Peter Pan

Peter Pan (1953) hollywood : Hamilton Luske, Clyde Geronimi, Wilfred Jackson ♥♥♡

Peter Pan ฉบับการ์ตูนโลกสวยของ Walt Disney ชักชวนผู้ชมโบยบินไปยังดินแดนแห่งความฝัน โลกที่เราสามารถเป็นเด็กตลอดกาล! แต่มันคือการ์ตูนที่เราควรให้เด็กๆรับชมจริงๆนะหรือ?

ผมมีความแปลกประหลาดใจอย่างมากๆว่า Peter Pan (1953) คือหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องโปรดของ Hayao Miyazaki ได้อย่างไร? ทั้งๆเจ้าตัวเคยบอกว่าไม่ค่อยชื่นชอบการ์ตูนจาก Disney สักเท่าไหร่ แต่ด้วยเหตุผล …

Peter Pan’s flying scenes are predicated on the experience of flying in an airplane with a moving perspective. As a result viewers soar through the air with the story’s characters and feel liberated by the exhilarating vista unfolding below them, with moonlight casting shadows on the city streets. With the characters we share in the freedom of flying.

Hayao Miyazaki

อืม…สิ่งน่าสนใจที่สุดของ Peter Pan (1953) ก็คงเป็นการโบยบินอย่างที่ Miyazaki ว่ากล่าวไว้ เพราะก่อนหน้านี้ไม่เคยมีภาพยนตร์/อนิเมชั่นเรื่องไหน ทำซีเควนซ์มนุษย์บินออกมาได้น่าประทับใจ (น่าจะไม่เคยมีมาก่อนด้วยซ้ำนะ) ถ้าเป็นฉบับคนแสดง (Live Action) ก็อาจต้องรอคอย Superman (1978)

เหตุผลที่ผมไม่เคยชื่นชอบ Peter Pan เพราะไอ้เด็กเวรตะไลนิสัยแย่มากๆ ชอบสร้างความวุ่นวาย กลั่นแกล้งใครอื่นไปทั่ว (Bully) ครุ่นคิดว่าตนเองคือศูนย์กลางจักรวาล และที่สำคัญไม่ยินยอมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ใช้ข้ออ้างความเป็นเด็กกระทำสิ่งชั่วร้ายมากมาย … #ยกเลิกกฎหมายเยาวชน

ต้นฉบับวรรณกรรมของ J. M. Barrie มีคำอธิบายจุดเริ่มต้น สาเหตุผล ที่มาที่ไปของ Peter Pan ทำไมถึงกลายเป็นไอ้เด็กเวรตะไล ไม่ยินยอมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แต่การ์ตูนของ Walt Disney ตัดทิ้งรายละเอียดส่วนนั้นทั้งหมด (เพราะมองว่ามันมืดหม่นเกินกว่าจะนำเสนอในการ์ตูนสำหรับเด็ก) เลยไม่สามารถทำให้ผู้ชมมองเห็นตัวละครในแง่มุมอื่น เพียงสามัญสำนึกที่ว่า เด็กและเยาวชนตราบยังไม่บรรลุนิติภาวะ ย่อมทำอะไรไม่ผิด! … แนวคิดลักษณะนี้ใกล้จะตกยุค ล้าหลังแล้วนะครับ

อีกสิ่งหนึ่งที่น่าผิดหวังสุดๆสำหรับการตูนเรื่องนี้ ยิ่งกว่าพฤติกรรมของไอ้เด็กเวรตะไลเสียอีก นั่นคือการนำเสนอ Stereotype ชนพื้นเมืองอินเดียนแดง (Native American) ที่สะท้อนค่านิยมของคน(อเมริกัน)ยุคสมัยนั้น และโดยเฉพาะบทเพลงที่ไม่รู้ใช้สมองหรืออะไรแต่งขึ้น What Made the Red Man Red? … ฉบับรับชมทางออนไลน์ในปัจจุบัน อาจไม่ได้พบเห็นซีเควนซ์นี้แล้ว เพราะสตูดิโอ Disney มิอาจต่อต้านท้านกระแสสังคม (Woke Up)


ก่อนอื่นของกล่าวถึง J. M. Barrie ชื่อจริง Sir James Matthew Barrie, 1st Baronet (1860-1937) นักเขียนนวนิยาย บทละคอน สัญชาติ Scottish เกิดที่ Kirriemuir, Angus ในครอบครัว Calvinist เป็นบุตรคนที่เก้า(จากสิบคน) ตั้งแต่เด็กมีความหลงใหลในการเล่าเรื่อง ชื่นชอบรับฟังนิทานก่อนนอน เมื่อตอนอายุหกขวบพบเห็นพี่ชาย David เสียชีวิตจากอุบัติเหตุระหว่างเล่นสเก็ตน้ำแข็ง มารดามีความเศร้าโศกเสียใจอยากหนัง จึงพยายามเข้าไปปลอบในห้องพัก แล้วเธอเกิดความเข้าใจผิดครุ่นคิดว่าคือบุตรชายที่เสียชีวิต “No, it’s no’ him, it’s just me.” แต่เหตุการณ์นั้นทำให้มารดาตระหนักว่าความตายของ David จะทำให้เขายังคงความเป็นเด็ก อยู่เคียงข้างกันตลอดไป

ด้วยความใฝ่ฝันอยากเป็นนักเขียน สามารถสอบเข้า University of Edinburgh ขณะเดียวกันก็ตีพิมพ์เรื่องสั้น บทละคอนลงนิตยสารนักศึกษา Edinburgh Evening Courant จบออกมาทำงานหนังสือพิมพ์ The Scotsman ตามด้วย Nottingham Journal, เวลาว่างก็เขียนเรื่องสั้น นวนิยาย บทละคอนเวที ผลงานโด่งดังที่สุดก็คือ Peter Pan; or, The Boy Who Wouldn’t Grow Up (1904) แรกสุดคือละคอนเวที West End ก่อนดัดแปลงเป็นนวนิยาย Peter and Wendy (1911) วาดภาพประกอบโดย F. D. Bedford

เกร็ด: ชื่อตัวละคร Pan มาจากปรัมปรากรีก เทพเจ้าครึ่งมนุษย์ครึ่งแกะ มีเขางอกบนศีรษะ และใบหน้าเต็มไปด้วยหนวดเครา ถือเป็นเทพแห่งธรรมชาติ พงไพร การเลี้ยงแกะ ดนตรีชนบท และสัญลักษณ์ของการเจริญพันธุ์

เมื่อครั้นยังเป็นเด็ก Walt Disney เคยมีโอกาสรับชมการแสดง Peter Pan, or the Boy Who Wouldn’t Grow Up ที่มาออกทัวร์มายัง Cater Opera House ณ Marceline, Missouri เมื่อปี ค.ศ. 1913 สร้างความประทับ จับจิตจับใจ ไม่เพียงเท่านั้นเขายังเคยได้รับเลือกให้รับบทบาท Peter Pan ในการแสดงของโรงเรียน ติดสลิงโบยบิน ใครกันจะลืมเลือนประสบการณ์นั้นได้ลง

We were living on a farm, and one morning as we walked to school, we found entrancing new posters. A road company was coming to the nearby town of Marceline and the play they were presenting was Peter Pan with Maude Adams. It took most of the contents of two toy saving banks to buy our tickets, but my brother Roy and I didn’t care … I took many memories away from the theater with me, but the most thrilling of all was the vision of Peter flying through the air. Shortly afterward, Peter Pan was chosen for our school play and I was allowed to play Peter. No actor ever identified himself with the part he was playing more than I – and I was more realistic than Maude Adams in at least one particular: I actually flew through the air! Roy was using a block and tackle to hoist me. It gave way, and I flew right into the faces of the surprised audience.

Walt Disney

คงไม่ผิดอะไรจะบอกว่า Peter Pan ถือเป็น ‘Passion Project’ ของนาย Walt Disney เมื่อเริ่มมีประสบการณ์สรรค์สร้างภาพยนตร์อนิเมชั่น ครุ่นคิดวางแผนทำเป็นผลงานถัดจาก Snow White and the Seven Dwarfs (1937) แต่ลิขสิทธิ์ติดขัดอยู่กับ Paramount Pictures ทำการต่อรองอยู่หลายปีจนสามารถซื้อต่อได้สำเร็จ ค.ศ. 1939 พัฒนาบทแล้วเสร็จ ค.ศ. 1941 การมาถึงของสงครามโลกครั้งที่สอง เลยจำต้องขึ้นหิ้งโปรเจคนี้เอาไว้

ถ้าไม่นับ Dumbo (1941) กับ Bambi (1942) ที่เริ่มโปรดักชั่นตั้งแต่ก่อนสงครามคืบคลานมาถึงสหรัฐอเมริกา (การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ วันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941), ผลงานขนาดยาวของ Disney ในช่วงนี้มักเป็นแนวชวนเชื่อ (Propaganda) ไม่ก็วรรกรรมรวม (Anthology Film) กว่าจะสามารถเริ่มสรรค์สร้างภาพยนตร์ขนาดยาวได้อีกครั้งก็เมื่อ Cinderella (1950), Alice in Wonderland (1951) และ Peter Pan (1953) … เป็นสามโปรเจคได้รับการพิจารณาพร้อมกันเมื่อปี ค.ศ. 1947 แต่ค่อยๆทะยอยทำให้เสร็จทีละเรื่อง

ในส่วนของบทอนิเมชั่น มีการปรับเปลี่ยนแปลงจากต้นฉบับพอสมควร นอกจากตัดทิ้งเบื้องหลังของ Peter Pan ยังสร้างพล็อตใหม่ตอนต้นเรื่องให้เขาสูญเสียเงา จึงต้องออกติดตามหา จนมาพบเจอ Wendy Darling เลยชักชวนไปท่องเที่ยว Never Land (ทีแรกว่าจะลักพาตัว แต่มองว่าพล็อตโหดร้ายเกินไป), แต่ที่น่าเศร้าสุดก็คือพล็อต Tinker Bell ดื่มยาพิษแทน Peter จนเสียชีวิต (ตัดทิ้งเพราะว่าหดหู่เกินไป) … ใครอยากรับรู้ว่ามีพล็อตแปลกๆอะไรเกิดขึ้นบ้าง รับชมจากคลิปนี้

Peter Pan – The Peter Pan that Almost Was: https://www.youtube.com/watch?v=nqW629DQT-4


เรื่องราวเริ่มต้น ณ กรุง London ช่วงทศวรรษ Edwardian (1901-10), ยามค่ำคืน บิดา-มารดาเข้ามากล่อมลูกๆทั้งสามเข้านอน Wendy, John และ Michael แต่พอดึกดื่นพวกเขาถูกปลุกตื่นโดย Peter Pan ชักชวนโบยบินสู่ดินแดนสุดมหัศจรรย์ Never Land

ณ Never Land มีเรือโจรสลัดจอดเทียบท่า Captain Hook ผู้มีความโกรธเกลียด Peter Pan ที่ได้ตัดแขนข้างหนึ่งของตน จึงครุ่นคิดวางแผนการล้างแค้น เริ่มจากลักพาตัวเด็กสาวอินเดียนแดง Tiger Lily, จากนั้นล่อหลอก Tinker Bell ให้คายความลับสถานที่หลบซ่อนตัว แล้วจับกุมเด็กๆกำพร้ามาให้เลือกระหว่างลงนามลูกเรือ หรือกลายเป็นเหยื่ออันโอชะของจระเข้


Peter Pan เป็นเด็กรักอิสระ (เลยมีพลังพิเศษทำให้สามารถโบยบินไปไหนมาไหนอย่างอิสรภาพ) ชื่นชอบการผจญภัย ใช้ชีวิตอย่างสนุกสนานหรรษา ไม่ยี่ห่าอะไรใคร แต่เมื่อไหร่โดยกลั่นแกล้ง ใช้ความรุนแรง ผองเพื่อนถูกกระทำร้าย ก็มักโต้ตอบตาต่อตา ฟันต่อฟัน เต็มไปด้วยอคติต่อพวกผู้ใหญ่ เลยไม่ครุ่นคิดอยากให้ร่างกายเจริญเติบโตไปมากกว่านี้

ตัวละคร Peter Pan ถือเป็น ‘Cultural Icon’ สัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ เยาว์วัย (Youthful Innocence) ขณะเดียวกันเพราะไม่ยินยอมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เลยมักถูกตีความถึงการหลบเลี่ยง ไม่ยินยอมรับความเป็นจริง (Escapism) อิสรภาพที่ขาดความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น

ทั้งบทละครและนวนิยาย ผู้แต่ง Barrie ไม่เคยอธิบายรูปร่างหน้าตาตัวละคร มอบให้อิสระให้ผู้สร้างครุ่นคิดจินตนาการได้ตามใจชอบ ด้วยเหตุนี้จึงมีธรรมเนียมปฏิบัติด้วยการคัดเลือกนักแสดงหญิงตัวเล็กๆรับบท แต่งองค์ทรงเครื่องนำแรงบันดาลใจจากเทพเจ้า Pan ในปรัมปรากรีก, สำหรับฉบับของ Disney ดั้งเดิมเคยคิดจะติดปีก แต่เพราะมีพิกซี่ Tinker Bell อยู่แล้วจึงเอาปีกออก แล้วออกแบบให้มีลักษณะเหมือน Elf หูแหลมยาว ตาน้ำตาล ผมแดง สวมใส่ชุดสีเขียว และหมวกทรงกรวยติดขนนกสีแดง (สัญลักษณ์ของอินเดียนแดง)

ในส่วนของการพากย์เสียง Peter Pan แต่ไหนแต่ไรตั้งแต่โปรดักชั่นละครเวที มักนิยมใช้นักแสดงหญิง (ทั้งๆที่เป็นตัวละครเพศชาย) ซึ่งนาย Disney ก็ครุ่นคิดอยากทำตามธรรมเนียมปฏิบัติ ในตอนแรกพยายามติดต่อ Mary Martin ซึ่งกำลังจะรับบท Peter Pan ในโปรดักชั่นละคอนเพลง ค.ศ. 1954 แต่ไม่สามารถแบ่งปันเวลาให้ได้, นักแสดงคนถัดมาที่ให้ความสนใจคือ Jean Arthur, สุดท้ายตัดสินใจใช้บริการ Bobby Driscoll (1937-68) นักแสดงเด็กคนแรกในสังกัด Disney ก่อนหน้านี้มีผลงาน Song of the South (1946), So Dear to My Heart (1948), The Window (1949), Treasure Island (1950), และเคยได้รับรางวัล Academy Juvenile Award เมื่อปี ค.ศ. 1950

เกร็ด: ไม่ใช่แค่การพากย์เสียงตัวละคร นักแสดงยังต้องเข้าฉากทำการแสดง (Live-Action) สำหรับเป็นต้นแบบในการวาดภาพตัวละครบนเครื่อง Rotoscoping เพื่อให้การเคลื่อนไหวออกมามีความสมจริง ใกล้เคียงความเป็นมนุษย์มากที่สุด!

Wendy Darling ชื่อเต็มๆ Wendy Moira Angela Darling บุตรสาวคนโตของครอบครัว Darling ใกล้ถึงวัยเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ถึงอย่างนั้นเธอกลับเต็มไปด้วยจินตนาการเพ้อฝัน ชื่นชอบเล่าเรื่องการผจญภัยของ Peter Pan ให้กับน้องชายทั้งสอง John และ Michael ยินยอมร่วมออกเดินทางสู่ Never Land แต่ไม่เคยครุ่นคิดปักหลักถาวรอยู่ดินแดนแห่งนี้ พยายามโน้มน้าวชักชวนเด็กๆให้ฟื้นตื่น เดินทางกลับโลก หวนกลับสู่อ้อมอกมารดา

เฉกเช่นเดียวกับ Peter Pan ตัวละครนี้ไม่ได้คำอธิบายรูปร่างหน้าตา แค่เพียงบอกว่ามีลักษณะเหมือน ‘mother figure’ จึงออกแบบให้ดูสุภาพเรียบร้อย แต่งตัว(ชุดนอน)ในสไตล์เรียบง่าย บุคลิกภาพเต็มไปด้วยรอยยิ้มสดใส จิตใจอ่อนไหว พูดไปเรื่อยเปื่อย แต่มีพลังในการโน้มน้าว สามารถควบคุมดูแลเด็กๆให้อยู่ใต้บังคับบัญชา

ในส่วนการพากย์เสียง Disney มีความต้องการ “gentle and gracefully feminine” ก่อนตัดสินใจเลือก Kathryn Beaumont (เกิดปี 1938) ก่อนหน้านี้เพิ่งเคยร่วมงานให้เสียงตัวละคร Alice จากภาพยนตร์อนิเมชั่น Alice in Wonderland (1951) ถือเป็นสองบทบาทโด่งดังที่สุดในอาชีพการงาน … หลังจากเติบโตเป็นผู้ใหญ่ Beaumont ทำงานครูสอนโรงเรียนอนุบาลจนเกษียณอายุ ในเบื้องหลัง DVD/Blu-Ray เห็นว่ามีสัมภาษณ์ของเธอด้วยนะครับ

Captain Hook โจรสลัดผู้มีความโฉดชั่วร้าย (แต่กลับขลาดกลัวจระเข้หัวหด) เพราะเคยถูก Peter Pan ตัดแขนข้างหนึ่ง(แล้วโยนให้จระเข้รับประทาน) จึงมีความโกรธเกลียด ศัตรูคู่แค้น (Archenemy) ยินยอมพร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อโต้ตอบเอาคืน กำจัดอีกฝ่ายให้พ้นทาง

ปล. มีการวิเคราะห์ในเชิงเปรียบเทียบ Captain Hook ผู้มีความหมกมุ่นล้างแค้น Peter Pan (และจระเข้) ช่างมีความละม้ายคล้าย Captain Ahab ตัวละครจากวรรณกรรม Moby-Dick (1851)

Frank Thomas ให้คำอธิบายว่าออกแบบตัวละคร Hook โดยมีโมเดลจาก Spanish King (ไม่ได้เจาะจงว่าคือผู้ใด) และพัฒนาตัวละครให้มีความเป็น ‘comical villain’ ลดทอนความโฉดชั่วร้าย กลายเป็นพฤติกรรมขี้ขลาดเขลา (เบาปัญญาอ่อน) เพื่อไม่เด็กๆพบเห็นแล้วเกิดอาการหวาดกลัวเกินไป

ในตอนแรกนาย Disney ยื่นข้อเสนอให้กับ Cary Grant ซึ่งก็แสดงความสนอกสนใจอยู่ไม่น้อย แต่สุดท้ายกลับเปลี่ยนมาเลือก Hans Conried (1917-82) เพราะประสบการณ์เป็นนักแสดงตลก/คอมเมอเดี้ยน สามารถละเล่นกับน้ำเสียง เดี๋ยวโฉด เดี๋ยวขลาดเขลา … และตามธรรมเนียมของผู้แสดงบทบาทนี้ มักรับบทบิดา George Darling ผู้ร้ายในชีวิตจริง สะท้อนกับภาพความฝัน

อีกบทบาทที่ต้องกล่าวถึงก็คือ Tinker Bell พิซซี่น้อย ขนาดเท่าฝ่ามือ แต่ร่างกายมีทรวงทรงองค์เอวเหมือนผู้สาว (เป็นตัวแทนผู้ใหญ่ในร่างเด็กน้อย) ไม่ใช่แค่เพื่อน ยังตกหลุมรัก Peter Pan เลยบังเกิดความอิจฉาริษยา Wendy ต้องการขับไล่ ผลักไส กำจัดศัตรูคู่แข่งหัวใจ ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าอยากกระทำสิ่งชั่วร้าย ทรยศหักหลังพวกพ้อง พร้อมยินยอมเสียสละตนเองเพื่อชายคนรัก

เกร็ด: ในขณะที่ Mickey Mouse คือมาสค็อตของ Disney, ตัวละคร Tinker Bell ถือเป็น “a symbol of ‘the magic of Disney'” ปรากฎตัวครั้งแรกก็ Peter Pan (1953) เรื่องนี้นี่แหละ

พฤติกรรมซึนเดเระของตัวละคร ทำให้หลายคนคาดเดาว่า Tinker Bell อาจมีต้นแบบจาก Marilyn Monroe แต่นักอนิเมอเตอร์ Marc Davis ยืนกรานอ้างอิงจากนักแสดงสาว Margaret Kerry (เกิดปี 1929) เคยได้รับฉายา “World’s Most Beautiful Legs” แม้ไม่มีบทพูด แต่การแสดงในส่วน Live Action ถือว่ามีส่วนสำคัญอย่างมากๆ เพราะต้องใช้การสื่อสารภาษากาย ทั้งยังต้องขยับเคลื่อนไหว ทำโน่นนี่นั่นอยู่แทบตลอดเวลา (Kerry เคยเป็นนักเต้นมาก่อน เลยสามารถจัดระเบียบร่างกายได้เป็นอย่างดี)

เกร็ด: นอกจากตัวละคร Tinker Bell นักแสดง Kerry ยังเป็นหนึ่งในโมเดลนางเหงือก (Mermaid)

พื้นหลังของ Peter Pan อยู่ในยุคสมัย Edwardian (1901-10) ช่วงเวลาสั้นๆภายใต้รัชสมัย King Edward VII (1841-1910, ครองราชย์ 1901-10) กษัตริย์ผู้โปรดปรานการท่องเที่ยว นำเทรนด์ศิลปะ แฟชั่น เริ่มให้โอกาสชนชั้นแรงงานและสิทธิสตรีมีบทบาททางการเมืองเพิ่มขึ้น

แน่นอนว่าตึกรามบ้านช่อง เฟอร์นิเจอร์ สิ่งข้าวของเล่น ย่อมอ้างอิงจากยุคสมัย Edwardian รวมถึง London Bridge และหอระฆัง Big Ben ถือเป็นการ์ตูนเรื่องที่สองของ Disney เลือกพื้นหลังกรุง London ต่อจาก Alice in Wonderland (1951)

Neverland ชื่อเรียกเกาะสมมติ ตั้งอยู่ยังดินแดนห่างไกล เห็นว่าคอนเซ็ปแรกเริ่มของผู้แต่ง Barrie ตั้งชื่อว่า Never Never Land คาดกันว่าได้แรงบันดาลใจจาก Never Never คำเรียกพื้นที่ห่างไกล Australian Outback จากบทกวีของ Barcroft Boake นักเขียนชาว Australian … ใครเคยรับชมภาพยนตร์ Australia (2008) น่าจะเคยได้ยินอยู่บ่อยครั้ง

Out on the wastes of the Never Never –
That’s where the dead men lie!
There where the heat-waves dance forever –
That’s where the dead men lie!

Barcroft Boake: Where the Dead Men Lie (1891)

แต่สถานที่ที่ใช้เป็นพื้นหลัง Never Land ไม่ได้มีระบุไว้อย่างชัดเจน ในนวนิยายจะเขียนบอกแค่ให้บินไปเรื่อยๆ “second to the right, and straight on till morning.” ส่วนฉบับการ์ตูนของ Disney เพิ่มเติมคำว่าดวงดาว “second star to the right, and straight on till morning.” ราวกับอยู่ในอวกาศอันไกลโพ้น โลกหลังสายรุ้ง ซึ่งก็ล้วนสามารถสื่อถึงดินแดนแห่งจินตนาการ

สำหรับแผนที่ก็ไม่มีอยู่ในต้นฉบับนวนิยาย ครุ่นคิดออกแบบโดย Disney เฉกเช่นเดียวกัน โดยมีประมาณ 5 จุดสังเกต

  • Cannibal Cove อ่าวโจรสลัด ห้อมล้อมด้วยผืนป่า Tiki Forest เต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์ ดินแดนแห่ง “evil traps” แหล่งที่อยู่อาศัยของชาวพื้นเมืองแอฟริกัน
  • Mermaid Lagoon สถานที่อยู่อาศัยของนางเงือก
  • Indian Camp และ Never Land Plains สถานที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองอินเดียนแดง
  • Hangman Tree สถานที่หลบซ่อนตัว บ้านพักอาศัยของ Peter Pan และแก๊งเด็กหาย (Lost Boys)
  • Skull Rock โขดหินกระโหลกศีรษะ เชื่อกันว่าเป็นสถานที่ซุกซ่อนสมบัติของพวกโจรสลัด (สถานที่ที่ Tiger Lilly ถูกลักพาตัว)
  • Crocodile Creek หนองน้ำที่อยู่อาศัยของจระเข้กินคน

ในส่วนของการทำอนิเมชั่น Peter Pan (1953) คือผลงานสุดท้ายที่ Disney’s Nine Old Men เก้าผู้เฒ่ารุ่นบุกเบิกสตูดิโอ Disney ทำงานร่วมกัน ก่อนทะยอยแยกย้าย ล้มหายตายจาก ประกอบด้วย

  • Les Clark (1907-79) เจ้าของฉายา “The Mickey Mouse Master” เริ่มร่วมงานกับ Disney และ Ub Iwerks มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1927 มีความถัดในการวาดตัวการ์ตูน Mickey Mouse ทำงานในส่วนอนิเมชั่นมาจนถึง Lady and the Tramp (1955) ค่อยผันตัวมาเป็นผู้กำกับ
  • Marc Davis (1913-2000) โด่งดังจากการออกแบบตัวละคร Snow White, Bambi, Tinker Bell, Maleficent, Cruella de Vil ฯ
  • Ollie Johnston (1912-2008) เริ่มต้นจากเป็นผู้ช่วยอนิเมเตอร์ Snow White, โด่งดังจากทำอนิเมชั่นตัวละคร Pinocchio, ฉากความตายของมารดา Bambi, สำหรับ Peter Pan (1953) ดูแลในส่วนอนิเมชั่น Mr. Smee และบางฉาก Captain Hook
  • Milt Kahl (1909-87) มีความเชี่ยวชาญทำอนิเมชั่นสรรพสัตว์น้อยใหญ่ใน Snow White, Bambi, White Rabbit (Alice in Wonderland), รวมถึงตัวละคร Peter Pan และสมาชิกครอบครัว Darling
  • Ward Kimball (1914-2002) เข้าร่วมกับ Disney เมื่อปี ค.ศ. 1934 โดดเด่นกับการออกแบบตัวละครชวนหัว นิสัยบ้าๆบอๆ อาทิ Jiminy Cricket, Lucifer, Mad Hatter, Cheshire Cat ฯ
  • Eric Larson (1905-1988) เข้าร่วมกับ Disney ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1933 ทำอนิเมชั่นตัวละคร Peg, Vultures, โด่งดังจากดีไซน์การบินของ Peter Pan, ภายหลังกลายเป็นครูฝึกนักอนิเมเตอร์รุ่นใหม่ๆ
  • John Lounsbery (1911-1976) เริ่มจากทำงานผู้ช่วนอนิเมชั่น Snow White แต่ไม่นานก็ได้รับคำชื่นชมในสไตล์อนิเมชั่นที่มีความโฉบเฉี่ยว ฉวัดเฉวียน ยืดๆหดๆ กลายเป็นผู้กำกับอนิเมชั่น รวมถึงตัวละครอย่าง The Tramp, Colonel Haiti, Shere Khan, Robin Hood ฯ
  • Woolie Reitherman (1909-85) เข้าร่วมกับ Disney ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1933 ทำงานเป็นนักอนิเมเตอร์ Silly Symphony, อนิเมชั่นกระจกวิเศษใน Snow White, การต่อสู้ของไดโนเสาร์ใน Fantasia, Timothy Q. Mouse เรื่อง Dumbo, ฉากไคลน์แม็กซ์ Maleficent สู้กับมังกร ฯ ก่อนก้าวขึ้นมากำกับ The Sword in the Stone (1963), The Jungle Book (1967) ฯ
  • Frank Thomas (1912-2004) เข้าร่วมกับ Disney เมื่อปี ค.ศ. 1934 ทำอนิเมชั่นตัวละคร Queen of Hearts, Captain Hook ฯ

อนิเมชั่นของ Peter Pan (1953) มีสองสิ่งที่ผมถือเป็นไฮไลท์ อย่างแรกคือตัวละคร Tinker Bell (ทำอนิเมชั่นโดย Marc Davis) ไม่ใช่แค่แสงสีเหลืองทองเปร่งประกาย ยังแทบทุกการขยับเคลื่อนไหวต้องมีสิ่งที่เรียกว่า ‘fairy dust’ ละอองฝุ่นฟุ้งกระจาย สามารถโรยใส่ตัว ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถล่องลอย โบยบิน ช่างมีความมหัศจรรย์ยิ่งนัก!

ปล. ทุกครั้งที่พบเห็น ‘fairy dust’ มักได้ยินเสียงระฆัง (Chimes) ดังระยิบระยับ สอดคล้องรับกันอย่างกลมกล่อม

และไฮไลท์ในส่วนของอนิเมชั่นที่แม้แต่ Hayao Miyazaki ยังเกิดความลุ่มหลงใหล คือซีเควนซ์โบยบินบนท้องฟากฟ้า (อนิเมชั่นโดย Eric Larson) มันไม่ใช่แค่กางแขน-ขา พุ่งทะยานไปเบื้องหน้า แต่ตัวละครยังขยับเคลื่อนไหว กลิ้งม้วนหมุนแทบจะ 720 องศา ราวกับอยู่ในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง สามารถทำอะไรได้ทุกสิ่งอย่าง … นัยยะของการล่องลอย โบยบิน สื่อถึงอิสรภาพ/จินตนาการ คือสิ่งไร้ซึ่งพันธนาการ(แรงโน้มถ่วง)เหนี่ยวรั้ง

แซว: ผมสังเกตจากมนุษย์อวกาศ เอาจริงๆไม่มีใครสามารถขยับเคลื่อนไหวได้แบบนี้เลยนะ เพราะบนนั้นมันไม่แรงต้านทานใดๆ การโบยบินลักษณะนี้จึงถือว่าขัดแย้งต่อหลักฟิสิกส์อย่างที่สุด!

ตัดต่อโดย Donald Halliday (1913-72) เข้าทำงานสตูดิโอ Disney ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง Cinderella (1950), Peter Pan (1953), Lady and the Tramp (1955), Sleeping Beauty (1959), One Hundred and One Dalmatians (1961) และ The Sword in the Stone (1963)

การ์ตูนชื่อ Peter Pan (1953) แน่นอนว่าต้องให้ตัวละคร Peter Pan คือจุดศูนย์กลางเรื่องราว แต่การนำเสนอมักเล่าเรื่องผ่านมุมมอง Wendy Darling (ร่วมออกผจญภัยกับ Peter Pan) และหลายๆครั้งตัดสลับมายังฟากฝั่งผู้ร้าย Captain Hook ครุ่นคิดแผนการสุดเหี้ยมโหด เพื่อฆ่าล้างแค้นคู่อริตลอดกาล

  • ค่ำคืนดึกดื่น
    • บิดา-มารดา กล่อมลูกๆทั้งสามเข้านอน Wendy, John และ Michael
    • ดึกดื่นเด็กๆต่างถูกปลุกตื่นโดยการมาถึงของ Peter Pan และ Tinker Bell
    • ร่วมกันออกเดินทาง โบยบินสู่ท้องฟากฟ้า เป้าหมายคือ Never Land
  • แผนการชั่วร้ายของ Captain Hook กับ Tiger Lily
    • แนะนำตัวละคร Captain Hook ผู้หวาดกลัวจระเข้ จองล้างของผลาญ Peter Pan
    • เด็กๆออกสำรวจผืนป่า แล้วจู่ๆถูกจับกุมตัวโดยชนเผ่าอินเดียนแดง
    • Peter Pan และ Wendy ล่องลอยมาถึง Skull Rock แอบพบเห็น Captain Hook ลักพาตัว Tiger Lily เลยเข้าไปให้การช่วยเหลือ
    • เมื่อพา Tiger Lily กลับมา Indian Camp ก็มีงานเลี้ยงเฉลิมฉลองใหญ่โต
  • แผนการชั่วร้ายของ Captain Hook กับ Tinker Bell
    • Captain Hook ทำการโน้มน้าว ล่อหลอก Tinker Bell จนเธอยินยอมคายความลับ สถานที่หลบซ่อนตัวของ Peter Pan
    • หลังงานเลี้ยงอินเดียนแดง Peter Pan และแก๊งเด็กหลง (Lost Boys) เดินทางกลับมาหลับนอนยัง Hangman Tree
    • Captain Hook ลักพาตัว Wendy และแก๊งเด็กหลง จากนั้นส่งระเบิดเวลาให้กับ Peter Pan รอดตายอย่างหวุดหวิดจากการช่วยเหลือของ Tinker Bell
  • การโต้ตอบของ Peter Pan
    • ระหว่างที่ Wendy และเด็กๆต้องเลือกระหว่างลงนามลูกเรือ หรือกลายเป็นเหยื่ออันโอชะของจระเข้
    • Peter Pan เข้ามาเผชิญหน้าต่อสู้ Captain Hook
    • หลังได้รับชัยชนะ เด็กๆเดินทางกลับมาบ้าน ดึกดื่นตื่นขึ้นในห้องนอน ความฝันค่ำคืนนี้จักกลายเป็นความทรงจำไม่รู้ลืมเลือน

ในส่วนของเพลงประกอบ (Soundtrack ที่ไม่มีเนื้อร้อง) โดย Oliver Wallace (1887-1963) นักแต่งเพลงสัญชาติอังกฤษ ร่วมงานขาประจำสตูดิโอ Disney ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1936 เริ่มจากเป็นวาทยากร เขียนเพลงประกอบ Dumbo (1941), Cinderella (1950), Alice in Wonderland (1951), Peter Pan (1953), และ Lady and the Tramp (1955)

งานเพลงของ Wallace ทำออกมาในสไตล์ ‘Silly Symphony’ ท่วงทำนองสอดคล้องการกระทำ สำหรับสร้างสีสัน บรรยากาศสนุกสนาน หยอกล้อเล่นระหว่างภาพและเสียง บางครั้งก็ใช้แทน ‘Sound Effect’ เพื่อไม่ให้การ์ตูนเกิดความเงียบสงัดนานเกินไป

ในส่วนของบทเพลงคำร้อง ผมรู้สึกว่า Peter Pan (1953) มีทั้ง Hit and Miss บางบทเพลงไพเราะเพราะพริ้ง หลายบทเพลงไม่ค่อยน่าจดจำสักเท่าไหร่ และอีกหนึ่งบทเพลงที่โคตรๆน่าผิดหวัง

เริ่มจากบทเพลงฮิตแรก Main Title ชื่อว่า The Second Star to the Right ทำนองโดย Sammy Fain, คำร้องโดย Sammy Cahn, ขับร้องประสานเสียง The Jud Conlon Chorus & The Mellomen เป็นบทเพลงเกริ่นนำเข้าสู่เรื่องราว ชี้นำทางดวงดาวสู่ Never Land ซึ่งสิ่งที่ผมประทับใจมากๆคือการขับร้องประสาน สร้างความขนลุกขนพอง และโดยเฉพาะเสียงสูงของ Kathryn Beaumont ชักชวนให้ล่องลอย โบยบิน มุ่งสู่ดินแดนแห่งจินตนาการ

The second star to the right
Shines in the night for you
To tell you that the dreams you plan
Really can come true

The second star to the right
Shines with a light so rare
And if it’s Never Land you need
Its light will lead you there

Twinkle, twinkle, little star
So we’ll know where you are
Gleaming in the skies above
Lead us to the land we dream of

And when our journey is through
Each time we say “Goodnight”
We’ll thank the little star that shines
The second from the right

ผมมีความสองจิตสองใจกับบทเพลง You Can Fly! ทำนองโดย Sammy Fain, คำร้องโดย Sammy Cahn, ขับร้องประสานเสียง The Jud Conlon Chorus & The Mellomen ท่วงทำนองถือว่ามีความไพเราะ แต่คำร้องจะมีขณะเร่งความเร็ว มันทำลายอรรถรสระหว่างการโบยบินพอสมควร

ไม่รู้ทำไมผมนึกถึง A Whole New World จาก Aladdin (1992) ซึ่งวินาทีได้ยินบทเพลงนี้ Aladin และ Jasmine ขึ้นพรมเหาะ กำลังโบยบินสู่ท้องฟากฟ้า ฟังแล้วรู้สึกตื่นตาตะลึง ราวกับได้เปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ แตกต่างจาก You Can Fly! ที่เพียงสนุกสนาน เติมเต็มจินตนาการ เร่งรีบร้อนจนไม่ค่อยน่าจดจำสักเท่าไหร่

Chorus:
Think of a wonderful thought,
Any merry little thought,
Think of Christmas, think of snow, think of sleigh bells,
Off you go, like reindeer in the sky!
You can fly, you can fly, you can fly!!!

Think of the happiest things,
It’s the same as having wings,
Take the path that moonbeams make,
If the moon is still awake,
You’ll see him wink his eye
You can fly, you can fly, you can fly!!!

Off you go with a Heigh and Ho
To the stars beyond the blue
There’s a Never Land waiting for you
Where all your happy dreams come true
Every dream that you dream will come true

When there’s a smile in your heart
There’s no better time to start
Think of all the joy you’ll find
When you leave the world behind
And bid your cares good-bye
You can fly, you can fly, you can fly, you can fly, you can fly!

A Pirate’s Life นี่มันคือต้นฉบับก่อนทำการดัดแปลงสู่ Pirate of the Caribbean ใช่ไหมเนี่ย? ทำนองโดย Oliver Wallace, คำร้องโดย Erdman Penner, ขับร้องประสานเสียงโดย The Mellomen

Pirate Crew: Ohhhh!
A pirate’s life is a wonderful life
A-rovin’ over the sea
Give me a career as a buccaneer
As the life of a pirate for me
Ohhhh!
The life of a pirate for me

Ohhhh!
A pirate’s life is a wonderful life
They never bury your bones
For when it’s all over, a jolly sea rover
Drops in on his friend Davy Jones
Ohhhh!
His very good friend Davy Jones

Mr. Smee: My good friend Davy Jones

บทเพลงน่าอับอายขายขี้หน้าที่สุดของการ์ตูนเรื่องนี้คือ What Made the Red Man Red ทำนองโดย Sammy Fain, คำร้องโดย Sammy Cahn, ขับร้องประสานเสียง Candy Candido & The Mellomen ถูกตีตราว่านำเสนอภาพ Stereotype ของชาวอินเดียนแดงในลักษณะ “Racist and Offensive”

My jaw hit the ground when I heard this song and saw these ‘redskins’ hopping around and making fools of themselves. Granted it was only a cartoon, but it was one in which the animators took the liberty of demeaning an entire race in the name of entertainment.

David Martinez ผู้เขียนหนังสือ American Indians and Film (2013)

I remember seeing it and not having the skills to understand why it made me feel embarrassed. What does that do to a child’s formation of identity, even if it’s subliminal and subconscious? The message is, ‘You’re not human. You’re a trend. You’re something that can be commodified and bought and sold.’

Sasha Houston Brown สมาชิกชนเผ่าอินเดียนแดง Santee Sioux อาจารย์ประจำ Minneapolis Community and Technical College

ลองอ่านคำแก้ตัวในมุมมองของผู้สร้างดูนะครับ

I’m not sure we would have done the Indians if we were making this movie now. And if we had we wouldn’t do them the way we did back then… The Indians were Ward Kimball’s stuff. Beautifully done. The Indians could not have been done that way nowadays. I like them. Very funny. Very entertaining, especially the Big Chief.

Marc Davis

It is important to remember that Peter Pan was supposed to represent a young boy’s impression of pirates, mermaids and Indians and, as a result, these fanciful creations bore more of a relation to popular culture storybooks than reality.

นักเขียน Jim Korkis ผู้รวบรวมประวัติศาสตร์ของ Walt Disney

ความอัปยศของ What Made the Red Man Red? ได้รับการเปรียบเทียบกับอีกบทเพลง Savages จากการ์ตูน Pocahontas (1995) ที่ทำให้ผู้ชมตั้งคำถามถึงสามัญสำนึกของผู้สร้าง ต่อให้อ้างว่าเพื่อความบันเทิง แต่สำหรับคนบางกลุ่มนี่ไม่ใช่เรื่องสนุกสนานเลยสักนิด! แม้ปัจจุบันจะมีการตัดทั้งซีเควนซ์นี้ในฉบับฉายโทรทัศน์และออนไลน์ แต่มันก็มิอาจลบเลือนความเสียหายที่บังเกิดขึ้น

อีกบทเพลงไพเราะจับใจ Your Mother and Mine ทำนองโดย Sammy Fain, คำร้องโดย Sammy Cahn, ขับร้องโดย Kathryn Beaumont คำรำพันครุ่นคิดถึงแม่ ฟังแล้วน้ำตาตกใน คร่ำครวญอยากหวนกลับไป ซุกตัวอยู่ในอ้อมกอดมารดา เพื่อว่าค่ำคืนนี้จะได้นอนหลับฝันดี … แต่ผมว่าฟังแล้วเพลงนี้แล้วไม่น่าจะนอนหลับสักเท่าไหร่

น้ำเสียงของ Beaumont สร้างความประทับใจให้ผมอย่างมากๆ ชวนนึกถึง Judy Garland สมัยยังเป็นวัยรุ่น เชื่อว่าถ้าเลือกอาชีพนักแสดงน่าจะไปรุ่งแน่ๆ น่าเสียดาย น่าเสียดาย

Well a mother, a real mother, is the most wonderful person in the world
She’s the angel voice that bids you goodnight
Kisses your cheek, whispers sleep tight
Your mother and mine
Your mother and mine

The helping hand that guides you along
Whether you’re right, whether you’re wrong

Your mother and mine
Your mother and mine

What makes mothers all that they are
Might as well ask what makes a star
Ask your heart to tell you her worth
Your heart will say, heaven on earth
Another word for divine
Your mother and mine

ทิ้งท้ายกับบทเพลง Never Smile at a Crocodile เห็นว่าผู้แต่ง Frank Churchill เขียนขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1939 ช่วงที่โปรเจคนี้เพิ่งเริ่มตั้งไข่ ทำออกมาในสไตล์ ‘Comic Song’ ยังไม่ได้ใส่เนื้อร้อง (Jack Lawrence แต่งเพิ่มเอาภายหลัง) น่าเสียดายพี่แกฆ่าตัวตายเมื่อปี ค.ศ. 1942 ถึงอย่างนั้น Disney ก็ยังอุทิศให้กับเพื่อนผู้จากไป เลือกใช้ทำนองกวนๆนี้ในทุกๆขณะการปรากฎตัวของเจ้าจระเข้

ปล. ฉบับขับร้องโดย Stuart Foster and Judy Valentine ถูกตัดออกไปในการ์ตูน Peter Pan (1953) [แต่มีในอัลบัม Soundtrack] แค่เพียงทำนองสั้นๆระหว่างแนะนำตัวละคร Captain Hook แล้วเกิดอาการ PTSD เมื่อพบเห็นเจ้าจระเข้กำลังคืบคลานเข้ามา

Never smile at a crocodile
No, you can’t get friendly with a crocodile
Don’t be taken in by his welcome grin
He’s imagining how well you’d fit within his skin
Never smile at a crocodile
Never tip your hat and stop to talk awhile
Never run, walk away, say good-night, not good-day
Clear the aisle but never smile at Mister Crocodile
You may very well be well bred
Lots of etiquette in your head
But there’s always some special case, time or place
To forget etiquette
For instance

Never smile at a crocodile
No, you can’t get friendly with a crocodile
Don’t be taken in by his welcome grin
He’s imagining how well you’d fit within his skin
Never smile at a crocodile
Never dip your hat and stop to talk awhile
Never run, walk away, say good-night, not good-day
Clear the aisle but never smile at Mister Crocodile

Peter Pan นำเสนอการเดินทางสู่ดาวดวงที่สองจากขวามือ บินตรงไปถึงรุ่งเช้า Never Land ดินแดนแห่งการผจญภัย สถานที่ที่เด็กๆไม่มีวันเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เต็มไปด้วยความสนุกสนาน หรรษา โบยบินสู่อิสรภาพ เพลิดเพลินไปกับโลกแห่งจินตนาการ … ฟังดูราวกับ Wonderland (Alice in Wonderland) หรือดินแดนหลังสายรุ้ง Land of Oz (The Wonderful Wizard of Oz) สถานที่แฟนตาซีสร้างขึ้นสำหรับเติมเต็มความเพ้อฝันของเด็กๆ

Never Land, Wonderland หรือ Land of Oz ต่างเปรียบเสมือนสถานที่สำหรับหลบซ่อนตัว หนีออกจากโลกความจริง (Escapism) เพลิดเพลินไปกับสิ่งตอบสนองความสนใจ เติมเต็มความเพ้อฝันจินตนาการผู้สร้าง บางอย่างเคยสูญหายไปเมื่อครั้นยังเป็นเด็ก

ในกรณีของ Never Land คือประสบการณ์สูญเสียพี่ชายผู้แต่ง J. M. Barrie คำพูดมารดาทำให้ตระหนักว่า (พี่ชาย)จะคงสถานะความเป็นเด็กอยู่ในจิตใจของทุกคน สรรค์สร้างวรรณกรรม Peter Pan เพื่อหวนกลับหาช่วงเวลาแห่งความสุข ฉันเองก็อยากอาศัยอยู่ในโลกใบนั้น

มันไม่ใช่ว่าผมมีอคติอะไรกับวรรณกรรมเรื่องนี้นะครับ แต่เป้าหมายการโจมตีก็คือฉบับดัดแปลง Peter Pan (1953) ของค่าย Walt Disney ที่ทำการปู้ยี้ปู้ยำ สร้างโลกสวยเกินจริง ตัดทิ้งรายละเอียดสำคัญๆ โดยใช้ข้ออ้างการ์ตูนคือสื่อสำหรับเด็ก ไม่เหมาะที่จะนำเสนอเหตุการณ์รุนแรงเกินไป นั่นมันใช่สิ่งที่ผู้ใหญ่ควรครุ่นคิดแทนเสียที่ไหน ผลลัพท์กลายเป็นโลกอันบิดเบี้ยว ปลูกฝังค่านิยมผิดๆเพี้ยนๆ ผู้ชมรุ่นหลังยิ่งดูยิ่งละเหี่ยใจ

เอาจริงๆแนวคิดจิตวิญญาณยังเป็นเด็กตลอดกาล ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร! ศิลปิน จิตรกร นักเขียน การ์ตูน ทำงานสายอนิเมชั่น ฯ ล้วนต้องใช้จินตนาการ(ความเป็นเด็ก)เพื่อรังสรรค์สร้างผลงาน หรือแม้แต่บุคคลทั่วไป ความรู้สึกเหมือนได้ย้อนกลับไปเป็นเด็ก (Nostalgia) สามารถช่วยพักผ่อนคลายความตึงเครียด ปลีกวิเวก หลบซ่อนตัว หนีออกจากโลกความจริง (Escapism) ก็ไม่เรื่องผิดเช่นกัน! แค่ควรต้องรู้จักเพียงพอดี ยินยอมรับสภาพเป็นจริง อย่าหลอกตนเอง ก็น่าจะเพียงพอแล้วละ


ด้วยทุนสร้าง $4 ล้านเหรียญ เสียงตอบรับค่อนข้างดี ทำเงินในสหรัฐอเมริกา $87.4 ล้านเหรียญ ถือว่าประสบความสำเร็จแค่กลางๆ เพราะมาตรฐานของ Disney ช่วงทศวรรษนั้น ส่วนใหญ่รายรับเกินกว่า $100 ล้านเหรียญ! แต่อย่างน้อยก็ยังดีกว่าผลงานก่อนหน้า Alice in Wonderland (1951) ที่ล้มเหลวอย่างย่อยยับเยิน ทุนสร้าง $3 ล้านเหรียญ ทำเงินได้เพียง $2.4 ล้านเหรียญ

Though it doesn’t delve deeply into the darkness of J. M. Barrie’s tale, Peter Pan is a heartwarming, exuberant film with some great tunes.

คำนิยมจากเว็บไซด์ Rottentomatoes ให้คะแนน 77%

แม้ว่าการ์ตูนเรื่องนี้จะไม่ได้ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม แต่พอกลายเป็นสวนสนุก (Theme Parks) เครื่องเล่น ขบวนพาเรด การแสดงสด รวมถึงสเก็ตลีลา (Disney On Ice) เป็นหนึ่งในจุดท่องเที่ยว (Attraction) ได้รับความนิยมสูงสุดแทบจะทุกๆ Disneyland

Peter Pan ฉบับของ Disney มีภาคต่อด้วยนะครับ Peter Pan: Return to Never Land (2002) รวมถึงภาพแยก (Spin-Off) Tinker Bell (2008), ล่าสุดก็ดัดแปลงคนแสดง (Live Action) Peter Pan & Wendy (2023) ทีแรกว่าจะเข้าฉายโรงภาพยนตร์แต่คุณภาพคง !@#$% เลยปรับเปลี่ยนมาทาง Disney+

นอกจากภาพวาดสวยๆ อนิเมชั่นงามตา อะไรอย่างอื่นล้วนสร้างความอ่อนเปลี้ยเพลียแรง แถมบทเพลงก็ไม่ค่อยไพเราะติดหูสักเท่าไหร่ สไตล์ของ Disney เลยทำให้ผมหน้านิ่วคิ้วขมวด มอดไหม้ทรวงในตลอด 77 นาที ช่างเยิ่นยาวนานยิ่งนัก อดรนทนดูจบได้ก็รู้สึกประทับใจตนเองอย่างคาดไม่ถึง!

คงมีหลายคนที่ชื่นชอบ Peter Pan (1953) แล้วหลงเข้ามาอ่านบทความนี้ ก็ไม่ต้องอคติอะไรกับผมมากนะครับ มันเป็นความรู้สึกส่วนตัว คิดเห็นส่วนบุคคล ไม่จำเป็นที่คนเราต้องเหมือนกันอยู่แล้ว

แถมท้ายกับบุคคลมีชื่อเสียงที่โปรดปรานวรรณกรรม/การ์ตูน Peter Pan อาทิ J. R. R. Tolkien (Middle-earth=Never Land?), J.K. Rowling, Stephen King, Michael Jackson (ถึงขนาดตั้งชื่อฟาร์ม Never Land), Michael Stipe, Gwen Stefani, Bono, Steven Spielberg (กำกับภาพยนตร์ Hook (1991)), Guillermo Del Toro (มีแผนจะสร้างอยู่), Hayao Miyazaki, Robin Williams (รับบท Peter Pan ในภาพยนตร์ Hook (1991)), Angelina Jolie, Hugh Jackman ฯลฯ

จัดเรตทั่วไป แต่มันคือการ์ตูนที่เราควรให้เด็กๆรับชมจริงๆนะหรือ?

คำโปรย | Peter Pan (1953) ฉบับการ์ตูนโลกสวยของ Walt Disney คงความคลาสสิก ล่องลอยอยู่ในความฝัน จมปลักอยู่ในนั้น
คุณภาพ | คลาสสิก
ส่วนตัว | นิทานหลอกเด็ก

2
Leave a Reply

avatar
1 Comment threads
1 Thread replies
1 Followers
 
Most reacted comment
Hottest comment thread
2 Comment authors
ณ.คอน ลับแลSarun Recent comment authors

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
newest oldest most voted
Notify of
Sarun
Guest
Sarun

แอดมีแผนจะดูหนังฝั่งแอฟริกาไหมครับ?

%d bloggers like this: