ภาพยนตร์ชวนเชื่อสิทธิบุรุษ (Men’s Rights Propaganda) นั่นเพราะมารดา Meryl Streep ตัดสินใจทอดทิ้งบุตรชายให้กับบิดา Dustin Hoffman ผ่านไปปีกว่าๆหวนกลับมายื่นฟ้องขอสิทธิ์ในการเลี้ยงดู แล้วศาลตัดสินให้ได้รับชัยชนะ อิหยังวะ? คว้ารางวัล Oscar จำนวน 5 สาขา พร้อมภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี!
ป้ายกำกับ: Best Director
สัญชาติญาณล้วนๆของคู่หูนักสืบ Gene Hackman และ Roy Scheider ทำให้การไล่ล่าเครือข่ายลักลอบขนส่งเฮโรอีนข้ามชาติ (French Connection) มีความรุนแรง ดิบเถื่อน ฉากไล่ล่าสุดมันส์ คว้ารางวัล Oscar จำนวน 5 สาขา รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี
Tom Jones (1963)
ชายหนุ่มนาม Tom Jones (รับบทโดย Albert Finney) เลื่องชื่อเรื่องความเจ้าชู้ประตูดิน เพศสัมพันธ์กับหญิงสาวไม่ซ้ำหน้า นั่นคือสิ่งที่สังคมผู้ดีอังกฤษช่วงศตวรรษ 18 ยังไม่ให้การยินยอมรับ แต่การกำลังมาถึงของยุคสมัย Swinging London กลับสามารถคว้ารางวัล Oscar: Best Picture และทำเงินอย่างเป็นกอบเป็นกำ
Titanic (1997)
วินาทีที่คุณหนูไฮโซ Kate Winslet ให้คำมั่นสัญญาหนีตามไอ้หนุ่มชนชั้นสาม Leonardo DiCaprio นั่นคือสิ่งที่สังคมสมัยนั้นยังไม่ให้การยินยอมรับ พอดิบพอดีกับเรือ RMS Titanic พุ่งชนภูเขาน้ำแข็งอย่างจัง กลายเป็นคำเรียก ‘ชู้รักเรือล่ม’ ไม่มีวันจมหายตามกาลเวลา
Gandhi (1982)
มหาตมา คานธี พยายามอย่างยิ่งจะใช้หลัก ‘อหิงสา’ ไม่เบียดเบียน ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา แต่ท้ายสุดก็มิอาจเอาชนะสันดานธาตุแท้มนุษย์ ถูกเข่นฆาตกรรมโดยผู้มีความครุ่นคิดเห็นต่าง ปัจจุบันหลงเหลือเพียงตำนานลือเล่าขาน ค่อยๆถูกหลงลืมเลือนไปตามกาลเวลา, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
สองทหารอเมริกันช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนี่ง ถูกจับกุมโดยศัตรู ขุดรูหลบหนีค่ายกักกัน ดันขี้นรถไฟไปตุรกี แล้วลงเรือถึงยังดินแดนอาหรับ ระหว่างทางตกหลุมรักหญิงสาว และถูกบิดากับคู่หมั้นของเธอไล่เข่นฆ่า, หนังเงียบแนว Comedy อาจไม่มีดีเหนือกาลเวลา แต่ผู้กำกับ Lewis Milestone คว้ารางวัล Oscar: Best Director, Comedy Picture
The Revenant (2015)
The Revenant (2015) : Alejandro González Iñárritu ♥♥♥♥
ธรรมชาติวิทยาของมนุษย์ ใครเข่นฆาตกรรมลูกเราก็ต้องติดตามล้างแค้นเอามันคืน! แต่นั่นมันสัจธรรมความจริงเสียที่ไหน เมื่อใดผู้ถูกกระทำเรียนรู้จักการให้อภัย สามารถปลดปล่อยวางอคติ ความหมกมุ่นครุ่นยึดติด สูดลมหายใจเข้า-ออกช้าๆเกิดเป็นสมาธิ จิตวิญญาณก็จักพบเจอความสงบสันติสุขในชีวิต
Birdman (2014)
Birdman (2014) : Alejandro González Iñárritu ♥♥♥♥♡
อีโก้ที่อยู่ภายในความหมกมุ่นครุ่นคิดของ Alejandro González Iñárritu สงบลงได้เพราะการนั่งสมาธิทุกตื่นเช้า รังสรรค์สร้าง Birdman เพื่อปลดปล่อยมันให้ได้รับอิสรภาพล่องลอยโผบินบ้าง ไม่เช่นนั้นคงอึดอัดแน่นคลุ้มคลั่ง จนค่อยๆสูญเสียสติควบคุมตนเองไม่ได้แน่
Babel (2006)
Babel (2006) : Alejandro González Iñárritu ♥♥♥♥
4 ประเทศ 4 เรื่องราว แม้ถูกแบ่งแยกด้วยพรมแดน ภาษา ศาสนา เชื้อชาติพันธุ์ แต่มนุษย์ทุกคนบนโลกนั้นล้วนต้องพานพบเจอ ‘ความตาย’ สัจธรรมความจริงที่ไม่มีใครไหนสามารถหลบหลีกหนีได้รอดพ้น
A Man for All Seasons (1966)
A Man for All Seasons (1966) : Fred Zinnemann ♥♥♥♥
เรื่องราวของ Sir Thomas More ผู้ซึ่งไม่ว่าอะไรจะบังเกิดขึ้น ยังคงยึดถือเชื่อมั่นในศรัทธาคำสอนพระเจ้า แม้ต้องกลายเป็นปรปักษ์ขัดแย้ง King Henry VIII (1509 – 1547) ที่ต้องการหย่าร้างราชินี และต่อมาสมรสใหม่ถึง 6 ครั้งครา, คว้า 6 รางวัล Oscar และภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Caché (2005)
Caché (2005) : Michael Haneke ♥♥♥♥
บางสิ่งอย่างที่ถูกปกปิดบังซ่อนเร้น เมื่อได้รับการเปิดโปง/เผยแพร่ข้อเท็จจริง ย่อมสร้างความตื่นตระหนกหวาดสะพรึงกลัวให้กับทุกผู้พบเห็น อาจแสดงออกด้วยปฏิกิริยาต่อต้าน หรือถึงขั้นยินยอมรับให้อภัยกันไม่ได้เลยทีเดียว, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ผู้แทนนอกสภา (พ.ศ. ๒๕๒๖) : สุรสีห์ ผาธรรม ♥♥♡
อุดมคติแห่งประชาธิปไทย แม้ว่าผู้สร้างต้องการสร้างค่านิยมที่ถูกต้องเหมาะสมต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ไฉนกลับให้ตอนจบลงเอยอย่างนั้นเสียละ! นี่มันสะท้อนความหมดสิ้นหวังทางการเมือง คนดีไม่มีที่ยืนในสังคมไทย
Out of Africa (1985)
Out of Africa (1985) : Sydney Pollack ♥♥♥♡
แม้ถูกจัดเป็นหนึ่งใน Worse Oscar: Best Picture แต่ความงดงามผืนแผ่นดิน East Africa การแสดงชั้นเลิศของ Meryl Streep และเพลงประกอบสุดฟินโดย John Barry จักทำให้คุณอิ่มหนำสุขสำราญ แม้ด้วยความอืดอาดเชื่องช้า 161 นาที
Gigi (1958)
Gigi (1958) : Vincente Minnelli ♥♥
กวาดเรียบ 9 รางวัล Oscar รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี สูงเป็นสถิติแต่ตกต่ำสุดด้านศีลธรรมมโนธรรม, Leslie Caron รับบทลูกสาวโสเภณี ได้รับการเสี้ยมสั่งสอนวิธีเกาะกินผู้ชาย ทีแรกพยายามดิ้นรนขัดขืนแต่สุดท้ายข้ออ้างเพราะรัก อยากจะทำอะไรกับฉันก็ยินยอม
Cavalcade (1933) : Frank Lloyd ♥♥♥
อีกหนึ่ง Worse Oscar: Best Picture นำเสนอครอบครัวชาวอังกฤษ มีชีวิตพานผ่านวันสิ้นปี 1899 จนถึงปีใหม่ 1933, พบเห็นสงคราม Second Boer War (1899-1902), การสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (22 มกราคม 1901), เรือไททานิคล่ม (14 เมษายน 1912) และสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (1914-18)
From Here to Eternity (1953)
From Here to Eternity (1953) : Fred Zinnemann ♥♥♥♥
ไม่ว่าประเทศไหนๆก็คงเหมือนกัน! เพราะสิ่งที่เรียกว่า ‘อำนาจ’ มักทำให้มนุษย์เกิดความอหังการ อ้างอวดดี เย่อหยิ่งจองหอง ผยองไปกับโลกทัศนคติผิดๆ เดินหลงจากเส้นทางเป้าหมาย ตราบจนชั่วนิรันดร์ไม่อาจหวนกลับคืน, คว้า Oscar 8 สาขา รวมทั้งภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
A Place in the Sun (1951)
A Place in the Sun (1951) : George Stevens ♥♥♥♥
Montgomery Clift ต้องการไต่เต้าจากความมืดมิดสู่แสงสว่าง ค้นพบวิธีการเดียวเท่านั้นคือทอดทิ้งทำลายอดีต Shelly Winters แล้วครองรักแต่งงานกับ Elizabeth Taylor นั่นเป็นสิ่งถูกต้องเหมาะสมควรแล้วหรือ?, คว้า Oscar 6 สาขา แต่พลาดภาพยนตร์ยอดเยี่ยมให้ An American in Paris อย่างน่าหงุดหงิดใจ! “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Mrs. Miniver (1942) : William Wyler ♥♥♥♡
ขนาดว่า Joseph Goebbels ยังต้องเอ่ยปากชื่นชมและหวาดสะพรึงกลัว! เรื่องราวของครอบครัว Miniver ที่ได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่สอง ไร้ซึ่งถ้อยคำตำหนิด่าทอทหารเยอรมัน แต่สามารถชักชวนเชื่อให้ต่อต้านนาซีอย่างทรงพลัง, คว้า Oscar ถึง 6 สาขา รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี
The Best Years of Our Lives (1946)
The Best Years of Our Lives (1946) : William Wyler ♥♥♥♥
เมื่อสงครามสิ้นสุดทหารหาญเดินทางกลับบ้าน โดยไม่รู้ตัวอะไรหลายๆอย่างปรับเปลี่ยนแปลงไปแล้วโดยสิ้นเชิง! The Best Years of Our Lives คือภาพยนตร์ที่จะเป็นแรงผลักดัน สร้างกำลังใจ ให้สามารถปรับตัวสู่โลกยุคใหม่ ก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาแห่งความทุกข์ยากลำบาก จนกลายเป็นปีดีที่สุดของชีวิต, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
มหา’ลัย เหมืองแร่ (2005)
มหา’ลัย เหมืองแร่ (พ.ศ. ๒๕๔๘) : จิระ มะลิกุล ♥♥♥♡
ณ จุดตกต่ำสุดในชีวิตของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ สอบตกโดนรีไทร์ เที่ยวเตร่สำมะเลเทเมา เลยถูกพ่อส่งไปทำงานกรรมกรเหมืองแร่ อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เรียนรู้จักความยากลำบาก เหน็ดเหนื่อยสายตัวแทบขาด กลายเป็นบทเรียนอันทรงคุณค่า มากยิ่งกว่าการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”