
วัยรุ่นในขวดโหล ชอบทำตัวเหมือนปลากัด มองหน้าหาเรื่องทะเลาะวิวาท นำเสนอด้วยวิธีการอันฉูดฉาด Avant-Garde ผสมกับ Film Noir ในสไตล์ German Expressionism เอาแค่เพียงภาพถ่าย Time-Lapse ก็คุ้มค่าแก่การรับชมแล้ว
วัยรุ่นในขวดโหล ชอบทำตัวเหมือนปลากัด มองหน้าหาเรื่องทะเลาะวิวาท นำเสนอด้วยวิธีการอันฉูดฉาด Avant-Garde ผสมกับ Film Noir ในสไตล์ German Expressionism เอาแค่เพียงภาพถ่าย Time-Lapse ก็คุ้มค่าแก่การรับชมแล้ว
ผู้กำกับ Lars von Trier ล้มป่วยโรคซึมเศร้า (Depression) ระหว่างเข้ารับการบำบัดด้วยวิธีการ ‘Exposure Therapy’ พัฒนาบทหนัง Antichrist เพื่อเผชิญหน้าความกลัวของตนเอง ท้าทายให้ผู้ชมเอาตัวรอดจากสวนอีเดนของซาตาน
เลือนลางระหว่างภาพยนตร์-ละคอนเวที มีเพียงเส้นชอล์กขีดแบ่งบ้านแต่ละหลัง ทุกสิ่งอย่างล้วนเปิดกว้าง แต่ทุกคนกลับสร้างบางอย่างขึ้นมากีดขวางกั้น เรียกร้องโน่นนี่นั่น เพื่อให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคเท่าเทียม นี่นะหรือวิถีอเมริกัน? ดินแดนแห่งโอกาส สำหรับเติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน แต่เมื่ออาศัยอยู่นานวัน สันดานธาตุแท้ผู้คนจักค่อยๆเปิดเผยออกมา
ประมาณ 8 ชั่วโมงกับภาพถ่ายตึก Empire State Building ตั้งแต่พระอาทิตย์ใกล้ตกดิน จนท้องฟ้ามืดมิด แล้วเปิดไฟส่องสว่าง บางคนอาจสามารถเพลิดเพลินผ่อนคลาย แต่สำหรับอีกหลายคนกลับรู้สึกน่าเบื่อหน่ายชิบหาย
การทดลองเกี่ยวกับสื่อภาพยนตร์ที่แปลกประหลาด แต่กลับประสบความสำเร็จที่สุดของ Andy Warhol ด้วยการบันทึกภาพเรื่อยเปื่อยของผู้พักอาศัยใน Hotel Chelsea แล้วนำมาฉายสองจอพร้อมกัน ‘Split Screen’ ความยาวตั้ง 210 นาที จะมีใครดูรู้เรื่องไหมเนี่ย?
ชายชุดดำควบขี่ม้าอยู่กลางทะเลทราย ด้านหลังมีเด็กชายเปลือยเปล่าไม่สวมใส่เสื้อผ้า พอมาถึงเสาไม้แห่งหนึ่งสั่งให้ขุดกลบฝังตุ๊กตาหมีและรูปถ่ายมารดา, ถ้าคุณสามารถทำความเข้าใจนัยยะเชิงสัญลักษณ์ดังกล่าวได้ ค่อยลองหาโคตรหนัง Surrealist เรต NC-17 เรื่องนี้มารับชมนะครับ
เด็กหญิงพยายามปกป้อง ‘ไข่’ ของรักของหวง ราวกับลูกในครรภ์ แต่การมาถึงของชายคนหนึ่ง ชักชวนให้ครุ่นคิดตั้งคำถาม สิ่งมีค่าข้างในนั้นคืออะไร? ซึ่งวินาทีที่เขาตัดสินใจทุบทำลาย ความเชื่อมั่น ศรัทธาต่อพระเจ้า ของผู้กำกับ Mamoru Oshii ก็พลันสูญสิ้นไป
Rosetta (1999) : Dardenne brothers ♥♥♡
วัยรุ่นสาว Rosetta (บทบาทแรกแจ้งเกิด Émilie Dequenne) แค่ต้องการงานทำ มีชีวิตแบบปกติทั่วไป และขอเพื่อนสนิทสักคน แต่โชคชะตานำพาให้เธอได้มาแล้วสูญเสีย ตกบ่อน้ำซ้ำแล้วซ้ำอีก เมื่อไหร่กันฉันจะมีโอกาสนั้น, คว้ารางวัล Palme d’Or อย่างเอกฉันท์จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
Stranger Than Paradise (1984) : Jim Jarmusch ♥♥♥♥
สหรัฐอเมริกาเป็นดินแดนที่แปลกประหลาด หรือสรวงสวรรค์กันแน่? ผลงานแรกแจ้งเกิดผู้กำกับ Jim Jarmusch กลายเป็นหลักเขตเรื่องสำคัญของวงการหนังอิสระ (Indy Film) ด้วยเทคนิคสุดแสนเรียบง่ายแต่งดงามดั่งบทกวี คว้ารางวัล Caméra d’Or จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
Offret (1986) : Andrei Tarkovsky ♥♥♥♥
แนวคิดของชาวคริสเตียนและปรมาจารย์ผู้กำกับ Andrei Tarkovsky สิ่งทรงคุณค่าสูงสุดที่ทำให้มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐแตกต่างจากเดรัจฉาน คือเรียนรู้จักการเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น แม้บางครั้งอาจต้องแลกมาด้วยชีวิต ทรัพย์สิน และทุกคนรอบข้าง
Nostalghia (1983) : Andrei Tarkovsky ♥♥♥
เพราะไม่สามารถอดรนทนต่อความเผด็จการของสหภาพโซเวียต ปรมาจารย์ผู้กำกับ Andrei Tarkovsky เลยอพยพหลบหนีภัยมาอยู่ประเทศอิตาลี แต่ก็ยังคร่ำครวญหวนระลึกถึง’ภาพ’ผืนแผ่นดินบ้านเกิด ถ่ายทอดออกมาสู่ Nostalghia ด้วยความรวดร้าวระทมใจ
Stalker (1979) : Andrei Tarkovsky ♥♥♥♥
Stalker ในบริบทของภาพยนตร์เรื่องนี้ คือผู้นำทางนักวิทยาศาสตร์ และนักเขียนนวนิยาย (ค้นหาความจริง vs. จินตนาการเพ้อฝัน) มุ่งสู่ Zone ดินแดนอันตรายที่บุคคลทั่วไปไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวข้องแว้ง โดยมีเป้าหมายคือ Room ห้องเล็กๆที่สามารถดลบันดาลได้ทุกสิ่งอย่าง
นักแสดงละครเวทีชื่อดัง (รับบทโดย Gena Rowlands) ค่ำคืนหนึ่งพบเห็นแฟนคลับสาวรุ่นเยาว์ถูกรถชนเสียชีวิต หมกมุ่นยึดติดภาพเหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อการแสดงค่อยๆปรับเปลี่ยนแปลงไป
ภาพยนตร์ที่จะกระชาก “หน้ากาก” สังคมอเมริกัน เปิดเผยสันดานธาตุแท้ ปลุกตื่นจากความฝัน เพราะโลกความจริงนั้นเต็มไปด้วยสิ่งอัปลักษณ์ การสร้างภาพ ลวงหลอกตนเอง
Gertrud (1964) : Carl Theodor Dreyer ♥♥♥♥♡
Swan Song ของปรมาจารย์ผู้กำกับ Carl Theodor Dreyer ที่มีความเป็น ‘pure cinema’ เน้นถ่ายทำ Long Take เพียง 90 คัทในระยะเวลา 116 นาที ตัวละครแค่พูดคุยสนทนา เดินนั่งสลับตำแหน่ง แต่กลับทรงพลังระดับล้างผลาญ, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Day of Wrath (1943) : Carl Theodor Dreyer ♥♥♥
ระหว่างบุคคลที่ตนรัก กับศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า ภาพยนตร์เรื่องนี้ชักชวนให้ผู้ชมเลือกข้าง แล้วนำเสนอผลกระทบเกิดขึ้นตามมา ซึ่งต่างลงเอยด้วยความเกรี้ยวกราดโกรธเกลียดตัวเอง ไหนละฝั่งฝ่ายที่ถูกต้อง มันช่างมืดหมองทุกทิศทางตัดสินใจ!
นักวิจารณ์ต่างยกให้เป็นเอกฉันท์ “Masterpiece of the Feminine’ ด้วยความยาว 201 นาที ดำเนินไปอย่างเอื่อยๆเฉื่อยๆ (Slow Cinema) ด้วยวิธีการสุดเรียบง่าย (สไตล์ Minimalist) ไม่เกินสิบนาทีหลายคนคงได้หลับสนิท แต่ถ้าอดรนทนไปเรื่อยๆจะตระหนักถึงความทรงพลัง สิ่งที่มารดาต้องแบกภาระ เสียสละ กระทำซ้ำทุกวี่วันเพื่ออนาคตของบุตร
Salò, or the 120 Days of Sodom (1975) : Pier Paolo Pasolini ♥♥♡
ผลงาน Swan Song ของผู้กำกับ Pier Paolo Pasolini ดัดแปลงจากวรรณกรรมชิ้นเอกของ Marquis de Sade ผู้ให้กำเนิดคำว่า Sadism ทำการสะท้อนเสียดสี ตีแผ่ความสุดโต่ง คอรัปชั่นคดโกงกินของชนชั้นปกครอง ต่อประชาชนคนทั่วไปผู้มิอาจโต้ตอบต่อกรทำอะไรได้ ช่างเป็นทรมานบันเทิงที่หาความเริงรมณ์ไม่ได้สักนิด
Funeral Parade of Roses (1969) : Toshio Matsumoto ♥♥♥♥
หลายๆไดเรคชั่นของภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้กำกับ Stanley Kubrick สร้าง A Clockwork Orange (1971) ต่างเพียงความรุนแรงที่สะสมในตัวเด็กชาย ได้แปรสภาพให้เขาเติบโตขึ้นกลายเป็นเกย์ ดำเนินเรื่องแบบไม่เรียงตามลำดับเวลา (Non-Chronological Order) ความจริง-ความฝัน อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต ซ้อนทับกันอย่างเบลอๆ ดูยากยิ่งกว่า 8½ (1963) แต่คือ Masterpiece ของแนว LGBT ที่สั่นสะเทือนวงการภาพยนตร์ใต้ดินญี่ปุ่น
มะลิลา (พ.ศ. ๒๕๖๑) : อนุชา บุญยวรรธนะ ♥♥♥♥♡
พิธีบายศรีสู่ขวัญ เป็นกุศโลบายตามความเชื่อของชาวเรา เพื่อเรียกขวัญ/ดวงวิญญาณ/สติ ให้กลับหวนคืนสู่ตัวเรา เฉกเช่นเดียวกับการนั่งสมาธิสงบสติอารมณ์ พระธุดงค์ไปตามป่าเขาเพื่อออกค้นหาสติและปัญญา เรียนรู้จักสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยงจีรัง โอบกอดยอมรับความตายเพราะนั่นคือสัจธรรมความจริงสากล, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”