อนิเมชั่นเรื่องแรกๆของ Mushi Production (ก่อตั้งโดย Osamu Tezuka) ทำการทดลองสร้างตัวละครจากภาพโปสเตอร์ที่ติดอยู่ตามตรอกซอกซอย แม้ไม่สามารถขยับเคลื่อนไหว แต่ใช้ลูกเล่นตัดต่อสร้างจังหวะให้สอดคล้องบทเพลง แถมยังมีเรื่องราวจับต้องได้, คว้ารางวัล Ōfuji Noburō Award
ป้ายกำกับ: Anti-Wars
King and Country (1964)
ทหารนายหนึ่งถูกกุมจับข้อหาละทิ้งการปฏิบัติหน้าที่ (Desertion) ทนายพยายามแก้ต่างว่าเขามีอาการ ‘Shell Shock’ แต่ผู้พิพากษากลับมองว่าคือข้ออ้างข้างๆคูๆ สั่งตัดสินประหารชีวิตยิงเป้า เพื่อไม่ให้ใครอื่นเอาเป็นแบบอย่าง มันต้องลงโทษรุนแรงขนาดนั้นเชียวหรือ?
Turtles Can Fly (2004)
เต่าเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ แน่นอนว่าบินไม่ได้! แต่ถ้ามันตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องโบยบิน นั่นแสดงถึงช่วงเวลาหมดสิ้นหวัง ไร้หนทางธำรงชีพรอด … จะว่าไปภาพโปสเตอร์เด็กสาวกำลังแบกเด็กชาย แลดูเหมือนกระดองเต่า ไม่น่าจะโบกบินได้เช่นกัน
Csillagosok, katonák (1967)
ไม่ว่าคอมมิวนิสต์/กองทัพแดง (Red Army) หรือผู้นิยมพระเจ้าซาร์/การ์ดขาว (White Guard) สงความคือความเหี้ยมโหดร้าย มีเพียงหายนะ ความตาย โศกนาฎกรรมไม่เลือกข้างฝั่งฝ่ายใด! ถ้าปีนั้นไม่เกิดเหตุการณ์ Mai ’68 ที่เทศกาลหนังเมือง Cannes จักคือหนึ่งในตัวเต็งคว้ารางวัล Palme d’Or
Das Boot (1981)
อภิมหากาพย์การสู้รบด้วยเรือดำน้ำ U-boats ยุทธนาวีแห่งแอตแลนติก (Battle of the Atlantic) ที่แม้นำเสนอผ่านมุมมองทหารเรือ Nazi Germany แต่ไม่ว่าผู้ชมฝั่งฝ่ายไหนล้วนสัมผัสได้ถึงความตื่นเต้น ลุ้นระทึก ตึงเครียด สั่นสะท้านทรวงใน ใครกันจะอยากถูกเข่นฆ่า ใจความต่อต้านสงคราม (Anti-Wars)
ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับชีเปลือย หรือหญิงสาวเปลื้องผ้า แต่คือการเปิดโปงธาตุแท้ของสงคราม ว่าเป็นเพียงกลเกม ความทะเยอทะยานของใครบางคน ต้องการไปให้ถึงจุดสูงสุดบนยอดเขา เข้าครอบครองตำแหน่งสำคัญทางยุทธศาสตร์ โดยไม่สนว่าต้องแลกมาด้วยชีวิต หรือความตายของผู้อื่นใด
War and Peace (1965)
‘ทำไมวรรณกรรมเรื่องยิ่งใหญ่สุดของรัสเซีย ถึงถูกดัดแปลงสร้างภาพยนตร์ War and Peace (1956) โดยสหรัฐอเมริกา?’ ณ จุดสูงสุดของสงครามเย็น สหภาพโซเวียตพร้อมเผชิญหน้าศัตรูจากทุกสารทิศ ทางฝั่งศิลปะวัฒนธรรมก็เฉกเช่นเดียวกัน จึงกลายมาเป็นอภิมหาโปรเจคทะเยอทะยาน ยิ่งใหญ่ สมจริง อลังการงานสร้างที่สุดแห่งวงการภาพยนตร์, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญหน้าสายลม มรสุม ทั้งลูกเล็ก-ใหญ่ บางคนเลือกปล่อยตัวปล่อยใจล่องลอยไป แต่สำหรับผู้กำกับ Hayao Miyazaki ทั้งชีวิตพยายามพุ่งชน ต่อต้าน ย่างก้าวเดินไปข้างหน้า เฉกเช่นเดียวกับ Jirô Horikoshi วิศวกรออกแบบเครื่องบินขับไล่ Mitsubishi A6M (Zero Fighter) ทั้งรู้ต้องถูกนำไปใช้ในสงคราม เข่นฆ่าคนตายนับไม่ถ้วน ขณะเดียวกันนั่นคือความเพ้อฝันใฝ่ ได้มีโอกาสสรรค์สร้างเครื่องบินโลกจดจำ
Hauru no Ugoku Shiro (2004)
Hayao Miyazaki ตัดสินใจกำกับ Howl’s Moving Castle เมื่อตอนอายุก้าวผ่าน 60 ปี แม้ร่างกายเริ่มแห้งเหี่ยว พละกำลังโรยรา ทรงผมขาวหงอกโพลนทั่วศีรษะ แต่จิตใจยังคงหนุ่มแน่น แข็งขัน มากด้วยประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ พร้อมเป็นพลังขับเคลื่อนปราสาท Ghibli ให้โบยบินบนฟากฟ้าชั่วนิรันดร์
J’accuse (1919)
ผลงานสร้างชื่อระดับนานาชาติของปรมาจารย์ผู้กำกับ Abel Gance กล่าวโทษถึงความจำเป็นของสงคราม ตั้งคำถามชีวิตที่ดับสิ้นสูญมันคุ้มค่าแล้วหรือ? “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Four Horsemen of the Apocalypse (1921)
จตุรอาชาแห่งวิบัติ ดัดแปลงจากนวนิยายขายดีของ Vicente Blasco Ibáñez ทำการเปรียบเทียบหายนะสงคราม ช่างมีความเหี้ยมโหดร้าย ไม่แตกต่างการตัดสินพิพากษาในวันสิ้นโลก, บทบาทแจ้งเกิด Rudolph Valentino เจ้าของฉายา ‘Latin Lover’ ในหนังต่อต้านสงครามเรื่องแรกๆของ Hollywood, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Queen Christina (1933)
Queen Christina (1933) : Rouben Mamoulian ♥♥♥♥♡
หนึ่งในการแสดงยอดเยี่ยมสุดของ Greta Garbo รับบท Christina, Queen of Sweden ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชันษา 6 พรรษา คว้าชัยชนะสงครามสามสิบปี จากนั้นเรียกร้องให้มีความสงบสุขสันติภาพ ต้องการเปิดประเทศสานสัมพันธ์ต่างชาติ แต่แล้วตกหลุมรักหนุ่มชาวสเปน (รับบทโดย John Gilbert) นั่นทำให้พระองค์เกือบจะกลายเป็นกบฎต่อผืนแผ่นดิน เลยตัดสินใจสละราชบังลังก์ เพื่อเติมเต็มเสียงเพรียกเรียกร้องของจิตใจ
Pink Floyd – The Wall (1982) : Alan Parker ♥♥♡
มนุษย์สร้างบ้าน รั้วลวดหนาม ผนังกำแพง สำหรับปกป้องตนเองจากภยันตรายภายนอก แต่ขณะเดียวกันนั่นคือการแบ่งแยก กีดกัน กักขังตนเองอยู่ภายใน ค่อยๆก่อรากความเห็นแก่ตัว มองไม่เห็นสิ่งทรงคุณค่าทางจิตใจของผู้อื่นอีกต่อไป, ภาพยนตร์แนว Rock Opera เรต NC-17 นำเสนอรูปแบบ Surrealist รับชมปัจจุบันยังพบเห็นข้อเท็จจริงเหนือกาลเวลา
Across the Universe (2007) : Julie Taymor ♥♥♥♡
The Beatles คือวงดนตรีชายล้วน จึงมักนำเสนอบทเพลงแห่ง ‘ความรัก’ ในมุมมองบุรุษ แต่ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้คือ Julie Taymor (Frida) เธอพยายามก้าวข้ามผ่านขอบเขตจำกัดนั้น ไม่สนเพศ อายุ เชื้อชาติ สีผิว หรือแม้แต่โลกความจริง-เพ้อฝัน ข้ามจักรวาลเพียงความจริงหนึ่งเดียวเท่านั้น
Memories (1995)
Memories (1995) : Kōji Morimoto, Tensai Okamura, Katsuhiro Otomo ♥♥♥♡
ความทรงจำแม้คือสิ่งล้ำเลอค่า แต่เราไม่ควรหมกมุ่นครุ่นยึดติดกับมันจนมิอาจก้าวไปไหน นี่สะท้อนเข้ากับประเทศญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อดีตเคยยิ่งใหญ่เกรียงไกร ปัจจุบันเมื่อเป็นผู้พ่ายแพ้ สมควรต้องยินยอมรับความจริงไม่ใช่หรือ?
Duck Soup (1933) : Leo McCarey ♥♥♥♥
Groucho Marx ให้คำอธิบายชื่อหนังแบบจับไปกระเดียดว่า “นำเอาไก่งวงสองตัว ห่านอีกหนึ่ง กะหล่ำปลีสี่หัว แต่ไม่มีเป็ด ผสมคลุกเคล้าเข้ากัน หลังจากนั้นลิ้มชิมรสชาติ แล้วคุณจะ ‘Duck Soup’ ตลอดชั่วชีวิต” เอาจริงๆทำให้ผมนึกถึงสแลง “Once you go black, you never go back”
Fahrenheit 9/11 (2004) : Michael Moore ♥♥♥
จากเคยได้รับคำชมล้นหลาม ต่อการตีแผ่เบื้องหลังความจริงบ้าง-ไม่จริงบ้างของ ปธน. George W. Bush ต่อสงครามอิรัก จนสามารถคว้ารางวัล Palme d’Or แถมกลายเป็นภาพยนตร์สารคดีทำเงินสูงสุด แต่กาลเวลาทำให้ทัศนคติสุดโต่งซ้ายจัดของ Michael Moore ดูไม่ค่อยน่าอภิรมณ์สักเท่าไหร่
Barry Lyndon (1975)
Barry Lyndon (1975) : Stanley Kubrick ♥♥♥♥
แม้ภาพยนตร์อัตชีวประวัติ Napoléon Bonaparte จะล่มเหลวไม่เป็นท่า! แต่ผู้กำกับ Stanley Kubrick ยังคงมองหาโปรเจคที่มีพื้นหลังยุคสมัยใกล้เคียง ค้นพบนวนิยาย The Luck of Barry Lyndon (1844) พานผ่านสงครามเจ็ดปี (1756-63) เรื่องราวของชายหนุ่มพยายามทำทุกสิ่งอย่าง ไต่เต้าสู่จุดสูงสุดแห่งชีวิต แล้วครึ่งหลังกลับค่อยๆตกต่ำหวนกลับสู่สามัญ
The Burmese Harp (1956)
The Burmese Harp (1956) : Kon Ichikawa ♥♥♥♥♡
ทหารญี่ปุ่นนายหนึ่งเมื่อพบเห็นความเป็น-ตาย การสูญเสียอันไร้สาระช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ไม่เชิงว่าออกบวชแต่ได้กลายเป็นพระสงฆ์ในประเทศพม่า ตัดสินใจไม่หวนกลับบ้าน ต้องการทำบางสิ่งอย่างให้สำเร็จลุล่วงเสียก่อน, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Mrs. Miniver (1942) : William Wyler ♥♥♥♡
ขนาดว่า Joseph Goebbels ยังต้องเอ่ยปากชื่นชมและหวาดสะพรึงกลัว! เรื่องราวของครอบครัว Miniver ที่ได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่สอง ไร้ซึ่งถ้อยคำตำหนิด่าทอทหารเยอรมัน แต่สามารถชักชวนเชื่อให้ต่อต้านนาซีอย่างทรงพลัง, คว้า Oscar ถึง 6 สาขา รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี