ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรกของ Hayao Miyazaki ดัดแปลงจากมังงะ Lupin the Third ปรับเปลี่ยนอาชญากรผู้เหี้ยมโหด โฉดชั่วร้าย ให้กลายเป็นจอมโจรโรแมนติก ปล้นสิ่งสำคัญที่สุดก็คือหัวใจหญิงสาว
ป้ายกำกับ: Action
Taiyō no Ōji Horusu no Daibōken (1968)
ร่วมงานครั้งแรกระหว่าง Isao Takahata และ Hayao Miyazaki (Concept Artist, Scene Design และ Key Animation) แม้โปรดักชั่นล่าช้ากว่าสามปี บางฉากเหมือนยังไม่เสร็จดี ตัดต่อเร่งรีบรวบรัดเกินไป เข้าฉายไม่กี่วันก็เงียบหาย แต่กลับได้รับกระแสคัลท์ติดตามมา สร้างอิทธิพลให้วงการอนิเมชั่น จนกลายเป็นหนึ่งในอนิเมะยอดเยี่ยมตลอดกาล!
นอกจากชายนิรนามในไตรภาค Dollars Trilogy ยังมีอีกบทบาทที่กลายเป็น ‘Iconic’ ของ Clint Eastwood นั่นคือนักสืบ Harry Callahan เจ้าของฉายา Dirty Harry ชอบใช้ความรุนแรง ดิบเถื่อน ไม่แคร์อะไรใคร และเมื่อกฎหมายไม่สามารถจัดการอาชญากร เขาจึงจำต้องแปดเปื้อนเลือดด้วยตนเอง
Steve McQueen มีงานอดิเรกเป็นนักแข่งรถ ต้องการสร้างภาพยนตร์ที่มีฉากไล่ล่า (Car Chase) ท้าทายขีดจำกัดยุคสมัยนั้น กลายมาเป็น Bullitt (1968) ได้รับคำสรรเสริญถึงฉากแอ๊คชั่นสุดมันส์ แต่อะไรอย่างอื่นเรียกได้ว่า Bullshit!
สัญชาติญาณล้วนๆของคู่หูนักสืบ Gene Hackman และ Roy Scheider ทำให้การไล่ล่าเครือข่ายลักลอบขนส่งเฮโรอีนข้ามชาติ (French Connection) มีความรุนแรง ดิบเถื่อน ฉากไล่ล่าสุดมันส์ คว้ารางวัล Oscar จำนวน 5 สาขา รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี
Duel (1971)
ผลงานเรื่องแรกได้รับโอกาสฉายในโรงภาพยนตร์ของผู้กำกับ Steven Spielberg นำเสนอการท้าดวลระหว่างรถเก๋ง vs. รถบรรทุก ที่มีความเสี่ยงอันตราย ท้าความตาย เต็มไปด้วยความตื่นเต้นลุ้นระทึก และแฝงนัยยะลุ่มลึกอย่างคาดไม่ถึง
ทุกสิ่งมีชีวิตรวมถึงมนุษย์ ล้วนมีประวัติความรุนแรงฝังรากลึกอยู่ใน DNA ซึ่งถือเป็นสันชาติญาณสำหรับดำเนินชีวิต ธำรงชีพรอดปลอดภัย นำพาความสงบสันติสุขสู่สังคม ครอบครัว และตัวเราเอง
Das Boot (1981)
อภิมหากาพย์การสู้รบด้วยเรือดำน้ำ U-boats ยุทธนาวีแห่งแอตแลนติก (Battle of the Atlantic) ที่แม้นำเสนอผ่านมุมมองทหารเรือ Nazi Germany แต่ไม่ว่าผู้ชมฝั่งฝ่ายไหนล้วนสัมผัสได้ถึงความตื่นเต้น ลุ้นระทึก ตึงเครียด สั่นสะท้านทรวงใน ใครกันจะอยากถูกเข่นฆ่า ใจความต่อต้านสงคราม (Anti-Wars)
ผมมองความล้มเหลวของ Dune (1984) เกิดจากวิสัยทัศน์ผู้กำกับ David Lynch ไม่เข้าใจนวนิยายต้นฉบับเพียงพอ ใส่ความเป็นตัวตนเองมากเกินไป และมิอาจต่อรองโปรดิวเซอร์จนสูญเสียการควบคุมทั้งโปรเจค, กาลเวลาทำให้หนังเข้าสู่กระแส Cult Classic ดูแบบไม่คิดอะไรก็น่าจะเพลิดเพลินไปกับมันได้
ปรมาจารย์ Hayao Miyazaki ป่าว(เปล่า)ประกาศจะรีไทร์ สองจิตสองใจเลือกใครเป็นผู้สืบทอดระหว่าง Mamoru Hosoda หรือ … (ใครดีละ?) … แต่ก่อนจะไปถึงวันนั้น Hosoda กำลังจะกลายเป็นพ่อคน แบบอย่างมีอยู่ก็พึ่งพาไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่ ทำอย่างไรฉันถึงสามารถกลายเป็น ‘คมดาบในจิตใจ’ เมื่อลูกเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่
Jin-Roh (1999)
ในโลกคู่ขนานที่นาซีเยอรมันชนะสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศญี่ปุ่นตกอยู่ภายใต้การควบคุมครอบงำโดยฝ่ายอักษะ ทหาร/ตำรวจใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมต่อต้าน แต่เบื้องลีกมีความเน่าเฟะเละยิ่งไปกว่านั้น, สร้างจากเนื้อเรื่องพัฒนาโดย Mamoru Oshii ตั้งคำถามหนักอึ้งเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์-สันชาติญาณสัตว์ (Jin = มนุษย์, Roh=หมาป่า) ปัจจุบันเราหลงเหลืออะไรอยู่ภายใน
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอัตราการเกิดต่ำ ประชากรสูงอายุเพิ่มขี้นทุกวัน ในอนาคตอาจมีมากเกินดูแลทั่วถีง ด้วยเหตุนี้ Katsuhiro Otomo จีงครุ่นคิดพัฒนาบทอนิเมะไซไฟ(ชวนหัว) สร้างเตียงผู้ป่วยอัจฉริยะ สามารถดูแลให้ความช่วยเหลือ ตอบสนองแทนนางพยาบาลได้ทุกสิ่งอย่าง (ผู้ช่วยออกแบบศิลป์โดย Satoshi Kon) แต่มันก็เกิดประเด็นคำถาม ถ้าปัญญาประดิษฐ์นั้นสามารถครุ่นคิด/บังเกิดจิตวิญญาณขี้นมา???
Okja (2017) : Bong Joon-ho ♥♥♥♡
หมูยักษ์ (Super Pig) ถูกครุ่นคิดค้นขึ้นเพื่อแก้ปัญหาอาหารขาดแคลน แต่กลับถูกตั้งคำถามเรื่องความเหมาะสมทางจิตสำนึก มโนธรรม ทั้งๆที่บรรดาพวกเรียกร้องเหล่านั้น ก็มักรับประทานเนื้อสัตว์เป็นประจำอยู่แล้ว แบบนี้ไม่ใช่ ‘ปากว่าตาขยิบ’ หรอกหรือ?
Snowpiercer (2013)
Snowpiercer (2013) : Bong Joon-ho ♥♥♥♥
บนขบวนรถไฟแห่งชีวิตที่สามารถเรียกได้ว่า Noah’s Ark ออกเดินทางด้วยเครื่องยนต์ศักดิ์สิทธิ์ (สัญลักษณ์ของวัตถุนิยม) ใครอาศัยอยู่หัวขบวนถือว่ามีอภิสิทธิ์ชน สามารถใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย ตรงกันข้ามกับสัมภาระท้ายขบวนที่ได้ขึ้นมาฟรีๆ ยังจะเรียกร้องโน่นนั่นนี่ ถามหาความเสมอภาคเท่าเทียมในสังคม
Sword of the Stranger (2007)
Sword of the Stranger (2007) : Masahiro Andō ♥♥♥♥♡
น่าจะเป็นภาพยนตร์อนิเมชั่น แอ๊คชั่น ผจญภัย ซามูไรยุคสมัย Sengoku ที่มีความครบเครื่องกลมกล่อมระดับ Blockbuster ยอดเยี่ยมที่สุดถัดจาก Ninja Scroll (1993) การันตีความมันส์โดยสตูดิโอ BONES
Steamboy (2004) : Katsuhiro Otomo ♥♥♡
อนิเมชั่นแนว Steampunk ตื่นตระการตาไปกับยุคสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม จัดเต็มด้วย Visual Effect สุดอลังการ แต่เนื้อเรื่องราวกลับเละเทะไม่เป็นชิ้นดี สิบปีโปรดักชั่นที่น่าผิดหวังทีเดียว
Die weiße Hölle vom Piz Palü (1929)
Die weiße Hölle vom Piz Palü (1929) : Arnold Fanck, G. W. Pabst ♥♥♥♡
สาธารณรัฐไวมาร์ช่วงทศวรรษ 20s – 30s มีภาพยนตร์แนวหนึ่งที่ได้รับความสนใจพอๆกับ German Expressionism ในลักษณะตรงกันข้าม ชื่อเรียกว่า Mountain Film เพราะถ่ายทำยังสถานที่จริง นักแสดงเสี่ยงตาย ปีนป่ายขึ้นเทือกเขาสูง ซึ่งเรื่องโด่งดังประสบความสำเร็จสูงสุดคือ The White Hell of Pitz Palu ขนาดว่าผู้กำกับ Quentin Tarantino สอดแทรกเข้ามาใน Inglorious Basterds (2009)
Once Upon a Time in China (1991)
Once Upon a Time in China (1991) : Tsui Hark ♥♥♥♡
กาลครั้งหนึ่ง … ช่วงปลายราชวงศ์ชิง ค.ศ. 1875 ประเทศจีนต้องผจญศึกหนักทั้งจากภายนอกผู้รุกรานชาติตะวันตก และภายในการฉ้อราษฎร์บังหลวงของเหล่าขุนนางราชสำนัก หวงเฟยหง (รับบทโดย Jet Lee) และลูกศิษย์ จึงจำต้องหาหนทางพิชิตคว้าชัย ด้วยสติปัญญาไม่ได้ก็ต้องพละกำลังกังฟู
Thelma & Louise (1991)
Thelma & Louise (1991) : Ridley Scott ♥♥♥♡
การออกเดินทางท่องเที่ยวพักร้อนของสองสาว Susan Sarandon และ Geena Davis เริ่มต้นด้วยรอยยิ้มสนุกสนาน ก่อนค่อยๆถลำลึกสู่อาชญากรรม แต่ในมุมมองพวกเธอ การกระทำเหล่านั้นคือ ‘อิสรภาพ’ มีมั่งไหมผู้ชายดีๆสักคน
ฟ้าทะลายโจร (2000)
ฟ้าทะลายโจร (พ.ศ. ๒๕๔๓) : วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ♥♥♥♥
‘หนังไทย คือความบันเทิงราคาถูก’ คำกล่าวนี้ของ วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ทั้งจริงและเจ็บปวด! รวบรวมความชื่นชอบวัยเด็ก นำเสนอด้วยมุมมองคนรุ่นใหม่ ให้เหมือนบันทึกประวัติศาสตร์วงการภาพยนตร์ไทย สร้างเอกลักษณ์ให้โลกประจักษ์ชื่นชม พร้อมอับอายขายขี้หน้าไปพร้อมๆกัน