
“They call me Mister Tibbs!” และการตบหน้าคนขาวของ Sidney Poitier ถือเป็นหมุดไมล์ของชาวผิวสี (African-American) ในยุคสมัยการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิพลเมือง Civil Rights Movement (1954-68), สามารถคว้า 5 รางวัล Oscar รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี
“They call me Mister Tibbs!” และการตบหน้าคนขาวของ Sidney Poitier ถือเป็นหมุดไมล์ของชาวผิวสี (African-American) ในยุคสมัยการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิพลเมือง Civil Rights Movement (1954-68), สามารถคว้า 5 รางวัล Oscar รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี
ภาพยนตร์ชวนเชื่อสิทธิบุรุษ (Men’s Rights Propaganda) นั่นเพราะมารดา Meryl Streep ตัดสินใจทอดทิ้งบุตรชายให้กับบิดา Dustin Hoffman ผ่านไปปีกว่าๆหวนกลับมายื่นฟ้องขอสิทธิ์ในการเลี้ยงดู แล้วศาลตัดสินให้ได้รับชัยชนะ อิหยังวะ? คว้ารางวัล Oscar จำนวน 5 สาขา พร้อมภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี!
สัญชาติญาณล้วนๆของคู่หูนักสืบ Gene Hackman และ Roy Scheider ทำให้การไล่ล่าเครือข่ายลักลอบขนส่งเฮโรอีนข้ามชาติ (French Connection) มีความรุนแรง ดิบเถื่อน ฉากไล่ล่าสุดมันส์ คว้ารางวัล Oscar จำนวน 5 สาขา รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี
ครั้งแรกๆของภาพยนตร์รวมดารา (Ensemble Cast) ดำเนินเรื่องภายในโรงแรมหรูหรา Grand Hotel ณ กรุง Berlin แต่ทั้งหมดถ่ายทำยังสตูดิโอ MGM สามารถคว้ารางวัล Oscar: Best Picture ด้วยการเข้าชิงเพียงสาขาเดียว
ชายหนุ่มนาม Tom Jones (รับบทโดย Albert Finney) เลื่องชื่อเรื่องความเจ้าชู้ประตูดิน เพศสัมพันธ์กับหญิงสาวไม่ซ้ำหน้า นั่นคือสิ่งที่สังคมผู้ดีอังกฤษช่วงศตวรรษ 18 ยังไม่ให้การยินยอมรับ แต่การกำลังมาถึงของยุคสมัย Swinging London กลับสามารถคว้ารางวัล Oscar: Best Picture และทำเงินอย่างเป็นกอบเป็นกำ
มหาตมา คานธี พยายามอย่างยิ่งจะใช้หลัก ‘อหิงสา’ ไม่เบียดเบียน ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา แต่ท้ายสุดก็มิอาจเอาชนะสันดานธาตุแท้มนุษย์ ถูกเข่นฆาตกรรมโดยผู้มีความครุ่นคิดเห็นต่าง ปัจจุบันหลงเหลือเพียงตำนานลือเล่าขาน ค่อยๆถูกหลงลืมเลือนไปตามกาลเวลา, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Birdman (2014) : Alejandro González Iñárritu ♥♥♥♥♡
อีโก้ที่อยู่ภายในความหมกมุ่นครุ่นคิดของ Alejandro González Iñárritu สงบลงได้เพราะการนั่งสมาธิทุกตื่นเช้า รังสรรค์สร้าง Birdman เพื่อปลดปล่อยมันให้ได้รับอิสรภาพล่องลอยโผบินบ้าง ไม่เช่นนั้นคงอึดอัดแน่นคลุ้มคลั่ง จนค่อยๆสูญเสียสติควบคุมตนเองไม่ได้แน่
A Man for All Seasons (1966) : Fred Zinnemann ♥♥♥♥
เรื่องราวของ Sir Thomas More ผู้ซึ่งไม่ว่าอะไรจะบังเกิดขึ้น ยังคงยึดถือเชื่อมั่นในศรัทธาคำสอนพระเจ้า แม้ต้องกลายเป็นปรปักษ์ขัดแย้ง King Henry VIII (1509 – 1547) ที่ต้องการหย่าร้างราชินี และต่อมาสมรสใหม่ถึง 6 ครั้งครา, คว้า 6 รางวัล Oscar และภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
All the King’s Men (1949) : Robert Rossen ♥♥♡
นี่คือ Citizen Kane (1942) ฉบับการเมือง/เลือกตั้ง ดัดแปลงจากนวนิยายรางวัล Pulitzer Prize คว้าสาม Oscar รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี, ชายคนหนึ่งพบเห็นช่องทางการเมือง ไต่เต้าจนได้รับชัยชนะเลือกตั้ง แล้วค่อยๆตกต่ำเพราะผลแห่งการกระทำของตนเอง
Crash (2004) : Paul Haggis ♥♥♥♡
ความแตกต่างทางเชื้อชาติ ฐานะ ชนชั้นทางสังคม เป็นสาเหตุให้มนุษย์เกิดการกระทบกระทั่ง กระแทก’ชน’กัน จนเกิดปฏิกิริยาโกรธ เกลียด เหยียดหยาม ไม่พยายามครุ่นคิดเข้าใจหัวอกผู้อื่น
Out of Africa (1985) : Sydney Pollack ♥♥♥♡
แม้ถูกจัดเป็นหนึ่งใน Worse Oscar: Best Picture แต่ความงดงามผืนแผ่นดิน East Africa การแสดงชั้นเลิศของ Meryl Streep และเพลงประกอบสุดฟินโดย John Barry จักทำให้คุณอิ่มหนำสุขสำราญ แม้ด้วยความอืดอาดเชื่องช้า 161 นาที
Gigi (1958) : Vincente Minnelli ♥♥
กวาดเรียบ 9 รางวัล Oscar รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี สูงเป็นสถิติแต่ตกต่ำสุดด้านศีลธรรมมโนธรรม, Leslie Caron รับบทลูกสาวโสเภณี ได้รับการเสี้ยมสั่งสอนวิธีเกาะกินผู้ชาย ทีแรกพยายามดิ้นรนขัดขืนแต่สุดท้ายข้ออ้างเพราะรัก อยากจะทำอะไรกับฉันก็ยินยอม
Around the World in 80 Days (1956) : Michael Anderson ♥♥♡
ตื่นตระการตาไปกับการผจญภัยรอบโลก 80 วัน พร้อมนักแสดงรับเชิญร่วมสร้างสีสันมากมาย ถ่ายทำด้วยกล้อง Todd-AO 70mm เพลงประกอบโคตรไพเราะโดย Victor Young พบเห็นกระบวนพยุหยาตราชลมารคประมาณ 10 วินาที และ Closing Credit อนิเมชั่นโดย Saul Bass เพียงเท่านี้ก็สามารถคว้ารางวัล Oscar: Best Picture
Cavalcade (1933) : Frank Lloyd ♥♥♥
อีกหนึ่ง Worse Oscar: Best Picture นำเสนอครอบครัวชาวอังกฤษ มีชีวิตพานผ่านวันสิ้นปี 1899 จนถึงปีใหม่ 1933, พบเห็นสงคราม Second Boer War (1899-1902), การสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (22 มกราคม 1901), เรือไททานิคล่ม (14 เมษายน 1912) และสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (1914-18)
Cimarron (1931) : Wesley Ruggles ♥♥♥
ถึงถูกจัดให้เป็นหนึ่งใน Worse Oscar: Best Picture แต่การได้พบเห็นประวัติศาสตร์ วิวัฒนาการรัฐ Oklahoma ตั้งแต่เริ่มต้นบุกเบิก 1889 จนถึงปี 1929 ช่างอลังการงานสร้างยิ่งนัก
Driving Miss Daisy (1989) : Bruce Beresford ♥♥♥♡
“When Driving Miss Motherf—ing Daisy won Best Picture, that hurt!” ผู้กำกับ Spike Lee กล่าวถึงชัยชนะของ Driving Miss Daisy มองเป็นความอัปยศของสถาบัน Academy ซึ่งกาลเวลาแทบไม่มีใครจดจำภาพยนตร์ยอดเยี่ยมเรื่องนี้สักเท่าไหร่
Green Book (2018) : Peter Farrelly ♥♥♥♡
ใครจะไปคิดว่าผู้กำกับหนังตลกอย่าง Peter Farrelly (Dumb and Dumber, There’s Something About Mary) จะสามารถทำหนังดราม่า Road Movie ปรุงสูตรสำเร็จ แล้วกลายเป็นเต็งหนึ่งลุ้นรางวัล Oscar: Best Picture
From Here to Eternity (1953) : Fred Zinnemann ♥♥♥♥
ไม่ว่าประเทศไหนๆก็คงเหมือนกัน! เพราะสิ่งที่เรียกว่า ‘อำนาจ’ มักทำให้มนุษย์เกิดความอหังการ อ้างอวดดี เย่อหยิ่งจองหอง ผยองไปกับโลกทัศนคติผิดๆ เดินหลงจากเส้นทางเป้าหมาย ตราบจนชั่วนิรันดร์ไม่อาจหวนกลับคืน, คว้า Oscar 8 สาขา รวมทั้งภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Best Years of Our Lives (1946) : William Wyler ♥♥♥♥
เมื่อสงครามสิ้นสุดทหารหาญเดินทางกลับบ้าน โดยไม่รู้ตัวอะไรหลายๆอย่างปรับเปลี่ยนแปลงไปแล้วโดยสิ้นเชิง! The Best Years of Our Lives คือภาพยนตร์ที่จะเป็นแรงผลักดัน สร้างกำลังใจ ให้สามารถปรับตัวสู่โลกยุคใหม่ ก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาแห่งความทุกข์ยากลำบาก จนกลายเป็นปีดีที่สุดของชีวิต, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
มนต์รักทรานซิสเตอร์ (พ.ศ. ๒๕๔๔) : เป็นเอก รัตนเรือง ♥♥♥♥
ต่อให้ร่ำรวยเงินทองแค่ไหนก็แดกไม่ได้ เวลาขี้ออกมามันทรมาน! ภาพยนตร์ลำดับสามของ เป็นเอก รัตนเรือง ในช่วงวัยกำลังจัดจ้าน อหังการ ดัดแปลงจากหนังสือที่ตนเองไม่ได้ชื่นชอบสักเท่าไหร่ (แต่แฟนสาวขณะนั้นชอบ) แต่มองเป็นความท้าทายผสมอารมณ์ลูกทุ่ง เสียดสีสังคมได้อย่างแสบกระสันต์, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”