
โรงแรมสุดหรูที่ Wes Anderson เพ้อรำพัน ฝันจินตนาการ ช่วงเวลาที่เขาเองไม่เคยพานผ่าน แต่ครุ่นคิดอยากเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์, คว้ารางวัล Silver Berlin Bear: Grand Jury Prize (ที่สอง) และอีก 4 รางวัล Oscar
โรงแรมสุดหรูที่ Wes Anderson เพ้อรำพัน ฝันจินตนาการ ช่วงเวลาที่เขาเองไม่เคยพานผ่าน แต่ครุ่นคิดอยากเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์, คว้ารางวัล Silver Berlin Bear: Grand Jury Prize (ที่สอง) และอีก 4 รางวัล Oscar
วินาทีที่คุณหนูไฮโซ Kate Winslet ให้คำมั่นสัญญาหนีตามไอ้หนุ่มชนชั้นสาม Leonardo DiCaprio นั่นคือสิ่งที่สังคมสมัยนั้นยังไม่ให้การยินยอมรับ พอดิบพอดีกับเรือ RMS Titanic พุ่งชนภูเขาน้ำแข็งอย่างจัง กลายเป็นคำเรียก ‘ชู้รักเรือล่ม’ ไม่มีวันจมหายตามกาลเวลา
ขณะที่ Emma Thompson (ในบทคว้ารางวัล Oscar: Best Actress) สามารถให้อภัยชายคนรักจากความผิดพลาดทุกสิ่งอย่างในอดีต แต่ Anthony Hopkins กลับปฏิเสธยกโทษน้องสะใภ้ Helena Bonham Carter เพียงเพราะตั้งครรภ์โดยไม่รู้ใครเป็นพ่อของเด็ก, วรรณกรรมชิ้นเอกของ E. M. Forster สู่ภาพยนตร์มาสเตอร์พีซของ James Ivory
ดัดแปลงจากนวนิยายของ E. M. Forster (Howards End, A Passage to India) นำเสนอวิวทิวทัศน์แห่งความรัก ชักชวนเชื่อให้ตอบกลับความรู้สึกของหัวใจ แม้ขัดแย้งขนบสังคมประเทศอังกฤษก็ช่างหัวมันประไร แจ้งเกิดนักแสดงยังสาวสวย Helena Bonham Carter แถมด้วยบทบ้าๆบอๆของ Maggie Smith และ Daniel Day-Lewis
มหาตมา คานธี พยายามอย่างยิ่งจะใช้หลัก ‘อหิงสา’ ไม่เบียดเบียน ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา แต่ท้ายสุดก็มิอาจเอาชนะสันดานธาตุแท้มนุษย์ ถูกเข่นฆาตกรรมโดยผู้มีความครุ่นคิดเห็นต่าง ปัจจุบันหลงเหลือเพียงตำนานลือเล่าขาน ค่อยๆถูกหลงลืมเลือนไปตามกาลเวลา, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ต้นฉบับนวนิยาย Lost Horizon (1933) ให้กำเนิดสถานที่แห่งอุดมคติ แชงกรีล่า (Shangri-La) ดินแดนลึกลับสุดปลายขอบฟ้า หลบซ่อนท่ามกลางขุนเขาหิมาลัย ใครๆต่างใช้ชีวิตอย่างสุขสงบร่มเย็น มีความเพียงพอดี พึงพอใจในสิ่งที่มี มิต้องต่อสู้ดิ้นรนแข่งกับใคร แต่ใช่ว่าทุกคนจะอยากอยู่อาศัยยังสรวงสวรรค์แห่งนี้, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Barry Lyndon (1975) : Stanley Kubrick ♥♥♥♥
แม้ภาพยนตร์อัตชีวประวัติ Napoléon Bonaparte จะล่มเหลวไม่เป็นท่า! แต่ผู้กำกับ Stanley Kubrick ยังคงมองหาโปรเจคที่มีพื้นหลังยุคสมัยใกล้เคียง ค้นพบนวนิยาย The Luck of Barry Lyndon (1844) พานผ่านสงครามเจ็ดปี (1756-63) เรื่องราวของชายหนุ่มพยายามทำทุกสิ่งอย่าง ไต่เต้าสู่จุดสูงสุดแห่งชีวิต แล้วครึ่งหลังกลับค่อยๆตกต่ำหวนกลับสู่สามัญ
Shakespeare in Love (1998) : John Madden ♥♥♥♡
ร่วมค้นหาแรงบันดาลของ William Shakespeare ในการสรรค์สร้างผลงานชิ้นเอกก้องโลก Romeo and Juliet เรื่องคุณภาพก็ใช่ว่าย่ำแย่เลวร้ายประการใด แต่การคว้า Oscar: Best Picture ตัดหน้า Saving Private Ryan, The Thin Red Line, Life Is Beautiful มันช่างน่าพิศวงเสียจริง!
Out of Africa (1985) : Sydney Pollack ♥♥♥♡
แม้ถูกจัดเป็นหนึ่งใน Worse Oscar: Best Picture แต่ความงดงามผืนแผ่นดิน East Africa การแสดงชั้นเลิศของ Meryl Streep และเพลงประกอบสุดฟินโดย John Barry จักทำให้คุณอิ่มหนำสุขสำราญ แม้ด้วยความอืดอาดเชื่องช้า 161 นาที
Gigi (1958) : Vincente Minnelli ♥♥
กวาดเรียบ 9 รางวัล Oscar รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี สูงเป็นสถิติแต่ตกต่ำสุดด้านศีลธรรมมโนธรรม, Leslie Caron รับบทลูกสาวโสเภณี ได้รับการเสี้ยมสั่งสอนวิธีเกาะกินผู้ชาย ทีแรกพยายามดิ้นรนขัดขืนแต่สุดท้ายข้ออ้างเพราะรัก อยากจะทำอะไรกับฉันก็ยินยอม
Cavalcade (1933) : Frank Lloyd ♥♥♥
อีกหนึ่ง Worse Oscar: Best Picture นำเสนอครอบครัวชาวอังกฤษ มีชีวิตพานผ่านวันสิ้นปี 1899 จนถึงปีใหม่ 1933, พบเห็นสงคราม Second Boer War (1899-1902), การสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (22 มกราคม 1901), เรือไททานิคล่ม (14 เมษายน 1912) และสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (1914-18)
Cimarron (1931) : Wesley Ruggles ♥♥♥
ถึงถูกจัดให้เป็นหนึ่งใน Worse Oscar: Best Picture แต่การได้พบเห็นประวัติศาสตร์ วิวัฒนาการรัฐ Oklahoma ตั้งแต่เริ่มต้นบุกเบิก 1889 จนถึงปี 1929 ช่างอลังการงานสร้างยิ่งนัก
มหา’ลัย เหมืองแร่ (พ.ศ. ๒๕๔๘) : จิระ มะลิกุล ♥♥♥♡
ณ จุดตกต่ำสุดในชีวิตของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ สอบตกโดนรีไทร์ เที่ยวเตร่สำมะเลเทเมา เลยถูกพ่อส่งไปทำงานกรรมกรเหมืองแร่ อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เรียนรู้จักความยากลำบาก เหน็ดเหนื่อยสายตัวแทบขาด กลายเป็นบทเรียนอันทรงคุณค่า มากยิ่งกว่าการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ผีเสื้อและดอกไม้ (พ.ศ. ๒๕๒๘) : ยุทธนา มุกดาสนิท ♥♥♥♥
ผีเสื้อและดอกไม้ เป็นสิ่งเคียงคู่เกื้อหนุนพึ่งพากันและกันอย่างขาดไม่ได้ เฉกเช่นเดียวกับมนุษย์ชาย-หญิง ฮูยัน-มิมปี แม้เติบโตขึ้นบนโลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์ยากลำบาก แต่ชีวิตก็ยังมีสิ่งสวยงามให้เชยชม, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Sting (1973) : George Roy Hill ♥♥♥♥♡
มาร่วมกันถูกต้มตุ๋นไปกับสองคู่หู Paul Newman & Robert Redford ในโคตรหนัง 7 รางวัล Oscar รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ทำเงินสูงสุดแห่งปี พื้นหลังเมือง Chicago ทศวรรษ 30s เสื้อผ้าวินเทจย้อนยุค และเพลงประกอบ Ragtime สุดคลาสสิก, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
๒๔๙๙ อันธพาลครองเมือง (พ.ศ. ๒๕๔๐) : นนทรีย์ นิมิบุตร ♥♥♥♡
มันคือปัจจัยแวดล้อมของประเทศไทย พ.ศ. นั้น หรือเพราะโชคชะตากรรมกันแน่ ที่ทำให้แดง ไบเล่, แหลมสิงห์, เปี๊ยก วิสุทธิ์กษัตริย์ กลายเป็นศัตรูคู่อาฆาตแค้น เจอหน้าต้องฆ่าให้ตายกับปุ๊ ระเบิดขวด และดำ เอสโซ่, สำหรับคนไทย “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Amadeus (1984) : Miloš Forman ♥♥♥♥♡
เรื่องราวชีวประวัติของคีตกวีอัจฉริยะก้องโลก Wolfgang Amadeus Mozart คงไร้ซึ่งความน่าสนใจใดๆหากปราศจากศัตรูคู่อาฆาต Antonio Salieri ที่ถือเป็นคีตกวีชื่อดังแห่งยุคนั้น แต่กาลเวลามิเคยจารึกจดจำไว้ในประวัติศาสตร์ เบื้องหน้าทั้งสองคือมิตรสหายเพื่อนร่วมงานพึ่งพากันได้ แต่ลึกๆแล้ว Salieri จงเกลียดจงชัง Mozart เข้ากระดูกดำ, เข้าชิง Oscar 11 สาขา คว้ามา 8 รางวัล รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
A Streetcar Named Desire (1951) : Elia Kazan ♥♥♥♥
Vivien Leigh ขึ้นรถรางมุ่งสู่ตรอกซอยแห่งราคะ พบเจอ Marlon Brando ในคราบของสัตว์ป่าดิบเถื่อน ที่มองเห็นตัวตนแท้จริงของกันและกัน ระเบิดความโกรธเกลียดเคียดแค้นอย่างรุนแรงสมจริง ด้วยเทคนิค Method Acting ครั้งแรกของวงการภาพยนตร์
Lincoln (2012) : Steven Spielberg ♥♥♥♥
ไม่ใช่แค่การแสดงของ Daniel Day-Lewis ในบท Abraham Lincoln ที่สมบูรณ์แบบ แต่ทั้งโปรดักชั่นที่ Steven Spielberg ทุ่มเทเพาะบ่มมาตั้งแต่ปี 1999 สวยงามทรงพลังไร้ที่ติ, นำเสนอช่วงเวลาของการลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่สิบสาม ห้ามการมีและซื้อขายทาสตลอดไป ในทุกๆพื้นที่ภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกา, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Great Expectations (1946) : David Lean ♥♥♥♥♡
ดัดแปลงจากวรรณกรรมเยาวชนคลาสสิกอมตะของ Charles Dickens ที่มีความโดดเด่นล้ำในการผสมผสานหลากแนวเข้าด้วยกัน Gothic Horror, Historical, Crime, Comedy, Satire, Melodrama, Romance ฯ สร้างโดยผู้กำกับ David Lean ได้ยิ่งใหญ่เกินความคาดหมาย, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”