Rachmaninoff: Piano Concerto No. 2

Rachmaninoff: Piano Concerto No. 2

(7/3/2023) Sergei Rachmaninoff ประพันธ์ผลงานชิ้นเอกระหว่างกำลังรักษาอาการซึมเศร้า เริ่มจากเปียโนเล่นเสียงเหมือนระฆัง ให้ดังกึกก้องกังวาล ปลุกตื่นขึ้นจากฝันร้าย แล้วค่อยๆไต่ไล่ระดับ ฟันฝ่าอุปสรรคคลื่นลมพายุ พุ่งทะยานสู่จุดสูงสุด เพื่อจิตวิญญาณจักได้รับการปลดปล่อยสู่เสรีภาพ

Rachmaninoff: Piano Concerto No. 2 เป็นบทเพลงคลาสสิกที่ผมโปรดปรานอันดับหนึ่งมายาวนาน แต่เพิ่งตระหนักว่าไม่เคยรับล่วงรู้เบื้องหลัง จุดเริ่มต้น ที่มาที่ไปเลยสักนิด! ในโอกาสกำลังจะเขียนถึงภาพยนตร์ Brief Encounter (1945) ก็เลยต้องทบทวนการตีความบทเพลงนี้ใหม่

Sergei Vasilyevich Rachmaninoff (1873-1943) คีตกวีชาวรัสเซีย เกิดที่หมู่บ้าน Semyonovo ใกล้ๆกับ Staraya Russa, Novgorod Governorate ขณะนั้นคือ Russian Empire ในครอบครัวชนชั้นสูง สืบเชื้อสาย Vasily ไล่โปเจียมไปถึง Stephen III of Moldavia หรือ Stephen the Great (1433-1504, ครองราชย์ 1457-1504) มีพี่น้องทั้งหมดหกคน ชายสาม-หญิงสาม ตัวเขาเป็นบุตรชายคนเล็ก

Rachman เริ่มเรียนเปียโนจากมารดาตั้งแต่อายุ 4 ขวบ สัมผัสได้ถึงอัจฉริยภาพสามารถจดจำทุกตัวโน๊ต เล่นไม่เคยผิดเพี้ยน เลยว่าจ้างครูสอนดนตรี Anna Ornatskaya เพิ่งจบจาก Saint Petersburg Conservatory ให้มาปักหลักอาศัยอยู่ร่วมกับครอบครัว … ต่อมา Rachman ประพันธ์ 12 Romances, Op.14 บทเพลงที่ 11. Vesenniye vody (แปลว่า Spring Waters) อุทิศให้กับ Ornatskaya

เพียงอายุ 10 ขวบ Ornatskaya เขียนจดหมายแนะนำให้ Rachman เข้าศึกษาต่อยัง Saint Petersburg Conservatory แต่เขากลับเลือกใช้ชีวิตอย่างเรื่อยเปื่อยจนสอบตก (ว่ากันว่าเพราะยังทำใจไม่ได้กับการสูญเสียพี่สาว) เลยถูกสั่งย้ายมา Moscow Conservatory เพื่อร่ำเรียนครูสอนดนตรีที่มีความเข้มงวดกวดขันอย่าง Nikolai Zverev พออายุสิบห้ากลายเป็นนักเรียนดีเด่นจนได้รับทุนการศึกษา แล้วมีโอกาสร่ำเรียนการแต่งเพลงกับ Anton Arensky และ Sergei Taneyev ประพันธ์บทเพลงแรก Piano Concerto No. 1, Op. 1, (1891) และทำการบรรเลงเปียโนด้วยตนเอง จนได้รับการยกย่อง

Europe’s greatest piano prodigy since Franz Liszt.

บทเพลงในยุคแรกๆของ Rachman รับอิทธิพลอย่างล้นหลามจากคีตกวีรุ่นพี่ Pyotr Ilyich Tchaikovsky เมื่อครั้นประพันธ์กวีซิมโฟนี (Symphonic Poem) เรื่อง The Rock, Op.7 สร้างความประทับใจให้ Tchaikovsky ถึงขนาดต้องการนำเอาบทเพลงนี้รวมอยู่ในโปรแกรมทัวร์ยุโรป … แต่ยังไม่ทันได้เริ่มออกทัวร์ Tchaikovsky พลันด่วนเสียชีวิตจากไปเสียก่อน สร้างความเศร้าโศกอย่างรุนแรงกับ Rachman ถึงขนาดประพันธ์อีกบทเพลงอุทิศให้ Trio élégiaque No. 2 แต่สภาพจิตใจกลับยังไม่ดีขึ้นสักเท่าไหร่

นั่นทำให้ผลงานชิ้นถัดมา Symphony No. 1, Op.13 (1895) เมื่อทำการแสดงรอบปฐมทัศน์ยัง St. Petersburg ได้เสียงตอบรับระดับหายนะ แต่เหตุผลหลักๆว่ากันว่าเกิดจากตัวของวาทยกร Alexander Glazunov ต้องการ ‘dis-credit’ ด้วยการดื่มเหล้าจนเมามายก่อนขึ้นกำกับวง

The Symphony was insufficiently rehearsed, the orchestra was ragged, basic stability in tempos was lacking, many errors in the orchestral parts were uncorrected; but the chief thing that ruined the work was the lifeless, superficial, bland performance, with no flashes of animation, enthusiasm or brilliance of orchestral sound.

Alexander Khessin หนึ่งในผู้ชมคอนเสิร์ตรอบดังกล่าว

This music leaves an evil impression with its broken rhythms, obscurity and vagueness of form, meaningless repetition of the same short tricks, the nasal sound of the orchestra, the strained crash of the brass, and above all its sickly perverse harmonization.

นักวิจารณ์คนหนึ่ง…

เกร็ด: Symphony No. 1 เป็นบทเพลงเดียวของ Rachmaninoff ที่ไม่เคยถูกนำกลับมาแสดงในช่วงชีวิตของเขา จนกระทั้ง Moscow Conservatory จัดคอนเสิร์ตอุทิศให้เมื่อปี ค.ศ. 1945 จากนั้นก็ได้รับการแพร่หลายไปทั่ว

เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของ Rachman อย่างหนักมากๆ ดื่มเหล้าหนักจนล้มป่วยอาการซึมเศร้า (Depression) ช่วงปลายทศวรรษที่ 19th แทบจะไม่มีผลงานประพันธ์เพลงใดๆออกมา ‘Writer’s Block’ จนกระทั่งเข้ารับการรักษาด้วยวิธีสะกดจิตจากจิตแพทย์ Dr. Nicolai Dahl

You will begin to write your concerto … You will work with great facility … The concerto will be of an excellent quality.

ตัวอย่างคำพูดสะกดจิตของ Dr. Nicolai Dahl

นั่นทำให้ Rachman ปรับเปลี่ยนแปลงเป็นคนใหม่ สามารถหวนกลับมาประพันธ์บทเพลงได้อีกครั้ง เลยตัดสินใจอุทิศ Piano Concerto No. 2, Op. 18 ให้กับ Dr. Dahl ที่ช่วยเหลือเขาพานผ่านช่วงเวลาอันเลวร้ายนี้ได้สำเร็จ!


Piano Concerto No. 2, Op. 18 ประกอบด้วย 3 ท่อน (Movement)

  1. Moderato (C minor)
  2. Adagio sostenuto – Più animato – Tempo I (C minor → E major)
  3. Allegro scherzando (E major → C minor → C major)

Rachman เริ่มประพันธ์ท่อนสอง-สาม ระหว่างได้รับเชิญไปทำการแสดงคอนเสิร์ตที่อิตาลี ช่วงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1900, พอกลับมารัสเซียช่วงฤดูร้อน ยังคงติดๆขัดๆกับท่อนแรก ที่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจ แต่ยังไม่สามารถหาหนทางถ่ายทอดออกมาเป็นตัวโน๊ตได้สำเร็จ

the material grew in bulk, and new musical ideas began to stir within me—far more than I needed for my concerto.

Sergei Rachmaninoff

ท่อนสอง-สาม ที่ประพันธ์เสร็จสิ้นก่อนได้ถูกนำมาทำการแสดงครั้งแรกยัง Moscow Nobility Hall วันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1901 เพื่อระดมทุนให้กับ Ladies’ Charity Prison Committee กำกับวงโดย Alexander Siloti (ลูกพี่ลูกน้องของ Rachman) และ Rachman บรรเลงเปียโนด้วยตนเอง เสียงตอบรับจากนักวิจารณ์เต็มไปด้วยความกระตือรือล้น

It’s been long since the walls of the Nobility Hall reverberated with such enthusiastic, storming applause as on that evening … This work contains much poetry, beauty, warmth, rich orchestration, healthy and buoyant creative power. Rachmaninoff’s talent is evident throughout.

นักวิจารณ์ดนตรี Ivan Lipaev

Rachman ยังคงใช้เวลาอีกหลายเดือนกว่าจะประพันธ์ท่อนแรกเสร็จสิ้น เมษายน ค.ศ. 1901 แล้วทำการแสดงรอบปฐมทัศน์ยัง Moscow Philharmonic Society วันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1901 ด้วยวาทยกรและนักดนตรีชุดเดียวกับรอบการแสดงที่ Moscow Nobility Hall

The direct expression of the work, the extraordinary precision and exactitude of Rachmaninoff’s playing, and even the strict economy of movement of arms and hands which he exercises, all contributed to the impression of completeness of performance.

คำวิจารณ์จากนิตยสาร The Times

notable for its conciseness and for its lyrical themes, which are just sufficiently contrasted to ensure that they are not spoilt either by overabundance or overexposure.

นักวิจารณ์/ประวัติศาสตร์ดนตรี Geoffrey Norris

his most popular, most often performed and, arguably, the most perfect structurally. It sounds as if it wrote itself, so naturally does the music flow.

นักเปียโน Sir Stephen Hough

ตลอดชีวิตของ Sergei Rachmaninoff ทำการแสดง Piano Concerto No. 2 ทั้งหมด 145 ครั้ง! (โดยเฉลี่ยปีละ 3-4 ครั้ง) และเมื่อปี ค.ศ. 1904 ได้รับรางวัล Glinka Award มอบให้บทเพลง/คีตกวี/นักดนตรีชาวรัสเซีย มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ สร้างชื่อเสียงแก่ประเทศชาติ


ไม่ใช่นักเปียโนทุกคนจะสามารถเล่น Rachmaninoff: Piano Concerto No. 2 นอกจากความซับซ้อนในแง่เทคนิค วิธีการบรรเลง ผมอ่านเจอบทสัมภาษณ์หนึ่งของนักเปียโน Vladimir Ashkenazy กล่าวติดตลกแบบจริงๆจังๆว่าอยากนิ้วยาวขึ้นอีกสักนิด เพื่อสามารถเล่นบทเพลงนี้ได้ง่ายขึ้น (ว่ากันว่า Rachmaninoff อาจเป็นโรค Marfan’s Syndrome ทำให้สามารถยืดนิ้วแล้วกดตัวโน๊ตที่อยู่ห่างกันได้ถึง 12-13 คีย์!)

อีกเหตุผลประการสำคัญ การบรรเลงบทเพลงนี้นั้นต้องใส่ทั้งพลังและอารมณ์ ผมครุ่นคิดว่านักเปียโนน่าจะเหน็ดเหนื่อยไม่น้อยกว่าการวิ่งมาราธอน แถมยังต้องค่อยๆไล่ระดับความเร็ว เพิ่มระดับน้ำหนัก กว่าจะจบทั้งสามท่อน 30+ นาที ถ้าแอร์ไม่เย็นคงเห็นเหงื่อไหลเป็นกระมัง … ถ้าไม่ใช่ระดับ ‘maestro’ คงต้องฝึกฝน 40 ชั่วโมงต่อวันแบบ Ling Ling

ด้วยความที่ Rachman ไม่ใช่แค่นักแต่งเพลง แต่ยังเป็นนักเปียโนคอนเสิร์ต มีชีวิตช่วงระหว่างศตวรรษที่ 19-20th จึงเป็นความโชคดีของมนุษยชาติ เพราะทำให้เขามีโอกาสบันทึกเสียงลงแผ่นครั่งเมื่อปี ค.ศ. 1929 สามารถหารับชมได้ในปัจจุบัน … ผมละขำกลิ้งกับความคิดเห็นคนสมัยนี้ที่ว่าจังหวะ (Tempo) มีความรวดเร็วเกินไป? แต่เห้ย คนแต่งเล่นเองนะเว้ย มันจะผิดเพี้ยนจากความตั้งใจได้ยังไง ถึงอย่างนั้นด้วยข้อจำกัดของการบันทึกเสียง ก็ทำให้ผลลัพท์ออกมาไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ (เห็นว่าเจ้าตัวไม่ค่อยประทับใจผลลัพท์นี้เท่าไหร่ด้วยนะ)

ในอดีตผมเคยชื่นชอบรับฟังการบรรเลงของ Arthur Rubinstein และ Denis Matsuev แต่พอมีโอกาสรับฟังเพลงนี้อยู่เรื่อยๆ ก็ทำให้ค้นพบการตีความของนักเปียโนคนอื่นๆที่มีความน่าสนใจไม่น้อยไปกว่ากัน … จนทำให้ปัจจุบันเลือกยากเหลือเกินว่าโปรดปรานของใครมากที่สุด

หนึ่งในการค้นพบที่สร้างความประหลาดใจให้ผมมากๆก็คือ Vladimir Ashkenazy บันทึกเสียงเมื่อปี ค.ศ. 1963 ตั้งแต่การบรรเลงเปียโนท่อนแรกที่พยายามยืดจังหวะ (Tempo) เล่นช้าลง ให้ผู้ฟังรู้สึกเหมือนได้ยินเสียงระฆังดังกึกก้องกังวาล (ไม่ใช่แค่เคาะเหง่งหง่างแล้วจางหายไป) รวมถึงตัวโน๊ตอื่นๆที่นักเปียโนส่วนใหญ่มักเล่นรัวๆเร็วๆจนฟังไม่รู้เรื่อง ซึ่งการได้ยินเสียงเหล่านั้นอย่างชัดเจน ทำให้เราสามารถเก็บรายละเอียดเล็กๆของบทเพลง เติมเต็มจินตนาการ พบเห็นโลกอีกใบที่แตกต่างไปจากเดิม

ผมขอเปรียบเทียบกับภาพยนตร์เผื่อว่าหลายคนอาจจะเห็นภาพชัดขึ้น นักเปียโนส่วนใหญ่มักเล่นบทเพลงนี้ด้วยความเร็วแบบฉาบฉวย ก็เหมือนหนังแอ๊คชั่นสมัยนี้ที่ชอบเคลื่อนกล้องเร็วๆ ส่ายๆสั่นๆ Fast Cutting จนแทบมองไม่เห็นอะไรใดๆ, แต่ฉบับของ Ashkenazy เหมือนกำลังรับชมหนังของ Jacques Becker, Robert Bresson ที่มีความประณีต พบเห็นรายละเอียดเล็กๆน้อยๆมากมายเต็มไปด้วย

อีกฉบับหนึ่งที่นำเสนอการตีความได้ไม่ซ้ำแบบใคร Krystian Zimerman ร่วมบรรเลงกับ Boston Symphony Orchestra บันทึกเสียงเมื่อปี ค.ศ. 2000 นั่นเพราะเสียงเปียโนของ Zimerman มีความกึกก้อง ใสกิ๊ก ได้ยินชัดเจนทุกตัวโน๊ต ซึ่งสะท้อนสไตล์การเล่นอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว (ผมชอบฟัง Zimerman เล่น Beethoven: Piano Concerto No. 2 กับ 3 จนมักคุ้นกับสไตล์พี่แกมากๆ) ฟังแล้วรู้สึกสดชื่น แปลกใหม่ และกลิ่นอายโรแมนติก

when you play Rachmaninoff you have to live it.

Krystian Zimerman

โดยปกติแล้ว Piano Concerto พระเอกย่อมคือนักเปียโน แต่ถ้าวาทยกรคนนั้นคือ Herbert von Karajan มันจึงเป็นการเผชิญหน้าที่สนุก รุกเร้าใจ ประชันกันระหว่างออร์เคสตราและนักเปียโน Alexis Weissenberg ใครแพ้ใครชนะลองชมคลิปนี้แล้วตัดสินดูนะครับ! … เป็นการแสดง Rachmaninoff: Piano Concerto No. 2 ที่ลุ้นระทึก ตื่นเต้น แทบหยุดหายใจ Breathtaking!

ผมพบเจอเว็บไซด์ของ Berliner Philharmoniker ที่บันทึกการแสดงครั้งนั้น 11 กันยายน ค.ศ. 1971 แต่เหมือนต้องเสียเงินรับชมนะครับ คุณภาพ HD: https://www.digitalconcerthall.com/en/concert/212

หลายคนอาจสนใจรับฟังบทเพลงนี้แค่เพียงท่อนแรก I. Moderato แต่จะบอกว่า Movement ที่มีความไพเราะที่สุดนั้นคือ II. Adagio sostenuto ช่วงเวลาแห่งความเคลิ้มเคลิ้ม ผ่อนคลาย เบาสบาย ล่องลอยอยู่บนสรวงสวรรค์ เต็มไปด้วยกลิ่นอายของ Frédéric Chopin ซึ่งเป็นอีกคีตกวีคนโปรดของ Rachmaninoff

มีสองนักเปียโนที่โดดเด่นเป็นพิเศษกับ II. Adagio sostenuto ประกอบด้วย Alexandre Tharaud (ฝรั่งเศส) และหลางหล่าง Lang Lang (ชาวจีน) ไม่ใช่ว่าท่อนอื่นๆพวกเขาไม่โดดเด่นนะครับ แต่ทั้งสองต่างเลื่องชื่อในบทเพลงแนว Romantic … Tharaud จะมีกลิ่นอาย Erik Satie ขณะที่ Lang Lang คือโมเดิร์น Chopin

การตีความ Chopin ของ Lang Lang หวานยิ่งกว่าน้ำผึ้งเดือนห้า! ทีแรกผมก็แอบสงสัยว่าจะเล่น Rachmaninoff ได้ดีแค่ไหน จนพอมาถึงท่อน II. dagio sostenuto ก็ทำเอาหัวใจละลาย ล่องลอยไปกับสายน้ำ ปลิดปลิวไปกับสายลม ทุกตัวโน๊ตมีความละมุน นุ่มนวล ละเอียดอ่อนไหว … เพราะได้ยินการบรรเลงของ Lang Lang ทำให้ผมตระหนักถึงอิทธิพลของ Chopin (ต่อ Rachmaninoff) ขึ้นมาโดยทันที!

หลังจากตะเกียกตะกาย ปีนป่าย ขึ้นสู่จุดสูงสุด (I. Moderato) แล้วเคลิบเคลิ้ม ล่องลอย ผ่อนคลายบนสรวงสวรรค์ (II. Adagio sostenuto) ก็มาถึงท่อนสุดท้ายที่สาม III. Allegro scherzando สำหรับผมแล้วคือการตระหนักถึงความเวิ้งว่างเปล่า สถานที่แห่งนี้มันไม่มีอะไรไปมากกว่านั้น ต่อให้พยายามดิ้นรน มองหาหนทางไปต่อ กลับไม่ประสบพบเจออะไรใดๆ เมื่อถึงจุดๆหนึ่งก็บังเกิดความรู้แจ้งสัจธรรมแห่งชีวิต ‘สูงสุดกลับคืนสู่สามัญ’ แต่ก่อนจะร่ำลาจากไป (ไม่จำเป็นว่าต้องสื่อถึงความตาย เห็นหลายคนตีมองการถือกำเนิดใหม่) ขอทิ้งท้ายด้วยความยิ่งใหญ่อลังการ

แซว: ตอนจบที่นำเสนอ(ความตาย)แบบเว่อวังอลังการ ทำให้ผมนึกภาพยนตร์หลายๆเรื่อง อาทิ All That Jazz (1979), Mishima: A Life in Four Chapters (1985), Van Gogh (1991) ฯลฯ

มีภาพยนตร์มากมายที่นำเอา Rachmaninoff: Piano Concerto No.2 มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของเพลงประกอบ อาทิ Tunisian Victory (1944), I’ve Always Loved You (1946), September Affair (1950), Rhapsody (1954), The Seven Year Itch (1955), Hereafter (2010) ฯ

Every time I hear it I go to pieces. It makes me feel goose-pimply all over… I don’t know where I am or who I am, or what I’m doing.

Marilyn Monroe กล่าวถึงบทเพลงของ Sergei Rachmaninoff

แต่ไฮไลท์คงหนีไม่พ้น Brief Encounter (1945) กำกับโดย David Lean ดัดแปลงจากบทละครหนึ่งองก์ Still Life (1936) ของ Noël Coward ซึ่งพยายามล็อบบี้ให้ใช้บทเพลงโปรดนี้ประกอบหนัง แล้วทำการปะติดปะต่อ ตัดแปะ แทรกคั่นระหว่างเหตุการณ์ เพื่อผู้ชมสามารถเปรียบเทียบ/ตีความภาพยนตร์และบทเพลงในทิศทางเดียว … การตีความบทเพลงนี้ของหนัง ผู้กำกับ Lean และนักเขียน Coward มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง! ไว้ค่อยกล่าวถึงในบทความภาพยนตร์นะครับ

นอกจากนี้ยังมีการนำเอา Rachmaninoff: Piano Concerto No.2 มีเรียบเรียงให้เป็นบทเพลง อาทิ Full Moon and Empty Arms (1945) แต่งโดย Buddy Kaye และ Ted Mossman โดยฉบับบันทึกเสียงโด่งดังที่สุดก็คือ Frank Sinatra เคยติดอันดับ 17 ชาร์ท US Billboard Hot 100

Full moon and empty arms
The moon is there for us to share
But where are you?

A night like this
Could weave a memory
And every kiss
Could start a dream for two

Full moon and empty arms
Tonight I’ll use the magic moon to wish upon
And next full moon
If my one wish comes true
My empty arms will be filled with you

Full moon and empty arms
Tonight I’ll use the magic moon to wish upon
And next full moon
If my one wish comes true
My empty arms will be filled with you

Eric Carmen เล่าว่าหลังจากรับชม Brief Encounter (1945) เกิดแรงบันดาลใจแต่งบทเพลงจาก Rachmaninoff: Piano Concerto No. 2

  • ท่อนที่สอง II. Adagio sostenuto กลายมาเป็น All by Myself (1975) ใส่เนื้อถึงคำร้องเพื่อรำพันถึงความโดดเดี่ยวเดียวดาย เคยไต่อันดับ 2 ชาร์ท US Billboard Hot 100 ยอดขายเกินล้านก็อบปี้ในสหรัฐอเมริกา (Gold Record)
  • ท่อนที่สาม III. Adagio กลายมาเป็น Never Gonna Fall in Love Again (1976) เคยไต่อันดับ 11 ชาร์ท US Billboard Hot 100

บทเพลง All by Myself (1975) เคยได้รับการคัฟเวอร์โดย Céline Dion ประกอบอัลบัม Falling into You (1996) ติดอันดับ 4 ชาร์ท US Billboard Hot 100 ยอดขายห้าแสนก็อปปี้ในสหรัฐอเมริกา ได้รับคำชื่นชมว่าอาจยอดเยี่ยมกว่าต้นฉบับเสียด้วยซ้ำ! โดยเฉพาะท่อนคำร้อง All by Myself ที่อาจสร้างความสยิวกายถึงทรวงใน

When I was young
I never needed anyone
And making love was just for fun
Those days are gone

Living alone
I think of all the friends I’ve known
But when I dial the telephone
Nobody’s home

All by myself
Don’t wanna be
All by myself
Anymore

Hard to be sure
Sometimes I feel so insecure
And loves so distant and obscure
Remains the cure

When I was young
I never needed anyone
And making love was just for fun
Those days are gone

เกร็ด: All by Myself ยังเคยใช้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ Bridget Jones’s Diary (2001)

แถมท้ายกับอีกหนึ่งบทเพลงจากอนิเมะเรื่องโปรด Nodame Cantabile (2007-10) ซึ่งหนึ่งใน Ending Song ชื่อว่า Sky High โดยวงอะแคปเปลลา The Gospellers ซึ่งมีการนำเอาท่วงทำนองจากท่อนสาม III. Allegro scherzando ของ Rachmaninoff: Piano Concerto No. 2 มาคลอประกอบพื้นหลัง

คำร้องญี่ปุ่นคำแปลอังกฤษ
Don’t Cry dare mo ga tsubasa wo wasureta tenshi sa
furueru mune no nooto
te wo tsunagu you ni soba ni ite ageru

Please Smile seikai ha tedoushi de kimi wo matteru
tsutaete boku no rizumu
hohoemeba kotoba ha iranai
itsu no mani ka mata mitsumeteru
me ga haeba kasa naru haamonii
inori wo hora miageru mirai he Your Smile

kono omoi subete tsuge zuni tabidatsu no ha
mada yume wo shinjiteru kara
kaidan wo noboru sora ga chikazuku doa wo akete
ima kimi ni aitai

Sky High bokura ha mai agaru kaze wo mitsuketa
kanjiru kimi no merodi
kanate tara yume ga meguriau
umaretate no hane wo hirogete
ima sugu ni oozora haruka he to
tobitatsu hora miorosu seikai ha Sky High
Don’t cry. Everyone forgets their wings, angel.
I’m shaking, the note you gave me is in my heart.
Take my hand so that you’re close to me.

Please smile. The world carelessly waits for you.
Feel my rhythm.
If you smile, I don’t need words.
How soon before you gaze at me.
If our eyes meet, we’ll lie on top of one another. Harmony.
Look up at my prayer, towards the future. Your smile.

I tell all my feelings that we’re starting a journey
Because I’m believing in my dreams.
I go up the stairs that lead to the heavens and open the door.
I want to encounter you now.

We fly high on the wind.
I feel your melody.
Playing an instrument, a chance encounter in a dream.
Newly born, we spread our wings
immediately, towards the far-off sky.
Flying off and looking down over the world. Sky high.

ผมจดจำไม่ได้แล้วว่าเคยรับฟัง Rachmaninoff: Piano Concerto No. 2 ครั้งแรกตอนไหน? คุ้นๆว่าอาจระหว่างรับชมอนิเมะ Nodame Cantabile ตอนนั้นก็ชื่นชอบมากๆแต่ไม่ถึงขนาดคลั่งไคล้ จนกระทั่งมีโอกาสรับฟังบทวิเคราะห์จากนักเปียโน Sir Stephen Hough เลยตกหลุมรัก ประทับใจ ค้นพบเจอเพลงคลาสสิคโปรดปรานในที่สุด

LINK: ผมไม่แน่ใจว่าใช่คลิปนี้หรือเปล่านะ เพราะเคยรับฟังมานานจนจดจำไม่ได้แล้ว [CLICK HERE]

บทเพลงของ Rachman สามารถเปรียบดั่งทั้งชีวิต! คล้ายๆภาพยนตร์มีจุดเริ่มต้น ดำเนินไป ไคลน์แม็กซ์ และบทสรุป แต่สิ่งที่บทเพลงนี้ยิ่งใหญ่กว่าใครคือเสียงเปียโน (Piano Concerto) ที่พยายามแทรกตัวออกจากออร์เคสตรา เหมือนมนุษย์ตัวเล็กๆยืนอยู่ท่ามกลางคลื่นลมพัดพา มรสุมลูกใหญ่ แต่กลับสามารถต่อสู้ฟันฝ่า ก้าวย่างสู่เป้าหมาย จุดสูงสุดบนสรวงสวรรค์ เอาชนะอุปสรรคขวากหนามทุกสรรพสิ่งอย่าง

และจุดสูงสุด ณ สรวงสวรรค์ หลายคนตีความถึงการเริ่มต้นครั้งใหม่ ได้รับอิสรภาพ เสรีภาพแห่งชีวิต แต่ผมจินตนาการถึงความเต็มอิ่มหนำ อิ่มในสุข อิ่มบริบูรณ์ ไม่มีความต้องการอะไรไปมากกว่านั้น ชีวิตได้รับการเติมเต็ม สูงสุดหวนกลับสู่สามัญ นั่นคือความเป็นนิจนิรันดร์

คำโปรย | Rachmaninoff: Piano Concerto No. 2 คือการดำเนินไปของจิตวิญญาณ ได้รับการปลดปล่อย สู่จุดสูงสุด ล่องลอยบนสรวงสวรรค์ และหวนกลับสู่สามัญ
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว |

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: