Poetry (2010) , : Lee Chang-dong ♥♥♥♥
(8/9/2024) บทกวีรำพันความอัดอั้นตันใจ ผู้สูงวัยกำลังถูกทอดทิ้ง หลงลืมเลือน ล้มป่วยสมองเสื่อม (Alzheimer’s disease) แถมยังต้องเผชิญหน้าวิบากกรรมที่หลานชายกระทำเอาไว้ ชีวิตไม่เหลืออะไร ล่องลอยไปกับสายน้ำ
เวลาผมได้ยินข่าวคราวร้านหนังสือเลิกกิจการ ห้างใหญ่ๆ ร้านค้าดังๆปิดตัว มักชวนให้นึกถึง Poetry (2010) ภาพยนตร์ที่รำพันการถูกทอดทิ้ง ไม่ใช่แค่บทกวี/ผู้สูงวัย ยังเหมารวมสิ่งต่างๆเคยได้รับความนิยมในอดีต ปัจจุบันกำลังค่อยๆลบเลือนหาย เป็นไปตามยุคสมัย กาลเวลา เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น!
ผมพยายามครุ่นคิดว่า “ร้อยกรอง” ทำไมถึงเสื่อมกระแสลงในปัจจุบัน? ก็พบว่ามันอาจสะท้อนค่านิยมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป “ร้อยกรอง” หมายถึงคำประพันธ์ที่แต่งขึ้นโดยมีข้อบังคับหรือฉันทลักษณ์จำกัดคำและวรรคตอนให้สัมผัสกันตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้ แต่หนุ่มสาวคนรุ่นใหม่ไม่ชอบการบีบบังคับ ควบคุมครอบงำ จำกัดตนเองอยู่ภายใต้ขนบกฎกรอบ รูปแบบทางภาษา ฉันทลักษณ์ก็น่าจะเฉกเช่นเดียวกัน!
แม้บทกวีร้อยกรองจะเสื่อมความนิยมลงมากๆในปัจจุบัน แต่ไม่ได้หมายความว่ามันกำลังจะหมดสูญสิ้นไปจริงๆ นั่นเพราะบทกวีคือส่วนหนึ่งของภาษา ลูกเล่นที่ทำให้เกิดวิวัฒนาการ ในอนาคตรูปแบบ/ฉันทลักษณ์อาจเปลี่ยนแปลงไป หวนกลับมาได้รับความนิยมแล้วก็เสื่อมสูญหาย นั่นคือวัฏจักรชีวิต มีขึ้น-มีลง สูงสุด-ตกต่ำ ก่อนหวนกลับสู่สามัญ … ตราบใดที่มนุษย์ยังสามารถพูดสื่อสาร สุนทรียะของบทกวีก็จักคงอยู่ชั่วนิรันดร์
ทีแรกผมไม่ได้ครุ่นคิดจะปรับปรุงบทความ Poetry (2010) จนกระทั่งพบเห็นบ็อกเซ็ต The Poetry of Lee Chang-Dong: Four Films ประกอบด้วย Green Fish (1997), Peppermint Candy (1999), Oasis (2002) และ Poetry (2010) ทั้งหมดได้รับการบูรณะเรียบร้อยแล้ว เลยเปลี่ยนใจมาปิดท้ายด้วย “บทกวี” เรื่องนี้ก็แล้วกัน
Lee Chang-dong, 이창동 (เกิดปี ค.ศ. 1954) นักเขียนนวนิยาย/ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติเกาหลี เกิดที่ Daegu, North Gyeongsang (เมืองที่ขึ้นชื่อขวาจัด/อนุรักษ์นิยม) ในครอบครัวชนชั้นกลางระดับล่าง (Lower-Middle Class) ตระกูลขุนนางเก่า (Ex-Nobel) แต่ทว่าบิดากลับฝักใฝ่การเมืองฝั่งซ้าย (Socialist) มากด้วยอุดมการณ์ (Idealist) ปฏิเสธทำการทำงาน บีบบังคับให้ภรรยาต้องทำงานหนักหาเลี้ยงครอบครัว
โตขึ้นเข้าศึกษาต่อวรรณกรรมเกาหลี Kyungpook National University จบออกมาทำงานละคอนเวที ครูสอนหนังสือโรงเรียนมัธยมปลาย ตีพิมพ์นวนิยายเล่มแรก 戰利, Chonri (1983) ได้รับการติดต่อจากผู้กำกับ Park Kwang-su ชักชวนมาร่วมพัฒนาบทหนัง To the Starry Island (1993), A Single Spark (1995)
แม้ไม่เคยฝึกฝนร่ำเรียนเกี่ยวกับภาพยนตร์ แต่ประสบการณ์จากการกำกับ/เขียนบทละคอนเวที และตอนร่วมงานผกก. Park Kwang-su ยังขอติดตาม เรียนรู้งานในกองถ่าย เครดิตผู้ช่วยผู้กำกับ (First Assistant Director) จึงได้รับการผลักดันจนโอกาสกำกับภาพยนตร์เรื่องแรก Green Fish (1997), แล้วมาโด่งดังกับ Peppermint Candy (1999), Oasis (2002), Secret Sunshine (2007)
สำหรับ Poetry (2010) มีจุดเริ่มต้นจากผกก. Lee Chang-dong ได้ยินข่าวคราวนักเรียนหญิงวัยสิบสี่ ถูกรุมข่มขืนโดยรุ่นพี่มัธยมปลายเริ่มจาก 10 คน เพิ่มปริมาณถึง 44 คน (ถ่ายคลิปวีดิโอแบล็กเมล์) ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 2004 ณ เมือง Miryang, South Gyeongsang Province, South Korea
เกร็ด: เด็กนักเรียนหญิงคนนั้นไม่ได้ฆ่าตัวตายนะครับ เป็นสิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาในหนัง แต่ทำการสู้คดีจนถึงศาลสูงสุด ได้รับค่าเสียหาย ₩70 ล้านวอน ส่วนกลุ่มนักเรียนชายเหล่านั้นก็ถูกทัณฑ์บน ส่งเข้าสถานพินิจ ส่วนหัวโจ๊กสิบคนต้องโทษจำคุก 3-4 ปี
A few years ago, I learned about the gang rape of a local schoolgirl by teenage boys in a small town. The incident struck me, and stayed in my head for a while without really knowing why. Perhaps it was because the story was related to so many issues like the problems of youth, the future of society and morals in our everyday lives. So I thought about different ways to make a film about the incident — like a genre film tracing the root of the event. But I didn’t want to do that.
Lee Chang-dong
ในตอนแรกผกก. Lee Chang-dong ไม่ได้ครุ่นคิดอยากดัดแปลงสร้างภาพยนตร์จากเหตุการณ์ดังกล่าวโดยตรง จนกระทั่งระหว่างออกเดินทางไปญี่ปุ่น เข้าพักโรงแรม พบเจอรายการโทรทัศน์ที่นำเอาภาพทิวทัศน์ธรรมชาติมาร้อยเรียง คลอประกอบบทเพลงแนว New Age สำหรับสร้างบรรยากาศผ่อนคลาย ทันใดนั้นฉุกครุ่นคิดถึงเหตุการณ์เลวร้ายนั้น คำว่า “บทกวี” และภาพของหญิงสูงวัยปรากฎขึ้นในใจ
Then, one night in a hotel room while I was traveling in Japan, I was flipping through channels, and saw a program which was probably for sleepless travelers. It showed beautiful scenes of nature — a peaceful river, birds flying, fishermen on the sea — with soft new age music in the background. Then suddenly, it reminded me of that horrible incident, and the word “poetry” and the image of a 60-year old woman came up in my mind. That’s how I met with the story.
ผกก. Lee Chang-dong เริ่มต้นเขียนบทร่างแรกโดยมีภาพของ Yoon Jeong-hee นักแสดงเกาหลี(ใต้)ที่เคยมีชื่อเสียงโด่งดังในช่วงทศวรรษ 60s-70s เคยมีโอกาสพบเจอครั้งสองครั้งตามเทศกาลหนัง หลังได้รับคำยืนยันจากอีกฝ่าย ถึงเริ่มลงมือพัฒนาบทหนังอย่างจริง … คือถ้า Yoon Jeong-hee ไม่ตอบตกลง ก็ไม่ครุ่นคิดจะสร้างหนังเรื่องนี้!
In Korea there aren’t many actresses in their sixties who are able to carry the lead role like this, so there weren’t many people I could choose from. But even when I was thinking about the story and thinking about the film she already came to mind very naturally, so I kept thinking about her as the lead character.
Yoon Jeong-hee was a legendary actress who starred in over 300 films when she was young, but she left Korea after her marriage and hadn’t performed onscreen for 16 years. I was determined that the protagonist of this film had to be Yoon Jeong-hee even before I was writing Poetry; there were no alternatives. I only had met her personally once or twice in film festivals, but she felt like the real Mi-ja. I told her the story of the film when we were having dinner before I began writing the screenplay, in which she was very eager to play the part based on what I had told her.
หนังเรื่องนี้เป็นการร่วมทุนสร้างระหว่าง Next Entertainment World (South Korea) และ Diaphana Distribution (France) โดยไม่ได้รับการสนับสนุนใดๆจากรัฐบาลเกาหลีใต้ สาเหตุจากเมื่อตอนผกก. Lee Chang-dong ตอบตกลงปธน. Roh Moo-hyun ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงท่องเที่ยวและวัฒนธรรม (Culture and Tourism) ช่วงระหว่าง ค.ศ. 2003-04 เลยถูกแบล็กลิสต์จากขั้วการเมืองฟากฝั่งตรงข้าม
ตอนส่งบทหนังเรื่องนี้ไปยื่นของบประมาณจาก Korean Film Council (KOFIC) องค์กรที่อนุญาตทุนสร้างโปรเจคภาพยนตร์ที่มีแนวโน้มสร้างชื่อเสียงให้ประเทศชาติ หัวหน้าคณะกรรมการขณะนั้น Cho Hee-moon มอบคะแนน 0/10 ซึ่งตามกฎเกณฑ์ไม่มีทางที่ภาพยนตร์เรื่องไหนจะได้คะแนน 0 นั่นแสดงถึงการล็อบบี้ แบล็กลิสต์ ต้องมีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง
หนังเริ่มต้นระหว่างกลุ่มเด็กๆกำลังเล่นสนุกสนานริมฝั่งแม่น้ำ แล้วจู่ๆพบเห็นศพเด็กนักเรียนหญิงกำลังล่องลอยผ่าน!
เรื่องราวของ Yang mi-ja (รับบทโดย Yoon Jeong-hee) คุณย่าวัย 66 ปี เดินทางมาโรงพยาบาลรักษาอาการปวดเมื่อย แต่ทว่าหมอกลับมีความกังวลต่อความหลงๆลืมๆ อาจล้มป่วยโรคสมองเสื่อม/อัลไซเมอร์ เลยแนะนำให้ไปตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในโรงพยาบาลขนาดใหญ่
แม้ว่า Mi-ja ได้รับเงินสวัสดิการของรัฐ แต่เธอยังรับจ้างทำงานดูแลชายสูงวัย เพื่อนำเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับหลานชายวัย 16 ปี Joon-wook ที่ถูกมารดาทอดทิ้งไว้ (หลังหย่าร้างสามี เดินทางไปทำงาน Busan) นอกจากนี้เธอยังสมัครเข้าเรียนคอร์สแต่งกวี เพื่อเติมเต็มความฝันสมัยยังเป็นวัยรุ่นสาว
เหตุการณ์วุ่นๆวายๆเกิดขึ้นเมื่อบรรดาพ่อเพื่อนของ Jong-wook เชื้อเชิญ Mi-ja มาร่วมพูดคุย เปิดเผยเบื้องหลังเกี่ยวกับเหตุการณ์เด็กนักเรียนหญิงกระโดดน้ำฆ่าตัวตาย ว่าเกิดจากถูกกลุ่มนักเรียนชายร่วมกันข่มขืนกระทำชำเรา พวกเขาพยายามครุ่นคิดหาหนทางปิดข่าว ด้วยการจ่ายค่าสินไหมคนละ ₩5 ล้านวอน แต่เธอจะนำเงินก้อนใหญ่ขนาดนั้นมาจากไหนกัน???
Yoon Jeong-hee, 윤정희 ชื่อจริง Son Mi-ja, 손미자 (1944-2023) นักแสดงสัญชาติเกาหลี เกิดที่ Busan ขณะนั้นคือ Chōsen (ประเทศเกาหลีภายใต้การยึดครองของจักรวรรดิญี่ปุ่น) วัยเด็กชื่นชอบการร้องเพลง รวมถึงเคยฝึกฝนเต้นบัลเล่ต์ พอเติบใหญ่เข้าประกวดนางงามเป็นผู้ชนะ Miss Korea เมื่อปี ค.ศ. 1964, แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก Theatre of Youth (1967), จากนั้นเซ็นสัญญา Hapdong Film Company โด่งดังจนกลายเป็นหนึ่งในสาม ‘Troika’ นักแสดงหญิงแห่งยุค 1960s เคียงข้างกับ Moon Hee และ Nam Jeong-im ตลอดชีวิตมีผลงานการแสดงกว่า 330+ เรื่อง อาทิ New Place (1979), Woman in Crisis (1987), Manmubang (1994), ก่อนทิ้งท้ายด้วย Poetry (2010)
รับบท Yang mi-ja, 양미자 คุณย่าวัย 66 ปี กำลังเริ่มหลงๆลืมๆ ล้มป่วยโรคอัลไซเมอร์ แต่ชีวิตยังเต็มไปด้วยภาระ ต้องทำงานหาเงิน เลี้ยงดูแลหลานไม่เอาถ่าน ถึงอย่างนั้นพยายามมองหาเวลาว่าง เดินทางไปร่ำเรียนแต่งบทกวี เพื่อเติมเต็มความฝันเมื่อครั้นยังเป็นวัยรุ่น
เกร็ด: ผกก. Lee Chang-dong เลือกชื่อตัวละคร Mi-ja, 미자 ที่แปลว่า Beauty โดยเพิ่งมารับรู้ภายหลังว่า Yoon Jeong-hee มีชื่อจริงเดียวกัน Son Mi-ja และตอนนั้นเธอยังมีอาการอัลไซเมอร์อ่อนๆ แบบเดียวกับตัวละคร … นี่มันโชคชะตาล้วนๆเลยนะ!
วงการภาพยนตร์เกาหลีใต้ในช่วงทศวรรษ 60s-70s ผมอ่านเจอว่าคล้ายๆหนังไทยยุค 16 mm. (พ.ศ. ๒๔๙๐-๒๕๑๕) นักแสดงก้มหน้าก้มตาทำงานหามรุ่งหามค่ำ เช้าถ่ายหนังเรื่องหนึ่ง เย็นถ่ายหนังอีกเรื่องหนึ่ง ไม่มีการบันทึกเสียงสด ให้นักพากย์ทับเอาภายหลัง เลยไม่น่าแปลกใจที่ Yoon Jeong-hee ในระยะเวลาไม่ถึงสิบปีจึงมีผลงานกว่า 300+ เรื่อง! แต่นั่นต้องแลกมากับการไม่มีเวลาว่าง ไม่มีชีวิตส่วนตัว ซึ่งพอเธอถึงจุดอิ่มตัว เลยตัดสินใจทอดทิ้งวงการภาพยนตร์ แต่งงาน แล้วย้ายไปปักหลักอาศัยอยู่ฝรั่งเศสกับสามี
การทำงานหามรุ่งหามค่ำในยุคสมัยนั้น เป็นไปได้ยากที่จะคาดหวังการแสดงอันโดดเด่น แทบทั้งหมดล้วนเป็น Stereotypes หรือ Typecast เล่นบทบาทเดิมๆซ้ำๆ ไม่มีความแปลกใหม่ ไม่มีความท้าทาย (เพราะต้องรับบทที่เป็นภาพจำ จึงไม่สามารถปรับเปลี่ยน พลิกบทบาท หรือทำอะไรนอกเหนือกว่านั้น) นั่นคือเหตุผลที่ Yoon Jeong-hee ยินยอมตอบตกลง Poetry (2010) เล็งเห็นโอกาส บทบาทที่สามารถทำสิ่งแตกต่าง เติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน และยังสามารถแทรกใส่ความเป็นตัวของตนเอง … ครั้งแรก ครั้งเดียว และครั้งสุดท้ายในชีวิต!
I’ve always had the desire to show people different aspects of my acting and (Lee) provided me with every opportunity to do just that.
Yoon Jeong-hee
เกร็ด: ช่วงวันถ่ายทำแรกๆ ผกก. Lee Chang-dong แอบกังวลว่า Yoon Jeong-hee อาจพบเจอประสบการณ์ ‘Cultural Shock’ ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับวิถีภาพยนตร์ยุคสมัยใหม่ แต่เธอไร้ปัญหาใดๆในการปรับตัว พร้อมให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มีความกระตือลือร้น เชื่อมั่นในทิศทางของผู้กำกับ
When she was in her prime, there was no sync dialogue in film, so every line had to be dubbed and the acting had to be much more grandiose… I worried about potential clashes with her during the shoot, but she performed her scenes with a willingness to discuss and this is something that’s difficult to find even in younger actors… She succeeded in living as Mi-ja rather than acting as Mi-ja.
Lee Chang-dong
การแสดงของ Yoon Jeong-hee ถือได้ว่าเป็นจิตวิญญาณของหนัง ภายนอกพยายามทำตัวร่าเริง แจ่มใส แต่งกายเหมือนสมัยวัยรุ่น แต่ภายในเต็มไปด้วยความโดดเดี่ยวเดียวดาย ไม่มีเพื่อน ไม่มีญาติพี่น้อง แม้แต่บุตรสาวที่อุตส่าห์เรียกว่า “Eternal Friend” ก็ไม่เคยทำความเข้าใจ เลยกลายเป็นคนเก็บกด อดกลั้น เคร่งเครียดกับอะไรๆหลายสิ่งอย่างจนไม่สามารถครุ่นคิดหาแรงบันดาลใจ (Poetic Inspiration) หลายครั้งเมื่ออดรนทนไม่ไหว ก้าวออกไปภายนอก เหม่อมองดอกไม้ข้างทาง หลงใหลความงามธรรมชาติ พร่ำพูดถ้อยคำเรื่อยเปื่อย ฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่คือการปลดปล่อยทางจิตวิญญาณ โหยหาความสุขสงบทางใจ
When I first thought of the character Mija I wrote her down as ‘Wearing a hat and a fancy scarf, she looks like a girl going on a picnic’. The description ‘like a girl’ was important in showing her character. She may be an old lady, but she is like a little girl inside. She is innocent and naive, like a child who wonders about everything that the child sees for the first time.
Mi-ja is a woman completely alienated from the world. She doesn’t have any close friends, is unable to have a conversation with her grandson who lives with her, and doesn’t even understand her daughter whom she calls “her eternal friend.” This worn-out world treats her childlike innocence as gullible foolishness. Though she was isolated from the world, she holds curiosity about her surroundings. In other words: she holds a sensitive empathy towards the pain of others. She could write poems because she had that. Empathizing with the pain of others is the starting point for every writer and artist.
หนังแทบไม่เคยพูดเล่าพื้นหลังตอนเธอยังเป็นสาวๆ แต่เราสามารถสังเกตจากวิถีชีวิต ความครุ่นคิด พฤติกรรมในปัจจุบันของตัวละคร เป็นคนเงียบๆ ไม่ชอบแสดงออกทางอารมณ์ (เพียงครั้งเดียวเท่านั้นกล่าวตำหนิหลานชาย) นั่นแสดงถึงการเติบโตในครอบครัวที่เคร่งครัด ยึดถือมั่นในขนบวิถี สตรีคือช้างเท้าหลัง ถูกเสี้ยมสอนไม่ให้พูดบอก แสดงออก ปิดกั้นความรู้สึก ก้มหัวศิโรราบต่อสามี/บุรุษเพศ รวมถึงเผด็จการทหารในเกาหลี(ใต้)
เมื่อก้าวย่างสู่วัยชรา ทำให้โหยหาช่วงเวลาวัยเด็ก ตัดสินใจเข้าเรียนเขียนบทกวี เติมเต็มสิ่งที่เคยเพ้อใฝ่ฝัน (ก็เหมือนกับ Yoon Jeong-hee รับงานแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ เพื่อพิสูจน์การเป็นนักแสดง) จนท้ายที่สุดสามารถปลดปล่อยตนเองจากทุกสิ่งอย่าง … การร่วมเพศสัมพันธ์กับชายสูงวัยก็ถือเป็นการปลดปล่อยอย่างหนึ่งเช่นกัน!
ถึงผมจะไม่เคยรับชมผลงานเรื่องอื่นๆของ Yoon Jeong-hee แต่ก็สามารถบอกได้ว่านี่คือบทบาทยอดเยี่ยมที่สุดในชีวิต! ตัวละครมีความอ่อนไหว อ่อนโยน แต่ทุกสิ่งอย่างรอบข้างกลับพยายามเซาะกร่อน บ่อนทำลายจิตวิญญาณอันบริสุทธิ์ เกาหลีใต้เป็นอย่างนี้มา 4-5 ทศวรรษแล้ว คุณยายจึงเริ่มปล่อยวาง ทอดทิ้งทุกอย่าง ถึงเวลาที่เธอจะพักผ่อนเสียที
ถ่ายภาพโดย Kim Hyun-seok, 김현석 (เกิดปี ค.ศ. 1977) สำเร็จการศึกษาภาพยนตร์ Korea National University of Arts ผลงานเด่นๆ อาทิ A Brand New Life (2009), Poetry (2010), So Long, My Son (2019), Beyond Utopia (2023) ฯ
แม้เรื่องราวของหนังจะมีความมืดหม่นอย่างมากๆ (ผู้สูงวัยถูกทิ้งขว้าง, เด็กหญิงฆ่าตัวตาย, ถูกกลุ่มเด็กชายรุมข่มขืนกระทำชำเรา ฯ) แต่ทุกช็อตฉากนำเสนอผ่านมุมมองของ Yang Mi-ja กลับดูสว่างสดใส ใช้แสงธรรมชาติ แทบไม่มีความมืดเข้าปกคลุม กล้องค่อยๆเคลื่อนไหล ดำเนินไปอย่างเอื่อยเฉื่อย ตามวิถีผู้สูงวัย ‘Slow Life’ สร้างบรรยากาศสมจริง (Realist)
หนังใช้เวลาโปรดักชั่นประมาณ 3-4 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม สิ้นสุดวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 2009 โดยออกเดินทางไปถ่ายทำยังจังหวัด Gyeonggi และ Gangwon ทางตอนเหนือของเกาหลีใต้ (คนละทิศทางกับ Miryang, South Gyeongsang Province ที่อยู่ทางตอนใต้)
หลังจากพบเห็นศพล่องลอยมาตามแม่น้ำ ฉากถัดมามีรายงานข่าวโทรทัศน์ มารดากำลังร่ำไห้ถึงการเสียชีวิตของบุตรชาย ทั้งสองเหตุการณ์ไม่ได้มีความต่อเนื่องอะไรกัน ผู้เสียชีวิตไม่ใช่คนตายในข่าว แต่นี่คือลักษณะของ ‘กวีภาพยนตร์’ ทำการเชื่อมโยงเหมือนสัมผัสนอกของบทกวี ต่างนำเสนอความตายที่ไม่คาดคิด (แม้ในโทรทัศน์จะทำเหมือนบุตรชายยังมีชีวิตอยู่ก็ตามเถอะ)
หนึ่งในลายเซ็นต์ของผกก. Lee Chang-dong ชอบถ่ายภาพมุมกว้าง รายล้อมรอบด้วยผู้คน ให้อิสระผู้ชมจับจ้องมองหาตัวละคร ซุกซ่อนอยู่แห่งหนไหน Where’s Wally? จุดประสงค์เพื่อให้เขาหรือเธอคนนั้น เป็นตัวแทนบุคคลทั่วๆไป
ภาพแรกของ Yang Mi-ja นั่งอยู่ท่ามกลางฝูงชน! คนที่เพิ่งรับชมหนังครั้งแรก ยังจดจำใบหน้าไม่ได้ ย่อมต้องพยายามจับจ้องมองหา ถ้าไม่เพราะโทรศัพท์ดังขึ้นมา คงตอบไม่ได้ว่าคือใคร? นั่งอยู่ตรงไหน? รายล้อมรอบด้วยผู้สูงวัย … เคลือบแฝงนัยยะ Yang Mi-ja คือตัวแทนของผู้สูงวัยเหล่านี้แหละ!
นี่ก็อีกลายเซ็นต์ผกก. Lee Chang-dong หลังเสร็จจากหาหมอ Yang Mi-ja เดินคุยโทรศัพท์ออกจากโรงพยาบาล แล้วจู่ๆพบเห็นผู้หญิงคนหนึ่งกำลังร่ำร้องไห้ กรีดกราย โหวกเหวกโวยวาย เพราะเพิ่งสูญเสียบุตรสาวเลยยังไม่สามารถทำใจ ลีลาการนำเสนอเพียงกล้องสั่นๆ แบกขึ้นบ่า เดินไปเดินมา ใช้เพียงแสงธรรมชาติ ถ่ายภาพมุมกว้าง สร้างสัมผัสความสมจริง (Realist) โศกนาฎกรรมล้วนบังเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน … ความสัมพันธ์ระหว่าง Yang Mi-ja และหญิงสาวคนนี้ก็เฉกเช่นกัน
- ระหว่างที่ Yang Mi-ja เดินคุยโทรศัพท์ออกจากโรงพยาบาล กล้องเคลื่อนถอยหลัง จับภาพเธอคือจุดศูนย์กลาง
- แต่พอเริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติของหญิงสาวคนนั้น มีการปรับเปลี่ยนมาจับจ้องอีกฝ่ายกลายเป็นจุดศูนย์กลาง กล้องเคลื่อนหมุนติดตามจนครบรอบ 180 องศา (ทิศทางตรงกันข้ามกับตอน Yang Mi-ja เดินเข้ามา)
สำหรับคนที่ช่างสังเกต ย่อมพบเห็นภาพสะท้อนบนจอโทรทัศน์ ผมค่อนข้างรู้สึกว่าเป็นความจงใจ เพราะทีมงานกระจุกรวมอยู่ตำแหน่งเดียวกัน (ภายในกรอบภาพสะท้อนบนจอโทรทัศน์) แต่ก็ไม่รู้เคลือบแฝงนัยยะอะไร
หนังไม่มีคำอธิบายใดๆเกี่ยวกับชายสูงวัยคนนี้ แต่เราสามารถสังเกตสิ่งต่างๆรอบห้อง น่าจะเคยเป็นบุคคลมีชื่อเสียง ประสบความสำเร็จ เป็นเจ้ากิจการ ฐานะมั่งคั่ง คว้ารางวัลอะไรก็ไม่รู้มากมาย โล่ เหรียญทอง ประกาศนียบัตร ฯ แต่พอเราแก่ตัวลง สะดุดลื่นล้ม กลายเป็นอัมพาต/พิกลพิการ (อันนี้ผมคาดเดาเองนะครับ สังเกตจากท่าทางหงิกงอๆ น่าจะล้มป่วยอะไรบางอย่าง) สิ่งต่างๆเหล่านั้นก็ไม่หลงเหลือความสลักสำคัญอะไร แค่ตาแก่ช่วยตนเองไม่ได้ … สูญสิ้นกระทั่งความเป็นลูกผู้ชาย
ในห้องนอนของหลานชาย Jong-wook พบเห็นโปสเตอร์ Death Note, เกม Archlord, (ไม่แน่ใจว่าโปสเตอร์ L’Arc-en-Ciel หรือเปล่า?) สิ่งต่างๆแปะรอบห้องล้วนมีความ Dark, Heavy, สามารถบ่งบอกตัวตน สภาวะทางอารมณ์ของเขาได้ระดับหนึ่ง
ทิวทัศน์ภายนอกห้องเรียนคอร์สเขียนบทกวีช่างไม่ธรรมดา มองออกไปภายนอกพบเห็นขุนเขา แม่น้ำ สะพานแขวน ตึกรามบ้านช่อง ฯ ถือเป็นสถานที่เหมาะสำหรับค้นหาแรงบันดาล (Poetic Inspiration) เพราะการจะครุ่นคิดเขียนบทกวีได้นั้น เราต้องพยายามสังเกตสิ่งต่างๆรอบข้าง ล้วนซุกซ่อนความงดงามอยู่ภายใน
บางคนอาจมองคำพูดประโยคนี้ ก็แค่วลี คำคม ถ้อยคำรำพัน “Apple are better for eating than looking at” แต่มันก็ถือเป็นกวีนิพนธ์รูปแบบหนึ่ง ภาษาดิ้นได้ ไม่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้กฎกรอบ ฉันท์ลักษณ์ เพียงมีความงดงาม และความหมายซุกซ่อนภายใน
Yang Mi-ja ถูกพามาพูดคุยกับผู้ปกครองคนอื่นๆ รับฟังสิ่งชั่วร้ายที่ลูกๆของพวกเขาได้กระทำ รุมข่มขืนกระทำชำเราเด็กนักเรียนหญิงที่กระโดดน้ำฆ่าตัวตาย เพราะเพิ่งได้รับรู้ความจริงจึงทำให้เธอเกิดปฏิกิริยาตกตะลึง คาดไม่ถึง ไม่รู้จะทำอะไรยังไง จึงขอตัวออกไปชมนกชมไม้ภายนอกร้าน ยังทำใจไม่ได้กับเรื่องราวได้ยิน
ดอกหงอนไก่ (Cockscomb) คือสัญลักษณ์ของการปกป้อง ซึ่งในบริบทนี้เหมารวมบรรดาผู้ปกครองเหล่านี้ที่พยายามหาหนทางช่วยเหลือบุตรหลาน จ่ายเงินปิดปากเพื่อไม่ให้พวกเขาสูญเสียอนาคต แต่นั่นคือการ “Overprotection” ลูกของฉันทำอะไรไม่ผิด ดอกสีแดง มือเปื้อนเลือด นั่นไม่ใช่วิถีทางถูกต้องเลยสักนิด!
ในบรรดาผู้ปกครองกลุ่มเด็กชายทั้งหมด นอกเสียจาก Yang Mi-ja ไม่มีใครเดินทางมาร่วมงานศพของ Park Hee-jin นั่นแสดงถึงความไม่ยี่หร่า ไม่รู้สาสำนึกผิดอะไรใดๆ พวกเขาเหล่านั้นสนเพียงเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หายนะครั้งนี้ ไม่เคยครุ่นคิดถึงหัวอก ความรู้สึกของมารดาผู้เสียชีวิตเลยสักนิดเดียว!
ชาวคริสเตียนในอดีต มองอัตวิบาตคือบาปหนัก (Mortal Sin), ผิดบัญญัติ Thou shalt not kill และยังดูหมิ่นศาสนา (Blasphemy) เพราะร่างกายมนุษย์คือสมบัติของพระเจ้า การฆ่าตัวตายจึงเหมือนโจมตีพระองค์ ด้วยเหตุนี้โบสถ์คาทอลิกจึงไม่อนุญาตให้ประกอบพิธีศพ รวมถึงฝังในสุสาน … แต่มุมมองชาวคริสเตียนปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนไปมาก เพราะเงื่อนไขการฆ่าตัวตายที่ซับซ้อนมากขึ้น ให้การยกเว้นในกรณีมีปัญหาทางจิต ได้รับอิทธิพลทางอารมณ์อย่างรุนแรง (Grave Psychological Disturbances) รวมถึงความตายที่ดี/การุณยฆาต (Euthanasia) จักได้รับอนุญาตให้ประกอบพิธีศพ รวมถึงฝังในสุสานของชาวคริสเตียน
ปล. แม้จะเพิ่งสรรค์สร้าง Secret Sunshine (2007) ตั้งคำถามถึงความเชื่อศรัทธา องค์กรศาสนา แต่เพราะมันคือส่วนหนึ่งของชาวเกาหลีใต้ไปเรียบร้อยแล้ว จึงไม่สามารถตัดทิ้งความสัมพันธ์ดังกล่าว
คาบเรียนคอร์สแต่งบทกวี มีการให้ผู้เข้าร่วมพูดเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ความทรงจำอันงดงาม เผื่อว่าจะสามารถกลายเป็นแรงบันดาลใจ (Poetic Inspiration) ให้กับเพื่อนสมาชิก ครุ่นคิดแต่งบทกวีได้สำเร็จ และแน่นอนว่าทุกเรื่องเล่าย่อมเคลือบแฝงนัยยะ เชื่อมโยงสัมพันธ์อะไรบางอย่างกับตัวละคร/เรื่องราวของหนัง ยกตัวอย่าง
- ผู้หญิงคนแรกเล่าความทรงจำวัยเด็ก ได้รับการเลี้ยงดูโดยคุณย่า
- สอดคล้องกับเด็กชาย Jong-wook ได้รับการเลี้ยงดูโดยคุณย่า Yang Mi-ja
- ผู้หญิงคนที่สองเล่าถึงการแต่งงานตอนมีอายุ ยังคงจดจำช่วงเวลาตอนคลอดบุตร
- ชายคนที่สามบอกไม่ได้มีช่วงเวลาน่าประทับใจมากมาย แค่ตอนย้ายออกจากอพาร์ทเม้นท์ชั้นใต้ดิน รับรู้สึกเหมือนชีวิตได้รับการปลดปล่อยอิสรภาพ
- ผมแอบนึกถึงภาพยนตร์ Green Fish (1997) ที่ผกก. Lee Chang-dong ย้ายอพาร์ทเม้นท์ไปปักหลักอาศัยอยู่ในเมือง Ilsan New Town คงเทียบแทนความรู้สึกคล้ายๆกัน
- ผู้หญิงคนถัดไป ระหว่างชื่นชมความงามดอกไม้ พูดกล่าวออกมาโดยไม่รู้ตัว “How pretty you are”
- นี่สะท้อนความชื่นชอบดอกไม้ของ Yang Mi-ja
- ผู้หญิงถัดไปกล่าวถึงความสัมพันธ์ชู้สาวกับชายที่มีคู่ครองอยู่แล้ว
- เรื่องชู้สาวน่าจะสะท้อนเหตุการณ์บังเกิดขึ้นกับบุตรสาวของ Yang Mi-ja (มารดาของ Jong-wook) เหตุผลที่หย่าร้างสามี
- คนสุดท้าย Yang Mi-ja หวนระลึกถึงพี่สาวผู้ล่วงลับ ความทรงจำแรกที่อีกฝ่ายร้องเรียกหา
- ผมแอบรู้สึกเหมือนลางบอกเหตุ คนตายเรียกคนเป็นให้ไปหา ราวกับว่าใกล้หมดเวลาชีวิต
ระหว่างนั่งดูหลานชายเตะฟุตบอล ได้ยินเสียงนกร้องดังขึ้นกึกก้อง จนทำให้ Yang Mi-ja เขียนข้อความ “The sound of bird’s singing, what are they singing?” บางคนอาจมองว่านี่ก็แค่ประโยคคำถามธรรมดาๆทั่วไป? แต่มันคือบทกวีที่มีความลุ่มลึกล้ำ ทำให้เราสามารถครุ่นคิดต่อยอด ทำไมนกถึงส่งเสียงร้อง? หนังกำลังจะบอกอะไรเรา?
หลังจากเขียนกลอนบทนี้ คุณย่าก้าวเดินไปยังห้องแลปวิทยาศาสตร์ สถานที่ก่อเหตุของบรรดากลุ่มเด็กชาย ขณะนี้มันอาจไม่อะไร แต่คุณลองถามตัวเองว่าจะบังเกิดปฏิกิริยา ความรู้สึกเช่นไร??? … อารมณ์ประมาณ Shoah (1985) โคตรสารคดีที่นำพาผู้ชมไปสำรวจสถานที่ที่เคยถูกใช้เป็นค่ายกักกันนาซี เข่นฆ่าล้างชาวยิวมากมายนับไม่ถ้วน
Yang Mi-ja เดินทางมารับฟังการอ่านบทกวี (Poetry Recital) สถานที่แห่งนี้เต็มไปด้วยนักกวีมืออาชีพ ประพันธ์บทกลอนที่ไม่เพียงงดงาม แต่ยังอธิบายเบื้องหลัง ที่มาที่ไป แรงบันดาลใจ เพื่อให้ผู้ฟังพบเห็นความงดงาม เข้าใจนัยยะความหมายอย่างลึกซึ้ง
To write poetry is to wake alone deep in the night weeping
It is to build a solid cornerstone to raise a pillar in your broken heart
It is to calm the bare corner of the window, shaking all night, with all your might
It is to empty out without hesitation the rancid water that keeps rising
It is to create a forest of empty void
สำหรับที่ยังอ่านไม่เข้าใจ ลองให้เวลากับกลอนบทนี้สักหน่อยนะครับ เป็นความพยายามเปรียบเทียบการแต่งบทกวีกับคนอกหักที่สามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่ ก้าวผ่านช่วงเวลาแห่งความเจ็บปวดรวดร้าว ด้วยการสร้างเสาหลักต้นใหม่ขึ้นภายในหัวใจที่แตกสลาย ทำให้อาการสั่นไหวหยุดสงบ ธารน้ำตาแห้งเหือด และฟื้นคืนชีพจากขุมนรก (ผมตีความผืนป่า = สัญลักษณ์แทนชีวิต, ความว่างเปล่า = ความตาย)
ในบรรดานักอ่านบทกวี ผลงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ Park Sang-tae ถือว่าสร้างสีสัน เต็มไปด้วยถ้อยคำสองแง่สองงาม ที่ถ้าคุณไม่เข้าใจภาษาเกาหลี ก็คงมิอาจเข้าถึงความสรรพลี้หวน
Don’t try to steal me
The day thorns within me rise like goosebumps all over my body
l dream of self-obliteration with a crimson smile
Don’t try to break me for being beautiful
The kiss on red lips is the desperate passion for virginity
Do not love me anymore
As the seasons’ wheels keep rolling on
คำแปลนี้แม้งไม่ได้เรื่องสักเท่าไหร่ โชคดีว่ามีคำอธิบายหลังการอ่าน ซึ่งผมพอจับใจความได้ถึง “Kiss on red lips” สามารถสื่อได้ทั้งรอยจูบ (ที่ทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศ) ริมฝีปากสัมผัสกัน = รถพุ่งชนกัน (Park Sang-tae เพิ่งออกจากโรงพยาบาลเนื่องจากประสบอุบัติเหตุรถพุ่งชนกัน) … เช่นนั้นแล้ว ‘Thorns within me’ ก็อาจมีความหมายสองแง่สองง่าม ดอกกุหลาบ/ความเจ็บปวดภายในจิตใจ และไอ้จ้อนที่อยู่ระหว่างขา โชคดีว่าแค่ขาหัก ไม่ได้ถูกของรักของสงวน ชีวิตจึงยังสามารถดำเนินต่อไป (ฤดูกาลเคลื่อนผันแปรเปลี่ยน)
ภายหลังจาก Park Sang-tae อ่านบทกวีที่มีความสองแง่สองง่ามถึงไอ้จ้อนระหว่างขา ซีเควนซ์ถัดมาชายสูงวัยก็แอบรับประทานยาไวอาก้า ทำให้เกิดอาการคึกคะนอง ของขึ้น เรียกร้องขอร่วมเพศสัมพันธ์กับ Yang Mi-ja อยากได้ความเป็นลูกผู้ชายกลับคืนมา! … นี่ถือเป็นความต่อเนื่อง เชื่อมโยง สัมผัสของกวีภาพยนตร์
แม้เกาหลีใต้เป็นหนึ่งในประเทศพัฒนาแล้ว แต่ทว่าความเจริญยังกระจุกตัวอยู่เฉพาะเมืองใหญ่ Seoul, Busan ฯ การสาธารณสุขก็เช่นเดียวกัน Yang Mi-ja ยังต้องเดินทางเข้าเมือง/โรงพยาบาลขนาดใหญ่ เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคเฉพาะทาง
ดอกคามิเลีย (Camellia) มักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แทนความรัก ความปรารถนา ตัณหา (Love, Passion, Desire) ถือเป็นดอกไม้มีความโรแมนติกที่สุด แต่สีแดงอาจแทนด้วยความเจ็บปวด สะท้อนสิ่งที่ Yang Mi-ja กำลังจะได้ยินจากคำวินิจฉัยของหมอ ล้มป่วยโรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้น
ระหว่างนั่งรถโดยสารกลับบ้าน เหม่อมองข้างทาง เขียนบทกวีสั้นๆ “Time passes and Flowers fade” ในบริบทนี้เราสามารถเปรียบเทียบ Yang Mi-ja กับดอกไม้ที่กำลังแห้งเหี่ยว ร่วงโรยรา สีสันเจือจางลงตามกาลเวลา และยังรวมถึงความทรงจำของเธอที่ค่อยๆเลือนหาย (จากโรคอัลไซเมอร์)
Yang Mi-ja ให้รถโดยสารหยุดจอดตรงสะพาน Sansugyo Bridge ข้ามแม่น้ำ Hongcheon River (แตกแขนงมาจาก Han River) คาดว่าคือสถานที่ที่เด็กหญิง Park Hee-jin กระโดดน้ำฆ่าตัวตาย … ผมแอบรู้สึกว่าสถานที่แห่งนี้มีบรรยากาศละม้ายคล้าย Peppermint Candy (1999) กอปรด้วยสะพาน(รถไฟ) ข้ามลำธาร สามารถลงไปเดินเล่นริมตลิ่ง ช่างเป็นสถานที่เหมาะแก่การฆ่าตัวตายยิ่งนัก!
ผมมองซีนนี้คล้ายๆตอนที่ Yang Mi-ja แอบดูห้องแล็ปวิทยาศาสตร์ ด้วยความอยากรู้อยากเห็น เดินทางไปยังสถานที่เกิดเหตุโศกนาฎกรรม เพื่อจดบันทึก เขียนกวีรำพัน แต่บางคนจินตนาการว่าเธอกำลังวางแผนครุ่นคิดสั้น อันเนื่องจากสารพัดปัญหาถาโถมเข้าใส่ หมวกปลิดปลิวร่วงหล่นคือพยากรณ์ความตาย/จิตวิญญาณล่องลอยไปกับสายน้ำ
ในบรรดาบทกวีนิพนธ์ทั้งหมดของ Yang Mi-ja ผมครุ่นคิดว่าฉากนี้มีความงดงาม ทรงพลังที่สุด! หยาดฝนพรำลงบนกระดาษเปล่า ไม่จำเป็นต้องสรรหาถ้อยคำมาบรรยายความรู้สึกเศร้าโศกเสียใจ ความตายของเด็กหญิง Park Hee-jin เพียงหยดน้ำแทนคราบน้ำตา พรั่งพรูออกมาจากจิตวิญญาณ
ถ้าคุณสามารถทำความเข้าใจ ‘สาสน์’ ของกระดาษแผ่นนี้ ก็แสดงว่าเข้าถึงบทกวี/ภาพยนตร์ระดับสูงแล้วนะครับ!
ในสภาพเปียกปอน ซึมเศร้าโศกเสียใจ Yang Mi-ja เดินทางมาหาชายสูงวัย ยินยอมตอบรับการร่วมเพศสัมพันธ์ ให้เขารับประทานยาไวอาก้า แล้วพาเข้าห้องอาบน้ำ ท่าลิงอุ้มแตง เธอนั่งขยับโยกตัวอยู่ด้านบน (แสดงถึงฝ่ายหญิงเป็นคนควบคุมทุกสิ่งอย่าง)
บางคนอาจรับไม่ได้กับฉากนี้ เพราะทั้งสองไม่ใช่คู่รัก ไม่ใช่สามี-ภรรยา เพียงนายจ้าง-คนรับใช้ แก่แล้วไม่รู้จักเจียมสังขาร แต่มันผิดอะไรเหรอครับ? ตัณหาราคะมันมีกรอบอายุด้วยฤา? และโดยเฉพาะบุรุษที่เคยยิ่งใหญ่ พอแก่ตัวช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ย่อมโหยหาตัวตนเองในอดีต อยากสำแดงความเป็นลูกผู้ชายออกมา
หลายคนตั้งคำถามถึงการกระทำของ Yang Mi-ja คิดเผื่ออนาคตที่จะใช้เหตุการณ์นี้มาแบล็กเมล์ หาเงินจ่ายค่าสินไหม? หรือแค่แรงกระตุ้นบางอย่างในตัวเธอ ต้องการปลดปล่อยตนเองสู่อิสรภาพ (ไคลน์แม็กซ์ระหว่างเพศสัมพันธ์ คือสัญลักษณ์การปลดปล่อย ราวกับโบยบินสู่สรวงสวรรค์) … ผมค่อนไปทางคำตอบหลัง เพราะสภาพจิตใจขณะนี้ของ Yang Mi-ja กำลังซึมเศร้าโศก น่าจะใช้เพศสัมพันธ์ระบายอารมณ์อัดอั้นภายในออกไปมากกว่า
It’s hard to define her character in concrete terms. But before the incident between her and Kang, we see her wandering around the river where a young girl had died. We know the girl is a victim of gang rape by Mi-ja’s grandson and his friends. Then, almost immediately after, Mi-ja makes an important decision to fulfill the wish of an old neighbor who wants to be a man for once before he dies. The audiences are left to make their own decisions about Mi-ja’s intention. Sympathy might have driven her, but she could’ve done it to ask for money later. That is Mi-ja’s secret, and also the film’s secret.
Lee Chang-dong
Yang Mi-ja ได้รับมอบหมายให้ไปพูดคุยเรื่องค่าสินไหมชดใช้กับมารดาของเด็กหญิง Park Hee-ji แต่ทว่าเธอกลับเดินชมนกชมไม้ ลุ่มหลงใหลผลแอปริคอตที่ร่วงหล่นลงพื้น หยิบขึ้นมากัดกิน รำพันบทกวี
The apricot throws itself to the ground,
it is crushed and trampled for it’s next life.
ในสวนอีเดน แอปริคอต (Apricot) คือสัญลักษณ์แทนองค์ความรู้ดี-ชั่ว (Knowledge of Good and Evil) ความอุดมสมบูรณ์ (Abundance) ภูมิปัญญา (Wisdom) ความอดทน (Patience) และเริ่มต้นชีวิตใหม่ (New Beginnging)
ความหมายจากบทกวี ผลแอปริคอตร่วงหล่นลงพื้น = เด็กสาวกระโดดน้ำฆ่าตัวตาย เพราะเคยถูกบดขยี้ ทำให้ป่นปี้ (จากการโดนรุมข่มขืน) หลังจากนี้เลยกำลังจะเริ่มต้นภพภูมิใหม่, หรือจะเปรียบเทียบสภาพจิตใจของ Yang Mi-ja ที่ถูกสารพัดเหตุการณ์เลวร้ายถาโถมเข้าใส่ ตกอยู่ในความหมดสิ้นหวังอาลัย อยากปลดปล่อยตนเองจากพันธนาการเหนี่ยวรั้ง (ความตาย/จิตวิญญาณออกจากร่าง สามารถสื่อถึงการได้รับอิสรภาพชีวิต)
เพราะมัวแต่ครุ่นคิดถึงผลแอปริคอต ชื่นชมความงดงามธรรมชาติ รังสรรค์สร้างกวีนิพนธ์ จนทำให้ Yang Mi-ja หลงลืมหน้าที่ของตน ว่าต้องมาพูดคุยเรื่องค่าสินไหมชดใช้กับมารดาของเด็กหญิง Park Hee-ji ประเด็นคือเธอเพิ่งนึกขึ้นได้หลังคุยจบ? หรือไม่รับรู้ตนเองว่ามาสถานที่แห่งนี้ทำไม?
หลายคนน่าจะครุ่นคิดอย่างแรกว่า Yang Mi-ja เพิ่งมาระลึกได้ตอนจบ แล้วไม่รู้จะพูดคุยต่อรองอะไรกับแม่ของเด็กหญิง จึงใช้ข้ออ้างบอกกับคนอื่นว่าไม่พบเจอใคร, แต่ผมกลับคิดเห็นแบบหลัง เพราะอาการอ้ำๆอึ่งๆ นั่งงงๆอยู่ตรงป้ายรถเมล์ มันเหมือนอัลไซเมอร์กำเริบ จดจำไม่ได้ว่าฉันมาสถานที่แห่งนี้ทำไม? … อันนี้แล้วแต่จะตีความเลยนะครับ ไม่มีถูกไม่มีผิด คืออิสระที่ได้ครุ่นคิด
Die as you love
To the point that the Vairocana Buddha hangs suspended by a fingerDie as you wait
To the point that the Amitabha Buddha severs its head to use as a pillowUntil dawn passes the iron bell for offerings to Buddha does not ring
I sit by the columns of Buseok Temple throughout my life
Unable to offer you even one bowl of rice
But within a tear, l build a temple and then tear it down
Above a rock hanging in the sky, I build a temple
นี่เป็นอีกบทกวีที่แปลได้อย่างน่าผิดหวัง ผมอ่านไม่รู้เรื่องเลยสักนิด! แต่คาดเดาว่าน่าจะเกี่ยวกับความตายที่ดี (Good Death) คือการได้ทำบางสิ่งอย่างที่สามารถเติมเต็มความต้องการหัวใจ นั่นจักทำให้เมื่อถึงคราวจากโลกไป จักได้ไม่รู้สึกสูญเสียใจเอาภายหลัง
Do not even dare kick at the ashes of burnt coal
Have you ever been a burning person to another?
นี่เป็นบทกวีที่มีเพียงสองวรรคแต่เคลือบแฝงความหมายอันลึกล้ำ ‘อย่าเตะเถ้าถ่าน’ มันช่างคล้ายๆสำนวนไทย ‘อย่าข้ามคนล้ม’ เพราะเขาอาจเคยมีอำนาจวาสนา วันนี้ตกต่ำก็อย่าเพิ่งไปดูถูกเหยียบย่ำเข้า เพราะสักวันหนึ่งอาจฟื้นฟูขึ้นมา จะโต้ตอบเอาคืนเราอย่างสาสม
คำว่า ‘burnt coal’ ไม่ใช่แค่ถ่านไฟที่มอดไหม้ ยังสื่อถึงผู้ประสบอุบัติเหตุ ได้รับบาดเจ็บ (ทางร่างกาย-จิตใจ) ในบริบทนี้สามารถเปรียบเทียบถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจ Park Sang-tae ที่เพิ่งออกจากโรงพยาบาล (จากเหตุการณ์รถชน) ใครติดค้างอะไรฉันไว้ ก็ถึงเวลาโต้ตอบแทนบุญคุณอย่างสาสม
Yang Mi-ja ยึดติดกับความครุ่นคิดที่ว่ากวีคือสิ่งสวยงาม เลยไม่ชอบพอบทประพันธ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ Park Sang-tae ที่มีความสองแง่สองง่าม ลามกจกเปรต ปิดกั้นมุมมองผู้อื่นที่เห็นต่าง แต่เขากลับเป็นคนเดียวในงานเลี้ยงมานั่งเคียงข้างระหว่างเธอร่ำร้องไห้ เศร้าโศกเสียใจ ไม่รู้เพราะอะไร?
การร่ำร้องไห้ของคุณย่า เกิดจากสะสมอารมณ์อัดอั้นหลายสิ่งอย่าง ไม่สามารถหาเงินมาจ่ายค่าสินไหม ชดใช้วิบากกรรมของหลานชาย, อาการป่วยอัลไซเมอร์ ความทรงจำเริ่มเลอะเลือนลาง, ไม่มีใครพูดคุย ให้คำปรึกษา ขอความช่วยเหลือ, รวมถึงยังขาดแรงบันดาลใจแต่งกลอน (Poetic Inspiration) ไม่รู้จะเริ่มต้นทำอะไรยังไง
โดยปกติแล้วข้อความที่เขียนลงบนกระดาษ ถ่ายให้อ่านแบบนี้ จักคือบทกวีที่ Yang Mi-ja ครุ่นคิดเขียนขึ้น ยกเว้นครั้งนี้แค่ข้อความธรรมดาๆ ต้องการขอหยิบยืมเงินชายสูงวัย แต่สังเกตดีๆมันไม่แตกต่างจากกวีนิพนธ์สักเท่าไหร่! … นี่เป็นการสื่อว่าบทกวี สามารถเป็นได้ทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรอง ร้อยอะไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องตรงตามรูปแบบ ฉันทลักษณ์ ภาษาดิ้นได้ ขอแค่มีความงดงาม และเคลือบแฝงความหมายบางอย่าง
หลังจากแบล็กเมล์เงินไปใช้หนี้ Yang Mi-ja ลากพาหลานชายออกจากร้านเกม มารับประทานพิซซ่า (อาหารฟาสต์ฟู๊ด = วิธีการเลี้ยงลูกแบบตามสูตรสำเร็จ) จากนั้นบอกให้ตัดเล็บ ตัดผม แต่งองค์ทรงเครื่องให้ดูดี … เหล่านี้เป็นการแสดงออกที่ดูผิดปกติ เต็มไปด้วยลับลมคมใน เหมือนเตรียมความพร้อมเหตุการณ์บางอย่างที่กำลังจะบังเกิดขึ้น
ระหว่างกำลังตีแบตกับหลานชาย จู่ๆเจ้าหน้าที่ตำรวจ Park Sang-tae ก็ให้ลูกน้องเข้ามาควบคุมตัว Jong-wook จะไปไหนก็ขึ้นกับผู้ชมจะครุ่นคิดจินตนาการ แต่ประเด็นที่มีการถกเถียงอย่างกว้างขวาง Yang Mi-ja เป็นคนเปิดเผยเบื้องหลังความจริงทั้งหมดกับตำรวจหรือไม่?
- คนที่เชื่อว่า Yang Mi-ja คือคนเปิดเผยเบื้องหลังความจริงทั้งหมดกับ Park Sang-tae มีหลักฐานดังต่อไปนี้
- เมื่อตอนที่ Park Sang-tae อ่านบทกวี ‘เตะเถ้าถ่าน’ เคยบอกว่าใครมีปัญหาอะไรให้มาหาได้ที่โรงพัก
- ระหว่างงานเลี้ยง Yang Mi-ja ออกมาร่ำไห้ภายนอกร้าน มีเพียง Park Sang-tae มานั่งยองๆอยู่เคียงข้าง นั่นอาจคือช่วงเวลาที่เธอระบายความรู้สึกอัดอั้นตันใจก่อนกลับบ้าน
- เหตุการณ์ตลอดทั้งวันนี้ พาไปเลี้ยงพิซซา ตัดเล็บเท้า พูดพร่ำสอนโน่นนี่นั่น เหมือนเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเผชิญหน้าอะไรบางอย่าง
- ปฏิกิริยาของเธอขณะหลานชายถูกจับ เปลี่ยนคนตีแบตมาเป็น Park Sang-tae ไม่ได้มีความร้อนรน กระวนกระวายแต่อย่างใด
- สำหรับคนที่มองว่าตำรวจอาจได้รับเบาะแสอื่น ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับ Yang Mi-ja ผมหาข้ออ้างได้เพียง
- ทำไมคนเป็นย่าถึงหักหลังหลานชาย? ทำให้เขาสูญเสียอนาคต?
- เช่นนั้นแล้วเธอจะไปแบล็กเมล์ชายสูงวัย นำเอาเงิน ₩5 ล้านวอน มาจ่ายให้มารดาเด็กหญิง Park Hee-ji ทำไมกัน?
มันจะมีอยู่ช็อตหนึ่งที่ลูกแบตลอยไปติดอยู่บนต้นไม้ กล้องถ่ายมุมก้มลงมา พอดิบพอดีเจ้าหน้าที่ตำรวจ(อีกคน)เข้าไปควบคุมตัว Jong-wook ราวกับจะสื่อว่าพระเจ้าดลบันดาล เหตุการณ์อยู่เหนือการควบคุม ไม่มีทางที่แก๊งค์ข่มขืนจะรอดพ้นความผิด
How is it over there? How lonely is it?
Is it still glowing red at sunset
Are the bird still singing on the way to the forest?
Can you receive the letter I dared not send?
Can I convey the confession I dared not make?
Will time pass and rose fade?Now it’s time to say goodbye
Like the wind that lingers and the goes, just like shadows
To promise that never came, to the love sealed till the end
To the grass kissing my weary ankles
And to the tiny footsteps following meIt’s time to say goodbye
Now as darkness fall, will a candle be lit again?
Here I pray nobody shall cry
and for you to know how deeply I loved youThe long wait in the middle of a hot summer day
An old path resembling my father’s face
Even the lonesome wild flower shyly turning away
How deeply I loved
How my heart fluttered at hearing your faint songI bless you
Song of Agnes
Before crossing the black river
With my soul’s last breath
I am beginning to dream a bright sunny morning
again I awake, blinded by the light
and meet you standing by my bedside
Song of Agnes คำรำพันจากลาของ Yang Mi-ja ไม่มีใครรับรู้ว่าเธอสูญหายตัวไปไหน กล้องพยายามออกติดตามหา ร้อยเรียงภาพ Montage สถานที่ต่างๆเคยดำเนินไป (ในลักษณะของกวีภาพยนตร์) จนกระทั่งดำเนินมาถึงท่อน To the grass kissing my weary ankles มีการปรับเปลี่ยนเป็นเสียงเด็กหญิง Park Hee-jin นี่คือลักษณะของการซ้อนทับ กลายเป็นส่วนหนึ่ง หญิงสูงวัยแปรสภาพเป็นเด็กหญิง เริ่มต้น-สิ้นสุด ชีวิต-ความตาย ว่ายเวียนวน ล่องลอยอยู่บนกระแสธารา
Agnes is the Christian name of the dead girl. Mi-ja is eventually able to write a poem after she accepted the pain of Agnes as her own, the life of the girl as her own. Therefore, the one poem that Mi-ja leaves in the world is the one that she wrote on behalf of the girl. Mi-ja speaks out with the voice that the girl would have wanted to leave behind. The two become one through the poem. When Mi-ja’s voice changes into Hee-jin’s, the audience can feel that the destinies of Mi-ja and the girl are overlapping, and that the two characters are united as one.
Lee Chang-dong
เกร็ด: ในเกาหลีใต้ กลอนบทนี้ถูกวิพากย์วิจารณ์ว่าผกก. Lee Chang-dong เขียนขึ้นเพื่ออุทิศให้กับอดีตปธน. Roh Moo-hyun (ที่เจ้าตัวเคยเป็นรัฐมนตรีกระทรวงท่องเที่ยวและวัฒนธรรม) เพิ่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปี ค.ศ. 2009 แต่แท้จริงแล้วไม่เกี่ยวอะไรเลยสักนิด!
It’s very natural to think of someone’s death while watching that scene. Limiting it to the death of a specific person can limit the meaning of the movie, so I don’t want to see it that way.
I wanted the audience to face her directly at the end of the film. I wanted people to remember her faintly smiling face and expression directly looking into the camera, and to accept her emotions along with Mi-ja’s poem. Mi-ja has gone after she has finished writing the poem. I wanted to make people feel Mija’s absence while listening to her poem. Where did she go? I left the answer up to the audience. I pictured the film to have much space, as poems do. Blanks that the audiences could fill in. In that sense it can be seen as an ‘open’ film. The conclusion will be in the audience’s mind.
Lee Chang-dong
หลายคนคงครุ่นคิดว่าการสูญหายตัวไปของ Yang Mi-ja แบบเดียวกับเด็กหญิง Park Hee-jin คือกระโดดน้ำฆ่าตัวตาย! เพื่อให้สอดคล้องเข้ากับโครงสร้างหนัง เริ่มต้น-สิ้นสุด ชีวิต-ความตาย ว่ายเวียนวน ล่องลอยอยู่บนกระแสธารา แต่ผมมองนัยยะของความตาย = อิสรภาพทางร่างกายและจิตวิญญาณ
- ตอนต้นเรื่อง, ความตายของเด็กหญิง Park Hee-jin จิตวิญญาณไปผุดไปเกิดแล้วก็ไม่รู้ พบเห็นเพียงร่างกาย/ศพล่องลอยมาทางน้ำ
- ตอนจบ, การสูญหายไปของ Yang Mi-ja ไม่พบเห็นร่างกายสูญหายไปไหน แต่ลีลาการดำเนินเรื่องราวกับจิตวิญญาณล่องลอยไปตามสถานที่ต่างๆ
ใครเคยรับชม L’Eclisse (1962) โคตรภาพยนตร์ของผกก. Michelangelo Antonioni ที่ช่วงท้ายตัวละครทั้งหลายล้วนสาปสูญหาย ทำการร้อยเรียงภาพสถานที่ต่างๆอันว่างเปล่า ไร้ผู้คน เคลือบแฝงนัยยะของการเปลี่ยนแปรสภาพจากรูปธรรมสู่นามธรรม แต่ในบริบทของ Poetry (2010) ผมขอเรียกว่าแปรสภาพสู่บทกวีภาพยนตร์
I think the film’s ending attempts to evoke the audience (to see) something beyond the beauty they see on screen, like the girl’s death. In the end, the audiences’ perception of the landscape is connected to their experiences off the screen, and that perception will likely be a reflection of their mind. One thing clear is that I didn’t consciously try to make the landscape sceneries beautiful. Also, you can see the last few sequences as the world where the young girl no longer exists. It is the feeling of absence.
แซว: ผมอ่านเจอว่าแม่น้ำตอนต้นเรื่อง (ที่พบเห็นศพล่องลอยมา) กับบนสะพานข้ามแม่น้ำช่วงท้าย (ที่เด็กหญิงเตรียมจะกระโดดฆ่าตัวตาย) เป็นแม่น้ำคนละสาย! ไม่ใช่สะพานเดียวกัน! แต่แม่น้ำทั้งสองก็ไหลมาบรรจบยัง Han River (มันคงลอยไปไกลมากๆเลยนะ)
ตัดต่อโดย Kim Hyeon, 김현 เข้าสู่งวงการตั้งแต่ทศวรรษ 70s ผลงานเด่นๆ อาทิ The Autumn After Love (1986), Black Republic (1990), Stairway to Heaven (1992), First Love (1993), Passage to Buddha (1993), To the Starry Island (1993), The Warrior (2001), Lover’s Concerto (2002), กลายเป็นขาประจำผกก. Lee Chang-dong ตั้งแต่ Green Fish (1997) จนถึง Burning (2019)
หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองตัวละครหญิงสูงวัย Yang Mi-ja ตั้งแต่แพทย์มีความสงสัยว่าอาจล้มป่วยโรคสมองเสื่อม/อัลไซเมอร์ ทำให้เกิดความสนใจเข้าเรียนการแต่งกวี ขณะเดียวกันยังต้องครุ่นคิดหาทางช่วยเหลือหลานชายจากวิบากกรรมกระทำเอาไว้
- อารัมบท, เด็กๆเล่นอยู่ริมแม่น้ำ พบเห็นศพนักเรียนหญิงกำลังล่องลอยเข้ามาใกล้
- กิจวัตรของหญิงสูงวัย Yang Mi-ja
- Yang Mi-ja เดินทางไปโรงพยาบาล แพทย์มีความสงสัยว่าอาจล้มป่วยอัลไซเมอร์ เลยแนะนำให้ไปตรวจอาการยังโรงพยาบาลใหญ่, ขากลับพบเห็นมารดากำลังร่ำร้องไห้ถึงบุตรสาวที่จากไป
- Yang Mi-ja ทำงานเป็นผู้ช่วยชายสูงวัย อาบน้ำ ซักผ้า ทำความสะอาดบ้าน ได้รับทิป ₩10,000 วอน
- ระหว่างกลับบ้านพบเห็นป้ายประกาศคอร์สแต่งกวี บังเกิดความสนอกสนใจ
- พอกลับมาถึงบ้าน ทำอาหารให้หลานชาย พอตกเย็นก็ออกไปตีแบดมินตัน
- เช้าวันถัดมาเดินทางไปสมัครเรียนคอร์สแต่งกวี
- ได้บทเรียนแรกก็พยายามหาแรงบันดาลใจจากผลแอปเปิ้ล
- วิบากกรรมของหลานชาย
- หลังคาบเรียนที่สอง พ่อเพื่อนของ Jong-wook ร้องขอให้ Yang Mi-ja มาร่วมประชุมผู้ปกครอง
- เปิดเผยรายละเอียดความตายของนักเรียนหญิง ถูกกลุ่มเด็กชาย(รวมถึง Jong-wook)ข่มขืนกระทำชำเรา พูดคุยจนได้ข้อสรุปจ่ายค่าสินไหมคนละ ₩5 ล้านวอน
- Yang Mi-ja กลับมาบ้านด้วยความห่อเหี่ยว มองหลานชายในมุมที่เปลี่ยนไป แต่ยังไม่สามารถแสดงความรู้สึกใดๆ
- หลังงานศพของเด็กหญิง เดินทางไปทำงานผู้ช่วยชายสูงวัย พอกลับบ้านถึงระบายอารมณ์อัดอั้นใส่หลานชาย
- การค้นหาแรงบันดาลใจ (Poetic Inspiration)
- ในคาบเรียนแต่งกวี มีการให้ผู้เข้าร่วมพูดเล่าช่วงเวลาแห่งความสุข เพื่อเป็นการค้นหาแรงบันดาลใจ
- Yang Mi-ja เดินทางไปที่โรงเรียนของหลานชาย Jong-wook สำรวจสถานที่ต่างๆเพื่อค้นหาแรงบันดาลใจ
- เดินทางมารับฟังการอ่านบทกวี
- ระหว่างดูแลชายสูงวัย แอบรับประทานไวอาก้า เรียกร้องขอให้เธอร่วมเพศสัมพันธ์ แต่ถูกบอกปัดปฏิเสธ
- เดินทางไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล ได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการโรคสมองเสื่อมอ่อนๆ
- ขากลับขึ้นรถโดยสาร มองหาแรงบันดาลใจจากธรรมชาติรอบข้าง
- พบเห็น Yang Mi-ja ขับร้องคาราโอเกะ
- กลับมาคาบเรียบแต่งกวีอีกครั้ง ถึงคิวของ Yang Mi-ja เล่าถึงความทรงจำเมื่อครั้นยังเด็ก
- Yang Mi-ja ลงจากรถโดยสารที่สะพาน Sansugyo Bridge ข้ามแม่น้ำ Hongcheon River
- จู่ๆฝนตก โบกรถเมล์ เดินทางมายังบ้านชายสูงวัย ตอบตกลงให้เขาร่วมเพศสัมพันธ์
- ความจริงที่ไม่สามารถหนีพ้น
- มีนักข่าวมาดักรอ Yang Mi-ja พลั้งเผลอบอกข้อมูลบางอย่างออกไปไม่รู้ตัว
- Yang Mi-ja ได้รับมอบหมายให้พูดคุยกับมารดาเด็กหญิงผู้เสียชีวิต
- แต่เมื่อเผชิญหน้ากันจริงๆกลับไม่สามารถพูดคุยต่อรองอะไรใดๆ
- เดินทางมารับการอ่านบทกวี แล้วเข้าร่วมงานเลี้ยงหลังงาน
- นัดหมายจ่ายเงิน แต่ทว่า Yang Mi-ja ไม่กล้าเผชิญหน้ามารดาของเด็กหญิง
- เดินทางไปแบล็กเมล์ชายสูงวัย ได้เงินมาจ่ายค่าสินไหม
- ค่ำคืนนั้นระหว่างตีแบดกับบุตรชาย ถูกตำรวจมาควบคุมตัวไปไหนก็ไม่รู้
- ปัจฉิมบท
- Yang Mi-ja ส่งการบ้านด้วยการแต่งบทกวี ส่วนตัวเธอนั้นไม่รู้สูญหายตัวไปไหน
- ก่อนวกกลับมาที่สะพาน Sansugyo Bridge พบเห็นเด็กหญิงกำลังจะคิดสั้นฆ่าตัวตาย
แบบเดียวกับ Oasis (2002) ที่ผกก. Lee Chang-dong ตัดสินใจไม่ใช้เพลงประกอบ นอกเสียจาก ‘diegetic music’ จำพวกโทรทัศน์ วิทยุ ขับร้องคาราโอเกะ ฯ แล้วไปมุ่งเน้นกับเสียงประกอบ (Sound Effect) กระแสน้ำ สายลม หยาดฝน เสียงจากธรรมชาติ ตัดกับความอื้ออึงผู้คน รถรา เสียงวุ่นๆวายๆของสังคมเมืองใหญ่ หญิงสูงวัยพยายามค้นหาแรงบันดาลใจประพันธ์บทกวีจากสรรพสิ่งรอบข้างเหล่านี้
I tend to refrain from using music in my films. This is because film scores are artificially given from outside the film to amplify its emotional resonance. It is ideal if the audience can feel the musicality of a scene without actual music. I search for that innate musicality of a scene through every stage of a film’s production. Poetry is a film that is looking for true beauty. I wished for the audience to feel musicality within the everyday ambience of our lives without any artificial interference––such as the sound of wind, rain, cars, children chattering.
Lee Chang-dong
ผมใช้เวลาค้นหาอยู่เป็นชั่วโมงๆกว่าจะค้นพบบทเพลง Wine Glass, 와인잔 (2000) แต่งโดย Park Hyun-ji, คำร้องโดย Jo Dong-sa, ขับร้องโดย Yuna Choi, เนื้อร้องเต็มไปด้วยถ้อยคำรำพัน อยากจะปลดเปลื้อง ลืมเลือน ทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง แต่ค่ำคืนนี้เพียงพึ่งพาแก้วไวน์ ดื่มด่ำให้หลงลืมความทุกข์ทรมาน
Wet lipstick on the wine gIass
With my yearning for you
I’ve been grabbing onto the rope I had to release, but now’s the time to let go
You may have forgotten my name by now
But I crudely raise a wine glass again because of you
Now l want to take off my dress of attachment and drink a glass of oblivion
นอกจากบทเพลงเพราะๆ ยังมีรูปภาพลัทธิประทับใจ Pierre-Auguste Renoir: La Petite Fille au ruban bleu (1880) เด็กหญิง Irène Cahen d’Anvers วัย 8 ขวบ สามารถสะท้อนถึงจิตวิญญาณของ Yang Mi-ja ไม่ต่างจากเด็กน้อย ละอ่อนวัย ไร้เดียงสา โหยหาอิสรภาพชีวิต
Poetry (2010) นำเสนอเรื่องราวผู้สูงวัยที่เริ่มเลอะเลือน (ล้มป่วยโรคสมองเสื่อม/อัลไซเมอร์) อาศัยอยู่กับหลานชายถูกมารดาทอดทิ้งขว้าง ใฝ่ฝันอยากประพันธ์บทกวีร้อยกรองที่ใกล้หมดกระแสนิยม ทุกสิ่งอย่างล้วนโรยรา แห้งเหี่ยว เป็นไปตามวิถีธรรมชาติ วัฏจักรชีวิต เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย เคลื่อนไหลไปตามสายธารา
ในส่วนของโศกนาฎกรรม หนังไม่ได้พยายามจะค้นหาเหตุผล แรงจูงใจ ทำไมเด็กนักเรียนหญิงถึงกระทำอัตวินิบาต กระโดดสะพานฆ่าตัวตาย? แต่นำเสนอผลกระทบหลังหายนะครั้งนั้น (มีคนเปรียบเทียบกับ Holocaust ก็ได้กระมัง) ไม่ใช่แค่คู่กรณี กลุ่มนักเรียนชาย แต่ยังรวมถึงทุกคนรอบข้าง ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ ต่างพยายามปกปิดข่าวไม่ให้แพร่กระจาย ถึงอย่างนั้นเมื่อความจริงได้รับการเปิดเผยสู่สาธารณะ สร้างความตื่นตระหนก ตกใจกลัว กลายเป็นภัยต่อสังคม อนาคตเด็กกลุ่มนี้จึงดับสิ้นลง
ถึงหนังไม่ได้พยายามอธิบายเหตุผล แรงจูงใจ เหตุผลการกระทำอัตวินิบาตของเด็กสาว แต่เราสามารถพบเจอข้อสรุปจากการรับชม สังเกตจากภาษาภาพยนตร์ Park Hee-jin คือภาพสะท้อนของเด็กชาย Jong-wook
- Park Hee-jin สูญเสียบิดาจากอุบัติเหตุ มารดาจึงต้องเลี้ยงดูแลบุตรสาวตามลำพัง, บิดาของ Jong-wook หย่าร้างมารดา ทอดทิ้งให้บุตรชายอาศัยอยู่กับคุณย่า
- มารดาของ Park Hee-jin เลี้ยงดูแบบทะนุถนอม มีความสนิทสนมชิดเชื้อ พึ่งพาอาศัยกันและกัน ตรงกันข้ามกับ Jong-wook ที่ทั้งมารดาและคุณย่าไม่ได้สนใจอะไรมากนัก ปล่อยปละละเลย ไม่เคยเข้าไปบีบบังคับโน่นนี่นั่น
- ในขณะที่ Park Hee-jin ไม่มีเพื่อนฝูงที่โรงเรียน, Jong-wook อาจยินยอมก้มหัวศิโรราบ เพื่อให้ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกแก๊งค์
- สิ่งเดียวที่เหมือนกันของทั้งสอง คือเมื่อเกิดปัญหา Park Hee-jin (ถูกข่มขืน) และ Jong-wook (ข่มขืนผู้อื่น) ต่างไม่สามารถพูดคุยปรึกษาอะไรใดๆกับครอบครัว
(เอาจริงๆการเปรียบเทียบเช่นนั้นทำให้ผมมองว่า Jong-wook อาจไม่ได้เต็มใจข่มขืน Park Hee-jin แต่ตกเป็นเหยื่อของพวกพ้อง เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม สมาชิกแก๊งทำอะไร เขาจึงจำต้องปฏิบัติตาม)
ตอนจบของหนังเริ่มจากเสียงอ่านบทกวีของคุณย่า Yang Mi-ja ก่อนผันแปรเปลี่ยนมาเป็นเด็กหญิง Park Hee-jin นี่ไม่แค่เริ่มต้น-สิ้นสุด ชีวิต-ความตาย ว่ายเวียนวน ล่องลอยอยู่บนกระแสธารา แต่ยังแสดงถึงความสัมพันธ์ของทั้งสอง ตกอยู่ในสถานะเก็บกด อดกลั้น มิอาจฝืนทนต่อสภาพเป็นอยู่ได้อีกต่อไป จึงต้องการปลดปล่อยตนเองให้เป็นอิสระ (คนหนึ่งทางร่างกาย อีกคนทางจิตวิญญาณ)
ผมรับรู้สึกว่า Oasis (2002) ผลงานก่อนหน้านี้ของผกก. Lee Chang-dong มีหลายแนวคิดที่ละม้ายคล้าย Poetry (2010) สะท้อนปัญหากลุ่มคนชายขอบ ที่ถูกทอดทิ้งขว้างจากสังคม
- Oasis (2002) ดำเนินเรื่องในกรุง Seoul
- สะท้อนปัญหาคนพิการ
- คนสมัยก่อนมองว่า ความพิการคือสิ่งน่าอับอาย รับไม่ได้ พยายามปกปิด ซ่อนเร้น ว่าจ้างคนข้างห้องคอยส่งข้าวส่งน้ำ แวะเวียนมาเยี่ยมเยียนนานๆครั้ง
- สวัสดิการคนพิการ แค่พอพบเห็นเจ้าหน้าที่มาเยี่ยมเยียน แต่ดูไม่ได้ให้ความสนใจอย่างจริงจังเท่าที่ควร ทำให้ผู้ปกครองของคนพิการสามารถฉกฉวยผลประโยชน์บางอย่าง
- ปัญหาครอบครัว-คนพิการ
- ครอบครัวพยายามขับไล่ ผลักไส ไม่ต้องการรับผิดชอบต่อคนพิการ
- แต่พอพบเห็นภาพบาดตาบาดใจ ก็ตีตนไปก่อนไข้ รับไม่ได้กับเหตุการณ์บังเกิดขึ้น (ทั้งๆก่อนหน้านี้ไม่เคยสนใจอะไร)
- ทำการเปรียบเทียบเรื่องราวความรัก = แฟนตาซี สถานที่แห่งความเพ้อฝัน โอเอซิสกลางทะเลทรายร้อนระอุ
- สะท้อนปัญหาคนพิการ
- Poetry (2010) ดำเนินเรื่องต่างจังหวัด
- เริ่มจากสะท้อนปัญหาผู้สูงวัย
- คนหนุ่ม-สาว มักเข้าไปทำงานเมืองใหญ่ ทอดทิ้งผู้สูงวัยให้เลี้ยงหลาน ไม่ก็ว่าจ้างคนรับใช้มาช่วยดูแล นานๆครั้งถึงแวะเวียนมาเยี่ยมเยียน
- สวัสดิการผู้สูงอายุ เงินบำนาญไม่เพียงพอค่าใช้จ่าย (น้อยกว่าค่าครอบชีพขั้นต่ำหลายเท่าตัว) บีบบังคับให้ต้องรับจ้างทำงานอื่นเพิ่มเติม
- ความเจริญที่ยังแพร่กระจายมาไม่ถึงต่างจังหวัด
- ด้านสาธารณสุข การตรวจโรคสมองเสื่อมต้องเดินทางเข้ามาในโรงพยาบาลใหญ่เท่านั้น
- ปัญหาครอบครัว-บุตรหลาน
- ครอบครัวหย่าร้าง หรือบิดา-มารดาเข้าไปทำงานในเมืองใหญ่ ปล่อยปละละเลย ไม่มีเวลาให้บุตรหลาน
- แถมพวกเขายังพยายามปกป้อง (Over-Protection) มากเกินกว่าเหตุ ไม่ยินยอมรับสภาพความจริง ครุ่นคิดว่าเงินสามารถซื้อได้ทุกสิ่งอย่าง
- เปรียบเทียบกับกวีนิพนธ์ที่กำลังเสื่อมกระแสนิยม
- เริ่มจากสะท้อนปัญหาผู้สูงวัย
ความสนใจของผกก. Lee Chang-dong มักเกี่ยวบุคคลชายขอบ ถูกครอบครัวทอดทิ้ง สังคมมองข้าม ทำให้พวกเขาเหล่านั้นต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ดิ้นรน กระเสือกกระสน หาหนทางเอาตัวรอดด้วยตนเอง แต่ตอนจบมักไม่สมหวังสักเท่าไหร่ เพื่อสร้างความตระหนักต่อผู้ชม ผู้เกี่ยวข้อง หน่วยงานรัฐ เข้ามาปรับปรุงพัฒนา เพื่ออนาคตวันข้างหน้า
ไม่ใช่แค่เรื่องราวที่เกี่ยวกับบุคคลชายขอบ ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เคยถูกหน่วยงานรัฐมองข้ามเช่นกัน ตอนส่งบทหนังยื่นของบประมาณจาก Korean Film Council (KOFIC) ได้รับการประเมินจากหัวหน้าคณะกรรมการ(ขณะนั้น) Cho Hee-moon มอบคะแนน 0/10 ซึ่งตามกฎเกณฑ์ไม่มีทางที่ภาพยนตร์เรื่องไหนจะได้คะแนน 0 นั่นแสดงถึงการล็อบบี้ แบล็กลิสต์ ต้องมีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างแน่นอน
This film received a score of 0 in the Korean Film Council’s scenario evaluation, but won the Best Screenplay Award at the Cannes International Film Festival.
คำประชดประชันจากนักวิจารณ์นิตยสารฝรั่งเศส Le Monde
หลังเสร็จจาก Poetry (2010) ไม่ใช่ว่าผกก. Lee Chang-dong ต้องการหยุดพักการทำงาน แท้จริงแล้วคือถูกแบล็กลิสต์จากรัฐบาล ไม่ได้รับการอนุมัติโปรเจคใดๆจนกระทั้งปี ค.ศ. 2017 สิ้นสุดยุคสมัยปธน. Park Geun-hye จึงสามารถถ่ายทำภาพยนตร์ Burning (2018) นำเสนอจิตวิญญาณอันมอดไหม้ หมดสูญสิ้นความหวัง เสื่อมศรัทธาต่อทุกสรรพสิ่งอย่าง
ภาพยนตร์ = บทกวี? ทั้งสองสื่อต่างมีเป้าหมายคล้ายๆกัน คือการค้นหาจิตวิญญาณ ความงดงามแท้จริงที่อยู่ภายในสรรพสิ่ง แม้ปัจจุบันกระแสนิยมต่อกวีนิพนธ์จะเสื่อมถดถอยลง แต่มันได้วิวัฒนาการมาเป็นกวีภาพยนตร์ ทั้งยังสามารถต่อยอดกลายเป็นศิลปะร่วมสมัย (Contemporary Art) ได้อีกมากมาย … บทกวีกำลังตาย? แต่เชื่อเถอะว่าประเดี๋ยวมันจะฟื้นคืนชีพกลับขึ้นมาใหม่ ด้วยรูปแบบ วิธีการ ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย
หลังการฉายรอบปฐมทัศน์ในเกาหลีใต้ เดินทางไปเข้าร่วมเทศกาลหนังเมือง Cannes เสียงตอบรับถือว่าดียอดเยี่ยม แม้พ่าย Palme d’Or ให้กับลุงบุญมีระลึกชาติ (พ.ศ. ๒๕๕๓) ยังสามารถคว้ามาสองรางวัล
- Best Screenplay
- Prize of the Ecumenical Jury – Special Mention เคียงข้างกับ Another Year (2010)
- Through the charm of poetry, Mija, a decent grandmother weakened by disease and culpability, opens up to a contemplative perception of the world.
ด้วยทุนสร้าง ₩1.3 พันล้านวอน ($1.13 ล้านเหรียญ) มียอดจำหน่ายตั๋วในเกาหลีใต้ 220,693 ใบ รวมรายรับทั่วโลก $2.2 ล้านเหรียญ ถ้ารวมกับยอดจำหน่าย Home Video ก็คาดว่าน่าจะเพียงพอคืนทุน
และช่วงปลายปียังสามารถเข้าชิง Grand Bell Awards จำนวน 7 สาขา คว้ามา 4 รางวัล ประกอบด้วย
- Best Film **คว้ารางวัล
- Best Director
- Best Actress (Yoon Jeong-hee) **คว้ารางวัล
- Best Supporting Actor (Kim Hee-ra) **คว้ารางวัล
- Best Screenplay **คว้ารางวัล
- Best Cinematography
- Best Costume Design
ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ 4K เสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2023 จัดจำหน่าย Blu-Ray โดยค่าย Film Movement ใครสนใจ Boxset รวบรวมสี่ผลงานยุคแรกๆ The Poetry of Lee Chang-Dong: Four Films ผ่านการบูรณะแล้วทั้งหมด Green Fish (1997), Peppermint Candy (1999), Oasis (2002) และ Poetry (2010)
เมื่อตอนเขียนบทความก่อนผมยังเพิ่งยี่สิบปลายๆ มาตอนนี้ใกล้จะสามสิบปลายๆ ประสบการณ์ชีวิตอาจคือส่วนหนึ่งที่ช่วยทำให้เข้าใจหนังมากขึ้น ซึมซับความเปลี่ยนแปลง อดีตกำลังเลือนลาง อนาคตเคลื่อนเข้ามาแทนที่ บทกวีเคยฟังไม่รู้เรื่อง มาตอนนี้สามารถเชื่อมโยงเข้ากับสิ่งต่างๆ ค้นพบความลุ่มลึกล้ำขึ้นไปอีกระดับ
นี่แสดงว่า Poetry (2010) เป็นภาพยนตร์ที่ต้องให้เวลา สะสมประสบการณ์ชีวิต เมื่ออายุอานามเพิ่มขึ้น จะทำให้เราเข้าใจหลายๆสิ่งอย่างมากขึ้นด้วยเช่นกัน!
ปล. รับชม Poerty (2010) ยังทำให้ผมระลึกถึง Amour (2012) ของผู้กำกับ Michael Haneke แม้คนละสไตล์ แต่ต่างเป็นเรื่องราวของผู้สูงวัย (ใช้บริการนักแสดงรุ่นใหญ่) ถูกหลงลืม ล้มป่วยอัลไซเมอร์
จัดเรต 13+ กับความอัดอั้นตันใจของผู้สูงวัย
คำโปรย | Poetry บทกวีรำพันความอัดอั้นตันใจ ผู้สูงวัยกำลังถูกทอดทิ้ง ชีวิตไม่เหลืออะไร ล่องลอยไปตามสายน้ำ
คุณภาพ | กวีภาพยนตร์
ส่วนตัว | อัดอั้นตันใจ
Poetry (2010) : Lee Chang-dong ♥♥♥♥
(13/6/2016) ยุคสมัยแห่งการแต่งกลอนกำลังหมดไป เหมือนหญิงสูงวัยที่กำลังเป็น Alzheimer ถึงผู้คนจะเริ่มลืมเลือน แต่ความสวยงามของบทกลอนจะยังคงอยู่นิรันดร์, หนังรางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Screenplay Award) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes ของผู้กำกับ Lee Chang-dong นำแสดงโดย Yoon Jeong-hee หนึ่งในนักแสดงหญิงที่โด่งดังที่สุดของเกาหลีใต้ที่ retire ไปแล้ว และกลับมาเล่นหนังเรื่องนี้โดยเฉพาะ
สมัยนี้หายากเข้าทุกที กับกวีที่มีชื่อเสียง ในร้านหนังสือ จะว่ากว่า 90% ที่เป็นหนังสือร้อยแก้ว แทบเป็นไปไม่ได้แล้วที่จะหาหนังสือร้อยกรอง, คงเพราะยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ทำให้ค่านิยมของคนเปลี่ยน ถึงคนจะรู้หนังสือมากขึ้น แต่ไม่กี่คนที่จะสามารถซึมซับความสวยงามของวรรณกรรม และยิ่งยากไปอีกที่จะสามารถประพันธ์บทร้อยกรองให้สวยงามเหมือนดั่งบรมครูในอดีต
ผมไม่รู้เคยมีหนังไทยที่เกี่ยวกับชีวประวัติสุนทรภู่ไหม ถ้ามีก็อาจไม่ได้มีคุณภาพนัก (เพราะผมไม่รู้จัก) แต่เคยได้ยินชื่อหนังที่ดัดแปลงมาจากผลงานของท่าน อาทิ พระอภัยมณี, สุดสาคร, ขุนช้างขุนแผน ฯ ละครโทรทัศน์ก็ยังมีให้เห็นอยู่บ้าง แต่น่าเสียดาย น้อยนักที่จะมีการขับเสภา ให้ชื่นชมในความงดงามของบทกวี, วรรณกรรมร้อยกรองของไทย ว่าไปถ้าไม่ใช่คนที่อยู่ในวงการ เป็นผลงานจากศิลปินแห่งชาติ หรือจากหนังสือเรียน ก็แทบไม่มีใครรู้จักหรือให้ความสนใจแล้วนะครับ สังคมกลุ่มนี้เหลืออยู่เล็กมากๆ ผมก็คนหนึ่งที่ไม่ได้รู้จักนักกวีเมืองไทยมากมาย แต่ใจก็ไม่อยากให้มันสูญหายไปจากโลก
ดูหนังเรื่องนี้คุณต้องทำใจเสียหน่อย ว่าอาจจะไม่ได้เห็นความสวยงามของบทกวีที่ถูกขับออกมาเสียเท่าไหร่ เว้นแต่คุณฟังภาษาเกาหลีระดับสูงรู้เรื่อง เชื่อว่าคำศัพท์น่าจะค่อนข้างยาก เหมือนร้อยกรองของเมืองไทย ที่มักใช้คำที่บางทีเราอาจไม่รู้ความหมาย เพื่อสัมผัสที่ลงตัว คล้องจอง, ผมอ่าน Subtitle ภาษาอังกฤษ ซึ่งมีการแปลอย่างตรงไปตรงมา ความสวยงามอาจไม่มากเท่าไหร่ แต่ก็พอเข้าใจสิ่งที่ตัวละครต้องการสื่อออกมา
ผู้กำกับ Lee Chang-dong ผมเคยวิจารณ์หนังของเขาไปแล้วเรื่องหนึ่งเรื่อง Peppermint Candy (1999) ถือว่าเป็นผู้กำกับที่มีแนวคิด กล้าคิด กล้าทำ กล้าลองอะไรใหม่ๆ ไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิมๆ
แนวคิดแรกของหนัง มาจากข่าวดังในเกาหลีใต้ ว่าด้วยเรื่องของเด็กหญิงในชนบทต่างจังหวัด ถูกกลุ่มเด็กชายข่มขืนแล้วกระโดดน้ำฆ่าตัวตาย, นี่เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความตื่นตระหนกให้กับ Lee Chang-dong แต่เขาไม่อยากที่จะสร้างหนังโดยให้ทั้งเรื่องวนเวียนอยู่กับเรื่องราวแบบนี้, ครั้งหนึ่งผู้กำกับเดินทางไปญี่ปุ่น เข้าพักในโรงแรมและเห็นรายการโทรทัศน์หนึ่ง ถ่ายภาพธรรมชาติ สายน้ำที่สงบสันติ, ฝูงนกที่บินบนฟากฟ้า, ชาวประมงหาปลาในทะเล และเพลงประกอบ new-age นุ่มๆผ่อนคลายฟังสบาย’ (a peaceful river, birds flying, fishermen on the sea – with soft new-age music in the background) ภาพนี้กลายเป็นความรู้สึกที่ Lee Chang-dong อยากใส่เข้าไปในหนังเรื่องต่อไป และทันใดนั้นภาพหญิงสาวฆ่าตัวตายแวบเข้ามาในหัว บทกวีและหญิงสูงวัย นี่แหละองค์ประกอบของหนังเรื่องถัดไป
บทหนังเรื่องนี้ต้องบอกว่ามีความยอดเยี่ยมมากๆ เพราะทำการผสมผสานทั้งแนวคิด วิธีการเล่าเรื่องและเรื่องราวหลายๆอย่างเข้าด้วยกัน มันอาจดูน่าเบื่อช่วง 20 นาทีแรก แต่เมื่อความจริงบางอย่างได้ถูกเปิดเผย เราจะเริ่มตระหนักทันที ว่าหนังมีการดำเนินเรื่องที่แยบคายและพล็อตมีความซับซ้อน บางสิ่งบางอย่างถูกซ่อนใส่มาตั้งแต่ฉากแรกของหนัง
การจะแต่งกลอนให้ได้สักบทไม่ใช่เรื่องง่าย หนังเริ่มต้นด้วยการเข้าห้องเรียน ได้รับการสอนบรรยาย แนะนำจากครูผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการแต่งกลอน ความตั้งใจของคอร์สนี้คือ เรียนจบแล้วอย่างน้อยคุณควรจะเขียนกลอนสักบท, แรงบันดาลใจในการเขียนเป็นสิ่งสำคัญ จริงๆแล้วเราสามารถเขียนอะไรออกมาก็ได้ แต่ยากที่สุด ‘อะไรคือสิ่งที่เราอยากเขียน’, มีบทกลอนมากมายที่จะได้ยินในหนังเรื่องนี้ หลากหลายรูปแบบด้วย อาทิ เขียนเพื่อชื่นชมความสวยงาม, ความประทับใจในชีวิต, เขียนล้อเลียน ส่อเสียด, กลอนลามก ฯ เมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะพบว่า บทกลอนมักจะสะท้อนความต้องการ สิ่งที่อยู่ในใจของผู้แต่ง ซึ่งเราสามารถมองได้กับเรื่องราวทุกอย่างที่เกิดขึ้นในหนัง ย่อมกลายเป็นสิ่งที่สะท้อนออกมาผ่านกลอนบทสุดท้ายในตอนจบ
Lee Chang-dong สร้างบทตัวละครนำของหนัง เพื่อสำหรับ Yoon Jeong-hee โดยเฉพาะ เธอเป็นนักแสดงชื่อดังของเกาหลีใต้ในยุค 60s-70s ก่อน retire กับหนังเรื่องสุดท้าย Manmubang (1994) เมื่อ 16 ปีก่อน, หลังจากได้อ่านบท เธอก็แสดงความพึงพอใจอย่างมาก และตบปากรักคำหวนคืนวงการกลับมาเล่นหนังอีกครั้ง (และน่าจะเป็นครั้งสุดท้าย) ‘ฉันต้องการมาโดยตลอดที่จะเล่นหนังในลักษณะที่ต่างออกไปจากมุมมองปกติ ผู้กำกับได้ให้โอกาสฉันอย่างเต็มที่’, แม้ Lee Chang-dong จะมีความหวั่นวิตกในประสบการณ์การแสดงของ Yoon Jeong-hee ที่อาจดูล้าหลังไปบ้าง แต่ทัศนคติของเธอต่อภาพยนตร์สมัยใหม่ถือว่ายอดเยี่ยมมากๆ ทุกฉากเธอมีความยินดีที่จะพูดคุยกับผู้กำกับ ทำการทดลอง ค้นหารูปแบบวิธีการที่จะสามารถพัฒนาตัวละครให้ออกมาดีที่สุด นี่เป็นสิ่งที่หายากแม้แต่กับนักแสดงหน้าใหม่ๆของเกาหลี
ถ่ายภาพโดย Kim Hyun-seok, ไม่รู้เป็นเพราะคุณภาพหนังที่โหลดมาค่อนข้างต่ำหรือเปล่า แต่รู้สึกภาพหนังมีสีซีดมากๆ ราวกับไม่มีการปรับปรุงสี (Colorization) ของหนังหลังการถ่ายทำเลย หรือว่านี่เป็นสิ่งที่ผู้กำกับ Lee Chang-dong เห็นจากรายการโทรทัศน์ของญี่ปุ่น ถ่ายภาพมายังไง ก็นำเสนอแบบนั้น ไม่ให้อะไรมาเจือปนความเป็น ‘ธรรมชาติ’ ของหนังแม้แต่น้อย
ตัดต่อโดย Kim Hyeon นี่อาจเป็นหนังที่น่าเบื่อ ถ้าคุณพิจารณาว่า มีผู้หญิงสูงวัยเป็นคนดำเนินเรื่อง, ภาพถ่ายเน้นธรรมชาติ ซึมซับความ Slow-Life, ชื่อหนัง Poetry สงสัยอ่านบทกลอนกันทั้งเรื่อง ฯ ถ้าคุณสามารถมองผ่านเรื่องพวกนี้ไปได้ ก็จะสามารถซึมซับกับความสวยงามหนัง ที่การตัดต่อมีสัมผัสคล้ายๆกับบทกลอน ฉากแรกล้อกับฉากจบ, สิ่งที่เกิดขึ้นกับแม่ที่ลูกสาวฆ่าตัวตาย ย้อนกลับมาเกิดกับย่าที่ลูกชายถูกจับ ฯ
สิ่งหนึ่งที่หลายคนอาจสงสัย หนังสร้างให้แม่เป็นโรค Alzheimer แต่เหมือนเธอก็ยังปกติดีอยู่ อาจมีหลงๆลืมๆนิดหน่อย แต่ไม่ส่งผลกระทบอะไรต่อหนังเลย, ตอนแรกผมก็ไม่เข้าใจนะครับ และข้องใจมากว่าจะใส่ประเด็นนี้มาทำไม ซึ่งพอได้คิดวิเคราะห์ดูก็พบว่า การป่วยโรคนี้ไม่ได้มีความตั้งใจให้มีเรื่องราวต่อหนังมากนัก แต่เพื่อเปรียบเทียบกับการแต่งกลอนที่มีสถานะใกล้ถูกลืม เหมือนหญิงสูงวัยที่เริ่มความจำเสื่อม ถ้าหนังให้เธอเป็น Alzheimer ระยะสุดท้ายจำอะไรไม่ได้เลย ก็เท่ากับไม่มีใครในโลกที่แต่งกลอนได้อีกแล้ว ซึ่งไม่สมเหตุสมผลแน่นอน การเปรียบเทียบแบบนี้มองเป็นเชิงสัญลักษณ์นะครับ ไม่จำเป็นต้องมีผลกระทบต่อเรื่องราวใดๆ
ประเด็นสังคมที่หนังสอดแทรกเข้ามา มีอะไรให้คิดเยอะเลยนะครับ ผมมองเห็นความคอรัปชั่นที่ไม่ใช่แค่เด็กเท่านั้น แต่ยังลามถึงผู้ใหญ่ พ่อผู้ปกครองของเด็ก 5 คน ที่มีฐานะและอาจจะชื่อเสียง พูดคุยตกลงกันเพื่อต่อรองกับคู่กรณีด้วยการจ่ายเงินสินไหม ชดใช้ความผิดที่ลูกของตนกระทำ ไม่ให้ต้องขึ้นศาลเพราะกลัวเด็กจะเสียอนาคต, นี่เป็นอะไรที่ร้ายแรงมากนะครับ พ่อแม่ช่วยลูกปกปิดความผิด ปัดความรับผิดชอบ หนีปัญหา โดยคิดว่าเงินทองจะแก้ไขได้ทุกอย่าง, เด็กเวรพวกนี้หมดอนาคตตั้งแต่แรกที่พวกมันคิดแล้วทำนะครับ ผมไม่โทษผู้ใหญ่ในเรื่องที่ว่า เขายอมทำทุกอย่างเพราะความรักลูก แต่นี่เป็นการกระทำของคนที่ไม่คำนึงถึงผู้อื่นเลย พ่อแม่ที่เป็นแบบนี้ ผมถือว่าเลวร้ายยิ่งกว่าลูกอีกนะครับ
กับเด็กคนอื่นๆเราอาจไม่เห็นว่าพ่อแม่เลี้ยงดูยังไง แต่กับครอบครัวที่เราเห็น ตัวละคร Yoon Jeong-hee เธอเป็นย่าของหลาน พ่อแม่จริงๆไปไหนไม่รู้ ทิ้งลูกไว้ให้ย่าเลี้ยง ซึ่งย่าไม่ใช่แม่ เธอแก่เกินที่จะปรับตัวเข้ากับยุคสมัยของที่เปลี่ยนไป อายุของเธอกับหลานก็ห่างกันจนไม่สามารถสนทนากันรู้เรื่อง นี่เลยทำให้เธอต้องเลี้ยงแบบปล่อยปละละเลย, การกระทำของเด็กสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงดูของครอบครัวในยุคสมัยนี้ พ่อแม่เหินห่างจากลูก ไม่มีเวลามาให้ความสนใจ เด็กที่โตขึ้นด้วยตัวเอง ยังไม่มีความสามารถในการคิดตัดสินใจในสิ่งที่ถูกต้อง พวกเขาจึงอาจทำในสิ่งที่ไม่คิดหน้าคิดหลังให้ดี, ไม่มีผู้ใหญ่คนไหนยอมรับหรอกนะครับ ว่าความผิดของลูก เกิดจากการเลี้ยงดูของตัวเอง, ตอนจบผมแอบสะใจ ที่ตำรวจตามจับเด็กเวรทั้ง 6 นี้สำเร็จ, เป็นคุณจะเห็นใจใครมากกว่ากัน แม่ที่มีลูกสาวฆ่าตัวตาย กับพ่อที่ไม่ต้องการเสียหน้ากับลูกชายที่กระทำผิด
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ เป็นภาพสะท้อนที่เกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ นี่อาจต้องอาศัยกระจกใบใหญ่เสียหน่อยเพื่อมองหาความสัมพันธ์ ผมก็ไม่ได้เห็นทั้งหมด แต่ก็รู้สึกว่าน่าจะใช่ โดยเฉพาะการ blackmail ของย่ากับชายแก่ เทียบได้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเด็กๆ พวกเขาคง blackmail เธอ จากการกระทำของพวกเขา, แน่นอน หนังย่อมไม่สามารถมีฉากข่มขืนเด็กอายุต่ำกว่า 18 แต่มันไม่มีเพดานห้าม สิ่งที่เราจึงเห็นจึงคือ… นี่คือมุมเล็กๆในกระจกที่ผมเห็นสะท้อนกันอยู่นะครับ กับคนที่ชอบคิด ชอบสังเกต ลองมองหาจุดพวกนี้ดูเองนะครับ มีเยอะมากแทบจะทุกอย่างเลย
ตอนจบถือว่าเปิดกว้างมากๆ ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น อยู่ดีๆตัวละครต่างๆก็หายตัวไป เหลือแค่ดอกไม้ที่วางไว้หน้าห้องเรียน แม่ตัวจริงของเด็กชายโผล่มาแปปหนึ่งเข้าไปในบ้านที่ไม่มีใครอยู่ จากนั้นก็ตัดไปถ่ายธรรมชาติ วิถีชีวิต เด็กชายกำลังวิ่งแข่งกับรถประจำทาง และกลับสู่จุดเริ่มต้น, เรื่องราวหนึ่งจบลง แต่โลกยังคงหมุนต่อไป คนที่ยังมีชีวิตก็ต้องต่อสู้แข่งขันกันต่อไป ดั่งสายน้ำที่ไหลไม่มีวันหยุด
มีกลอนเจ๋งๆ หลายบทเลยนะครับ ส่วนใหญ่จะไม่เชิงเป็นคำกลอนแต่เป็นบทพูด คำสนทนาที่มีความสวยงาม คล้องจอง ผมเลือกที่ชอบมา 5 ประโยค
– “Apples are better for eating than looking at.”
– “When I saw the apricots on the ground, I thought they were full of yearning, Throwing themselves to the ground… be crushed and trampled on, they prepare for their next life.”
– “You must like flowers cause you’re pretty.”
– ” It’s a poem that hits you strong… like when you take a cold shower.”
– “They say you should drink or fall in love to write poetry.”
หนังน่าจะดูยากสำหรับหลายๆคน ถึงจะฉายปี 2010 ภาพสีสวยสันสดใส แต่การดำเนินเรื่องค่อนข้างช้า และไม่มีเพลงประกอบ หลายคนคงทนดูไม่ได้แน่ ก็ไม่ต้องฝืนนะครับ นี่เป็นหนัง ‘บรรยากาศ’ ต้องใช้ใจสัมผัสถึงจะเห็นความสวยงาม ใช้ตามองย่อมไม่เห็นอะไร
แนะนำหนังกับคนชอบแต่งกลอน นักกวี นักปรัชญา, ใครชอบวิถีธรรมชาติ Slow-Life หนังดราม่าสะท้อนชีวิต กินใจ เสียดสีสังคม, ใครแฟนหนังเกาหลียุคก่อนๆ ผมว่า Yoon Jeong-hee ยังสาวสวยอยู่เลยนะครับ แม้เธอจะอายุเกือบ 70 แล้ว
จัดเรต 13+ มี sex scene ที่ผมพูดไม่ออกอยู่ฉากนึงครับ คุณจะดูฉากนี้ไหวไหม เมื่อถึงตอนนั้นลองถามตัวเองดู
Leave a Reply