ภาพยนตร์แจ้งเกิด Tom Cruise วัยรุ่นหนุ่ม หล่อ รวย พ่อ-แม่ไม่อยู่บ้าน ระริกระรี้แรดร่าน ตกหลุมรักหญิงขายบริการ Rebecca De Mornay ทดลองทำธุรกิจโสเภณี แม้มีความเสี่ยงสูง แต่คุ้มค่ากับการลงทุน
ป้ายกำกับ: Comedy
American Graffiti (1973) อาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับรอยขูดขีดเขียน ภาพวาดกราฟฟิตี้บนผนังกำแพง แต่ทำการบันทึกวิถีวัยรุ่นอเมริกันยุค 60s วัฒนธรรมขับรถจีบสาว (Cruising) สำแดงพฤติกรรมหัวขบถ ขัดต่อขนบกฎกรอบ ท้าทายกฎหมายบ้านเมือง ปลดปล่อยตนเองสู่อิสรภาพ
Tsuma yo bara no yô ni (1935)
บุตรสาวพร่ำบ่นถึงบิดา ไม่เคยแวะเวียนกลับหามารดา มัวแต่เอาอกเอาใจชู้รัก/เมียใหม่ จึงตัดสินใจออกเดินทาง ติดตามค้นหา ก่อนมาพบเจอเบื้องหลังอันขมขื่น ภาพยนตร์ดราม่าครอบครัวสุดซึ้ง ที่จักทำให้ลูกหลานครุ่นคิดถึงหัวอกบิดา-มารดา, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
นักโทษสามคนถูกคุมขังในเรือนจำ วันหนึ่งชักชวนกันหลบหนี ตะลึ่งตึงโป๊ะ! แล้วพวกเขาก็สามารถหลบหนีออกมาได้สำเร็จ? ตลกร้ายสไตล์ Jim Jarmusch ที่จะทำให้คุณประทับใจในมิตรภาพไม่รู้ลืมเลือน
เรื่องตลก 69 (1999)
ด้วยความที่ ฝัน บ้า คาราโอเกะ (พ.ศ. ๒๕๔๐) สร้างความอับอายให้เป็นเอก รัตนเรือง เวลาไปฉายตามเทศกาลหนัง “มันดูโชว์ออฟ มันดูหวือหวา ดูแบบเหมือนคนแต่งตัวจัด แต่ไม่ค่อยมีอะไรในสมองเท่าไหร่” ทว่ายี่สิบนาทีสุดท้ายของหนังที่ดำเนินเรื่องในหนึ่งวันมันเวิร์คแฮะ เลยอยากทำเรื่องถัดไปที่มีแค่หนึ่งวัน หนึ่งสถานที่ เรื่องตลก 69
ฝัน บ้า คาราโอเกะ (1997)
ร้อยเรียงเรื่องราวความคิดถึง ❤️ อีปู (เฟย์ อัศเวศน์) ฝันถึงแม่แต่ก็เป็นห่วงพ่อ (ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว), ไอ้น้อย (เรย์ แมคโดนัลด์) ฝันอยากไปอเมริกาตามหาพ่อ?, เสี่ยโต้ง (วีรดิษ วิญญรัตน์) กระทืบทุกคนเข้าใกล้เมียน้อย (แชมเปญ เอ็กซ์) ฯ นำมาแปะติดปะต่อ กลายเป็นภาพความฝัน วันบ้าๆ ในผับ บาร์ ร้านคาราโอเกะ
Céline et Julie vont en bateau (1974)
ภาษาฝรั่งเศส vont en bateau (Go Boating) มีคำไวพจน์ที่ความหมายเดียวกัน aller en bateau แต่คำหลังยังคือศัพท์แสลงของการเข้าไปมีส่วนร่วมในเรื่องที่กำลังรับฟัง ฟังดูงงๆ แต่เอาเป็นว่า Juliet Berto (Céline) และ Dominique Labourier (Julie) เมื่ออมลูกอมวิเศษ ออกเดินทางล่องเรือสู่โลกแฟนตาซี
Les Bonnes Femmes (1960)
วันๆของสี่สาว เช้าไปทำงานอย่างเอื่อยเฉื่อย คอยจับจ้องมองนาฬิกา เลิกงานเมื่อไหร่ราวกับพึ่งปลุกตื่น เต็มไปด้วยความระริกระรี้ เฮฮาปาร์ตี้ ร่วมกิจกรรมสนุกๆยามค่ำคืนมากมาย, รับชมปัจจุบันอาจไม่ค่อยรู้สึกอะไร แต่ชาวฝรั่งเศสสมัยนั้นต่างสำแดงอารมณ์เกรี้ยวกราด รับไม่ได้กับอิสรภาพหญิงสาว
The Lady Vanishes (1938)
ด้วยสัมผัส Hitchcockian ทำให้การหายตัวไปของหญิงชราบนขบวนรถไฟ เต็มไปด้วยความลึกลับ ซับซ้อน คาดไม่ถึง เธอมีตัวตนจริงหรือไม่? หรือใครบางคนจัดฉาก เล่นละคอนตบตา แต่จะทำไปเพื่ออะไรกัน?
Hyènes (1992)
ภาพยนตร์กึ่งสุขกึ่งโศก (Tragi-Comedy) เมื่อมหาเศรษฐีนีเดินทางกลับบ้านเกิด ณ Colobane, Senegal พร้อมมอบเงินก้อนใหญ่ ให้ใครก็ตามลงมือเข่นฆาตกรรมอดีตชู้รัก เคยข่มขืนตนเองตอนอายุ 17 จนตั้งครรภ์ ระหว่างศีลธรรม ความถูกต้อง หรืออำนาจของเงิน ชาวบ้านแห่งนี้จะตัดสินใจเช่นไร?, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Mandabi ภาษา Wolof แปลว่าธนาณัติ (Money Order) ส่งมาจากหลานชายทำงานอยู่ฝรั่งเศส แต่การจะขอขึ้นเงินกลับเต็มไปด้วยเรื่องวุ่นๆวายๆ ต้องทำบัตรประชาชน ต้องถ่ายรูป ต้องมีสูติบัตร (ใบเกิด) แถมชาวบ้านละแวกนั้นเมื่อได้ยินเรื่องเงินก็หูผึ่ง มาขอหยิบยืม ทวงหนี้ อ้างโน่นนี่นั่น เต็มไปด้วยความฉ้อฉล จนตกอยู่ในความสิ้นหวัง
Tange Sazen Yowa: Hyakuman Ryô no Tsubo (1935)
ไหเงินล้านบรรพบุรุษ ถูกส่งมอบเป็นของขวัญแต่งงานน้องชาย ไม่เห็นคุณค่าสักเท่าไหร่เลยขายต่อคนรับซื้อของเก่า มอบให้บุตรชายใช้เลี้ยงปลาทอง, เรื่องวุ่นๆของการติดตามหาไหเงินล้าน มีความโคตรๆบันเทิง ชิบหายวายป่วนสไตล์ Sadao Yamanaka, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Moonstruck (1987)
พระจันทร์เป็นใจ เต็มไปด้วยเรื่องราวรักๆใคร่ๆ ความวุ่นๆวายๆของคนขี้เหงา ทั้งหนุ่ม-สาว กลางคน สูงวัย อาจเพราะหวาดกลัวความตาย เลยต้องมองหาใครสักคนเคียงข้างกาย
Rupan Sansei: Kariosutoro no Shiro (1979)
ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรกของ Hayao Miyazaki ดัดแปลงจากมังงะ Lupin the Third ปรับเปลี่ยนอาชญากรผู้เหี้ยมโหด โฉดชั่วร้าย ให้กลายเป็นจอมโจรโรแมนติก ปล้นสิ่งสำคัญที่สุดก็คือหัวใจหญิงสาว
Silly Symphony (1929-39)
75 การ์ตูนสั้นไร้สาระจากสตูดิโอ Walt Disney จุดประสงค์เพื่อฝึกฝนนักอนิเมเตอร์ ทำการทดลองเทคโนโลยี ลูกเล่นอนิเมชั่นใหม่ๆ ในลักษณะ Musical Comedy หลายๆเรื่องมีความงดงาม ทรงคุณค่า แฝงสาระข้อคิด และมีถึง 7 เรื่องสามารถคว้ารางวัล Oscar: Short Subject, Cartoons
อาจไม่ใช่การ์ตูนใส่เสียง (Synchronized Sound) เรื่องแรกของโลก! แต่ทว่า Steamboat Willie (1928) คือเรื่องแรกที่ประสบความสำเร็จโด่งดัง กลายเป็นรากฐานวงการอนิเมชั่น จุดกำเนิด Mickey Mouse และ Walt Disney
Vinni-Pukh (1969)
ลบภาพจำ Winnie the Pooh ฉบับของ Walt Disney ทิ้งไปได้เลย! เพราะหมีเกรียนฉบับสหภาพโซเวียต มีความเฉียบคมคาย แฝงปรัชญาลุ่มลึกล้ำ สร้างเสียงหัวเราะขบขัน ออกแบบตัวละครน่ารักน่าชัง แม้เพียงสามตอนสั้นๆ แต่ทำให้เกิดความประทับใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่ไม่รู้ลืมเลือน
U samogo sinego morya (1936)
โดยปกติแล้วภาพยนตร์จากสหภาพโซเวียตในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง (Pre-War) มักมีลักษณะสะท้อนสภาพเป็นจริง ชักชวนเชื่อระบอบสังคมนิยม (Socialist Realism) แต่ไม่ใช่สำหรับ By the Bluest of Seas (1936) นำเสนอเรื่องราวรักๆใคร่ๆ กุ๊กกิ๊ก โรแมนติก-คอมเมดี้ (Rom-Coms) ถึงขนาดสร้างความไม่พึงพอใจต่อ Joseph Stalin
The Truman Show (1998)
ตั้งแต่ยังเป็นทารกในครรภ์ Truman Burbank (รับบทโดย Jim Carrey) ถูกบันทึกภาพ แอบถ่าย ฉายรายการเรียลลิตี้ (Reality Show) โดยไม่เคยรับรู้ตนเอง จนกระทั่งเติบใหญ่ ถึงวัยทำงาน โหยหาอิสรภาพ ต้องการออกไปจากโลกปลอมๆใบนี้, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”