
เมื่อโลกมันฟ่อนเฟะ เน่าเละเทะ สองสาวดอก Daisies จะมีชีวิตเหมือนคนปกติได้อย่างไร ย่อมต้องถูกเชิดชัก กระทำสิ่งอัปลักษณ์ สะท้อนเสียดสีสภาพสังคมยุคสมัยหลังสงครามโลกได้อย่างโคตรๆเหนือจริง (Surrealist) ถึงระดับไร้เหตุผล (Absurdity)
เมื่อโลกมันฟ่อนเฟะ เน่าเละเทะ สองสาวดอก Daisies จะมีชีวิตเหมือนคนปกติได้อย่างไร ย่อมต้องถูกเชิดชัก กระทำสิ่งอัปลักษณ์ สะท้อนเสียดสีสภาพสังคมยุคสมัยหลังสงครามโลกได้อย่างโคตรๆเหนือจริง (Surrealist) ถึงระดับไร้เหตุผล (Absurdity)
Ninotchka (1939) : Ernst Lubitsch ♥♥♥♥
วินาทีที่ตัวละครของ Greta Garbo หลุดหัวเราะออกมาครั้งแรก มันช่างเป็นภาพประวัติศาสตร์ของเจ้าหญิงน้ำแข็ง หลอมละลายจิตใจผู้ชม และด้วยสัมผัสของ Lubitsch แช่แข็งความทรงจำนั้นไว้ชั่วนิรันดร์
South Park: Bigger, Longer & Uncut (1999) : Trey Parker ♥♥♡
Guinness World Records เมื่อปี 2001 ได้จดบันทึกไว้ว่า South Park: Bigger, Longer & Uncut เป็นภาพยนตร์อนิเมชั่นใช้คำหยาบคายมากที่สุด 399 ครั้ง เป็น f-word ถึง 146 แค่บทเพลง Uncle Fucka ก็ฟักไป 31 ครั้งแล้ว!
The Favourite (2018) : Yorgos Lanthimos ♥♥♥♥
‘ฉันพร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่ออำนาจ เติมเต็มความฝัน ได้รับชัยชนะยิ่งใหญ่อันดับหนึ่ง!’ นี่คือค่านิยม’โปรด’ของมนุษย์ไม่ว่าจะยุคสมัยไหน ฟังดูช่างน่ายกย่องสรรเสริญในความทุ่มเทพยายาม แต่มองอีกด้านกลับพบเห็นความบิดเบี้ยวคอรัปชั่น กัดกร่อนบ่อนทำลายจิตวิญญาณความเป็นคนให้ค่อยๆสูญสิ้นไป
Network (1976) : Sidney Lumet ♥♥♥♥
ในวงการโทรทัศน์ ‘เรตติ้งเท่านั้นสำคัญที่สุด’ ต่อให้นำคนบ้าเสียสติแตกมาออกอากาศ ถ้ามีผู้ชมมากมายมหาศาล อย่างอื่นไร้คุณค่าความหมาย, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Phantom of Liberty (1974) : Luis Buñuel ♥♥♥♥
โคตรหนัง Surrealist ราวกับฝันกลางวันของ Luis Buñuel นำเสนอเรื่องราวแบบ Non-Linear ไม่ได้มีความต่อเนื่อง แต่ใช้การส่งต่อราวกับไม้คฑาวิ่งผลัด กำลังถึงไคลน์แม็กซ์ตอนหนึ่งก็มีเหตุให้เปลี่ยนเรื่องโดยพลัน ช่างมีความกวนประสาทดีแท้ แต่แม้งเจ๋งชิบหาย
It’s a Mad, Mad, Mad, Mad World (1963) : Stanley Kramer ♥♥♥♥♡
ภาพยนตร์ Epic Comedy ถ่ายทำด้วย Ultra Panavision งานภาพอลังการขนาดเดียวกับ Lawrence of Arabia (1962) แต่อัดแน่นยัดเยียดไปด้วยนักแสดง เริ่มจากคนปกติ 5 คน พอได้ยินที่ซ่อนสมบัติเงิน $350,000 เหรียญ ต่างเกิดความโลภละโมบจนกลายเป็นฝูงคนบ้า ออกเดินทางแข่งขันทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย จะได้ครอบครองเงินก้อนนี้แต่เพียงผู้เดียว, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Fifth Element (1997) : Luc Besson ♥♥♥
หนังไซไฟล้ำจินตนาการ สนองราคะของเด็กหนุ่ม Luc Besson ที่พัฒนาเรื่องราวนี้ตั้งแต่อายุ 16 ได้สร้างจริงตอนอายุ 37-38, เหมือนหนังต้องการเล่าบอกอะไรสักอย่าง แต่กลับถูกร่างอวตาร John McClane ของ Bruce Willis และ Visual Effect ยุค Futurist กลบบดบังเสียมิดชิด
A Pigeon Sat on a Branch Reflecting on Existence (2014) Swedish : Roy Andersson ♥♥♥♡
นกพิราบเกาะอยู่บนกิ่งไม้เฝ้ามองดูมนุษย์ เกิดข้อสงสัย ‘พวกแกทำบ้าอะไรกันอยู่’ เออนั่นสิใครที่ไหนจะไปรู้ ข้าก็ไม่รู้ เอ็งรู้เหรอ? เหมือนผู้กำกับ Roy Andersson ก็คงไม่รู้ตัวเช่นกัน, หนังรางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice
You, the Living (2007) Swedish : Roy Andersson ♥♥♥♥
“ฉันเกลียดแก เกลียดหมาของแก เกลียดงานที่ทำ เกลียดชีวิต ไม่มีใครเข้าใจฉัน” สิ่งมีชีวิตใน ‘โลกของ Andersson’ เรื่องนี้เป็นพวกไม่รู้จักพอ อยากได้โน่นนี่นั่นทุกสิ่งอย่าง มีอยู่แล้วก็ยังอยากได้ รวยอยู่แล้วต้องการยิ่งๆขึ้นไป ไม่รู้เมื่อไหร่จะรู้จักคำว่า’พอ’
Songs from the Second Floor (2000) Swedish : Roy Andersson ♥♥♥♥
หนังรางวัล Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Cannes เรื่องนี้ เป็นแนว Surrealist ที่ดูยากมากๆ แต่มีความลึกล้ำน่าค้นหา คล้ายๆกับ The Color of Pomegranates (1969) ใช้การตั้งกล้องทิ้งไว้เฉยๆ นักแสดงทำอะไรบางอย่าง บางครั้งน่าขบขัน บางครั้งจุกอก รวมๆเรียกว่า ‘ชีวิต’
The Great Dictator (1940) : Charlie Chaplin ♥♥♥♡
หนังพูดเต็มเรื่องแรกของ Charlie Chaplin ที่พูดจนหูดับตับไหม้ เพื่อเสียดสีล้อเลียน Adolf Hitler, ตอนหนังฉายถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก ได้เข้าชิง Oscar 5 สาขา (รวมสาขา Best Actor แต่ไม่ได้สักรางวัล), พอเกิดสงครามโลก นี่กลายเป็นหนังที่ไม่ตลกเอาเสียเลย ขนาด Chaplin ยังพูดว่า ‘ถ้าฉันรู้สิ่งที่เกิดขึ้นในค่ายกักกันของ Nazi ละก็ จะไม่มีวันสร้างหนังเรื่องนี้’
การมาถีงของยุคสมัยใหม่ ‘Modern Times’ ทั้งวงการภาพยนตร์และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ Charlie Chaplin และ The Little Tramp พานพบเจอความยุ่งยากลำบากในการปรับตัว แต่ไม่ว่าอย่างไรชีวิตจำต้องดำเนินต่อไป, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Brazil (1985) : Terry Gilliam
หนังเรื่องนี้ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับประเทศ Brazil แม้แต่น้อย ผู้กำกับ Terry Gilliam กับหนังแนว Dystopia, Sci-Fi, Comedy Satire ที่มีการเสียดสีระบบราชการ (Bureaucratic) ได้อย่างเจ็บแสบ บ้าคลั่ง ไร้สติ คนสติดีๆอาจดูหนังเรื่องนี้ไม่รู้เรื่อง แต่คนที่เข้าใจระบบเป็นอย่างดี นี่เป็นหนังที่อาจทำให้คุณเสียสติได้
การันตีด้วย 26 รางวัล Oscar ที่ไม่ได้เข้าชิง! Monty Python and the Holy Grail (1975) คือเรื่องราวการออกเดินทางค้นหาสิ่งที่อาจไม่มีอยู่จริง! ไม่รู้อยู่แห่งหนไหน? ไม่รู้จะติดตามหาทำไม? แต่มีความบ้าบอคอแตก คลุ้มบ้าคลั่งที่สุด
Dr. Strangelove (1964) : Stanley Kubrick ♥♥♥♥♥
(9/9/2017) ปรมาจารย์ผู้กำกับ Stanley Kubrick ได้พลิกโลกให้กลับตารปัตร จากความอึดอัดอั้นอกแทบแตกตายในยุคสมัยสงครามเย็น สร้างภาพยนตร์ Masterpiece เรื่องนี้ เสียดสี ล้อเลีย(น) น้ำแตก ขำกระจาย ระเบิดเสียงหัวเราะออกมาบ้าคลั่งถึงขีดสุด, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ความเชื่อ ศรัทธา ศาสนา ในปัจจุบันแทบไม่ต่างอะไรจากอาการมึนเมา (pee-kay ภาษาฮินดี แปลว่า คนเมา) หลับหูหลับตาก้มกราบไหว้ อธิษฐานขอพร อ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิริมงคล จนขาดสติหยุดยั้งคิดอะไรถูกผิดเหมาะสมควร เห็นคนหมู่มากแห่ไปเราก็ใคร่แห่ตาม ตื่นเช้าฟื้นคืนสติเมื่อไหร่ อาการแฮงค์เมาค้างคงไม่สร่างโดยง่ายดาย, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”