
Primary (1960)
: Robert Drew ♥♥♥♥
สารคดียุคสมัยใหม่ (Modern Documentary) เริ่มต้นที่ Primary (1960) แบกกล้อง ถือไมค์ ‘direct cinema’ บันทึกภาพหาเสียง ขึ้นเวทีปราศัย การเลือกตั้งขั้นต้น (Primary Vote) ระหว่างผู้สมัคร John F. Kennedy vs. Hubert Humphrey ณ รัฐ Wisconsin เมื่อปี ค.ศ. 1960
นับตั้งแต่ Nanook of the North (1922) ของผู้กำกับ Robert J. Flaherty ได้รับการปักหมุดหมายว่าเป็นภาพยนตร์สารคดีเรื่องแรกของโลก แนวหนังประเภทนี้กลับเต็มไปด้วยข้อจำกัดมากมาย นั่นเพราะเทคโนโลยีถ่ายภาพและเสียง ยังมีความเทอะทะ ยุ่งยากลำบาก ไม่สะดวกต่อการแบกกล้องขึ้นบ่า เดินไปเดินมา ในสถานการณ์เร่งรีบวุ่นวาย
Primary (1960) ถือเป็นสารคดีเรื่องแรกๆของโลกที่ทำการแบกกล้องขึ้นบ่า เดินไปเดินมา ในสถานการณ์เร่งรีบวุ่นวาย นั่นคือบันทึกภาพขณะหาเสียง ขึ้นเวทีปราศัย การเลือกตั้งขั้นต้น ทุกสิ่งอย่างล้วนคือเหตุการณ์จริง บุคคลจริง สถานที่จริง ผู้สร้างทำหน้าที่เพียงสังเกตการณ์ ไม่มีพูดคุยสอบถาม เข้าไปมีส่วนร่วม หรือปรุงปั้นแต่งอะไรใดๆ … ภายหลังมีคำเรียกสารคดีแนวนี้ว่า ‘direct cinema’
Primary had as immense and measurable an impact on nonfiction filmmaking as The Birth of a Nation had on fiction filmmaking. Drew is the D.W. Griffith of documentaries the guy who figured out how to show a story rather than tell it.
นักวิจารณ์ Matt Zoller Seitz
หลายคนอาจสงสัยว่า ‘direct cinema’ ของ Primary (1960) แตกต่างอะไรยังไงกับ ‘cinéma vérité’ ของ Chronicle of a Summer (1961) แม้ทั้งกลุ่มจะใช้วิธีแบกกล้อง ถือไมค์ แต่เป้าหมายแทบจะขั้วตรงข้าม
- direct cinema ของผกก. Robert Drew ต้องการบันทึกภาพความจริง ‘capture the moment’ เพียงสังเกตการณ์โดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว ไม่มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นใดๆ
- cinéma vérité ของผกก. Jean Rouch ตามสไตล์ French New Wave ลายเซ็นต์ของฉันต้องปรากฎอยู่ทุกช็อตฉากในหนัง พูดคุยสอบถาม แสดงความคิดเห็น เป็นตัวของตนเอง
I was surprised to see the Cinema vérité filmmakers accosting people on the street with a microphone. My goal was to capture real life without intruding. Between us there was a contradiction. It made no sense. They had a cameraman, a sound man, and about six more—a total of eight men creeping through the scenes. It was a little like the Marx Brothers. My idea was to have one or two people, unobtrusive, capturing the moment.
Robert Drew กล่าวถึงความแตกต่างระหว่าง Direct Cinema vs. Cinéma Vérité
ผมเพิ่งมีโอกาสรับรู้จักสารคดีเรื่องนี้ เมื่อตอนเขียนถึง Dont Look Back (1967) ของผู้กำกับ D. A. Pennebaker ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกรุ่นก่อตั้ง ‘Drew Associates’ เคยร่วมงานถ่ายภาพ/ตัดต่อ Primary (1960) อ่านรายละเอียดผ่านๆรู้สึกว่าน่าสนใจดี กอปรกับอยู่ในช่วงเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๖๖ เลยถือโอกาสเขียนถึงสักหน่อยแล้วกัน
Robert Lincoln Drew (1924-2014) ผู้กำกับสารคดีสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Toledo, Ohio บิดาเป็นเซลล์แมนขาย Seaplane ทำให้มีความชื่นชอบเครื่องบินตั้งแต่เด็ก ยังไม่ทันเรียนจบมัธยมอาสาสมัครทหารอากาศ ขับเครื่องบินต่อสู้กว่า 30 ภารกิจในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และเคยถูกยิงตกที่ Italy โชคดีมากๆสามารถเอาตัวรอดสามเดือนครึ่งโดยไม่ถูกจับกุม, ต่อมาเข้าทำงานนักเขียน/บรรณาธิการนิตยสาร Life เคยคว้ารางวัล Nieman Fellowship ของ Harvard University จากบทความ “Why are documentaries so dull? What would it take for them to become gripping and exciting?” จนกระทั่งมีโอกาสรับชมสารคดี Toby and the Tall Corn (1954) กำกับโดย Richard Leacock บันทึกภาพทัวร์คอนเสิร์ต ด้วยการให้กล้องติดตามนักร้อง ตั้งแต่ออกเดินทาง พบปะผู้คน ซักซ้อม เตรียมตัวการแสดง เบื้องหน้า-หลังเวที ฯ นั่นสร้างความประทับใจจนต้องรีบติดต่อหา
Richard Leacock (1921-2011) ตากล้อง/ผู้กำกับสารคดี สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ London, ตั้งแต่เด็กมีความสนใจด้านการถ่ายภาพ, โตขึ้นเข้าศึกษายัง Dartington Hall School รุ่นเดียวกับบุตรสาวของ Robert J. Flaherty ซึ่งภายหลังช่วยแนะนำให้เป็นตากล้องสารคดี(เงียบ)เรื่องสุดท้ายของบิดา Louisiana Story (1948), หลังเก็บเกี่ยวประสบการณ์ถ่ายภาพสารคดีมานาน ได้รับโอกาสกำกับรายการโทรทัศน์ Omnibus บันทึกภาพทัวร์คอนเสิร์ตนักดนตรีท้องถิ่น Toby and the Tall Corn (1954) รับรู้จัก Robert Drew เข้าร่วมเป็นสมาชิกคนแรกของ ‘Drew Associates’
Donn Alan Pennebaker (1925-2019) ผู้กำกับสารคดี สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Evanston, Illinois โตขึ้นอาสาสมัครทหารเรือ ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง, จากนั้นเข้าศึกษาคณะวิศวกรรม Yale University จบออกมาร่วมเปิดบริษัท Electronic Engineering แต่ไม่นานก็เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์แนวทดลองของ Francis Thompson ตัดสินใจลาออกมาเป็นผู้กำกับหนังสั้น Daybreak Express (1953) จนกระทั่งเข้าตา Robert Drew ชักชวนมาเป็นสมาชิกคนที่สองของ ‘Drew Associates’
Terence Macartney-Filgate (1924-2022) ผู้กำกับสารคดีสัญชาติอังกฤษ แต่ไปเติบโตที่อาณานิคมอินเดีย หลังครอบครัวเดินทางกลับอังกฤษ ค้นพบความชื่นชอบด้านสารคดีจากการรับชม Night Mail (1936), ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อาสาสมัครทหารอากาศ ตำแหน่งช่างเครื่องยนต์ (Flight Engineer), หลังจากนั้นศึกษาต่อการเมือง เศรษฐศาสตร์ ปรัชญา Oxford University, เรียนจบอพยพสู่ Canada ทำงานในสังกัด National Film Board of Canada (NFB) เริ่มจากผู้ช่วยนักเขียน ถ่ายภาพ กำกับหนังสั้นฉายทางโทรทัศน์ พอหมดสัญญาเข้าร่วมสมาชิก ‘Drew Associates’ เป็นตากล้องหลักถ่ายทำ Primary (1960)
และสมาชิกสุดท้ายของ ‘Drew Associates’ คือพี่-น้อง Albert & David Maysles ต่างเกิดที่ Boston, Massachusetts ในครอบครัวชาว Ukraine เชื้อสาย Jews
- พี่ชาย Albert Maysles (1926 – 2015) อาสาสมัครทหารบก Tank Corps ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง, หลังจากนั้นสำเร็จการศึกษาคณะจิตวิทยา Boston University ทำงานนักวิจัย/สอนหนังสืออยู่สามปี พอเกิดความเบื่อหน่ายหันมาเป็นตากล้องถ่ายทำสารคดี Psychiatry in Russia (1955) บันทึกภาพผู้ป่วยจิตเวชในโรงพยาบาลที่รัสเซีย
- น้องชาย David Maysles (1931-87) ดำเนินตามรอยเท้าพี่ชาย สำเร็จการศึกษาคณะจิตวิทยา Boston University ตามด้วยอาสาสมัครทหารบก แต่เข้าร่วมสงคราม Korean War, กลับมาได้ทำงานผู้ช่วยกองถ่าย Bus Stop (1956), The Prince and the Showgirl (1957) ทั้งสองเรื่องนำแสดงโดย Marilyn Monroe แต่กลับทำให้เขาเบื่อหน่ายความจอมปลอมของ Hollywood, จากนั้นร่วมงานพี่ชายถ่ายทำสารคดี Russian Close-Up (1957), Youth in Poland (1958)
สรุปแล้ว ‘Drew Associates’ นำโดย Robert Drew ประกอบด้วยสมาชิก Richard Leacock, D. A. Pennebaker, Terence Macartney-Filgate และสองพี่น้อง Maysles brothers ไม่มีเกี่ยงว่าใครทำอะไร มีการแบ่งงานเป็นคู่ ‘two-person crew’ ทีมละสองคน หนึ่งแบกกล้อง สองถือไมค์ สลับกันไปมา อยากบันทึกภาพอะไรตรงไหนก็ตามสบาย
It was like a jazz band, where everyone had their own instrument and their own voice, but we were all playing together, improvising and riffing off each other to create something greater than the sum of our parts. Bob was the leader, but he always encouraged us to bring our own ideas and perspectives to the table. It was a very collaborative and creative environment.
Richard Leacock กล่าวถึงการร่วมงานกับ ‘Drew Associates’
Nonfiction filmmakers were afflicted by two problems, one technical, the other spiritual. Technically, they did not have the equipment to do the sort of work I had in mind. Spiritually, they didn’t care about the work because they’d been mistrained. They’d been mistrained because their equipment was so heavy and complicated that it made it impossible to shoot in situations where you could really capture reality. This problem couldn’t be solved until somebody figured out how to cut the equipment down to a load that anybody could carry.
Robert Drew กล่าวถึงปัญหาของวงการสารคดี
ภาพยนตร์ ‘non-fiction’ ยุคสมัยก่อนหน้านี้ เต็มไปด้วยข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี เพราะความใหญ่โตของกล้อง กว่าจะติดตั้ง เคลื่อนขนย้าย สายไฟระโยงระยาง ทั้งเสียเวลา ทั้งยุ่งยากลำบาก ไม่เหมาะกับสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบวุ่นวาย ผู้คนมากมาย
ผกก. Drew มีโอกาสรับรู้จักนักประดิษฐ์อัจฉริยะ Mitch Bogdanowicz ทำงานให้กับ CIA ร้องขอให้ปรับแต่งกล้อง Auricon 16 mm เปลี่ยนวัสดุเหล็กน้ำหนักมาก มาเป็นพลาสติกน้ำหนักเบา, ออกแบบเลนส์ที่สามารถปรับโฟกัส ซูมใกล้-ไกล, ใช้ไฟจากแบตเตอรี่แทนเชื่อมต่อสายไฟระโยงระยาง, รวมถึงสร้างอุปกรณ์เสริม (custom-made) Camera Rig สำหรับให้แบกขึ้นบ่า ตากล้องสามารถเดินไปเดินมาได้สะดวก
Mitchell Bogdanowicz was the technical genius who allowed us to change the gears in the camera from metal to plastic, which would make the camera quiet enough. Bogdanowicz was able to adapt the camera to take the zoom lens, and he engineered a device to change battery power. He had a studio in New York, which I think was mainly devoted to the CIA. It was rather a large place, and he wouldn’t talk about the work he was doing for the government. When we ran into a real problem, we had to go to him.
Robert Drew กล่าวถึงนักประดิษฐ์ Mitch Bogdanowicz
นอกจากนี้ยังได้รับความช่วยเหลือจาก Loren Ryder วิศวกรเสียง (Sound Engineer) บินตรงมาจาก Hollywood เพื่อช่วยสร้างอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อ (Synchronous) ระหว่างภาพและเสียงภายหลังการถ่ายทำ ยังห้องพักโรงแรมที่ Minneapolis (ยุคสมัยนั้นการ Sound Mixing ต้องทำในสตูดิโอที่มีอุปกรณ์ราคาหลายหมื่นแสน)
While I was shooting Primary, I had Pennebaker setting up the new system in a hotel room in Minneapolis. When Primary was shot, I moved to Minneapolis to see the new system. Pennebaker flung open the door to the hotel room—it was a ballroom, gigantic—it was filled with wires and cables and heat. Pennebaker said: “Don’t worry, Bob, I’ve wired the fuses.” So we were drawing tremendous power, and I was afraid the hotel would burn down.
On Primary, Leacock had the principal camera, and I had the principal sound, and we were bound together by a wire. But we found out the wire had been broken the whole time, and there was no way to edit the film with the sound. Until we looked into Loren Ryder’s machinery and found this crank that would change the speed of the film versus the tape. Pennebaker found we could actually synchronize these, shot by shot—for 40,000 feet. So Pennebaker became the man at the crank, and we all stood around him, shouting: “Turn it to the left, turn it to the right, faster, slower.” For five or six weeks.
Robert Drew กล่าวถึงอุปกรณ์ Mixing Sound ของ Loren Ryder ให้คำยกย่องว่า ‘Revolutionary Editing Machine’
จุดประสงค์ของการปรับแต่งกล้องและอุปกรณ์บันทึกเสียง ก็เพื่อให้การถ่ายทำสามารถใช้ทีมงานเพียงสองคน หนึ่งแบกกล้อง สองถือไมค์ ‘two-person crew’ ไม่ว่าสถานการณ์ใดๆก็สามารถบุกป่าฝ่าดง ไร้พันธนาการเหนี่ยวรั้งการทำงานอีกต่อไป!
แซว: การใช้ทีมงานสองคน ‘two-person crew’ ถือว่าน้อยแล้วนะ แต่หลังจาก D. A. Pennebaker แยกออกไปฉายเดี่ยว ตอนสรรค์สร้าง Dont Look Back (1967) กลายเป็น ‘one-man crew’ บุคคลเดียวทำทุกสิ่งอย่าง!
เมื่อได้อุปกรณ์พร้อมก็ถึงเวลามองหาโปรเจคสำหรับถ่ายทำ ซึ่งความสนใจขณะนั้นของผกก. Drew คือกระแสเลือกตั้งที่กำลังใกล้เข้ามาถึง การแข่งขันระหว่างผู้สมัคร เผชิญหน้าด้วยแนวคิด อุดมการณ์ วิธีการที่แตกต่าง นั่นจักทำให้ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ดูน่าตื่นตาตื่นใจยิ่งขึ้น
I saw the presidential campaign as a great subject for a documentary film because it was a moment when the media and politics were intersecting in really interesting ways.
I think politics is one of the most interesting things you can film because it’s about power and decision-making and the way people interact with each other. It’s also about ideas and ideals, and the clash between them. All of these things make for great drama on film.
ตัวละครสำคัญของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็คือสองผู้สมัคร ผกก. Drew เล่าว่าทางฝั่ง John F. Kennedy เป็นคนกระตือรือร้น ตรงไปตรงมา พร้อมให้การร่วมมือทุกสิ่งอย่าง ผิดกับทางฟาก Hubert Humphrey เต็มไปด้วยข้อเรียกร้อง ต่อรองโน่นนี่นั่น … ไม่น่าเชื่อว่าลงสมัครพรรคเดโมแครตเดียวกัน กลับมีความแตกต่างแทบจะขั้วตรงข้าม ชัดเจนถึงเพียงนี้!
สิ่งที่ผกก. Drew เรียกร้องขอต่อผู้สมัครทั้งสอง คือเพียงถือกล้องติดตามระหว่างทำการหาเสียง ขึ้นเวทีปราศัย ไม่มีการพูดคุย สัมภาษณ์ ถาม-ตอบ หรือให้การช่วยเหลืออะไรใดๆที่จะเป็นผลได้-เสียกับการเลือกตั้ง … นี่คือลักษณะของ ‘direct cinema’ ผู้สร้างเป็นแค่บุคคลสังเกตการณ์เท่านั้น
Kennedy was obviously the more charismatic of the two candidates, and he had a kind of star quality that really came through on camera. Humphrey was more of a policy wonk, but he had a real passion for the issues and a deep knowledge of government.
Kennedy was a natural on camera, and he knew how to use the media to his advantage. He had a real understanding of the power of image and the way that a well-crafted message could shape public opinion.
Humphrey was a very sincere and dedicated public servant, and he had a deep commitment to social justice and civil rights. But he was also a bit of a policy wonk, and he could come across as a bit dry and technical at times. This made it harder for him to connect with the voters on an emotional level.
Robert Drew กล่าวถึง John F. Kennedy และ Hubert Humphrey
เครดิตของหนังทำการเหมารวม ‘Drew Associates’ โดยไม่มีการแบ่งแยกใครทำงานอะไร หรือแม้แต่ Robert Drew ยังพยายามหลีกเลี่ยงใช้คำว่า ‘Director By’
- Conceived & Produced by Robert Drew
- Photographers: Richard Leacock, D. A. Pennebaker, Terence Macartney-Filgate, Albert Maysles
- Managing Editor: Robert Drew
- Sequence Editors: Richard Leacock, D. A. Pennebaker, Terence Macartney-Filgate
งานภาพของหนังมีคำเรียกว่า ‘entfesselte Kamera’ หรือ ‘unchained cinema’ เพราะเมื่อกล้องตั้งอยู่บนบ่าช่างภาพ ทุกช็อตฉากมันคือความเป็นไปได้ไม่รู้จบ อยากจะดำเนินไปทิศทางไหน หันซ้าย-ขวา ซูมเข้า-ออก ด้วยความช้า-เร็ว ไม่มีโซ่ล่าม พันธนาการเหนี่ยวรั้งอีกต่อไป
มีหลายช็อตที่สร้างความน่าตื่นตาให้ผู้ชมสมัยนั้น แต่ไฮไลท์ที่ใครๆกล่าวขวัญถึงก็คือระหว่าง JFK เดินฝ่าฝูงชนที่มาเฝ้ารอฟังการปราศัย ซึ่งกล้องจะเคลื่อนติดตามจากด้านหลังไปจนถึงบนเวที นี่ถือเป็นครั้งแรกในวงการภาพยนตร์เลยก็ว่าได้ ที่บันถึงภาพเหตุการณ์ลักษณะนี้

จะมีอยู่สองสามครั้งที่ผู้ชมสามารถพบเห็นสมาชิก ‘Drew Associates’ ปรากฎตัวเบื้องหน้ากล้อง พยายามทำตัวอย่างแนบเนียน แสร้งเป็นนักข่าวคนอื่นๆ (ช่วงหลังประกาศผลการเลือกตั้ง) อย่างช็อตนี้บุคคลขวามือสุดที่กำลังถือไมค์หล่อๆ นั่นคือผู้กำกับ Robert Drew
ซึ่งการที่ผกก. Drew ยืนอยู่อีกฟากฝั่งมุมกล้อง นั่นแสดงว่าซีนนี้ต้องมีอย่างน้อยสองทีมงาน ประกบด้านหน้า-หลัง … คือมันก็แน่อยู่ว่าการถ่ายทำต้องมีอย่างน้อย 2 ทีม #Kennedy และ #Humphrey (แต่ ‘Drew Associates’ มีทั้งหมดหกคน ก็อาจจะมีสามทีมนะครับ)
อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องถือว่าเป็นความบังเอิญอย่างน่าทึ่ง คือประโยคสัมภาษณ์ของ Hubert Humphrey พูดว่า “I’m a conservative, prudent man”. โดยไม่รู้ตัวสามารถสื่อถึงผกก. Drew ในช็อตนี้ได้เช่นเดียวกัน!

ในส่วนของการลำดับเรื่องราว จะมีการตัดสลับไปมาระหว่าง John F. Kennedy และ Hubert Humphrey ตั้งแต่เดินทางมาถึงรัฐ Wisconsin เดินแจกใบปลิวหาเสียง ขึ้นเวทีปราศัย วันเลือกตั้งขั้นต้น รอผลนับคะแนน และประกาศผู้ได้รับชัยชนะ
- บรรยากาศการหาเสียง
- เริ่มจาก Hubert Humphrey เดินเท้าหาเสียง จับมือ แจกใบปลิว พูดคุยกับผู้คนเดินผ่านไปผ่านมา
- ตรงกันข้ามกับ John F. Kenney ขึ้นเวทีปราศัย รายล้อมรอบด้วยผู้คนมากมาย
- คำปราศัยของสองผู้สมัคร
- Humphrey พูดคุยกับเกษตรกรกลุ่มเล็กๆที่มารับฟังการปราศัย มีที่นั่งหลงเหลือมากมาย
- Kennedy ต้องแหวกผ่านฝูงชนกว่าจะสามารถขึ้นไปปราศัย
- วันเลือกตั้ง รอผลนับคะแนน และผู้ได้รับชัยชนะ
- วันเลือกตั้ง Kennedy มาจับมือผู้ลงคะแนนหน้าคูหา
- ร้อยเรียงชุดภาพขณะลงคะแนนเสียง
- ยามค่ำคืน Kennedy และ Humphrey ต่างเฝ้ารอคอยผลคะแนนอย่างใจจดใจจ่อ
- ก่อนประกาศผลผู้ชนะในการเลือกตั้งขั้นต้น
หลายครั้งทีเดียวพบเห็นการตัดต่อภาพเหตุการณ์ซ้ำๆ จับมือ, เซ็นชื่อ, พูดขอบคุณ, แจกใบปลิว ฯ (เห็นแล้วเหนื่อยแทนผู้สมัครเลือกตั้ง) รวมถึงระหว่างลงคะแนนเสียง จะมีการร้อยเรียงชุดภาพ(รองเท้า)ของผู้เข้าคูหา เหล่านี้คือวิธีเล่าเรื่องด้วยภาพ เน้นย้ำว่ากำลังทำอะไร มอบสัมผัสบทกวีภาพยนตร์ได้ด้วยเช่นกัน
สำหรับเพลงประกอบ จะได้ยินเพียงบทเพลงประจำตัวผู้สมัครทั้งสอง (Campaign Songs) ประกอบด้วย High Hopes แต่งโดย Sammy Cahn, Jimmy Van Heusen, ขับร้องโดย Frank Sinatra สำหรับใช้ประกอบภาพยนตร์ A Hole in the Head (1959) สามารถคว้ารางวัล Oscar: Best Original Song
สำหรับฉบับที่ใช้หาเสียงของ John F. Kenney มีการปรับเปลี่ยนเนื้อคำร้อง ลดปริมาณท่อนลงครึ่งหนึ่ง แต่ยังได้ Sinatra มาบันทึกเสียงให้
ต้นฉบับ | ฉบับหาเสียง |
---|---|
Next time you’re found With your chin on the ground There a lot to be learned So look around Just what makes that little old ant Think he’ll move that rubber tree plant Anyone knows an ant can’t Move a rubber tree plant But he’s got high hopes He’s got high hopes He’s got high apple pie In the sky hopes So any time you’re gettin’ low ‘Stead of lettin’ go Just remember that ant Oops, there goes another rubber tree plant Oops, there goes another rubber tree plant Oops, there goes another rubber tree plant When troubles call And your back’s to the wall There a lot to be learned That wall could fall Once there was a silly old ram Thought he’d punch a hole in a dam No one could make that ram scram He kept buttin’ that dam ‘Cause he had high hopes He had high hopes He had high apple pie In the sky hopes So any time you’re feelin’ bad ‘Stead of feelin’ sad Just remember that ram Oops, there goes a billion kilowatt dam Oops, there goes a billion kilowatt dam Oops, there goes a billion kilowatt dam All problems just a toy balloon They’ll be bursted soon They’re just bound to go pop Oops, there goes another problem, kerplop Oops, there goes another problem, kerplop Oops, there goes another problem, kerplop Kerplop | Everyone is voting for Jack ‘Cause he’s got what all the rest lack Everyone wants to back — Jack Jack is on the right track ‘Cause he’s got high hopes He’s got high hopes 1960 is the year for his high hopes Come on and vote for Kennedy Vote for Kennedy And we’ll come out on top! Oops, there goes the opposition – ker – Oops, there goes the opposition – ker – Oops, there goes the opposition – KERPLOP! K–E–DOUBLE N–E–D–Y Jack’s the nation’s favorite guy Everyone wants to back — Jack Jack is on the right track ‘Cause he’s got high hopes He’s got high hopes 1960 is the year for his high hopes Come on and vote for Kennedy Vote for Kennedy Keep America strong Kennedy, he just keeps rollin’ – a – Kennedy, he just keeps rollin’ – a – Kennedy, he just keeps rollin’ along! Vote for Kennedy! |
ส่วนบทเพลงหาเสียงของ Hubert Humphrey เห็นว่านำจากท่วงทำนอง The Ballad of Davy Crockett แต่ผมหาข้อมูลไม่ได้ว่าใครขับร้อง เพราะหลังจากความพ่ายแพ้การเลือกตั้งขั้นต้น บทเพลงนี้ก็เลือนหายไปจากความทรงจำ หลงเหลือเพียงได้ยินจากสารคดีเรื่องนี้เท่านั้นเอง
We’re gonna stick with him all the way to the end
He used to come over just to help us out
It’s our turn to help him
Without any doubt
So vote for HubertHubert, Hubert Humphrey
The president for you and me,
Hubert, Hubert Humphrey,
The president for you and me.
มองอย่างผิวเผิน สารคดีเรื่องนี้บันทึกภาพกิจกรรมการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งขั้นต้น (Primary Vote) ระหว่างระหว่าง John F. Kennedy vs. Hubert Humphrey ณ รัฐ Wisconsin เมื่อปี ค.ศ. 1960 เพื่อสรรหาบุคคลเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครต (Democratic Party) ลงชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
แม้ทั้ง Kennedy และ Humphrey จักคือสมาชิกพรรคเดโมแครต แต่มุมมองความคิด ทัศนคติทางการเมือง กลุ่มเป้าหมาย/วิธีหาเสียง รวมถึงศักยภาพผู้นำ ล้วนมีความแตกต่างแทบจะตรงกันข้าม! ผมคงไม่เจาะลึกถึงรายละเอียดตรงนั้น แต่อยากจะสะท้อนให้ถึงความสัมพันธ์บางอย่างต่อภาพยนตร์เรื่องนี้ ที่ถือเป็นหมุดหมายสำคัญต่อวงการสารคดี กำลังก้าวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ (Modern Documentary)
เราสามารถเปรียบเทียบ Humphrey (ตอนลงสมัครอายุ 49 ปี) คือนักการเมืองรุ่นเก่า หาเสียงกับเกษตรกร คนรากหญ้า ไม่สามารถเข้าถึงประชาชนวงกว้าง หรือก็คือสารคดียุคก่อนที่เต็มไปด้วยข้อจำกัดมากมาย ไม่ค่อยได้รับความนิยม ดูเฉิ่มเชยตามกาลเวลา
ตรงกันข้ามกับ Kennedy (ตอนลงสมัครอายุ 43 ปี) เป็นคนรุ่นใหม่ มีวิสัยทัศน์ไกล รู้จักวิธีการกับสื่อสารมวลชน หาเสียงกับคนเมือง สามารถเข้าถึงประชาชนวงกว้าง หรือก็คือสารคดีเรื่องนี้ ได้รับความคาดหวังอย่างสูง ‘High Hopes’ ว่าจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โลกยุคสมัยใหม่ที่แตกต่างจากอดีต อิสรภาพที่ไร้พันธนาการเหนี่ยวรั้ง
หลายคนอาจมีความฉงนเล็กๆว่าทำไมผกก. Drew ถึงเลือกจุดเริ่มต้น-สิ้นสุด ด้วยภาพและบทเพลงเลือกตั้งของ Hubert Humphrey (แทนที่จะเป็น JFK ที่ชนะการเลือกตั้ง) บางคนอาจตีความว่าการเลือกตั้งขั้นต้นรัฐ Wisconsin คือจุดเริ่มต้น-สิ้นสุดของ Humphrey เพราะไม่ได้มีโอกาสจะเป็นตัวแทนพรรคในการเลือกตั้งใหญ่อยู่แล้ว, แต่ผมครุ่นคิดว่าอาจเพราะเนื้อคำร้องบทเพลง มันมีความสอดคล้องกับจุดเริ่มต้น-สิ้นสุด “We’re gonna stick with him all the way to the end”.
ภายหลังการเสียชีวิตของผกก. Drew เมื่อปี ค.ศ. 2014 องค์กร Drew Associates ได้มีการสร้างรางวัล Robert and Anne Drew Award for Documentary Excellence สำหรับสารคดียอดเยี่ยมประจำปี ซึ่งในปีแรกมอบให้กับ Citizenfour (2014) ของผู้กำกับ Laura Poitras ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้าแขกพิเศษอย่าง Pennebaker และ Maysles
My filmmaking is built upon the groundbreaking legacy and artistry of Robert Drew. What he pioneered in the ’60s with films like Primary and Crisis, where he documented real world events unfolding in real time in front of his camera, is the foundation of all of my work. Drew understood that human drama exists in everyday life – from the simplest acts of daily life, to life threatening situations. I am honored to receive this award and to continue the tradition of non-fiction filmmaking that he founded.
คำกล่าวสุนทรพจน์ของ Laura Poitras
นอกจากนี้ Poitras ยังกล่าวถึงสิ่งที่เธอรู้สึกสูญเสียดายจากตำนานของ Robert Drew นั่นคือพวกเขาไม่ได้บันทึกภาพจุดเริ่มต้น เบื้องหลังการทำงาน รวมถึงตอนเข้าพบเจอ พยายามโน้มน้าว John F. Kennedy (และ Hubert Humphrey) ตอบตกลงถ่ายทำสารคดีเรื่องนี้
The only mistake that was made by Robert Drew, by Pennebaker, by Leacock, by all of them, was that they never documented the making of the new cinema, the process of creating it. We have almost nothing left, except for the films themselves, to tell us how it was done, how they thought about it, how they discovered it, how they created the new language. We know nothing about that. We know only that they did it.
If I could go back in time, I would film the moment when Robert convinced Kennedy to document his primary race. I would document Penny’s building the camera that allowed them to follow life unfolding in front of them. I would be there when they watched the rushes of Albert’s legendary shot of Kennedy walking to the stage. Did they understand what they were creating? Did they have a shared vision, or did they argue? And did they know that generations of filmmakers would follow in their footsteps?
Laura Poitras กล่าวถึงความผิดพลาดหนึ่งเดียวของ ‘Drew Associates’
หลังสร้างเสร็จ ผกก. Drew พยายามมองหาสถานีโทรทัศน์สำหรับนำออกฉาย แต่ไม่มีโปรดิวเซอร์คนไหนให้ความสนใจเพราะการใช้กล้อง Hand-Held ยุคสมัยนั้นยังเป็นสิ่งไม่คุ้นตาผู้ชม รวมถึงการเลือกตั้งขั้นต้นรัฐ Wisconsin ได้จบสิ้นลงไปนานแล้ว มันจะมีความน่าสนใจตรงไหนกัน?
สุดท้ายผกก. Drew ต้องตัดต่อใหม่จากชั่วโมงเหลือเพียง 26 นาที ให้กลายเป็นคล้ายๆข่าว Newsreel ฉายตามสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น จนหลังจาก John F. Kennedy ได้รับชัยชนะเลือกตั้งใหญ่เหนือคู่แข่ง Richard Nixon ถึงค่อยมีสถานีโทรทัศน์ใหญ่ๆให้ความสนใจ และมีโอกาสเดินทางไปฉายตามเทศกาลหนังในยุโรป
ปธน. Kennedy เมื่อรับชมสารคดีเรื่องนี้ (ภายหลังชัยชนะเลือกตั้งใหญ่) มีความชื่นชอบประทับใจอย่างมากๆ สอบถามผกก. Drew ว่าครุ่นคิดอยากทำอะไรต่อไป จึงทำการเสนอแนะโปรเจคใหม่ ได้รับการตอบตกลงทันที
He hadn’t seen himself this way before. If you think back on how television was, and how in some ways it still is, you realize that Kennedy had never really seen himself in action. He only saw sound bites? little pieces of himself giving a speech someplace. In Primary he saw himself day after day in different situations. There had never been a film like that on a president. That was the whole idea.
After the screening of Primary, he said, ‘What do you want to do next?’ I said [that] I’d like to do a film about a president in a crisis, having to make decisions with his back to the wall. He liked that, and again, think about why he would like it. He’d seen images of presidents before, but they had no connection to the job as he knew it. They were all just pictures of people shaking hands in front of automobiles. He thought about it and said, ‘Yes, I can see the idea. Imagine if I could see what happened in the White House in the 24 hours before we declared war on Japan.’
Robert Drew
ผลลัพท์กลายมาเป็น The Kennedy Films of Robert Drew & Associates รวบรวมโดย Criterion Collection ทำการบูรณะ ‘digital restoraion’ คุณภาพ 2K จำนวน 4 เรื่อง ประกอบด้วย
- Primary (1960)
- Adventures on the New Frontier (1961)
- Crisis: Behind a Presidential Commitment (1963)
- หนังสั้น Faces of November (1964)
ผู้ชมปัจจุบันอาจรับรู้สึกว่า Primary (1960) ไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่ ผลการเลือกตั้งก็รับรู้อยู่แล้วว่า John F. Kenney ต้องได้รับชัยชนะ แต่การถ่ายภาพ ลำดับเรื่องราว ยังต้องชมว่าน่าตื่นตาตื่นใจ ชวนให้ติดตามตั้งแต่ต้นจนจบ บันทึกประวัติศาสตร์ ‘Time Capsule’ และถ้าเราตระหนักว่านี่คือสารคดีเรื่องแรกๆที่นำเสนอด้วยวิธีการเหล่านั้น มันอาจรู้สึกขนลุกขนพองขึ้นมาทันที
ในบรรดาภาพยนตร์เกี่ยวกับการเลือกตั้งที่ผมเคยเขียนถึงเมื่อหลายปีก่อน บอกเลยว่าไม่มีเรื่องไหนน่าประทับใจไปว่า Primary (1960) อาจเพราะการบันทึกภาพบุคคลจริง เหตุการณ์จริง เลือกตั้งจริงๆ มันเลยมีความจับต้องและทรงคุณค่ามากๆกว่า
จัดเรตทั่วไป แต่เด็กเล็กคงดูไม่รู้เรื่อง
Leave a Reply