Rembrandt

Rembrandt (1936) British : Alexander Korda ♥♥♥

(mini Review) Charles Laughton กับหนึ่งในสุดยอดการแสดง รับบท Rembrandt van Rijn จิตรกรเอกชาว Dutch ในยุค Dutch Golden Age ในยุคเดียวกับ Baroque ในยุโรป, กำกับโดย Alexander Korda ผู้กำกับสัญชาติ british ชื่อดังแห่งยุค (ผู้ก่อตั้ง London Films), ชีวประวัติและแนวคิดของ Rembrandt ถือว่าน่าสนใจมากๆ เขาเป็นคนหัวดื้อ วาดรูปเฉพาะความสนใจเท่านั้น ทำให้จากที่เคยร่ำรวยเพราะประสบความสำเร็จ กลายมาเป็นลำบากยากแค้นและเสียชีวิตโดยไม่มีเงินติดตัวสักแดงเดียว

ผมค่อนข้างชอบ Rembrandt นะครับ ถึงคนส่วนใหญ่จะมองว่าเขามีนิสัยที่ค่อนข้างเห็นแก่ตัว แต่ก็กับเฉพาะกับงานศิลปะเท่านั้น (วาดภาพเฉพาะที่ใจต้องการ ไม่อยากวาดภาพที่ไม่อยากวาด) ตัวจริงเขาเป็นคนรักครอบครัว ชอบการแบ่งปัน ให้เงินขอทานเพื่อมาเป็นแบบวาดภาพให้, ในหนัง เริ่มต้นจากจุดสูงสุดของ Rembrandt แล้วค่อยๆเสื่อมความนิยมลงเรื่อยๆ คือภาพวาด The Night Watch คือภาพแรกที่เป็นผลงานปรากฏออกมา ซึ่งถูกต่อว่าอย่างเละเทะ ได้ไม่ถูกใจคนสมัยนั้นเลย, หนังไม่ได้อธิบายเรื่องราวเบื้องหลังภาพ The Night Watch มากนัก ถ้าอยากจะเข้าใจให้ลึกซึ้งลองหาหนังเรื่อง Nightwatcher (2007) ของ Peter Greenaway ดูหนังครับ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับภาพวาดที่โด่งดังนี้โดยเฉพาะเลย, หลังจาก Rembrandt วาดภาพ The Night Watch อาชีพการงานของเขาก็ตกต่ำลงเรื่อยๆ ภรรยาตาย มีเมียใหม่เป็นคนใช้ เมียใหม่ทิ้ง ได้คนรักใหม่อีกคน จะแต่งงานก็แต่งไม่ได้ พอแก่ตัว เมียตาย ลูกตาย… Rembrandt นี่อายุยืนที่สุดในตระกูลเลย, การได้พบความสูญเสียมากมายในชีวิต ตอนท้ายของหนังเขากลายเป็นตัวตลกให้กับศิลปินยุคใหม่ ที่แทบไม่มีใครจำได้อีกแล้ว

Rembrandt กลายเป็นหนังมาหลายเวอร์ชั่นมาก ผมดูไปแค่เวอร์ชั่นนี้กับของผู้กำกับ Peter Greenaway เท่านั้น บอกเลยว่าผมรับเวอร์ชั่นนั้นไม่ได้เท่าไหร่ หนังดูยากจากตรงที่ใช้โปรดักชั่นแบบ Stage Play (แต่ก็ยังพอรับไหวนะ) ที่รับไม่ได้เลยคือ Martin Freeman ในบท Rembrandt ภาพลักษณ์ การแสดงต่างกับ Charles Laughton อย่างมาก ราวกับคนละคน, ผมรู้สึก Laughton แสดงดีกว่ามากๆเลย ไม่เพียงแค่ภาพลักษณ์ภายนอกที่เหมือนกว่า แต่ยังถึงเทคนิคการแสดง ที่สามารถดึงดูดความสนใจของคนรอบข้าง แบบเดียวกับเรื่องเล่าต่างๆของเขาในหนัง ที่ดึงความสนใจไปอยู่ที่เขาแต่เพียงคนเดียว, สำหรับ Freeman ไม่ใช่เขาเล่นไม่ดีนะครับ แต่เหมือนลักษณะของละครเวที ทำให้มันดูเหมือนเล่นเป็นตัวเอง มากกว่าสวมบทบาทเป็นตัวละครนั้นๆ

ถึงหนังจะดูน่าเศร้า รันทด แต่ก็ไม่มีอะไรให้ต้องเสียใจกับ Rembrandt เขาทำตัวเองล้วนๆ มันอาจเป็นระบบสังคมของสมัยก่อนด้วย ที่เวลาใครค้นพบหรือทำอะไรที่ล้ำหน้า เกินกว่ายุคสมัยมากๆ ก็เกิดการสังคมดูถูกดูแคลนไม่ยอมรับง่ายๆ แต่มีสิ่งที่ผมชอบมากๆ คือความดื้อด้านของ Rembrandt ‘เมื่อโลกไม่หมุนตามเรา ทำไมเราต้องหมุนตามโลก’ ใครที่สงสัยว่าทำไมเขาไม่ทำตามที่นายจ้างขอดีๆ ถ้าทำแบบนั้นคงไม่พาตัวเองตกระกำลำบากแบบนี้เป็นแน่, ผมกลับเห็นด้วยกับการกระทำของเขานะครับ นี่เป็นสิ่งศิลปินควรต้องมียึดไว้ คือ Ego ของตัวเอง การสร้างสรรค์งานศิลปะ ก็เพื่อสนองความต้องการของตนเอง ไม่ใช่เพื่อคนอื่น อย่างภาพ The Night Watch มันดูมีชีวิตชีวา มีอารมณ์ มีบรรยากาศ ถ้าตั้งใจดูดีๆจะได้ยินเสียงที่เกิดจากภาพวาดได้ นี่คือสิ่งที่เรียกว่า ล้ำยุคสมัย ถ้าศิลปินสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ระดับนี้ แล้วผู้คนยังไม่อาจเข้าใจเขา นั่นแหละครับ Masterpiece, ถ้าไม่เพราะ Ego ของ Rembrandt เขาคงไม่สามารถสร้างสรรค์ผลงานลักษณะนี้ออกมาได้… เป็นศิลปินต้องยึดมั่นในแนวทางของตัวเอง

Rembrandt The Night Watch

หนังมีข้อเสียเล็กๆน้อยๆ ตรงการตัดต่อที่กระโดดข้ามอะไรๆไปมากทีเดียว ทำให้ยากต่อการประติดประต่อเรื่องราวให้เข้าใจ (เช่นเกิดอะไรขึ้นกับ Saskia ถึงเสียชีวิต เธอเป็นใคร ทำไมแต่งงานกับ Rembrandt) และเราจะไม่เห็นขณะที่ศิลปินสร้างสรรค์ผลงานเลย, ก็นะ นี่น่าจะเป็นหนังแนว Painter & Artist ที่เก่าที่สุดตั้งแต่ผมเคยดูมา มันคงไม่แปลกที่หนังจะยังไม่ค้นพบแนวทางของตนเอง เน้นดราม่ามากกว่าการเล่าถึงงานศิลปะ ยิ่งเพลงประกอบ…ใส่มาแบบไม่ต้องใส่ก็ได้มั้ง, ตำหนิพวกนี้ทำให้หนังไม่สนุกเท่าที่ควร แต่เว้นไว้กับการแสดงของ Charles Laughton นะครับ ที่ถือว่าโดดเด่นเกินหน้าเกินตาของหนังไปมากทีเดียว

แนะนำหนังเรื่องนี้กับ คนที่ชอบดูหนังเก่าๆ คลาสสิค การแสดงยอดเยี่ยม เนื้อเรื่องอาจธรรมดาๆหน่อย นักเรียนศิลปะหรือศิลปินที่รู้จักหรือกำลังศึกษา Dutch Golden Age และ Rembrandt van Rijn ไม่ควรพลาด จัดเรต PG เด็กๆดูได้ ให้ผู้ใหญ่แนะนำหน่อยก็ดี

TAGLINE | “Charles Laughton เป็น Rembrandt van Rijn ได้สมบูรณ์แบบ แต่หนังกลับขาดคำอธิบาย ข้ามอะไรหลายๆอย่างไป ทำให้ยากต่อการประติดประต่อเรื่องราวให้สมบูรณ์ได้”
QUALITY | THUMB UP
MY SCORE | LIKE

1
Leave a Reply

avatar
1 Comment threads
0 Thread replies
4 Followers
 
Most reacted comment
Hottest comment thread
0 Comment authors
Recent comment authors

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
newest oldest most voted
Notify of
trackback

[…] อาทิ Rembrandt (1936), Utamaro and His Five Women (1946), An American in Paris (1950), Vincent & Theo (1990), La vie […]

%d bloggers like this: