Pink Flamingos (1972) : John Waters ♥♥♥♡
Pink Flamingos (1972) ไม่จำเป็นต้องไปแข่งขัน ประชันใคร นั่นเพราะภาพยนตร์เรื่องนี้มีความสกปรก โสมม อาจม น่ารังเกียจขยะแขยง “Filthiest Film of All Time” แต่ถ้าคุณสามารถมองข้ามรสนิยมต่ำตมเหล่านั้น อาจพบเห็นสรวงสวรรค์ศักดิ์สิทธิ์ของหม่อมแม่ Divine
ด้วยคำโปรย “An Exercise in Poor Taste” ร้อยเรียงสารพัดสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่มองว่าสกปรกโสมม รสนิยมต่ำตม สังคมไม่ให้การยอมรับ อาทิ (ขี้เกียจแปล) nudity, profanity, frivolity, scatology, sensationology, epistemology, exhibitionism, voyeurism, sodomy, masturbation, gluttony, vomiting, rape, incest, murder, animal cruelty, cannibalism, castration, foot fetishism, และโดยเฉพาะตอนจบ !@#$%% (ไม่อยากสปอย) มีคำเรียกงานศิลปะประเภทนี้ว่า Abject Art (ศิลปะอาจม)
ศิลปะต้องมีความงดงาม จรรโลงใจ … แต่มันจำเป็นเช่นนั้นจริงๆนะหรือ? ความหมายของ ‘ศิลปะ’ คือผลแห่งพลังความคิดสร้างสรรค์ สิ่งที่มนุษย์รังสรรค์สร้างขึ้น (ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ) เพื่อแสดงออกทางอารมณ์ สติปัญญา ทักษะความสามารถ ผ่านสื่อทัศนศิลป์ (จิตรกรรม, ประติมากรรม, ภาพยนตร์, การแสดง ฯ) ให้ได้มาซึ่งสุนทรียะ และความพึงพอใจ
จริงอยู่ที่คนเราชื่นชอบสิ่งสวยๆงามๆ พบเห็นแล้วเกิดความเพลิดเพลิน บันเทิงอารมณ์ แต่เหรียญล้วนมีสองด้านเสมอๆ อีกฟากฝั่งคือบุคคลหลงใหลสิ่งอัปลักษณ์ น่ารังเกียจขยะแขยง นั่นเพราะ “ความงดงามขึ้นอยู่กับสายตาผู้ชม”
Abject Art คือศิลปะที่ทำงานกับสิ่งน่ารังเกียจเป็นหลัก หรือสิ่งที่ชวนให้นึกถึงสิ่งน่ารังเกียจ โดยคำถามสำคัญคือ “สิ่งที่เราว่าน่ารังเกียจเหล่านั้น กลายมาเป็นศิลปะได้อย่างไร?” อาจกล่าวได้ว่างานศิลปะที่น่ารังเกียจเหล่านั้น เพราะความตั้งใจของศิลปิน เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกว่ามันน่ารังเกียจ แล้วฉุกคิดว่าเหตุใดมันถึงน่ารังเกียจ โดยไม่จำเป็นจะต้องเปลี่ยนให้สิ่งน่ารังเกียจกลายเป็นสิ่งที่น่าพึงพอใจ
LINK: https://themomentum.co/abject-art/
LINK: https://groundcontrolth.com/blogs/art-term-abject-art
Pink Flamingos (1972) เป็นภาพยนตร์ที่พยายามท้าทายจิตสามัญสำนึกผู้ชม ร้อยเรียงสารพัดสิ่งที่คนส่วนใหญ่มองว่าสกปรกโสมม รสนิยมต่ำตม เอาจริงๆมันไม่ได้มีความจำเป็นที่เราต้องอดรนทน (ถ้ารับไม่ได้จะทนดูทำไม?) แต่ถ้าคุณสามารถมองข้ามสิ่งน่ารังเกียจเหล่านั้น ครุ่นคิดหาเหตุผล เพราะอะไร? ทำไปเพื่ออะไร? อาจค้นพบความชื่นชอบประทับใจ … ผมเองก็คนหนึ่งละ!
ทุกสรรพสิ่งอย่างใน Pink Flamingos (1972) ชักชวนให้ผู้ชมตั้งคำถามถึงศีลธรรม จริยธรรม มโนธรรม หลักธรรมคำสั่งสอนที่บอกว่าห้ามทำอย่างโน้น ไม่ควรทำแบบนี้ สร้างกฎกรอบขึ้นมาห้อมล้อม แล้วชี้นิ้วบอกว่าสิ่งนี้ถูก สิ่งนี้ผิด มันไม่ใช่สิ่งถูกต้องเหมาะสมจริงๆนะหรือ?
สิ่งที่ผมมองว่าเป็นไฮไลท์ของหนัง ไม่ใช่การกระทำสิ่งสกปรกโสมมทั้งหลาย แต่คือการแสดงอันดัดจริต โอเว่อแอ๊คติ้ง (Overacting) ช่วงแรกอาจรู้สึกน่าหงุดหงิด ดูไปดูมาจะค่อยๆฉุกคิดว่ามันคือความตั้งใจให้ออกมาในลักษณะ Black Comedy โดยเฉพาะลีลาความสามารถของหม่อมแม่ Divine กลายเป็น ‘Cult Figure’ ถึงขนาดนิตยสาร People ให้การยกย่อง ‘Drag Queen of the Century’
John Samuel Waters Jr. (เกิดปี 1946) ศิลปิน นักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Baltimore, Maryland ได้รับการเลี้ยงดูแบบ Roman Catholic แต่ตั้งแต่รับชม Lili (1953) เกิดความหลงใหลหุ่นเชิดสไตล์ Punch and Judy (ที่ชอบใช้ความรุนแรง), วัยเด็กสนิทสนมกับ Glenn Milstead (หรือ Divine) หลังได้รับของขวัญวันเกิด กล้อง 8mm จากคุณยาย ร่วมกันถ่ายทำหนังสั้น Hag in a Black Leather Jacket (1964), ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Mondo Trasho (1969), ตามด้วย Multiple Maniacs (1970)
Waters (และผองเพื่อน) ชื่นชอบการใช้ชีวิตอย่างสุดเหวี่ยง เล่นยา มั่วกาม รสนิยมรักร่วมเพศ (เป็นเกย์เปิดเผย) กระทำสิ่งนอกรีตนอกรอย ไม่สนห่าเหวอะไรใคร หลงใหลวัฒนธรรม Counter-Cultural (ทำในสิ่งต่อต้านจารีตสังคม) กำไรจากภาพยนตร์หมดไปกับสิ่งอบายมุขทั้งหลาย
แซว: ผกก. Waters มีสองเอกลักษณ์ติดตัว คือชอบไว้หนวดดินสอ (เหมือนเอาดินสอมาขีดเป็นหนวด) และกิริยาท่าทางมีคำเรียกว่า ‘Camp Personality’ ไม่ต่างจากตัวละครในภาพยนตร์ ดูดัดจริต โอเว่อวังอลังการ
We are polar opposites when it comes to our politics, religious beliefs. But that’s what I loved about the whole trip. It was two people able to agree to disagree and still move on and have a great time. I think that’s what America’s all about.
John Waters
ความสนใจของ Waters ต้องการสรรค์สร้างภาพยนตร์ที่นำเสนอด้านมืดของมนุษย์ มีความสกปรกโสมม ต่ำตม อาจม ท้าทายขนบกฎกรอบสังคม โดยรับอิทธิพลจากผู้กำกับหนังใต้ดินอย่าง Kenneth Anger, Andy Warhol, Mike & George Kuchar ฯ
To me, bad taste is what entertainment is all about. If someone vomits watching one of my films, it’s like getting a standing ovation. But one must remember that there is such a thing as good bad taste and bad bad taste.
สำหรับ Pink Flamingos (1972) ความสนใจของผกก. Waters คือกระทำสิ่งท้าทายกฎกรอบ ขนบสังคม รวมถึงกองเซนเซอร์ยุคสมัยนั้น ด้วยการร้อยเรียงเหตุการณ์ที่มีความอุกอาจ (outrageousness) รสนิยมต่ำตม (bad taste) ด้วยจุดประสงค์ต้องการสร้าง “the trashiest motion pictures in cinema history”. นำแสดงโดยเพื่อนสนิท Divine รับบทตัวละครฉายา “the filthiest person alive!”
เรื่องราวของอาชญากร Divine ปลอมตัวเป็น Babs Johnson หญิงข้ามเพศเจ้าของฉายา “the filthiest person alive” หลบซ่อนตัว/อาศัยอยู่ร่วมกับมารดา Edie, บุตรชาย Crackers และเพื่อนสาว Cotton ในรถพ่วง Trailer นอกเมือง Phoenix, Maryland
สองสามีภรรยา Connie และ Raymond Marble เจ้าของธุรกิจ ‘Baby Ring’ ด้วยการลักพาตัวหญิงสาว ข่มขืนกระทำชำเรา จากนั้นนำทารกไปขายต่อตลาดมืด, ทั้งสองเกิดความอิจฉาริษยาฉายาของ Divine จึงพยายามครุ่นคิดหาวิธีพิสูจน์ตนเอง แข่งขัน ประชัน อวดอ้างว่าพวกฉันคือ “the filthiest person alive”
Divine ชื่อจริง Harris Glenn Milstead (1945-88) นักร้อง/นักแสดงชาย สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Baltimore, Maryland ในครอบครัวชนชั้นกลาง (Upper Middle-class) ได้รับการเลี้ยงดูอย่างตามใจจนร่างกายอวบอ้วน เลยมักถูกเพื่อนๆกลั่นแกล้ง ล้อเลียน (Body Shaming) ทำให้สูญเสียความมั่นใจในตนเอง, พออายุ 15 ระหว่างทำงานพาร์ทไทม์ร้านดอกไม้ ค้นพบรสนิยมชื่นชอบแต่งหญิง (Drag) โปรดปรานนักแสดง Elizabeth Taylor, ด้วยความสนิทสนม John Waters มาตั้งแต่เด็ก ได้รับการชักนำพาเขาสู่แวดวง Counter-Cultural รวมถึงตั้งชื่อ Divine (นำจากตัวละครในหนังสือ Our Lady of the Flowers (1943))
Divine is the most beautiful woman in the world, almost.
John Waters
Waters รวบรวมผองเพื่อนคนสนิท ที่มีถิ่นฐานอาศัยอยู่ Baltimore, Maryland อาทิ Divine, Lochary, Mary Vivian Pearce, Mink Stole มีคำเรียกกลุ่ม/ชื่อสตูดิโอ Dreamlanders ด้วยจุดประสงค์สรรค์สร้างภาพยนตร์ที่มีลักษณะ “the trashiest motion pictures in cinema history”.
ในภาพยนตร์ Pink Flamingos (1972), Milstead รับบทอาชญากร Divine เจ้าของฉายา “the filthiest person alive” ขณะนั้นกำลังหลบซ่อนตัว ใช้ชื่อปลอม Babs Johnson อาศัยอยู่ร่วมกับครอบครัวปลอมๆในรถพวง Trailer วันๆทำตัวไม่ยี่หร่าอะไรใคร จนกระทั่งถูกท้าทายโดยสามี-ภรรยา The Marbles ได้รับพัสดุบรรจุอุจาระ จึงกระทำการแก้เผ็ดให้อีกฝ่ายเข็ดหลากจำ
ทุกบทบาทในหนังมีการแสดงที่ดูดัดจริต เว่อวังอลังการ เหมือนคนกำลังมึนเมาระหว่างเสพยา นั่นคือสไตล์ภาพยนตร์ของผกก. Waters จงใจทำออกมาให้ดูปลอมๆ หลอกลวง โลกสวย ไม่เป็นธรรมชาติ แต่ถึงอย่างนั้นถ้าเราสังเกตการแสดงของ Divine (และผองเพื่อน) จะพบว่าพวกเขามีการซักซ้อม เตรียมความพร้อม ไม่เคยหลุดคาแรคเตอร์ อยู่ในจุดสูงสุดตลอดเวลา รับ-ส่งมุกตลกกันได้อย่างเข้าขา จังหวะลงตัว ต้องเรียกว่ามืออาชีพของจริง!
Divine’s performance in Pink Flamingos is a whole universe unto itself. Terms like drag and transgression are inadequate to describe her hip-swiveling force field of appetite, narcissism, and mutant tenderness.
นักวิจารณ์ Howard Hampton จาก Criterion
ตัวจริงๆของ Divine แม้มีรสนิยมรักร่วมเพศ ชื่นชอบแต่งหญิง ถึงอย่างนั้นเขาก็ไม่ได้มีพฤติกรรมดัดจริตเหมือนตัวละคร ระหว่างอยู่กับผองเพื่อนสนิทอาจมีเที่ยวเล่น เสพยา มึนเมาบ้างตามประสา แต่เวลาออกไปไหนมาไหนก็เห็นว่าแต่งชาย ไม่ได้โลกสวย ดัดจริต ทั้งหมดแค่เพียงบทบาทการแสดงเท่านั้น
People [think] Divine — they always think wrong — was trans. Divine never dressed as a woman except when he was working. He had no desire to be a woman … He didn’t want to pass as a woman; he wanted to pass as a monster. He was thought up to scare hippies. And that’s what he wanted to do. He wanted to be Godzilla. Well, he wanted to be Elizabeth Taylor and Godzilla put together.
Divine was not at all like the character Divine. He was a quiet gentleman who liked to eat and smoke pot, and was very loyal to his friends. He didn’t just have gay friends — he lived with a gangster once. At least half his friends were definitely straight, and he got along with everybody. And very generous.
John Walters
บทบาท Divine/Babs Johnson ถือเป็นจุดสูงสุดในอาชีพการงาน ได้รับการจดจำ กล่าวขวัญถึง น่าเสียดายที่ไม่ใช่ฝีไม้ลายมือด้านการแสดง แต่คือภาพลักษณ์กระเทยควาย กระทำสิ่งไม่ยี่หร่าอะไรใคร โดยเฉพาะตอนจบกลายเป็นภาพติดตาที่เวลาพบเจอใครต่อใคร มักต้องเอ่ยกล่าวพูดคุยประเด็นนี้ ทั้งๆความจริงแล้วเธอไม่ได้มีรสนิยม Coprophile (โรคลุ่มหลงอุจจาระ) แค่แสดงตามบทหนังเท่านั้นเอง!
แซว: ในบรรดาผลงานการแสดงทั้งหมดของ Divine มีเพียง Pink Flamingos (1972) เคยร้องขอไม่ให้มารดารับชม แต่มันคงมิอาจหลีกเลี่ยง ครั้งหนึ่งเธอเลยตั้งคำถามกับบุตรชายถึงตอนจบว่า
Mom, you wouldn’t believe what they can do nowadays with trick photography.
Divine
ถ่ายภาพโดย John Waters,
งานภาพของหนังไม่ได้มีการใช้เทคนิคภาพยนตร์ประการใด ส่วนใหญ่ตั้งกล้องให้นักแสดงเข้า-ออกเฟรม พูดสนทนา ระเบิดอารมณ์ออกมา, ถ่ายทำด้วยฟีล์ม 16mm แล้วนำไปขยาย (blow-up) เพื่อเวลาฉายเป็น 35mm จะทำให้งานภาพดูแตกๆเบลอๆ เห็นเป็นเม็ดๆ (Grain) มีความหยาบโลน มอบสัมผัสรกๆ ดูสกปรก (filthiest) ผกก. Waters ให้คำนิยาม “Homemade Technicolor”
อีกความตั้งใจของผกก. Waters คืออัตราส่วนภาพ ด้วยข้อจำกัดยุคสมัยนั้นเวลานำออกฉายโรงภาพยนตร์ ต้องทำออกมาให้ได้ขนาด Widescreen (1.85:1) แต่ฉบับบูรณะของ Criterion ได้มีการปรับเปลี่ยนตามคำเรียกร้องของผู้กำกับ หลงเหลือเพียง 1.66:1 หรือ 4:3 มีคำเรียกว่า Academy Flat (ไม่ใช่ Academy Ratio 1.375:1 นะครับ) หรือ European Widescreen Standard เป็นอัตราส่วนเหมาะสำหรับฉายทางโทรทัศน์
หนังถ่ายทำย่าน ‘hippie commune’ ชานเมือง Phoenix, Maryland ทีมงานส่วนใหญ่ (ยกเว้นนักแสดง) อาศัยอยู่ในบ้านฟาร์ม มารดาของ Divine เขียนบรรยายในหนังสือชีวประวัติ สภาพกองถ่ายมีความน่าสมเพศ (pitful) ตรงกันข้ามกับเสื้อผ้าหน้าผม อาหารการกิน เฟอร์นิเจอร์ข้าวของเครื่องใช้ มีความหรูหราเว่อวังอลังการ (expensive taste in clothes and furniture and food)
การทำงานของผกก. Waters ในสไตล์หนังทุนต่ำ ด้วยงบประมาณเพียง $10,000 เหรียญ แต่ใช้ระยะเวลาโปรดักชั่นตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม ค.ศ. 1971 เสร็จสิ้นกลางมกราคม ค.ศ. 1972 (ที่ใช้เวลานาน เพราะเวลาส่วนใหญ่เอาแต่เล่นยา เสพปุ้น) ก่อนเข้าฉากมีการซักซ้อมจนพร้อมพรัก เพื่อเวลาถ่ายทำจริงจะได้ประหยัดฟีล์ม
I was high when I wrote this film. I was ‘not’ high when I made it.
John Waters
รถตู้ Trailer ซึ่งถือเป็นตัวละครหลัก/สถานที่สำคัญ แต่กลับได้รับงบประมาณมาเพียง $200 เหรียญเท่านั้น! แทบจะไม่เพียงพอสำหรับทาสีใหม่เสียด้วยซ้ำ! ส่วนเฟอร์นิเจอร์ สิ่งข้าวของต่างๆนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้หยิบยืมใคร แต่ทำการลักขโมย นำจากที่ผู้คนโยนทิ้งขว้าง ประหยัดงบประมาณสุดๆเพื่อนำเงินไปซื้อสารเสพติด –“
เกร็ด: นกกระเรียน หรือฟลามิงโก (Flamingo) โดยปกติตัวมันมีสีชมพูอมม่วง (Pink) อยู่แล้ว! แต่คำว่า Pink Flamingo คือศัพท์แสลงของชาวสีม่วง (Gay Person) ใช้เป็นสำนวนสื่อถึงการอยู่ผิดที่ผิดทาง (something that is out of place or unusual) รสนิยมต่ำทราม (Kitsch) รวมถึงสัญลักษณ์การสลับคู่ร่วมเพศสัมพันธ์ (Swinging)
แฟชั่นของหม่อมแม่ Divine ถือเป็นอีกไฮไลท์ของหนัง ออกแบบตัดเย็บโดย Van Smith ชื่อจริงๆ Walter Avant ‘Van’ Smith, Jr. (1945-2006) ศิลปิน Make-Up Artist ขาประจำผกก. John Waters และถือเป็นหนึ่งในสมาชิก Dreamlanders
Smith ให้คำนิยาม Divine/Babs Johnson ในภาพยนตร์ Pink Flamingo (1972) ว่าเป็นส่วนผสมของนักแสดงสาวสวย Jayne Mansfield และตัวตลก Clarabell the Clown ด้วยการโกนผมไปจนถึงกลางศีรษะ แล้วเขียนคิ้วให้ดูเว่อวังอลังการ ส่วนชุดที่เป็นไฮไลท์คือชุดเดรสแดงยาว ทรงหางปลา (Fishtail Red Gown)
When we started in those days, drag queens were square. They hated Divine: they wanted to be Bess Myerson. And Divine would show up in a see-through miniskirt with a chainsaw instead of a pocketbook.
Fashion in our early movies was used to frighten people and to alarm them.
John Waters
ชุดของ Divine ได้ปฏิวัติวงการ Drag Queen ที่สมัยก่อนนิยมแค่แต่งตัวเลียนแบบหญิง ทำตัวให้สวยๆ ดูกลมกลืน เป็นธรรมชาติเข้าไว้ ไม่ให้ผู้ชายสังเกตเห็นเพศแท้จริง แต่ชุดหม่อมแม่ไม่สนห่าเหว ความสวยความงาม ขอให้ได้เริดเชิดเย่อหยิ่ง นั่นเลยกลายเป็นค่านิยมสมัยใหม่ของสาวๆ Tiffany มาจนถึงปัจจุบัน ต้องเว่อวังอลังการเท่านั้น!
แซว: Isabelle Huppert เคยแต่งชุดได้แรงบันดาลใจจาก Divine ในงาน Met Gala เมื่อปี ค.ศ. 2021
เรื่องราวของมารดาร่างอวบ Edie (รับบทโดย Edith Massey) นั่ง-นอน-กิน อยู่ในคอกกั้นเด็ก นี่เป็นการเสียดสีล้อเลียนวิถีของผู้สูงวัย ที่เมื่อไม่สามารถดูแลตนเองย่อมไม่แตกต่างจากทารก/เด็กน้อย ต้องรอคอยความช่วยเหลือจากครอบครัว (ในบริบทนี้ก็คือลูกสาว Divine)
ความลุ่มหลงใหลในไข่ คนขายไข่ The Egg Man (รับบทโดย Paul Swift) รวมไปถึงพฤติกรรมหลานชาย Crackers (รับบทโดย Danny Mills) ระหว่างมีเพศสัมพันธ์กับแฟนสาว Cookie (รับบทโดย Cookie Mueller) นำเอาไก่ตัวเป็นๆมาวางไว้แทรกกลาง (ทำเหมือนกำลังมีเพศสัมพันธ์กับไก่) รวมๆแล้วมันสื่อถึงเรื่อง Sex ทั้งหมดนะแหละ
แซว: เพราะเจ้าไก่มันไม่ค่อยยินยอมอยากจะเข้าฉาก Cookie จึงได้รับบาดเจ็บ เลือดไหลอาบจริงๆ และซีเควนซ์นี้ก็ถูกแบนให้ตัดออกในหลายประเทศ พวกรักสัตว์ย่อมรับไม่ได้อย่างแน่นอน (Animal Cruelty)
แซว1: ไก่ตัวนั้นที่ถูกนำมาวางไว้แทรกกลาง หลังถ่ายเสร็จก็กลายเป็นอาหารให้คนในกองถ่าย
I had just seen Boom!, one of my favorite Elizabeth Taylor movies. She plays this terminally ill woman locked in a mansion on a private island, writing her memoirs. [The film] mostly sprang from that, and seeing so many trailer parks everywhere across America. Divine and I watched Boom! all the time when we were young, so we imagined what it might look if Divine were hiding out in a trailer. I loved that tacky “pink flamingo” aesthetic because it was just so extreme. I also wanted to give it a very innocuous title that could mean anything.
John Waters
ผกก. Waters เล่าว่าระหว่างทริปขับรถสู่ California พบเห็นชุมชนคนเดินทาง อาศัยหลับนอนอยู่ในรถตู้ Trailer จึงเกิดแรงบันดาลใจใช้เป็นสถานที่หลบซ่อนตัว คล้ายแบบภาพยนตร์เรื่องโปรด Boom! (1968) ที่ตัวละครของ Elizabeth Taylor กักขังตนเองอยู่ในแมนชั่นบนเกาะส่วนตัว เขียนไดอารี่เฝ้ารอคอยความตาย
แซว: Boom! (1968) กำกับโดย Joseph Losey, นำแสดงโดย Richard Burton และ Elizabeth Taylor ได้รับการยกย่องจากผกก. Waters ในความ “beyond bad”, “failed art film” นั่นคือรสนิยมส่วนตัวล้วนๆ
It’s the other side of camp. It’s beautiful, atrocious, and it’s perfect. It’s a perfect movie, really, and I never tire of it.
John Waters กล่าวถึงความหลงใหล Boom! (1968)
ตัดต่อโดย John Waters, หนังเริ่มต้นด้วยการใช้เสียงบรรยาย(รายการโทรทัศน์?) แนะนำตัวละคร ร้อยเรียงพฤติกรรมสกปรกโสมมของพวกเขา ก่อนนำเข้าสู่การแข่งขัน ประชันกันระหว่างหม่อมแม่ Divine vs. คู่สามี-ภรรยา The Marbles เพื่อค้นหาว่าใครสมควรได้รับฉายา “the filthiest person alive”
- อารัมบท แนะนำตัวละคร
- เริ่มจากหม่อมแม่ Divine ปลอมตัวเป็น Babs Johnson หลบซ่อนตัว/อาศัยอยู่กับมารดา Edie, บุตรชาย Crackers และเพื่อนสาว Cotton ในรถตู้ Trailer
- แนะนำคู่สามี-ภรรยา The Marbles เริ่มจาก Connie ขับไล่หญิงสาวสมัครสัมภาษณ์งาน, Raymond โชว์อนาจารไปทั่ว, ลูกจ้าง Channing คอยดูแลหญิงสาวที่ถูกลักพาตัว นำทารกมาขายตลาดมืด
- Divine แวะเวียนมาซื้อข้าวของในเมือง เตร็ดเตร่เร่ร่อนไปทั่ว
- ความอิจฉาริษยาของ The Marbles
- Connie อ่านหนังสือพิมพ์พบเห็นหม่อมแม่ Divine ได้รับฉายา “the filthiest person alive” จึงเกิดความอิจฉาริษยา ต้องการพิสูจน์ตนเองว่าต่ำตมยิ่งกว่า
- Crackers ชักชวนแฟนสาว Cookie มายังรถตู้ Trailer ร่วมเพศสัมพันธ์ในโรงนาด้วยความเจ็บปวด
- คนขายไข่ Eggman เกี้ยวพาราสีมารดา Edie
- การโจมตีของ The Marbles
- The Marbles ลักพาตัวหญิงสาว ข่มขืนกระทำชำเรา จากนั้นพวกเขาก็พรอดรักกันอย่างโจ๋งครึ่มบนเตียงนอน
- Cookie ขายข่าวให้กับ The Marbles แล้วทั้งสองส่งพัสดุอุจาระให้กับ Divine
- The Marbles ไม่พึงพอใจพฤติกรรมของลูกจ้าง Channing จึงจับขังไว้ในตู้เสื้อผ้า
- งานเลี้ยงวันเกิด Divine
- Eggman สู่ขอแต่งงานมารดา Edie
- งานเลี้ยงปาร์ตี้วันเกิดของ Divine มีความสุดเหวี่ยง บ้าบอคอแตก
- แอบพบเห็นโดยคู่สามี-ภรรยา The Marbles เลยแจ้งตำรวจจับ
- เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความไม่พึงพอใจต่อ Divine ติดตามมาจนถึงบ้านของ The Marbels จากนั้นข่มขืนกระทำชำเราเฟอร์นิเจอร์ทั้งหลาย รวมถึงปลดปล่อยหญิงสาวที่ถูกลักพาตัว
- ตาต่อตา ฟันต่อฟัน
- The Marbles ทำการเผารถตู้ Trailer ของ Divine
- Divine กลับมาพบเห็น จึงหวนกลับไปบ้านของ The Marbles
- จับกุมพวกเขามาขึ้นศาลเตี้ย (Kangaroo Court) และตัดสินโทษประหารชีวิต!
ในส่วนของเพลงประกอบ รับอิทธิพลเต็มๆจาก Kenneth Anger (ใครเลยรับชมหนังของ Anger ก็น่าจะเข้าใจวิธีการได้โดยทันที) เลือกบทเพลงฮิตบ้าง ไม่ฮิตบ้าง ส่วนใหญ่มาจาก B-sides ของแผ่นครั่งช่วงทศวรรษ 50s-60s โดยไม่สนห่าเหวลิขสิทธิ์ใดๆ แค่มีเนื้อคำร้องสอดคล้องเรื่องราวขณะนั้นๆ … เพียงอ่านตามเนื้อเพลง ก็จะเข้าใจเหตุการณ์บังเกิดขึ้น
แซว: ตอนหนังฉายไม่ได้มีการขอลิขสิทธิ์บทเพลงไหน แต่หลังจากความสำเร็จล้นหลาม ทำเงินถล่มทลาย เลยจำใจต้องยินยอมจ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้! และเมื่อตอนครบรอบ 25 ปี ค.ศ. 1997 มีออกอัลบัมรวม 12 เพลงประกอบ
มาเริ่มที่ Opening Credit ชื่อบทเพลง The Swag (1958) [Swag คำแสลงแปลว่า เท่ห์ เจ๋ง เลิศเลอ] แต่งโดย Milton Grant & Link Wray ทำการแสดงโดย Link Wray และ His Ray Men ไม่มีอะไรไปมากกว่าลีลาลีดกีตาร์ อารัมบทสุดเร้าใจ
ขอกล่าวถึง Fred Lincoln “Link” Wray Jr. (1929-2005) นักกีตาร์ นักแต่งเพลง เกิดที่ Dunn, North Carolina มารดาเป็นชาวอินเดียแดงเผ่า Shawnee ทำให้วัยเด็กมีชีวิตยากลำบาก อาศัยอยู่ในกระท่อมโคลน ไม่มีเครื่องใช้ไฟฟ้า เดินไปโรงเรียนเท้าเปล่า แถมยังมีประสบการณ์ต้องหลบซ่อนตัวจากพวก Ku Klux Klan หลายๆบทเพลงของ Wray จึงอุทิศให้กับชาติพันธุ์ของตนเอง
พอรับรู้ประวัติของ Wray กลับมารับฟังบทเพลง The Swag ทำให้เกิดภาพรถตู้ Trailer ของ Divine (ภาพพื้นหลังระหว่าง Opening Credit) แลดูคล้ายๆกระท่อมโคลนหลังน้อย ต้องคอยหลบซ่อนตัวจากพวก KKK ขึ้นมาซะงั้น!
เกร็ด: Pink Flamingo (1972) เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่มี Opening Credit ยาวนานที่สุด เพราะทำการยัดเยียดนักแสดง ตัวประกอบ ทีมงานทุกคน ในระยะเวลาเกือบๆ 3 นาที
บทเพลง Intoxica ดังขึ้นระหว่าง Divine ติดรถเดินทางเข้าเมือง โฉบเฉี่ยวเกือบชนใครต่อใคร ได้ยินแวบแรกผมนึกถึงภาพยนตร์ Pulp Fiction (1994) ของผกก. Quentin Tarantino ค้นหาข้อมูลก็พบว่าจากศิลปินเดียวกัน The Centurians อัลบัมเดียวกัน Surfers’ Pajama Party (1963) แนวเพลง Surf Rock ชักชวนให้ผู้ฟังให้ลุกขึ้นมาโยกเต้น เริงระบำ นี่คือดนตรีสุดฮิตแห่งทศวรรษ 60s
I’m Not a Juvenile Delinquent (1957) แต่งโดย George Goldner ขับร้องโดย Frankie Lymon and The Teenagers, แค่ชื่อเพลง/คำร้องท่อนแรก ก็ชัดเจนถึงสิ่งที่ Divine กำลังจะกระทำในร้านขายของชำแห่งนั้น เป็นการอธิบายเหตุการณ์บังเกิดขึ้นผ่านเนื้อคำร้องอย่างตรงไปตรงมา และมีท่วงทำนองไพเราะติดหูเสียด้วยนะ
I’m not a juvenile delinquent
No-no-no-no-no-no-no-no
No-no-no-no-no-no-no-no
No-no-no, I’m not a juvenile delinquent
Do the things that’s right
And you’ll do nothing wrong
Life will be so nice, you’ll be in paradise
I know, because I’m not a juvenile delinquentBut listen boys and girls
You need not be blue
And life is what you make of it
It all depends on you
I know, because I’m not a juvenile delinquentIt’s easy to be good, it’s hard to be bad
Stay out of trouble, and you be glad
Take this tip from me, and you will see
How happy you will be
Oh-oh, boys and girls, this is my story
And I add all of my glory
I know, because I’m not a juvenile delinquentNo-no-no, I’m not a juvenile
หลังออกจากร้านขายของชำ จัดไปบทเพลง The Girl Can’t Help It (1956) แต่งโดย Bobby Troup, ขับร้องโดย Little Richard (สำหรับประกอบภาพยนตร์ชื่อเดียวกัน) พบเห็น Divine เดินเตร็ดเตร่ เร่ร่อน กระทำในสิ่ง !@#$%^ ที่เธอมิอาจหักห้ามใจตนเอง
เกร็ด: The Girl Can’t Help It (1956) ติดอันดับ 413 ชาร์ท Rolling Stone: 500 Greatest Songs of All Time
She can’t help it, the girl can’t help it
She can’t help it, the girl can’t help itIf she walks by the men folks get engrossed
(She can’t help it, the girl can’t help it)
If she winks an eye the bread slice turn to toast
(She can’t help it, the girl can’t help it)
If she got a lot of what they call the most
(She can’t help it, the girl can’t help it)The girl can’t help it, she was born to please
(She can’t help it, the girl can’t help it)
And if she’s got a figure made to squeeze
(She can’t help it, the girl can’t help it)
Won’t you kindly be aware, the girl can’t help it
(The girl can’t help it)If she mesmerizes every mother’s son
(She can’t help it, the girl can’t help it)
If she’s smiling, beefsteak become well done
(She can’t help it, the girl can’t help it)
She makes grandpa feel like 21
(She can’t help it, the girl can’t help it)The girl can’t help it, she was born to please
(She can’t help it, the girl can’t help it)
And if I go to her on bended knees
(She can’t help it, the girl can’t help it)
Won’t you kindly be aware that I can’t help it
(I can’t help it)Because I’m hoping, obviously
That some day, the answer would be
The girl can’t help it, she’s in love with me
(She can’t help it, the girl can’t help it)If she walks by the men folks get engrossed
(She can’t help it, the girl can’t help it)
If she winks an eye the bread slice turn to toast
(She can’t help it, the girl can’t help it)
She got a lot of what they call the most
(She can’t help it, the girl can’t help it)The girl can’t help it, she was born to please
(She can’t help it, the girl can’t help it)
And if she’s got a figure made to squeeze
(She can’t help it, the girl can’t help it)I’m hoping, obviously
That some day, the answer would be
The girl can’t help it, she’s in love with me
(She can’t help it, the girl can’t help it)
หนึ่งในบทเพลงได้ยินในงานเลี้ยงวันเกิด Divine ไม่ใช่แค่คำร้อง Wine Wine Wine ฟังแล้วติดหู แต่ยังมีภาพรูติดตา (ชวนให้ผมนึกถึงปิงปองโชว์ สำหรับคนรับรู้จักนะครับ!) ชื่อบทเพลง Pink Champagne (1957) แต่งโดย Joseph Liggins, ขับร้องโดย The Tyrones
Wine, wine, wine
Wine, wine, wine
Wine, wine, wine
Wine, wine, wine
Wine, wine, wine
Wine, wine, wineIt was Pink Champagne that stole my gal from me
It was Pink Champagne that stole my gal from me
It was Pink Champagne, where can my lover be?
It was Pink Champagne that left me feeling blue
It was Pink Champagne that left me feeling blue
It was Pink Champagne and now it’s up to youChampagne
Champagne
Mellow, mellow wine
Champagne
Champagne
Mellow, mellow wine
Makes one feel so dog gone fineWine, wine, wine
Wine, wine, wine
Wine, wine, wine
Wine, wine, wine
Wine, wine, wine
เดี๋ยวก่อน เหมือนผมจะจำฉากนั้นผิดเพลง! มันต้อง Surfin’ Bird (1963) แนว Surf Rock ของวง The Trashmen เคยติดสูงสุดอันดับ 4 ขาร์ท Billboard Hot 100 ใครเคยรับชมภาพยนตร์ Full Metal Jacket (1987) ก็อาจมักคุ้นอยู่กระมัง
A-well-a everybody’s heard about the bird
B-b-b-bird, b-birdd’s the word
A-well, a bird, bird, bird, bird is the word
A-well, a bird, bird, bird, well-a bird is the word
A-well, a bird, bird, bird, b-bird’s the word
A-well, a bird, bird, bird, well-a bird is the word
A-well, a bird, bird, b-bird is the word
A-well, a bird, bird, bird, b-bird’s the word
A-well, a bird, bird, bird, well-a bird is the word
A-well, a bird, bird, b-bird’s the word
A-well-a don’t you know about the bird?
Well, everybody knows that the bird is the wordA-well-a-bird, bird, b-bird’s the word, a-well-a
A-well-a everybody’s heard about the bird
Bird, bird, bird, b-bird’s the word
A-well, a bird, bird, bird, b-bird’s the word
A-well, a bird, bird, bird, b-bird’s the word
A-well, a bird, bird, b-bird’s the word
A-well, a bird, bird, bird, b-bird’s the word
A-well, a bird, bird, bird, b-bird’s the word
A-well, a bird, bird, bird, b-bird’s the word
A-well, a bird, bird, bird, b-bird’s the word
A-well-a don’t you know about the bird?
Well, everybody’s talking about the bird!A-well-a bird, bird, b-bird’s the word
A-well-a bird, surfing bird, brr, brr, ah, ah
Ah, bap-a-pa-pa-pa-pa-pa-pa-pa-pa-pa-pa-pa-pa-papMa-ma-mow, pa-pa, ma-ma-mow, pa-pa
Ma-ma-mow, pa-pa, ma-ma-mow, pa-pa
Ma-ma-mow, pa-pa, ma-ma-mow, pa-pa
Ma-ma-mow, pa-pa, ma-ma-mow, pa-pa
Ma-ma-mow, pa-pa, ma-ma-mow, pa-pa
Ma-ma-mow, pa-pa, ma-ma-mow, pa-pa
Ma-ma-ma-ma-mow, pa-pa, ma-ma-mow, pa-pa
Ma-ma-ma-ma-mow, pa-pa, ma-ma-mow, pa-pa
Ma-ma-mow, pa-pa, ma-ma-mow, pa-pa
Ma-ma-mow, pa-pa, ma-ma-mow, pa-pa
Ma-ma-mow, ma-ma-mow, pa-pa
Ma-ma-mow, ma-ma-mow, pa-pa
Ma-ma-ma-ma, ma-ma-mow
Ma-ma-ma-ma, ma-ma-mow
Ma-ma-mow, pa-pa, ma-ma-mow, pa-pa
Ma-ma-mow, pa-pa, ma-ma-mowA-well-a don’t you know about the bird?
Well, everybody knows that the bird is the word
A-well, a bird, bird, b-bird’s the wordA-well-a mow, mow, pa-pa, ma-ma-mow, pa-pa
Ma-ma-mow, ma-ma, mow, pa-pa
เกร็ด: คำร้องบทเพลงนี้ที่ฟังเหมือนจะไร้สาระ แต่เนื้อคำร้อง “Bird is the Word” เป็นศัพท์แสลงหมายถึง (UK) โสเภณี และ (US) ชูนิ้วกลาง พูดง่ายๆก็คือ Bird is the Word = Fuck You!
ทิ้งท้ายกับ (How Much Is) That Doggie in the Window? (1952) แนว Novelty (แปลกใหม่จนน่าตื่นเต้น) แต่งโดย Bob Merrill, ขับร้องโดย Patti Page, เคยติดอันดับ 1 ชาร์ท Billboard Hot 100 นานถึง 8 สัปดาห์, เป็นบทเพลงฟังเพลิน เคลิบเคลิ้ม ไม่มีพิษภัย แต่เมื่อดังขึ้นระหว่างฉากสุดท้ายของหนัง อาจทำให้หลายคนเสียสติ อ๊วกแตกแตน โลกสวยพังพินาศ ได้รับการกล่าวขวัญเหนือกาลเวลา!
How much is that doggie in the window?
The one with the waggly tail
How much is that doggie in the window?
I do hope that doggie’s for saleI must take a trip to California
And leave my poor sweetheart alone
If he has a dog, he won’t be lonesome
And the doggie will have a good homeHow much is that doggie in the window?
The one with the waggly tail
How much is that doggie in the window?
I do hope that doggie’s for saleI read in the papers there are robbers
With flashlights that shine in the dark
My love needs a doggie to protect him
And scare them away with one barkI don’t want a bunny or a kitty
I don’t want a parrot that talks
I don’t want a bowl of little fishies
He can’t take a goldfish for a walkHow much is that doggie in the window?
The one with the waggly tail
How much is that doggie in the window?
I do hope that doggie’s for sale
เรื่องราวของ Pink Flamingo (1972) นำเสนอการแข่งขัน ประชันกันว่าใครสมควรได้รับฉายา “the filthiest person alive” ระหว่าง Divine/Babs Johnson vs. คู่สามี-ภรรยา The Marbles ด้วยการที่ทั้งสองฝ่ายพยายามกระทำสิ่งน่าอัปลักษณ์ สกปรกโสมม อาจม ใครไหนแสดงพฤติกรรมน่ารังเกียจขยะแขยงมากกว่ากัน?
เอิ่ม @#$%^ เรื่องพรรค์นี้มันสมควรต้องแข่งขันกันด้วยหรือ? แต่ถ้าเรามองในมุมกลับกัน ลองนึกถึงพวกนักการเมืองสมัยนี้ (ไม่เจาะจงว่าต้องเป็นประเทศสารขัณฑ์) พยายามอย่างยิ่งจะอวดอ้างบารมี ฉันเป็นคนดี มีศีลธรรม เข้าวัดทำบุญสวดมนต์ ทำสิ่งต่างๆเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ … นี่ก็เช่นเดียวกัน เรื่องพรรค์นี้มันสมควรต้องโอ้อวดอ้างกันด้วยฤๅ?
สารพัดการกระทำของ Divine/Babs Johnson แม้ดูอัปลักษณ์ สกปรกโสมม (ผมเองยังไม่อยากจะเขียนว่ามันมีอะไรบ้าง) แต่ล้วนชักชวนให้ผู้ชมขบครุ่นคิด ตั้งคำถามถึงความถูกต้องเหมาะสม ท้าทายขนบกฎกรอบ จารีตสังคม รวมถึงกองเซนเซอร์ยุคสมัยนั้น (ภายหลังการล่มสลายของ Hays Code เมื่อปี ค.ศ. 1968) ผู้ชมส่วนใหญ่น่าจะตระหนักได้ว่ามันไม่ใช่สิ่งถูกต้อง แต่มันไม่ใช่สิ่งถูกต้องจริงๆนะหรือ?
ความอุกอาจของ Pink Flamingo (1972) ชักชวนให้ผมครุ่นคิดถึงพวกความเชื่อ หลักคำสอน กุศโลบายของผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมไทย ที่เสื่อมถดถอยตามกาลเวลา ยกตัวอย่าง
- ห้ามตัดเล็บ/กวาดบ้านตอนกลางคืน
- เหตุผลคือสมัยก่อนค่าไฟแพง บางบ้านอาจยังใช้ตะเกียง สอนให้รู้จักการประหยัด แต่ปัจจุบันตอนไหนก็เหมือนกัน
- อย่าชมเด็กแรกเกิดว่าน่ารัก ไม่งั้นผีจะเอาตัวไป
- คนสมัยก่อนคงกลัวเด็กถูกอุ้มไปกระมัง
- จิ้งจกร้องทัก ต้องห้ามออกจากบ้าน
- ความเชื่อที่ไม่มีเค้ามูลคดี
- ถ้านอนกินเดี๋ยวจะกลายเป็นงู
- ด้วยลักษณะท่าทางการนอนกินข้าวหรือขนมนั้นดูไม่เหมาะสม แล้วคนป่วยติดเตียงลุกขึ้นไม่ขึ้นละ?
- แอบดูสาวอาบน้ำ/หนังโป๊ จะเป็นตากุ้งยิง
- ตากุ้งยิง ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการแอบดูสาวอาบน้ำ/หนังโป๊ แค่ต้องการปลูกฝังไม่ให้เด็กกระทำสิ่งไม่เหมาะสมก่อนวัยอันควร
หลายๆคำสอนเหล่านี้มักใช้ข้ออ้างความเชื่อ เพื่อให้เกิดความหวาดกลัว สำหรับปลูกฝังแนวคิด/ค่านิยมบางอย่าง ล่อหลอกเด็กๆ บุคคลไร้วุฒิภาวะ ยังไม่สามารถขบครุ่นคิด ตั้งคำถาม ค้นหาความจริง หรือพูดง่ายๆก็คือพยายามเสี้ยมสั่งสอนให้พวกเขาก้มหัวศิโรราบต่อขนบกฎกรอบ เห็นพ้องคล้อยตามระบอบอำนาจนิยม … นี่เป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ควรต้องใช้วิจารณญาณอย่างมากๆ ถ้าจะปลูกฝังสิ่งเหล่านี้กับลูกหลาน บางอย่างก็เหมาะสม บางอย่างมันไร้สาระเกิ้น
แม้มีคำกล่าวอ้างของ Divine บอกว่า “Filth are my politics. Filth is my life.” แต่ต้องถือว่า Pink Flamingo (1972) เป็นโคตรหนังการเมืองฟากฝั่งเสรีชน ต่อต้านคนหัวโบราณ ยึดถือมั่นในขนบกฎกรอบ รวมถึงไม่ยินยอมรับระบอบยุติธรรม ใช้ศาลเตี้ยตัดสินตามอารมณ์ ตอบสนองตัณหา ความต้องการส่วนบุคคล … แสดงให้เห็นว่าด้านสุดโต่งของเสรีนิยม มันก็ไม่แตกต่างจากเผด็จการเบ็ดเสร็จสักเท่าไหร่!
สิ่งที่ Divine ทำในตอนจบนั้น ถือเป็นสิ่งสกปรกโสมมที่สุดของหนัง แต่เราสามารถมองในเชิงสัญลักษณ์ถึงลัทธิบริโภคนิยม อาหารขยะ กระทำเรื่องไร้สาระ วิ่งไล่ตามสิ่งไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย-จิตใจ … คนสมัยนี้นิยมบริโภคสิ่งเลวร้ายยิ่งกว่า !@#$%^ เสียอีกนะ!
หนังฉายรอบปฐมทัศน์ยัง University of Baltimore ขายบัตรหมดเกลี้ยง! จากนั้นตระเวนนำออกฉายตามหัวเมืองใหญ่ๆ New York, Philadelphia, San Francisco แล้วได้รับการติดต่อจาก New Line Cinema (ขณะนั้นยังเป็นบริษัทเล็กๆ) ขอซื้อลิขสิทธิ์จัดหน่าย เข้าฉายรอบดึก (Midnight Movie) โรงภาพยนตร์ Elgin Theater, New York ยาวนานกว่า 95 สัปดาห์!
จากทุนสร้างเพียง $12,000 เหรียญ ด้วยกระแส Cult Following โดยเฉพาะการฉายรอบดึก ประมาณกันว่าอาจทำเงินได้สูงถึง $1.9 ถึง $7 ล้านเหรียญ!
an absolute classic piece of American cinema, right up there with The Birth of a Nation, Dr. Strangelove, and Boom!
Gus Van Sant
เกร็ด: ภาพยนตร์รอบดึก (Midnight Movie) ที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามในสหรัฐอเมริกาช่วงทศวรรษนั้น นอกจาก Pink Flamingos (1972) ยังมี Night of the Living Dead (1968), El Topo (1970), The Rocky Horror Picture Show (1975), Eraserhead (1977) ฯ
ปัจจุบัน Pink Flamingos (1972) และ Female Trouble (1974) ได้รับการบูรณะ ‘digital restoration’ คุณภาพ 4K ตรวจอนุมัติโดยผู้กำกับ John Waters แล้วเสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2022 หาซื้อ Blu-Ray และรับชมออนไลน์ได้ทาง Criterion Channel
Pink Flamingos is presented in director John Waters’ preferred aspect ratio of 1.66:1. Unlike original elements for some of Waters’ other early films — which were stored in a state-of-the-art, climate controlled vault at Warner Bros. — the 16mm Ektachrome positive scanned for this release was kept in his attic for the past five decades, and it is the same film Waters originally hot-spliced and edited to make the movie. It was scanned at 4K resolution on a Lasergraphics Director film scanner at Metropolis Post in New York.
ถ้าคุณชื่นชอบภาพยนตร์เรื่องนี้ ไม่ได้แปลว่ารสนิยมต่ำตม จิตใจสกปรกโสมม แต่อาจเพราะสามารถทำความเข้าใจศิลปะอันน่ารังเกียจ (Abject Art) รู้สึกเชยชินชากับเรื่องพรรค์นี้ และจะว่าไปหนังดูเพลิน มอบความบันเทิง โดยเฉพาะการแสดงดัดจริตของหม่อมแม่ Divine เก่งจริง! คนจริง! ไม่มีใครกล้าทำยิ่งกว่าเธออย่างแน่แท้!
เรื่องราวของหนังไม่ได้มีความซับซ้อน แต่ผมมองว่าเป็นความท้าทายของผู้ชม ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถอดรนทน ไม่จำเป็นที่เราต้องยินยอมรับการกระทำต่ำตม ครุ่นคิดให้ได้ว่าคืออะไร? ทำไปทำไม? ศิลปะไม่จำเป็นต้องสวยงาม แต่สามารถสร้างบางสิ่งอย่างให้เกิดขึ้นกับผู้พบเห็นภายใน
สำหรับคนที่สามารถอดรนทน หรือชื่นเชยชม Pink Flamingos (1972) แนะนำต่อกับ Female Trouble (1974) และ Desperate Living (1977) เหมารวมเรียกว่า ‘Trash Trilogy’
จัดเรต NC-17 กับสารพัดความต่ำตม ต้องใช้วิจารณญาณในการรับชม
Leave a Reply