วินาทีที่คุณหนูไฮโซ Kate Winslet ให้คำมั่นสัญญาหนีตามไอ้หนุ่มชนชั้นสาม Leonardo DiCaprio นั่นคือสิ่งที่สังคมสมัยนั้นยังไม่ให้การยินยอมรับ พอดิบพอดีกับเรือ RMS Titanic พุ่งชนภูเขาน้ำแข็งอย่างจัง กลายเป็นคำเรียก ‘ชู้รักเรือล่ม’ ไม่มีวันจมหายตามกาลเวลา
ป้ายกำกับ: Best Cinematography
การมาถึงของคนขาว (White Shadows) ยังท้องทะเลตอนใต้ (South Seas) พยายามควบคุมครอบงำ บ่อนทำลายสรวงสวรรค์ ปรับเปลี่ยนแปลงสถานที่แห่งนี้ให้กลายเป็นอาณานิคมของตนเอง (Colonialism), คว้ารางวัล Oscar: Best Cinematography ในงานประกาศรางวัลครั้งที่สอง
Gandhi (1982)
มหาตมา คานธี พยายามอย่างยิ่งจะใช้หลัก ‘อหิงสา’ ไม่เบียดเบียน ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา แต่ท้ายสุดก็มิอาจเอาชนะสันดานธาตุแท้มนุษย์ ถูกเข่นฆาตกรรมโดยผู้มีความครุ่นคิดเห็นต่าง ปัจจุบันหลงเหลือเพียงตำนานลือเล่าขาน ค่อยๆถูกหลงลืมเลือนไปตามกาลเวลา, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Mission (1986) : Roland Joffé ♥♥
เรื่องราวของ Missionary คณะ Jesuit เดินทางเข้าไปเผยแพร่ศาสนายังทวีปอเมริกาใต้ ให้กับชนเผ่าพื้นเมืองแห่ง Amazon แต่พอศรัทธาเริ่มบังเกิด กลับถูกสั่งให้ล้มเลิกภารกิจ นี่นะหรือลัทธิอาณานิคม, น่าจะเป็นภาพยนตร์รางวัล Palme d’Or ยอดแย่ที่สุด
The Revenant (2015)
The Revenant (2015) : Alejandro González Iñárritu ♥♥♥♥
ธรรมชาติวิทยาของมนุษย์ ใครเข่นฆาตกรรมลูกเราก็ต้องติดตามล้างแค้นเอามันคืน! แต่นั่นมันสัจธรรมความจริงเสียที่ไหน เมื่อใดผู้ถูกกระทำเรียนรู้จักการให้อภัย สามารถปลดปล่อยวางอคติ ความหมกมุ่นครุ่นยึดติด สูดลมหายใจเข้า-ออกช้าๆเกิดเป็นสมาธิ จิตวิญญาณก็จักพบเจอความสงบสันติสุขในชีวิต
Birdman (2014)
Birdman (2014) : Alejandro González Iñárritu ♥♥♥♥♡
อีโก้ที่อยู่ภายในความหมกมุ่นครุ่นคิดของ Alejandro González Iñárritu สงบลงได้เพราะการนั่งสมาธิทุกตื่นเช้า รังสรรค์สร้าง Birdman เพื่อปลดปล่อยมันให้ได้รับอิสรภาพล่องลอยโผบินบ้าง ไม่เช่นนั้นคงอึดอัดแน่นคลุ้มคลั่ง จนค่อยๆสูญเสียสติควบคุมตนเองไม่ได้แน่
A Man for All Seasons (1966)
A Man for All Seasons (1966) : Fred Zinnemann ♥♥♥♥
เรื่องราวของ Sir Thomas More ผู้ซึ่งไม่ว่าอะไรจะบังเกิดขึ้น ยังคงยึดถือเชื่อมั่นในศรัทธาคำสอนพระเจ้า แม้ต้องกลายเป็นปรปักษ์ขัดแย้ง King Henry VIII (1509 – 1547) ที่ต้องการหย่าร้างราชินี และต่อมาสมรสใหม่ถึง 6 ครั้งครา, คว้า 6 รางวัล Oscar และภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Close Encounters of the Third Kind (1977)
Close Encounters of the Third Kind (1977) : Steven Spielberg ♥♥♥♥
ไม่ใช่แค่วิทยาศาสตร์ที่ทำให้ค้นพบมนุษย์ต่างดาว แต่ยังจิตใจของคนที่มีความมุ่งมั่น ศรัทธาอันแรงกล้า ชีวิตไม่ปรารถนาสิ่งอื่นใด ซึ่งอาจมีเพียงบุคคลเดียวเท่านั้นได้รับโอกาสออกเดินทางสู่โลกใบหน้า อาณาจักรของ…
Barry Lyndon (1975)
Barry Lyndon (1975) : Stanley Kubrick ♥♥♥♥
แม้ภาพยนตร์อัตชีวประวัติ Napoléon Bonaparte จะล่มเหลวไม่เป็นท่า! แต่ผู้กำกับ Stanley Kubrick ยังคงมองหาโปรเจคที่มีพื้นหลังยุคสมัยใกล้เคียง ค้นพบนวนิยาย The Luck of Barry Lyndon (1844) พานผ่านสงครามเจ็ดปี (1756-63) เรื่องราวของชายหนุ่มพยายามทำทุกสิ่งอย่าง ไต่เต้าสู่จุดสูงสุดแห่งชีวิต แล้วครึ่งหลังกลับค่อยๆตกต่ำหวนกลับสู่สามัญ
Out of Africa (1985)
Out of Africa (1985) : Sydney Pollack ♥♥♥♡
แม้ถูกจัดเป็นหนึ่งใน Worse Oscar: Best Picture แต่ความงดงามผืนแผ่นดิน East Africa การแสดงชั้นเลิศของ Meryl Streep และเพลงประกอบสุดฟินโดย John Barry จักทำให้คุณอิ่มหนำสุขสำราญ แม้ด้วยความอืดอาดเชื่องช้า 161 นาที
Gigi (1958)
Gigi (1958) : Vincente Minnelli ♥♥
กวาดเรียบ 9 รางวัล Oscar รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี สูงเป็นสถิติแต่ตกต่ำสุดด้านศีลธรรมมโนธรรม, Leslie Caron รับบทลูกสาวโสเภณี ได้รับการเสี้ยมสั่งสอนวิธีเกาะกินผู้ชาย ทีแรกพยายามดิ้นรนขัดขืนแต่สุดท้ายข้ออ้างเพราะรัก อยากจะทำอะไรกับฉันก็ยินยอม
Around the World in 80 Days (1956)
Around the World in 80 Days (1956) : Michael Anderson ♥♥♡
ตื่นตระการตาไปกับการผจญภัยรอบโลก 80 วัน พร้อมนักแสดงรับเชิญร่วมสร้างสีสันมากมาย ถ่ายทำด้วยกล้อง Todd-AO 70mm เพลงประกอบโคตรไพเราะโดย Victor Young พบเห็นกระบวนพยุหยาตราชลมารคประมาณ 10 วินาที และ Closing Credit อนิเมชั่นโดย Saul Bass เพียงเท่านี้ก็สามารถคว้ารางวัล Oscar: Best Picture
From Here to Eternity (1953)
From Here to Eternity (1953) : Fred Zinnemann ♥♥♥♥
ไม่ว่าประเทศไหนๆก็คงเหมือนกัน! เพราะสิ่งที่เรียกว่า ‘อำนาจ’ มักทำให้มนุษย์เกิดความอหังการ อ้างอวดดี เย่อหยิ่งจองหอง ผยองไปกับโลกทัศนคติผิดๆ เดินหลงจากเส้นทางเป้าหมาย ตราบจนชั่วนิรันดร์ไม่อาจหวนกลับคืน, คว้า Oscar 8 สาขา รวมทั้งภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
A Place in the Sun (1951)
A Place in the Sun (1951) : George Stevens ♥♥♥♥
Montgomery Clift ต้องการไต่เต้าจากความมืดมิดสู่แสงสว่าง ค้นพบวิธีการเดียวเท่านั้นคือทอดทิ้งทำลายอดีต Shelly Winters แล้วครองรักแต่งงานกับ Elizabeth Taylor นั่นเป็นสิ่งถูกต้องเหมาะสมควรแล้วหรือ?, คว้า Oscar 6 สาขา แต่พลาดภาพยนตร์ยอดเยี่ยมให้ An American in Paris อย่างน่าหงุดหงิดใจ! “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Mrs. Miniver (1942) : William Wyler ♥♥♥♡
ขนาดว่า Joseph Goebbels ยังต้องเอ่ยปากชื่นชมและหวาดสะพรึงกลัว! เรื่องราวของครอบครัว Miniver ที่ได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่สอง ไร้ซึ่งถ้อยคำตำหนิด่าทอทหารเยอรมัน แต่สามารถชักชวนเชื่อให้ต่อต้านนาซีอย่างทรงพลัง, คว้า Oscar ถึง 6 สาขา รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี
15 ค่ำ เดือน 11 (2002)
๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๔๕) : จิระ มะลิกุล ♥♥♥♡
เกิดเป็นคนยุคสมัยนี้แบบ อนุชิต สพันธุ์พงษ์ ช่างแสนลำบากยากเข็น ตกอยู่กึ่งกลางระหว่างถูก-ผิด ศรัทธา-ผลประโยชน์ ตำนานความเชื่อโบราณ-วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ แต่ถึงจะอึดอัดเครียดคลั่งแค่ไหน สุดท้ายก็ต้องปล่อยวางจากความหมกมุ่นยึดติด, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Gravity (2013)
Gravity (2013) : Alfonso Cuarón ♥♥♥♥
ผู้กำกับ Alfonso Cuarón หลังเสร็จจาก Children of Men (2006) ตั้งใจจะทำโปรเจคหนึ่งแต่ประสบความล้มเหลว แถมยังเลิกร้างรากับภรรยาคนที่สอง ทำให้เขาตกอยู่ในหายนะสิ้นหวังสุดเหวี่ยง ราวกับกำลังล่องลอยเคว้งคว้างบนห้วงอวกาศ ค่อยๆเรียนรู้ที่จะปลดปล่อยวางความทุกข์โศก เมื่อเริ่มครุ่นคิดปรับตัวเข้าใจราวกับการได้เกิดใหม่ แหวกว่าย คืบคลาน ชันเข่า ลุกยืนขึ้น และก้าวเดินสู่โลกทัศนคติใบใหม่
โรงแรมนรก (พ.ศ. ๒๕๐๐) : รัตน์ เปสตันยี ♥♥♡
ดำเนินเรื่องภายในโรงแรมชื่อสวรรค์ ที่วันๆเต็มไปด้วยผู้คนมากมายผ่านมาสุงสิง แต่กลับเพียงห้องพักเดียวให้แก่งแย่งชิง ใครเป็นชาย-หญิง สุภาพบุรุษ-สตรี วัดด้วยหน้าตา คำพูด หรือการกระทำ
Our Little Sister (2015)
Our Little Sister (2015) : Hirokazu Kore-eda ♥♥♥♡
‘ไม่มีผู้ชายเราก็อยู่ได้’ นี่คือโลกทัศนคติของผู้หญิงที่โหยหาอิสรภาพความเท่าเทียมมาหลายทศวรรษ แต่ที่ญี่ปุ่นยังถือว่าเป็นของใหม่เพราะวิถีสังคมบุรุษคือช้างเท้าหน้า การรับน้องสาวต่างมารดามาอาศัยอยู่ร่วมชายคาถือเป็นความกล้าบ้าบิ่น ถึงกระนั้นไม่ลองก็ไม่รู้ อาจพบเจอความสุขรูปแบบใหม่ๆที่แตกต่างจากเดิมก็เป็นได้
Tabu (1931)
Tabu (1931) : F. W. Murnau ♥♥♥♥♡
ผลงานชิ้นสุดท้ายของผู้กำกับ F. W. Murnau แม้มิได้เต็มไปด้วยเทคนิคแพรวพราวเหมือน Sunrise (1927) แต่เรื่องราวความรักต้องห้าม แลกกับการแหกกฎความเชื่อ ‘Taboo’ ของชาวเกาะพื้นเมือง Tahiti มีความงดงามหวานขมไม่ย่อหย่อนยิ่งไปกว่า คว้ารางวัล Oscar: Best Cinematography, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”