
ถนนสาย Flamingo Road สร้างขึ้นเพื่อ Joan Crawford กรุยทางสู่ความสำเร็จ แต่ก่อนจะก้าวถึงเป้าหมายย่อมเต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนาม สิ่งชั่วร้าย คอรัปชั่นนานัปการพยายามฉุดเหนี่ยวรั้งเธอเอาไว้ สุดท้ายแล้วผลลัพท์จะลงเอยเช่นไร
ถนนสาย Flamingo Road สร้างขึ้นเพื่อ Joan Crawford กรุยทางสู่ความสำเร็จ แต่ก่อนจะก้าวถึงเป้าหมายย่อมเต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนาม สิ่งชั่วร้าย คอรัปชั่นนานัปการพยายามฉุดเหนี่ยวรั้งเธอเอาไว้ สุดท้ายแล้วผลลัพท์จะลงเอยเช่นไร
ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สหราชอาณาจักรสั่งห้ามฉายภาพยนตร์แนว Horror กลัวจะไปสร้างความหวาดหวั่นสะพรึงกลัวต่อผู้คน แต่สตูดิโอ Ealing Studios ก็ริหาญกล้า Dead of Night (1945) ลองส่วนผสมเรื่องเหนือธรรมชาติ (Supernatural) ควบคู่จิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ใช้ประโยชน์จากการเล่าเรื่องแบ่งเป็นตอนๆ ‘Anthology film’ โคตรหลอกหลอน สั่นสะท้าน Masterpiece
Mildred Pierce (1945) : Michael Curtiz ♥♥♥♡
Joan Crawford คว้า Oscar: Best Actress จากบทบาทแม่ Mildred Pierce ผู้พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่ออนาคตของลูกสาว Veda (รับบทโดย Ann Blyth) แต่เธอกลับพยายามทำทุกสิ่งอย่างเช่นกันเพื่อปฏิเสธ ต่อต้าน ไม่ยินยอมรับความปรารถนาดีดังกล่าว, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Kind Hearts and Coronets (1949) : Robert Hamer ♥♥♥♥
เรื่องราวชวนหัวจาก Ealing Studios เมื่อทายาทลำดับที่ 9 ของเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง ต้องการฮุบมรดกตระกูล เลยวางแผนเข่นฆาตกรรม Alec Guinness รับบท 8 ตัวละครนั้น ทั้งคนหนุ่ม-แก่ ชาย-หญิง บาทหลวง-นายพล ที่สุดจะสำเร็จสมหวังหรือไม่
Monsieur Verdoux (1947) : Charlie Chaplin ♥♥♥♥
Charlie Chaplin เนี่ยนะรับบท Henri Désiré Landru (1869 – 1922) ฆาตกรต่อเนื่องชาวฝรั่งเศส ได้รับฉายา ‘The Bluebeard of Gambais’ ทำการลวงล่อหลอกหญิงสาว เอื้อยคำหวาน สานสัมพันธ์สวาท เมื่อเธอพลีกายถวายทุกสิ่งอย่าง ก็จัดแจงเข่นฆาตกรรมแล้วออกหาเหยื่อรายใหม่
Meshes of the Afternoon (1943) : Maya Deren, Alexander Hammid ♥♥♥♥
โคตรหนังแนวทดลอง (Experimental Film) นำเสนอสภาพจิตใจของหญิงสาว ก็ไม่รู้เกิดอะไรขึ้นถึงเต็มไปด้วยความคลุ้มคลั่งเสียสติแตก กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้กำกับ David Lynch สรรค์สร้าง Lost Highway และ Mulholland Drive
Day of Wrath (1943) : Carl Theodor Dreyer ♥♥♥
ระหว่างบุคคลที่ตนรัก กับศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า ภาพยนตร์เรื่องนี้ชักชวนให้ผู้ชมเลือกข้าง แล้วนำเสนอผลกระทบเกิดขึ้นตามมา ซึ่งต่างลงเอยด้วยความเกรี้ยวกราดโกรธเกลียดตัวเอง ไหนละฝั่งฝ่ายที่ถูกต้อง มันช่างมืดหมองทุกทิศทางตัดสินใจ!
All the King’s Men (1949) : Robert Rossen ♥♥♡
นี่คือ Citizen Kane (1942) ฉบับการเมือง/เลือกตั้ง ดัดแปลงจากนวนิยายรางวัล Pulitzer Prize คว้าสาม Oscar รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี, ชายคนหนึ่งพบเห็นช่องทางการเมือง ไต่เต้าจนได้รับชัยชนะเลือกตั้ง แล้วค่อยๆตกต่ำเพราะผลแห่งการกระทำของตนเอง
Le Corbeau (1943) : Henri-Georges Clouzot ♥♥♥♥
Le Corbeau แปลว่า The Crow, นกอีกา สัตว์สัญลักษณ์แห่งความชั่วร้าย ชอบกัดกินเศษซากเหยื่อกระจัดกระจาย สอดคล้องเรื่องราวเกี่ยวกับบัตรสนเท่ห์ (Poison-Pen Letter) จดหมายยาพิษที่ชอบสร้างข่าวลือผิดๆ ทำให้ใครๆหลงเชื่อครุ่นคิดว่าคือความจริง ก่อเกิดบรรยากาศหวาดสะพรึงกลัวแผ่ปกคลุมไปทั่วอาณาบริเวณเมือง, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
L’Assassin habite au 21 (1942) : Henri-Georges Clouzot ♥♥♥♡
ฆาตกรอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 21 แต่สถานที่แห่งนี้คือห้องเช่า (Boarding House) ทำให้มีผู้ต้องสงสัยหลายคนทีเดียว แล้วใครกันละคือ whodunit? ผลงานฉายเดี่ยวเรื่องแรกของผู้กำกับ Henri-Georges Clouzot สร้างขึ้นช่วงเวลาฝรั่งเศสถูกยึดครองโดยนาซี มีหรือจะไม่สอดแทรกอะไรบางอย่างเข้ามา
จดหมายจากหญิงสาวลึกลับ อธิบายเรื่องราวที่ผู้รับหลงลืม ทำให้สามารถฟื้นตื่นสร่างเมา ตระหนักถึงความโง่เขลา เอาแต่ใจ ทุกสิ่งอย่างล้วนสายเกินแก้ไข หลงเหลือเพียงการเผชิญหน้าท้าความตาย
Crows and Sparrows (1949) : Zheng Junli ♥♥♥♡
อพาร์ทเม้นท์เล็กๆแห่งนี้กำลังถูกขาย แล้วผู้เช่าจะย้ายไปอาศัยอยู่ไหน? ลักลอบสร้างขึ้นช่วงบั้นปลายสงครามกลางเมืองจีน เมื่อรัฐบาลก๊กมินตั๋นกำลังพ่ายแพ้ต่อพรรคคอมมิวนิสต์ เชิดชูการร่วมมือร่วมใจเผชิญหน้าอยุติธรรม รับชมปัจจุบันอาจไม่ตระหนักถึงใจความชวนเชื่อสักเท่าไหร่
The Spring River Flows East (1947) : Zheng Junli & Cai Chusheng ♥♥♥♡
ได้รับการเปรียบเทียบ ‘Gone With the Wind ของประเทศจีน’ แถมยังทำเงินสูงสุดตลอดกาลขณะนั้น!, เรื่องราวครอบครัวชาวจีนในเซี่ยงไฮ้ ครึ่งแรกพานผ่านสงครามแปดปี Second Sino-Japanese War (1937-45) ครึ่งหลังยุคสมัยแห่งการฟื้นฟู (Reconstruction Era) นี่เราต้องทนทุกข์ทรมานไปอีกนานเท่าไหร่
Shoeshine (1946) : Vittorio De Sica ♥♥♥♥
ถัดจาก Rome, Open City (1945) ก็คือ Shoeshine (1946) ภาพยนตร์แนว Neorealist ที่เจิดจรัสฉาย ประสบความสำเร็จทั่วโลกยกเว้นประเทศอิตาลี! เรื่องราวของเด็กขัดรองเท้าสองคน จากมิตรภาพสหายรัก ค่อยๆแปรพักตร์กลายเป็นศัตรู เพราะสภาพสังคมที่พวกเขาอยู่ บ่มเพาะเสี้ยมสั่งสอนอุ้มชูให้เกิดการปรับเปลี่ยนแปลง
Germania anno zero (1948) : Roberto Rossellini ♥♥♥
เรื่องสุดท้ายปิดไตรภาค Neorealist Trilogy ของผู้กำกับ Roberto Rossellini ช่างมีความทรงพลังระดับล้างผลาญ เพราะถ่ายทำกรุงเบอร์ลิน ไม่กี่ปีหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ยังคงรายล้อมด้วยเศษซากปรักหักพัง นำเสนอผ่านมุมมองเด็กชายวัย 12 ปี จะสามารถมีชีวิตเอาตัวรอดไปได้เช่นไร
The Philadelphia Story (1940) : George Cukor ♥♥♥♥♡
เพื่อให้รอดพ้นจากการถูกเรียกว่า ‘Box-Office Poison’ แม่หญิง Katharine Hepburn ว่าจ้าง Philip Barry พัฒนาบทละครเวที The Philadelphia Story (โดยมี Howard Hughes ส่งน้ำเลี้ยงอยู่เบื้องหลัง) เกลี้ยกล่อมให้ Louis B. Mayer ซื้อลิขสิทธิ์ดัดแปลง เลือกผู้กำกับ ติดต่อนักแสดง ทำทุกสิ่งอย่างด้วยตนเองจนประสบความสำเร็จล้นหลาม แม้จะพลาด Oscar: Best Actress แต่ก็สามารถหลุดจากคำสาปอันชั่วร้ายนี้เสียที
The Lady Eve (1941) : Preston Sturges ♥♥♥
Screwball Comedy ที่ไม่ได้มีสาระอะไร แต่สะท้อนตัวตน/จิตวิญญาณของ Preston Sturges ในกองถ่ายทีมงานตัวประกอบมากมายหลักร้อย พี่แกสวมหมวกแฟนซีติดขนสัตว์ ผ้าพันคอไหมพรม เสื้อลายพิมพ์สีแจ๊ดๆ โดดเด่นเป็นสง่า เพื่อบ่งบอกให้ทุกคนรู้ว่าฉันคือผู้กำกับ!
Mrs. Miniver (1942) : William Wyler ♥♥♥♡
ขนาดว่า Joseph Goebbels ยังต้องเอ่ยปากชื่นชมและหวาดสะพรึงกลัว! เรื่องราวของครอบครัว Miniver ที่ได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่สอง ไร้ซึ่งถ้อยคำตำหนิด่าทอทหารเยอรมัน แต่สามารถชักชวนเชื่อให้ต่อต้านนาซีอย่างทรงพลัง, คว้า Oscar ถึง 6 สาขา รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี
The Best Years of Our Lives (1946) : William Wyler ♥♥♥♥
เมื่อสงครามสิ้นสุดทหารหาญเดินทางกลับบ้าน โดยไม่รู้ตัวอะไรหลายๆอย่างปรับเปลี่ยนแปลงไปแล้วโดยสิ้นเชิง! The Best Years of Our Lives คือภาพยนตร์ที่จะเป็นแรงผลักดัน สร้างกำลังใจ ให้สามารถปรับตัวสู่โลกยุคใหม่ ก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาแห่งความทุกข์ยากลำบาก จนกลายเป็นปีดีที่สุดของชีวิต, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Magnificent Ambersons (1942) : Orson Welles ♥♥♥♥
หนึ่งในสามผลงานที่ถูกเรียกว่า ‘Holy Grail แห่งวงการภาพยนตร์’ เป็นหนังที่ไม่สมบูรณ์เหมือนรูปปั้น Venus de Milo แต่ได้รับการยกย่องระดับ Masterpiece, เรื่องราวของชนชั้นสูงตระกูล Ambersons จากเคยรุ่งโรจน์ยิ่งใหญ่ กำลังค่อยๆตกต่ำทรามลงเรื่อยๆ สาเหตุเพราะความเย่อหยิ่งทะนงในเกียรติ ศักดิ์ศรี มองข้ามไม่สนใจการเปลี่ยนแปลงไปของโลก จนกระทั่งในที่สุด … “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”