French New Wave เริ่มต้นที่ Le Beau Serge (1958) นำเสนอการหวนกลับหารากเหง้าของผู้กำกับ Claude Chabrol เติบโตขึ้นยังหมู่บ้านชนบท Sardent, France พบเจอเพื่อนเก่ามีสภาพไม่เอาถ่าน บังเกิดความมุ่งมั่น จิตวิญญาณแรงกล้า ต้องการทำบางสิ่งอย่างเพื่อให้เขาสามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่
ป้ายกำกับ: country
The Land (1970)
ทางการออกคำสั่งลดจำนวนวันจ่ายน้ำสู่ไร่นา ฟาร์มฝ้าย สร้างความไม่พึงพอใจให้กับชาวบ้าน พยายามหาหนทางเรียกร้อง ต่อรอง แต่กลับถูกเพิกเฉยจากพวกผู้มีอำนาจ แถมยังส่งตำรวจเข้ามาควบคุม คุกคาม หวังจะยึดครองผืนแผ่นดินมาแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตน, ภาพยนตร์ที่แพรวพราวด้วยลูกเล่น ผลงานชิ้นเอกของผู้กำกับ Youssef Chahine
The Blazing Sun (1954)
ภาพยนตร์เรื่องแรกแจ้งเกิด Omar Sharif รับบทเกษตรกรหนุ่มจบใหม่ เข้ามาพัฒนาผลผลิตไร่อ้อยให้ได้มาตรฐาน กลายเป็นที่ต้องการของตลาด แต่กลับสร้างความอิจฉาริษยาให้พวกนายทุน ครุ่นคิดแผนการชั่วร้าย ทำลายพืชผลการเกษตร ฆาตกรรมอำพราง โยนความผิดให้ผู้บริสุทธิ์ถูกประหารชีวิต สุดท้ายแล้วความจริงจะได้รับการเปิดเผยหรือไม่?
Utomlyonnye solntsem (1994)
Joseph Stalin ในช่วงปี ค.ศ. 1936-38 ได้ริเริ่มการกวาดล้างครั้งใหญ่ (Great Purge หรือ Great Terror) เป้าหมายคือกลุ่มแกนนำกองทัพแดง (Red Army) ที่เคยร่วมปฏิวัติรัสเซียด้วยกันมา เพราะความหวาดระแวง กลัวถูกโค่นล้มอำนาจ เลยตั้งข้อกล่าวหาสมคบคิด เพื่อควบรวมอำนาจในพรรคคอมมิวนิสต์ นั่นคือพื้นหลังของ Burnt by the Sun (1994) คว้ารางวัล Oscar: Best Foreign Language Film
Bashu, the Little Stranger (1989)
หนึ่งในภาพยนตร์ได้รับการยกย่อง “Best Iranian Film of all time” เรื่องราวของเด็กชาย Bashu หลบหนีสงคราม Iran–Iraq War (1980-88) จากทางตอนใต้มาถึงภาคเหนือของอิหร่าน พบเจอกลุ่มชาติพันธุ์ Gilak ที่แม้พูดคุยสื่อสารไม่รู้เรื่อง แต่ผู้ชมจักได้เรียนรู้จักสิ่งเรียกว่ามนุษยธรรม, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Cow (1969)
วัวตัวเดียวทำเสียวทั้งหมู่บ้าน! การเสียชีวิตของมันสามารถสะท้อนจิตวิทยา แฝงปรัชญา ความเชื่อศรัทธา ศาสนา การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯ ไม่ใช่แค่จุดเริ่มต้น Iranian New Wave แต่ต้องเรียกว่ามาสเตอร์พีซแห่งวงการภาพยนตร์, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Sátántangó (1994)
ผู้รอดชีวิตจากขุมนรก 439 นาที น่าจะเกิดการความรู้สึกบางอย่างขึ้นภายใน เหมือนประเทศฮังการีที่สามารถเปลี่ยนแปลงการปกครองจากคอมมิวนิสต์สู่ระบอบประชาธิปไตย (ค.ศ. 1989) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกสิ่งอย่างจักมีทิศทางดีขึ้นเสมอไป
ดัดแปลงจากนวนิยายของ E. M. Forster (Howards End, A Passage to India) นำเสนอวิวทิวทัศน์แห่งความรัก ชักชวนเชื่อให้ตอบกลับความรู้สึกของหัวใจ แม้ขัดแย้งขนบสังคมประเทศอังกฤษก็ช่างหัวมันประไร แจ้งเกิดนักแสดงยังสาวสวย Helena Bonham Carter แถมด้วยบทบ้าๆบอๆของ Maggie Smith และ Daniel Day-Lewis
The Road Home (1999)
นี่คือ The Wizard of Oz (1939) ที่ทำการหวนระลึกถึงช่วงเวลาแห่งสีสัน อดีตอันทรงคุณค่า ประเทศจีนเคยเต็มเปี่ยมด้วยชีวิตชีวา ปัจจุบันหลงเหลือเพียงความหนาวเหน็บ เยือกเย็นชา แต่อนาคตเมื่อทั้งสองช่วงเวลาเวียนมาบรรจบ กลับสร้างความอบอุ่นขึ้นภายใน, คว้ารางวัล Silver Bear: Jury Grand Prix (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
Not One Less (1999)
เพราะได้รับทุนสร้างจากรัฐบาลจีน ผู้กำกับจางอี้โหมวเลยยืนกรานว่าหนังไร้ซึ่งนัยยะทางการเมือง แต่เพียงเพื่อโบนัสไม่กี่สิบหยวน ครูสาววัยสิบสามกลับยินยอมทำทุกสิ่งอย่าง จนหลงลืมหน้าที่รับผิดชอบแท้จริงของตนเอง, คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice
Herz aus Glas (1976)
ผู้กำกับ Werner Herzog ทำการสะกดจิต (Hypnosis) นักแสดงแทบทั้งหมดให้ตกอยู่ในสภาวะว่างเปล่า ไร้จิตวิญญาณ เพื่อนำเสนอเรื่องราวการสูญเสียสิ่งทรงคุณค่าที่สุดของชีวิตไป
Partie de campagne (1936)
Partie de campagne (1936) : Jean Renoir ♥♥♥♥♡
ข้ออ้างล่าช้าเพราะฝนตก ทำให้ปรมาจารย์ผู้กำกับ Jean Renoir ไม่สามารถถ่ายทำ A Day in the Country ได้สำเร็จเสร็จสิ้น แต่ความงดงามเปรียบดั่งภาพวาด Impressionist โปรดิวเซอร์เลยนำออกฉายกลายเป็นหนังสั้น ได้รับการยกย่องสรรเสริญเหนือกาลเวลา
Visages Villages (2017)
Visages Villages (2017) : Agnès Varda, JR ♥♥♥♥
ภาพถ่ายคือความทรงจำประเภทหนึ่ง เมื่อถูกนำมาขยายขนาดใหญ่ย่อมทำให้เจ้าของรูป/ผู้พบเห็นมีปฏิกิริยาโต้ตอบสนองแตกต่างกันไป เฉกเช่นเดียวกับความสัมพันธ์ระหว่าง Agnès Varda และ JR ผู้มีภาพลักษณ์อวตารจาก Jean-Luc Godard
Tess (1979)
Tess (1979) : Roman Polanski ♥♥♥♥
อุทิศให้ภรรยาผู้อาภัพ Sharon Tate, เรื่องราวของ Tess (แจ้งเกิด Nastassja Kinski) หญิงสาวชนบทไร้เดียงสา ถูกลวงล่อกระทำชำเราจากโลกภายนอก เป็นเหตุให้ทุกสิ่งอย่างภายในตัวเธอปรับเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง
The Ballad of Narayama (1958)
The Ballad of Narayama (1958) : Keisuke Kinoshita ♥♥♥♥♡
ณ ชนบทห่างไกลของญี่ปุ่นสมัยก่อนมีประเพณีความเชื่อที่ว่า ผู้สูงวัยอายุเกิน 70 ปี จักต้องออกเดินทางมุ่งสู่เทือกเขา Narayama เพื่อมิให้เป็นภาระลูกหลาน ความใฝ่ฝันหญิงชรารับบทโดย Kinuyo Tanaka สถานที่แห่งนั้นมีอะไรเฝ้ารอคอยเธออยู่? นำเสนอด้วยไดเรคชั่นคล้ายๆ Kabuki (มีชื่อเรียกว่า Jōruri) งดงาม เชื่องช้า แฝงปรัชญาลุ่มลึกล้ำ, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
A Canterbury Tale (1944)
A Canterbury Tale (1944) : Michael Powell & Emeric Pressburger ♥♥♥♥♡
ตำนานแคนเตอร์บรี (The Canterbury Tales) เล่าถึงนักแสวงบุญเดินทางจาก London มุ่งสู่ Canterbury Cathedral แต่เปลี่ยนพื้นหลังจากยุคกลาง (Middle Ages) มาเป็นช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อจ่าทหารอเมริกัน, จ่าทหารอังกฤษ และหญิงสาวคนหนึ่ง จับพลัดพลูพบเจอกันระหว่างทางที่เมืองสมมติ Chillingbourne, Kent ร่วมกันไขปริศนาบางอย่าง และร่วมเดินทางมุ่งสู่ Canterbury เพื่อเติมเต็มหน้าที่/ความใฝ่ฝันของตนเอง, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
เพื่อน-แพง (1983)
เพื่อน-แพง (พ.ศ. ๒๕๒๖) : เชิด ทรงศรี ♥♥♥♥
จากลิลิตพระลอ กลายมาเป็นเรื่องสั้นของยาขอบ และภาพยนตร์โดย เชิด ทรงศรี กับคำโฆษณา ‘ระหว่างความรักกับคำสาบาน อย่างไหนจะมีอำนาจสูงส่งกว่ากัน’ ระหว่างพี่เพื่อนกับน้องแพง สุดท้ายแล้ว สรพงษ์ ชาตรี จะเลือกใคร, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Tree of Wooden Clogs (1978)
The Tree of Wooden Clogs (1978) : Ermanno Olmi ♥♥♥♥
สี่ครอบครัวจนๆพึ่งพาอาศัยอยู่ร่วมกันในบ้านฟาร์มชนบทแถว Bergamo แคว้น Lombardy ประเทศอิตาลี นำเสนอภาพวิถีชีวิตลูกทุ่งของพวกเขาในรอบ 1 ปี พบเห็นเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย สุข-ทุกข์ ดี-ชั่ว ได้รับการยกย่องเป็นภาพยนตร์มี ‘มนุษยธรรม’ ที่สุดในโลก คว้ารางวัล Palme d’Or อย่างเป็นเอกฉันท์ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Padre Padrone (1977)
Padre Padrone (1977) : Taviani brothers ♥♥♥♥
พ่อผู้พยายามครอบงำทำทุกสิ่งอย่าง ไม่ให้ลูกได้ร่ำเรียนหนังสือ บีบบังคับใช้แรงงานอย่างหนัก ทั้งนี้เมื่อเติบโตขึ้นจะไม่ตีตนออกห่าง เพราะในสังคมชนบทจำต้องอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวถึงสามารถมีชีวิตเอาตัวรอด ถึงกระนั้นเมื่อเขากลายเป็นผู้ใหญ่และได้โอกาสเปิดโลกทัศน์ใหม่ พบเห็นความเป็นไปของโลกภายนอก มีหรือจะยินยอมรับการกระทำอันเห็นแก่ตัวของพ่อได้, คว้ารางวัล Palme d’Or จากเทศกาลหนังเมือง Cannes “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Only Yesterday (1991)
Only Yesterday (1991) : Isao Takahata ♥♥♥♥
ขณะที่ Hayao Miyazaki มุ่งสู่ความแฟนตาซีล้ำจินตนาการ Isao Takahata เลือกหันเข้าหาความสมจริง (Realist) นำเสนอภาพวาดศิลปะในรูปแบบภาษาภาพยนตร์, Only Yesterday คืออนิเมชั่นที่จะทำให้คุณหวนระลึกถึงความทรงจำวัยเด็ก ขณะเดียวกันยังชักชวนให้ตัดสินใจเลือกทำอะไรบางอย่างกับอนาคต, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”