The Castle of Cagliostro

The Castle of Cagliostro (1979) Japanese : Hayao Miyazaki ♥♥♥♥♡

ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรกของ Hayao Miyazaki ดัดแปลงจากมังงะ Lupin the Third ปรับเปลี่ยนอาชญากรผู้เหี้ยมโหด โฉดชั่วร้าย ให้กลายเป็นจอมโจรโรแมนติก ปล้นสิ่งสำคัญที่สุดก็คือหัวใจหญิงสาว

ไม่ใช่แค่หนึ่งในภาพยนตร์อนิเมชั่นยอดเยี่ยมตลอดกาล! ยังได้รับคำชื่นชมจากผู้กำกับชื่อดัง Steven Spielberg ว่าเป็นหนึ่งใน “Greatest Adventure Movies of All Time” กลายเป็นแรงบันดาลใจแฟนไชร์ Indiana Jones, The Adventures of Tintin และโดยเฉพาะฉากขับรถไล่ล่า ยังกล่าวด้วยว่าคือหนึ่งใน “Greatest Chase sequences ever filmed”

I started looking through the old photographs of my trips to Japan. I’m very emotional about this talk about what a huge influence the country of Japan its people and my friend Hayao Miyazaki had on me. He showed me about three sequences from the film and I was blown away. Because this was the first animated film that I thought was made to entertain all ages. Clearly this was a film that was made by a filmmaker and not just for children. It made me feel I was not alone in the world. It’s for adults. It’s smart, it’s clever. The economy of the action. It was such smart filmmaking. It filled my soul – that’s what I wanted to create.

Technically, artistically, story-wise, this movie was a tremendous inspiration for me and it had a tremendous impact on me.

John Lasseter

หลายคนที่มีปัญหาในการรับชมผลงานส่วนใหญ่ของผกก. Miyazaki แต่เมื่อมีโอกาสดู Lupin III: The Castle of Cagliostro (1979) ล้วนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเข้าถึงง่าย สนุกสนานเพลิดเพลิน ตื่นเต้นเร้าใจอย่างที่สุด! ทั้งๆภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องนี้ รับหน้าที่เป็นเพียง ‘มือปืนรับจ้าง’ แต่ต้องถือว่าคือจุดเริ่มต้น เอ่อล้นความคิดสร้างสรรค์ พร้อมทดลองผิดลองถูก ยังอยู่ในช่วงมองหาสไตล์ลายเซ็นต์

Lupin the Third ไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดใดๆกับ Arsène Lupin (ในช่วงแรกๆเคยอ้างว่าเป็นทายาทรุ่นที่สาม แต่เพราะถูกฟ้องร้องลิขสิทธิ์จากฝรั่งเศส ผู้แต่งมังงะ Monkey Punch เลยตัดญาติขาดมิตร) เอาจริงๆผู้ชมก็ไม่จำเป็นต้องรู้จัก หรือรับชมอนิเมะซีรีย์ก่อนหน้า/ภาคต่อติดตามมา อารมณ์ประมาณ James Bond ฉบับจอมโจร ขับรถเต่า มาดเก๋าเจ้ง สร้างเสียงหัวเราะขบขัน และฉากแอ๊คชั่นสุดเมามันส์

The Castle of Cagliostro (1979) น่าจะเป็นภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรกๆของโลก ที่สร้างขึ้นด้วยความตั้งใจเด็กดูได้ ผู้ใหญ่ดูดี ไม่แบ่งแยกว่าอนิเมชั่นเหมาะสำหรับเด็ก หรือเนื้อหาภาพยนตร์ของผู้ใหญ่ (แบบพวก Animerama) และที่สำคัญก็คือคุณภาพที่ยังคงทันสมัยใหม่ รับชมในปัจจุบันยังไม่รู้สึกเก่าแก่เลยสักนิด!

เกร็ด: The Castle of Cagliostro (1979) เป็นภาพยนตร์อนิเมชั่นขนาดยาว (Feature Lengeth) เรื่องที่สองถัดจาก The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963) สามารถคว้ารางวัล Ōfuji Noburō Award


ก่อนอื่นขอกล่าวถึงมังงะ Lupin III (ルパン三世 อ่านว่า Rupan Sansei) แนว Comedy Adventure สร้างโดย Monkey Punch นามปากกาของ Kazuhiko Katō, 加藤一彦 (1937-2019) ตีพิมพ์ครั้งแรกลงนิตยสาร Weekly Manga Action วันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1967

ความตั้งใจแรกเริ่มของ Monkey Punch ต้องการให้ตัวละคร Lupin III มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด หลานชายรุ่นสามของจอมโจร Arsène Lupin ที่สร้างโดย Maurice Leblanc แต่ในความเป็นจริงไม่สามารถทำเช่นนั้นเพราะติดปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ต้นฉบับ เลยใช้วิธีการเปลี่ยนชื่อตัวละคร Wolf, Rupan, Hardyman (Germany), Edgar de la Cambriole (France) ฯ

มังงะเรื่องนี้ของ Monkey Punch เน้นกลุ่มเป้าหมายผู้ใหญ่ ตัวละคร Lupin III ออกแบบมาให้มีความดิบเถื่อน อวดดี ขี้เมา เสือผู้หญิง สร้างภาพผู้ดีสไตล์ James Bond (มีคำเรียก ‘gentleman thief) เวลาก่ออาชญากรรม มักใช้ความรุนแรง ข่มขืนกระทำชำเรา ไร้สามัญสำนึกดีชั่ว … เป็นมังงะที่ไม่เหมาะสำหรับเด็กและเยาวชน

ความสำเร็จของมังงะเข้าตานักอนิเมเตอร์ Gisaburō Sugii พยายามโน้มน้าว Yutaka Fujioka ผู้ก่อตั้ง/เจ้าของสตูดิโอ Tokyo Movie (ปัจจุบันคือ TMS Entertainment) ให้ดัดแปลงเป็นอนิเมะซีรีย์ ด้วยความที่สตูดิโอมีเงินทุนไม่มากนัก จึงเริ่มต้นด้วยการสร้างตอน Pilot Film (1969) เพื่อมองหาผู้จัดจำหน่าย แต่กลับไม่มีใครสนใจเนื่องจากความรุนแรง และมีเรื่องทางเพศมากเกินไป! จนกระทั่งปี ค.ศ. 1971 ถึงได้ Yomiuri Television ตอบตกลงอนุมัติงบประมาณซีรีย์ 26 ตอน

เกร็ด: Lupin the Third Part I (1971-72) ถือเป็นอนิเมะซีรีย์(ญี่ปุ่น)เรื่องแรกที่มีกลุ่มเป้าหมายสำหรับผู้ใหญ่, ส่วนภาพยนตร์อนิเมชั่น(สำหรับผู้ใหญ่)คือไตรภาค AnimeRama ประกอบด้วย A Thousand and One Nights (1969), Cleopatra (1970) และ Belladonna of Sadness (1973)

ตอนแรกที่ออกฉายวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1971 ผลปรากฎว่าเสียงตอบรับย่ำแย่ เรตติ้งต่ำมากๆ สถานีโทรทัศน์จึงโน้มน้าวให้ผู้กำกับ Masaaki Ōsumi ปรับแก้ไขเนื้อหาให้สามารถเข้าถึงผู้ชมวงกว้าง แต่เจ้าตัวกลับตอบปฏิเสธจึงถูกไล่ออกกลางคัน!

Hayao Miyazaki และ Isao Takahata ที่เพิ่งขนข้าวของย้ายออกจาก Toei Animation มายัง Tokyo Movie ได้รับมอบหมายให้เข้ามาดูแลงานสร้างแทนตั้งแต่ตอนที่ 7 ทำการปรับเปลี่ยนโน่นนี่นั่น ลดความเหี้ยมโหดร้ายของตัวละคร Lupin III จนกลายเป็นบุคคล ‘happy-go-lucky’ ขณะที่เรื่องราวก็มีลักษณะ ‘Family-Friendly’ … ครึ่งแรก-ครึ่งหลังราวกับอนิเมะคนละเรื่อง!

The transition [between Ōsumi’s seinen-themed episodes and the family-friendly Miyazaki-Takahata installments] is not entirely smooth, but [the series is] a fascinating watch for the curious, and can give new viewers a glimpse into the variety the franchise offers as a whole.

Reed Nelson นักวิจารณ์จาก Anime News Network

ด้วยกระแสความนิยมที่เพิ่มขึ้นจากตอนท้ายๆ (ที่ดูแลงานสร้างโดย Miyazaki & Takahata) ทำให้อนิเมะได้ไปต่อซีซันสอง Lupin the 3rd Part II (1977-80) [Miyazaki มีส่วนร่วมแค่ตอน 145 และ 155], ตามด้วยภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรก The Mystery of Mamo (1978) กำกับโดย Sōji Yoshikawa

สำหรับโปรเจคภาพยนตร์ถัดมา ผู้กำกับอนิเมชั่น Yasuo Ōtsuka พยายามมองหาความท้าทายใหม่ให้กับแฟนไชร์ Lupin III เลยชักชวน Hayao Miyazaki ให้มีร่วมตีความจอมโจรคนนี้ในรูปแบบใหม่

So there was a basic premise that Lupin can be interpreted in many different ways, then we started discussing “how we should draw it this time” for this next film piece. In the actual timeline it was May of 1979 that I asked Miya-san to join. The rest of the plan was completely blank.

Yasuo Ōtsuka

Hayao Miyazaki (เกิดปี 1940) ผู้กำกับสร้างอนิเมชั่น เจ้าของฉายา “godfather of animation” สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Bunkyō, Tokyo มีพี่น้อง 4 คน บิดาเป็นเจ้าของบริษัทผลิตเครื่องบิน Miyazaki Airplane ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ต้องอพยพหนีระเบิดจาก Tokyo ไปยัง Utsunomiya, Kanuma โชคดีเอาตัวรอดมาได้, ประมาณปี ค.ศ. 1947 มารดาล้มป่วยโรคกระดูกสันหลังอักเสบเนื่องจากวัณโรค ต้องนอนพักรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลหลายปี

ตั้งแต่เด็กมีความเพ้อฝันต้องการเป็นนักวาดการ์ตูน รับอิทธิพลจาก Tetsuji Fukushima, Soji Yamakawa และ Osamu Tezuka แต่หลังจากรับชมอนิเมชั่น The White Snake Enchantress (1958) ตกหลุมรักนางเอกอย่างจัง เลยเบี่ยงเบนความสนใจไปทางนี้ หลังเรียนจบมหาวิทยาลัยสมัครงานเป็น In-Between Artist สตูดิโอ Toei Animation มีส่วนร่วมโปรเจค Doggie March (1963), Wolf Boy Ken (1963), ต่อมากลายเป็น Chief Animator, Concept Artist, Scene Designer ก่อนขนข้าวของย้ายไปสตูดิโอ Tokyo Movie (Shinsha) ร่วมงานกับ Isao Takahata สร้างซีรีย์ Lupin the Third (1971), ฉายเดี่ยวกับ Future Boy Conan (1978), และกำกับภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรก The Castle of Cagliostro (1979),

To be honest, when I was first asked to join, I thought “why now?” For me, and I think Otsuka-san feels much the same, but Lupin was a character living in 60s to 70s. So I thought the theme to use Lupin was bit old and dated.

… after the first TV series comes the second, and then the movie (The Mystery of Mamo). I felt that Lupin had seen all the glory and ended all its chapters. So I was quite astonished when they were starting up again.

Hayao Miyazaki

แม้ในตอนแรก Miyazaki ตั้งใจจะตอบปฏิเสธ แต่หลังจากพูดคุย ถกเถียงกับ (ผู้กำกับอนิเมชั่น) Yasuo Ōtsuka ค้นพบว่าตนเองยังสามารถขบครุ่นคิด ตีความตัวละคร Lupin III ให้ผิดแผกแตกต่างออกไปจากเดิม ให้คำนิยามสั้นๆว่า “growing up”

I questioned myself. What do I want to do with it now? For what kind of audience? … all I could think was the image of Lupin lived in his glory in 60s and early 70s, now living in the regret and shame for his young and wild life… He stopped caring about those fashion and status ten years ago. The same goes for his comrades.

ร่วมพัฒนาบทอนิเมะโดย Haruya Yamazaki แต่เห็นว่าแค่เพียงบทส่งอนุมัติโปรเจค เพราะระหว่างออกแบบร่าง Storyboard ผกก. Miyazaki ไม่ได้สนใจรายละเอียดใดๆในบทของ Yamazaki ปรับเปลี่ยน แก้ไข ปล่อยให้ทุกสิ่งอย่างดำเนินตามวิวัฒนาการของมันเอง … นี่คือสไตล์การทำงานของผกก. Miyazaki (นอกจากผลงานหลัง) มักยังไม่ครุ่นคิดตอบจบ พัฒนาเรื่องราว/Storyboard ไม่เคยเสร็จทันตอนเริ่มต้นโปรดักชั่น


พื้นหลัง ค.ศ. 1968, จอมโจร Lupin III พร้อมคู่หู Daisuke Jigen หลังปล้นเงินจากบ่อนคาสิโน ณ Monte Carlo ค้นพบว่าสิ่งที่ลักขโมยคือธนบัตรปลอม สร้างขึ้นโดย Count Cagliostro ประเทศเล็กๆอยู่ไม่ไกลจาก Monaco สถานที่ที่เขาเคยพยายามลักลอกเข้าไปเมื่อสิบปีก่อน แต่ประสบความล้มเหลว เฉียดตาย เอาตัวรอดชีวิตได้อย่างหวุดหวิด

ระหว่างการเดินทางไปยังปราสาท Castle of Cagliostro จู่ๆผู้หญิงในชุดเจ้าสาวขับรถตัดหน้า กำลังถูกไล่ล่าโดยรถคันหลัง จอมโจร Lupin จึงเหยียบมิดคันเร่ง พยายามให้การช่วยเหลืออีกฝ่าย แต่แม้สามารถเอาตัวรอดตายอย่างหวุดหวิด สุดท้ายเธอยังคงถูกจับกุมตัว ก่อนพบว่าหมั้นหมายอยู่กับ Count of Cagliostro

หลังจากรับทราบเรื่องราวของ Count of Cagliostro จอมโจร Lupin III จึงส่งจดหมายท้าทาย ประกาศว่าจะทำการลักขโมยคู่หมั้น Clarisse ที่ถูกควบคุมขังอยู่ยังชั้นบนสุดของปราสาท สถานที่ที่มีระบบรักษาความปลอดภัยหนาแน่น ทันสมัยใหม่ที่สุดในโลก และยังต้องครุ่นคิดหาวิธีเปิดโปงการปลอมแปลงธนบัตร สุดท้ายแล้วจะทำได้สำเร็จหรือไม่??


Yasuo Yamada, 山田 康雄 (1932-95) นักแสดง ตลก พาย์เสียง (Seiyuu) สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Tokyo วัยเด็กมีความสนใจกีฬาเบสบอล แต่หลังจากรับชมการแสดงของ Danny Kaye ภาพยนตร์ The Secret Life of Walter Mitty (1977) จึงค้นพบความชื่นชอบหลงใหล ต้องการเป็นนักแสดงตลก สมัครงานคณะการแสดง Mingei Theatre Company แต่พอค้นพบว่าไม่สามารถทำตามความฝัน จึงออกมาจัดรายการวิทยุ จนมีโอกาสเดี่ยวบนเวที Theater Echo, จากนั้นกลายเป็นนักพากย์อนิเมะและภาพยนตร์ โด่งดังกับตัวละคร Lupin III, นอกจากนี้ยังมักให้เสียงนักแสดง Clint Eastwood, Jean-Paul Belmondo ฯ

พากย์เสียง Lupin III จอมโจรสุภาพบุรุษ (Gentleman Thief) ผู้มีความเฉลียวฉลาด หน้าตาอาจไม่หล่อ แต่คารมเป็นต่อ ชื่นชอบหยอกล้อ เกี้ยวพาราสีสาวๆไปทั่ว แต่ไม่เคยเห็นจริงจังกับใคร โหยหาความท้าทาย แต่ด้วยอุดมการณ์ไม่ปล้นคนจน เป้าหมายจึงมักเป็นพวกเศรษฐีปลอมๆ หลอกลวง คอรัปชั่น และด้วยวัยวุฒิเพิ่มสูงขึ้น เริ่มครุ่นคิดโหยหาอดีต รู้สึกเสียดายหลายๆสิ่งอย่างเคยทอดทิ้งขว้าง

การเข้ามาของ Miyazaki & Takahata ได้ทำการปรับเปลี่ยนจอมโจม Lupin จากเคยเหี้ยมโหดโฉดชั่วร้าย อาชญากรโรคจิต สยองขวัญ ไม่มีอะไรน่าจดจำ กลายมามาดเท่ห์ ทรงเสน่ห์ ใบหน้าทรงรี มีความยียวน บุคลิกภาพป่วนๆ หน้าตาทะเล้น ชวนให้นึกถึงนักแสดง Jean-Paul Belmondo และเสียงพากย์ของ Yamada คงด้วยประสบการณ์นักแสดงตลก เลยสามารถละเล่นระดับเสียงสูง-ต่ำได้อย่างมหัศจรรย์ (เวลาทะเล้นก็เล่นเสียงสูง พอจริงจังก็กดเสียงต่ำ อะไรอย่างอื่นก็ระหว่างนั้น)

คนที่กลายเป็นแฟนคลับ Lupin III ส่วนใหญ่มักมีจุดเริ่มต้นจากภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องนี้ ซึ่งไม่ได้มีความใกล้เคียงกับต้นฉบับมังงะสักเท่าไหร่ ผู้แต่ง Monkey Punch แม้ชื่นชอบอนิเมะ แต่ไม่นานก็ตระหนักถึงผลกระทบเลวร้ายติดตามมา

95% of Lupin III fans outside Japan cite this work as what ‘triggered them to become a fan.’ I said, ‘This is not my Lupin.’ It’s a very good work by Miyazaki-kun, wrapped in kindness that I couldn’t have drawn. But the second half of the caper was cut off, and only the first word was taken up. My Lupin is poisonous… I wouldn’t have had him rescue the girl, I would have had him rape her!

Monkey Punch

Sumi Shimamoto ชื่อจริง Sumi Koshikawa, 越川 須美 (เกิดปี 1954) นักแสดง นักพากย์ (Seiyuu) สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Kōchi สำเร็จการศึกษา Toho Gakuen College of Drama and Music จากนั้นเข้าร่วมคณะการแสดง Gekidan Seinenza, โด่งดังจากการให้เสียงพากย์ Clarisse อนิเมะ The Castle of Cagliostro (1979), Nausicaä อนิเมะ Nausicaä of the Valley of the Wind (1984), Shokupanman แฟนไชร์ Soreike! Anpanman ฯ

พากย์เสียงเจ้าหญิง Clarisse สมาชิกราชวงศ์คนสุดท้ายของ Cagliostro ถูกบีบบังคับให้หมั้นหมายแต่งงานกับ Count Cagliostro ซึ่งเคยเป็นข้าราชบริพารก่อการกบฎ โค่นล้ม เข่นฆ่าล้างราชวงศ์ ด้วยจุดประสงค์เปิดขุมทรัพย์ ครอบครองสิ่งของล้ำค่าที่สุด แต่เธอพยายามดิ้นรน หลบหนี หลายครั้งเข้าจนหมดสิ้นเรี่ยวแรงกาย-ใจ จนได้รับความช่วยเหลือจาก Lupin III เข้ามาขโมยหัวใจ ให้บังเกิดความหวังขึ้นในชีวิตอีกครั้ง

ตอนแรกผมรู้สึกคุ้นๆเหมือนเคยได้ยินเสียงของ Shimamoto จากแห่งหนไหน พอรับรู้ว่าเคยพากย์ Nausicaä ก็เกิดความเชื่อมโยงขึ้นโดยทันที แม้ว่า Clarisse จะออกไปทาง ‘damsel in distress’ เคยมีสภาพท้อแท้สิ้นหวัง มิอาจต่อต้านอำนาจบารมีของ Count Cagliostro แต่เพราะได้รับประกายความหวังจาก Lupin III จึงแสดงจิตวิญญาณอันมุ่งมั่น แน่วแน่ กล้าครุ่นคิดตัดสินใจ และยินยอมเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น … อาจดูไม่เหมือนนางเอกในอุดมคติของผกก. Miyazaki แต่อยู่ในช่วงวัยกำลังเติบโต

เกร็ด: Clarisse ภาษาฝรั่งเศสแปลว่า Bright, Famous ถือเป็นตัวละคร ‘moe’ แรกๆของวงการอนิเมะ และเคยได้รับการโหวตตัวละครหญิงอันดับหนึ่งอยู่หลายปี จนกระทั่งการมาถึงของ Nausicaä (ซึ่งก็พากย์เสียงโดย Seiyuu คนเดียวกัน)

Tarō Ishida ชื่อจริง Gentarō Ishida, 石田 弦太郎 (1944-2013) นักแสดง นักพากย์ สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Kyoto เป็นบุตรของนักแสดง Shigeki Ishida โตขึ้นเข้าศึกษาภาษาสเปน Sophia University แต่ยังไม่ทันเรียนจบออกมาเป็นนักแสดง พากย์เสียง Gene Hackman, Anthony Hopkins, Count Cagliostro อนิเมะ The Castle of Cagliostro (1979), Colonel Shikishima อนิเมะ Akira (1988), Gasparde อนิเมะ One Piece: Dead End Adventure (2003) ฯ

พากย์เสียง Count Cagliostro อุปราชแห่ง Cagliostro ผู้มีความร่ำรวย(จากการผลิตธนบัตรปลอม) เต็มไปด้วยเส้นสาย หลังยึดอำนาจจากบิดาของ Clarisse บีบบังคับให้หมั้นหมาย แต่งงาน เพื่อตนเองจักกลายเป็นกษัตริย์ และค้นพบขุมสมบัติสุดท้ายที่ซุกซ่อนเอาไว้

Count Cagliostro น่าจะเป็นตัวร้ายตัวเดียวในอาชีพการงานของผกก. Miyazaki (โดยปกติผลงานปู่แกไม่มีตัวร้ายที่เหี้ยมโหดชัดเจนขนาดนี้ ส่วนใหญ่จะเทาๆ พบเห็นทั้งด้านดี-ร้ายในตนเอง) แต่การออกแบบตัวละคร ไม่ได้มีจุดโดดเด่น หรือทำออกมาแปลกพิศดารอะไร เพียงใบหน้าเหลี่ยมๆ (เต็มไปด้วยเล่ห์เหลี่ยม) รูปร่างสูงใหญ่ อกผายไหล่ผึ่ง และรอยยิ้มที่เต็มไปด้วยลับเลศนัย

น้ำเสียงของ Ishida ก็ไม่ได้มีความโฉดชั่วร้ายใดๆ เหมือนผู้ใหญ่วัยกลางคน มีความทุ้ม หนักแน่น ฟังดูสุขุม เยือกเย็น แสดงอารมณ์เกรี้ยวกราดเฉพาะตอนที่ลูกน้องทำอะไรไม่ได้ดั่งใจ และเต็มไปด้วยความเชื่อมั่นว่าสามารถต้อนจนมุม Lupin III แต่กลับกลายเป็นตนเองที่ … แตกโพล๊ะ

ถ่ายภาพโดย Hirokata Takahashi (The Rose of Versailles, Space Adventure Cobra, Castle in the Sky)

งานภาพ/ออกแบบศิลป์ของอนิเมะคละคลุ้งด้วยกลิ่นอาย ‘Nostalgia’ ทั้งทิศทาง การจัดแสง เลือกใช้สีสัน หลายครั้งพบเห็นตัวละครเดินกินลมชมวิว ดื่มด่ำทัศนียภาพงามๆ พานผ่านเศษซากปรักหักพัง หวนระลึกวันวาน สถานที่แห่งความทรงจำ นาฬิกานับถอยหลัง

ด้วยความยังหนุ่มแน่นของผกก. Miyazaki โปรดักชั่นเริ่มต้นพฤษภาคม ค.ศ. 1979 เสร็จสิ้นเดือนพฤศจิกายน (ประมาณห้าเดือนกว่าๆ) นั่นเป็นระยะเวลาน้อยที่สุดในการสรรค์สร้างภาพยนตร์อนิเมชั่น (ของ Miyazaki) เลยก็ว่าได้!

I first learned the limits of my physical strength with this work.

Hayao Miyazaki

แต่ความเร่งรีบร้อนดังกล่าว รวมถึง Storyboard ที่ยังวาดไม่ทันเสร็จ ไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อโปรดักชั่นของอนิเมะ ตรงกันข้ามสร้างเพราะไม่มีใครรับรู้ว่าตอนจบจะลงเอยเช่นไร จึงเต็มไปความคลุมเคลือ ไม่แน่นอน อะไรๆล้วนบังเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น

ใครเคยรับชม The Shepherdess and the Chimney Sweep (1952) ของผกก. Paul Grimault น่าจะสังเกตเห็นอิทธิพลที่มีมากล้นต่อทั้งเรื่องราว และการออกแบบปราสาท Castle of Cagliostro จนบางคนอาจรู้สึกเหมือน ‘rip off’ คล้ายๆแบบ Lupin III ทำการโจรกรรมสิ่งของมีค่า (= Miyazaki ลักขโมยหลายๆสิ่งอย่างจากภาพยนตร์/อนิเมชั่นก่อนหน้า)

ผมเขียนถึงรายการภาพยนตร์เรื่องโปรดของผกก. Miyazaki มาเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้า พบเห็นกังหันลมก็ชวนนึกถึง The Old Mill (1938), เครื่องจักร ฟันเฟือง ภาพยนตร์ Modern Times (1936), ฉากโลดโผนบนหอนาฬิกา Safety Last! (1923) ฯ เหล่านี้ถ้าพูดตรงๆก็คือลักขโมยมา แต่ภาษาศิลปินจะเรียกว่าได้รับอิทธิพล แรงบันดาลใจ ไม่ได้เหมือนเป๊ะขนาดนั้น … จะว่าไปสิ่งต่างๆเหล่านี้ ทำให้อนิเมะคละคลุ้งด้วยกลิ่นอาย ‘Nostalgia’ แต่เฉพาะบุคคลเคยรับรู้จักมาก่อนเท่านั้น!

เมื่อตอน The Shepherdess and the Chimney Sweep (1952) และ The King and the Mockingbird (1980) ต่างเป็นอนิเมะที่ไม่เคยเปิดเผยว่าหลังจาก The King กดปุ่ม หล่นตุ๊บ ล่องจุ๊น บุคคลเหล่านั้นสูญหายตัวไปไหน? ผกก. Miyazaki ก็ได้ขบไขปริศนา มอบคำตอบที่อาจชวนคลื่นไส้วิงเวียน แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมโฉดชั่วร้าย สถานที่ที่ความตายคือรากฐาน

โดยปกติแล้ว Lupin III มักขับรถหรูหราราคาแพงอย่าง Mercedes Benz (ด้วยเหตุผลว่าเป็นรถคันโปรดของ Adolf Hitler) แต่ความตั้งใจของผกก. Miyazaki ต้องการนำเสนอการเติบโตของตัวละคร สร้างเรื่องราวให้มีกลิ่นอาย ‘Nostalgia’ จึงปรับเปลี่ยนมาเป็นรถเต่าคลาสสิก Fiat 500 กลายเป็น ‘Iconic’ ของภาพยนตร์อนิเมะเรื่องนี้โดยพลัน!

I thought this Lupin was probably a kind of man who used to drove Mercedes Benz SSK but now he is out of that phase and bored with it. He realized, after all, it does not matter what car he drives, as long as it drives, and he is just driving around with the most basic car. He is over the fame and status which came with the money. He is no longer a man who would pull out the most rare and expensive cigarette lighter to light his cigarette anymore. He does not give a single damn about such thing. He is fine with the cheap disposable one as long as it does the job. That was my image of Lupin. I felt like I finally understood Lupin. And based on that image, I created this film.

Hayao Miyazaki

เกร็ด: Fiat 500 คือรถคันปัจจุบัน(ขณะนั้น)ของผู้กำกับอนิเมเตอร์ Yasuo Ōtsuka, ขณะที่ Citroen 2CV ในฉากไล่ล่า คือรถคันแรกของผกก. Miyazaki

เมื่อตอน

ไคลน์แม็กซ์ของอนิเมะบังเกิดขึ้นยังหอนาฬิกา Lupin III vs. Count Cagliostro ต่างยืนบนเข็มยาว-สั้น (ฟากฝั่งขั้วตรงข้าม) ฝ่ายหนึ่งพลัดตกหล่นเบื้องล่าง อีกฝ่ายปีนป่ายขึ้นสู่เบื้องบน และเมื่อเข็มเคลื่อนมาตำแหน่ง 00:00 ทำให้อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต เวียนมาบรรจบครบรอบ เปิดเผยขุมสมบัติของ Cagliostro ที่เก็บซุกซ่อนเอาไว้

ขุมสมบัติของ Cagliostro แท้จริงแล้วคือเมืองใต้บาดาล แรงบันดาลใจจากดินแดน Atlantis ที่จมลงใต้มหาสมุทร แต่สถาปัตยกรรมเหมือนจะหยิบยืมมาจากจักรวรรดิโรมัน (อิตาลี) ซึ่งถือว่ามีมูลค่าทางจิตใจมากมายมหาศาล ดั่งคำกล่าวของ Lupin III ที่ว่า “Treasure for all Mankind”

แต่สำหรับ Count Cagliostro ถ้ายังมีชีวิตอยู่คงตกอยู่ในความท้อแท้สิ้นหวัง นี่นะหรือคือสิ่งที่อุตส่าห์เสียสละทุกสิ่งอย่างเพื่อแลกมา เพราะมันไม่มีมูลค่าทางวัตถุใดๆ ไม่สามารถนำไปขายทอดตลาด ไม่แตกต่างจากธนบัตรปลอมๆผลิตขึ้นมา

ถ้าเป็นเมื่อสิบปีก่อน ไม่แน่ว่า Lupin III อาจจะลักพาตัว Clarisse กลายเป็นคู่หู Bonnie and Clyde แต่ใจความอนิเมะเรื่องนี้เกี่ยวกับการหวนระลึก ความทรงจำวันวาน กาลเวลาได้เคลื่อนพานผ่าน ปัจจุบันรู้สึกเหน็ดเหนื่อย เบื่อหน่าย แก่เกินแกง สุดท้ายเลยขีดเส้นแบ่ง ยินยอมปลดปล่อยเธอสู่อิสรภาพ ร่ำลาจากตอนนี้เลยดีกว่า!

Even when it comes to love, he keeps the same stance. Maybe if it was ten years ago, he would have fallen for love, but now he knows he is not that young nor innocent, so he excuse himself as “old man” and draw the line.

Hayao Miyazaki

ตัดต่อโดย Mitsutoshi Tsurubuchi,

นำเสนอการผจญภัยของจอมโจร Lupin III (และผองพวก) หลังจากปล้นคาสิโน ณ Monte Carlo ออกเดินทางสู่ประเทศ Cagliostro วางแผนลักขโมยเจ้าหญิง Clarisse และสิ่งล้ำค่าที่สุดในปราสาทแห่งนี้

  • อารัมบท, จอมโจร Lupin III ปล้นคาสิโน Monte Carlo
  • Castle of Cagliostro
    • ระหว่างทางไปยัง Cagliostro พบเห็นผู้หญิงในชุดเจ้าสาวถูกรถคันหลังไล่ล่า Lupin III (และ Daisuke Jigen) จึงพยายามให้การช่วยเหลือ
    • เดินทางมาถึงปราสาท Cagliostro เหมือนว่า Lupin III จะมีความหลังบางอย่างกับสถานที่แห่งนี้
    • แนะนำตัวละคร Count Cagliostro เข้าไปในห้องของเจ้าหญิง Clarisse แล้วออกคำสั่งให้ลูกน้องจัดการ Lupin III
    • หลังรับประทานอาหารมื้อเย็น Lupin III (และ Daisuke) ก็ถูกโจมตีโดยลูกน้องของ Count Cagliostro
  • การโจรกรรมของ Lupin III
    • เช้าวันถัดมา Chief Inspector Koichi Zenigata และ Fujiko Mine ต่างเดินทางมาถึงปราสาทแห่งนี้
    • ยามค่ำคืน Lupin III หาหนทาง ลักลอบเข้าไปในปราสาทได้สำเร็จ
    • ปีนป่ายขึ้นไปยังห้องของเจ้าหญิง Clarisse ให้คำมั่นสัญญาว่าจะช่วยเหลือเธอออกมา แต่กลับถูกล้อมจับกุมโดย Count Cagliostro
    • Lupin III และ Chief Inspector Koichi ร่วมมือกันหลบหนีจากห้องใต้ดิน เผาทำลายเครื่องผลิตธนบัตร
    • Lupin III พยายามจะช่วยเหลือเจ้าหญิง Clarisse แต่ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัส เธอจึงยินยอมเป็นตัวประกันให้ปล่อยตัวเขาหลบหนีได้สำเร็จ
  • ขุมสมบัติของ Castle of Cagliostro
    • ระหว่างพักรักษาตัว Lupin III เล่าถึงความหลังที่เคยพบกับเด็กหญิง Clarisse เมื่อสิบปีก่อน
    • งานแต่งงานระหว่าง Count Cagliostro และเจ้าหญิง Clarisse
    • พิธีแต่งงานถูกรุกรานโดย Lupin III และผองพวก
    • Lupin III, Clarisse และ Count Cagliostro กับภารกิจหาสมบัติของ Castle of Cagliostro
  • ปัจฉิมบท, การจากไปของ Lupin III ถูกไล่ล่าโดย Chief Inspector Koichi

อนิเมะมี ‘จังหวะ’ (Pacing) การดำเนินเรื่องที่น่าทึ่งมากๆ เริ่มต้นด้วยฉากไล่ล่า หลบหนี สร้างความตื่นเต้นเร้าใจ ทำให้ผู้ชมเต็มไปด้วยความคาดหวัง จากนั้นลดความเร็วลงเพื่ออธิบายโน่นนี่นั่น กราฟอารมณ์ขึ้นๆลงๆ เหมือนเครื่องเล่น Roller Coaster ก่อนพุ่งทะยานสู่ไคลน์แม็กซ์สูงสุด แล้วจากไปอย่างโคตรเท่ห์ … นี่คือสูตรสำเร็จภาพยนตร์แอ็คชั่นที่พบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน แต่อนิเมะสร้างมากว่า 40+ ปี ยังไม่มีความเก่าเลยสักนิด!


เพลงประกอบโดย Yuji Ohno, 大野 雄二 (เกิดปี 1941) นักแต่งเพลง แจ๊ส สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Atami, Shizuoka สามารถเล่นเปียโนตั้งแต่อยู่โรงเรียนอนุบาล โตขึ้นเข้าศึกษาวิชากฎหมาย Keio University แล้วยังได้เป็นสมาชิกวง Keio University Light Music Society, จบออกมาเริ่มจากเล่นดนตรี Backing แต่งเพลง ออกอัลบัม ทำเพลงประกอบภาพยนตร์ โทรทัศน์ โด่งดังจากซีรีย์ Lupin III มีผลงานตั้งแต่ซีซันสอง Lupin III Part II (1977-1978) จนถึงปัจจุบัน

ใครเคยรับชมแฟนไชร์ Lupin III น่าจะมักคุ้นกับ Main Theme คละคลุ้งด้วยกลิ่นอาย Jazz รสสัมผัส Bebop จังหวะรวดเร็ว สนุกสนาน เต็มไปด้วยลีลาโลดโผนของการเปลี่ยนแปลงคีย์และคอร์ด ทำให้ผู้ฟังไม่สามารถคาดเดาอะไร คล้ายๆอุปนิสัย/พฤติกรรมจอมโจร Lupin III ผันแปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา … แต่สำหรับอนิเมะเรื่องนี้ Main Theme ของ Lupin III จะแทรกแซมอยู่ตามท่วงทำนองต่างๆ ระหว่างการขับรถไล่ล่า เผชิญหน้าอันตราย หาใช่บทเพลงประกอบหลักไม่!

นั่นเพราะเนื้อหาสาระของอนิเมะ คือการลักขโมยหัวใจหญิงสาว (สมบัติล้ำค่าที่สุด) จึงคละคลุ้งด้วยกลิ่นอายโรแมนติก และอาการโหยหาความทรงจำเมื่อครั้นวันวาน (Nostalgia) ท่วงทำนองหลักจึงเป็น Variation จากบทเพลงคำร้อง 炎のたからもの อ่านว่า Honō no Takaramono แปลว่า Fire Treasure (บางครั้งอาจใช้ชื่อ Treasures of Time), คำร้องโดย Jun Hashimoto, ต้นฉบับขับร้องโดย Toshie Kihara ร่วมกับวงดนตรี You & The Explosion Band มีคำเรียกสไตล์ Jazz Funk

คำร้องญี่ปุ่นคำแปลอังกฤษ
Shiawase o tazunete watashi wa yukitai
Ibara no michi mo itetsuku yoru mo
Futari de watatte yukitai

Tabibito no samui kokoro o
Dare ga daite ageru no
Dare ga yume o kanaete kureru

Honoo to moesakaru watashi no kono ai
Anata ni dake wa wakatte hoshii
Kizuna de watashi o tsutsunde……

Kōya o sasurau anata o
Nemurasete agetai no
Nagareboshi wa anata no koto ne

Honō to moesakaru watashi no kono ai
Anata ni dake wa wakatte hoshii
Nazomeku kiri mo harete iku
I want to go in search of happiness
Through thorny paths and frozen nights
I want to go across the road together

Who will hold the traveler’s cold heart
Who will hold you in their arms?
Who will make my dreams come true

My love that burns with fire
I only want you to understand
Wrap me in your bonds ……

As you wander in the wilderness
I want to put you to sleep
You are the shooting star

My love that burns with fire
I only want you to understand
And the mists of mystery will clear

Variation ของ Fire Treasure จะมีการเลือกใช้เครื่องดนตรีหลักแตกต่างกันไป ขลุ่ย (โดดเดี่ยวอ้างว้าง) ไวโอลิน (บีบเค้นคั้นทรวงใน) และคลาริเน็ต (ครุ่นคิดถึง คำนึงหา) ส่วนตัวชื่นชอบประทับใจมากสุดก็คือ #3 ดังขึ้นช่วงท้ายขณะร่ำลาจาก Clarisse เหม่อมองการจากไปของ Lupin III ด้วยสายตาโหยหาอาลัย ฉันจะจดจำช่วงเวลาทรงคุณค่านี้ไว้ ติดตราฝังใจไม่รู้ลืมเลือน

มีอีกบทเพลงหนึ่งที่ผมอดกล่าวถึงไม่ได้ Bach: Pastorale in F major, BWV 590 ท่อนที่ III. Aria โดยปกติจะบรรเลงโดยออร์แกน (เป็นบทเพลงเดียวของ Bach ที่แต่งขึ้นเพื่อ Chruch Organ) แต่ด้วยความไพเราะเพราะพริ้ง ราวกับเสียงสวรรค์ จึงได้รับความนิยมนำมาบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอื่นมากมาย

แต่ที่แน่ๆนี่ไม่ใช่บทเพลงสำหรับงานแต่งงาน ฟังแล้วราวกับตกนรกทั้งเป็น แถมการบรรเลงใช้โน๊ตเสียงสูง มีความขัดย้อนแย้งกันเอง (โดยปกติออร์แกนจะมีเสียงทุ้มต่ำ) นั่นเพราะ Clarisse ไม่ได้อยากหมั้นหมายครองรักกับ Count Cagliostro เธอจึงรู้สึกหดหู่ ท้อแท้สิ้นหวัง ไม่รู้จะทำอะไรยังไงต่อไป

Lupin III ฉบับของผกก. Miyazaki ต้องเรียกว่าจอมโจรโรแมนติก ใช้ชีวิตพานผ่านอะไรๆมามาก ลักขโมย ปล้น-ฆ่า เกี้ยวพาราสีหญิงสาวไม่ซ้ำหน้า จนมากระทั่งถึงวัยกลางคน ไม่เชิงว่า ‘midlife crisis’ แต่เริ่มเกิดความตระหนัก เข้าใจอะไรๆหลายสิ่งอย่าง รถหรู เงินทอง มันก็แค่สิ่งของภายนอก เกิดความเบื่อหน่าย ซ้ำซากจำเจ โหยหาสิ่งท้าทาย เติมเต็มความต้องการหัวใจ

โดยปกติแล้วจอมโจร Lupin III ถือเป็นอาชญากรโฉดชั่วร้าย บุคคลอันตราย สมควรตีตนออกห่างไกล! แต่เราสามารถมองในเชิงสัญลักษณ์ของพฤติกรรมหัวขบถ นอกคอก ไม่ต้องการอยู่ภายใต้ขนบกฎกรอบ โหยหาอิสรภาพในการใช้ชีวิต, ขณะที่การลักขโมย โจรกรรม ในเชิงนามธรรมสามารถสื่อถึงความชื่นชอบหลงใหล สิ่งสร้างอิทธิพล ก่อบังเกิดแรงบันดาลใจ … ผกก. Miyazaki คลั่งไคล้ภาพยนตร์อนิเมชั่น The Shepherdess and the Chimney Sweep (1952) ลักขโมยหลายสิ่งอย่างมาใส่ในผลงานเรื่องนี้ของตนเอง!

(นัยยะเดียวกับ One Piece โจรสลัดคืออาชญากรโฉดชั่วร้าย แต่สามารถตีความในเชิงสัญลักษณ์ถึงพฤติกรรมหัวขบถ นอกคอก ไม่ต้องการอยู่ภายใต้ขนบกฎกรอบ โหยหาอิสรภาพในการใช้ชีวิต)

เราสามารถเปรียบเทียบตรงๆ Lupin III = ผกก. Miyazaki ต่างเป็นคนหัวขบถ รักอิสระ ชื่นชอบทำสิ่งแปลกใหม่ ท้าทายศักยภาพตนเอง เติมเต็มความต้องการหัวใจ แม้ในตอนแรกไม่ครุ่นคิดอยากหวนกลับมาทำแฟนไชร์นี้อีก (เพราะเคยกำกับอนิเมะซีรีย์ซีซันแรกไปแล้ว) แต่เล็งเห็นโอกาสทำสิ่งแปลกใหม่ ตัวตนเองที่ปรับเปลี่ยนแปลงไป

ในบริบทของอนิเมะมีการย้อนระลึกความหลังประมาณสิบปีก่อน ซึ่งตรงกับช่วงที่ผกก. Miyazaki เคยทำงานอยู่ Toei Animation = Castle of Cagliostro ซึ่งท่าน Count of Cagliostro สามารถเปรียบเทียบถึงผู้บริหาร(สตูดิโอ Toei)ที่มีความเรื่องมาก เจ้ากี้เจ้าการ เผด็จการ … แนะนำให้ไปอ่านบทความ The Great Adventure of Horus, Prince of the Sun (1968) จะเข้าใจเหตุผลที่ทั้ง Isao Takahata และ Hayao Miyazaki ตัดสินใจร่ำจากลา Toei Animation ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971

สิ่งที่ผกก. Miyazaki ลักขโมยมาจาก Toei Animation คือประสบการณ์ทำงาน (และประสบการณ์ชีวิต) ได้เรียนรู้ทั้งงานอนิเมเตอร์ สรรค์สร้างอนิเมชั่น ระบบการทำงาน สำคัญที่สุดก็คือสันดานธาตุแท้มนุษย์ และความคอรัปชั่นของระบอบทุนนิยม

เมื่อตอนสรรค์สร้างอนิเมะเรื่องนี้ ผกก. Miyazaki มีอายุย่าง 38 ปี ถือว่าอยู่ในช่วงวัยกลางคน พานผ่านอะไรๆมาพอสมควร จึงเริ่มเข้าใจสัจธรรมชีวิต มองย้อนกลับไปก็มีทั้งสิ่งที่โหยหา ครุ่นคิดถึง (Nostalgia) บางอย่างก็เป็นเรียนชีวิต ให้เรียนรู้ ปรับปรุงตนเอง เติบโตเป็นผู้ใหญ่ … มันไม่เชิงว่า The Castle of Cagliostro (1979) คือภาพยนตร์แนว ‘Coming-of-Age’ แต่คือการเติบโตของ Hayao Miyazaki ในฐานะผู้กำกับอนิเมชั่น


ด้วยทุนสร้าง ¥500 ล้านเยน (ประมาณ $2.3 ล้านเหรียญสหรัฐ) ทุบทำลายสถิติทุนสร้างภาพยนตร์อนิเมชั่นสูงสุดตลอดกาลของ Space Battleship Yamato (1977) [ที่ ¥200 ล้านเยน] ก่อนจะถูกแซงโดย Laputa: Castle in the Sky (1986) [ที่ ¥800 ล้านเยน]

แม้เสียงตอบรับจะดียอดเยี่ยม แต่ในญี่ปุ่นสามารถทำเงินได้เพียง ¥610 ล้านเยน (ประมาณ $2.784 ล้านเหรียญสหรัฐ) ฉายต่างประเทศก็ไม่ได้รายรับเพิ่มขึ้นสักเท่าไหร่ ถึงอย่างนั้นมีการนำออกฉายซ้ำอยู่เรื่อยๆจนได้รับกระแสคัลท์ (Cult Following) ยอดขาย VHS, DVD, Blu-Ray ก็น่าจะทำกำไรได้แล้วละ

เกร็ด: The Castle of Cagliostro (1979) ได้รับการโหวตติดอันดับ #20 ชาร์ท Laputa: Top 150 Japanese and World Animation (2003) ถือเป็นเรื่องที่ห้าของผกก. Miyazaki ถัดจาก #6 Future Boy Conan (1978), #7 My Neighbour Totoro (1988), #16 Nausicaä of the Valley of the Wind (1984) และ #19 Laputa: Castle in the Sky (1986)

แม้ลิขสิทธิ์อนิเมะจะไม่ใช่ของสตูดิโอ Ghibli แต่ทว่า TMS Entertainment เก็บทำนุรักษาฟีล์มต้นฉบับไว้เป็นอย่างดี ผ่านการบูรณะ 4K UHD เมื่อปี ค.ศ. 2019 จัดจำหน่าย Blu-Ray โดย Discotek Media ของแถมพอสมควรเลยละ

ในบรรดาผลงานของผกก. Miyazaki ผมมีความสนุกสนาน เพลิดเพลินมากที่สุดกับ The Castle of Cagliostro (1979) ทั้งฉากแอ๊คชั่นมันส์ๆ อนิเมชั่นบ้าระห่ำ พบเห็นสารพัดการเชื่อมโยง The King and the Mockingbird (1980) ของผกก. Paul Grimault ยิ่งทำให้รู้สึกอึ่งทึ่ง คาดไม่ถึง ปล้นสิ่งสำคัญที่สุดก็คือหัวใจผู้ชม!

The Castle of Cagliostro (1979) ถือเป็นไฮไลท์ยืนหนึ่งของแฟนไชร์ Lupin III ด้วยความที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แตกต่างจากต้นฉบับมังงะ หรือซีรีย์ตอนอื่นๆ จึงไม่มีเรื่องไหนๆสามารถก้าวข้ามผ่าน ใกล้เคียงสุดอาจคือภาพยนตร์สามมิติ Lupin III: The First (2019) กำกับโดย Takashi Yamazaki ทำการเคารพคารวะ พล็อตเรื่องคล้ายๆกัน (แต่หลายคนบอกว่าขาดกลิ่นอายสไตล์อนิเมะสองมิติไปพอสมควร)

จัดเรต pg เกี่ยวกับการลักขโมย พฤติกรรมคอรัปชั่น กักขังหน่วงเหนี่ยว

คำโปรย | The Castle of Cagliostro ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรกของ Hayao Miyazaki เต็มไปด้วยความโรแมนติก ปล้นสิ่งสำคัญที่สุดก็คือหัวใจผู้ชม
คุณภาพ | ติ
ส่วนตัว | ปล้นหัวใจ

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: