วัยรุ่นในขวดโหล ชอบทำตัวเหมือนปลากัด มองหน้าหาเรื่องทะเลาะวิวาท นำเสนอด้วยวิธีการอันฉูดฉาด Avant-Garde ผสมกับ Film Noir ในสไตล์ German Expressionism เอาแค่เพียงภาพถ่าย Time-Lapse ก็คุ้มค่าแก่การรับชมแล้ว
ป้ายกำกับ: Avant-Garde
Otoshiana (1962)
ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของผู้กำกับ Hiroshi Teshigahara, คนงานเหมืองถูกฆาตกรรมโดยไม่ทราบสาเหตุ กลายเป็นวิญญาณล่องลอย พยายามออกติดตามหาเบื้องหลังความจริง แต่รู้คำตอบแล้วจะสามารถทำอะไร? เพียงว่ายเวียนวนอยู่บนโลกหลังความตาย
Dogville (2003)
เลือนลางระหว่างภาพยนตร์-ละคอนเวที มีเพียงเส้นชอล์กขีดแบ่งบ้านแต่ละหลัง ทุกสิ่งอย่างล้วนเปิดกว้าง แต่ทุกคนกลับสร้างบางอย่างขึ้นมากีดขวางกั้น เรียกร้องโน่นนี่นั่น เพื่อให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคเท่าเทียม นี่นะหรือวิถีอเมริกัน? ดินแดนแห่งโอกาส สำหรับเติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน แต่เมื่ออาศัยอยู่นานวัน สันดานธาตุแท้ผู้คนจักค่อยๆเปิดเผยออกมา
Honō to Onna (1967)
ผลงานจากหนึ่งในผู้กำกับรุ่น Shōchiku Nouvelle Vague (หรือ Japanese New Wave) ที่แพรวพราวไปด้วย ‘Mise-en-scène’ แต่ประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับเด็กหลอดแก้วคือลูกของใคร? มันช่างเฉิ่มเฉย ตกยุคสมัย
อนิเมชั่นเรื่องแรกๆของ Mushi Production (ก่อตั้งโดย Osamu Tezuka) ทำการทดลองสร้างตัวละครจากภาพโปสเตอร์ที่ติดอยู่ตามตรอกซอกซอย แม้ไม่สามารถขยับเคลื่อนไหว แต่ใช้ลูกเล่นตัดต่อสร้างจังหวะให้สอดคล้องบทเพลง แถมยังมีเรื่องราวจับต้องได้, คว้ารางวัล Ōfuji Noburō Award
Le Procès (1962)
ไม่ใช่ดัดแปลงแต่ได้แรงบันดาลใจจากนวนิยายเขียนไม่เสร็จของ Franz Kafka นำเสนอการพิจารณา(คดีความ)ตัวตนเองของผู้กำกับ Orson Welles ฉันกระทำความผิดอะไร ถึงถูกขับไล่ ผลักไส จำใจต้องออกจาก Hollywood
Entr’acte (1924)
เริ่มต้นบนชั้นดาดฟ้า ปืนใหญ่โบราณกำลังเคลื่อนเข้ามา (ด้วยเทคนิค Stop Motion) จากนั้นศิลปินดาด้า Francis Picabia และคีตกวี Erik Satie ค่อยๆกระย่องกระแย้ง (อย่าง Slow Motion) มายืนโต้ถกเถียง เตรียมจุดปืนใหญ่ใส่กรุง Paris แล้วกระโดดถอยหลังออกจากเฟรม (Reverse Shot)
Limite (1931)
Limite ภาษาโปรตุเกส แปลว่า Limit, ขีดสุดความอัดอั้นของชายหนึ่ง-หญิงสอง ล่องลอยคออยู่กลางมหาสมุทร Atlantic คนหนึ่งเป็นอาชญากรหลบหนี อีกคนเบื่อหน่ายสามี ส่วนชายหนุ่มถูกจับได้ว่าคบชู้เมียคนอื่น พวกเขาแทบมิอาจอดกลั้นฝืนทนอยู่บนโลกใบนี้ได้อีกต่อไป
À propos de Nice (1930)
ระหว่างกำลังร้อยเรียงภาพเมือง Nice, France รวมถึงเทศกาล Nice Carnival (Carnaval de Nice) จู่ๆมีการแทรกภาพจระเข้ หญิงสาวเปลือยกาย ชายทาครีมกันแดดสีดำ หลากหลายสิ่งอัปลักษณ์ปรากฎแวบขึ้นมา เพื่อจะสื่อว่าเปลือกภายนอกที่ดูวิจิตรงดงาม อาจซุกซ่อนเร้นสิ่งชั่วร้ายบางอย่าง
Regen (1929)
ร้อยเรียงภาพความงดงามของหยาดฝน พรำลงบน Amsterdam, Netherlands สร้างความเปียกปอน ชุ่มฉ่ำ เบิกบานหฤทัย (Cinéma Pur) ได้รับการยกย่อง “Masterpiece of Dutch Avant-Garde Cinema”
Rien que les heures (1926)
สำรวจวิถีชนชั้นล่างในกรุง Paris ด้วยแนวคิด ‘city symphony’ แพรวพราวเทคนิคภาพยนตร์ แต่ตอนจบอาจดูมึนๆงงๆ ผู้กำกับ Alberto Cavalcanti คงต้องการสื่อถึงทุกสถานที่บนโลกใบนี้ ล้วนไม่มีความแตกต่างกัน
Manhatta (1921)
ร้อยเรียงภาพภูมิทัศน์ ‘city symphony’ สิ่งก่อสร้าง ตึกระฟ้าสูงใหญ่บนเกาะ Manhattan แห่งมหานคร New York ดินแดนที่ถือเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การเงิน วัฒนธรรม ความเจริญอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกา และหนังสั้นเรื่องนี้ยังได้รับการตีตรา “First American Avant-Garde Film”
Vesnoi (1929)
Mikhail Kaufman คือน้องชายของ Dziga Vertov เคยเป็นตากล้องถ่ายทำ Man with a Movie Camera (1929) แต่เพราะความครุ่นคิดเห็นแตกต่าง เลยแยกตัวออกมาสรรค์สร้าง In Spiring (1929) ร้อยเรียงภาพการมาถึงของฤดูไม้ผลิ ณ กรุง Kyiv, Ukraine ได้อย่างงดงาม บริสุทธิ์ (Cinéma Pur)
ผลงานเรื่องสุดท้ายของผู้กำกับ Darek Jarman หลังติดเชื้อไวรัส HIV ทำให้สายตาพร่าบอด สรรค์สร้างโคตรภาพยนตร์แนวทดลองเรื่องนี้ โดยใช้เพียงเสียงบรรยายและฉายภาพสีน้ำเงิน International Klein Blue (#002FA7) แทนความเจ็บปวด เศร้าโศก แต่ไม่เคยตกอยู่ในความหมดสิ้นหวัง
กล้องตัวแรกบันทึกภาพการทดสอบหน้ากล้อง, กล้องตัวที่สองบันทึกภาพเบื้องหลังกล้องตัวแรก, กล้องตัวที่สามบันทึกภาพเบื้องหลังกล้องตัวที่หนึ่งและสอง, การทดลองภาพยนตร์ในมุมมองบุคคลที่หนึ่ง-สอง-สาม สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้บรรดาทีมงาน เบื้องหลังถึงขนาดแอบนัดพูดคุย โต้ถกเถียง ทั้งเผาทั้งข่มขืนผู้กำกับเป็นว่าเล่น
Ballet Mécanique (1924)
การเริงระบำของจักรกล คือภาพยนตร์แนวทดลอง (Experimental) ด้วยอิทธิพลของ Dadaism เปรียบเทียบระหว่างมนุษย์กับเครื่องยนต์กลไก ทั้งภาพและเสียงต่างมีความตื่นหู ตื่นตา แปลกใหม่ เปิดประสบการณ์ไม่ซ้ำแบบใคร
นำกล้องติดตั้งบนแขนจักรกล สามารถเคลื่อนหมุนรอบทุกทิศทาง ตั้งไว้กลางทิวทัศน์ธรรมชาติไร้ผู้คน แล้วทดลองบันทึกภาพความยาว 3 ชั่วโมงอาจดูน่าเบื่อหน่าย แต่บางคนคงเพลิดเพลินกับความเป็นไปได้ไม่รู้จบ
Wavelength (1967)
ได้รับยกย่อง “Masterpiece of Experimental Cinema” ทั้งๆมีเพียงการถ่ายภาพภายในห้องพัก 45 นาทีค่อยๆซูมเข้าไปยังรูปภาพ’คลื่น’ทะเลบนฝาผนัง แต่กลับเต็มไปด้วยรายละเอียดชวนให้ขบครุ่นคิด โดยเฉพาะการใช้เสียงลวงหู ‘Auditory Illusion’ ทุกสิ่งอย่างพบเห็นล้วนคือภาพลวงตา ‘Strawberry Fields Forever’
ประมาณ 8 ชั่วโมงกับภาพถ่ายตึก Empire State Building ตั้งแต่พระอาทิตย์ใกล้ตกดิน จนท้องฟ้ามืดมิด แล้วเปิดไฟส่องสว่าง บางคนอาจสามารถเพลิดเพลินผ่อนคลาย แต่สำหรับอีกหลายคนกลับรู้สึกน่าเบื่อหน่ายชิบหาย
การทดลองเกี่ยวกับสื่อภาพยนตร์ที่แปลกประหลาด แต่กลับประสบความสำเร็จที่สุดของ Andy Warhol ด้วยการบันทึกภาพเรื่อยเปื่อยของผู้พักอาศัยใน Hotel Chelsea แล้วนำมาฉายสองจอพร้อมกัน ‘Split Screen’ ความยาวตั้ง 210 นาที จะมีใครดูรู้เรื่องไหมเนี่ย?