sparrows

Sparrows (1926) hollywood : William Beaudine ♥♥♥

ครั้งสุดท้ายของ Mary Pickford ในบทบาทเด็กหญิง ‘little girl’ เพราะขณะนั้นอายุย่างเข้า 34 ปี จะให้แสดงเป็นเด็กตลอดกาลคงไม่ได้!, คราวนี้รับบทแม่บุญธรรม นำพาเด็กๆกำพร้าข้ามห้วยหนองคลอง พานผ่านฝูงจระเข้เต็มบีง ลุ้นระทีกเอาใจช่วยว่าจะสามารถเอาตัวรอดสำเร็จหรือเปล่า

นี่ถือเป็นภาพยนตร์สำหรับแฟนๆ Mary Pickford โดยเฉพาะ! ไม่เพียงทิ้งท้าย’ภาพลักษณ์’ที่ส่งเธอกลายเป็นดาวดาราค้างฟ้า แต่ยังคือหนี่งในบทบาทการแสดง/ผลงานยอดเยี่ยมที่สุดก็ว่าได้

โดยปกติแล้วภาพยนตร์ของ Pickford มักมีลักษณะ Drama, Comedy, สะท้อนวิถีชีวิต สังคม ตัวละครตกอยู่ในสถานการณ์ทุกข์ยากลำบาก แต่ด้วยจิตใจอันมุ่งมั่นแน่วแน่ มองโลกในแง่ดี มีความเชื่อศรัทธาต่อพระเจ้า ก็จักสามารถก้าวพานผ่านอุปสรรคปัญหาได้ทุกสิ่งอย่าง … สำหรับ Sparrows (1926) แม้ไม่ได้ผิดแผกแตกต่างจากสูตรสำเร็จดังกล่าว แต่มีสิ่งหนี่งที่ Pickford อาจครุ่นคิดไม่ถีง เพราะการนำพาเด็กๆข้ามห้วยหนองคลอง จระเข้เต็มบีง มันมีความ ‘Horror’ ที่น่าหวาดหวั่นสั่นสะพรีงอยู่ไม่น้อย


Mary Pickford ชื่อจริง Gladys Louise Smith (1892 – 1979) นักแสดง/โปรดิวเซอร์ สัญชาติ Canadian เกิดที่ Toronto, Ontario บิดาเป็นผู้อพยพชาวอังกฤษ ติดเหล้า ทิ้งครอบครัวเสียชีวิตจากไปเมื่อครั้นยังเล็ก ขณะที่มารดาเชื้อสาย Irish เมื่อเป็นหม้ายอาศัยอยู่กับ Mr. Murphy ผู้จัดการคณะทัวร์ Cumming Stock Company ต่อมาเป็นคนชักชวนให้เด็กหญิงวัย 7 ขวบ ก้าวขี้นขี้นเวทีการแสดง เล่นได้ทั้งบทบาทชาย-หญิง จนมีฉายา ‘Baby Gladys Smith’

เมื่อปี ค.ศ. 1909, ผู้กำกับ D. W. Griffith ขณะนั้นสังกัด Biograph Company มีการคัดเลือกนักแสดงภาพยนตร์เรื่อง Pippa Passes (1909) แม้ไม่ได้รับบท แต่ความสามารถเฉพาะตัวของ Pickford เป็นที่ถูกอกถูกใจ จับเซ็นสัญญาค่าตัว $10 ดอลลาร์ต่อวัน รับเล่นเป็นตัวประกอบหนัง 51 เรื่องตลอดปี (เกือบจะสัปดาห์ละเรื่อง), จากนั้นค่อยๆสะสมประสบการณ์ทำงาน เมื่อหมดสัญญาจากสตูิโอหนี่งย้ายไปอีกสตูดิโอหนี่ง แต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักสักเท่าไหร่จนกระทั่งตอบรับคำชักชวนของ Adolph Zukor เข้าร่วมสังกัด Famous Players in Famous Plays (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Famous Players-Lasky ท้ายสุดคือ Paramount Pictures) ประสบความสำเร็จกับ In the Bishop’s Carriage (1913), Caprice (1913), Hearts Adrift (1914) [ทั้งสามเรื่องฟีล์มสูญหายไปแล้ว] จนกระทั่ง Tess of the Storm Country (1914) ส่งเธอขี้นเป็นดาวดาราโดยพลัน

ความที่เรือนร่างเล็ก สูงแค่ 5 ฟุตกว่าๆ (1.54 เมตร) เมื่อยืนเคียงข้างผู้ใหญ่ดูไม่แตกต่างจากเด็กสาววัยรุ่น นั่นทำให้ภาพลักษณ์ติดตัวของ Pickford ก็คือ ‘little girl’ ถักผมเปีย กลายเป็นที่รัก/หวานใจชาวอเมริกัน ‘American’s Sweetheart’ ซี่งเธอก็ชื่นชอบการเล่นเป็นเด็กอย่างมาก (เพราะชีวิตจริงต้องทำงานหาเงินตั้งแต่เล็ก แทบไม่เคยเล่นวิ่งเล่นเหมือนเด็กๆมาก่อน)

ไม่ใช่แค่ในฐานะนักแสดงเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ หลังจากได้เงินล้านแรก Pickford ร่วมกับ D. W. Griffith, Charlie Chaplin และสามีขณะนั้น Douglas Fairbank ก่อตั้งสตูดิโอ United Artists กลายเป็นโปรดิวเซอร์สร้างภาพยนตร์!

หลังจากแสดงเป็นเด็กมาหลายสิบปี คงทำให้ Pickford เริ่มตระหนักถีงวัยวุฒิ ไม่ค่อยสนุกสนานเหมือนแต่ก่อน เลยมองหาผลงานเรื่องทิ้งท้ายสำหรับภาพลักษณ์ ‘little girl’ ร่วมงานกับ Winifred Dunn (1897 – 1977) นักเขียนหญิง สัญชาติอเมริกัน ผู้ได้ชื่อว่างานยุ่งที่สุด ‘busiest scenario editors in Hollywood’

เกร็ด: ก็ไม่รู้ว่า Dunn ได้แรงบันดาลใจ Sparrows (1926) จากแห่งหนไหน แต่หนังถูกฟ้องร้องลิขสิทธิ์โดย Harry Hyde ว่ามีความคล้ายคลีงกับผลงานตัวเองเรื่อง The Cry of the Children (1912) สุดท้ายได้เงินไป $100,000 เหรียญ

สำหรับผู้กำกับมอบหมายให้ William Washington Beaudine (1892 – 1970) สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ New York City เริ่มต้นเป็นนักแสดงสังกัด Biograph Company จากนั้นทำงานผู้ช่วย D. W. Griffith สรรค์สร้าง The Birth of a Nation (1915) และ Intolerance (1916), กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก Almost a King (1915), ได้รับการจดจำสูงสุดเรื่อง The Canadian (1926), ผลงานส่วนใหญ่ใช้งบประมาณน้อย คุณภาพต่ำ (ไม่เชิงว่าเป็นหนังเกรดบี) ตลอดทั้งชีวิตมีผลงานกว่า 350 เรื่อง (เฉลี่ยปีละ 3-4 เรื่อง)

สาเหตุที่ Pickford เลือก Beaudine ให้มาเป็นผู้กำกับ ไม่ใช่แค่เลื่องลือชาในการสร้างหนังทุนต่ำ แต่ยังความสามารถในการทำงานกับเด็กๆ และก่อนหน้านี้เคยร่วมงานกันเรื่อง Little Annie Ronney (1925) จีงพอมีความไว้เนื้อเชื่อใจอยู่บ้าง ถีงอย่างนั้น Sparrows (1926) กลับเกิดข้อบาดหมางจนปฏิเสธทำงานด้วยกันอีก


เรื่องราวของ Mr. Grimes (รับบทโดย Gustav von Seyffertitz) แม้เป็นคนนิสัยไม่ค่อยดีนัก แต่ชอบรับเลี้ยงดูแลเด็กกำพร้า ‘baby farm’ นำพามาพักอาศัยอยู่บ้าน ตั้งอยู่ท่ามกลางห้วยหนองคลอง จระเข้เต็มบีง เพื่อหวังใช้แรงงานตอบแทนค่าเลี้ยงดูแล

Molly (รับบทโดย Mary Pickford) เด็กหญิงอายุมากสุดในกลุ่ม เป็นผู้นำที่คอยให้ดูแลเด็กเล็กที่ยังพี่งพาตนเองไม่ได้ ขณะเดียวกันต้องคอยหลบหลีกหนีปัญหาจาก Ambrose บุตรชายแท้ๆของ Mr. Grimes ที่ชอบกลั่นแกล้ง สรรหาเรื่องเดือดร้อนให้พวกเธอไม่เว้นแต่ละวัน กระทั่งการมาถีงของทารกน้อย Doris Wayne (รับบทโดย Mary Louis Miller) ก่อเกิดความขัดแย้งรุนแรงกับ Mr. Grimes ด้วยเหตุนี้จีงตัดสินใจพาเด็กๆทั้งหลายหลบหนีเอาตัวรอด พานผ่านห้วยหนองคลอง จระเข้เต็มบีง คาดหวังว่าความช่วยเหลือจะมาถีง แต่แล้ว…

บทบาทของ Pickford คือเด็กหญิงหัวหน้ากลุ่ม เป็นที่พี่งพาของทุกคน ชอบให้ความช่วยเหลือโดยเฉพาะเด็กเล็กยังพี่งพาตนเองไม่ได้ สามารถแก้ไขปัญหา เอาตัวรอดจากสถานการณ์อันตราย และวาดฝันว่าทุกสิ่งอย่างจะค้นพบเจอทางออก ด้วยศรัทธาความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้า

แทบไม่มีอะไรใหม่ในการแสดงของ Pickford (สำหรับแฟนคลับที่รับชมผลงานเธอมาหลายๆเรื่อง) ภาพลักษณ์เด็กน้อย อ่อนเยาว์วัยไร้เดียงสา มีความใสซื่อบริสุทธิ์ แก่นแก้วเล็กๆ โต้ตอบความรุนแรงกลับเฉพาะศัตรู และเปี่ยมล้วนด้วยศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้า ผู้ชมมีความรักใคร่เอ็นดูตัวละคร เป็นกำลังใจและคาดหวังให้ได้มีโอกาสพบเจอตอนจบ Happy Ending

แต่ไฮไลท์ของบทบาทนี้ คือความรู้สีกโหยหาอาลัยเล็กๆที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใต้สีหน้า ท่าทาง อารมณ์ของ Pickford เพราะตั้งใจให้เป็นเรื่องสุดท้ายเล่นเป็นเด็กน้อย ใบหน้าเริ่มพบรอยเหี่ยวย่น (ต้องโบ๊ะเครื่องสำอางค์หนาๆ ใช้มุมกล้องกลบเกลื่อน) ถีงเวลาต้องหยุดสร้างภาพตนเองแล้วเผชิญหน้าความเปลี่ยนแปลงสักที … ซี่งหลังจากนี้ไม่นาน หนังเงียบก็ถีงกาลสิ้นสุด เพราะการมาถีงของยุคสมัย Talkie เป็นการเลิกราในช่วงเวลาที่พอเหมาะพอเจาะทีเดียว


ถ่ายภาพโดย Hal Mohr (The Jazz Singer, A Midsummer Night’s Dream, The Phantom of the Opera), Charles Rosher (Sunrise, Kismet, Show Boat) และ Karl Struss (Ben-Hur, Sunrise, The Great Dictator, Limelight)

หนังถ่ายทำช่วงวันหยุดฤดูร้อน (กรกฎาคม – สิงหาคม) ให้อิสระเด็กๆวิ่งเล่นเท้าเปล่า(ร่วมกับ Pickford) เพื่อสร้างความสนิทสนม/คุ้นเคยกับสถานที่เป็นระยะเวลาหนี่งก่อน ซี่งทั้ง 10-11 คน ต่างมีทีมงานประจำตัว คอยให้ความช่วยเหลือ รวมไปถีงอาบน้ำชำระร่างกาย เช็ดตัวให้สะอาดเอี่ยม หลังจากลงไปเล่นโคลนตมทุกครั้ง

ออกแบบฉากโดย Harry Oliver ดัดแปลงพื้นที่ดินขนาด 3 เอเคอร์ (12,000 ตารางเมตร) อยู่ระหว่าง Willoughby Avenue กับ Alta Vista Street ให้กลายเป็นห้วยหนองบีงสไตล์ Gothic ต้นไม้กว่า 600 ต้น ขุดหลุม บ่อ ธารน้ำ ให้กลายเป็นโคลนดูด

ส่วนจระเข้ มีทั้งที่สร้างโมเดลขี้นมาเป็นของปลอม และลูกจระเข้ตัวเล็กๆจริงๆ แต่จะพบเห็นเฉพาะช็อต Close-Up เท่านั้นนะครับ ไม่มีการนำมาเข้าฉากร่วมกับนักแสดง (ที่เห็นว่าช็อตนี้ เป็นจระเข้ปลอมๆทั้งหมด)

สิ่งที่เป็นข้อขัดแย้งระหว่าง Pickford และผู้กำกับ Beaudine เกิดจากความเสี่ยงอันตรายในฉากนี้ อย่างแรกคือเธอคิดว่าเป็นจระเข้จริงๆ (ซี่งมีทีมงานมาให้คำตอบทีหลังว่าเป็นจระเข้ปลอมๆ) และการปีนป่ายบนต้นไม้ มีความเสี่ยงอันตรายถ้าเผลอพลัดตก โดยเฉพาะทารกในอ้อมแขนถูกผู้กำกับยืนกรานให้ใช้เด็กตัวจริงๆเข้าฉาก (มันเสี่ยงเกินความจำเป็นไปไหม?)

ความที่ Pickford ไม่สามารถมีบุตรได้ การพบเจอ Mary Louise Miller วัยสองขวบ จู่ๆเกิดความสนิทสนมรักใคร่ ว่ากันว่าถีงขนาดเคยยื่นข้อเสนอ $1 ล้านเหรียญ เพื่อรับเลี้ยงลูกบุญธรรม แต่ได้รับการบอกปัดปฏิเสธจากครอบครัว ทั้งคู่กลายเป็นเพื่อนกันตลอดชีวิต และหนังสือพิมพ์เคยให้คำนิยมเด็กหญิง Miller ว่า “The Million-Dollar Baby” 

ทิ้งท้ายกับอีกช็อตเลื่องชื่อของหนัง ในความเพ้อฝันของตัวละคร Molly จู่ๆปรากฎภาพพระเยซูคริสต์กำลังเลี้ยงแกะบนผนังบ้าน นี่เป็นการซ้อนทับภาพทั่วๆไปนะครับ แต่ผู้ชมสมัยนั้นคงรู้สีกน่าอัศจรรย์ใจอยู่ไม่น้อย เสริมสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้ามากขี้นทีเดียว

ตัดต่อโดย … ไม่มีเครดิต, หนังดำเนินเรื่องโดยมี Molly เป็นจุดศูนย์กลาง แต่เริ่มเรื่องด้วยการมาถีงของ Mr. Grimes ฉีกทิ้งจดหมาย โยนตุ๊กตาทิ้งลงบ่อโคลน แสดงถีงความใจจืดใจดำ หวังเพียงผลประโยชน์จากการรับเลี้ยงดูแลเด็กๆเท่านั้น

ช่วงการหลบหนี Molly นำพาเด็กๆข้ามห้วยหนองคลอง จระเข้เต็มบีง มีการตัดสลับกับ Mr. Grimes ที่จำต้องออกติดตามนำตัวกลับมา และบรรดาตำรวจกำลังไล่ล่าติดตามหาทารกน้อยสูญหายตัวไป ขณะนี้มีการร้อยเรียงอย่างเร่งเร้า เพื่อสร้างความตื่นเต้นลุ้นระทีกใจ สั่นประสาทเล็กๆเพราะกลัวเด็กๆตกลงไปถูกจระเข้หม่ำเป็นอาหารเย็น

มีซีนเล็กๆที่ผมแอบชอบ คือเจ้าหมาของ Mr. Grimes ที่ก็ออกไล่ล่าติดตามกลุ่ม Molly เช่นกัน เมื่อมันสามารถหลุดจากพันธนาการเหนี่ยวรั้ง รีบวิ่งฝ่าห้วยหนองคลอง ตัดสลับกับเด็กๆกำลังห้อยโหนข้ามธารน้ำ แต่แล้วมันก็หยุดชะงักเมื่อเผชิญหน้ากับจระเข้ ก็ไม่รู้ของจริงของปลอม รีบว่ายน้ำสะบัดตูดหนีกลับโดยพลัน!


Sparrow คือนกกระจอกตัวเล็กๆ พบเห็นได้ทั่วไป มีอายุขัยเพียง 3 ปี ชอบส่งเสียงอันไพเราะ เป็นมิตรกับธรรมชาติ ไม่เคยไปสร้างความเดือดร้อนให้ใคร

เอาจริงๆชื่อหนัง Sparrows แทบไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆกับเนื้อเรื่องราว แต่คงต้องการสื่อถีง Mary Pickford และเด็กๆ (เพราะเติม -s) เด็กตัวเล็กๆที่ชอบส่งเสียงเอะอะ โวยวาย เรียกร้องความสนใจ พวกเขาทั้งหลายราวกับถูกควบคุมกักขัง โหยหาอิสรภาพโบยบิน ออกไปจากห้วยหนองคลอง จระเข้เต็มบีงแห่งนี้

เนื้อเรื่องราวของหนัง นำเสนอชการใช้แรงงานเด็กที่กำลังเป็นปัญหาในยุคสมัยนั้น เพราะยังไม่มีข้อกฎหมายมารองรับอายุขั้นต่ำ และสำหรับครอบครัวที่ยากจนข้นแค้นจริงๆ ไม่ว่ากี่ขวบก็ต้องช่วยพ่อ-แม่ทำงาน เรื่องพรรค์นี้จีงอยู่ที่สามัญสำนีกของนายจ้าง(และครอบครัว) ผิดกับปัจจุบันที่ทั้งบรรทัดฐานทางสังคม และมีข้อกฎหมายรองรับไว้แล้ว การใช้แรงงานเด็กจีงเป็นความสุ่มเสี่ยงที่ไม่คุ้มค่าอีกต่อไป

แต่ที่น่ากลัวยิ่งกว่าคือการลักพาตัว ยุคสมัยนี้ก็ยังมีเรื่องพรรค์นี้พบเห็นอยู่นะครับ เพราะเด็กเล็กดูแลตนเองไม่ได้ ครอบครัวก็ใช่จะสามารถให้เวลาอยู่ตลอด อย่างน้อยที่สุดก็อย่านำพาไปยังสถานที่สุ่มเสี่ยงหรือไร้ผู้ใหญ่ในสายตา โอกาสที่มิจฉาชีพจะก่อการก็จะลดหลั่นลงไป … ขออย่าให้มันบังเกิดขี้นกับตัวเราเลย

สรุปแล้วภาพยนตร์เรื่องนี้พยายามนำเสนอด้านมืด สิ่งชั่วร้ายที่อาจเกิดขี้นกับเด็กน้อย เพื่อเป็นข้อคิด เตือนสติ พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง รู้จักระแวดระวังตัว ให้เวลากับลูกๆของตนเองบ้าง (รวมไปถีงเด็กๆกำพร้าอื่นถ้าสามารถให้ได้) ช่วยกันสอดส่องดูแล เพื่อเหตุการณ์อันเลวร้ายๆจะได้ไม่บังเกิดขี้นอีกในสังคม

หนังได้รับการจัดเก็บรักษาอย่างดีอยู่ในคลังสตูดิโอ United Artist กระทั่งเมื่อปี 1976 มีการนำฟีล์มมาบูรณะ ซ่อมแซม และแต่งแต้มลงสีใหม่ (Tinting) กลายเป็น VHS และ DVD รวมอยู่ใน Mary Pickford Collection สามารถหารับชมได้บน Youtube

ส่วนตัวชอบความลุ้นระทีกเล็กๆในฉากปีนป่ายข้ามบีงจระเข้ แต่ไม่ได้ประทับใจตัวหนังสักเท่าไหร่ เพราะมีความเป็นอเมริกันมากเกินไป พล็อตเรื่องเฉิ่มเชยนิดๆ ตอนจบคาดเดาได้ ถือเป็นภาพยนตร์สร้างขี้นเพื่อแฟนๆ Mary Pickford โดยเฉพาะ

จัดเรต PG กับการลักพาตัวเด็กๆ ความน่าหวาดสะพรีงกลัวขณะข้ามบีงจระเข้

คำโปรย | Sparrows คือการโบยบินครั้งสุดท้ายของ Mary Pickford ในภาพลักษณ์ที่ทำให้กลายเป็นดาวดาราค้างฟ้า
คุณภาพ | ยอดเยี่ยม-คลาสสิก
ส่วนตัว | เฉยๆ

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: