๆขึ้นไปอีก ก็คือความสัมพันธ์ของเรื่องเล่า Orgy ที่มีต่อหนัง ใครที่ตั้งใจฟังอาจรู้สึกแค่เสียวกระสันต์ซ่าน แต่คนสามารถครุ่นคิดตามจักน้ำแตกไปพร้อมๆกัน … ถ้าคุณเข้าใจความหมายจริงๆที่ผมต้องการสื่อถึง ก็อาจสามารถมองเห็นยอดเขาลิบๆร่ำไรแล้วละ

แนะนำหนังกับคนที่ชอบความท้าทายในการครุ่นคิดวิเคราะห์ นักเรียนภาพยนตร์คงพลาดไม่ได้อยู่แล้ว, จิตแพทย์/นักจิตวิทยาทำความเข้าใจผู้ป่วยสองบุคคลิกภาพ, ตากล้อง ช่างถ่ายภาพ ศึกษาการทดลอง และเทคนิค Close-Up Shot

จัดเรต 18+ จากบรรยากาศตึงเครียด เรื่องเล่า Orgy และความแปรปรวนทางอารมณ์

คำโปรย | Persona คือกระจกสองด้านในชีวิตและการงานของ Ingmar Bergman ที่สะท้อนข้างหนึ่งคือ Bibi Andersson และอีกข้างคือ Liv Ullmann
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | หลงใหลคลั่งไคล้


Persona

Persona (1966) Swedish : Ingmar Bergman ♥♥♥♥♡

(12/12/2016) ตอนที่ Ingmar Bergman ได้แรงบันดาลใจสร้างหนังเรื่องนี้ คือขณะพักรักษาตัวจากการป่วยปอดบวม (pneumonia) ร่างกายทุกข์ทรมาน จิตใจก็อ่อนล้า แล้วทันใดนั้น เขาก็ตระหนักขึ้นมาได้ มีสุขก็ต้องมีทุกข์ เข้มแข็ง/อ่อนแอ มีกายก็ต้องมีจิต, ‘ถ้าตอนนั้นไม่ได้ Persona ช่วยเอาไว้ ชีวิตผมคงจบสิ้น ไม่มีเรี่ยวแรงกลับมาสร้างภาพยนตร์อีกแน่’

“Today I feel that in Persona – and later in Cries and Whispers – I had gone as far as I could go. And that in these two instances when working in total freedom, I touched wordless secrets that only the cinema can discover.

At some time or other, I said that Persona saved my life – that is no exaggeration. If I had not found the strength to make that film, I would probably have been all washed up.”

– Ingmar Bergman

นี่เป็นหนังที่ทำความเข้าใจยากมากในการรับชมครั้งแรก ผมเองก็ส่ายหัว อะไรว่ะ! แต่ตอนนั้นยังพอสัมผัสได้ถึงความยอดเยี่ยมระดับหนึ่ง แม้จะไม่เข้าใจทั้งหมดก็เถอะ, การได้กลับมารับชมครั้งนี้ คิดว่าตัวเองสามารถมองเห็นความตั้งใจของ Ingmar Bergman ในสิ่งที่เขาต้องการนำเสนอออกมา แต่การตีความสามารถทำได้หลากหลายมาก สิ่งที่ผมคิดได้ เมื่อไปอ่านบทวิเคราะห์ของนักวิจารณ์ต่างๆ ก็พบว่าตรงกันบ้าง ต่างกันบ้าง แต่ละคนมีมุมมอง เหตุผลของตนเอง ไม่มีใครถูกไม่มีใครผิด แล้วแต่คุณจะคิด เข้าใจ วิเคราะห์ได้เอง

มันกลายเป็นความน่าพิศวงสนเท่ห์โดยแท้ กับหนังเรื่องหนึ่ง ที่การวิเคราะห์ตีความ สามารถมองสิ่งเดียวกันที่เกิดขึ้น เห็นต่างออกไปได้มากมายไม่มีสิ้นสุด เชื่อว่าทุกครั้งที่ได้รับชมหนังเรื่องนี้ ในบริบทที่ต่างออกไป ก็จะสามารถเข้าใจในลักษณะที่ไม่เหมือนเดิมได้, นี่เป็นบทเรียนที่ Persona ทำให้ผมตระหนักถึงสิ่งนี้ แบบคาดไม่ถึงมาก่อน

ก่อนหน้าที่ Bergman จะเข้าโรงพยาบาล พักรักษาตัวจากโรคปอดบวม ได้มีโอกาสพบกับ Bibi Andersson ที่ได้แนะนำให้รู้จัก Liv Ullmann (ตอนนั้น Ullmann เพิ่งจะเข้าวงการได้ไม่นาน ยังไม่มีผลงานดัง), Bergman จดจำภาพของทั้งสอง ที่ใบหน้าเหมือนกันอย่างประหลาด (uncanny resemblance) เป็นแรงบันดาลใจตัวละคร ขณะพัฒนาบทหนังเรื่องนี้ขึ้น

Elizabeth (Liv Ullmann) นักแสดงสาวชื่อดัง วันดีคืนดีแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยก็หยุดพูด ไม่เอ่ยปากสนทนาอะไรกับใคร ทั้งๆที่ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงเป็นปกติ จิตแพทย์จึงแนะนำให้เธอ ใช้เวลาพักร้อนที่บ้านริมทะเล กับพยาบาลชื่อ Alma (Bibi Andersson) ที่อาจช่วยผ่อนคลายความเครียดในจิตใจ

Bibi Andersson นักแสดงสาวชาว Swedish ได้ร่วมงานเป็นขาประจำกับ Bergman ตั้งแต่ Smiles of a Summer Night (1955), รับบท Alma (ภาษา Spanish แปลว่า Spirit) พยาบาลสาว เธอเป็นคนเฉลียวฉลาด (สอบพยาบาลได้ที่ 1) ชื่นชอบความตื่นเต้นเร้าใจ แม้จะเคยท้องแบบไม่ตั้งใจแล้วไปทำแท้ง แต่ปัจจุบันมีคู่หมั้นและต้องการทุ่มเทความรักให้

Liv Ullmann กับหนังเรื่องแรก ที่ร่วมงานกับ Bergman ทั้งสองตกหลุมรักกันในกองถ่าย แม้ไม่ได้แต่งงานแต่มีลูกด้วยกันคนหนึ่ง, รับบท Elisabet Vogler นักแสดงสาวผู้เพรียบพร้อมทุกสิ่งอย่าง แต่วันดีคืนดีหยุดพูด ไม่ยอมสนทนากับคนอื่น เราจะรู้ว่าเบื้องหลังของเธอแต่งงาน มีลูกแล้ว (พยายามทำแท้งหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ) เหมือนการหยุดพูด เพราะไม่ต้องการแบกรับภาระ ในสิ่งที่ตนไม่ต้องการ

ที่เล่ามาคือภาพของหน้าหนังนะครับ, Elisabeth กับ Alma เหมือนว่าทั้งสองมีความตรงข้ามกันหลายๆอย่าง เช่น โสด/แต่งงาน, ทำแท้งสำเร็จ/ไม่สำเร็จ, พูดมาก/ไม่พูด ฯ วิธีการวิเคราะห์ เราสามารถมองหาสิ่งที่เป็นเหมือนเหรียญสองด้าน อาทิ กาย/ใจ, ด้านดี/ด้านเลว, ความฝัน/ความจริง, สุขสบาย/ทุกข์ยาก ฯ เอาสิ่งสองขั้วเหล่านี้แทนลงไปในหนัง จะสามารถใช้อธิบายได้แทบทุกสิ่งอย่าง

ถ่ายภาพโดย Sven Nykvist ที่สร้างบรรยากาศหลอนๆ วาบหวิว สยิวขนลุกไปถึงขั้วของหัวใจ, แต่ความโดดเด่นแท้จริงของงานภาพ คือการจัดวางตำแหน่งของนักแสดง ในภาพ Mid-Shot และ Close-Up ที่มักเห็นใบหน้าของ Elisabeth กับ Alma ซ้อนทับ/คู่ขนาน/ตั้งฉาก กันอยู่เสมอ

ไฮไลท์ของการพยายามซ้อนนักแสดง คือให้ใบหน้าของทั้งคู่อยู่ในภาพช็อตเดียว ซีกหนึ่งคือ Elisabeth อีกซีกคือ Alma, ช็อตนี้สร้างขึ้นโดยการนำภาพด้านสว่าง จาก 2 ช็อตก่อนหน้า ตัดครึ่งและแปะประกอบเข้าด้วยกัน กลายเป็น

เห็นว่าทั้ง Andersson และ Ullmann เมื่อรับเห็นช็อตนี้ในหนัง ต่างจดจำใบหน้าตัวเองไม่ได้ จึงคิดว่าเป็นภาพของอีกคน แต่เมื่อตระหนักได้ว่าเกิดจากการรวมภาพ ก็เกิดความรู้สึกหวาดกลัว หลอนๆ ไม่ค่อยชอบใจเสียเท่าไหร่

ตัดต่อโดย Ulla Ryghe, ฉากเปิดของหนัง มีภาพจุดไฟติด, อนิเมชั่นเคลื่อนไหว, คนใส่ชุดกระดูกเดินได้ (Death), แกะถูกเชือด ตับไตไส้พุงไหล, มือถูกตะปูตอก, อิฐ หิมะ คนแก่, เด็กชายตื่นขึ้นในห้องแห่งหนึ่ง ใส่แว่นอ่านหนังสือ แล้วเห็นภาพใบหน้าของหญิงสาว 2 คนสลับกันเบลอๆ พยายามเอื้อมมือไปจับ, นี่เป็นส่วนที่เหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกับหนังเลยนะครับ (ทั้งฉากเปิดและปิด) ดูครั้งแรกๆมองข้ามไปก่อนก็ได้ ยังไม่รีบต้องสนใจ ทำความเข้าใจส่วนของเนื้อเรื่องเสียก่อน ค่อยมาหาเหตุผลฉากเปิด/ปิด เอาทีหลัง

กับการวิเคราะห์ฉากเปิด พบว่าสามารถตีความได้หลายอย่างมากๆ อาทิ
– จุดเริ่มต้นของภาพยนตร์/ฟีล์มขาด (ช่วงกลาง)/ฟีล์มหมดม้วนตอนฉายเสร็จ นี่เป็นการเปรียบเทียบเรื่องราวของหนัง กับยุคสมัยของภาพยนตร์, กระบวนการฉาย/สร้างหนัง
– เริ่มต้นด้วยความตายของสิ่งที่บริสุทธิ์ (แกะ) เหมือนพระเยซู ที่ถูกตอกตะปู ตรึงกางเขน ตายแล้วเกิดใหม่ เป็นวัฏจักร
– เด็กชายที่อยู่ในครรภ์ของมารดา การตื่นขึ้นคือขณะปฏิสนธิ ใส่แว่นอ่านหนังสือ คือเรียนรู้ ซึมซับอะไรๆจากแม่ และภาพที่เห็นเบลอๆ คือขณะอยู่ในท้อง มองเห็นแม่ของตน
ฯลฯ

ในฉากที่ Alma พูดเล่าความจริงของ Elizabeth ขณะถ่ายทำใช้กล้อง 2 ตัวถ่ายคนละมุม เพื่อว่าเวลาตัดต่อจะได้ตัดสลับกันไปมา แต่ Bergman รู้สึกว่าทั้งสองช็อตมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เลยใส่มาทั้งหมดแบบไม่มีตัดสลับ นำเสนอปฏิกิริยาของผู้ฟังก่อน และท่าทางผู้พูดจะเห็นทีหลัง, ผู้ชมครั้งแรกคงรู้สึกประหลาด ทำไมเกิดเหตุการณ์ซ้ำสองรอบ … ถึงประโยคพูดซ้ำเดิม แต่ภาพมันคนละมุมมองกันนะครับ

เพลงประกอบโดย Lars Johan Werle, รอบนี้ผมลองตั้งใจฟังดู พบว่าก็พอได้ยินอยู่ แค่ไม่กี่ฉากเท่านั้น มีลักษณะเหมือนเป็น Sound Effect มากกว่าเพลงประกอบ ใช้เพื่อสร้างบรรยากาศ เพิ่มความรู้สึก/หลอนให้กับหนัง
– ตอนฉากที่ใบหน้าสองตัวละครรวมกัน ใช้เสียงทรัมเป็ต (ที่อยู่ดีๆก็ดังขึ้นมา) เป่าแบบสุดแรง เกิดเสียงแหลมปี๊ด ได้ยินแล้วขนลุกซู่
– ฉากเปิดเรื่อง เด็กชายยื่นมือสัมผัสภาพของแม่/เปิดหนังสือเห็นภาพสงคราม/ฉากดูดเลือด เสียงไวโอลิน เครื่องสายจะค่อยๆสีดังขึ้น และพอ Alma ตบ Elizabeth มันก็จะแหลมบาดใจ

ใจความของหนังเรื่องนี้ ต้องการบอกว่า สิ่งสองสิ่งที่เหมือนจะตรงกันข้าม แต่จริงๆแล้วมันอาจคือสิ่งเดียวกัน, อธิบายแบบนี้คงไม่มีใครรู้เรื่อง ผมจะขอยกตัวอย่างการวิเคราะห์ แบบให้เห็นภาพเลยแล้วกันนะครับ

Elizabeth คือร่างกาย
Alma คือจิตวิญญาณ/จิตใจ

สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า มนุษย์ ประกอบด้วยกายและจิต เป็นสิ่งเดียวอยู่ร่วมกัน ซึ่งหนังเรื่องนี้ได้ทำการแยกกายและใจออกจากกันเป็นสองบุคคล, เด็กชายต้นเรื่อง เปรียบได้กับลูกในครรภ์ ที่สามารถมองเห็น รูปกาย/รูปจิต ของมารดา, เรื่องราวจึงคือการต่อสู้ในจิตใจของแม่ ความขัดแย้งระหว่างกายใจ การยอมรับ และเอาชนะตัวเอง (ที่ Elizabeth ไม่พูด เพราะกายพูดไม่ได้ แต่ Alma แทนด้วยใจ ย่อมต้องพูดได้)

ผมคิดว่า Alma คือความพยายามของจิตแพทย์ (ผู้หญิงคนที่ 3 ในหนัง) ที่ได้สร้าง เพื่อนสมมติ (เธอจึงเป็นพยาบาล) ขึ้นมาบำบัดรักษา ดูแล Elizabeth อย่างใกล้ชิดแบบตัวต่อตัว, การไปพักร้อนที่บ้านริมทะเล นี่เหมือนการสะกดจิต (ผมเห็นในหนังเรื่องอื่นๆ เวลาที่สะกดจิต จิตแพทย์มักชอบให้ผู้ป่วย จินตนาการ นึกถึงความทรงจำที่เป็นสุข อบอุ่น ผ่อนคลาย) ตัวตนแท้จริงของ Alma คือส่วนสะท้อนจิตสำนึก ความต้องการของ Elizabeth เช่น เรียนเก่ง, เคยมี Orgy กับหนุ่มๆ, ไปทำแท้งสำเร็จ ฯ แต่จิตสำนึกที่สร้างขึ้นนี้ หาได้รู้ตัวเองไม่ ว่าแท้จริงตัวเองก็คือ Elizabeth นะแหละ

ตอนที่ Elizabeth เขียนจดหมาย เรื่องที่ Alma เล่าให้ฟัง นี่เป็นเหมือนการทรยศจิตใจของตนเอง ซึ่งพอจิตสำนึกรู้ตัวเข้าก็พยายามหาทางขัดขวาง/ตักเตือน/เอาคืน
1) วางเศษแก้วแตกไว้บนพื้นให้เดินเหยียบ (ผลกระทบ เจ็บป่วยทางกาย)
2) เกรี้ยวกราดระบายความอัดอั้น ให้รู้สึกอึดอัด (ผลกระทบ เจ็บป่วยทางใจ)
3) พยายามสาดน้ำร้อนใส่ (ผลกระทบ ถึงตาย) กับความรุนแรงขั้นนี้ทำให้ Elizabeth/ร่างกาย ถึงกับกรีดร้องออกมา “No, don’t!” นั่นคือเมื่อร่ายกายทนต่อความเจ็บปวดของจิตใจไม่ได้แล้ว (กายยอมแพ้ใจ)

แต่หนังไม่ได้จบตรงนี้ เพื่อให้จิตใหม่สามารถเข้ายึด ครอบครองร่างกายทั้งหมดได้ ครึ่งชั่วโมงสุดท้ายจึงเป็นการขับไล่ กำจัดตัวตนเดิมของ Elizabeth ออกไป, แต่ใช่ว่าจิตเดิมจะยอมเสียง่ายๆ พยายามชักจูง เกลี้ยกล่อม โน้มน้าว (กระทั่งดูดเลือด เพื่อกลืนกินจิตใจ) แต่สุดท้ายใจใหม่ Alma ก็สามารถเอาชนะกายเดิม Elizabeth ได้ ด้วยการตบตีทำร้ายจนสลบไสล ตอนจบเราเลยเห็นแต่ Alma ตื่นเช้า เก็บข้าวของ ขึ้นรถกลับบ้าน (Elizabeth จะหายไปแล้ว)

อธิบายแบบยกตัวอย่างนี้ พอจะเห็นภาพเข้าใจกันได้ไหมเอ่ย ผมแนะนำให้ลองเปลี่ยน กาย/ใจ เป็นอย่างอื่น อาทิ วามฝัน/จินตนาการ, ความดี/ความชั่ว, โลกยุคเก่า/ใหม่ ฯ เชื่อว่าเมื่อแทนแล้ว ก็สามารถจับใจความได้ในลักษณะที่ใกล้เคียงกัน นี่คือสิ่งที่ผมมองว่า คือความยิ่งใหญ่สากลของหนังเรื่อนี้นะครับ

ครั้งแรกที่รับชมหนังเรื่องนี้ ผมไม่ชอบรุนแรงในส่วนการเล่าเรื่อง Orgy ที่สร้างภาพจินตนาการเด่นชัดในหัวจนรู้สึกขยะแขยง แต่ตอนนั้นยังไม่เข้าใจจุดประสงค์ ว่าใส่มาเพื่ออะไร, การที่หนังต้องเล่าเรื่องนี้ให้เกิดการต่อต้านรุนแรง เพื่อเป็นการสะท้อนสิ่งที่อยู่ในจิตใจมนุษย์ ความต้องการ/จินตนาการ/ความฝัน บางสิ่งบางอย่างเราต้องการจดจำ วาดฝันให้เกิดขึ้นที่สุด แต่บางอย่างก็อยากหลงลืมไม่ให้หวนระลึกได้ ซึ่งชีวิตจริงเราไม่สามารถเลือกให้เหตุการณ์หนึ่งใดเกิดขึ้น/ไม่เกิดขึ้น หรือย้อนเวลาเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลง จิตใจจึงทำการเก็บกดความทรงจำ/รู้สึกที่ไม่ชอบบางอย่างไว้ แล้วทดแทนด้วยความเพ้อฝัน/จินตนาการ ในสิ่งที่ตนอย่างเป็น, คือหนังไม่ได้สุ่มสี่สุ่มห้า เล่าเรื่องพรรค์นี้มาโดยไม่มีเหตุผลประกอบนะครับ ซึ่งถ้าได้เข้าใจแล้ว ก็อาจจะยอมรับ เห็นความจำเป็นขึ้นมาได้ (คือผมรับได้ในความจำเป็นนี้เลยละ)

นี่ทำให้ผมรู้สึกหลงรักหนังขึ้นมาจากใจเลยละ เพราะเหรียญสองด้าน กาย/ใจ ที่ถึงสะท้อนตรงกันข้าม แท้จริงมันคือสิ่งๆเดียวกัน รวมเรียกว่า Person, Persona, และมุมมองของหนัง คือผมตั้งหน้าตั้งตารอเลยละ ว่าอีก 5-10 ปีข้างหน้า จะเห็นอะไรที่ต่างออกไปจากปัจจุบันบ้าง

แนะนำกับจิตแพทย์ นักจิตวิทยาทั้งหลาย ศึกษาวิเคราะห์จิตใจของตัวละคร, ผู้ชื่นชอบหนังที่ต้องใช้หัวสมอง คิดวิเคราะห์ตีความ, แฟนหนัง Ingmar Bergman, Bibi Andersson และ Liv Ullmann ไม่ควรพลาด

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนทำงานสายภาพยนตร์/ผู้กำกับ/นักแสดง ศึกษาเรียนรู้เทคนิควิธีการจากหนังเรื่องนี้ คงจะมีประโยชน์มาก

จัดเรต R กับบทสนทนา Orgy และความหลอนของบรรยากาศ

TAGLINE | “Persona คือกระจกสองด้านในชีวิตและการงานของ Ingmar Bergman ที่สะท้อนข้างหนึ่งคือ Bibi Andersson และอีกข้างคือ Liv Ullmann”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | LOVE


Persona

Persona (1966)

(5/1/2016) อีกหนึ่งผลงาน masterpiece ของ Ingmar Bergman นำแสดงโดย Bibi Andersson และ Liv Ullmann บอกตามตรงว่าผมดูหนังเรื่องนี้แล้วเกิดความรู้สึกขัดแย้งเป็นอย่างมาก คือไม่สามารถเลือกได้ว่าจะชอบหรือจะเกลียดหนังเรื่องนี้ดี ซึ่งผมก็เชื่อว่าคนที่ได้ดู Persona แล้วจะมีแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มชัดเจน คือชื่นชอบหนังเรื่องนี้มาก ไม่ก็เกลียดหนังเรื่องนี้ไปเลย

นี่เป็นหนังแนวทดลองที่ดูยากเรื่องหนึ่ง เปิดเรื่องมาเชื่อว่าแทบทุกคนคงเกิดความสงสัย โดยเฉพาะคนที่เกิดในยุคหนังดิจิตอลจะแทบไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้มาก่อน นั่นเป็นเครื่องฉายหนังสมัยก่อน ที่ใช้ฟีล์มหมุนผ่านเครื่องฉาย แต่ฟีล์มหมุนอย่างเดียวเราก็ไม่สามารถเห็นอะไรได้ ต้องมีไฟที่สว่างมากๆส่องผ่านฟีล์มไปตกที่ฉาก เราถึงจะเห็นภาพ Persona เริ่มต้นที่กระบวนการฉายภาพยนตร์ มีการเทสฟีล์ม (คล้ายๆกับนับการนับถอยหลังก่อนฟีล์มฉาย) ถ้าใครสังเกตหน่อยจะมีรูป Penis แถมมาแวบหนึ่ง (การแอบใส่ไอ้นี่มานี่ ผมนึกถึง Fight Club ของ David Fincher เลย) เมื่อเทสกล้องเสร็จก็ตัดไปที่เด็กคนหนึ่งที่เหมือนศพ แล้วอยู่ดีๆตื่นขึ้น เดินไปที่กระจก เห็นภาพตัวละครหญิงคนหนึ่ง แล้วจากนั้นก็ตัดไป … โอ้โห intro แบบนี้ใครมันจะไปเดาได้ว่านี่มันหนังอะไร ผมดูจนจบแล้วย้อนกลับมาดูตรง intro ใหม่ เพราะสงสัยว่าไอ้เด็กตอนต้นเรื่องมันอะไรกัน ??? แล้วก็ทำเอาผมงงตาแตกเลย คือเด็กนั่นมันไม่โผล่มาในเนื้อเรื่องสักนิด นี่เป็นจุดแรกของหนังเลยนะครับที่คนจะชอบหรือคนจะเกลียด ผมไปอ่านเจอบทวิเคราะห์ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี ความหมายจะบอกว่า เรื่องราวต่อจากนี้มันเหมือนภาพบนแผ่นฟีล์ม คำว่า Persona เอง ในภาษา Latin ก็เปรียบเสมือนหัวโขนของนักแสดง ที่เป็นการสวมบทบาท ไม่ใช่การแสดงจริง

หนังมี 2 ตัวละครหญิง ที่ผมรู้สึกว่าหนังมีนัยแฝงเรื่อง Lesbian อยู่ แต่อ่านดูๆในบทวิเคราะห์มากมายพบว่ามันไม่ใช่ หนังนำเสนอ 2 ตัวละครที่มีการดำเนินชีวิตต่างกัน แต่มีความเหมือนบางอย่าง หนังใช้จิตวิทยาในการเล่าเรื่องอย่างจัดเต็มเลย หญิงสาวคนหนึ่งที่เป็นนักแสดงชื่อดัง วันดีคืนดีเธอหยุดพูด เธอได้รับการกระทบกระทั่งทางจิตบางอย่างหรือเปล่า? ในหนังทั้งเรื่องเราจะได้ยินเสียงเธอพูดแค่ประโยคเดียวเท่านั้น แต่ ณ จังหวะที่พูด คำที่พูด และเหตุผลที่เธอพูดนั้น เป็นอะไรที่สุดยอดมากๆ กว่าที่จะได้ไปถึงจุดนั้นนี่เล่นเอาเหนื่อยเลยละครับ ผมจะปิดหนังเรื่องนี้ทิ้งหลายรอบทีเดียว เพราะมีหลายจังหวะที่ผมรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันมีเรื่องราวที่ฟ่อนเฟะมากๆ โดยเฉพาะการเล่าเรื่อง Orgy ของอีกตัวละครหนึ่ง ณ จุดนั้น หนังใช้การพูดเล่าเรื่องออกมา ไม่มีภาพให้เห็น แต่ฟังแล้วมันสมจริงมากๆ ตอนดูถึงฉากนี้ ด้วยองค์ประกอบต่างๆของหนังที่ดำเนินมาเรื่อยๆ บรรยากาศอึมครึมที่ดูเครียดๆ ทำให้ผมต้องใช้สมาธิอย่างมากในการสังเกต และฟังสิ่งที่ตัวละครพูด พอเล่าถึงเรื่องนี้ปุ๊ป ความรังเกียจ ความขยะแขยงมันเป็นภาพที่ชัดเจนมากๆ นี่เป็นจุดใหญ่เลยละที่คนจะชอบหรือคนจะเกลียด เห็นว่าตอนหนังฉายก็มีนักวิจารณ์หลายคนที่ไม่ชอบฉากนี้ และพาลให้เกลียดหนังเรื่องนี้เลย หนังสามารถจัดเรต X ได้ โดยที่ไม่มี sex scene ในหนัง คนที่ชอบก็จะบอกว่านี่สุดยอดเลย Bergman ทำได้ยังไง คนไม่ชอบก็จะบรรยายตามความรู้สึกที่ผมว่าไป

นี่ต้องชมทั้ง Bibi Andersson และ Liv Ullmann ที่แสดงเรื่องนี้ ทั้งๆที่ไม่รู้ว่าเรื่องมันเกี่ยวกับอะไร แต่แสดงออกมาได้สุดยอดมากๆ ว่าไปสองคนนี้ก็หน้าคล้ายกันนะ ที่ Bergman เลือกทั้งสองคนมาก็เพราะหน้าทั้งสองคล้ายกันด้วย เหตุผลเดี๋ยวผมจะเล่าต่อไป ตอนที่ 2 นางได้ดูหนังเรื่องนี้ และได้เห็นฉากนั้นต่างก็พูดมาในทำนองอึดอัด และหลอนๆชอบกล ทั้งคู่ถือเป็นนักแสดงขาประจำของ Bergman นะครับ จำหน้าไว้หน่อยก็ดี

ถ่ายภาพโดย Sven Nykvist เขาทำงานร่วมกับ Bergman ก็หลายเรื่อง ใน Persona นี่จะเป็นอีกหนึ่ง masterpiece เลยละครับ เพราะมีการทดลองกับกล้องหลายอย่างมาก และคนดูจะเห็นได้อย่างชัดเจนด้วย ฉากอันเลื่องลือในหนังมี 2 ฉาก ฉากแรกคือการหันหน้าตั้งฉาก 90 องศาของ 2 ตัวละคร คนหนึ่งหันหน้าเข้ากล้อง อีกคนหนึ่งมองไปอีกด้านหนึ่ง โดยหน้าของตัวละครทั้งสองจะซ้อนทับกัน ภาพแบบนี้ดูแล้วรู้สึกหลอนๆนะครับ เหมือนกับว่ามีใครสักคนจ้องเราอยู่ มีหนังหลายเรื่องทีเดียวที่ใช้การวางตำแหน่งตัวละครแบบนี้ จุดเริ่มต้นก็มาจากหนังเรื่องนี้แหละ วิธีการนี้เรียกว่า overlapping faces เหตุผลที่ถ่ายแบบนี้ ก็ตรงตีความไม่ยากนะครับ คือมีบางอย่างของสองตัวละครนี้ที่เหมือนกัน ราวกับจะเป็นคนๆเดียว … ฉากที่ว่านี้ออกมาก่อนอีกฉากหนึ่งผมเลยตีความอย่างนั้นนะครับ อีกฉากหนึ่งที่เป็นโคตรแห่งตำนาน เป็นการตัดฟีล์มหน้าของ 2 ตัวละคร แล้วเอามาประกบกัน เหลือเชื่อว่ามันประกบได้พอดีเปะเลย ก่อนที่จะถึงฉากนี้ หนังมีการเล่าซ้ำ 2 รอบ ตอนนั้นสมาธิผมก็เริ่มๆหลุดไปแล้ว พอเห็นหนังฉายฉากเดิมซ้ำก็ตกใจ กดย้อนไปดู มันคนละตัวละครกันแหะ แต่ประโยคคำพูด ฉากนั้นเหมือนกันเปะ แต่ตอนกำลังจะจบรอบสอง หนังมีฉากนี้ขึ้นมา ผมร้องเห้ย! เลยละครับ ฉากนี้ไม่ชอบไปเลยก็โคตรเกลียดแน่นอนนะครับ เพราะบรรยากาศหนังมันหลอนๆมาก เจอฉากนี้ปุ๊ป คนเกลียดคือทำใจไม่ได้แน่ ส่วนคนชอบก็ นี่มันคิดได้ยังไง!

เรื่องนี้ไม่มีเพลงประกอบ (มั้งนะ) ได้ยินแต่เสียงหาดทรายทะเล หาเครดิตไม่เจอด้วย

หนังเรื่องนี้มีลายเซ็นต์ของ Bergman ตรงไหน … Death อยู่ตรง animation เปิดหนังตอนต้นเรื่องนะครับ (หาที่ใส่มาจนได้) นี่เป็นหนังเชิงจิตวิทยาที่ตั้งคำถามกับชีวิตนะครับ เหมือนกับว่า ชีวิตของคนเรามันก็เหมือนหนังเรื่องหนึ่ง มีเราเป็นนักแสดงนำ ความเหมือนของตัวละครนี่จะตีความแค่ว่า คนเรามักจะมีตัวละครที่เป็นแบบอย่าง อยากใช้ชีวิตตามแบบนั้น เขาอาจเป็นดารา คนรู้จัก คนที่เรารัก หรือแม้แต่เป็นพระเจ้าก็ยังได้ หรือเราจะเปรียบ 2 ตัวละครนั้นเป็นสัญลักษณะ เช่น ความดีกับความชั่ว สิ่งที่อยากเป็นกับสิ่งที่ไม่อยากเป็น สิ่งที่อยากทำกับสิ่งไม่อยากทำ ตัวละครหญิงทั้งสองมีความเหมือนในความต่าง มีชีวิตที่แตกต่างแต่มีเรื่องราวที่คล้ายคลึง หนังค่อยๆเปิดเผยเรื่องราวของทั้งสองตัวละคร ผ่านมุมมองที่แตกต่าง คนหนึ่งพูดมากคนหนึ่งไม่พูด คนหนึ่งรู้อะไรอีกคนไม่รู้อะไร

สำหรับ Bibi Andersson ที่แสดงเป็นนักแสดงที่ไม่พูดในหนัง แท้จริงแล้วใช่ว่าเธอจะป่วยเป็นโรคจิตอะไร แต่เธอจงใจที่จะไม่พูด ในหนังเปรียบเหมือนกับว่าเธอกำลังแสดงบทบาทในชีวิตจริงอยู่ เหตุผลที่เธอไม่พูดคำตอบอยู่ในหนังค่อนข้างจะชัดเจนนะครับผมคงไม่พูดถึง มีตัวละครที่เป็นหมอในหนังพูดกับเธอไว้ประมาณว่า ตอนนี้ที่เธอยังแสดงแบบนี้ได้อยู่เพราะยังมีคนสนใจเธอ แต่เมื่อไหร่ที่คนเลิกสนใจเธอ เมื่อนั้นเธอก็ควรจะเลิกแสดงได้แล้ว … ตรงมากๆ

ผมค่อนข้างทึ่งนะครับว่า Bergman คิดและกล้าทำเรื่องนี้ได้ยังไง หนังเต็มไปด้วยเทคนิคและการทดลอง แต่ผมดูหนังเรื่องนี้ไม่สนุกเลย ดูแล้วเครียดมากๆ เพราะต้องคิดตามตลอด บรรยากาศในหนังก็อึมครึม หลอนๆ ดิ้นไปดิ้นมาทุกข์ทรมาน ยังดีหนังยาวแค่ 84 นาที ถ้ายาวกว่านี้ต้องพึ่งยาดมแน่ ผมเลยตัดสินใจให้ความชอบหนังเรื่องนี้ในระดับ WASTE นะครับ ยอมรับและเข้าใจว่าหนังมันสุดยอดมากๆ แต่มันทำให้ผมขยาด และไม่คิดจะดูมันอีก

ผมไม่แนะนำหนังเรื่องนี้กับคนดูที่ชอบเสพความบันเทิงทั้วๆไปนะครับ แต่สำหรับนักเรียนหรือคนที่ชอบดูหนังมากๆ ชอบวิเคราะห์หนัง นี่คือหนังที่จำเป็นต้องดูเลยละ นิตยสาร Sight & Sound จัดอันดับหนังเรื่องนี้ที่ 16 สูงสุดของหนัง Bergman นะครับ พลาดไปเสียใจแน่ๆ และหนัง 18+ ครับ

คำโปรย : “Persona ของ Ingmar Bergman ไม่ใช่หนังของทุกคนแน่นอน นี่เป็นหนังแนวทดลองที่มีการเล่าเรื่อง และภาพการนำเสนอเชิงจิตวิทยาที่สุดท้าทาย ดูแล้วหลอนโคตรๆ ผ่านการแสดงของ Bibi Andersson และ Liv Ullmann”
คุณภาพSUPERB
ความชอบ : WASTE

2
Leave a Reply

avatar
2 Comment threads
0 Thread replies
0 Followers
 
Most reacted comment
Hottest comment thread
0 Comment authors
Top 10 Andrei Tarkovsky Favorite Films | RAREMEAT BLOG Recent comment authors

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
newest oldest most voted
Notify of
trackback

[…] Persona (1966)  : Ingmar […]

trackback

[…] Persona (1966)  : Ingmar […]

%d bloggers like this: