ด้วยสัมผัส Hitchcockian ทำให้การหายตัวไปของหญิงชราบนขบวนรถไฟ เต็มไปด้วยความลึกลับ ซับซ้อน คาดไม่ถึง เธอมีตัวตนจริงหรือไม่? หรือใครบางคนจัดฉาก เล่นละคอนตบตา แต่จะทำไปเพื่ออะไรกัน?
ป้ายกำกับ: 30s
กลุ่มผู้ก่อการร้ายวางแผนก่อวินาศกรรม (Sabotage) ตั้งใจจะระเบิดกรุง London แม้ไม่รู้ด้วยเหตุผลอันใด แต่ด้วยลีลาการนำเสนอสไตล์ Hitchcockian สร้างความตื่นเต้น ระทึกขวัญ สั่นสะท้านทรวงใน
มาสเตอร์พีซเรื่องแรกของ Alfred Hitchcock, ชายคนหนึ่งถูกเข้าใจผิดว่าเป็นสายลับ เลยถูกไล่ล่าติดตาม ต้องออกเดินทางขึ้นเหนือล่องใต้ ผจญภัยไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อขบไขปริศนา The 39 Steps มันคืออิหยังหว่ะ?
Ninjō kami fūsen (1937)
ผลงานสวอนซองของผู้กำกับ Sadao Yamanaka นำเสนอความเปราะบางชีวิต มุมมืดจักรวรรดิญี่ปุ่น พยากรณ์หายนะกำลังจะบังเกิดขึ้น หรือก็คือการมาถึงของ Second Sino-Japanese War (1937-45) และ World War II (1939-45)
น้องชายแอบลักขโมยมีดสั้นซามูไร อาจทำให้พี่สาว (รับบทโดย Setsuko Hara) ต้องรับเคราะห์กรรมด้วยการขายตัวหาเงินมาชดใช้หนี้, Priest of Darkness (1936) นำเสนอมุมมืด โลกใต้ดินของญี่ปุ่นยุคก่อน (Edo period) ที่สามารถสะท้อนเข้ากับสมัยปัจจุบันนั้น ก่อนสงครามโลกครั้งสองได้อย่างน่าหวาดสะพรึง
Tange Sazen Yowa: Hyakuman Ryô no Tsubo (1935)
ไหเงินล้านบรรพบุรุษ ถูกส่งมอบเป็นของขวัญแต่งงานน้องชาย ไม่เห็นคุณค่าสักเท่าไหร่เลยขายต่อคนรับซื้อของเก่า มอบให้บุตรชายใช้เลี้ยงปลาทอง, เรื่องวุ่นๆของการติดตามหาไหเงินล้าน มีความโคตรๆบันเทิง ชิบหายวายป่วนสไตล์ Sadao Yamanaka, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
U samogo sinego morya (1936)
โดยปกติแล้วภาพยนตร์จากสหภาพโซเวียตในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง (Pre-War) มักมีลักษณะสะท้อนสภาพเป็นจริง ชักชวนเชื่อระบอบสังคมนิยม (Socialist Realism) แต่ไม่ใช่สำหรับ By the Bluest of Seas (1936) นำเสนอเรื่องราวรักๆใคร่ๆ กุ๊กกิ๊ก โรแมนติก-คอมเมดี้ (Rom-Coms) ถึงขนาดสร้างความไม่พึงพอใจต่อ Joseph Stalin
ครั้งแรกๆของภาพยนตร์รวมดารา (Ensemble Cast) ดำเนินเรื่องภายในโรงแรมหรูหรา Grand Hotel ณ กรุง Berlin แต่ทั้งหมดถ่ายทำยังสตูดิโอ MGM สามารถคว้ารางวัล Oscar: Best Picture ด้วยการเข้าชิงเพียงสาขาเดียว
À Nous la Liberté (1931)
ผลงานมาสเตอร์พีซของ René Clair ที่ยังคงสะท้อนอคติต่อหนังเสียง (Sound Film) และการมาถึงของยุคสมัยอุตสาหกรรม สร้างแรงบันดาลใจภาพยนตร์ Modern Times (1936) แต่กลับทำให้ Charlie Chaplin ถูกฟ้องร้อง ขึ้นโรงขึ้นศาล จำต้องไกล่เกลี่ยด้วยการยินยอมความ
Le Million (1931)
ความสำเร็จอย่างล้นหลามของ Under the Roofs of Paris (1930) ทำให้ผู้กำกับ René Clair ราวกับถูกหวย กำลังจะร่ำรวย แต่ลอตเตอรี่ใบนั้นเก็บไว้แห่งหนไหน? เรื่องวุ่นๆของการติดตามหาลอตเตอรี่ถูกรางวัล เต็มไปด้วยความขบขัน ฉิบหายวายป่วนระดับโกลาหล
แม้ว่า René Clair จะไม่ค่อยเห็นด้วยต่อการมาถึงของหนังพูด (Talkie) แต่ก็ได้ทดลองผิดลองถูกกับ Under the Roofs of Paris (1930) ใช้ประโยชน์จากเสียงและความเงียบได้อย่างโคตรๆสร้างสรรค์ น่าเสียดายคุณภาพถดถอยตามกาลเวลา
Limite (1931)
Limite ภาษาโปรตุเกส แปลว่า Limit, ขีดสุดความอัดอั้นของชายหนึ่ง-หญิงสอง ล่องลอยคออยู่กลางมหาสมุทร Atlantic คนหนึ่งเป็นอาชญากรหลบหนี อีกคนเบื่อหน่ายสามี ส่วนชายหนุ่มถูกจับได้ว่าคบชู้เมียคนอื่น พวกเขาแทบมิอาจอดกลั้นฝืนทนอยู่บนโลกใบนี้ได้อีกต่อไป
À propos de Nice (1930)
ระหว่างกำลังร้อยเรียงภาพเมือง Nice, France รวมถึงเทศกาล Nice Carnival (Carnaval de Nice) จู่ๆมีการแทรกภาพจระเข้ หญิงสาวเปลือยกาย ชายทาครีมกันแดดสีดำ หลากหลายสิ่งอัปลักษณ์ปรากฎแวบขึ้นมา เพื่อจะสื่อว่าเปลือกภายนอกที่ดูวิจิตรงดงาม อาจซุกซ่อนเร้นสิ่งชั่วร้ายบางอย่าง
สารคดีบันทึกภาพการทำงานไปรษณีย์รถไฟ เดินทางจาก London มุ่งสู่ Glasgow, Scotland โดยไม่หยุดจอดสถานีไหน ยุคสมัยนั้นเขาทำกันอย่างไร? ได้รับการยกย่อง “Masterpiece of the British Documentary Film Movement”
Turksib (1930)
สารคดีบันทึกภาพการสร้างทางรถไฟ Turkestan-Siberia ข้ามผ่านทะเลทราย Kyzylkum Desert ตามแผนพัฒนาประเทศห้าปี (1928-32) ของ Vladimir Lenin แล้วเสร็จสิ้น ค.ศ. 1930 ต้องชื่นชมเลยว่ามีความงดงามดั่งบทกวี มอบสัมผัส Impressionist บังเกิดความน่าประทับใจอย่างคาดไม่ถึง
Sol’ Svanetii (1930)
หนังเงียบกึ่งสารคดี ถ่ายทำวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ Svans อาศัยบนเทือกเขาในจังหวัด Svanetia (ปัจจุบันคือประเทศ Georgia) มีความแร้นเค้น ทุรกันดาร ต่อสู้ชีวิตอย่างทุกข์ยากลำบาก แต่ด้วยแผนพัฒนาประเทศ 5 ปี (1928-32) ของ Joseph Stalin ดินแดนห่างไกลแห่งนี้กำลังจะมีท้องถนนตัดผ่าน
ทั้งตัวละครของ Marlene Dietrich และผู้กำกับ Josef von Sternberg ต่างถูกตีตราว่ามีความโฉดชั่ว อันตราย ไม่ต่างจากปีศาจร้าย เพียงเพราะต้องการใช้ชีวิตอย่างอิสรภาพ สรรค์สร้างภาพยนตร์ด้วยวิสัยทัศน์ส่วนตน แต่ทัศนคติของผู้คนสมัยนั้น และสตูดิโอใน Hollywood มิอาจยินยอมรับความเป็นปัจเจกบุคคลของพวกเขา
เพื่อโต้ตอบกับ Dishonored (1931) สตูดิโอ M-G-M จึงรีบเร่งสรรค์สร้าง Mata Hari (1931) นำแสดงโดย Greta Garbo ในบทสายลับนักเต้น โดดเด่นในการใช้มารยาหญิง เย้ายวน ยั่วราคะ ล้วงความลับจากบรรดาบุรุษทั้งหลาย แม้หนังจะประสบความสำเร็จทำเงินถล่มทลาย แต่ก็ไม่ค่อยมีอะไรน่าจดจำสักเท่าไหร่
ไม่ใช่ความตั้งใจของผู้กำกับ Josef von Sternberg ที่จะตีตราสายลับว่าเป็นอาชีพไร้เกียรติ ‘Dishonored’ แต่มันคือมุมมองคนยุคสมัยนั้น (รวมถึงสตูดิโอภาพยนตร์) ยินยอมรับไม่ได้ต่อพฤติกรรมบุคคลสองหน้า ใช้มารยาลวงล่อหลอก ล้วงความลับผู้อื่น ไร้ซึ่งศีลธรรมจรรยา ทั้งๆพวกเขาและเธอต่างทำเพื่อผลประโยชน์ประเทศชาติบ้านเมือง
Él (1953)
บทเรียนสอนหญิง การจะแต่งงานกับใครสักคนอย่ามองแค่เปลือกภายนอก รูปร่างหน้าตา วิทยฐานะ หรือชื่อเสียงวงศ์ตระกูล เพราะตัวตนแท้จริงของอีกฝั่งฝ่าย เมื่อได้รับการเปิดเผยออกมา อาจทำให้ชีวิตตกนรกบนดิน, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”