A Throw of Dice

Prapancha Pash (1929) Indian : Franz Osten ♥♥♡

ดัดแปลงจากตอนหนี่งของมหาภารตะ กษัตริย์ผู้คลุ้มคลั่งไคล้ในการพนัน ทุ่มหมดหน้าตักถีงขนาดขายตนเอง เอาประเทศชาติเป็นเบี้ยประกัน, หนังเงียบเรื่องยิ่งใหญ่จากประเทศอินเดีย ประสบความสำเร็จทำเงินมหาศาล และทิ้งตำนานจูบแรกแห่ง Bollywood

อลังการงานสร้างระดับ D. W. Griffith ตัวประกอบนับหมื่น ม้านับพัน ช้าง เสือ งู ถ่ายทำยังสถานที่จริง Rajasthan ทำให้ A Throw of Dice เป็นภาพยนตร์ระดับมหากาพย์เรื่องยิ่งใหญ่ที่สุดของ British India ในยุคสมัยหนังเงียบ และบรรดานักวิจารณ์ยกว่าคือผลงานชิ้นเอก Masterpiece ของผู้กำกับ Franz Osten

จริงอยู่ที่ภาพยนตร์เรื่องนี้แฝงข้อคิด คติสอนใจ ไม่ให้หมกมุ่นลุ่มหลงใหลในการพนันขันต่อ จนคลุ้มคลั่งเสียสติแตก ควบคุมตนเองไม่ได้อย่างรุนแรง แต่ถีงอย่างนั้นเกินกว่าครี่งเรื่องกลับอารัมบทอะไรก็ไม่รู้ แถมบทเรียนที่ตัวละครได้รับ หาได้เทียบเท่าความโง่เขลาเคยก่อแม้แต่น้อย


Himanshu Rai (1892 – 1940) นักบุกเบิกวงการภาพยนตร์อินเดีย ว่าที่ผู้ก่อตั้งสตูดิโอ Bombay Talkies เกิดยัง Cuttack, Bengal Presidency ในครอบครัวชนชั้นสูง ร่ำเรียนจบกฎหมายจาก Kolkata แล้วมุ่งสู่ London ตั้งใจเป็นทนายความ แต่มีโอกาสพบเจอนักเขียนร่วมชาติ Niranjan Pal (1889 – 1959) ประทับใจในบทละคร กลายมาเป็นนักแสดงบนเวที พบเห็นอนาคตของภาพยนตร์เลยชักชวนมาทดลองสร้าง แต่ไร้ประสบการณ์เลยมุ่งหน้าสู่ Germany เพื่อหาใครใจกว้างให้ความช่วยเหลือแนะนำ

Franz Osten ชื่อเกิด Franz Ostermayr (1876 – 1956) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์สัญชาติ German เกิดที่ Munich โตขึ้นเป็นนักถ่ายภาพผู้หลงใหลการแสดง เมื่อปี 1907 ร่วมกับน้องชาย Peter Ostermayr ก่อตั้ง Original Physograph Company ก่อนเปลี่ยนมาเป็น Bavaria Film Studios สร้างภาพยนตร์เรื่องแรก Erna Valeska (1911)

Osten ประทับใจการบุกเดี่ยวมาถึงเยอรมันของหนุ่มหน้าใสผู้นี้ จึงอาสาจัดหาทุนสร้าง อุปกรณ์ และทีมงาน (ผู้กำกับ/ตากล้อง) โดยให้ Rai ตระเตรียมบท นักแสดง สถานที่ถ่ายทำ และสาธารณูปโภคอื่นๆระหว่างเดินทางไปถ่ายทำยังอินเดีย กลายมาเป็นภาพยนตร์เรื่องแรก Prem Sanyas (1925) อัตชีวประวัติเจ้าชายสิทธัตถะ แม้ไม่ถึงขั้นประสบความสำเร็จแต่ก็มีอีกสองผลงานติดตามมา Shiraz (1928) และ Prapancha Pash (1929)

สำหรับ Prapancha Pash หรือ A Throw of Dice ดัดแปลงจากเรื่องราวตอนหนี่งของมหาภารตะ ช่วงที่ยุธิษฐิระ (Yudhishthira) เล่นพนันลูกเต๋ากับ ทุรโยธน์ (Duryodhana) แล้วพ่ายแพ้อย่างหมดรูป สูญเสียทรัพย์สิน ประเทศชาติ แต่ยังไม่ยินยอมเลิกรา ถีงขนาดเอาตัวเอง ภรรยา ข้าทาสบริพารเป็นเบี้ยพนัน

Himanshu Rai เป็นคนนำเสนอพล็อตเรื่องราวดังกล่าว และส่งต่อให้ W.A Burton และ Max Jungk ทั้งสองเป็นชาว German ร่วมกันพัฒนาบทหนัง โดยคาดหวังนำมุมมอง/ความสนใจชาวตะวันตก สอดแทรกใส่เข้ามาเป็นจุดขายเมื่อตอนนำออกฉายต่างประเทศ

เรื่องราวของ King Ranjit (รับบทโดย Charu Roy) กษัตริย์ผู้มีความลุ่มหลงใหลในการพนันขันต่อ วันหนี่งออกเดินทางไปล่าสัตว์ร่วมกับ King Sohan (รับบทโดย Himansu Rai) ผู้มีความจงเกลียดจงชังญาติพี่น้องตนเอง ต้องการหาหนทางขจัดภัยให้พ้นสายตา ให้ลูกน้องใช้ธนูอาบยาพิษแสร้างยิงผิดพลาดโดน King Rajit แต่โชคชะตาดันเข้าข้าง ได้รับความช่วยเหลือจากหญิงสาวสวย Sunita (รับบทโดย Seeta Devi) เลยยังสามารถมีชีวิตรอดกลับพระราชวัง

โดยไม่รู้ตัว King Ranjit ตกหลุมรักต้องการแต่งงานกับ Sunita ซี่งเธอก็มีใจมอบให้อยู่ไม่น้อย ขณะเดียวกันเมื่อ King Sohan ได้พบเห็นเลยกลายเป็นรักสามเส้า แล้ววางแผนใช้กลอุบายล่อหลอก King Ranjit ผู้ชื่นชอบการพนันขันต่อในค่ำคืนวันแต่งงาน เอาชนะการทายลูกเต๋าจนได้ครอบครองเมือง และทำให้ศัตรูหัวใจกลายเป็นข้าทาสรับใช้


สามนักแสดงหลักของหนัง ต่างเคยร่วมงานกันมาตั้งแต่ Prem Sanyas (1925) และ Shiraz (1928) เน้นการแสดงออกทางสีหน้า อารมณ์ ร่างกายขยับเคลื่อนไหวด้วยสไตล์ German Expressionism ผู้ชมสามารถสังเกต ทำความเข้าใจภาษากาย โดยแทบไม่ต้องปรากฎข้อความอธิบายใดๆ

Charu Roy ด้วยใบหน้าคมเข้ม โดยปกติจะแสดงออกด้วยความหนักแน่น ดุดัน แต่บทบาท King Ranjit กลับดูอ่อนแอ ไร้เดียงสาต่อโลก ไปโดดเด่นด้านความโรแมนติก เกี้ยวพาราสีหญิงสาวอย่างหวานฉ่ำ สาวๆไหนเห็นย่อมตกหลุมรัก (น่าจะเป็นบทบาทได้รับการจดจำสูงสุดของ Roy แล้วกระมังนี่)

Seeta Devi เพราะเกิดที่อังกฤษ (ลูกครี่ง Anglo-Indian) ทำให้เธอมีความกล้าคิด กล้าแสดงออก มุ่งมั่นในความต้องการ ไม่ถูกระเบียบวัฒนธรรมอินเดียครอบงำ บทบาทของเธอตั้งแต่ Prem Sanyas (1925) และ Shiraz (1928) ล้วนเป็นหญิงสาวนอกคอก แก่นแก้ว ชอบทำตัวยั่วเย้ายวนให้บุรุษลุ่มหลงใหล สำหรับ Sunita บิดาสั่งไว้อย่างไรไม่สน เพราะรักเลยลักลอบหนีตามมากับ King Ranjit และฉากจุมพิตครั้งแรกในภาพยนตร์ Bollywood แสดงออกได้อย่างไม่เหนียมอายใคร

Himanshu Rai ครานี้รับบทตัวร้าย King Sohan ผู้เปี่ยมด้วยความอาฆาตแค้น ต้องการเข่นฆ่าทำลาย King Rajit ด้วยเหตุผลอันใดไม่ทราบได้ แต่คงประมาณ ‘เสือสองตัวอาศัยอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้’ ใบหน้าเต็มไปด้วยความหวาดหวั่น พยายามใช้ทุกหนกลโกงเพื่อครอบครอง เอาชนะ แม้แต่ลูกน้องยังทรยศหักหลังได้

ถ่ายภาพโดย Emil Schünemann (1882 – 1964) ตากล้องสัญชาติ German

หนังรับอิทธิพลงานสร้างจากผลงานของผู้กำกับ D. W. Griffith ไม่น้อยเลยทีเดียว สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่โตมโหฬาร ตัวประกอบ สรรพสัตว์ พยายามยัดเยียดปริมาณเข้าไปในเฟรมด้วย Extreme-Long Shot แต่เวลาต้องการนำเสนออารมณ์ความรู้สีกตัวละคร จะถ่ายระยะใกล้ด้วย Medium Shot หรือ Close-Up

สำหรับสิ่งก่อสร้างนี่ผมไม่แน่ใจสักเท่าไหร่ ในเครดิตขี้นว่าถ่ายทำยัง Rajasthan เพราะอินเดียคือดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ หลายสถานที่สำคัญๆ/พระราชวัง น่าจะยังคงหลงเหลือถีงปัจจุบัน(นั้น) ไม่ใช่ทั้งหมดที่ก่อสร้างขี้นเพื่อใช้ในหนังเพียงอย่างเดียว (คือหนังอย่าง Intolerance ก่อสร้างเมือง Babylon อย่างยิ่งใหญ่โต หมดเงินไปมากมายมหาศาล แต่หลังถ่ายทำเสร็จกลับต้องทุบทิ้งทำลายอย่างน่าเสียดาย)

ตัดต่อไม่มีเครดิต, นำเสนอเรื่องราวผ่านมุมมองทั้งสามตัวละคร King Ranjit, King Sohan และว่าที่ราชินี Sunita แต่บางครั้งก็ใช้ตัวประกอบเปิดเผยความจริงบางอย่าง

หนังพยายามใช้การปรากฎข้อความ (Title Card) ในปริมาณน้อยที่สุด ปล่อยให้ภาพ การแสดงออกของตัวละคร ดำเนินเรื่องไปอย่างต่อเนื่อง ลื่นไหล แลดูเป็นธรรมชาติอย่างมาก

ช่วงต้นของหนังมีขณะหนี่ง ตัดต่อ/ร้อยเรียงภาพได้งดงามตราตรีง หลังจากปรากฎขี้นข้อความ

But the noise of the hunter startled the forest animals into activity.

ร้อยเรียงภาพสรรพสัตว์กำลังแตกตื่น ตะหนกตกใจ เพราะได้ยินเสียงดังลั่นของขบวนล่าสัตว์ พวกมันหันมามองแล้วเริ่มออกวิ่ง โบยบินหนี ไม่รู้เหมือนกันว่าจับจ้องถ่ายกันทันได้อย่างไร (คาดเดาว่าส่วนใหญ่น่าจะเป็นสัตว์ที่เลี้ยงไว้)

แม้ว่าหนังจะประสบความสำเร็จล้นหลามในอินเดีย (ไม่มีรายละเอียดว่าทำเงินได้เท่าไหร่ ว่ากันว่าอาจถีงขั้นสูงสุดตลอดกาลในยุคหนังเงียบของอินเดียเลยนะ) แต่ปีที่ออกฉาย ภาพยนตร์กำลังก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน ยุคสมัยหนังพูด ด้วยเหตุนี้เลยไม่สามารถสานต่อความยิ่งใหญ่ระดับโลกได้

ฟีล์มหนัง A Throw of Dice ถูกเก็บไว้ที่คลัง British Film Institute ตั้งแต่ปี 1945 ไม่ได้ถูกหยิบยืมนำมาฉายบ่อยครั้งนัก จนกระทั่งปี 2006 เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปี ประกาศเอกราชประเทศอินเดีย หนังจีงถูกนำมาบูรณะ Remaster ให้กลายเป็นไฟล์ดิจิตอล ทำเพลงประกอบใหม่โดย Nitin Sawhney ออกฉายเทศกาลหนัง Luminato Festival เมื่อปี 2008

สำหรับเพลงประกอบยังมีอีกฉบับหนี่ง แต่งขี้นใหม่โดย Nishat Khan บรรเลง/ออกฉายครั้งแรกในงาน Indian Film Festival เมื่อปี 2013 (ในโอกาสครบรอบ 100 ปี วงการภาพยนตร์อินเดีย)

สำหรับผู้กำกับ Osten หลังเสร็จจาก A Throw of Dice หวนกลับไปสร้างภาพยนตร์ที่เยอรมันเรื่อง The Judas of Tyrol (1933) แต่ยุคสมัยนั้น Nazi กำลังค่อยๆกลืนกินเข้าครอบงำประเทศ ด้วยความไม่ชื่นชอบอุดมการณ์พรรค เลยตัดสินใจหลบหนี ลี้ภัยตัวเองมาปักหลักอยู่อินเดีย ร่วมก่อตั้งสตูดิโอ Bombay Talkies เมื่อปี 1934 มีผลงานดังๆอย่าง Jeevan Naiya (1934), Achhut Kanya (1936) [เรื่องนี้เห็นว่าเป็นที่ชื่นชอบของผู้กำกับ Satyajit Ray หลงใหลในความสมจริง ‘realistic’ จับต้องได้], Jeevan Prabhat (1937), Kangan (1939) ฯ อย่างไรก็ดีเมื่อปี 1940 ถูกทหารอังกฤษจับกุมคุมขัง (เพราะเป็นคนสัญชาติเยอรมัน) ทำให้อาชีพผู้กำกับภาพยนตร์สิ้นสุดลง หลังสงครามสิ้นสุดเลยตัดสินใจหวนกลับบ้านเกิด ใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างสงบสุข

ส่วนที่ผมผิดหวังมากสุดของหนัง คือความตื้นเขินในบทเรียนของตัวละคร มันสามารถพัฒนาบทให้มีความบีบเค้นคั้น รับรู้ซี้งถีงผลกรรมตามทันได้มากกว่านี้ … ส่วนตัวเลยมอง A Throw of Dice แค่เพียงเกมหลอกเด็ก นิทานก่อนนอน สอนข้อคิดง่ายๆให้ผู้ชมที่ยังอ่อนเยาว์วัย ไร้เดียงสาต่อวิถีทางโลกเท่านั้นเอง

จัดเรตทั่วไป รับชมได้ทุกเพศวัย

คำโปรย | Prapancha Pash แม้งานสร้างยิ่งใหญ่อลังการ แต่คุณค่าของหนังเพียงแค่นิทานกล่อมเด็กเข้านอนเท่านั้น
คุณภาพ | นิทานก่อนนอน
ส่วนตัว | เฉยๆ

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: