Salute (2008) : Matt Norman ♥♥♡
(mini Review) อคติเรื่องชาติพันธุ์ ไม่ได้มีแค่ Nazi ต่อ Jewish เท่านั้น แต่รวมถึงคนผิวขาว ต่อคนผิวสี, 1968 Mexico City Summer Olympics ชายผิวสีสองคนยกมือทำท่า Black Power Salute ขณะร้องเพลงชาติรับเหรียญรางวัล นี่คือการแสดงออกเรียกร้องสิทธิ์ในความเท่าเทียมที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในการแข่งขันโอลิมปิก
ถึงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกจะหลักการไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม หรือชาติพันธุ์ แต่คณะกรรมการโอลิมปิกของแต่ละประเทศ ก็สามารถหาข้ออ้างที่จะแบ่งแยก กีดกัด ไม่ให้คนที่ตนไม่ชอบ มีปัญหา หรือขัดผลประโยชน์เข้าร่วมการแข่งขันได้เสมอ, กระนั้นก็ไม่เคยมีมาก่อน กับการแสดงออกเรียกร้องสิทธิ์ทางการเมือง ผ่านเกมการแข่งขัน เพราะนักกีฬามักถูกจำกัดสิทธิ์ ครอบงำโดยโค้ช หรือคณะกรรมการ ที่ชอบขู่ว่าจะตัดสิทธิ์การเข้าร่วม ถ้าพวกเขามีการแสดงออกทางการเมืองที่ชัดเจน, Black Power Salute ถือเป็นการแสดงออกครั้งแรกและครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์โอลิมปิก ที่ไม่มีใครรู้ล่วงหน้ามาก่อน เกิดจากการพูดคุยกันของผู้ชนะการแข่งขันวิ่ง 200m ทั้ง 3 คน ประกอบด้วย
เหรียญทอง Tommie Smith (USA) ทำลายสถิติโลก ด้วยเวลา 19.83
เหรียญเงิน Peter Norman (AUS)
เหรียญทองแดง John Carlos (USA)
Smith ต้องการทำอะไรสักอย่างเพื่อเรียกร้องสิทธิ์ความเท่าเทียมของคนผิวสี, Norman จึงเสนอวิธีการและมอบถุงมือสีดำ ให้ Smith และ Carlos ใส่คนละข้าง และทั้ง 3 สวมเข็มกลัด Olympic Project for Human Rights (OPHR) ที่หน้าอก, ขณะขึ้นรับเหรียญรางวัล Smith ถอดรองเท้าวางไว้ข้างๆ ตอนเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสากำหมัดขวาชูขึ้นเหนือศีรษะ ก้มหน้า ส่วน Carlos กำหมัดซ้ายชูขึ้นเหนือศีรษะ ก้มหน้า, ความตั้งใจของพวกเขา นี่คือท่า human rights salute (ท่าเรียกร้องสิทธิ์ความเท่าเทียมกันของมนุษย์) แต่เพราะพวกเขาเป็นคนผิวสี จึงถูกมองว่าเป็น black man salute (ท่าเรียกร้องสิทธิ์ความเท่าเทียมของคนผิวสี)
ในอเมริกา ความขัดแย้งอันรุนแรงระหว่างคนผิวขาวและคนผิวสีมีมายาวนานมากๆ แต่ยิ่งทวีความรุนแรงที่สุดในยุค 60s ถึงขนาดคนขาวมีการประท้วง เรียกร้องให้ตัดสิทธิ์ คนผิวสี ไม่ให้เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิก, นี่ถือเป็นสาเหตุสำคัญให้ Smith และ Carlos ต้องการแสดงออกอะไรบางอย่าง และผู้ชนะเหรียญทองโอลิมปิกเท่านั้นถึงจะมีพลังพอส่งเสียงให้คนทั้งโลกได้ยินได้, สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์นี้ กลายเป็นข่าวใหญ่ในหน้าหนังสือพิมพ์ ได้รับการพูดถึงไปอีกเป็นทศวรรษ ชุมชนคนผิวสีจะเทิดทูนในความกล้าหาญ ส่วนคนผิวขาวก็จะขยาดแขยงรับไม่ได้, คณะกรรมการจัดการแข่งโอลิมปิกได้เรียกประชุมหารือ เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ได้ข้อสรุปคือ กดดันให้ส่ง Smith และ Carlos ส่งตัวกลับประเทศ และแบนจากโอลิมปิกตลอดชีพ ทีแรกทางอเมริกาไม่ยินยอม แต่พอถูกขู่ว่าจะตัดสิทธิ์ทั้งทีมถ้าไม่ทำตาม พระเอกผู้โชคร้ายทั้งสองจึงถูกส่งกลับประเทศโดยทันที, สำหรับ Norman เมื่อรู้ข่าวเข้า เขาจึงต้องการทำอะไรสักอย่าง จึงออกมาประกาศตนว่าเป็นผู้สนับสนุนเรื่องสิทธิ์อันเท่าเทียมกันของมนุษย์ การกระทำเช่นนี้ทำให้เขาถูกเพิกเฉยต่อคณะกรรมการโอลิมปิกของ Australia ซึ่งอีก 4 ปีถัดมา 1972 Munich Summer Olympics ก็ไม่ได้ถูกเรียกตัวให้ติดทีมชาติ ทั้งๆที่เขาคือนักวิ่งเร็วที่สุดในโลกคนขณะนั้น
นี่เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ถือว่า เลวร้ายขั้นรุนแรงมากๆสำหรับมนุษยชาติ ต่อความดูถูกดูแคลนเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ของมนุษย์ เพราะคนเราเลือกเกิดไม่ได้ จะเป็นคนผิวขาว ผิวดำ หรือผิวสีอะไร ล้วนมีความเท่าเทียมกัน เกิดแล้วตายเหมือนกัน แต่ความเกลียดชังมันเหมือนว่ามันแฝงอยู่ทั่วมุมโลก, คนที่แสดงความรังเกียจเดียจฉันท์ผู้อื่นออกมาให้เห็น นั่นเพราะ พวกเขาไม่เห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ การดูถูกคนอื่นก็เท่ากับดูถูกตนเอง ปัจจุบันถือว่าพวกเราโชคดีมากๆ ที่มนุษย์ชาติสามารถก้าวผ่านยุคแห่งความอคติ มองการเหยียดหยามผู้อื่นเป็นสิ่งที่เลวร้าย กระนั้นมันก็ยังไม่หมดไป พวกคนที่ชอบดูถูกดูแคลนผู้อื่นยังคงมีอยู่ แต่สังคมเติบโตไปในทิศทางที่ดีขึ้น กระนั้นขอให้อย่าลืมประวัติศาสตร์ เพราะอะไรที่เคยเกิดขึ้นแล้ว มักเกิดขึ้นซ้ำอีกเสมอ
หนังกำกับโดย Matt Norman ที่เป็นหลานของ Peter Norman เพลงประกอบโดย David Hirschfelder (Australia-2008), หนังได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการโอลิมปิกของ Australia ดำเนินเรื่องโดยเล่าผ่านมุมมองของ Peter Norman ซึ่งถือว่าเป็นคนที่ช่วยสนับสนุนให้เกิด Black Power Salute ขึ้น แต่คนส่วนใหญ่มักจะมองไม่เห็นความสำคัญของเขา เพราะเป็นคนผิวขาว (รูปปั้น Black Power Salute จะไม่มีหุ่นของ Norman) จริงๆนี่ก็ถือเป็นการเหยียดหยามลักษณะหนึ่ง แต่เอาเถอะครับ เรื่องราวนี้คนผิวสีเป็นพระเอก จะให้คนผิวขาวขึ้นมาโดดเด่นได้ยังไง, หนังมีการสัมภาษณ์ Norman, Smith และ Carlos ทั้งสาม reunion พบกัน ระลึกความหลัง แล้วเล่าถึงเหตุการณ์ ที่มาที่ไป และผลกระทบหลังจากนั้น, ตัดสลับกับฟุตเทจการฝึกซ้อม แข่งขัน และภาพจาก Archive สุนทรพจน์ของ Malcolm X, การปะทะกันระหว่างคนผิวขาวกับคนผิวสี ฯ หลังจากหนังถ่ายเสร็จแล้ว Peter Norman ได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2006 หนังจึงได้ถ่ายทำเพิ่ม บันทึกภาพขณะที่ Smith และ Carlos กล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้าหลุมฝังศพของ Norman ถือเป็นตอนจบของหนังพอดี ที่บอกเป็นนัยว่า สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะคนผิวสีอะไร ก็หนีความตายไม่พ้น
หนังฉายรอบปฐมทัศน์ในเทศกาล Sydney Film Festival เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2008 และฉายวงกว้างใน Australia 17 กรกฎาคม 2008
นี่เป็นหนังที่หาดูยากมาก Torrent หรือเว็บฟรีหาโหลดดูไม่ได้เลย ถ้าคุณสนใจ มีวิธีเดียวที่ผมหาได้ คือจ่ายเงินเช่าหนังมาดู Online (จริงๆใน Netflix ก็มีหนังเรื่องนี้นะครับ แต่ติดลิขสิทธิ์ฉายใน Australia เท่านั้น)
LINK: http://salute.vhx.tv/
แนะนำอย่างยิ่ง กับคนที่ต้องการรู้จัก เข้าใจเหตุการณ์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์โอลิมปิก Black Power Salute ถ้าคุณเป็นคนผิวสี นี่คือหนังที่ต้องดูเลย, นักสังคมสงเคราะห์ ที่กำลังเรียกร้องสิทธิเสรีภาพบางอย่าง, และคนชอบดูหนังสารคดี หนังถือว่าไม่ได้มีคุณภาพทางศิลปะมากนัก เป็นประเภทให้ความรู้ที่มีประโยชน์มากทีเดียว
จัดเรต 13+ กับภาพความรุนแรงของการประท้วง
Leave a Reply