การมาถึงของยุคสมัยโลกาภิวัตน์ (Globalization) อินเตอร์เน็ตทำให้มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกับคนทั้งโลก แต่มันทำให้เราคลายความเหงาได้จริงๆหรือ? นั่งอยู่ในห้องมืดๆ หน้าจอสว่างๆ แตกต่างอะไรจากวิญญาณคนตาย?
ป้ายกำกับ: Horror
Cure (1997)
ผู้ป่วยของ Cure (1997) คือบุคคลธรรมดาทั่วไป ครู หมอ ตำรวจ ฯ ต่างมีครอบครัวอบอุ่น อาชีพการงานมั่นคง ได้รับนับหน้าถือตาจากผู้คน แต่เมื่อพวกเขาผ่านการ”รักษา”ทำให้ตัวตนแท้จริงเปิดเผยออกมา กลายเป็นฆาตกรสังหารโหด พร้อมทิ้งรอยบาดแผล X
บ้านแสนสุขที่เคยเต็มไปด้วยความอบอุ่น อุบัติเหตุคร่าชีวิตทารกน้อย ทำให้บิดา-มารดาราวกับตกนรกมอดไหม้ กลายเป็นปีศาจร้ายสิงสถิตอยู่ในบ้านแสนโศก! พล็อตคาดเดาไม่อยาก แต่เทคนิคพิเศษน่าตื่นตาในยุคสมัยนั้น และยังสร้างแรงบันดาลใจให้กับวีดีโอเกมส์ Resident Evil
โคตรหนังคัลท์ที่ไม่เคยได้รับกระแสคัลท์! ข้างใต้สระน้ำ Demon Pond คือที่อยู่อาศัยของเทพเจ้ามังกร (Dragon God) คอยปกป้องหมู่บ้านมนุษย์จากภัยพิบัติทางธรรมชาติ แต่ทว่าคนรุ่นใหม่เริ่มไม่เชื่อในปรัมปรา ตำนานพื้นบ้าน ปฏิเสธทำตามวิถีสืบต่อกันมาช้านาน ผลลัพท์เลยก่อให้เกิดหายนะครั้งยิ่งใหญ่
Sakura no Mori no Mankai no Shita (1975)
นักเขียน Ango Sakaguchi แต่งเรื่องสั้น In the Forest, Under Cherries in Full Bloom (1947) โดยได้แรงบันดาลใจจากช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง หลังกรุง Tokyo ถูกโจมตีทางอากาศ (Air Raid) ศพผู้เสียชีวิตจะถูกนำมาฝังรวมกันอยู่ ณ Ueno Hill ใกล้กับบริเวณที่ซากุระกำลังเบ่งบาน
Shura (1971)
จากแพรวพราวด้วยลูกเล่นภาพยนตร์แปลกใหม่ Funeral Parade of Roses (1969), ผลงานถัดไปของผู้กำกับ Toshio Matsumoto นำเสนอมุมมืด ปีศาจภายในจิตใจ ซามูไรถูกเกอิชาทรยศหักหลัง บันดาลโทสะ มิอาจควบคุมอารมณ์เกรี้ยวกราด พร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อฆ่าล้างแค้น, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
หนังผีญี่ปุ่นทุนต่ำ ทำออกมาในสไตล์กึ่งๆละคอนเวที (Kabuki Play) ละม้ายคล้าย The Ballad of Narayama (1958) แพรวพราวด้วยลูกเล่นภาพยนตร์ ‘Trick Film’ สำหรับสร้างความหลอกหลอน บรรยากาศสยองขวัญคลาสสิก
Tanín no Kao (1966)
วิศวกรเคมี Mr. Okuyama (รับบทโดย Tatsuya Nakadai) เสียโฉมจากอุบัติเหตุระหว่างการทำงาน โชคดีว่าเทคโนโลยีการแพทย์สมัยใหม่ สามารถสร้างหน้ากากมนุษย์ขึ้นมาทดแทน แต่เมื่อสวมใส่กลับทำให้ตัวตน(เก่า)ค่อยๆเลือนหาย อันเนื่องจากรูปลักษณ์ใหม่ทำให้ทุกสิ่งอย่างปรับเปลี่ยนแปลงไป
Address Unknown (2001)
ร้อยเรียงประสบการณ์วัยเด็กของผู้กำกับ Kim Ki-duk มักโดนเพื่อนๆกลั่นแกล้ง (Bully) ดูถูกเหยียดหยาม (Racist) พบเห็นสารพัดเหตุการณ์ความรุนแรง ทั้งยังบิดาชอบทารุณกรรม (Child Abuse) ชีวิตเต็มไปด้วยความอึดอัดอั้น เก็บกด อดกลั้น แทบอยากจะคลุ้มบ้าคลั่ง
ANTICHRIS♀ (2009)
ผู้กำกับ Lars von Trier ล้มป่วยโรคซึมเศร้า (Depression) ระหว่างเข้ารับการบำบัดด้วยวิธีการ ‘Exposure Therapy’ พัฒนาบทหนัง Antichrist เพื่อเผชิญหน้าความกลัวของตนเอง ท้าทายให้ผู้ชมเอาตัวรอดจากสวนอีเดนของซาตาน
Ruka (1965)
Jiří Trnka เจ้าของฉายา “Walt Disney of Eastern Europe” สรรค์สร้างผลงานสวอนซองเรื่องสุดท้าย ระบายความอึดอัดอั้นต่อหัตถ์ของพระเจ้า การถูกควบคุมครอบงำโดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ Czechoslovakia ได้รับยกย่องหนึ่งใน “Greatest Animated Shorts Film of All-Time”
Krysař (1986)
ดัดแปลงจากนิทานพื้นบ้านสุดหลอกหลอก Pied Piper of Hamelin มาเป็นโคตรผลงาน Stop-Motion Animation ใช้การแกะสลักจากไม้ ทำออกมาในสไตล์ German Expressionism (แบบเดียวกับภาพยนตร์ The Cabinet of Dr. Caligari (1920)) งดงาม วิจิตรศิลป์ แฝงสาระข้อคิด “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Něco z Alenky (1988)
Alice (in Wonderland) ฉบับผสมผสานระหว่าง Live-Action & Stop-Motion Animation สร้างบรรยากาศ Dark Fantasy ได้อย่างเหนือจริง (Surrealist) เติมเต็มจินตนาการของ Lewis Carroll น่าจะสมบูรณ์แบบที่สุดแล้วละ!
Valerie a týden divů (1970)
Valerie เด็กสาวอายุ 13 ปี ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มมีประจำเดือน เกิดความระริกระรี้ สนอกสนใจเรื่องเพศ แต่กลับได้พบเห็นสิ่งชั่วร้ายมากมาย แวมไพร์ดูดเลือด บาทหลวงหื่นกาม เอาตัวรอดจากการถูกล่าแม่มด ฯลฯ ช่างเป็นสุดสัปดาห์เหนือจริง (Surreal) ความฝันที่น่าหวาดสะพรึงกลัวยิ่งนัก
ดัดแปลงจากเทพนิยายสุดคลาสสิก Beauty and the Beast ทำออกมาในแบบฉบับ Dark Fantasy & Gothic Horror ด้วยบรรยากาศหนาวเหน็บ เย็นยะเยือก สั่นสะท้านทรวงใน รูปร่างหน้าตาเจ้าชายอสูรอัปลักษณ์เกินทนไหว
Spalovač mrtvol (1969)
ชายชาว German อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ยัง Czechoslovakia ประกอบอาชีพสัปเหร่อในฌาปนสถาน (The Cremator) ถูกเพื่อนเก่าชักชวนเข้าร่วมพรรคนาซี ได้รับการปลูกฝังอุดมการณ์ Aryanism คาดเดาไม่ยากเลยว่าหมอนี่จะทำหน้าที่อะไรในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
โคตรหนังคัลท์ที่ยังคง(เฉิด)ฉายมาจนถึงปัจจุบัน ชักชวนให้วัยรุ่น คนหนุ่ม-สาว ได้เรียนรู้ เข้าใจตัวตนเอง ค้นพบอัตลักษณ์ทางเพศ ปลดปล่อยน้ำกาม เปียกปอน ชุ่มฉ่ำ ความบันเทิงของชาว LGBTQIAN+
ภาพยนตร์ชวนเชื่อเพื่อให้ผู้ชมยึดถือมั่น ปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง นั่นรวมถึงการทดลองตามทฤษฎีตัดต่อของ Lev Kuleshov โดยใช้เพียง 5 ตัวละคร 1 สถานที่ มีคำเรียก ‘Chamber Film’ แต่มันใช่สิ่งถูกต้อง/จำเป็นจริงๆนะหรือ?
The Servant (1963)
เมื่อคนรับใช้กลายมาเป็นนาย หายนะจึงบังเกิดขึ้นในบ้านหลังนี้! หลอกหลอน สั่นสะท้าน หวาดเสียวประตูหลัง หนึ่งในเสาหลักไมล์ของวงการภาพยนตร์อังกฤษ บทบาทการแสดงยอดเยี่ยมที่สุดของ Dirk Bogarde และมีบางสิ่งอย่างพาดพิงถึง HCUA
Sanatorium pod klepsydrą (1973)
ในสถานพยาบาลแห่งนี้ เวลามีการผันแปรเปลี่ยนเหมือนนาฬิกาทราย อดีต-ปัจจุบัน โลกความจริง-จินตนาการเพ้อฝัน พลิกกลับไปกลับมาอย่างน่าฉงนสงสัย แต่ทุกสิ่งอย่างล้วนดูเสื่อมโทรม ปรักหักพัง สะท้อนเข้ากับสภาพประเทศโปแลนด์ยุคสมัยนั้น, คว้ารางวัล Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Cannes