
สร้างใหม่จาก A Guy Named Joe (1943) หนึ่งในแรงบันดาลใจ Steven Spielberg ให้อยากเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ นำเสนอเรื่องราวความเชื่อว่าเมื่อคนรักตายจากไป อีกฝ่ายจะกลายเป็นวิญญาณ ยังคงล่องลอยอยู่เคียงข้าง ‘ตลอดไป’
สร้างใหม่จาก A Guy Named Joe (1943) หนึ่งในแรงบันดาลใจ Steven Spielberg ให้อยากเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ นำเสนอเรื่องราวความเชื่อว่าเมื่อคนรักตายจากไป อีกฝ่ายจะกลายเป็นวิญญาณ ยังคงล่องลอยอยู่เคียงข้าง ‘ตลอดไป’
ภรรยาล้มป่วยหนักไม่มีเงินค่ารักษา สามีจึงตัดสินใจปั่นจักรยาน 7 วัน 7 คืน อยากจะทำเหมือน Ace in the Hole (1951) แต่ก็ได้แค่เวียนวนไปวนมา วังวนแห่งหายนะของผู้อพยพชาว Afghan
เด็กชายถูกทอดทิ้งอยู่บริเวณเมืองท่าติดอ่าวเปอร์เซีย ต้องหาหนทางต่อสู้ดิ้นรน ทำงานหาเลี้ยงชีพรอดด้วยตนเอง ใช้การวิ่งคือนัยยะเชิงสัญญะ ฉันจะดำเนินชีวิตต่อไปได้ไกลแค่ไหน มีโอกาสถึงเป้าหมายเส้นชัยหรือไม่
หนึ่งในภาพยนตร์ได้รับการยกย่อง “Best Iranian Film of all time” เรื่องราวของเด็กชาย Bashu หลบหนีสงคราม Iran–Iraq War (1980-88) จากทางตอนใต้มาถึงภาคเหนือของอิหร่าน พบเจอกลุ่มชาติพันธุ์ Gilak ที่แม้พูดคุยสื่อสารไม่รู้เรื่อง แต่ผู้ชมจักได้เรียนรู้จักสิ่งเรียกว่ามนุษยธรรม, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ใครมีโอกาสพบเห็นแสงสีเขียว (Green Ray หรือ Green Flash) หรืออีกชื่อว่า แสงแห่งโชค (Lucky Light) จะช่วยปัดเป่าสิ่งเลวร้าย พรุ่งนี้จักได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ และประสบแต่ความโชคดี, คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice
ขณะรับชมหนังโป๊จากสัญญาณกระจายภาพลึกลับ จู่ๆโทรทัศน์มันก็ยื่นริมฝีปากออกมาจะจุมพิต, เมื่อมนุษย์ใช้ชีวิตยึดติดกับเทคโนโลยีสื่อสารมากเกินไป มันจักเริ่มเลือนลาง เจือจาง กลายเป็นส่วนหนึ่งเดียวกับชีวิตจริง=ภาพยนตร์
ผู้กำกับ Andrzej Żuławski ตกอยู่ในอาการคลุ้มบ้าคลั่งเมื่อถูกภรรยาเลิกราหย่าร้าง สรรค์สร้าง Possession (1981) ด้วยการทำให้ฝ่ายหญิงดูอัปลักษณ์ น่ารังเกียจ ขยะแขยงที่สุด ไม่ต่างจากถูกปีศาจร้ายเข้าสิง แต่ใครกันแน่ที่สูญสิ้นความเป็นมนุษย์
โชคชะตาของโจรขโมยม้า ในยุคสมัยที่ชาวทิเบต ค.ศ. 1923 ยังเต็มเปี่ยมด้วยแรงเชื่อมั่นศรัทธาพุทธศาสนา จึงถูกขับไล่ออกจากชนเผ่า ต้องหาหนทางเอาตัวรอดท่ามกลางธรรมชาติกว้างใหญ่ และเฝ้ารอคอยชดใช้ผลกรรมติดตามทัน
เมื่อไหร่ที่มีใครเห่าหอนแข่งกับสุนัข นั่นคือการละทอดทิ้งความเป็นคน (humanity) ถือเป็นจุดตกต่ำสุดแห่งมวลมนุษยชาติ โลกยุคสมัยนี้-นั้น ยุโรปตะวันออก สภาพของประเทศฮังการี ราวกับถูกสาปแช่งให้ตกนรกทั้งเป็น ภายหลังวันสิ้นโลกาวินาศ
ดำเนินเรื่องเพียงในอพาร์ทเม้นท์ที่มีสภาพเสื่อมโทรมทราม ไร้ผู้ดูแลทำความสะอาด สมาชิกทั้งห้าต่างมีความเห็นแก่ตัว เอาแต่ผลประโยชน์ตนเองเป็นที่ตั้ง การสนทนาเลยมักแค่สองต่อสอง แทบไม่เคยอยู่ร่วมกันพร้อมหน้า และกระทำสิ่งต่างๆโดยไม่สนห่าเหวอะไรทั้งนั้น
อภิมหากาพย์การสู้รบด้วยเรือดำน้ำ U-boats ยุทธนาวีแห่งแอตแลนติก (Battle of the Atlantic) ที่แม้นำเสนอผ่านมุมมองทหารเรือ Nazi Germany แต่ไม่ว่าผู้ชมฝั่งฝ่ายไหนล้วนสัมผัสได้ถึงความตื่นเต้น ลุ้นระทึก ตึงเครียด สั่นสะท้านทรวงใน ใครกันจะอยากถูกเข่นฆ่า ใจความต่อต้านสงคราม (Anti-Wars)
เมื่อประธานกรรมการเทศกาลหนังเมือง Cannes ปีนั้น Yves Montand ประกาศรางวัล Palme d’Or อย่างเป็นเอกฉันท์! ทำให้เกิดทั้งเสียงปรบมือและโห่ขับไล่ ผู้กำกับ Maurice Pialat ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์บอกว่า ‘ถ้าคุณไม่ชอบผลงานผม ผมก็ไม่ชอบขี้หน้าพวกคุณเหมือนกัน’
เหตุการณ์ Mai ’68 ส่งอิทธิพลต่อการตื่นรู้เรื่องทางเพศ ‘Sexual Awakening’ ของเด็กสาววัยสิบห้า Sandrine Bonnaire ทำให้ค้นพบเสรีภาพความรัก เพศสัมพันธ์ที่หลากหลาย แต่ต้องแลกมากับความขัดแย้งครอบครัว ผู้หลักผู้ใหญ่ยังยินยอมรับการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ได้สักเท่าไหร่
ภายหลังไซ่ง่อนแตก ค.ศ. 1975 ชาวเวียดนามใต้ต้องเลือกระหว่างศิโรราบต่อพรรคคอมมิวนิสต์ หรือหาหนทางขึ้นเรือหลบหนีออกนอกประเทศ จะว่าไปไม่แตกต่างจากหลังสงครามกลางเมืองจีน (1945-49) สมาชิกพรรคก๊กมินตั๋นอพยพสู่เกาะไต้หวัน รวมถึงปัจจุบันที่ชาวฮ่องกงกำลังเตรียมตัวลี้ภัย ไปให้ไกลก่อนดินแดนแห่งนี้กลับคืนเป็นของจีนแผ่นดินใหญ่โดยสมบูรณ์ ค.ศ. 2047
โศกนาฎกรรมในชีวิตจริงของเหมยเยี่ยนฟาง และเลสลี จาง เมื่อรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้จะยิ่งขนหัวลุกพอง เพราะทั้งสองรับบทคู่รักจากอดีต เกาะฮ่องกงเมื่อทศวรรษ 30s ครอบครัวไม่ยินยอมรับเลยตัดสินใจฆ่าตัวตาย กลายมาเป็นวิญญาณล่องลอย ติดตามหากันจนมาถึง ค.ศ. 1987
ความตายของสามีทำให้ภรรยาแทบมิอาจอดรนทน พยายามหาหนทางปล่อยปละละวาง แต่สถานการณ์การเมืองของประเทศ Poland ช่วงประกาศกฎอัยการศึก (1981-83) ทำให้ทุกสิ่งอย่างถึงคราอับจน หมดสิ้นหนทางหวัง ท้ายที่สุดแล้วเลยหลงเหลือเพียงโศกนาฎกรรม
ชีวิตก็เหมือนทอยลูกเต๋า มีความเป็นไปได้เกิดขึ้นไม่รู้จบ! ผู้กำกับ Krzysztof Kieślowski ทดลองนำเสนอสามสถานการณ์แห่งโชคชะตา เมื่อตัวละครสามารถวิ่งขึ้นรถไฟ, พุ่งชนเจ้าหน้าที่สถานี และหยุดยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ไม่ว่าจะไทม์ไลน์ไหน ล้วนประสบผลลัพท์ไม่น่าอภิรมณ์ทั้งนั้น
ภาพยนตร์เกี่ยวกับการเล่นยาเรื่องแรกๆที่นำเสนอผ่านมุมมองของผู้เสพ (จะหายาเสพติดก็ต้องปล้น ร้านขายยา!) ตอนออกฉายได้รับเสียงฮือฮา ‘Universal Acclaim’ แต่กาลเวลาทำให้แปรสภาพสู่ ‘อเมริกันคลาสสิก’ ถึงอย่างนั้นก็ยังสมควรค่า “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
อิทธิพลของ 1981 England Riots ในยุคสมัยนายกรัฐมนตรี Margaret Thatcher (1979-90) ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนคนขาว vs. ผู้อพยพชาวผิวสี พลิกกลับตารปัตร! เมื่อเกย์หนุ่มหล่อ Daniel Day-Lewis ยินยอมทำงานลูกจ้างร้านซักรีดของแฟนหนุ่มชาว Pakistani ก็ยังดีกว่าเตร็ดเตร่ร่อนเร่ตามท้องถนนไปวันๆ
ดัดแปลงจากนวนิยายของ E. M. Forster (Howards End, A Passage to India) นำเสนอวิวทิวทัศน์แห่งความรัก ชักชวนเชื่อให้ตอบกลับความรู้สึกของหัวใจ แม้ขัดแย้งขนบสังคมประเทศอังกฤษก็ช่างหัวมันประไร แจ้งเกิดนักแสดงยังสาวสวย Helena Bonham Carter แถมด้วยบทบ้าๆบอๆของ Maggie Smith และ Daniel Day-Lewis