
โชคชะตาของโจรขโมยม้า ในยุคสมัยที่ชาวทิเบต ค.ศ. 1923 ยังเต็มเปี่ยมด้วยแรงเชื่อมั่นศรัทธาพุทธศาสนา จึงถูกขับไล่ออกจากชนเผ่า ต้องหาหนทางเอาตัวรอดท่ามกลางธรรมชาติกว้างใหญ่ และเฝ้ารอคอยชดใช้ผลกรรมติดตามทัน
โชคชะตาของโจรขโมยม้า ในยุคสมัยที่ชาวทิเบต ค.ศ. 1923 ยังเต็มเปี่ยมด้วยแรงเชื่อมั่นศรัทธาพุทธศาสนา จึงถูกขับไล่ออกจากชนเผ่า ต้องหาหนทางเอาตัวรอดท่ามกลางธรรมชาติกว้างใหญ่ และเฝ้ารอคอยชดใช้ผลกรรมติดตามทัน
The Cup (1999) : Khyentse Norbu ♥♥♥♡
สามเณรน้อยอยากรับชมฟุตบอลโลก France ’98 ร้องขอหลวงพ่อจะตั้งใจศึกษาร่ำเรียน ถ้าอนุญาตให้ดูการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระหว่าง ฝรั่งเศส vs. บราซิล เหตุการณ์วุ่นๆชวนหัวจึงบังเกิดขึ้น, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Kundun (1997) : Martin Scorsese ♥♥♥
ความสนใจในทะไลลามะที่ 14 ของ Matin Scorsese ไม่ใช่เรื่องศาสนา วัฒนธรรม หรือการเวียนว่ายตายเกิด แต่คือทัศนะทางการเมือง ปฏิเสธใช้ความรุนแรงตอบโต้รัฐบาลคอมมิวนิสต์จีน แม้นั่นจะทำให้ต้องหลบลี้หนีภัยสู่อินเดีย แต่ก็คาดหวังสักวันจะได้หวนกลับคืนทิเบต
Little Buddha (1993) : Bernardo Bertolucci ♥♡
ความพยายามของ Bernardo Bertolucci ในการให้ชาวตะวันตกเรียนรู้จักพุทธศาสนาเบื้องต้น มีลักษณะไม่ต่างจากนิทานก่อนนอน เต็มไปด้วยความเพ้อฝันแฟนตาซี ไร้แก่นสาสน์สาระจิตวิญญาณ ถ้าตัดเนื้อเรื่องราวปัจจุบันออก หลงเหลือเพียงชีวประวัติเจ้าชายสิทธัตถะ แค่นั้นก็เพียงพอแล้วกระมัง
Samsara (2001) : Pan Nalin ♥♥♥
การที่เจ้าชายสิทธัตถะ ตัดสินใจทอดทิ้งพระนางยโสธารา เพื่อออกค้นหาหนทางหลุดพ้นจากสังสารวัฏ ในมุมคนนอกศาสนาช่างเป็นความเห็นแก่ตัว ขาดความรับผิดชอบ ไร้ซึ่งสามัญสำนึก แต่นั่นเพราะพวกเขามองไม่เห็นความล้ำค่าของสัจธรรมความจริงเหนือสิ่งอื่นใด ก็เหมือนผู้กำกับ Pan Nalin พยายามนำมุมมองตะวันตกเข้ามาเพื่อความสากล แต่กลับคลุกเคล้าเข้ากันได้ไม่ทั้งหมด
Mandala (1981) : Im Kwon-taek ♥♥♥♡
Mandala ภาษาเกาหลีแปลว่า ภาพพระพุทธ, ไม่ได้สื่อถึงรูป วัตถุหล่อปั้น หรือเจตสิกที่ปรุงแต่ง แต่คือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่ง แก้วน้ำ ไม้เท้า หรือแม้แต่ก้อนขี้ก็สามารถแทนด้วยพุทธองค์ นี่ไม่ใช่การลบหลู่ดูหมิ่นแคลน แต่คือปริศนาธรรมสุดลึกล้ำ, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Enjō (1958) : Kon Ichikawa ♥♥♥♥
ดัดแปลงจากนวนิยายอิงเหตุการณ์จริง The Temple of the Golden Pavilion (1956) แต่งโดย Yukio Mishima เรื่องราวของเด็กวัด พานพบเห็นการเปลี่ยนแปลงวิถีปฏิบัตินักบวชนิกายเซน ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เลยตัดสินใจจุดไฟเผาวัดพลับพลาทอง ที่ได้รับการยกย่องเป็นสมบัติแห่งชาติ, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Spring, Summer, Fall, Winter… and Spring (2003) : Kim Ki-duk ♥♥♥♥♥
เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย วงเวียนวัฏจักรชีวิตก็เหมือนฤดูกาลเคลื่อนพานผ่าน ตราบใดยังว่ายวนอยู่ในวัฏฏะสังสาร ย่อมมิอาจดิ้นหลุดพ้นบ่วงกิเลสกรรม เคยกระทำอะไรกับใครไว้สักวันย่อมต้องได้รับผลนั้นคืนตอบสนอง, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Burmese Harp (1956) : Kon Ichikawa ♥♥♥♥♡
ทหารญี่ปุ่นนายหนึ่งเมื่อพบเห็นความเป็น-ตาย การสูญเสียอันไร้สาระช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ไม่เชิงว่าออกบวชแต่ได้กลายเป็นพระสงฆ์ในประเทศพม่า ตัดสินใจไม่หวนกลับบ้าน ต้องการทำบางสิ่งอย่างให้สำเร็จลุล่วงเสียก่อน, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Prem Sanyas (1925) : Franz Osten & Himansu Rai ♥♥♡
หนังเงียบชีวประวัติพระพุทธเจ้า เรื่องเก่าแก่ที่สุดหลงเหลือถึงปัจจุบัน ร่วมทุนสร้างอินเดีย & Weimar Germany แต่อย่าไปคาดหวังอะไรมากมาย แค่ได้เห็นพุทธคยาเมื่อทศวรรษ 20s ก็คุ้มค่าแล้ว
The Ballad of Narayama (1958) : Keisuke Kinoshita ♥♥♥♥♡
ณ ชนบทห่างไกลของญี่ปุ่นสมัยก่อนมีประเพณีความเชื่อที่ว่า ผู้สูงวัยอายุเกิน 70 ปี จักต้องออกเดินทางมุ่งสู่เทือกเขา Narayama เพื่อมิให้เป็นภาระลูกหลาน ความใฝ่ฝันหญิงชรารับบทโดย Kinuyo Tanaka สถานที่แห่งนั้นมีอะไรเฝ้ารอคอยเธออยู่? นำเสนอด้วยไดเรคชั่นคล้ายๆ Kabuki (มีชื่อเรียกว่า Jōruri) งดงาม เชื่องช้า แฝงปรัชญาลุ่มลึกล้ำ, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
อำแดงเหมือนกับนายริด (พ.ศ. ๒๕๓๗) : เชิด ทรงศรี ♥♥♥♡
อำแดงเหมือน (จินตหรา สุขพัฒน์) ถือเป็นผู้หญิงไทยคนแรกที่กล้าลุกขึ้นต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี ไม่ยินยอมรับคำเรียก ‘ผู้หญิงเป็นควาย ผู้ชายเป็นคน’ นับย้อนไปก็รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ดัดแปลงเรื่องราวจากประกาศพระราชบัญญัติลักษณะลักพา ฉบับที่ ๒๗๑ พ.ศ. ๒๔๐๘, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
มะลิลา (พ.ศ. ๒๕๖๑) : อนุชา บุญยวรรธนะ ♥♥♥♥♡
พิธีบายศรีสู่ขวัญ เป็นกุศโลบายตามความเชื่อของชาวเรา เพื่อเรียกขวัญ/ดวงวิญญาณ/สติ ให้กลับหวนคืนสู่ตัวเรา เฉกเช่นเดียวกับการนั่งสมาธิสงบสติอารมณ์ พระธุดงค์ไปตามป่าเขาเพื่อออกค้นหาสติและปัญญา เรียนรู้จักสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยงจีรัง โอบกอดยอมรับความตายเพราะนั่นคือสัจธรรมความจริงสากล, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Jigoku (1960) : Nobuo Nakagawa ♥♥
นรกของชาวญี่ปุ่น แม้จะได้แนวคิดจากพุทธศาสนา (ชินโต) แต่ค่อนข้างแตกต่างกับบ้านเรา (เถรวาท /ธรรมยุติก) นี่อาจเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้หนัง Cult Classic เรื่องนี้ ดูยากระดับมหากาพย์ ความเข้าใจไม่ตรงกัน หรือเพราะมันติสต์เกินไปก็ไม่รู้นะ
Amrapali (1966) : Lekh Tandon ♥♥♥♡
อัมพปาลี ตามตำนานเล่าว่าเธอถือกำเนิดโดยโอปปาติกะ เพราะความงามมากล้นจนเป็นโทษ ทำให้ต้องกลายเป็นหญิงคณิกา (โสเภณี) แห่งนครเวสาลี ตกหลุมรักกับพระเจ้าอชาตศัตรู กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ แต่เพราะทั้งสองเมืองเป็นศัตรูกันทำให้เกิดสงครามฆ่าล้าง เธอจึงพบความไม่จีรังของชีวิต หันหน้าพึ่งพิงพุทธศาสนา ภายหลังบวชเป็นภิกษุณีและบรรลุอรหันต์, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
คนใจบอด (พ.ศ. ๒๕๑๔) : เชิด ทรงศรี ♥♥♥♡
มีเงิน ๑๐ ล้านบาทสมัยนั้นก็มิอาจสร้างหนังเรื่องนี้ได้ เพราะทุกคนมาด้วยใจจริงๆไม่มีใครรับค่าตัว กำกับโดย เชิด ทรงศรี แถมพ่วงด้วย อาภัสรา หงสกุล, ประภัสสร พานิชกุล, สมบัติ เมทะนี, เพชรา เชาวราษฎร์, ภาวนา ชนะจิต, ครรชิต ขวัญประชา ฯ หนังไทยคลาสสิกน้ำดี พุทธศาสนาไม่ได้สอนให้เชื่อปาฏิหารย์ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Legend of the Mountain (1979) : King Hu ♥♥♥♡
เหมือนว่าปรมาจารย์ผู้กำกับหูจินเฉวียน (King Hu) ต้องการชุบชีวิตใครสักคนให้ฟื้นคืนชีพ แต่ทั้งรู้ว่าทำไม่ได้ ก็เลยต้องปล่อยไปตามวิถีของกรรม, สีว์เฟิง (Hsu Feng) รับบทผีสาวสุดสวย หลอกล่อพระเอกหนุ่ม ชุนชิห์ (Chun Shih) ให้แต่งงานด้วย เพื่อหาทางฟื้นคืนชีพ … ถ้าผมเจอผีสาวสวยขนาดนี้นะ ก็คงยอมโดนให้หลอกแน่ๆ
Raining in the Mountain (1979) : King Hu ♥♥♥♥♡
ผลงาน Masterpiece ที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงนักของปรมาจารย์ผู้กำกับหูจินเฉวียน (King Hu) สงสัยเพราะคนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจหลักปรัชญา คำสอนของพุทธศาสนา มีศิษย์เอกถึงสามคนในสำนัก แต่กลับเลือกหัวขโมยที่เพิ่งบวชเป็นเจ้าอาวาสคนใหม่ แบบนี้ใครที่ไหนจะไปยอม แต่แค่การคิดว่าไม่เห็นด้วย พวกเขาเหล่านี้ก็ไม่คู่ควรกับตำแหน่งแล้ว, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Guide (1965) : Vijay Anand ♥♥♥♥♥
หนังเรื่องนี้คือคู่มือแนะนำการปล่อยวาง โดยมัคคุเทศก์ (รับบทโดย Dev Anand) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการนำเที่ยว ชีวิตเคยรุ่งโรจน์สูงสุดและตกต่ำย่ำดิน วันหนึ่งเริ่มตระหนักคิดได้ ทุกสิ่งอย่างในโลกนี้ล้วนไร้ความจีรัง, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Princess Iron Fan (1941) : Wan Guchan, Wan Laiming ♥♥♡
หลายคนคงคิดว่า อนิเมชั่นขนาดยาวเรื่องแรกของเอเชียคงจะสร้างโดยญี่ปุ่น แต่ความจริงกลับเป็นประเทศจีนที่สำเร็จเสร็จก่อน, องค์หญิงพัดเหล็ก (Tiě shàn gōngzhǔ) จากนวนิยายคลาสสิกจีนเรื่องไซอิ๋ว ขณะพระถังซัมจั๋งเดินทางมาถึงเทือกเขาแห่งหนึ่งที่มีเปลวไฟลุกโชติช่วงชัชวาลย์ การจะผ่านเส้นทางนี้ได้จำเป็นต้องหยิบยืมขอใช้พัดเหล็กนางมาดับไปบนเทือกเขานี้