
Se7en (1995)
: David Fincher ♥♥♥♥
ครั้งแรกย่อมรู้สึกตกตะลึง ครั้งสองสัมผัสถึงความลุ่มลึกซึ้ง ครั้งสามบังเกิดความตราตรึง … รับชมถึงครั้งที่เจ็ดเมื่อไหร่คงคบไม่ได้อีกต่อไป! คำเทศนาสั่งสอนวันสิ้นโลกาวินาศของผู้กำกับ David Fincher เปียกปอน หนาวเหน็บ สั่นสะท้านทรวงใน กลายเป็นผลงานอมตะเหนือกาลเวลาไปแล้วละ
โดยปกติแล้วหนังประเภทหักมุมตอนจบ (plot twist) มักจะขายผู้ชมได้แค่เพียงครั้งแรกครั้งเดียว ‘first impression’ แล้วความกระตือรือล้นก็จักค่อยๆเลือนจางหาย (ตามอย่างพวกหนังจักรวาลซุปเปอร์ฮีโร่) แต่นั่นไม่ใช่สำหรับ Se7en (1995) ยิ่งหลายวันเดือนปีพานผ่าน ยิ่งทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการยกย่องกล่าวขาน กลายเป็นตำนาน คุณภาพเลิศล้ำเหนือกาลเวลา
ผมเองน่าจะยังรับชม Se7en (1995) ไม่ครบ 7 จบ (ไม่ใช่สามก๊ก!) แต่ต้องยอมรับว่าเป็นหนังที่ยืนยงคงกระพันธ์ มีอะไรให้สังเกต ขบครุ่นคิดมากมาย ต่อให้รับรู้ตอนจบ (การหักมุมของหนังเป็นอะไรที่ไม่รู้ลืมจริงๆ) ก็ยังสามารถเพลิดเพลินองค์ประกอบศิลป์ ลีลาภาษาภาพยนตร์ และการสร้างบรรยากาศวันสิ้นโลกได้อย่างหมดสิ้นหวัง
one of the darkest and most merciless films ever made in the Hollywood mainstream.
นักวิจารณ์ Roger Ebert มอบคะแนนเต็ม 4/4 พร้อมยกให้เป็น Great Movie
มาครุ่นคิดดูเหตุผลที่ผู้กำกับ Fincher สรรค์สร้างเรื่องราวเกี่ยวกับวันสิ้นโลก บาปเจ็ดประการของมนุษย์ (Seven Deadly Sins) นั่นเพราะหายนะจาก ALIEN³ (1992) คงทำให้เขารู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง จนแทบไม่อยากยุ่งเกี่ยววงการภาพยนตร์อีกต่อไป! แต่เพราะความไว้เนื้อเชื่อใจจากโปรดิวเซอร์ เลยทำให้ยังได้รับโอกาสอีกครั้ง จึงพยายามเค้นคั้นเอาทุกสรรพสิ่งอย่างในหัวสมองตนเอง กลายมาเป็นคนคลั่งระเบียบ ไม่สามารถมองข้ามรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ‘perfectionist’
หลายคนที่รับรู้จัก ‘สไตล์ Fincher’ มักครุ่นคิดว่าอวตารของผู้กำกับ Fincher คือตัวละครสุดเนี๊ยบของ Morgan Freeman และอาจผสมความยังเป็นวัยสะรุ่นแบบ Brad Pitt แต่จากคำบอกกล่าวของตากล้อง Darius Khondji ชายคนนี้แม้งโคตรหมกมุ่น คลุ้มบ้าคลั่งพอๆกับฆาตกรโรคจิต!
David Andrew Leo Fincher (เกิดปี 1962) ผู้กำกับสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Denver, Colorado บิดาทำงานนักข่าวนิตยสาร Life, มารดาเป็นนางพยาบาลดูแลผู้ป่วยติดยา, เมื่อตอนอายุ 2 ขวบ ครอบครัวอพยพย้ายสู่ San Anselmo, California สนิทสนมเพื่อนข้างบ้าน George Lucas เลยเกิดความชื่นชอบหลงใหลภาพยนตร์มาตั้งแต่เด็ก
I was eight years old and I saw a documentary on the making of Butch Cassidy and the Sundance Kid. It had never occurred to me that movies didn’t take place in real time. I knew that they were fake, I knew that the people were acting, but it had never occurred to me that it could take, good God, four months to make a movie!
David Fincher
ตั้งแต่นั้นมาก็เริ่มให้ความสนใจเกี่ยวกับโปรดักชั่นงานสร้าง สมัยเรียนเคยกำกับละครเวที พอโตขึ้นได้เข้าทำงานในสตูดิโอของ John Korty เริ่มจากอยู่แผนก Visual Effect เคยทำอนิเมชั่น Twice Upon a Time (1983), ต่อมาเข้าร่วมบริษัท Industrial Light & Magic (ILM) ในฐานะผู้ช่วยตากล้อง ช่างภาพถ่ายทำ Matte Photography อาทิ Return of the Jedi (1983), Indiana Jones and the Temple of Doom (1984) ฯลฯ
พอออกจาก ILM ได้รับว่าจ้างทำโฆษณาให้ American Cancer Society จึงเริ่มเข้าตาโปรดิวเซอร์ Hollywood, ต่อด้วยสรรค์สร้างสารคดี The Beat of the Live Drem (1985), แล้วร่วมก่อตั้ง Propaganda Films สำหรับสรรค์สร้างหนังสั้น-โฆษณา-Music Video สะสมประสบการณ์ก่อนกำกับภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก ALIEN³ (1992)
ความที่ยังเป็นหน้าใหม่ในวงการ เมื่อได้รับว่าจ้างจากสตูดิโอให้กำกับภาพยนตร์แฟนไชร์ จึงถือเป็นความเพ้อฝันหวานของใครต่อใคร แต่นั่นให้ผู้กำกับ Fincher ขาดอำนาจในการต่อรอง ประสบการณ์ยังอ่อนด้อย เลยไม่สามารถนำเสนอวิสัยทัศน์แท้จริงของตนเอง ผลลัพท์แม้ไม่ถึงขั้นขาดทุนย่อยยับ กลับทำให้เขาสูญเสียความเชื่อมั่นใจในตนเองไปสักพักใหญ่ๆ
There’s no one who hated ALIEN³ (1992) more than I did. The movie I set out to do, the one in my head, was so different from what got made. I got hired for a personal vision and was railroaded into something else. I had never been devalued or lied to or treated so badly. I wasn’t used to adults lying to me. I didn’t read a script for a year and a half after that, I thought I’d rather die of colon cancer than do another movie.
David Fincher กล่าวถึงตราบาปต่อ ALIEN³ (1992)
ผู้กำกับ Fincher ถึงขนาดปฏิเสธแตะต้องบทภาพยนตร์ใดๆที่ยื่นข้อเสนอเข้ามา หวนกลับไปกำกับ Music Video บทเพลง Love Is Strong (1994) ของ The Rolling Stones คว้ารางวัล Grammy Award: Best Music Video จนเริ่มเกิดความเชื่อมั่นขึ้นระดับหนึ่ง จึงยินยอมอ่านบทหนังของ Andrew Kevin Walker ที่สตูดิโอส่งมาแนะนำ
Andrew Kevin Walker (เกิดปี 1964) นักเขียนบทภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Altoona, Pennsylvania สำเร็จการศึกษาสาขาภาพยนตร์จาก Penn State University แล้วได้ทำงาน Tower Records อยู่ยัง New Yorks City นำเอาประสบการณ์ที่ไม่น่าอภิรมณ์นั้นพัฒนา Se7en แล้วเสร็จสิ้นเมื่อปี 1991 จึงออกเดินทางสู่ Hollywood ขายบทหนังให้กับ New Line Cinema
I had moved from a very suburban upbringing in Pennsylvania, so New York City, for me, was a real culture shock. I was in New York from ’86 to ’91, so it was the height of a lot of New York City-specific stuff, like the crack cocaine epidemic on the rise. It was very different from the way it is now. For example, you would never go to Times Square without being very careful.
It was also, even more than now, a time where a concise one- or two-sentence description of something was a really helpful path for explaining movies, especially because at the time there was a gigantic spec market. So the idea — “seven deadly sin murders” — was a reaction to living in New York and putting myself in a John Doe head space where you could walk down the street and see every “deadly sin” on every street corner. What if someone was so highly, over-sensitively attuned to these injustices? That’s where the idea of seven deadly sins came from. It was my way of trying to make my last week at Tower Records my last week at Tower Records. I worked at Tower for three years and every week I thought, “I’m going to write my way out of here this week.” But it obviously took some time.
Andrew Kevin Walker
แรกเริ่มนั้น New Line Cinema ไม่ค่อยพึงพอใจไคลน์แม็กซ์ของบทหนังสักเท่าไหร่ ต้องการสูตรสำเร็จที่มีการไล่ล่า เข่นฆ่า เต็มไปด้วยฉากแอ็คชั่นตื่นตระการตา มอบหมายให้ผกก. Jeremiah Chechik ปรับปรุงแก้ไขบทดังกล่าว และยังชักชวนให้กำกับด้วยเลย แต่เจ้าตัวเหมือนจะบอกปัดปฏิเสธ (คงตระหนักว่าตนเองประสบการณ์ทำงานยังไม่มากพอ เลยขอถอนตัวออกไป)
เกร็ด: ก่อนหน้าบทหนังจะมาลงเอย David Fincher เคยผ่านมือผู้กำกับ Guillermo del Toro แต่ถูกบอกปัดปฏิเสธเพราะไม่ต้องการสร้างหนังที่นำเสนอความหมดสิ้นหวังของโลก (ถ้าใครสังเกตผลงานของ del Toro แม้จะมีบรรยากาศมืดหม่นสักแค่ไหน แต่มักมีแสงสว่างแห่งความหวังนำทางอยู่เสมอๆ)
เมื่อตอนที่ New Line Cinema ส่งมอบบทหนังให้ผกก. Fincher ปรากฎว่าดันส่งผิด! มอบต้นฉบับของ Andrew Kevin Walker (ไม่ใช่ฉบับแก้ไขโดย Chechik) แต่กลับสร้างความชื่นชอบประทับใจอย่างมากๆ ปฏิเสธบทหนังฉบับแก้ไขโดยพลัน แล้วเริ่มทำการต่อรองสตูดิโอไม่ให้เข้ามายุ่งย่ามวุ่นวายด้านความคิดสร้างสรรค์อย่างเด็ดขาด
I found gripping about the script is the connect-the-dots aspect. It’s a connect-the-dots movie that delivers about inhumanity. It’s psychologically violent. It implies so much, not about why you did but how you did it. It has this element of evil that’s realistic.
David Fincher กล่าวถึงบทหนังของ Andrew Kevin Walker
ผู้หมวด William Somerset (รับบทโดย Morgan Freeman) เหลือเวลาอีกเพียง 7 วัน ก่อนปลดเกษียณจากการเป็นตำรวจ ได้รับมอบหมายจับคู่นายตำรวจหนุ่มหน้าใส David Mills (รับบทโดย Brad Pitt) ในการทำคดีความสุดท้ายเกี่ยวกับชายอ้วนรับประอาหารจนท้องแตกตาย แต่มันจะเป็นเช่นนั้นได้อย่างไร? หลักฐานปรากฎอย่างเด่นชัด ว่านี่คือเหตุการณ์ฆาตกรรม
วันถัดมาพบเห็นอีกการเสียชีวิตของทนายความ พร้อมปรากฎข้อความ “Greed” นั่นเองทำให้ผู้หมวด Somerset เริ่มปะติดปะต่อความสัมพันธ์ ก่อนสามารถค้นพบอีกข้อความ “Gluttony” ของคดีชายอ้วนก่อนหน้านั้น ได้ข้อสรุปถึงฆาตกรต่อเนื่อง (Serial Killer) ใช้หลักคำสอนของศาสนาคริสต์ บาปเจ็ดประการ (Seven Deadly Sins) เหมือนต้องการเทศนาสั่งสอนอะไรบางอย่าง และแสดงว่ายังต้องเหลือผู้ถูกฆาตกรรมอีกอย่างน้อย 5 ศพ
Morgan Freeman (เกิดปี 1937) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Memphis, Tennessee จากการตรวจ DNA ค้นพบว่าบรรพบุรุษมีเชื้อสาย Songhai และ Tuareg น่าจะมาจากประเทศ Niger, ตั้งแต่อายุ 9 ขวบ ก็มีโอกาสแสดงละครเวทีของโรงเรียน จากนั้นได้ทุนการศึกษา(ด้านการแสดง)ยัง Jackson State University แต่กลับเลือกสมัครทหารอาหาร (U.S. Air Force) ทำงานเป็นช่างซ่อมเรดาร์ หลังปลดประจำการเดินทางสู่ Hollywood ร่ำเรียนการแสดงยัง Pasadena Playhouse เริ่มจากเป็นนักเต้น, ละครเวที Off-Broadway, มีชื่อเสียงจาก Broadway เรื่อง Hello, Dolly! ฉบับคนผิวสี, สำหรับภาพยนตร์แจ้งเกิดจาก Street Smart (1987), Driving Miss Daisy (1989), ผลงานเด่นๆ อาทิ Glory (1989), Unforgiven (1992), The Shawshank Redemption (1994), Se7en (1995), Million Dollar Baby (2004) ** คว้ารางวัล Oscar: Best Supporting Actor ฯลฯ
รับบท Detective Lieutenant William Somerset นักสืบมากประสบการณ์ เป็นคนสงบเสงี่ยม เจ้าระเบียบ เจ้ากี้เจ้าการ มีความเฉลียวฉลาดหลักแหลม สติปัญญาน่าจะพอๆกับ John Doe จึงสามารถจับได้ไล่ทัน เข้าใจถึงแผนการ แต่ก็มิอาจคาดเดาตอนจบ ซึ่งก็คือจุดจบในอาชีพการงานของตนเองเช่นเดียวกัน
แซว: Somerset น่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า Summerset (จริงๆได้แรงบันดาลใจจากนักเขียนคนโปรด W. Somerset Maugham) หมายถึงช่วงฤดูร้อนที่กำลังสิ้นสุด ซึ่งสามารถสื่อถึงการเกษียณอายุราชการตำรวจของตัวละครในอีก 7 วัน
ผู้เขียนบท Andrew Kevin Walker มีภาพตัวละครนี้คือนักแสดง William Hurt (เลยตั้งชื่อตัวละคร William), ในช่วงเตรียมงานสร้างมีการติดต่อ Al Pacino, Robert Duvall, Gene Hackman ล้วนได้รับการตอบปฏิเสธ มาจนถึง Morgan Freeman แสดงความกระตือรือล้น สนใจรับบทบาทนี้อย่างมากๆ
ผมครุ่นคิดว่านี่อาจเป็นหนึ่งในบทบาทการแสดงยอดเยี่ยมที่สุดของ Freeman เพราะได้กลายเป็น ‘ภาพจำ’ บุคคลผู้มีความสงบเสงี่ยม มาดเนี๊ยบ เชื่อมั่นในความถูกต้อง โดยเฉพาะน้ำเสียงอันหนักแน่น ลุ่มลึก แสดงถึงความทรงภูมิ เหมือนผู้รอบรู้ทุกสรรพสิ่งอย่าง ได้ยินแล้วรู้สึกปลอดภัย ผ่อนคลาย นั่นคือสาเหตุผลให้ได้รับการโหวตเสียงที่เหมาะสำหรับปัญญาประดิษฐ์ (ของ Mark Zuckerberg)
The film belongs to Freeman and his quiet, carefully detailed portrayal of the jaded older man who learns not to give up the fight.
Sheila Johnston นักวิจารณ์จาก The Independent
ทีแรกผมครุ่นคิดว่าตัวละครของ Freeman สามารถเทียบแทนโดยตรงกับผกก. Fincher โดยเฉพาะความเนี๊ยบ เจ้าระเบียบ ใส่ใจทุกรายละเอียด หมกมุ่นระดับสมบูรณ์แบบ ‘perfectionist’ เหลือเวลาทำงานอีกเพียง 7 วัน ก็คือการสรรค์สร้างภาพยนตร์นี้อาจเป็นโอกาสครั้งสุดท้ายในชีวิต … แต่แท้จริงแล้ว Somerset เป็นแค่เพียงการแบ่งภาค/อวตารหนึ่งของผกก. Fincher เท่านั้นนะครับ
William Bradley ‘Brad’ Pitt (เกิดปี 1963) นักแสดง/โปรดิวเซอร์ สัญชาติอเมริกา เกิดที่ Shawnee, Oklahoma แล้วมาเติบโตยัง Springfield, Missouri บิดาเป็นเจ้าของกิจการรถบรรทุก ฐานะมั่งมี วัยเด็กชื่นชอบเล่นกีฬา ดนตรี สอบเข้า University of Missouri ตั้งใจจะเป็นนักข่าว หรือทำงานเกี่ยวกับโฆษณา แต่ก่อนจะเรียนจบเพียงสองสัปดาห์ ตัดสินใจเดินทางมา Los Angeles ร่ำเรียนการแสดงจาก Roy London จากนั้นเป็นตัวประกอบ รับเชิญรายการซิทคอม บทนำครั้งแรก The Dark Side of the Sun (1988), เริ่มมีชื่อเสียงจาก Thelma & Louise (1991), A River Runs Through It (1992), นักวิจารณ์ชื่นชมว่าคือ Robert Redford คนต่อไป, ผลงานเด่นๆ อาทิ Interview with the Vampire (1994), Se7en (1995), 12 Monkeys (1995), Fight Club (1999), Ocean’s Eleven (2001), Troy (2004), Mr. & Mrs. Smith (2005), The Curious Case of Benjamin Button (2008), Inglorious Basterds (2009), The Tree of Life (2011), Moneyball (2011), Once Upon a Time in Hollywood (2019) ** คว้ารางวัล Oscar: Best Supporting Actor
รับบท David Mills นักสืบหนุ่มเมื่อวานซืน แม้ยังอ่อนด้อยประสบการณ์ทำงาน ใช้อารมณ์ในการเผชิญหน้าแก้ปัญหา แต่เต็มไปด้วยความมุ่งมั่น กระตือลือร้น ต้องการพิสูจน์ศักยภาพตนเอง กระทำในสิ่งตอบสนองอุดมการณ์ (Idealist) และด้วยความรักมากต่อภรรยา Tracy กลายเป็นจุดอ่อนที่ทำให้บาปแห่งความโกรธแค้น (Wrath) เข้าครอบงำ
แซว: Mills แปลว่าโรงสี, เครื่องบดทำแป้ง ฟังดูอาจไม่เกี่ยวข้องอะไรกับหนัง แต่สภาพจิตใจของตัวละครจะถูกบดขยี้ ทำให้ป่นปี้ (รวมถึงภรรยา Tracy Mills ด้วยนะครับ) จนไม่หลงเหลือสภาพชิ้นดีในช่วงไคลน์แม็กซ์ของหนัง!
นักแสดงที่ได้รับการติดต่อ อาทิ Denzel Washington, Sylvester Stallone, Kevin Costner, Nicolas Cage ฯ แต่ส้มหล่นใส่ Brad Pitt กำลังต้องการล้างภาพจำจาก Legends of the Fall (1994) และ Interview with the Vampire (1994) พลิกบทบาทจากหนุ่มหล่อ ‘Sex Symbol’ มาเน้นขายการแสดงอย่างจริงจัง
บทบาทของ Pitt มีลักษณะขั้วตรงกันข้ามกับ Freeman ผิวขาว-ดำ เสื้อผ้ายับๆ นิสัยหัวขบถ ดื้อรั้น เอาแต่ใจ เชื่อมั่นในตนเอง ชอบพูดจาโผงผาง ใช้อารมณ์ในการแก้ไขปัญหา แม้พอมีสติปัญญาแต่ยังขาดประสบการณ์ทำงาน … ในแง่มุมนี้นำเสนอออกมาได้ยอดเยี่ยม แต่ภาพรวมผมรู้สึกว่าการแสดงของ Pitt บ่อยครั้งดู Over-Acting สะดีดสะดิ้ง ฝืนธรรมชาติเกินไป (แต่นั่นคือลายเซ็นต์การแสดงของ Pitt เลยก็ว่าได้)
แม้ตัวละครนี้อาจจะดูไม่มีความเหมือนผกก. Fincher แต่ความยังหนุ่มแน่น (Pitt อายุ 31, Fincher อายุ 32) อารมณ์ร้อนแรง นิสัยหัวขบถ ดื้อรั้น เอาแต่ใจ เชื่อมั่นในตนเองสูงมากๆ นี่น่าจะชัดเจนถึงความละม้ายคล้ายในลักษณะกายภาพ วัยยังสะรุ่นเหมือนกัน ด้วยเหตุนี้ทั้งสองจึงเข้าขากันดี ร่วมงานกันอีกหลายครั้ง
เกร็ด: Brad Pitt เคยให้สัมภาษณ์บอกว่า Se7en (1996) คือภาพยนตร์ ‘most perfect films’ ที่ตนเองร่วมทำการแสดง
Gwyneth Kate Paltrow (เกิดปี 1972) นักแสดงหญิงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Los Angeles บุตรสาวคนโตของผู้กำกับ Bruce Paltrow และนักแสดง Blythe Danner มีพ่อทูนหัวคือ Steven Spielberg, ทีแรกตั้งใจจะเป็นศิลปิน ร่ำเรียนวิจิตรศิลป์ University of California แต่ไม่ทันไรก็ตัดสินใจลาออก แล้วเข้าสู่วงการบันเทิงจากเป็นนักแสดงโทรทัศน์ที่บิดากำกับ High (1989) แล้วติดตามแม่สู่ละครเวที, ภาพยนตร์เรื่องแรก Shout (1991), Hook (1991), รับบทนำครั้งแรก Flesh and Bone (1993), เริ่มมีชื่อเสียงจาก Se7en (1995) พร้อมเป็นแฟน Brad Pitt อยู่ระยะหนึ่ง, Shakespeare in Love (1998)**คว้ารางวัล Oscar: Best Actress อย่างค้านสายตา, ผลงานเด่นๆ อาทิ Emma (1996), Sliding Doors (1998), A Perfect Murder (1998), The Talented Mr. Ripley (1999), The Royal Tenenbaums (2001), Proof (2005), แฟนไชร์ Iron Man (2008-)
รับบท Tracy Mills ภรรยาของนักสืบ David เห็นว่าตกหลุมรักกันตั้งสมัยยังเรียนหนังสือ พอแต่งงานก็แทบไม่เคยอยู่เหินห่าง แต่ถึงอย่างนั้นเธอกลับขอคำปรึกษาจากผู้หมวด Somerset ไม่แน่ใจตนเองว่ายังอยากเก็บบุตรในครรภ์ไว้ไหม นั่นแสดงถึงความบาดหมางร้าวลึกทรวงใน น่าจะเพราะทั้งสองไม่เคยเปิดใจรับฟัง แลกเปลี่ยนความต้องการของกันและกัน
มีนักแสดงได้รับการติดต่อไปอย่าง Christina Applegate, Robin Wright, ในตอนแรก Gwyneth Paltrow ก็บอกปัดปฏิเสธ แต่ผู้กำกับ Fincher ประทับใจการแสดงของเธอมากๆจาก Flesh and Bone (1993) จึงไหว้วานแฟนหนุ่ม Brad Pitt ให้ไปเกลี้ยกล่อมเกลาจนยินยอมตอบตกลง
[Gwyneth Paltrow’s character]’s the only sunshine we have in the film.
Brad Pitt
ผมรู้สึกว่านี่เป็นบทบาทที่น่าสนใจของ Paltrow แม้เหมือนแทบจะไม่แสดงอะไรออกมา แต่ภาษากายล้วนสื่อสารปัญหาความสัมพันธ์ โดยเฉพาะระหว่างขอคำปรึกษาผู้หมวด Somerset ให้ความรู้สึกเหมือนคนมีสติปัญญาระดับเดียวกันพูดคุยกัน … นี่แปลว่าภรรยาอาจเฉลียวฉลาดกว่าสามี แต่เพราะรักจึงยินยอมศิโรราบทุกสิ่งอย่างแก่เขา
ความตายของตัวละครนี้ถือเป็นตัวแทนของ ‘Envy’ แต่ไม่ใช่ว่าเธออิจฉาใครนะครับ John Doe ต่างหากละที่ริษยานักสืบ Mills จึงกระทำเข่นฆาตกรรมภรรยาพร้อมบุตรในครรภ์ เพื่อสร้างโทสะ ความเกรี้ยวกราด ‘Wrath’ ให้บังเกิดขึ้นภายในจิตใจ จนกลายเป็นฆาตกรคนสุดท้าย
Kevin Spacey Fowler (เกิดปี 1959) นักแสดง สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ South Orange, New Jersey ก่อนอพยพมาอยู่ยัง Southern California, บิดาเป็นจอมเผด็จการ ชอบใช้ความรุนแรง ‘white supremacist and neo-Nazi’ จนสร้างความเก็บกดให้บุตรชาย (นั่นคือเหตุผลที่ Spacey อ้างว่าทำให้ตนเองกลายเป็นเกย์) ค้นพบความชื่นชอบด้านการแสดงตั้งแต่สมัยเรียน ครุ่นคิดตั้งใจจะเป็นตลก (Comedian) จนกระทั่งสอบเข้า Juilliard Scholl กลายเป็นลูกศิษย์ของ Marian Seldes จากนั้นมีผลงานละครเวที Broadway โด่งดังจาก Lost in Yonkers (1991) คว้ารางวัล Tony Award: Best Actor, สำหรับภาพยนตร์เริ่มจากบทสมทบ Heartburn (1986), พลุแตกจาก Se7en (1995) และ The Usual Suspects (1995) ** คว้ารางวัล Oscar: Best Supporting Actor, ติดตามด้วย American Beauty (1999) ** คว้ารางวัล Oscar: Best Actor, ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ L.A. Confidential (1998), Superman Returns (2006), Baby Driver (2017), ซีรีย์ House of Cards (2013-18) ฯลฯ
รับบท Jonathan/John Doe ชายนิรนามครุ่นคิดวางแผนฆาตกรรมต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายบุคคลทั้งเจ็ดเป็นตัวแทนบาปเจ็ดประการ (Seven Deathly Sins) เพราะต้องการแสดงให้เห็นว่าโลกใบนี้กำลังมุ่งสู่หายนะ วันสิ้นโลกาวินาศกำลังใกล้เข้ามาถึง และใช้ตนเองเป็นเหยื่อรายสุดท้าย เพื่อบอกว่าอนาคตมนุษย์จะพ่ายแพ้ให้กับอารมณ์ของตนเอง
เกร็ด: John Doe (ชาย)หรือ Jane Doe (หญิง) หรือ Baby Doe (เด็ก) ในสหรัฐอเมริกา เป็นชื่อที่ใช้เรียกคู่ความ ศพนิรนาม หรือบุคคลจำต้องปกปิดชื่อเสียงเรียงนาม (ส่วนมากด้วยเหตุผลตามกฎหมาย) เมืองไทยก็มีเช่นกัน สมชาย หรือสมหญิง (ไม่ก็ สมศรี)
นักแสดงที่ได้รับการติดต่อ อาทิ Ned Beatty, Val Kilmer, Michael Stipe, R. Lee Ermey แต่ความตั้งใจตั้งแต่แรกของผู้กำกับ Fincher นั้นคือ Kevin Spacey ติดที่ค่าตัวค่อนข้างสูง เห็นว่าเป็น Brad Pitt ไปช่วยต่อรองโปรดิวเซอร์จนยินยอมจ่ายเพิ่มส่วนต่าง
แซว: Spacey สอบถามผู้กำกับ Fincher ว่าตัวละครนี้ควรโกนศีรษะหรือไม่ แล้วบอกว่า “If you do it, I’ll do it”. ผลลัพท์ก็คือมีสองเหน่งในกองถ่าย (ภาพจากเบื้องหลัง Fincher จะสวมหมวกอยู่แทบตลอดเวลา)
มาแบบนิ่งๆ เงียบๆ แอบโผล่ออกมาครั้งสองครั้ง ก่อนจู่ๆยินยอมมอบตัว เปิดเผยใบหน้า รับสารภาพผิดแก่ตำรวจ เมื่อยังเหลือเวลาอีกกว่าครึ่งชั่วโมง! ต้องยอมรับเลยว่าเป็นการปรากฎตัวที่สร้างความประหลาดใจ เต็มไปด้วยความลึกลับ น่าพิศวงสงสัย แถมบุคลิกสงบเงียบงัน พูดคุยด้วยเลศนัย ตราตรึงระดับเดียวกับ Hannibal Lecter แต่คำพร่ำเพรื่อของตัวละคร แฝงนัยยะเกี่ยวกับความเชื่อมั่นของผกก. Fincher ว่าฉันจักกลายเป็นตำนานชั่วนิรันดร์!
เพราะค่าตัวสูงสุดในนักแสดงชุดนี้ โปรดิวเซอร์จึงอยากใช้ชื่อ Spacey เป็นจุดขาย แต่เขาเป็นคนออกปากอาสาเองว่าให้ลบชื่นออกจากใบปิด รวมถึง Opening Credit อีกทั้งไม่ขอเข้าร่วมการเดินสายโปรโมทหนัง เพื่อสร้างความลึกลับ คาดไม่ถึง … นั่นเป็นผลลัพท์อันน่าทึ่ง สร้างความตกตะลึง ผู้ชมสมัยนั้นไม่รู้มาก่อนว่ามีโคตรนักแสดงซุกซ่อนเร้นอยู่ แถมปีเดียวกันนั้น Spacey ยังสมทบ The Usual Suspects (1995) ด้วยการคว้ารางวัล Oscar: Best Supporting Actor เลยกลายเป็นตำนานลือเล่าขานโดยพลัน
ตั้งแต่ที่มีข่าวเสียๆหายๆในช่วง #MeToo และออกมาเปิดเผยต่อสาธารณะว่าเป็นเกย์ ทำให้หลายคนมอง Spacey ในแง่มุมร้ายๆ บุคคลอันตราย เมื่อหวนกลับมารับชม Se7en (1995) หรือ The Usual Suspects (1995) ทำให้พบเห็นร่อง ธาตุแท้ตัวตน ชีวิตจริงไม่ต่างจากบทบาทการแสดงสักเท่าไหร่ … นั่นอาจสร้างความหลอกหลอน ขนลุกขนพอง สั่นสะพรึงกลัวให้คนที่จริงๆจังๆกับข่าวแย่ๆเหล่านั้นเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ
ถ่ายภาพโดย Darius Khondji (เกิดปี 1955) สัญชาติ Iranians-French, บิดาเป็นชาวอิหร่านแต่งงานกับมารดาชาวฝรั่งเศส เกิดที่ Tehran แล้วมาปักหลักอยู่ Paris ตั้งแต่เด็กมีความสนใจเล่นกล้อง Super-8 พอโตขี้นเดินทางสู่สหรัฐอเมริกา ร่ำเรียนสาขาภาพยนตร์ UCLA ตามด้วย New York University และ International Center of Photography, หลังสำเร็จการศีกษาเดินทางกลับฝรั่งเศส เริ่มจากเป็นผู้ช่วยตากล้อง, ถ่ายหนังทุนต่ำ, โด่งดังกับ Delicatessen (1991), The City of Lost Children (1995), Se7en (1995), Stealing Beauty (1996), Evita (1996), Panic Room (2002), Midnight in Paris (2011), Amour (2012), Okja (2017), Uncut Gems (2019) ฯ
ผู้กำกับ Fincher ไม่เคยรับชมผลงานภาพยนตร์เรื่องใดๆของ Khondji (โดยไม่รู้ตัว ตากล้องคนนี้คือมือฉมังหนังแนววันสิ้นโลกมาแต่ไหนไร) ประทับใจการถ่ายภาพจากสป็อตโฆษณาน้ำหอมฝรั่งเศสยี่ห้อหนึ่ง จึงลองโทรศัพท์ติดต่อ พูดคุยภาษาอังกฤษยังไม่รู้เรื่อง กลับตอบตกลงรับงาน … ก็แน่ละ ใครจะบอกปัดปฏิเสธโอกาสทำงานใน Hollywood
การทำงาน ‘สไตล์ Fincher’ เป็นคนที่มีความละเอียด ละเมียดไม ใส่ใจทุกๆรายละเอียดในระดับคลุ้มบ้าคลั่ง ‘perfectionist’ ถ่ายทำนักแสดงหลายสิบหรืออาจถึงร้อยเทคขึ้นไป จนกว่าจะรู้สึกพึงพอใจ … นั่นทำให้ผมมองความเนี๊ยบของตัวละคร Somerset และ John Doe ถือเป็นอวตารหนึ่งของผกก. Fincher เลยก็ว่าได้
Se7en’s like a tiny genre movie, the kind of movie Friedkin might have made after The Exorcist.
David Fincher
งานภาพของหนังปกคลุมด้วยความมืดมิด โทนสีหม่นๆ ‘Low Key’ ท้องฟ้าอึมครึ้ม ฝนตกพรำ พื้นดินชุ่มฉ่ำ ด้วยการล้างฟีล์มด้วยเทคนิค ‘bleach bypass’ นอกจากนี้รายละเอียดประกอบฉากก็เต็มไปด้วยขยะ มลพิษ สิ่งสกปรกโสโครก เศษซากปรักหักพัง เหล่านี้เพื่อแทนถึงความเสื่อมโทรมทางอารยธรรม ‘moral decay’ ด้วยบรรยากาศ Neo-Noir ราวกับวันสิ้นโลกาวินาศกำลังใกล้เข้ามาถึง
dirty, violent, polluted, often depressing. Visually and stylistically, that’s how we wanted to portray this world.
ผู้กำกับ Fincher ให้คำแนะนำ Khondji ศึกษารูปถ่ายของช่างภาพชื่อดัง อาทิ William Eggleston, Robert Frank, แต่ที่ถือว่าทรงอิทธิพลต่อหนังมากสุดน่าจะคือ Joel-Peter Witkin ศิลปินผู้นำเสนอสุนทรียะแห่งความตาย (เอาศพจริงๆมาถ่ายแบบ) เป้าหมายให้ภาพถ่ายสั่นสะเทือนผู้ชมถึงจิตวิญญาณ




สำหรับ Title Sequence ความตั้งใจแรกของผู้กำกับ Fincher ต้องการถ่ายทำเรื่องราวของ Somerset ขณะเดินทางไปซื้อบ้านชนบทห่างไกลผู้คน (สำหรับเป็นที่พักหลังเกษียณ) แต่ยังไม่ทันจะเริ่มเตรียมงานสร้าง ตระหนักว่างบประมาณไม่เพียงพอ เลยเข้าหานักออกแบบ Kyle Cooper ให้ช่วยออกแบบ Opening Credit
ใช้ประโยชน์จากสมุดจดบันทึกของ John Doe นำมาร้อยเรียงเข้ากับการตระเตรียมการ วางแผนเข่นฆาตกรรมเป้าหมาย และสังเกตว่าข้อความปรากฎขึ้น แลดูมือลายมือฆาตกรจริงๆ
สำหรับบทเพลงที่ได้ยิน คือการตัดต่อจากบางส่วนของบทเพลง Closer (ใช้ชื่อว่า Closer (Precursor)) แต่งโดย Trent Reznor, ร่วมกับวงดนตรี Nine Inch Nails แนว Industrial Rock รวมอยู่ในอัลบัม The Downward Spiral (1994) ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น ‘signature song’ บางครั้งก็คือว่า ‘Closer to God’
แซว: ผมก็เพิ่งรู้นะเนี่ยว่าผู้กำกับ Fincher ชื่นชอบผลงานของ Trent Reznor มาตั้งแต่ไหนแต่ไร ครั้งนี้แม้ร่วมงานกันโดยอ้อมๆ แต่ต่อมากลายเป็นเพื่อนสนิท ขาประจำกันตั้งแต่ The Social Network (2010)
ทุกช็อตฉากในผลงานของผู้กำกับ Fincher เต็มไปด้วยรายละเอียดเล็กๆน้อยๆสำหรับคนช่างสังเกต ชื่นชอบขบครุ่นคิดวิเคราะห์ แต่ผมคงไม่สามารถอธิบายได้ทั้งหมด แค่จะยกตัวอย่างภาพช็อตแรกของหนังที่ดูเหมือนไม่มีอะไรนี้ ประกอบด้วย
- เมื่อภาพเฟดเข้ามา สิ่งแรกที่นักสืบ Somerset กำลังทำอยู่ก็คือวางแก้วในอ่างล้างจาน แล้วหยิบโถกาแฟที่เหลือเททิ้ง จะว่าไปคล้ายๆคำภาษาไทย ‘ล้างมือ’ สื่อถึงการกำลังจะเกษียณอายุราชการในอีก 7 วันทำงาน เลิกยุ่งเกี่ยวกับอาชีพตำรวจ คดีฆาตกรรมอีกต่อไป
- บริเวณด้านล่างของภาพพบเห็นกระดานหมากรุก แสดงถึงการเป็นนักวางแผน ชื่นชอบการครุ่นคิด ขบไขปริศนา
- ไมโครเวฟ แสดงถึงความสำเร็จรูป, ตู้เย็น สัญลักษณ์ของจิตใจอันเยือกเย็นยา (สังเกตว่าไม่เห็นเตาแก๊สที่แสดงถึงความอบอุ่น)
- รูปแกะสลักช้างกับแมว สัตว์ขนาดใหญ่ vs. เล็ก ไม่รู้ต้องการเปรียบเทียบถึง Somerset & Mills หรือเปล่านะ
- ติดกระดุม ผูกไทด์ สิ่งข้าวของจัดวางอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย นี่ก็แสดงถึงการเป็นบุคคลเจ้าระเบียบ กระทำสิ่งต่างๆด้วยเหตุและผล
- เวลาหลับนอนต้องพึ่งพาเครื่องเคาะจังหวะ (Metronome) แสดงถึงความมั่นคง (steadiness) อดทน (patience) เป็นระเบียบเรียบร้อย (order) ไม่ผันแปรเปลี่ยนต่อสิ่งใดๆ แต่บางคนอาจมองถึงการนับถอยหลัง สู่จุดสิ้นสุดก็ได้เช่นกัน
ฯลฯ

ช่วงระหว่าง Title Sequence/Opening Credit จะมีช็อตที่เอาใบมีดโกนกรีดเนื้อบริเวณนิ้วออกไป นั่นคือเหตุผลของหนังอธิบายว่าทำไมถึงไม่มีใครค้นพบลายนิ้วมือของ John Doe

The kid see it?
William Somerset
ผมละงงว่านายตำรวจคนนั้นงงอะไร? คำถามของ Somerset ชัดเจนมากๆว่าถามถึงบุตรของผู้เสียชีวิต ได้พบเห็นสภาพศพของบิดา/มารดาหรือยัง? นี่ถือเป็นคำถามเชิงจริยธรรม เพราะเขาคงไม่อยากให้เด็กพบเห็นภาพบาดตาบาดใจ แต่การที่ตำรวจคนนั้นทำเหมือนไม่เข้าใจ ไม่สนใจต่อเรื่องพรรค์นี้ “Who gives the fuck!” สะท้อนความเสื่อมโทรมของสังคมได้เป็นอย่างดี (moral decay)
ความขัดแย้งในครอบครัว สามีใช้ความรุนแรงกับภรรยา เธอเลยโต้ตอบด้วยการชักปืนมาเข่นฆ่า แสดงให้เห็นถึงสังคมที่ใช้ ‘อารมณ์’ เป็นที่ตั้ง ต่างฝ่ายต่างสนเพียงความพึงพอใจของตนเอง ปฏิเสธการประณีประณอม พูดคุยกันด้วยเหตุและผล ผลลัพท์กลายเป็นภาพจำฝังใจให้ลูกหลาน (Trauma) เลียนแบบตามอย่าง จมปลักอยู่ในโลกแห่งความสิ้นหวัง
เกร็ด: บุคคลที่รับเชิญเป็นศพแรกของหนังคือเจ้าของบทหนัง Andrew Kevin Walker และยังได้รับโอกาสเวียนวนอยู่ในกองถ่าย สำหรับปรับแก้ไขบทพูดสนทนา

แม้ไม่มีรายละเอียดว่าฉากนี้ใช้เวลาถ่ายทำกี่วัน (เชื่อว่าน่าจะอย่างน้อย 2-3 วัน รวมฉากชันสูตรศพ) แต่นักแสดง Bob Mack ต้องใช้เวลาแต่งหน้าทำผม สวมใส่ชุดเทียม (prosthetics) ไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมงก่อนเริ่มถ่ายทำ ขณะที่สปาเก็ตตี้เห็นว่าทิ้งไว้สัปดาห์เต็มๆ ส่งกลิ่นเน่าเหม็นจน Morgan Freeman หมดความอาหารไปทั้งวัน และพอเริ่มถ่ายทำปล่อยแมลงสาบวิ่งพล่านทั่วตัว มุดเข้าไปในกางเกงในก็มี

แต่ละคดีความของหนัง จะมีบางสิ่งอย่างที่ไม่ใช่แค่การอ้างอิงถึงบาป 7 ประการ แต่ยังมีความสัมพันธ์บางอย่างที่น่าสนใจ ยกตัวอย่าง Gluttony และ Greed
- Gluttony อาศัยอยู่ในห้องเช่าถูกๆ สภาพสกปรกโสมม ผิดกับ Greed มีความหรูหรา บนอพาร์ทเม้นท์ชั้นสูง
- ข้อความ Gluttony แอบหลบซ่อนอยู่หลังตู้เย็น, Greed ปรากฎเด่นชัดกลางอยู่พื้นห้อง
- แต่สิ่งที่ผมอยากให้สังเกตก็คือโทรทัศน์ของ Gluttony เปิดคนละช่อง วางซ้อนบน-ล่าง, ส่วน Greed วางห่างๆ แต่เปิดช่องเดียวกัน (แลดูเหมือนดวงตาสาธารณะที่จับจ้องมองมา)


สีแดง(เลือด)ที่ทารอบใบหน้าภรรยา(ของ Greed) แลดูเหมือนหน้ากาก(อินทรีแดง) ไม่ก็แว่นตา ผมครุ่นคิดว่าเป็นคำบอกใบ้ว่าเธอคนนี้อาจรับล่วงรู้เงื่อนงำอะไรบางอย่าง (ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ เมื่อเธอพบว่าภาพวาดในห้องพัก แขวนกลับหัวกลับหาง)
หลายคนพยายามเปรียบเทียบสัญลักษณ์ดังกล่าว กับกล้องส่องทางไกล (Binocular) พบเห็นช่วงท้ายไคลน์แม็กซ์ของหนัง เจ้าหน้าที่ตำรวจบนเฮลิคอปเตอร์สอดส่องติดตาม Somerset, Mills และ John Doe จับจ้องมองเหตุการณ์บังเกิดขึ้นเบื้องล่าง … สามารถเทียบแทนด้วยมุมมองบุคคลอยู่ห่างไกล (หรือคือผู้ชมภาพยนตร์ ก็น่าจะได้เช่นกัน) เพียงได้แค่จับจ้องมอง แต่ไม่สามารถให้ความช่วยเหลือทำอะไร


New York Public Library สถานที่รวบรวมหนังสือ องค์ความรู้มากมาย แต่พนักงานรักษาความปลอดภัยเหล่านี้กลับสนเพียงการพนัน เล่นไพ่ หาเงินเข้ากระเป๋า (Poker ยังเป็นเกมแห่งการสร้างภาพ ลวงล่อหลอกผู้อื่นให้ครุ่นคิดว่าตนเองมีไพ่สูงหรือต่ำกว่า) นี่คือการใช้เวลาไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เลยสักนิด ดังคำประชดประชันของ Somerset
Gentlemen, gentlemen. I’ll never understand. All these books a world of knowledge at your fingertips. What do you do? You play poker all night.
William Somerset
การเลือกใช้บทเพลง Bach: Air on the G String ระหว่างการหาข้อมูลเกี่ยวบาปเจ็ดประการ (=ผู้กำกับ Fincher หาข้อมูลสำหรับสรรค์สร้างภาพยนตร์) เป็นช่วงเวลาที่สร้างความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เปิดโลกทัศน์ตนเองให้กว้างออกไป … ราวกับการล่องลอยโบยบินสู่สรวงสวรรค์

เพื่อค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับบาปเจ็ดประการ หนังมีการอ้างอิงหนังสือดังต่อไปนี้ นี่เป็นวิธีคลาสสิกตามสไตล์ Godardian ทรงอิทธิพลต่อผู้สร้างภาพยนตร์ยุคหลังโคตรๆ ใครเคยอ่านหนังสือเหล่านี้ย่อมสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ได้ไม่ยาก
- Dante: Divina Commedia (ค.ศ. 1320) โดยเฉพาะเล่ม Inferno และ Purgatorio (ข้าม Paradiso ไปได้เลย)
- Geoffrey Chaucer: The Canterbury Tales (ค.ศ. 1400) โดยเฉพาะตอน The Parson’s Tale
- John Milton: Paradise Lost (ค.ศ. 1667)
- William J. Collinge: Historical Dictionary of Catholicism

นี่เป็นช็อตเล็กๆที่สะท้อนความสัมพันธ์ขณะนั้นระหว่าง Somerset กับ Mills ที่เต็มไปด้วยความคิดเห็นแตกต่าง นั่งอยู่คนละทิศทางตั้งฉาก
จะว่าไปการปฏิบัติต่อชายวัยใกล้เกษียณของสถานีตำรวจแห่งนี้ช่างน่าอัปยศยิ่งนั้น Somerset ทั้งโดนลบชื่อหน้าห้อง รวมถึงถูกผลักไสจาก Mills ตั้งแต่ยังเหลือเวลาทำงานอีกเป็นสัปดาห์ จะเร่งรีบร้อนขับไล่ผลักไสส่ง ไม่สนหัวกันเลยหรือไร … หรือนี่อาจสะท้อนวิธีการปฏิบัติต่อผู้สูงวัยของคนยุคสมัยนั้น?

โปสเตอร์ที่ติดอยู่บนเหนือเตาผิงนั้นคือภาพยนตร์สัญชาติรัสเซีย Boule de suif (1934) กำกับโดย Mikhail Romm, นำแสดงโดย Galina Sergeyeva, ดัดแปลงจากเรื่องสั้นชื่อเดียวกันของ Guy de Maupassant ชื่อเต็มๆ Boule de Suif et Autres Contes de la Guerre (แปลว่า Dumpling and Other Stories of the War) ตีพิมพ์ปี ค.ศ. 1880
เท่าที่ผมลองอ่านเรื่องย่อ รู้สึกว่ามันไม่ได้มีความสัมพันธ์อะไรกับหนัง แต่เชื่อว่าโปสเตอร์ที่มีภาพของ Galina Sergeyeva โดดเด่นเป็นสง่าราศีนี้ ต้องการสื่อถึงความละม้ายคล้ายคลึงตัวละคร Tracy Mills ของ Gwyneth Paltrow กระมังนะ


ฉากสนทนาบนโต๊ะอาหารนี่ก็น่าสนใจ ช่วงแรกๆจะมีการแบ่งแยก Tracy & David Mills กับ Somerset เพื่อสื่อถึงการยังไม่สามารถสนทนาเปิดอก ยินยอมรับกันและกัน แต่หลังจากการสั่นสะเทือนเลือนลั่นของขบวนรถไฟ เสียงหัวเราะลั่นทำให้เกิดการละลายน้ำแข็ง (Ice Breaking) ถึงปรากฎช็อตที่ทั้งสามอยู่ร่วมเฟรมเดียวกัน (ถ่ายจากด้านหลังประตูด้วยนะ เพื่อถึงสิ่งที่อยู่ภายในของพวกเขาได้รับการเปิดเผยออกมา)
อพาร์ทเม้นท์สั่นสะเทือนโดยขบวนรถไฟ ผมคุ้นๆว่าเคยเห็นฉากคล้ายๆกันนี้จากหนังนัวร์ช่วงทศวรรษ 40s – 50s ซึ่งใช้อธิบายสภาวะทางอารมณ์ของผู้อยู่อาศัย แต่ในบริบทนี้น่าจะสื่อถึงความสัมพันธ์อันสั่นคลอนระหว่าง Tracy กับ David รวมถึงความเป็นไปของโลก(ในหนัง)ที่ใกล้พังทลาย ถึงจุดล่มสลาย



ภาพวาดด้านหลังเธอคนนี้ (ภรรยาของ Greed) มีรูปลักษณะจับต้องได้ แลดูเหมือนเมืองท่าเรือแห่งหนึ่ง ซึ่งสามารถตีความได้หลากหลาย อาทิ การเดินทางมาถึงจุดสิ้นสุด (=สูญเสียสามี), สภาพจิตใจรู้สึกล่องลอยเคว้งคว้าง, เศร้าโศกเสียใจจนน้ำตาหลั่งไหลกลายเป็นมหาสมุทร, หรือจะตีความถึงน้ำท่วมโลก/วันสิ้นโลกาวินาศก็ได้กระมัง ฯลฯ
ส่วนภาพวาดปริศนาของหนังเป็นแนวนามธรรม (Abstraction) น่าเสียดายที่ผมหาข้อมูลไม่ได้ว่าเป็นผลงานของใคร (น่าจะเป็นงานศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในหนังโดยเฉพาะ) แต่การวางกลับหัวกลับหาง นั่นไม่ใช่สิ่งที่บุคคลทั่วไปสามารถสังเกตเห็น สะท้อนถึงโลกยุคสมัยนั้น-นี้ สิ่งดี-ชั่ว ความถูก-ผิด เป็นสิ่งแยกแยะออกจากกันไม่ได้อีกต่อไป
เกร็ด: ผมเพิ่งสังเกตหุ่นแกะสลักที่วางอยู่ข้างๆรูปภาพนามธรรม ไร้แขน ไร้ศีรษะ เหมือนจะบอกใบ้อะไรสักสิ่งอย่าง


แม้แต่ท่านอนรอการค้นหาลายนิ้วมือผู้ต้องสงสัยของคู่หู่นี้ยังมีความน่าสนใจ สังเกตว่า Somerset ยังคงรักษาบุคลิกภาพของตนเอง นั่งเป็นหลักให้กับ Mills สามารถพึ่งพิง อ้าปากหวอ … เป็นภาพเล็กๆที่สร้างรอยยิ้มให้ผู้ชม และแสดงให้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างกันที่พัฒนาขึ้นอย่างมากๆ (ในระยะเวลาแค่ 3-4 วัน) จนถูกเรียกว่า The Glimmer Twins
เกร็ด: หลายคนน่าจะรับรู้จัก The Glimmer Twins คือนามแฝงของสองศิลปิน Mick Jagger และ Keith Richards แห่งวง Rolling Stones ช่วงระหว่าง 1963-78 เป็นการร่วมงานที่ถือว่าประสบความสำเร็จสูงสุดในวงการเพลง!

ตอนแต่งตัว gluttony ว่านานแล้ว แต่ยังเทียบไม่ได้กับ sloth ใช้เวลากว่า 14 ชั่วโมง! นักแสดงที่มาทดสอบหน้ากล้อง Michael Reid MacKay น้ำหนักเพียง 96 ปอนด์เท่านั้น (หลายคนอาจดจำชายคนนี้จากบท Jason 143 เรื่อง X2:X-Men United (2003)) ตอนถ่ายทำจริงๆยังลดได้อีกเหลือแค่ 90 ปอนด์ (40.8 กิโลกรัม)
แซว: ผู้กำกับ Fincher ไม่ได้บอกตัวประกอบที่รับบทหน่วย SWAT ว่านี่คือนักแสดงจริงๆ ใครๆจึงต่างครุ่นคิดว่าคือพร็อพประกอบฉาก ซึ่งวินาทีจู่ๆส่งเสียง ขับเคลื่อนไหว เล่นเอาตกอกตกใจกันทั้งกองถ่าย … นำเอาปฏิกิริยานั้นจริงๆใส่ลงมาในหนัง

ผมพยายามแคปรูปที่พอสังเกตเห็นชัดเจนที่สุดว่า ชายคนนี้คือ Kevin Spacey (สวมใส่วิกผม) หลบมุมกล้องอย่างเนียนๆ … เอาจริงๆผมว่าฉากนี้ John Doe เพียงต้องการมาดูอาการของ Sloth แต่พอพบเห็นว่าถูกตำรวจค้นพบเจอ ก็เลยปลอมตัวเป็นนักข่าว บันทึกภาพสองนักสืบที่ทำคดี มีความประทับใจเล็กๆสามารถสืบเสาะมาถึงขณะนี้
It’s impressive to see a man feeding off his emotions.
William Somerset
นี่เป็นประโยคที่ผมชื่นชอบสุดในหนัง Somerset ประชดประชันการแสดงออกทางอารมณ์ของ Mills สะท้อนถึงคนยุคสมัยนั้น-นี้ ต่างใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลในการครุ่นคิดตัดสินใจ แก้ปัญหาใดๆ และเมื่อไม่ได้ดั่งใจก็พร้อมแสดงความเกรี้ยวกราด ไม่รู้จักควบคุมตนเอง เหล่านี้คือสิ่งที่จะชักนำพามนุษยชาติสู่จุดสิ้นสุด วันโลกาวินาศ

การปรากฎขึ้นของข้อความวันศุกร์ (Friday) มีความน่าสนใจทีเดียว ไม่เพียงเป็นภาพพ่อครัวกำลังทอดไข่ (Fried Eggs) สำหรับทำแฮมเบอร์เกอร์ ยังบอกใบ้ถึงเรื่องสนทนาระหว่าง Tracy Mills กับนักสืบ Somerset ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเอง นั่นคือการตั้งครรภ์ (รังไข่ปฏิสนธิกับอสุจิ)
รอยร้าวระหว่างนักสืบ David กับภรรยา Tracy อาจสะท้อนชีวิตคู่ของผู้กำกับ Fincher กับภรรยาคนแรก Donya Fiorentino ที่กำลังจะหย่าร้างปี 1995 ผมไม่มีข้อมูลว่าก่อนหรือหลังงานสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่เชื่อว่าย่อมต้องมีความสัมพันธ์อะไรบางอย่างแน่นอน

ผมอดใจไม่ได้ที่ต้องเอาภาพช็อตนี้มา ตั้งแต่ John Doe หลบซ่อนตัวอยู่บนรถบรรทุก (=ทำตัวหัวสูงส่ง แสดงตนว่ามีความเหนือกว่าผู้อื่นใด) กระทำร้ายนักสืบ Mills จนทรุดล้มลงอยู่ข้างกองขยะ และค่อยๆก้าวเดินเข้ามา พบเห็นเงาสะท้อนกลับหัวบนพื้นผิวน้ำ (ก้าวย่างของปีศาจ) ช่างเป็นภาพที่มีความน่าหวาดสะพรึงยิ่งนัก ดนตรีก็ใส่จังหวะลุ้นระทึก ตัดสลับภาพระยะประชิด Close-Up เบลอ-ชัด จะเป็นหรือตาย ไม่ต่างจากลูกไก่ในกำมือ

ระหว่างการวิ่งไล่ล่าท่ามกลางสายฝน Brad Pitt ประสบอุบัติเหตุหกล้ม มือไปกระแทกกระจกหน้ารถ บาดลึกจนเห็นถึงกระดูก แต่เขาก็อดรนทนจนถ่ายทำฉากนี้เสร็จ พอนำบาดแผลไปโชว์ให้ผู้กำกับ Fincher หน้าซีดขาวเผือก รีบส่งตัวเข้าโรงพยาบาลเข้าห้องผ่าตัด … ด้วยเหตุนี้หลายๆฉากก่อนหน้า(ที่ถ่ายทำหลังจากนี้)จึงพบเห็นตัวละครพยายามปกปิดด้วยการเอามือล้วงกระเป๋า ส่วนฉากหลังจากนี้ก็สามารถเปิดเผยอาการบาดเจ็บ พบเห็นผ้าพันมือที่เข้าเฝือกเอาไว้
คนที่รับชมหนังจนจบคงน่าจะเข้าใจเหตุผลที่ John Doe ไว้ชีวิตนักสืบ Mills ทีแรกคงครุ่นคิดกำจัดให้พ้นภัยทาง แต่เพราะความประทับใจโคตรๆที่สามารถสืบเสาะค้นหามาจนถึงห้องพักของตนเอง เขาเลยต้องทำการ ‘improvised’ ปรับปรุงแผนการด้วยความเร่งรีบ (เหตุการณ์ฆาตกรรมหลังจากนี้ ก็เป็นไปอย่างรวบรัดตัดตอนไม่น้อย) แต่ทุกสิ่งอย่างยังคงดำเนินไปตามความตั้งใจ … โดยปกติแล้วผู้กำกับ Fincher ไม่ชื่นชอบให้นักแสดงทำการ ‘improvised’ เพราะเขามีมุมมองวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนมากๆ จึงเป็นพวกจอมบงการ หุบปากแล้วทำตามคำสั่ง! ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ John Doe ในครานี้ สามารถแฝงนัยยะถึงการถูกสตูดิโอ/โปรดิวเซอร์เข้ามายุ่งย่าม เจ้ากี้เจ้าการ (แต่ไม่ได้สื่อถึงภาพยนตร์เรื่องนี้นะครับ แน่นอนว่าต้องคือ ALIEN³ (1992))

ด้วยความ ‘perfectionist’ ของผู้กำกับ Fincher สมุดบันทึก/หนังสือทุกเล่มที่วางอยู่บนชั้น ภายในห้องพักของ John Doe ล้วนมีข้อความ รายละเอียด เขียนด้วยมือทั้งหมด หมดสิ้นงบประมาณไปถึง $15,000 เหรียญ เพื่อความสมจริงในรายละเอียดดังกล่าว
แซว: ทีมผู้สร้างใช้เวลาในการทำหนังสือเหล่านี้นานถึง 2 เดือนเต็ม! และก็อย่างที่ตัวละครของ Morgan Freeman กล่าวว่าไว้ ถ้าจะอ่านทั้งหมดคงใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 เดือนเช่นกัน!

คดีฆาตกรรมก่อนหน้านี้ หนังแทบจะไม่ปกปิดบังสภาพเรือนร่างผู้เสียชีวิต (จนหลายคนรู้สึกสะอิดสะเอียน ท้องไส้ปั่นป่วน) แต่สำหรับโสเภณี Lust กลับใช้เอ็ฟเฟ็กกระพริบไฟแสงสีแดง พร้อมเสียง ‘sound effect’ ที่สร้างความหนวกหูน่ารำคาญ และหลังจากจากนี้จะมีการไต่สวน รับฟังคำให้การผู้ต้องหา (บรรยายออกมาแบบภาพยนตร์เรื่อง Persona (1966)) โดยไม่รู้ตัว นั่นสร้างประสบการณ์ที่เลวร้ายยิ่งกว่า (เพราะเราต้องจินตนาการให้เห็นภาพตาม มันเลยสร้างความหลอกหลอน สั่นสะท้านทรวงใน ส่งผลกระทบต่อจิตใจยิ่งกว่า)


นี่เป็นฉากการซักความที่น่าสนใจไม่น้อย สังเกตว่าไม่เพียงแค่ถ่ายให้เห็นห้องซักฟอกทั้งสอง แต่ยังตำแหน่งที่นั่งของพวกเขาทิศทางกลับตารปัตรกันอีกด้วย
- Somerset เป็นนักสืบที่มีความสุขุม รอบคอบ ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ สัมภาษณ์บุคคลที่แสดงอาการหวาดกลัวตัวสั่น หายใจถี่ๆ แทบจะไม่สามารถควบคุม(อารมณ์)ตนเอง
- Leland Orser นักแสดงที่รับบทดังกล่าวเล่าว่าไม่ได้หลับนอนมาหลายวัน และก่อนเข้าฉากนี้ก็หายใจเข้าๆออกๆแบบถี่ๆเร็วๆ จนร่างกายมีสภาพซีดเซียวเช่นนั้น
- Mills เป็นนักสืบเจ้าอารมณ์ สัมภาษณ์เจ้าของผับบาร์แห่งนั้นกลับมีความสงบนิ่ง เพิกเฉยเฉื่อยชา แสดงความคิดเห็นอย่างไม่ยี่หร่า พยายามปัดความรับผิดชอบของตนเอง

คดีฆาตกรรมนางแบบสาว ตัวแทนของความเย่อหยิ่งทะนงตน (Pride) มีความเร่งรีบรวดรัด นำเสนอเรื่องราวแค่ 2-3 นาที ยังแทบไม่ทันตั้งตัวเลยว่าบังเกิดห่าเหวอะไรขึ้น นี่เป็นการทำลายรูปแบบ โครงสร้างของหนังที่ดำเนินมาถึงขณะนี้โดยสิ้นเชิง (ซึ่งสามารถมองถึงการทำลาย Pride ของหนังก็ได้เช่นกัน)
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับนางแบบสาวคนนี้ก็คือ เหมือนจะถูก John Doe ข่มขืมกระทำชำเรา จากนั้นถูกกรีดใบหน้า หู-ตา-จมูก จนสูญเสียความสวยสาว มิอาจทนรับสภาพตนเองดังกล่าวเลยตัดสินใจรับประทานยานอนหลับ ฆ่าตัวตายดีกว่าอับอายขายขี้หน้าประชาชี ด้วยเหตุนี้ฉากการตายจึงวางภาพใบหน้าของเธอบนหัวเตียง ส่วนใบหน้าแท้จริงนั้นเต็มไปด้วยคราบเลือด ผ้าพันแผลเหมือนมัมมี่

John Doe ในสภาพเปลอะเปื้อนเลือด ก้าวลงมาจาก Taxi เดินเข้ามาในโรงพักแห่งนี้ แต่ทุกคนกลับเพิกเฉยเฉื่อยชา ไม่มีใครสนใจใยดี ปฏิบัติหน้าที่กันได้อย่างเอาจริงเอาจังสุดๆ (ประชด) จนต้องตะโกนร้องเรียกความสนใจ ทำในสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดถึง … หรือคือผู้กำกับ Fincher ต้องการสื่อถึงเรื่องราวต่อหน้าจาก(ตอนจบของภาพยนตร์)จะเป็นสิ่งไม่มีใครสามารถครุ่นคิดได้อย่างแน่นอน

ฉากสนทนาระหว่าง Somerset, Mills และ John Doe ระหว่างเดินทางสู่เป้าหมายปลายทาง มีการตัดสลับไปมาระหว่างสามตัวละครได้อย่างน่าอัศจรรย์ (แต่เห็นว่าผู้กำกับ Fincher ไม่ค่อยพึงพอใจผลลัพท์ดังกล่าวสักเท่าไหร่)
- Somerset จะไม่มีช็อตถ่ายจากเบาะด้านหลัง หรือสิ่งใดๆกีดกั้วขวางใบหน้าของเขา
- เพราะเป็นคนที่สามารถขบครุ่นคิดด้วยเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์โต้ตอบกลับ John Doe
- Mills จะมีทั้งจากมุมคนขับรถ (ไม่มีอะไรบดบัง) และถ่ายจากด้านหลัง (มุมมอง John Doe) มีตะแกรงเหล็กบดบังใบหน้า
- มุมมองของตัวละคร มีหลายสิ่งอย่างอยู่ภายใต้กฎกรอบทางอารมณ์ ทำให้ไม่สามารถครุ่นคิดเข้าใจพฤติกรรมของ John Doe
- ขณะที่ John Doe ไม่ว่าจะมองจากด้านหลัง หรือภาพสะท้อนในกระจก ต้องมีตะแกรงเหล็กบดบัง หรือปรากฎให้เห็นอยู่ในเฟรม
- เพื่อแทนสถานะอาชญากร กำลังถูกควบคุมขัง แต่ขณะเดียวกันก็ไม่มีสิ่งใดที่ทำให้เขาสูญเสียอิสรภาพของตนเอง
แทบจะทุกบทสนทนาของ John Doe ล้วนมีความสองแง่สองง่ามที่สามารถสื่อถึงผู้กำกับ Fincher กำลังสื่อสารกับผู้ชม อธิบายเรื่องราว สาเหตุผล บอกให้อดใจรออีกนิด ไม่ช้านานจะค้นพบคำตอบที่ทำให้ทั้งตนเองและภาพยนตร์เรื่องนี้กลายเป็นตำนานลือเล่าขาน
Funny thing is, after all this work, in 2 months no one’ll care, give a shit, or remember. You can’t see the complete act yet. But when this is done, when it’s finished, it’s going to be … People will barely be able to comprehend. But they won’t be able to deny.
I’m setting the example. And what I’ve done is gonna be … puzzled over … and studied … and followed … forever.
John Doe



เสาไฟฟ้าแรงสูงที่พบเห็นยัง Lancaster, California แท้จริงแล้วไม่ได้มีปริมาณหนาหูหนาตา เรียงรายอย่างสลับซับซ้อนแบบที่พบเห็นในหนังช็อตนี้เลยนะครับ! มีคนที่ชอบออกไปสำรวจสถานที่ถ่ายจริงๆ พบเห็นว่ามันก็แค่เสาไฟฟ้าตั้งอยู่ห่างๆกันเท่านั้น แสดงว่ามันเป็นการทำ Visual Effect ด้วย Computer Graphic (CG) เพิ่มเติมเข้ามาหลอกตาผู้ชม
ขณะที่ตลอดทั้งเรื่องฝนตกพรำ บรรยากาศอึมครึม มืดหมองหม่น แต่ทั้งซีเควนซ์นี้ออกเดินทางมายังดินแดนรกร้างห่างไกล เหมือนทะเลทรายอันแห้งแล้ง (ไร้ฝนตก) สำหรับเสาไฟฟ้า(บางคนมองเหมือนเลข 7)ผมตีความถึงเค้าโครงสร้าง เศษซากปรักหักพังของอารยธรรม เพราะมันคือสถานที่ที่ตัวละครได้กระทำบาป(เจ็ดประการ)สุดท้าย แสดงให้เห็นถึงจุดสิ้นสุดของมวลมนุษย์ ไม่ต่างจากวันโลกาวินาศ



ไคลน์แม็กซ์ของหนัง เท่าที่ผมหาข้อมูลได้มีอย่างน้อย 3-4 Alternate Climax ซึ่งก็มีทั้งฉบับที่ผู้กำกับ Fincher มีส่วนรับรู้เห็น และถูกกองเซนเซอร์หั่นหลายๆช็อตออกไป ผมไม่รู้จะแนะนำฉบับไหนดี วัดดวงเอาเองแล้วกันนะครับ
What’s in the box?
David Mills
บางฉบับของหนังจะเห็นศีรษะของ Tracy อยู่แวบๆเสี้ยววินาที ระหว่างนักสืบ Somerset เปิดกล่องปริศนานี้ออกดู แต่ที่เหลือล้วนคือจินตนาการของผู้ชม และ Mills จากคำลวงล่อหลอกของ John Doe ที่ทำให้ทุกคนคลุ้มบ้าคลั่ง หักมุมตอนจบแบบคาดคิดไม่ถึง
เอาจริงๆมันไม่เชิงว่าสิ่งที่อยู่ในกล่องคือ MacGuffin เพราะผู้ชมส่วนใหญ่สามารถคาดเดาได้อยู่แล้วว่ามีอะไร แต่การสร้างความลึกลับ ทำให้มันเป็นปริศนา จะยิ่งทำให้เกิดความฟุ้งซ่าน จินตนาการเตลิดเปิดเปิงไปไกล … ถือเป็นการไล่ระดับความตายของบาปเจ็ดประการได้อย่างทรงพลัง
- Gluttony พบเห็นสภาพขึ้นอืด ความตายที่น่าขยะแขยง
- Greed พบเห็นเพียงคราบ รอยเลือด และภาพวาดนามธรรม (ไม่มีการอธิบายว่าตกตายอย่างไร)
- Sloth พบเห็นเรือนร่างผอมซีด ผิวหนังติดกระดูก ยังคงมีชีวิตแต่สภาพเหมือนตกตายทั้งเป็น
- Lust ไม่ถ่ายให้เห็นภาพความตาย แต่บรรยายเสียจนจินตนาการเห็นภาพ
- Pride ไม่เห็นหน้าศพตรงๆ เพียงภาพถ่ายตอนยังสวยสาว และคำบรรยายเหตุการณ์เกิดขึ้น
- Envy จากคำบอกเล่าของ John Doe และกล่องใบนี้ที่ทำให้จินตนาการเตลิดเปิดเปิงไปไกล
- Wrath เป็นครั้งเดียวที่นำเสนอภาพการเสียชีวิต ขณะถูกยิง ดับดิ้น แถมเดินเข้ามาซ้ำเติมจนกระสุนหมด

ทีแรกผมครุ่นคิดว่าทั้งซีเควนซ์ไคลน์แม็กซ์นี้ ถ่ายทำช่วงเวลา Golden Hour เพราะเห็นแสงสีทองๆอาบฉาบใบหน้านักแสดง แต่พอเห็นช็อตนี้ก็เลยรับรู้ว่าไม่ใช่ นั่นเพราะ John Doe ยืนบนบังดวงอาทิตย์ด้านหลัง เพื่อสื่อถึงการเป็นบุคคลนำพาความมืดมิดมาสู่โลกใบนี้
เช่นนั้นแล้วทำไมโทนสีของทั้งซีเควนซ์นี้จึงดูแปลกๆ เท่าที่ผมหาข้อมูลได้เกิดจากการล้างฟีล์มด้วยเทคนิค ‘bleach bypass’ เพราะฉากส่วนใหญ่ถ่ายทำตอนฝนตก หรือภายในห้องที่ปกคลุมด้วยความมืดมิด เฉดสีสันจึงไม่ค่อยโดดเด่นชัดเหมือนซีเควนซ์นี้
เกร็ด: Bleach Bypass หรือ Skip Bleach หรือ Silver Retention เป็นศัพท์ที่คนเล่นกล้องรับรู้จักกันดี คือคำเรียกปฏิกิริยาเคมีระหว่างการล้างภาพฟีล์มสี โดยใช้สารบางอย่างที่ทำให้เฉดสีเงิน (บ้างเรียกว่าการฟอกขาว) ของภาพเจือจางหายไป ผลลัพท์ทำให้ภาพลดความอิ่มตัว (Saturation) เพิ่มแสงสว่างจร้า (Exposure Latitude) เกิดการตัดกัน (Contrast) และรอยหยาบแบบเป็นเม็ดๆ (Graininess) … เทคนิคนี้เหมาะสำหรับการสร้างบรรยากาศความเสื่อมโทรมทราม ‘moral decay’ ของหนังได้เป็นอย่างดี!

บางฉบับของหนังจะไม่มีฉากที่ Mills เดินเข้ามายิงซ้ำหลังเป่าขมอง John Doe แต่ผมครุ่นคิดว่านี่เป็นช็อตที่จำเป็นอย่างยิ่งๆ เพื่อสื่อถึงการที่ตัวละครถูกอารมณ์เกรี้ยวกราด ‘wrath’ เข้าควบคุมครอบงำ ไม่สามารถควบคุมตนเองอีกต่อไป (คือถ้าแค่นัดเดียวจบ มันเหมือนว่าเขาบังเกิดสติหยุดยับยั้งชั่งใจขึ้นมา)
มุมกล้องเงยขึ้นท้องฟ้าช็อตนี้ ให้ความรู้สึกเหมือน John Doe นอนตายตาไม่หลับ แต่ผมรู้สึกว่าเหมือน(มุมมองของ)ขุมนรกมองขึ้นมายังโลกมนุษย์ พบเห็นเสาไฟฟ้าคุ้นๆว่ามีการกล่าวถึง ‘High Power’ สิ่งสูงส่งเหนือธรรมชาติ ในอดีตมนุษย์เคยนับถือพระเป็นเจ้า ปัจจุบันแปรสภาพมาเป็น(เสาไฟฟ้า)วัตถุนิยม จากนามธรรมสู่รูปธรรมจับต้องได้ … จะว่าไปเสาไฟฟ้าแรงสูงนี้ยังดูเหมือนไม้กางเขน สัญลักษณ์การเสียสละ หรือคือความตายของฆาตกรคนนี้ (ไม่แตกต่างจากพระเยซู แต่แทนที่จะให้ความช่วยเหลือมนุษย์โลก) นำพาภัยพิบัติ หายนะวันสิ้นโลกาวินาศได้มาถึงเรียบร้อยแล้ว
ผมอ่านเจอว่าตอนจบของหนังมี Alternate Ending หลากหลายแบบเดียวทีเดียว แต่ผู้กำกับ Fincher เลือกถ่ายทำเพียงที่พบเห็นในหนังเท่านั้น
- Somerset เป็นคนเข่นฆาตกรรม John Doe
- นี่เป็น Alternate Ending ที่อยู่ในบทหนังของ Andrew Kevin Walker และยังมีออกแบบ Storyboard สามารถหารับชมได้ในแผ่นเบื้องหลัง (Special Feature)
- ตัดจบทันทีเมื่อ Mills ปลิดชีวิต John Doe ไม่มีเอ่ยกล่าวคำอะไรต่อจากนั้น
- นี่เป็นตอนจบแรกที่ทั้งผกก. Fincher และ Brad Pitt มีความตั้งใจเอาไว้ แต่พอนำมาทดลองฉายได้เสียงตอบรับไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่
- Mills หลังจากเข่นฆ่า John Doe ยังไม่สามารถควบคุมสติอารมณ์ หันมาปลิดชีวิต Somerset ต่ออีกศพ
- ตอนจบจากอีกบทร่างของสตูดิโอ เป้าหมายปลายทางไม่ใช่สถานที่รกร้างแห่งนี้ แต่คือโบสถ์แห่งหนึ่งซึ่งเต็มไปด้วยกลุ่มอาชญากรสุ่มดักรอ และมีการต่อสู้ กราดกระสุน ยิงโต้ตอบกันอย่างบ้าระห่ำ
- อีกตอนจบหนึ่ง สิ่งที่อยู่ในกล่องไม่ใช่ศีรษะของ Tracy แต่คือสุนัขตัวโปรด(ของ Mills) นั่นทำให้การเข่นฆ่า John Doe เป็นไปด้วยเรื่องของอารมณ์ล้วนๆ

ดั้งเดิมนั้นไม่ได้มีการถ่ายทำฉากบนเฮลิคอปเตอร์ เพราะงบประมาณไม่เพียงพอ (ไม่ได้เผื่อเวลาไว้ด้วย) แต่ภายหลังสตูดิโอ New Line อนุญาติให้ผู้กำกับ Fincher ยินยอมเพิ่มงบเพื่อถ่ายทำฉากนี้ แต่มันก็หลายเดือนหลังจากเสร็จสิ้นโปรดักชั่น ย่างเข้าสู่ช่วงฤดูใบไม้ผลิ ต้นหญ้าสีเขียวขจีขึ้นเต็มไปด้วย ด้วยเหตุนี้จึงมีการย้อมสีฟุตเทจที่ถ่ายทำให้ออกมาแลดูเหมือนพื้นทะเลทรายอย่างเนียนๆ
และเพราะถ่ายทำภายหลังปิดกล้องไปแล้วว จึงไม่สามารถซูมใกล้ๆให้เห็นใบหน้านักแสดง เพียงเงาลางๆของตัวประกอบเดินแยกย้ายจากไป (เหมือนหนังพยายามถ่ายให้เห็นเสาไฟฟ้า แบ่งแยก Somerset กับ Mills ออกจากกันด้วยนะ)

บางฉบับของหนังจะไม่มีซีนที่นักสืบ Mills ในสภาพเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า ถูกควบคุมตัวขึ้นรถตำรวจยามค่ำคืนมืดมิด แต่เชื่อว่าทุกฉบับต้องทิ้งท้ายด้วยคำกล่าวของ Somerset
Ernest Hemingway once wrote: “The world is a fine place, and worth fighting for”. I agree about the second part.
William Somerset
ข้อความดังกล่าวนำจากนวนิยาย For Whom the Bell Tolls (1940) เคยได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ For Whom the Bell Tolls (1943) กำกับโดย Sam Wood, นำแสดงโดย Gary Cooper และ Ingrid Bergman เข้าชิง Oscar ถึง 9 สาขา
I have fought for what I believed in for a year now. If we win here we will win everywhere. The world is a fine place and worth the fighting for and I hate very much to leave it.
Robert Jordan จาก For Whom the Bell Tolls (1940)
คำรำพันของ Somerset ตระหนักดีว่าโลกใบนี้ตกต่ำทรามลงเพียงใด แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เรียนรู้ว่ายังมีบางสิ่งอย่างสมควรค่าแก่การต่อสู้ มีชีวิตอยู่ … มีแนวโน้มสูงมากๆที่เขาจะล้มเลิกความตั้งใจเกษียณอายุราชการ ก่อนพูดประโยคสุดท้ายนี้เอ่ยกล่าวกับหัวหน้า “I’ll be around”.
สำหรับผู้กำกับ Fincher ที่เคยตกอยู่ในสภาพหมดสิ้นหวังหลังเสร็จจาก ALIEN³ (1992) ถึงขนาดไม่ครุ่นคิดจะหวนกลับมาสรรค์สร้างภาพยนตร์อีกเลย แต่โอกาสจากการทำงาน Se7en (1995) คงได้ปรับเปลี่ยนมุมมองโลกทัศน์ ตระหนักว่านี่คือสิ่งสมควรค่าแก่การต่อสู้ ความผิดพลาดครั้งเก่าคือบทเรียนที่สอนให้เขาสามารถก้าวดำเนินต่อไป

ความที่เป็นนักแสดงค่าตัวสูงสุดของหนัง แต่เพราะต้องการสร้างเซอร์ไพรส์ให้กับผู้ชมจึงปฏิเสธร่วมโปรโมท ขึ้นเครดิตตอนต้นเรื่อง ด้วยเหตุนี้ชื่อของ Kevin Spacey จึงปรากฎขึ้นสองครั้งยัง Closing Credit เป็นชื่อแรกเมื่อหนังจบ และระหว่างรวมรายชื่นักแสดง … สังเกตเห็นกันรึเปล่าเอ่ย?
Closing Credit ยังมีอีกลูกเล่นคือเคลื่อนจากบนลงล่าง ผิดแผกแตกต่างจากรูปแบบวิถีที่เคยมีมา (ถ้า Jean-Luc Godard สรรค์สร้างภาพยนตร์ที่ต้องใช้ทีมงานนับร้อยเช่นนั้น ก็คงได้พบเห็นมานานแล้วละ) ซึ่งสามารถสะท้อนเรื่องราวของหนัง มุมมองต่อโลกใบนี้ของผกก. Fincher ว่าทุกสิ่งอย่างได้พลิกกลับตารปัตร คนชั่วได้ดี อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล มนุษย์แสดงออกโดยสันชาติญาณ วันสิ้นโลกาวินาศคือช่วงเวลาที่ทุกสิ่งอย่างเคลื่อนขึ้นจากบนลงล่าง (ไม่ได้พิมพ์ผิดนะครับ)


ตัดต่อโดย Richard Francis-Bruce (1948-) ชาว Australian ทีแรกต้องการเดินตามรอยเท้าบิดา เคยเป็นตากล้องร่วมงานผู้กำกับ Cecil B. DeMille แต่กลับได้งานเป็นนักตัดต่อยัง Australian Broadcasting Corporation (ABC) ฝึกฝนจนเต็มไปด้วยประสบการณ์ มีชื่อเสียงจากการเป็นขาประจำ George Miller อาทิ Mad Max Beyond Thunderdome (1985), The Witches of Eastwick (1987), Lorenzo’s Oil (1992), โด่งดังใน Hollywood กับผลงาน The Shawshank Redemption (1994), Se7en (1995), Air Force One (1997), The Rock (1996), Harry Potter and the Philosopher’s Stone (2001) ฯลฯ
หนังดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองของสองนักสืบ William Somerset และ David Mills ในการสอบสวนคดีฆาตกรต่อเนื่อง ฆาตกรรมโดยอ้างอิงแนวคิดบาปเจ็ดประการ (Seven Deadly Sins) ในระยะเวลาเจ็ดวันเจ็ดคืน และขึ้นข้อความเริ่มต้นจากวันจันทร์ ไปจนสิ้นสุดวันอาทิตย์
- วันจันทร์, Gluttony
- เช้าวันทำงานของ Somerset และ Mills
- คดีฆาตกรรมแรก ชายอ้วนรับประทานอาหารจนท้องแตกตาย
- วันอังคาร, Greed
- คดีฆาตกรรมที่สอง พอพบเห็นข้อความ Greed ทำให้ผู้หมวด Somerset หวนกลับไปยังสถานที่เกิดเหตุแรก และได้ค้นพบข้อความ Gluttony
- ค่ำคืนนั้นผู้หมวด Somerset ใช้เวลาในห้องสมุดสำหรับค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับบาปเจ็ดประการ
- วันพุธ
- Somerset ได้รับการชักชวนจาก Tracy ยินยอมมาร่วมรับประทานอาหารเย็นที่อพาร์ทเม้นท์ของ Mills
- ค้นพบลายนิ้วมือหลังภาพวาดกลับหัวในสถานที่เกิดเหตุของ Greed
- วันพฤหัส, Sloth
- เมื่อตรวจพบว่าเป็นลายนิ้วมือของใคร ปฏิบัติการจับกุมฆาตกร แต่กลับพบเจอศพที่สาม Sloth
- วันศุกร์
- Tracy นัดพบเจอ Somerset เพื่อขอคำปรึกษาเกี่ยวกับบุตรในครรภ์
- Somerset แนะนำให้ Mills รู้จักการใช้เส้นสาย จนได้ชื่อชายผู้ต้องสงสัย
- เดินทางไปยังห้องพักแห่งหนึ่ง โดยไม่รู้ตัวนั่นคือห้องของฆาตกรต่อเนื่อง Mills พยายามติดตามไล่ล่า แต่ได้รับบาดเจ็บเสียก่อน
- เปิดห้องออกมาพบเห็นหลักฐาน
- วันเสาร์, Lust
- ติดตามจากหลักฐานที่ค้นพบ มาจนพบศพโสเภณีถูกเข่นฆาตกรรม
- พยายามซักฟอกผู้ต้องหา แต่ก็ไม่ได้ความอะไรเป็นประโยชน์ต่อรูปคดีนัก
- วันอาทิตย์, Pride, Envy, Wrath
- พบศพที่มีข้อความ Pride
- แล้วจู่ๆ John Doe เข้ามามอบตัวพร้อมมือเปื้อนเลือด ยื่นคำขอให้ Somerset และ Mills ออกเดินทางไปยังพื้นที่ห่างไกล แล้วจะบอกว่าอีก 2-3 ศพอยู่แห่งหนไหน
- เมื่อเดินทางมาถึงดินแดนรกร้างห่างไกล อธิบายการฆาตกรรม Envy และเป้าหมายสุดท้ายคือนักสืบ Mills
การตัดต่อ ‘สไตล์ Fincher’ เลื่องลือชาในความบ้าระห่ำชิบหาย เต็มไปด้วยรายละเอียดยิบย่อยมากมาย โดยเฉพาะหลักฐานประกอบคดีความ ร้อยเรียงปะติดปะต่อได้อย่างแนบเนียบ ไม่รู้สึกถึงความยัดเยียดเลยสักนิด! ใช้เทคนิคอย่าง Fade In-Out, Cross-Cutting, Jump-Cut และไฮไลท์คือสามเส้าไคลน์แม็กซ์ ตัดสลับไป-มาเพื่อสร้างบรรยากาศตึงเครียด กดดัน และวินาทียิงปืน แทรกภาพขณะลั่นไกแค่เสี้ยววินาทีกระพริบตาเท่านั้น!
Se7en (1995) เป็นภาพยนตร์ที่ผมอยากแนะนำให้กับคนทำงานสายตัดต่อมากๆ ผมนั่งศึกษาฉากที่ Somerset ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเจ็ดบาปในห้องสมุด แล้วยังรู้สึกอึ้งทึ่งต่อลีลาการลำดับภาพ ไม่ใช่แค่ตัดสลับไปมาง่ายๆระหว่างใบหน้านักแสดงกับหน้าหนังสือที่เปิดอ่าน บางครั้งเฟดช้าๆ, ตัดเร็วๆ, ค้างไว้สักพักเหมือนกำลังครุ่นคิด, สลับภาพช็อตต่อช็อต, โฟกัสที่รายละเอียด, เปิดหนังสือสองสามหน้าแล้วค่อยหวนกลับหานักแสดง ฯลฯ ทุกรายละเอียดล้วนมีเรื่องราวซุกซ่อนเร้นอยู่
แซว: หนังความยาว 127 นาที เทียบเท่ากับม้วนฟีล์ม 7 reel พอดิบดี!
เพลงประกอบโดย Howard Leslie Shore (เกิดปี 1946) นักแต่งเพลงชาว Canadian เกิดที่ Toronto, Ontario ค้นพบความสนใจด้านดนตรีตั้งแต่อายุ 8-9 ขวบ มีความสามารถเล่นดนตรีได้หลากหลาย เลยเข้าเรียนต่อ Berklee College of Music จากนั้นเป็นสมาชิกวงดนตรี Lighthouse แนว Jazz Fusion, ต่อด้วย Music Director ให้รายการโทรทัศน์อย่าง Saturday Night Live, สำหรับภาพยนตร์เริ่มต้นจากเป็นขาประจำ David Cronenberg อาทิ The Brood (1979), The Dead Zone (1983), The Fly (1986), Dead Ringers (1988), Naked Lunch (1991), Crash (1996), ผลงานเด่นๆ อาทิ The Silence of the Lambs (1991), Ed Wood (1994), Se7en (1995), The Game (1997), The Lord of the Rings trilogy (2001-03) ** คว้ารางวัล Oscar ทั้งหมด 3 ครั้ง, Gangs of New York (2002), The Aviator (2004), Hugo (2011) ฯลฯ
ด้วยประสบการณ์จากหนัง Horror ของผู้กำกับ David Cronenberg, งานเพลงของ Shore จึงเต็มไปด้วยสัมผัสอันหลอกหลอนลุ่มลึก เสียวสันหลัง สั่นสะท้านทรวงใน ด้วยท่วงทำนองเนิบๆนาบๆ ไม่มีความกระโตกกระตาก เพื่อสื่อถึงความชั่วร้ายที่หลบซ่อนเร้นอยู่ภายใต้ จนกว่าจะมีใครค้นพบเจอ ท่วงทำนองถึงเอ่อล้นด้วยพลัง ระดับที่ไม่มีใครสามารถต่อต้านทานดังกล่าว
แม้หนังจะไร้ซึ่ง Main Theme แต่ก็มีการตั้งชื่อบทเพลงตามบาปทั้งเจ็ดประการ (Gluttony, Greed, Sloth, Lust, Pride, Ency, Wrath) จุดนี้ถือว่ามีความคิดสร้างสรรค์น่าสนใจ แต่น่าเสียดายที่ Shore ยึดติดกับเหตุการณ์เกิดขึ้นในหนังเกินไป บทเพลงเหล่านี้จึงไม่สามารถมอบสัมผัสอันแท้จริงเกี่ยวกับบาปประการนั้นๆออกมา (หลับตาฟังก็ไม่อาจจินตนาการว่าเกี่ยวกับบาปอะไร)
แต่ก็พอมีบ้างที่สามารถครุ่นคิดตีความ ยกตัวอย่าง Gluttony มีสิ่งหนึ่งที่ผมค่อนข้างชื่นชอบ คือการค่อยๆไต่ระดับท่วงทำนองให้สูงขึ้นเรื่อยๆ สามารถสื่อถึงความตระกะตระกรามที่ค่อยๆเพิ่มปริมาณ จนถึงจุดๆหนึ่งมากเกินพอดี ทำให้ปะทุระเบิดออก ท้องแตกตาย
Sloth เป็นอีกบทเพลงมีความน่าสนใจมากๆ เพราะแทนที่จะมีท่วงทำนองของความขี้เกียจคร้าน แต่กลับเต็มไปด้วยความกระตือรือล้น ตื่นเต้น รุกเร้าใจ เพราะเรื่องราวเริ่มต้นตั้งแต่ตำรวจเตรียมพร้อมปฏิบัติภารกิจ บุกทะลายรังโจร จับกุมฆาตกรต่อเนื่อง แต่สิ่งค้นพบกลับเพียงอาชญากรถูกพันธการแน่นิ่งอยู่บนเตียง ไม่ได้กิน ไม่ได้นอน พังพาบตายไม่ตายแหล่ แล้วจะเอาเรี่ยวแรงที่ไหนไปเข่นฆาตกรรมผู้อื่น
เกร็ด: ใครเคยรับชม Cape Fear (1962) และ Cape Fear (1991) น่าจะรู้สึกมักคุ้นกับบทเพลงนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
Wrath เป็นบทเพลงที่แสดงความอหังกา เกรี้ยวกราดโกรธา ออกมาได้อย่างเด่นชัดเจนที่สุด (ในบรรดาบาปทั้งเจ็ด) ท่วงทำนองเอ่อล้นด้วยพลัง ไม่มีอะไรต้องปกปิดบัง เพราะมันคือบาปสุดท้ายที่ John Doe ต้องการเทศนาสั่งสอนมวลมนุษย์ เพื่อบอกว่าคนยุคสมัยใหม่ ไร้ซึ่งความสามารถในการหักห้ามใจตนเอง ไม่ให้โกรธ ไม่ให้เกลียด เคียดแค้นใครก็ต้องล้างแค้นเอาคืน ‘ตาต่อตา ฟันต่อฟัน’ ใช้อารมณ์แทนที่เหตุผล นั่นถือเป็นจุดจบวันสิ้นโลกอย่างแท้จริง!
สำหรับบทเพลงได้ยินในห้องสมุด ระหว่าง Somerset กำลังค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับบาปเจ็ดประการ นั่นคือ Bach: Orchestra Suite No. 3 in D-major, BWV 1068 หรือที่ใครๆรู้จักกันในชื่อ Air on G String บทเพลงสุดมหัศจรรย์ที่สามารถบรรเลงโดยไวโอลินสายเดียว (เลยได้ชื่อว่า Air บนสายไวโอลิน G)
การเลือกบทเพลงนี้ถือว่าน่าสนใจมากๆ เพราะสายไวโอลิน G คือเส้นเสียงทุ้มต่ำที่สุดของไวโอลิน แต่อยู่ตำแหน่งด้านบนสุดขณะบรรเลง ซึ่งขัดต่อสามัญสำนึกของคนทั่วไป สามารถสะท้อนถึงความกลับตารปัตรของโลกใบนี้ ที่ถือเป็นนัยยะใจความหนึ่งของหนัง
สำหรับ Closing Credit บทเพลง The Hearts Filthy Lesson ขับร้องโดย David Bowie, รวมอยู่ในอัลบัม Outside (1995) ซึ่งจะมีการผสมผสานเสียงสังเคราะห์ ตามสไตล์ Industrial music เนื้อคำร้องไม่ได้มีเนื้อหาสาระอะไร เพียงข้อมูล จากโน่นนิด จากนี่หน่อย คล้ายความฝัน ครึ่งหลับครึ่งตื่น แต่มอบสัมผัสขนลุกขนพอง หลอกหลอก สั่นสะท้านทรวงใน
It doesn’t have a straightforward coherent message to it. It’s just information: make of it what you will. A montage of subject matter, bits from newspapers, storylines, dreams and half-formed thoughts.
David Bowie
บาปเจ็ดประการ (Seven Deadly Sins) หรือบาปต้น (Cardinal Sins) เป็นหลักคำสอนของศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิค สอนไม่ให้มนุษย์กระทำตามสัญชาตญาณตนเองมากเกินไป เป็นบาปประเภทรุนแรงที่ไม่สามารถยกโทษให้อภัย เรียงลำดับ(ตามความรุนแรงจากน้อยไปหามาก)
- ราคะ (lust) การคิดในทางเสื่อม ต้องการเป็นที่สนใจจากผู้อื่น หมกมุ่นทางเพศ บังเกิดความใคร่ในทางทุจริต อาทิ การมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์ กับพ่อแม่หรือลูกหลานตัวเอง รวมถึงการข่มขืน ลักลอบคบชู้ ผิดเพศกำเนิด ฯลฯ
- บทลงโทษผู้กระทำบาปข้อนี้คือ ถูกรมด้วยสารกำมะถันและไฟ และ ตัดอวัยวะเพศ
- ตะกละ (gluttony) การสนองความต้องการโดยไม่หยุดยับยั้งคิด มุ่งร้ายเอาของคนอื่น หรือบริโภคสิ่งต่างๆจนขาดการไตร่ตรอง มากจนความจำเป็น
- บทลงโทษของผู้ตะกละในนรก คือการถูกกินทั้งเป็นโดยหนู คางคก และงู
- โลภะ (greed) ความทะเยอทะยานอันแรงกล้าในการให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินและอำนาจ โดยไม่คำนึงถึงวิธีการหรือคุณธรรมอันใด ไม่ว่าจะเป็นการลักขโมย ยักยอก ขู่กรรโชกทรัพย์ หรือกักเก็บทรัพย์สินโดยไม่แบ่งปันช่วยเหลือผู้อื่น และยังรวมถึงการหาทรัพย์อย่างทุจริตมาใช้ประโยชน์ทางศาสนาอีกด้วย
- บทลงโทษของผู้ที่โลภมากคือการถูกแช่ในน้ำมันเดือด
- เกียจคร้าน (sloth) ความไม่สนใจใยดีต่อสิ่งต่างๆรอบข้าง ปล่อยปละละเลยหน้าที่การงาน ใช้เวลาอย่างไร้ค่า ให้ผู้อื่นทำงานหนักเพื่อตนเอง
- บทลงโทษของผู้เกียจคร้านคือการถูกโยนลงไปในบ่องูพิษ
- โทสะ (wrath) ความโกรธเคือง พยาบาท อาฆาตมุ่งร้ายที่จะทำสิ่งต่างๆแก่บุคคลที่ตนไม่ชื่นชอบ รวมถึงการล้างแค้น นำไปสู่การใช้ความรุนแรง และเข่นฆาตกรรม
- บทลงโทษของผู้ที่มีบาปโทสะคือ การถูกฉีกร่างทั้งเป็น (ซ้ำแล้วซ้ำเล่า)
- ริษยา (envy) การไม่ยอมรับผู้อื่นที่มีสิ่งต่างๆดีกว่าตนเอง ทั้งด้านทรัพย์สมบัติ รูปร่างหน้าตา อุปนิสัย ความสำเร็จ เกิดความอยากได้อยากมี นำไปสู่การลักขโมย กระทำร้าย ทำลายล้าง ให้บุคคลผู้นั้นต้องรับเคราะห์ที่ไม่ได้ก่อ
- บทลงโทษผู้ที่มีความอิจฉาคือถูกเย็บตาอย่างทรมาน
- อัตตา/อหังกา (pride) ยอดแห่งบาปทั้งปวง หมายถึงความต้องการเป็นบุคคลสำคัญ มีอำนาจเหนือผู้อื่นใด รักตนเองมากจนเกินไป หลงระเริงในทุกสิ่งอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปรียบตนเองเทียบเท่าพระเป็นเจ้า
- บทลงโทษของผู้ที่โอหังคือการถูกทรมานบนวงล้อ (มัดกับวงล้อแล้วให้วงล้อหมุนเรื่อยๆ ผู้ถูกทรมานจะถูกบดขยี้กับพื้น)
Se7en (1995) นำเสนอเรื่องราวการสืบสวนสอบสวน ไล่ล่าติดตามตัวฆาตกรต่อเนื่อง (Serial Killer) ที่ใช้แนวคิดของบาปเจ็ดประการ (Seven Deadly Sins) เป็นข้ออ้างในการเข่นฆาตกรรม โดยเป้าหมายไม่ได้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงอะไรกัน แต่มีลักษณะประมาณว่า … (ขอเรียงลำดับตามการฆาตกรรมนะครับ)
- ตะกละ (gluttony) คือบุคคลทานอาหารมากเกินไปจนท้องแตกตาย (มันไม่ได้โพล๊ะแตก แต่เลือดตกภายในจนสิ้นใจ)
- การกินสามารถสื่อถึงแนวคิด ‘บริโภคนิยม’ ซึ่งไม่ได้หมายถึงแค่การรับประทานอาหารเท่านั้นนะครับ ทุกสิ่งอย่างที่เกิดจากการจับจ่ายใช้สอย ให้ได้มาครอบครองเป็นเจ้าของ ล้วนคือการ ‘บริโภค’ ด้วยกันทั้งนั้น!
- โลภะ (greed) ทนายความสนเพียงเงินๆทองๆ ขึ้นให้การแก่โจทก์กระทำความผิด จนสามารถหลุดพ้นมลทิน
- ในบริบทนี้น่าจะต้องการสื่อถึงเงินทองสามารถซื้อความถูกต้อง ทำให้มนุษย์สูญสิ้นความละอายต่อบาป กระทำทุกสิ่งอย่างโดยไม่สนศีลธรรม มโนธรรม ไร้ซึ่งความยุติธรรมทางโลกอีกต่อไป
- เกียจคร้าน (sloth) พ่อค้ายาถูกผูกมัด พันธการ ไม่สามารถขยับเคลื่อนไหว รับประทานอาหารมานานกว่าหนึ่งปี
- ซีเควนซ์นี้นำเสนอเคียงคู่ขนานกับความกระตือรือล้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่โดยปกติจะทำงานกันอย่างเฉื่อยชักช้า สรรหาสรรพข้ออ้างขี้เกียจคร้าน แต่พอเป็นเรื่องทำแล้วจะได้ผลงาน มีหน้ามีตา ก็แสดงความระริกระรี้ เร่งรีบร้อน … นึกภาพตำรวจไทย
- คงต้องการสะท้อนถึงความกระตือรือในเรื่องไม่เป็นเรื่อง สนเพียงอำนาจ ชื่อเสียง เงินทอง ตอบสนองความพึงพอใจส่วนตน แล้วเพิกเฉยเฉื่อยชาต่อความถูกต้องดีงาม หรือสิ่งสร้างประโยชน์ให้สังคม
- ราคะ (lust) โสเภณีขายตัว โดยให้ชายซื้อบริการสวมดิลโด (dildo) มีลักษณะแท่งมีด ทิ่มแทงขณะมีเพศสัมพันธ์
- นัยยะฉากนี้ก็ตรงไปตรงมาถึงการเปิดกว้างทางเพศของสังคมยุคสมัยปัจจุบัน ถือว่าเป็นสิ่งขัดต่อหลักศีลธรรมศาสนา การปล่อยตัวไปกับตัณหาราคะ เมื่อตกตายไปก็จะรับรู้เองว่าต้องทุกข์ทรมานสักเพียงไหน
- อัตตา/อหังกา (pride) หญิงสาวผู้มีความลุ่มหลงใบหน้าตาของตนเอง แต่หลังจากถูกข่มขืนกระทำเรา สูญเสียความสวยสาว จึงตัดสินใจทานยานอนหลับฆ่าตัวตาย
- ผมครุ่นคิดว่าเป็นการสื่อถึงความหลงตนเอง คิดว่าฉันสวย-หล่อ มีดีที่ภายนอก แต่เนื้อในกลับอัปลักษณ์ น่าขยะแขยง แค่เพียงสูญเสียรูปลักษณ์ (ที่อุตส่าห์เสียเงินทำมา) ก็แสดงทีท่าจะเป็นจะตาย
- ริษยา (envy) ไม่ใช่ว่า Tracy มีความริษยาผู้ใด แต่เป็น John Doe รู้สึกอิจฉาเธอและสามี ต่อชีวิตที่สุขสบาย เพลิดเพลินสำเริงกาย-ใจ ไม่ยี่หร่ากับสิ่งชั่วร้ายบนโลกที่ไม่ต่างจากขุมนรก
- โลกปัจจุบันคือยุคสมัยแห่งการอวดอ้าง อวดร่ำอวดรวย อวดความภาคภูมิใจในตนเอง แต่นั่นทำให้บุคคลอื่นบังเกิดความอิจฉาริษยา อยากได้อยากมี ก่อให้เกิดการลอกเลียนแบบ พร้อมกระทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้ได้ครอบครองเป็นเจ้าของ … จะได้อวดร่ำอวดรวย เวียนวนเข้าสู่วงจรอุบาศว์ไม่รู้จักจบสิ้น
- โทสะ (wrath) หลังจากนักสืบ Mills รับรู้สิ่งเกิดขึ้นกับภรรยา ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเอง บันดาลโทสะ ตัดสินใจล้างแค้น เข่นฆาตกรรม John Doe
- สะท้อนถึงการใช้อารมณ์ในการแก้ปัญหา ทำให้หน้ามืดตามัว สูญเสียสติสัมปชัญญะ ความสามารถในการครุ่นคิด ตรรกะ เหตุผล กระทำสิ่งตอบสนองสันชาตญาณของตน
มันมีความจำเป็นอะไรที่ฆาตกรต้องครุ่นคิดแผนการฆาตกรรมต่อเนื่อง ให้สอดคล้องแนวคิดบาปเจ็ดประการ? ก็อย่างที่นักสืบ Somerset อธิบายไว้ว่า หมอนี่เหมือนต้องการเทศนาสั่งสอน บอกกล่าวอะไรสักอย่างต่อสาธารณชน เปรียบเทียบก็คือผกก. Fincher ต้องการนำเสนออะไรบางอย่างบอกต่อผู้ชมภาพยนตร์เรื่องนี้
ความล้มเหลวจาก ALIEN³ (1992) คือตราบาปที่สร้างความท้อแท้สิ้นหวัง สูญสิ้นพละกำลังกาย-ใจ ทำให้ผกก. Fincher เรียนรู้จักโลกความเป็นจริงที่แสนเหี้ยมโหดร้าย ถูกโปรดิวเซอร์/สตูดิโอทรยศหักหลัง เพียงเพื่อผลประโยชน์เงินๆทองๆ ชื่อเสียง ความสำเร็จ ใช้อำนาจสร้างความชอบธรรมให้ตนเอง
Se7en เป็นภาพยนตร์ที่สะท้อนมุมมองผกก. Fincher ต่อวิถีของโลกในปัจจุบันนั้น-นี้ ที่กำลังมุ่งสู่หายนะ ใกล้ถึงวันสิ้นโลกาวินาศ บาปทั้งเจ็ดประการตามความเชื่อของชาวคริสต์ สามารถพบเห็นได้อย่างปกติสามัญในชีวิตประจำวัน มนุษย์สูญเสียสิ้นความละอายต่อบาป เช่นนั้นแล้วสถานที่แห่งนี้ไม่ต่างจากขุมนรกเลยสักนิด!
มันไม่ใช่ว่าผกก. Fincher มีความเชื่อศรัทธาต่อศาสนาคริสต์นะครับ คุ้นๆว่าเคยให้สัมภาษณ์บอกว่าตนเองเป็น Non-Religious (ส่วน Brad Pitt และ Morgan Freeman บอกว่าเป็น Atheist, อเทวนิยม ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้า) ดังนั้นการสรรค์สร้างภาพยนตร์บาปเจ็ดประการ จึงแทบไม่มีความสัมพันธ์ใดๆเกี่ยวกับศาสนา นอกเสียจากนำมาเป็นข้ออ้างอิงถึงวันสิ้นโลกาวินาศเท่านั้นเอง
อีกสิ่งหนึ่งที่ผมว่าน่าสนใจโคตรๆ มนุษย์ยุคสมัยนั้น-นี้ นิยมชมชอบการใช้ ‘อารมณ์’ ตอบสนองสัญชาตญาณ ความต้องการส่วนบุคคล ซึ่งมักทำให้ขาดการครุ่นคิด ไม่รู้จักหยุดยับยั้งชั่วใจ นั่นเป็นสิ่งที่ผกก. Fincher ไม่ชื่นชอบเอาเสียเลย ดูอย่างวิธีทำงานด้วยความละเอียด ละเมียดไม พิถีพิถัน (พิรี้พิไร) เพื่อให้ทุกสิ่งอย่างดำเนินไปตามวิสัยทัศน์วางแผนไว้อย่างเปะๆ จนแทบไม่หลงเหลือพื้นที่สำหรับ(นักแสดง)สำแดงอารมณ์ ถ่ายทำด้วยสันชาติญาณ หรือปล่อยตามความน่าจะเป็นเลยสักครั้ง
Se7en (1995) ราวกับภาคต้นของไตรภาค The Game (1997) และ Fight Club (1999) ในแง่มุมของแนวคิด โครงสร้างนำเสนอ ประสบการณ์ผู้กำกับ Fincher ในช่วงเวลาหลังจากหายนะของ ALIEN³ (1992) เรียนรู้ที่จะลุกขึ้น ก้าวเดิน เริ่มต้นชีวิตใหม่
ขณะเดียวกันถ้ามองในแง่สืบหนังอาชญากรรม สืบสวนสอบสวน หลังจาก Se7en (1995) ก็ติดตามด้วย Zodiac (2007), The Girl with the Dragon Tattoo (2011), ปีหน้าน่าจะได้ดู The Killer (2023), ทั้งยังกำกับซีรีย์ Mindhunter (2017-19) เรียกว่าเป็นแนวถนัด โปรดปรานเลยก็ว่าได้
ด้วยทุนสร้าง $33 ล้านเหรียญ เข้าฉายสัปดาห์แรกทำเงินได้เพียง $13.9 ล้านเหรียญ แต่กระแสปากต่อปากและคำชื่นชมจากนักวิจารณ์ ทำให้ค้างอันดับหนึ่งยาวนานถึง 4 สัปดาห์ ก่อนจบโปรแกรมในสหรัฐอเมริกา $100.1 ล้านเหรียญ รวมรายรับทั่วโลก $327.3 ล้านเหรียญ สูงอันดับ 7 ของปี!
ช่วงปลายปีหนังได้เข้าชิง Oscar เพียงสาขาเดียว Best Film Editing แต่ก็พ่ายให้กับ Apollo 13 (1995) เรียกว่าถูกมองข้ามโดยสิ้นเชิง เพียงกาลเวลาได้พิสูจน์คุณภาพของ Se7en (1995) เหนือล้ำกว่าภาพยนตร์เรื่องใดๆที่เข้าชิงปีนั้น (Braveheart, Apollo 13, Babe ฯลฯ)
หวนกลับมารับชมรอบนี้ทำให้ผมชื่นชอบหนังขึ้นมานิดๆหน่อยๆ ประทับใจในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ บรรยากาศวันสิ้นโลก โปรดักชั่นงานสร้าง รวมถึงความเป็นส่วนตัวของผู้กำกับ Fincher พูดกล่าวออกมาจากปากของ Kevin Spacey ได้อย่างทรงพลัง! เหนือกาลเวลา
แนะนำคอหนังอาชญากรรม สืบสวนสอบสวน ค้นหาฆาตกรต่อเนื่อง (Serial Killer) สั่นสะเทือนจิตวิทยา (Psychology), หลงใหลบรรยากาศวันสิ้นโลก เต็มไปด้วยความอึมครึม เปียกปอน สัมผัส Neo-Noir, นักปรัชญา นักสอนศาสนา สนใจแนวคิดบาปเจ็ดประการ (Seven Deadly Sins), นักออกแบบงานสร้าง นักแต่งหน้า Special-Effect ชื่นชอบศิลปะ Grotesque, ตำรวจ นักสืบ ทำงานอาชญากรรม รับชมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และนักตัดต่อ ศึกษาเทคนิคลีลา ‘สไตล์ Fincher’ มีอะไรให้น่าค้นหาเต็มไปหมด
จัดเรต 18+ กับฆาตกรต่อเนื่อง วิธีการสุดวิปลาส บาปเจ็ดประการของมนุษย์
Leave a Reply