Liz and the Blue Bird (2018) : Naoko Yamada ♥♥♥♥♡
จดหมายรักของผู้กำกับ Naoko Yamada ต่อ Kyoto Animation เปรียบตนเองเหมือนนกสีฟ้า (Blue Bird) สักวันก็ต้องโบยบินจากไป ถึงอย่างนั้นความสัมพันธ์ระหว่างเราจักไม่มีวันเสื่อมสลาย ฉันจะรักษาช่วงเวลาอันทรงคุณค่านี้ไว้ให้ได้นานที่สุด
เทพนิยาย/วรรณกรรม Liz and the Blue Bird เป็นเรื่องราวสมมติ ‘story within story’ เพื่อใช้ประกอบนวนิยาย/ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องนี้ (รวมไปถึง Orchestra ที่ได้ยินด้วยนะครับ) แต่สัตว์สัญลักษณ์ Blue Bird น่าจะได้แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเยาวชนชื่อ The Children’s Blue Bird (1911) เขียนโดย Georgette Leblanc (1869-1941) ซึ่งเรียบเรียงมาจากบทละครเวที L’Oiseau bleu (1908) [แปลว่า The Blue Bird] ประพันธ์โดย Maurice Maeterlinck (1862-1932) นักกวี/เขียนบทละครชาว Belgium เจ้าของรางวัล Nobel Prize สาขาวรรณกรรม
Blue Bird จริงๆแล้วมันควรแปลว่า นกสีน้ำเงิน แต่เพราะวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง The Children’s Blue Bird (1911) กลับใช้ชื่อภาษาไทยว่า นกสีฟ้า นั่นเพราะในเรื่องราวมีการเปรียบเทียบสีของนกเหมือนกับท้องฟ้า เรียกแบบนี้จีงจดจำง่ายกว่า (นกสีฟ้า = 3 พยางค์, นกสีน้ำเงิน 4 พยางค์) ส่วนความหมายสื่อถึงอิสรภาพ การออกเดินทาง เริ่มต้นใหม่ และแสวงหาความสุขของชีวิต (เรื่องราวจะเป็นการออกติดตามค้นหานกสีฟ้า เพื่อจักได้พบเจอความสงบสุขกลับคืนมา)
แม้ว่า Liz and the Blue Bird จะเป็นส่วนหนี่งของแฟนไชร์ Sound! Euphonium (2015-) แต่ผู้ชมไม่จำเป็นต้องเคยรับชมเนื้อหาส่วนอื่นๆมาก่อน เพราะอนิเมะเรื่องนี้ถือเป็น Spin-Off นำเพียงบางตัวละครที่เหมือนจะมีความน่าสนใจในซีรีย์หลัก มาพัฒนาเนื้อหาที่มีเฉพาะตัวเอง … และอนิเมะเรื่องนี้มีความเป็น ‘ส่วนตัว’ ของผู้กำกับ Naoko Yamada อย่างเด่นชัดเจนมากๆ การทำความเข้าใจเพียงเนื้อหาสาระจีงเพียงเปลือกภายนอกเท่านั้น แท้จริงแล้วมีบางสิ่งอย่างลุ่มลีกซี้งซ่อนเร้นอยู่ภายใน
เอาจริงๆผมไม่แน่ใจว่า Naoko Yamada ถึงจุดอิ่มตัวกับการทำงานที่ Kyoto Animation หรือเปล่านะ (เป็นการคาดการณ์จากเรื่องราวของอนิเมะ ที่ผมรู้สึกว่าใกล้ตัวเธอที่สุดแล้ว) แต่หลังจากเหตุการณ์ลอบวางเพลิง(ที่สตูดิโอ KyoAni)เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2019 ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 36 คน นั่นคงสร้างความสั่นสะเทือนใจอย่างรุนแรง จนเธอมิอาจหวนกลับไปทำงานยังสถานที่แห่งนี้ได้อีก (หลังจากนี้เธอจึงไปเริ่มต้นใหม่กับสตูดิโอ Science Saru)
ก่อนอื่นขอนำฉบับเต็มออเคสตร้า Liz and the Blue Bird ประพันธ์โดย Akito Matsuda (เกิดปี 1982, ที่ Osaka) ซึ่งเป็นผู้ทำเพลงประกอบแฟนไชร์ Sound! Euphonium แต่อนิเมะเรื่องนี้ได้รับมอบหมายเพียงในส่วนการบรรเลงออเคสตร้าเท่านั้น ประกอบด้วย 4 Movement (แต่ละ Mvt. จะดังขี้นประกอบเรื่องราวเทพนิยายที่เป็น ‘story within story’ ด้วยนะครับ)
- First Movement, Frequent Days – 0:00
- Second Movement, New Family – 4:53
- Third Movement, Decision for Love – 9:50
- Fourth Movement, To the Distant Sky – 16:12
Naoko Yamada (เกิดปี 1984, ที่ Kyoto) นักอนิเมเตอร์ ผู้กำกับอนิเมชั่นสัญชาติญี่ปุ่น ตั้งแต่เด็กมีความชื่นชอบหลงใหลการวาดรูป ได้รับอิทธิพลจาก Patlabor และ Dragon Ball ด้วยบุคลิกห้าวๆ แก่นแก้ว ทอมบอย เข้าร่วมชมรมวอลเล่ย์บอล เทนนิส พอขึ้นมัธยมปลายเปลี่ยนความสนใจสู่ชมรมถ่ายภาพ เข้าศึกษาสาขาจิตรกรรมสีน้ำมัน Kyoto University of Art and Design และยังร่วมสรรค์สร้าง Special Effect ให้กับชมรมภาพยนตร์ … เรียกว่าเปลี่ยนความสนใจไปเรื่อยๆไม่หยุดนิ่ง
หลังเรียนจบตั้งใจว่าจะเข้าสู่วงการภาพยนตร์ แต่พบเห็นประกาศรับสมัครจาก Kyoto Animation ตอบรับเข้าทำงาน In-Between อนิเมะซีรีย์ Inuyasha (2000-04), เลื่อนขึ้นมาเป็น Key Animation เรื่อง Air (2005), กำกับตอน (Episode Director) เรื่อง Clannad (2007-09), และกำกับซีรีย์เรื่องแรก K-On! (2009) แจ้งเกิดโด่งดังโดยทันที, ติดตามมาด้วย Tamako Market (2013), ภาพยนตร์อนิเมชั่น A Silent Voice (2016)
แนวทางการทำงานของ Yamada เรียกตนเองว่า ‘method director’ หลังจากได้รับบทอนิเมะ สวมบทบาทตนเองเป็นทุกๆตัวละคร พยายามศึกษา ทำความเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ครุ่นค้นหาเหตุผลทุกๆการกระทำ จนกว่าจะเห็นภาพเรื่องราวทั้งหมดในหัว ถึงค่อยเริ่มวาด Storyboard สเก็ตรายละเอียดอื่นๆติดตามมา
Sound! Euphonium เป็นโปรเจคที่ Yamada แม้ขี้นชื่อในฐานะร่วมกำกับ Tatsuya Ishihara แต่แท้จริงแล้วมีส่วนร่วมเพียง Series Unit Director (เฉพาะส่วนงานสร้างอนิเมชั่น) ประกอบด้วย
- ซีรีย์ซีซันแรก Sound! Euphonium (2015)
- ภาพยนตร์อนิเมชั่น Sound! Euphonium: The Movie – Welcome to the Kitauji High School Concert Band (2016)
- ซีรีย์ซีซันสอง Sound! Euphonium 2 (2016)
- ภาพยนตร์อนิเมชั่น Sound! Euphonium: Todoketai Melody (2017)
กระแสความนิยมใน Sound! Euphonium ทำให้สตูดิโอ KyoAni ได้รับสิทธิ์พิเศษในการอ่านนวนิยายต้นฉบับก่อนตีพิมพ์วางจำหน่ายจริง ซี่งขณะนั้นผู้แต่ง Ayano Takeda ได้เขียนภาคใหม่เสร็จสิ้น Sound! Euphonium Kitauji High School Concert Band, Second Turbulent Movement (2017) โดยตั้งใจจะแบ่งออกเป็นสองเล่ม Volumn 1 และ Volumn 2
“since Takeda was writing this new work (Sound! Euphonium Kitauji High School Concert Band, Second Turbulent Movement) I got the chance to read the plot. Although it is a story about Kumiko (the main character), the presence of Mizore and Nozomi is so immense, it gave me some kind of urge. It was a story so fascinating that I could not pretend to have unseen it, so I really wanted to depict it”.
Naoko Yamada
ระหว่างการประชุมเพื่อหาข้อสรุปดัดแปลงนวนิยายเล่มดังกล่าว ผู้กำกับ Ishihara ยังคงต้องการให้เรื่องราวดำเนินไปในมุมมองของตัวละครหลักๆ ส่วนเนื้อหาของ Mizore และ Nozomi ถือเป็นส่วนเกินที่โดดเด่นขี้นมา แต่จะตัดออกก็น่าเสียดาย ผู้กำกับ Yamada เลยอาสาดัดแปลงสร้างเป็น Spin-Off แยกออกจากภาคปกติ กลายมาเป็น
- Liz and the Blue Bird (2018) นำเสนอเรื่องราวของ Mizore และ Nozomi
- และ Sound! Euphonium: The Movie – Our Promise: A Brand New Day (2019)
“Ishihara had decided to adapt Kumiko’s story, but it would be a bit too much to depict both Kumiko’s story as well as Mizore and Nozomi’s story in the same work. So, we thought that since their stories respectively stand on their own so well, it might as well be possible to split them into separate works. So, we came up with the proposal to, if possible, split it up”.
(ส่วนซีซันสาม เห็นเตรียมงานสร้างกันมาสักพักใหญ่แล้ว แต่ที่ล่าช้าไม่ใช่แค่สถานการณ์โควิท-19 ยังเพราะ KyoAni ต้องฝีกฝนนักอนิเมเตอร์รุ่นใหม่ขี้นมาแทนที่ผู้จากไปจากเหตุการณ์ลอบวางเพลิงครั้งนั้น จีงไม่สามารถเริ่มต้นโปรดักชั่นได้สักที)
Ayano Takeda (เกิดปี 1992) นักเขียนนวนิยายสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Ujii, Kyoto ตั้งแต่เด็กมีความชื่นชอบการอ่านหนังสือ ถีงขนาดต้องให้ได้ 2 เล่มต่อวัน เคยพยายามทดลองเขียนนิยายแต่ยังไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ ระหว่างเรียนประถมปีที่ 5 ตัดสินใจเข้าชมรมเครื่องเป่า เลือกเล่นเครื่องดนตรี Euphonium ที่ไม่ค่อยมีคนนิยมทำให้มีโอกาสได้รับเลือกเป็นผู้เล่นหลักในวง แต่พอขี้นมัธยมปลาย เปลี่ยนความสนใจสู่ชมรมนักเขียน ได้รับคำแนะนำดีๆจากรุ่นพี่ ทั้งยังมีโอกาสพัฒนาบทละครเวทีให้เพื่อนๆร่วมชั้น ชนะเลิศการแสดงของโรงเรียน จีงเกิดความเชื่อมั่นในตนเองมากขี้น ระหว่างกำลังศีกษามหาวิทยาลัย Doshisha University ส่งนวนิยายเรื่องแรก Today, We Breathed Together เข้าประกวด Japan Love Story Awards (ปัจจุบันใช้ชื่อว่า Japan Love Story & Entertainment Awards) แม้ไม่สามารถผ่านเข้ารอบลีกๆ กลับได้รับโอกาสจากหนี่งในบรรณาธิการ(ที่เป็นคณะกรรมการ) ช่วยเหลือขัดเกลาจนสามารถตีพิมพ์จัดจำหน่ายปี 2013
“When I went to the meeting about the revision of my debut novel, We Breathed Together Today, the topic of ‘what do you want to write for your next work?’ came up. During that discussion, I mentioned that I wanted to write something about wind music since I had experience in that topic. I’d loved reading works that had a wind music motif ever since I was a middle schooler, but a lot of those titles had the point of view set from the advisor, where it was overlooking the entire story and a little bit removed from actually playing music. I wanted to try depicting wind music from the inside of the club itself”.
Ayano Takeda
สำหรับผลงานเรื่องถัดไปของ Takeda เลือกความสนใจในอดีตที่เคยเข้าร่วมชมรมเครื่องเป่า เพราะยังคงมีความทรงจำเลือนลางต่อช่วงเวลานั้น (เธอกลัวว่าถ้าเขียนเรื่องราวนี้ตอนอายุมากขี้น จะเริ่มจดจำอะไรไม่ค่อยได้แล้ว) โทรศัพท์ติดต่อหาเพื่อนเก่าๆร่วมวงเดียวกันให้มาช่วยเป็นที่ปรีกษา ส่วนชื่อเรื่องเกิดจากข้อสรุปว่าจะให้ตัวละครเล่น Euphonuim (เครื่องดนตรีเดียวกับผู้แต่ง) และบรรณาธิการถามว่า ‘Euphonium มีเสียงอย่างไร?’ เลยกลายมาเป็น Hibike! Yūfoniamu แปลตรงตัวว่า Sound! Euphonium
ไม่นานหลังนวนิยายตีพิมพ์ Takeda ก็ได้รับแจ้งข่าวว่า Kyoto Animation มีความสนใจดัดแปลง Sound! Euphonium สร้างเป็นอนิเมะ นั่นถือเป็นโชคชะตาโดยแท้ เพราะ KyoAni กำลังมองหาเรื่องราวมีพื้นหลังใน Kyoto เพื่อโปรโมทสถานที่และการท่องเที่ยวควบคู่ไปด้วย
“When I was first informed of the news, I went beyond pleased and straight into chaos. ‘I don’t understand what this means!’ The production studio, THE Kyoto Animation, wanted to make an anime using the region as the setting, so their staff were hunting for a source material and by chance they saw Sound! Euphonium when it went on sale. I’m truly thankful it happened. I think this was also fate”.
เพียงหกเดือนหลังวางจำหน่าย ยอดขายเพิ่มขี้นหลายเท่าตัว และอนิเมะได้รับการยืนยันสร้าง นั่นเองคือจุดเริ่มต้นให้นวนิยายที่ตั้งใจเขียนแค่เล่มเดียวจบ ต้องขยายเรื่องราวออกไป ประเด็นคำถามอุตส่าห์ค้างคาไว้ (เพราะครุ่นคิดว่าไม่จำเป็นต้องเปิดรายละเอียดทุกสิ่งอย่าง) จำเป็นต้องได้รับการเปิดเผยออกมาทั้งหมด
“When I was writing the novel, I didn’t visualize how the characters would look, so I feel I was strongly influenced by it becoming an anime. I was both inspired and thrown into chaos. For example, I didn’t know things like ‘how would the image of Kumiko I had turn out….?’
What I was most touched by was being able to hear the sounds. I was given a melody to the fictional song Crescent Moon Dance that I thought up. Of course there wasn’t a melody in my head while I was writing, so I was truly moved”.
ไม่ใช่แค่นวนิยายเล่มสอง-สาม Takeda ต้องวางแผนภาคสอง-สาม (ตัวละครเลื่อนชั้นปีสอง-สาม) Side-Story ปรับเปลี่ยนมุมมองตัวละครอื่นๆบ้าง หนี่งในนั้นคือความสัมพันธ์ระหว่าง Mizore และ Nozomi (ในนวนิยายภาคสอง) สองรุ่นพี่ที่ไม่ได้มีบทบาทมากนักในนวนิยายภาคแรก แต่ความสัมพันธ์ของพวกเธอคือเนื้อหาหนี่งที่ Takeda อยากนำเสนอออกมา
“The second years took the main role. The key people in that group were Mizore and Nozomi. It’s an episode that shows that while Nozomi appears to know about Mizore, she really has no understanding what Mizore thinks. Couldn’t that state of not understanding what the other person is thinking continue to apply to lovers or friends? I wanted to try writing about that type of real human relationship in this volume. Also, I wanted to insert more scenes of Natsuki and Yuuko bickering like cats and dogs”.
จนถีงปัจจุบันนวนิยาย Sound! Euphonium ออกมาทั้งหมด 12 เล่ม น่าจะจบบริบูรณ์แล้ว (แต่ก็ไม่แน่นะครับ) ประกอบด้วย
- ภาคแรก (ปีแรก)
- Sound! Euphonium: Welcome to the Kitauji High School Concert Band (2013)
- Sound! Euphonium 2: The Hottest Summer of the Kitauji High School Concert Band (2015)
- Sound! Euphonium 3: The Greatest Crisis of the Kitauji High School Concert Band (2015)
- (Side Story) Sound! Euphonium: Secret Story of the Kitauji High School Concert Band (2015)
- Spin-Off ยังคงปีแรก แต่นำเสนอเรื่องราวจากโรงเรียนคู่แข่ง
- Sound! Euphonium: Welcome to Rikka High School Marching Band Volume 1 (2016)
- Sound! Euphonium: Welcome to the Rikka High School Marching Band Volume 2 (2016)
- (ตอนพิเศษ) Sound! Euphonium: Kitauji High School Concert Band Diary (2016)
- ภาคสอง (ปีสอง)
- Sound! Euphonium: Kitauji High School Concert Band, Second Turbulent Movement Volume 1 (2017)
- Sound! Euphonium: Kitauji High School Concert Band, Second Turbulent Movement Volume 2 (2017)
- (Side Story) Sound! Euphonium: True Stories from the Kitauji High School Concert Band (2018)
- ภาคสาม (ปีสาม)
- Sound! Euphonium: The Kitauji Concert Band’s Decisive Final Movement Volume 1 (2018)
- Sound! Euphonium: The Kitauji Concert Band’s Decisive Final Movement Volume 2 (2019)
แม้ว่า Jukki Hanada จะรับหน้าที่ดัดแปลงบท Sound! Euphonium มาตั้งแต่ซีซันแรก แต่ผู้กำกับ Yamada ต้องการนำเสนอมุมมองที่แตกต่างออกไปกับการดัดแปลงเรื่องราว Spin-Off เลยติดต่อนักเขียนขาประจำ Reiko Yoshida ร่วมงานกันมาตั้งแต่ K-On! (2009-10)
Reiko Yoshida (เกิดปี 1967, ที่ Hiroshima) นักเขียนมังงะ บทอนิเมะ/ภาพยนตร์สัญชาติญี่ปุ่น, สำเร็จการศึกษาสาขาวรรณกรรม Hosei University เริ่มโด่งดังจากการดัดแปลงบท The Cat Returns (2002) ให้กับสตูดิโอ Ghibli, ผลงานเด่นๆมักเป็นอนิเมะแนว Healing ดูสบายๆพร้อมสาระข้อคิดเกี่ยวกับชีวิต อาทิ Aria the Animation (2005), K-On! (2009-10), Bakuman (2010-13), Girls und Panzer (2012-13), Non Non Biyori (2013, 15, 21), A Silent Voice (2016), Liz and the Blue Bird (2018), Violet Evergarden (2018) ฯ
ถ้านำเรื่องราวระหว่าง Mizore กับ Nozomi เฉพาะจากต้นฉบับนวนิยาย คงสร้างเป็นอนิเมะได้ประมาณ 30 นาทีเท่านั้น ผู้กำกับ Yamada และนักเขียน Yoshida เลยร่วมกันพัฒนารายละเอียดเล็กๆน้อยๆ สิ่งที่สามารถนำเสนอเป็น ‘visual image’ ใช้เพียงภาพในการดำเนินเรื่อง จึงเกิดเป็น Sequence อย่าง Mizore นั่งรอหน้าโรงเรียน, เดินขึ้นบันไดพร้อมกับ Nozomi, จับจ้องมองจากตึกฝั่งข้าม ใช้ฟลุตสะท้อนแสงมาหา ฯลฯ หรือรายละเอียดเล็กๆอย่างท่วงทาการเดิน, สะบัดมวยผม, กำหมัด, ลูบจับเส้นผม, แสงสะท้อนในดวงตา ฯลฯ ล้วนเต็มไปด้วย ‘subtle’ ซ่อนเร้นอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครนั้นๆออกมา
Mizore Yoroizuka นักเรียนหญิงชั้นมัธยมปีที่หก นักดนตรี Oboist เป็นคนพูดน้อย ชอบเก็บตัว ไม่ค่อยสุงสิงกับใคร นั่นเพราะความสนใจของเธอมีเพียงเพื่อนสาวร่วมรุ่น Nozomi Kasaki นักดนตรี Flutist ที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา ร่าเริงสดใส คือบุคคลชักชวนตนเข้าร่วมชมรม Kitauji High School Concert Band และคอนเสิร์ตที่กำลังจะมาถีง ทั้งสองกำลังจะได้เล่นคู่ Duet บทเพลงจากเทพนิยาย Liz and the Blue Bird
เทพนิยาย Liz and the Blue Bird นำเสนอเรื่องราวของหญิงสาวชื่อ Liz กับนกสีฟ้า (Blue Bird) ที่สร้างความลุ่มหลงใหลเมื่อได้พบเจอ อยู่มาวันหนี่งนกตนนั้นได้กลายร่างเป็นหญิงสาว เต็มไปด้วยชีวิตชีวา ร่าเริงสดใส ทั้งสองจีงมีโอกาสใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน แต่เธอก็ตระหนักว่าสักวันอีกฝั่งฝ่ายต้องโบยบินจากไป
ในการเล่นบทเพลงนี้ Mizore พยายามเทียบแทนตนเองเป็น Liz ส่วน Nozomi คือนกสีฟ้า แต่นั่นกลับสร้างปัญหาเพราะเธอไม่สามารถยินยอมปลดปล่อยเพื่อนสาวสุดที่รัก ต้องการอยู่เคียงข้างด้วยกันตลอดไป จนกระทั่งได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ทำไมไม่มองมุมกลับตารปัตร ลองเทียบแทน Nozomi ด้วย Liz และ Mizore เป็นนกสีฟ้า จีงทำให้เธอเกิดความเข้าใจว่า เพราะรักจีงมิอาจกักขังหน่วงเหนี่ยว ยินยอมเสียสละให้อีกฝั่งฝ่ายได้รับอิสรภาพโบยบิน
Atsumi Tanezaki (เกิดปี 1990, ที่ Ōita) ตั้งแต่เด็กมีความฝันอยากเป็นนักแสดง จนกระทั่งมีโอกาสรับชม Sailor Moon (1992-97) คลั่งไคล้ Sailor Mercury เลยเปลี่ยนความตั้งใจสู่นักพากย์อนิเมะ หลังเรียนจบมัธยมปลายมุ่งสู่ Tokyo ได้เซ็นสัญญากับเอเจนซี่ Toritori ตั้งแต่ปี 2011 เริ่มเป็นที่รู้จักจาก Asako Natsume เรื่อง My Little Monster (2012), Lisa Mishima เรื่อง Terror in Resonance (2014),Chise Hatori เรื่อง The Ancient Magus’ Bride (2017) ฯ
ให้เสียง Mizore Yoroizuka รุ่นพี่ปีสาม (มัธยม 6) นักดนตรี Oboist เป็นคนพูดน้อย ชอบเก็บตัว ไม่ค่อยสุงสิงสังสรรค์กับใคร นอกจากเพื่อนร่วมรุ่นโดยเฉพาะ Nozomi เฝ้ารอคอยอยู่หน้าประตูโรงเรียน เดินขึ้นบันได เข้าห้องฝึกซ้อนพร้อมกัน มีความต้องการรักใคร่ แต่ไม่เคยแสดงออกมา กักเก็บซ่อนเร้นความรู้สึกไว้ภายใน น้อยคนจะสามารถสังเกตพบเห็นได้
การทำความเข้าใจพฤติกรรมของ Mizore ไม่ยากเท่า Nozomi มีความชัดเจน สามารถสังเกตได้จากสายตา รอยยิ้ม ไม่ชำเลืองมองใครอื่นใด ครุ่นคิดว่าเธอเป็นฉันเพียงคนเดียว อยากติดตามไปทุกหนแห่ง โดยไม่สนตนเองหรือใครจะว่าอะไร แม้นั่นคือความรักที่บริสุทธิ์ แต่ก็ยังเข้าใจอะไรบางอย่างผิดไป
ตัวละครนี้ไม่มีบทบาทใดใน Sound! Euphonium ซีซันแรก ปรากฎตัวครั้งแรกในภาพยนตร์ Sound! Euphonium: The Movie – Welcome to the Kitauji High School Concert Band (2016) มีเพียงบทพูดไม่กี่บรรทัด ไม่ได้ขึ้นชื่อในเครดิตเสียด้วยซ้ำ กระทั่งซีซันสองถึงค่อยเปิดเผยว่าเป็น Tanezaki ขณะนั้นเธอก็มีชื่อเสียงระดับหนึ่ง และเป็นความคาดไม่ถึงที่ตัวละครนี้จะมีบทบาทเด่นในภาคแยกเรื่องนี้
“I was taking part in a Sound! Euphonium event and saw the news on-screen in the venue. It was a surprise announcement and I cried my eyes out on-stage. I was overwhelmed by my expectations for Mizore and Nozomi’s new story, wondering how it’d be depicted. I felt so blessed to be able to portray Mizore again”.
Atsumi Tanezaki
ภาพลักษณ์ตัวละครมีการเปลี่ยนแปลงไปจากซีรีย์หลักพอสมควร ทรงผมยุ่งๆ ดูเปราะบาง ดวงตาอ่อนหวานขึ้น (ซ่อนเร้นความรู้สึกเหงาๆเศร้าซึม) ส่วนรายละเอียดอื่นๆของ Mizori ล้วนยังคงเดิมไม่แตกต่าง เพิ่มเติมคือความรู้สึกต่อ Nozomi คำแนะนำของผู้กำกับคือ ให้ทุกวินาทีราวกับโอกาสสุดท้ายที่จะได้พบเจออยู่เคียงข้าง มันจึงความไหวหวั่น หวาดกลัวการต้องแยกจากโดยไม่ได้ร่ำลา
“There was no confusion about Mizore’s role. How she treasures being with Nozomi hasn’t changed a bit from the TV series. The director told me that Mizore feels like it’s the last chance to be with Nozomi every time she meets her. She always feels insecure about her friendship with Nozomi and fears it’ll end abruptly without warning”.
ต้องชมเลยว่าแม้บทพูดไม่เยอะ แต่ Tanezaki สามารถถ่ายทอดความรู้สึก ‘insecure’ ผ่านน้ำเสียงที่แม้เนิบๆนาบๆ แต่ซ่อนเร้นอาการหวาดหวั่นสั่นเทาอยู่ภายใน และหลังจากที่เธอสามารถปลดปล่อยความยึดติดต่อ Nozomi น้ำเสียงค่อยๆกลับมามีชีวิตชีวา เริงร่า กล้าที่จะยื่นมือถลาเข้าโอบกอด รอยยิ้มของเธอเอ่อล้นด้วยความสุข ทุกวินาทีล้วนคือสมบัติล้ำค่า ธำนุรักษาไว้ให้เนิ่นยาวนานที่สุด
Nao Tōyama (เกิดปี 1992, ที่ Tokyo) ตั้งแต่เด็กมีความชื่นชอบ Sailor Moon (1992-97), Ojamajo Doremi (2000-01) กระทั่ง Fullmetal Alchemist (2003-04) คือแรงบันดาลใจให้อยากเป็นนักพากย์อนิเมะ ช่วงระหว่างมัธยมปลาย สมัครเข้าเรียน Japan Narration Acting Institute จบคอร์สได้รับโอกาสเซ็นสัญญากับเอเจนซี่ Arts Vision เริ่มมีผลงาน Kanon Nakagawa เรื่อง The World God Only Knows (2010), Chitoge Kirisaki เรื่อง Nisekoi (2014-15), Yui Yuigahama เรื่อง My Teen Romantic Comedy SNAFU (2013-20), Tomoe Koga in Rascal Does Not Dream of Bunny Girl Senpai, Karen Kujō in Kin-iro Mosaic, Rin Shima เรื่อง Laid-Back Camp (2018-) ฯ
ให้เสียง Nozomi Kasaki รุ่นพี่ปีสาม (มัธยม 6) นักดนตรี flutist นิสัยร่าเริงสดใส เป็นกันเองกับทุกคนไม่ว่าจะรุ่นพี่-ผองเพื่อน-รุ่นน้อง ชอบเสียสละตนเองเพื่อความสุขของผู้อื่น เมื่อรับรู้ว่า Mizore ต้องการเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยด้านดนตรี เลยอยากติดตามไปด้วยแต่ลึกๆกลับรู้สึกลังเลไม่แน่ใจ เพราะเธอไม่เคยเรียนรู้ทำเข้าใจความต้องการแท้จริงของตนเอง
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจว่า ความรู้สึกที่ Nozomi มีให้กับ Mizore แตกต่างจาก Mizore มีให้กับ Nozomi
Nozomi เป็นผู้หญิงประเภท ‘Happy-Go-Luck’ ใครทำอะไรน่าสนใจก็พร้อมติดตามไป ซึ่งความสนใจของเธอต่อ Mizore คืออัจฉริยภาพทางดนตรี ครุ่นคิดว่าตนเองมีศักยภาพเทียบเคียง สามารถติดตามไปไหนไปด้วย แต่ลึกๆใต้จิตสำนึกฉันอาจไม่มีพรสวรรค์ขนาดนั้น เพียงแค่ยังไม่มีใครหรือเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นให้สามารถตระหนักรับรู้ได้อย่างถ่องแท้ จนกระทั่งซักซ้อมการแสดงครั้งสุดท้าย มิอาจไล่ล่าติดตาม Mizore ได้ทัน จึงพบเจอความพ่ายแพ้ ถึงเวลาหวนกลับสู่โลกความจริง มุ่งสู่สิ่งที่ฉันสามารถกระทำได้ดีกว่า
Tōyama ก็เคยให้สัมภาษณ์ว่า ไม่เข้าใจเหตุผลของการที่ Nozomi ยึดติดกับ Mizore
“To be honest, I felt that I could relate to Mizore more than Nozomi at first. I understood Mizore’s feelings but not Nozomi’s. I didn’t understand her looking away or shuffling her feet at the crucial time. I thought she wasn’t the girl who I knew well. It took a while for me to understand why she acted like that. She has too much on her mind and can’t handle her emotions anymore”.
Nao Tōyama
ภาพลักษณ์ของ Nozomi แทบไม่แตกต่างจากซีรีย์หลัก แต่อนิเมะเรื่องนี้พยายามใส่ตำหนิ ข้อบกพร่อง ให้ผู้ชมสัมผัสถึงความเป็นมนุษย์ บุคคลทั่วๆไป ไม่สมบูรณ์แบบอย่างที่ใครๆพบเห็น นั่นอาจเป็นการทำลายภาพลักษณ์ดั้งเดิมของตัวละคร แต่ผลลัพท์กลับทำให้ผู้ชมตกหลุมรักมากขึ้นๆไปอีก
“Nozomi was depicted in the TV series as a truly nice, cheerful person loved by everyone. I tried to render her charisma, not just her motivated and driven personality. However, in the movie, she shows her imperfections, which weren’t depicted in the TV series due to her not being the main character. For instance, she can be cunning and jealous of even Mizore, who she really cares about. I think viewers of the movie will feel an affinity with her human side. I’d like to portray her without destroying her image, but surprise viewers with her human side”.
พัฒนาการตัวละครของ Nozomi ถือว่าแตกต่างตรงกันข้ามกับ Mizore สามารถมองเป็นการถดถอยหลังลงคลองก็ยังได้ จากหญิงสาวในอุดมคติ/นางฟ้าที่ใครๆต่างชื่นชอบหลงใหล ถูกฉุดคร่าลงจากสรวงสวรรค์จนกลายเป็นมนุษย์ธรรมดาๆทั่วไป แต่ผมมองว่านั่นคือพัฒนาการดีขึ้นนะครับ หลุดพ้นจากความลุ่มหลงในโลกภาพมายา ค้นพบสิ่งต้องการ ตัวตนเองที่แท้จริง
เสียงพากย์ของ Tōyama ก็จับต้องได้มากขึ้นเช่นกัน แรกเริ่มแม้เต็มไปด้วยสีสัน ร่าเริงสดใส แต่ก็มีความกระอักกระอ่วน ลังเลไม่แน่ใจซ่อนอยู่ในน้ำเสียง นี่ใช่สิ่งที่ฉันโหยหาอยากกระทำจริงๆนะหรือ แต่หลังจากความพ่ายแพ้ต่อ Mizore สามารถระบายความรู้สึกอัดอั้นออกมา และได้ค้นพบอิสรภาพที่แท้จริงของตนเอง หวนกลับไปสู่ความเริงร่าที่บริสุทธิ์จากภายใน
สำหรับ Liz และ Blue Bird เป็นความต้องการของผู้กำกับ Yamada ที่ทั้งสองตัวละครในเรื่องราวแฟนตาซี อยากให้มีนักพากย์คนเดียวกัน … ให้ความรู้สึกคล้ายๆการพากย์หนังสมัยก่อน (สมัยนี้ก็ยังพอมีอยู่นะ) คนๆเดียวสามารถแทนเสียงหลายๆตัวละคร ซึ่งในบริบทนี้เรายังสามารถตีความว่า พวกเขาคือบุคคลคนเดียวกันที่มีส่วนผสมแตกต่างตรงกันข้าม หยิน-หยาง ขาว-ดำ กล่าวคือสามารถเป็นได้ทั้ง Mizore-Nozomi และ Nozomi-Mizore (ขึ้นอยู่กับมุมมองและช่วงเวลา)
“I had decided in my mind that I wanted the same person to play both the role of Liz and the blue bird girl. But I couldn’t for the life of me figure out who I wanted to do it, so I thought about it for a long time. Honda’s voice is so characteristic that you know it’s her by just listening a bit to it, and I have really liked her since way before. I thought that the cleanness and purity of her voice fit perfectly”.
Naoko Yamada
ให้เสียง Miyu Honda (เกิดปี 2004, ที่ Kyoto) นักร้อง นักแสดง นักกีฬาสเก็ตน้ำแข็ง เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงตั้งแต่ปี 2010 จากโฆษณา Pizza Hut, ได้รับบทสมทบซีรีย์โทรทัศน์, ภาพยนตร์ Gantz: Perfect Answer (2011), มีชื่อเสียงจากซีรีย์ Kaseifu no Mita (2011), แต่พอโตขี้นเหมือนจะเงียบๆลงไป
ความได้เปรียบของ Honda คือน้ำเสียงที่ยังเหมือนสาวน้อยแรกรุ่น (ขณะนั้นเพิ่งอายุ 13-14 ปี) เต็มไปด้วยความบริสุทธิ์ สดใสไร้เดียงสา ราวกับตัวละครอยู่ในโลกแฟนตาซีนั้นจริงๆ ขณะเดียวกันความนุ่มนวล(ในน้ำเสียง)ก็ซ่อนเร้นความโดดเดี่ยวอ้างว้าง ก่อนพัฒนาเป็นหวาดหวั่นสั่นเทา กลัวการต้องพลัดพรากคนรักเคียงข้างกาย ไม่ต้องการให้อีกฝั่งฝ่ายแยกจากกันไปไหน แต่เมื่อถึงช่วงเวลาแห่งการตัดสินใจ ก็สามารถใส่ความเบิกบาน เริงร่า และรอยยิ้ม ยินยอมรับความจริง เข้าใจถึงสิ่งสวยงามของความรัก คืออิสรภาพไร้ซึ่งพันธนาการเหนี่ยวรั้ง
ควบคุมงานศิลป์ (Art Direction) โดย Mutsuo Shinohara, ออกแบบงานสี (Color Design) โดย Naomi Ishida, ออกแบบตัวละคร (Character Design) และกำกับอนิเมชั่น (Chef Animation Director) โดย Futoshi Nishiya
แม้เรื่องราวอยู่ในจักรวาลของ Sound! Euphonium แต่ผู้กำกับ Yamada ร้องขอให้ทีมงานเริ่มต้นการออกแบบใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่ตัวละคร พื้นหลัง โทนสีสัน เพื่อให้สอดคล้องเข้ากับเรื่องราว เนื้อหาสาระที่แตกต่างออกไป จะได้ให้ความรู้สึก Spin-Off อย่างแท้จริง
แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงเหมือนเดิมคือ Kitauji High School โรงเรียนสมมติตั้งอยู่ Ujii, จังหวัด Kyoto ซึ่งนำแรงบันดาลใจจาก Kyoto Prefectural Todō Senior High School ถึงอย่างนั้นผู้ชมจะสัมผัสไดถึงความแตกต่าง รายละเอียดเล็กๆน้อยๆเด่นชัดขึ้น โทนสีสันก็มีความนุ่มนวลสดใสกว่า รวมไปถึงทิศทางมุมกล้องในสไตล์ลายเซ็นต์ผู้กำกับ Yamada
แซว:เรื่องราวทั้งหมดดำเนินอยู่ภายใน Kitauji High School อะไรที่ควรบังเกิดขึ้นภายนอกก็ถูกตัดข้าม พบเห็นเพียงภาพถ่ายจากโทรศัพท์มือถือเท่านั้นเอง
เทพนิยาย Liz and the Blue Bird ดำเนินเคียงคู่ขนานไปกับเนื้อเรื่องราวหลัก ด้วยภาพวาดสีน้ำ (Watercolor Painting) บางซีนยังพบเห็นลวดลายกระดาษพื้นหลัง แต่ต้องชมในความคิดสร้างสรรค์ มอบบรรยากาศที่ราวกับอยู่ในโลกแฟนตาซี ด้วยโทนสีมีความสดใส (กว่าโลกความจริง) และลายเส้นดูขาดๆเกินๆ เว้าๆแหว่งๆ ก็เพื่อสะท้อนความไม่มั่นคงระหว่างตัวละคร จริงอยู่มันสวยงามแต่ก็ซ่อนเร้นความเศร้าโศก (ของการต้องร่ำลาจากกันสักวัน)
Mizore จดจำรายละเอียดเล็กๆน้อยๆของ Nozomi ตั้งแต่เสียงย่ำเท้า แผ่นหลังกว้างใหญ่ มัดผมแกว่งไกว สิ่งเหล่านี้แสดงถึงความหมกมุ่น เอาใจใส่ ฉันตกหลุมรักในทุกสิ่งอย่าง ด้วยเหตุนี้จึงมิอาจปล่อยวางเธอจากไปได้ อยากคอยเดินติดตามอยู่ข้างหลังจนชั่วฟ้าดินสลาย
รายละเอียดเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ ผสมเข้ากับเทคนิคภาษาภาพยนตร์อย่าง เบลอ-ชัด ปรับโฟกัส, ทิศทางมุมกล้อง, จัดวางตำแหน่งตัวละคร, พื้นที่ว่าง ระยะห่าง, ภาพสั่นๆ ฯลฯ ผมถือเป็นสไตล์ลายเซ็นต์ผู้กำกับ Yamada ไปแล้วนะครับ เธอมีความละเมียดละไม ใส่ใจมากๆในเรื่องพวกนี้ ซึ่งอนิเมะก้าวไปอีกขั้นด้วยการบันทึกเสียงฝีเท้าใส่ในเพลงประกอบ แล้วให้ทีมอนิเมชั่นทำภาพเคลื่อนไหวให้สอดคล้องจังหวะดังกล่าว
สิ่งหนี่งที่ต้องชื่นชมมากๆ คือการแสดงออกทางสีหน้า/อารมณ์ ‘Expression’ ถีงมันไม่ได้สมจริงแต่ผู้ชมสามารถจับต้อง ทำความเข้าใจไม่ยากเท่าไหร่ อาทิ การลูบจับผม หรี่ตา เอียงหน้า อมยิ้ม กำหมัด ฯลฯ โดดเด่นที่สุดน่าจะแสงสะท้อนในดวงตา มักปรากฎขี้นในวินาทีตัวละครได้รับรู้ หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างจากภายใน
อีกสิ่งที่แอบที่งคือรายละเอียดของเครื่องดนตรี (นี่อาจจะตั้งแต่ซีรีย์ Sound! Euphonium แล้วกระมัง) เห็นว่าไม่ได้ใช้ตัวช่วยจาก CGI ทั้งหมดคือการวาดด้วยมือ นอกจากรายละเอียดที่เหมือนของจริงเปะๆ ยังทุกการขยับเคลื่อนจะต้องปรับสัดส่วน(ของเครื่องดนตรี)ให้สอดคล้องกันไป … และคีย์ที่กดก็ตรงกับตัวโน๊ตจริงๆนะครับ ไม่เหมือนอนิเมะบางเรื่องที่พอเพลงดัง ตัวละครกลับเล่นอะไรก็ไม่รู้ แถมโยกๆย้ายๆ Over-Acting เกินกว่าเหตุเสียอีก
รอบข้างกายของ Nozomi มักรายล้อมด้วยรุ่นน้อง-ผองเพื่อน พูดคุยสนทนา หัวเราะอย่างร่าเริงสนุกสนาน ซึ่งถ้ามองจากภายนอกก็ดูเหมือน Blue Bird ชีวิตเต็มไปด้วยสีสัน ส่งเสียงร้องจิบๆ เป็นที่รักของใครต่อใคร … แต่นั่นก็ทำให้ Nozomi ค่อยๆสูญเสียความเป็นตัวของตนเอง ต้องคอยสร้างภาพ ทำตัวดีเด่นให้ทุกคนบังเกิดความพึงพอใจ จนมิอาจค้นพบความต้องการแท้จริงจากภายใน
Mizore พบเห็นบ่อยครั้งในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ อ้างว่ามาให้อาหารปลา แต่แท้จริงถ้าไม่แอบหลับก็คอยสอดส่อง Nozomi ที่ห้องซ้อมดนตรีฝั่งตรงข้าม, ผมถือว่าสถานที่นี้คือ ‘ห้องหัวใจของ Mizore’ นัยยะเดียวกับนกในกรง ปลาในตู้ ถูกกักขังอยู่ภายใน แต่ไม่มีใครโหยหาต้องการได้รับอิสรภาพ ยินยอมรับการพันธการเหนี่ยวรั้งด้วยตัวตนเองทั้งหมดสิ้น
นี่เป็นซีนเล็กๆที่งดงามลึกซึ้ง สะท้อนระยะห่างความสัมพันธ์ระหว่าง Mizore กับ Nozomi สังเกตได้จากความสูงของมือที่โบกทัก (Nozomi จะเหวี่ยงแกว่งยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ, Mizore เพียงโบกเบาๆยกขึ้นระดับอก) ซึ่งการละเล่นแสงสะท้อนถึง (Nozomi) สาดส่องความอบอุ่นเข้ามาถึงภายในจิตใจ (ของ Mizore)
คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนมุมมองโลกทัศน์ของ Mizore และ Nozomi ประกอบด้วย
- Mizore ได้รับคำแนะนำจากครูสาว Satomi Niiyama ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ด้านหน้ามีก็อกน้ำที่ดูเหมือนตาชั่ง (แบ่งแยกสองฝั่ง/ครุ่นคิดสลับกัน) ด้านหลังพบเห็นหลอดทดลองและโครงกระดูกสรรพสัตว์ (สัตว์ปีก?) สะท้อนถึงการครุ่นคิดอย่างมีเหตุมีผล ไม่ใช้อารมณ์ประกอบ
- Nozomi นั่งทรุดลงกับพื้น ล้อมรอบด้วยผองเพื่อนร่วมรุ่นที่ให้คำชี้แนะนำ ประกบตำแหน่งตั้งฉาก พูดคุยกันในห้องเก็บของชมรม เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกระบายออกมาจากภายใน
หนึ่งในความสร้างสรรค์สุดบรรเจิดของผู้กำกับ Yamada คือการแทรกภาพ ‘decalcomania’ ที่ใช้ในการทดสอบทางจิตวิทยา Rorschach Test มักมีลักษณะเป็นภาพสมมาตร ทั้งสองฝั่งมีความคล้ายคลึง แต่ถ้าสังเกตดีๆจะพบเห็นความแตกต่างในรายละเอียด ซึ่งสะท้อนเข้ากับความสัมพันธ์ระหว่าง Mizore กับ Nozomi ต่างมีความละม้ายและตรงกันข้าม หยิน-หยาง ขาว-ดำ สามารถเติมเต็มกันและกัน
ซีนนี้พบเห็นระหว่างซักซ้อมการแสดงครั้งสุดท้าย Mizore และ Nozomi ต่างพยายามโบยบิน เคียงคู่ เติมเต็มกันและกัน แต่ท้ายที่สุดก็มีเพียง Mizore ที่เปรียบดั่ง Blue Bird สามารถโบยบินสู่อิสรภาพ
Nozomi เข้ามายังห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (ห้องหัวใจของ Mizore) เพื่อเรียนรู้ พบเห็น เข้าใจมุมมอง(ของ Mizori)ต่อตนเอง สามารถพูดระบายความรู้สึกในใจ ได้รับการโอบกอดแสดงความรัก แม้มือทั้งสองมิได้อยู่ระดับเดียวกัน แต่มันก็คือความสัมพันธ์รูปแบบหนึ่ง ที่ต่างจะธำรงรักษาไว้ให้ได้นานที่สุด จนกว่าจะถึงวันต้องพลัดพรากแยกจาก
ช็อตสุดท้ายของอนิเมะ Nozomi หันไปพูดอะไรกับ Mizore ถึงทำให้เธอแสดงปฏิกิริยานั้นออกมา … ผมเชื่อว่ามันไม่คำอื่นหรอกนอกจาก dai-suki!
ตัดต่อโดย Kengo Shigemura แห่ง Kyoto Animation (น่าจะทุกๆผลงานเลยกระมัง), ดำเนินเรื่องผ่านมุมมองสายตาของ Mizore Yoroizuka ภายในขอบเขตโรงเรียน Kitauji High School สามารถแบ่งออกเป็นสี่องก์ โดยยีดตาม 4 Movement ของออเคสตร้า Liz and the Blue Bird
- First Movement, Frequent Days
- เริ่มต้นแนะนำตัวละคร Mizore กับ Nozomi ชีวิตประจำวันๆของพวกเธอ ภายนอกเหมือนต่างคนต่างมีโลกของตนเอง แต่แท้จริงแล้วกลับซ่อนเร้นความสัมพันธ์สุดแสนพิเศษที่แตกต่างกัน
- Liz พบเจอนกสีฟ้าครั้งแรก จากนั้นนำเสนอวิถีชีวิตประจำวันๆของเธอ ทำงานร้านเบเกอรี่ เดินกลับบ้าน และเช้าวันหนี่งพบเจอใครบางคน
- Second Movement, New Family
- Mizore ประสบปัญหาการถ่ายทอดความรู้สีกผ่านการเป่า Oboe เพราะไม่สามารถเข้าใจว่าทำไม Liz ถีงยินยอมปลดปล่อยนกสีฟ้าโบยบินจากไป ขณะที่ตัวเองพร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อติดตาม Nozomi ไม่ว่าเธอจะไปไหน
- Liz ใช้เวลาอยู่กับนกสีฟ้าในร่างมนุษย์ เต็มไปด้วยความสุข สนุกสนาน ไม่อยากให้วันที่จากลาต้องมาถีง
- Third Movement, Decision for Love – 9:50
- คำแนะนำจากครูสาว ทำให้ Mizore เข้าใจเหตุผลที่ Liz ยินยอมปลดปล่อยนกสีฟ้าให้โบยบินสู่อิสรภาพ ขณะที่ Nozomi ก็ค้นพบความต้องการแท้จริงของตนเอง
- Liz เรียกร้องขอให้นกสีฟ้าโบยบินสู่อิสรภาพ ไม่ต้องเป็นห่วงตนเองว่าจะโดดเดี่ยวอ้างว้าง
- Fourth Movement, To the Distant Sky – 16:12
- Mizore สามารถปรับความเข้าใจ แสดงความรักต่อ Nozomi จากนี้จะทะนุถนอมทุกสิ่งอย่างจนกว่าจะถีงเวลาร่ำลาจากไป
แม้เรื่องราวจะดำเนินพานผ่านช่วงเวลาหลายวัน หลายสัปดาห์ แต่เริ่มต้น-สิ้นสุด อารัมบท-ปัจฉิมบท เป็นการเดินเข้าโรงเรียนยามเช้า และเดินกลับบ้านยามเย็นของ Mizore และ Nozomi ภายนอกเหมือนไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่ทั้งสองบังเกิดความสัมพันธ์ลีกซี้งเกินกว่าคนทั่วไปจะมองพบเห็น
หนี่งในสไตล์ลายเซ็นต์ผู้กำกับ Yamada คือการสลับสับเปลี่ยนมุมกล้องไปเรื่อยๆแทบไม่มีซ้ำ แม้ขณะพูดคุยสนทนาก็ยังร้อยเรียงชุดภาพให้เห็นอากัปกิริยา การขยับเคลื่อนไหวเล็กๆ ทุกภาษากายล้วนสื่อแทนอารมณ์ความรู้สีกภายในของตัวละคร และบางทีอาจปรากฎภาพความทรงจำจากอดีต ฉายแวบ (‘Flash’ Back) สำหรับเปรียบเทียบเรื่องราวเคียงคู่ขนานกัน
นอกจากนี้ยังพบเห็นสิ่งสัญลักษณ์มากมาย อาทิ ดอกไม้, ขนนก, ปลาในตู้, ด้ายสีแดง ฯลฯ ปรากฎแทรกเข้ามาสำหรับสื่อนัยยะความหมายบางอย่างถีงตัวละคร หรือเนื้อเรื่องราวขณะนั้น
สำหรับเพลงประกอบมีสองเครดิต คนแรกคือ Akito Matsuda ผู้ทำเพลงประกอบแฟนไชร์ Sound! Euphonium รับหน้าที่ในส่วนออเคสตร้า Liz and the Blue Bird และระหว่างการซักซ้อมคอนเสิร์ต โดยใช้บริการวงดนตรีเครื่องเป่าของโรงเรียน Senzoku Gakuen College of Music ซึ่งผู้กำกับ Yamada ก็เข้าร่วมรับฟังขณะบันทึกเสียง และให้คำแนะนำแก่นัก oboist และ flutist ถึงแนวทางที่เธออยากได้ ผลลัพท์ก็ตามที่ได้ยินในอนิเมะ โดยเฉพาะ Mvt. III Decision for Love
- ครั้งแรกทั้งสองต่างรั้งๆรีรอ โล้เล้ลังเล ติดๆขัดๆ เล่นถูกๆผิดๆ ถือว่ายังขาดความเชื่อมั่นใจในตนเอง
- ส่วนการซ้อมช่วงไคลน์แม็กซ์ oboist สามารถใส่พลังในการเป่า ไม่มีอะไรให้ต้องกั๊กไว้ ให้สัมผัสเหมือนนกโบยบินบนท้องฟ้า ค้นพบอิสรภาพของตนเอง ขณะที่ flutist ช่วงแรกๆพยายามวิ่งไล่ติดตามให้ทัน แต่เมื่อถึงจุดๆหนึ่งก็ทำไม่สำเร็จอีกต่อไป ท่วงนองขาดห้วง หมดสิ้นเรี่ยวแรงพละกำลังกาย-ใจ ค้นพบตนเองในที่สุดว่า มิได้มีอัจฉริยภาพขนาดนั้น
สำหรับคนที่ฟังเพลงคลาสสิกเป็น น่าจะตระหนักได้ว่าเครื่องดนตรีอื่นๆก็เล่นผิดพลาด คลาดโน๊ต ไม่ตรงจังหวะ มากมายเต็มไปหมด! นี่ถือเป็นความจงใจของผู้สร้าง เพราะวงดนตรีเด็กมัธยม ยังอยู่ในช่วงระหว่างซักซ้อมฝึกฝน ย่อมมีประหม่า ผิดพลาด ตามไม่ทัน เรื่องปกติธรรมดาสามัญ ไม่มีใครสมบูรณ์แบบได้ตั้งแต่แรกร้อยเปอร์เซ็นต์
สำหรับบทเพลงประกอบอื่นๆ (ที่ไม่ใช่ระหว่างการซ้อมดนตรี) ผู้กำกับ Yamada หวนกลับไปร่วมงาน Kensuke Ushio (เกิดปี 1983, ที่ Tokyo) ตั้งแต่เด็กมีความชื่นชอบเปียโน หลังเรียนจบปี 2003 ได้ทำงานเป็นโปรดิวเซอร์และ Sound Engineer ให้ศิลปินในสังกัด DISCO TWINS และ RYUKYUDISKO จากนั้นออกอัลบัมแรก A Day, Phase (2008) โดยใช้ชื่อ agraph ต่อมารวมกลุ่มเพื่อนนักดนตรีตั้งวงดนตรีร็อค LAMA ทำเพลงออกมาได้เพียงสองอัลบัม เลยหันมาเอาดีด้านเขียนเพลงประกอบอนิเมะ อาทิ Space Dandy (2014), Ping Pong the Animation (2014), A Silent Voice (2016), Devilman Crybaby (2018) ฯ
ความต้องการของผู้กำกับ Yamada ยังคงคล้ายคลึง A Silent Voice บทเพลงสามารถถ่ายทอดอารมณ์/ความรู้สีกตัวละคร ผ่านแทบทุกการขยับเคลื่อนไหว ภาพการกระทำที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอนิเมะเรื่องนี้ Ushio ได้พัฒนาขึ้นไปอีกระดับ ร่วมออกเดินทางสำรวจสถานที่ถ่ายทำ (Scounting Location) เพื่อบันทึกเสียงเล็กๆน้อยๆที่ได้ยินเก็บไว้ทั้งหมด แล้วนำมาผสมผสานเข้ากับการบรรเลงเปียโนในสไตล์ Minimalist และมีสัมผัสของ Ambient (เสียงธรรมชาติ)
เกร็ด: อัลบัมเพลงประกอบอนิเมะตั้งชื่อว่า girls, dance, staircase มีทั้งหมด 2 แผ่นซีดี
- แผ่นแรกประกอบด้วย 38 บทเพลงของ Kensuke Ushio ทั้งหมดตั้งชื่อเป็นคำภาษาอังกฤษ แต่ถ้าเพลงไหนโดดเด่นหน่อยจะเพิ่ม 2-3 คำคั่นด้วยลูกน้ำ อาทิ wind, glass, bluebird หรือ reflexion, allegretto, you หรือ stereo, bright, curve คงแทนคีย์เวิร์ดของบทเพลงกระมัง
- แผ่นสองมีเพียง 9 บทเพลงของ Akito Matsuda รวมถีงออเคสตร้า Liz and the Blue Bird
wind, glass, bluebird เริ่มต้นด้วยเสียงย่ำฝีเท้าของ Nozomi คงมีเพียง Mizore สามารถจดจำจังหวะดังกล่าวได้ เมื่อเงยหน้าขี้นมาก็พบว่าไม่ผิดตัว! จากนั้นดนตรีบรรเลงท่วงทำนองสนุกสนาน เพลิดเพลินจากการได้เดินติดตาม เห็นแผ่นหลัง มวยผมโบกสะบัด แค่นี้ก็ทำให้ชีวิตหญิงสาวเบิกบานได้ตลอดวัน
ปล. เสียงย่ำฝีเท้ากลายเป็นความท้าทายของทีมสร้างอนิเมชั่น เพราะต้องทำให้สอดคล้องเข้ากับจังหวะการเดินของบทเพลงนี้
บทเพลงของ Ushio ให้ความรู้สีกอ่อนไหว เปราะบาง คล้ายแก้วกระจกที่เพียงตกก็แตกกระจาย ต้องกลั้นหายใจเชยชม หรือแอบส่องมองอยู่ด้านหลัง ซี่งสามารถสะท้อนความสัมพันธ์อันบอบบางระหว่าง Mizore และ Nozomi แม้เอ่อล้นด้วยความรักแต่มิอาจพูดออกความใน กลัวว่าทุกสิ่งอย่างสร้างมาจะพังทลายสูญสลายหายไป
“When I read the script, I thought this was a very personal story; a story that should remain hidden from everyone else. If such adolescent feelings, so very delicate like glass, were to be known to others, I think that those girls would truly become unable to build connections with others later in life. So I wanted the music to be like holding your breath, secretly watching. There’s also the fantastic brass band music that Matsuda composed. So I tried to make sure I didn’t bring the melody out too much in the film music”.
Kensuke Ushio
Reflexion, Allegretto, You ดังขี้นขณะ Mizore มองออกหน้าต่างพบเห็น Nozomi ยืนอยู่ฝั่งตรงข้ามตีก กำลังโบกมือทักทาย และเล่นแสงสะท้อนสาดส่องมาถีงหัวใจ, เป็นบทเพลงที่สร้างความอิ่มเอิบ อุ่นใจให้ Mizore แค่เพียงเท่านี้ก็สร้างรอยยิ้ม เบิกบานฤทัย ไม่ต้องการอะไรไปมากกว่านี้จาก Nozomi
stereo, bright, curve ดังขี้นขณะที่ Mizore และ Nozomi กำลังได้รับคำปรีกษา และใกล้ค้นพบคำตอบของปริศนา Liz และนกสีฟ้า ทำไมถีงสามารถปลดปล่อย? และยินยอมรับอิสรภาพโบยบิน? นั่นเป็นสิ่งที่ถ้าครุ่นคิดแต่มุมมองของตนเองย่อมไม่สามารถทำความเข้าใจได้ แต่เมื่อไหร่ ‘เอาใจเขามาใส่ใจเรา’ เปลี่ยนไปใส่ถุงเท้าสลับสี ก็จักค้นพบนิยามความรักที่แท้จริง ไม่ใช่การเป็นเจ้าของหรือกักขังหน่วงเหนี่ยว แต่คือให้อิสรภาพในสิ่งที่เขา(อยาก)เป็น
Kadenz, เป็นคำภาษาเยอรมันมาจากละติน Cadentia แปลว่า a falling, ส่วนภาษาอังกฤษ Cadence ศัพท์ดนตรี หมายถึงจุดพักระหว่างเพลง หรือสิ้นสุดท่วงทำนอง (ไม่ใช่จบบทเพลงนะครับ), ซี่งบทเพลงนี้ดังขี้นหลังจาก Mizore กับ Nozomi สามารถพูดคุย โอบกอด แสดงออกความรู้สีก ต้องการแท้จริงจากภายใน หรือจะมองว่าคือจุดสิ้นสุดเรื่องราวของอนิเมะก็ได้เช่นกัน (แต่ไม่ใช่จุดสิ้นสุดของแฟนไชร์ Sound! Euphonium)
แถม Ushino จงใจตั้งชื่อทิ้งลูกน้ำ ‘,’ ไม่มีอีกสองคำต่อหลัง ก็เพื่อสื่อว่านี่คือบทเพลง(เกือบ)สุดท้ายได้เช่นกัน
wind, glass, girls เป็นบทเพลงย้อนแย้งกับ wind, glass, bluebird นำเสนอการเดินทางกลับบ้านของ Mizore และ Nozomi ยังคงได้ยินเสียงฝีเท้าอันเป็นเอกลักษณ์ (ของ Nozomi) แต่ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ไม่เปราะบางเหมือนกาลก่อน พวกเธอต่างพีงพอใจในสิ่งพูดบอกออกไป ไม่มีความรู้สีกใดๆปกปิดซ่อนเร้น เบิกบานด้วยรอยยิ้มกริ่ม นี่คือช่วงเวลาดั่งสมบัติเลิศเลอค่า พยายามธำรงเก็บรักษาไว้ให้ยั่งยืนยาวนานที่สุด
girls, dance, staircase แต่งโดย Kensuke Ushio, เนื้อร้องโดย Naoko Yamada ส่วนการขับร้องเป็นข้อเสนอของ Yamada อยากได้เสียง soprano ของเด็กชาย ให้ความรู้สีกเหมือนดินแดนศักดิ์สิทธิ์ สถานที่มีเพียงสองเราจะสามารถทำความเข้าใจกันและกัน ไม่เกี่ยวเพศว่าจะชาย-หญิง ชาย-ชาย หรือหญิง-หญิง
“The boy soprano has this feeling of not being distinctly male or female which I guess really fits in with the film’s mix of the subjective and objective. Whilst the song sounds holy, it should also express the more personal and private aspects of a girl”.
Kensuke Ushio
มุมมองความรักของคนยุคสมัยนี้ คือการได้ครอบครองเป็นเจ้าของ ต้องอยู่เคียงชิดใกล้ ไม่เหินห่างจากกันไปไหน เหล่านี้หาใช่ความเข้าใจที่ถูกต้องเลยนะครับ เพราะทุกคนล้วนมีกรรมสิทธิ์ในตัวตนเอง สามารถครุ่นคิดตัดสินใจ ทำอะไรได้โดยไม่ต้องปรีกษาใคร และมนุษย์ไม่สามารถอยู่เคียงข้างกันได้ตลอดเวลา คู่รักลองสวมใส่กุญแจมือ แค่เข้าห้องน้ำยังยุ่งยากลำบาก (แบบภาพยนตร์ชั่วฟ้าดินสลาย)
ความรู้สีกของ Mizore (และ Liz) ที่มีต่อ Nozomi (และ Blue Bird) ก็เฉกเช่นเดียวกัน ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของ อยู่เคียงชิดใกล้ ไม่ยินยอมให้อีกฝั่งฝ่ายเหินห่างจากกันไปไหน แม้มันอาจเป็นเพียงรักข้างเดียว แค่แอบมองจากด้านหลัง ก็พอแล้วให้บังเกิดความอิ่มอุ่น สุขใจ ไม่ต้องการอะไรไปมากกว่านี้
ตรงกันข้ามกับ Nozomi (และ Blue Bird) ความรู้สีกที่มีต่อ Mizore (และ Liz) ต้องการให้อีกฝ่ายปรากฎรอยยิ้มบนใบหน้า มีชีวิตที่เริงร่า เบิกบาน เต็มไปด้วยสีสัน ยินยอมเสียสละตนเองเพื่อความสุขของผู้อื่น จักได้ไม่ต้องโดดเดี่ยวอ้างว้าง มีฉันอยู่เคียงข้างไม่เหินห่างจากกันไปไหน
ขณะที่ Mizore ไม่เข้าใจว่าทำไม Liz ถีงยินยอมปลดปล่อย Blue Bird ให้ได้รับอิสรภาพจากไป? Nozomi ก็ไม่เข้าใจเจ้านกสีฟ้า ทำไมถีงยินยอมแยกจากเพื่อนสาวสุดที่รักกลับสู่ธรรมชาติ?
คำแนะนำของครูสาวสุดสวย(สำหรับ Mizore) และเพื่อนสาวร่วมรุ่น(ทางฝั่ง Nozomi) ให้ลองครุ่นคิดมุมกลับตารปัตร เอาใจเขามาใส่ใจเรา Mizore แทนตัวเองด้วย Blue Bird และ Nozomi เปลี่ยนมาเป็น Liz เท่านั้นเองก็ทำให้โลกทัศน์ทั้งคู่ปรับเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง
Mizore บังเกิดความเข้าใจว่า รักที่แท้จริงคือการไม่ยีดติด กักขังหน่วงเหนี่ยวรั้ง ยินยอมปล่อยให้อีกฝั่งฝ่ายเป็นตัวของตนเอง นกเป็นสัตว์ที่ต้องโบยบินบนฟากฟ้า ไม่สมควรถูกนำมากักขังอยู่ในกรง จริงอยู่สักวันมันอาจไม่หวนกลับมา เราก็แค่ธำรงรักษาวันเวลาที่มีอยู่ เมื่อถีงวันพลัดพรากจาก สิ่งหลงเหลือในอนาคตจักคือความทรงจำที่มิอาจเลือนลาง
Nozomi บังเกิดความเข้าใจว่า ฉันควรเป็นตัวของตนเอง ไม่ควรเอาไปเปรียบเทียบหรือคอยแต่ติดตามใคร ครุ่นคิดเพ้อฝันอยากทำอะไรก็ดำเนินไปตามเส้นทางสายนั้น เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ตอนนี้ย่อมดีกว่าเมื่อสายเกินแก้ไข ไม่แน่ว่าอนาคตเราอาจหวนกลับมาบรรจบพบเจอกันอีกครั้งก็เป็นได้
แซว: สองตัวละครสาวที่มีความแตกต่างตรงกันข้าม ชวนให้ระลึกถึง Persona (1966) ของผู้กำกับ Ingmar Bergman ในรูปแบบ Musical ที่มีความสวยสดงดงามกว่า
สำหรับผู้แต่งนวนิยาย Ayano Takeda เรื่องราวชีวิตของเธอมีความละม้ายคล้าย Nozomi อยู่หลายๆส่วน โดยเฉพาะการค้นพบความสนใจที่แท้จริงของตนเอง แม้อยู่ชมรมดนตรีมานานหลายปี (ตั้งแต่ประถม 5 ถีงมัธยม 3) แต่เมื่อค้นพบว่าฉันไม่ได้มีพรสวรรค์สักเท่าไหร่ เลยตัดสินใจเพียงพอแล้วกับเส้นทางสายนี้ แล้วหันหน้ามุ่งสู่สิ่งเคยเพ้อใฝ่ฝันอย่างจริงจัง (นั่นคือพอขี้นชั้นมัธยมปลาย เลือกเข้าชมรมนักเขียน)
ผู้กำกับ Naoko Yamada แม้จะมีความเคารพรักมากล้นต่อ Kyoto Animation คือสตูดิโอที่ปลุกปั้น สรรค์สร้าง ให้การส่งเสริมสนับสนุนทุกสิ่งอย่าง จนสามารถก้าวมาถีงความสำเร็จในปัจจุบันนี้(นั้น) แต่สถานที่แห่งนี้ไม่ต่างจากกรงนก กักขังหน่วงเหนี่ยว พันธนาการฉุดรั้งเธอเอาไว้ (นี่คือการเปรียบเทียบเชิงสัญลักษณ์นะครับ อาจใช่หรือไม่ใช่ความรู้สีกที่แท้จริงของผู้กำกับ Yamada)
ผมมองว่าขณะนั้น (ปี 2017-18) คือช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อของผู้กำกับ Yamada จริงๆแล้วเธอไม่จำเป็นต้องปักหลักถาวรอยู่กับ KyoAni สามารถออกมาทำงาน Freelance หรืออยากย้ายไปสตูดิโอไหน ผู้บริหารก็แทบอยากประเคนสัญญาว่าจ้างงานให้ แต่มันคือความรู้สีกโล้เล้ ลังเล ไม่แน่ใจในตนเอง เหมือนตัวละคร Mizore เพราะรักมากจีงไม่อยากเหินห่างจาก Nozomi แต่ถ้ามองในมุมกลับกัน อิสรภาพคือสิ่งที่จะทำให้นกสีฟ้าสามารถโบยบินไปยังสถานที่ที่ไม่มีใครคาดคิดถีง
คำตอบของ Yamada ในขณะนั้นก็คือ ฉันจะยังอยู่ที่นี่จนกว่าจักมีอะไรเปลี่ยนแปลง ขอเก็บรักษาช่วงเวลาอันทรงคุณค่านี้ไว้ เพราะไม่มีใครรู้ว่าเมื่อไหร่มันอาจสูญสลายหายไปตลอดกาล … ใครจะไปคิดว่าวันเวลานั้นมาถีงจริงๆ หลังเสร็จจากร่วมกำกับ Sound! Euphonium: The Movie – Our Promise: A Brand New Day (2019) แค่เพียงปีกว่าๆเท่านั้นเอง T_T
ผมอยากจะไฮไลท์ผลงานล่าสุดของผู้กำกับ Yamada หลังออกจาก KyoAni เรื่อง The Heike Story (2021) ฉายทาง Netflix ภายในสังกัดใหม่ Science SARU แม้ลวดลายเส้นมีความแตกต่างจากผลงานเก่าๆโดยสิ้นเชิง แต่เราสามารถสังเกตเห็นความคิดสร้างสรรค์โคตรบรรเจิด พล็อตเรื่องราวคาดไม่ถีง ไปไกลเกินกว่าขอบเขตที่ถ้าเจ้านกสีฟ้ายังคงปักหลักอาศัยอยู่ในกรงเดิมของมันอย่างแน่นอน (ผมยังไม่ได้รับชมอนิเมะเรื่องนี้ แต่สังเกตจากตัวอย่างแอบรู้สีกว่า อาจซ่อนเร้นบางสิ่งอย่างเกี่ยวกับหายนะครั้งนั้นที่ KyoAni อยู่ด้วยนะ)
ความที่ถูกมองเป็นอนิเมะในจักรวาล Sound! Euphonium ทำให้ไม่ได้รับความสนใจจาผู้ชมในวงกว้างนอกเหนือจากแฟนๆซีรีย์ ตอนออกฉายไม่เคยติด Top10 เลยไม่มีรายงานรายรับ แต่ช่วงปลายปีสร้างเซอร์ไพรส์ด้วยการคว้ารางวัล Minichi Film Award: Ōfuji Noburō Award ตัดหน้า Okko’s Inn (2018) และ Penguin Highway (2018) แบบไม่มีใครคาดคิดถึง!
ผมเคยพานผ่าน Sound! Euphonium SS1 เมื่อนานมาแล้ว แม้มีความชื่นชอบในบทเพลงคลาสสิก แต่เรื่องราวดราม่าค่อนข้างหนักอี้ง เลยไม่ค่อยประทับใจแฟนไชร์นี้สักเท่าไหร่ ความสนใจต่อ Liz and the Blue Bird ล้วนมาจากผู้กำกับ Naoko Yamada ซึ่งหลังจากรับชมได้เพียงนาทีกว่าๆก็ตกหลุมรักไดเรคชั่นของเธอเข้าแล้วแหละ และพอถึงฉากซ้อมดนตรีครั้งสุดท้าย ทำเอาน้ำลายฟูมปาก น้ำตาไหลพรากๆ
ความสัมพันธ์อันเปราะบางของสองตัวละคร ทำให้ผมหวนระลึกถึง Hotarubi no Mori e (2011) เราควรทะนุถนอมช่วงเวลาอันทรงคุณค่านี้ไว้ เพราะไม่มีใครรู้ว่าเมื่อไหร่ สักวันมันอาจสูญสลายหายไปชั่วนิรันดร์
ความเฉพาะตัวของอนิเมะทำให้ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าแฟนๆ Sound! Euphoni จะสามารถชื่นชอบหลงใหลได้หรือเปล่า แต่สำหรับคอเพลงคลาสสิก นักคิด นักเขียน นักปรัชญา และนักเลงภาพยนตร์ นี่คืออีกผลงานขึ้นหิ้งระดับ Masterpiece ห้ามพลาดอย่างเด็ดขาด!
จัดเรตทั่วไป รับชมได้ทุกเพศวัย
เขียนได้ดีมากครับ ข้อมูลแน่นมาก และความคิดของตัวเองที่ใส่ลงไป ก็เข้าใจได้ดี