
ความตายของสามีทำให้ภรรยาแทบมิอาจอดรนทน พยายามหาหนทางปล่อยปละละวาง แต่สถานการณ์การเมืองของประเทศ Poland ช่วงประกาศกฎอัยการศึก (1981-83) ทำให้ทุกสิ่งอย่างถึงคราอับจน หมดสิ้นหนทางหวัง ท้ายที่สุดแล้วเลยหลงเหลือเพียงโศกนาฎกรรม
ความตายของสามีทำให้ภรรยาแทบมิอาจอดรนทน พยายามหาหนทางปล่อยปละละวาง แต่สถานการณ์การเมืองของประเทศ Poland ช่วงประกาศกฎอัยการศึก (1981-83) ทำให้ทุกสิ่งอย่างถึงคราอับจน หมดสิ้นหนทางหวัง ท้ายที่สุดแล้วเลยหลงเหลือเพียงโศกนาฎกรรม
La Vérité (1960) : Henri-Georges Clouzot ♥♥♥♥
Brigitte Bardot -น่าจะเป็นการแสดงยอดเยี่ยมที่สุดในชีวิต- ได้ทำการเข่นฆาตกรรมแฟนหนุ่ม ถูกจับกุมขึ้นศาลเพื่อค้นหาสาเหตุแรงจูงใจสำหรับตัดสินโทษ แต่ลูกขุนทั้งคณะล้วนคือเพศชาย แถมทนายฝ่ายตรงข้ามก็คอยแต่พูดจาดูถูกถากถาง นี่นะหรือกระบวนการยุติธรรมที่น่านับถือ!
The Third Murder (2017) : Hirokazu Kore-eda ♥♥♥♡
ความตายของคนหนึ่งสามารถมอบอิสรภาพให้กับอีกคนหนึ่ง แต่การจะเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้จำต้องมีบุคคลที่สามเป็นผู้ตัดสิน สมควรให้ได้รับการช่วยเหลือหรือปฏิเสธต่อต้าน, นี่ไม่ใช่แค่หนังอาชญากรรม Legal Thriller หรือ Courtroom Drama มองลึกลงไปจะพบเห็นลายเซ็นต์ของผู้กำกับ Kore-eda มนุษย์เกิดมาทำไม? อะไรคือเป้าหมายปลายทาง? สิ่งสำคัญสุดอยู่ที่การกระทำหรือความตั้งใจ?
The Spy Who Came in from the Cold (1965) : Martin Ritt ♥♥♥♥
เพื่อตอบโต้กับความเพ้อเจ้อของสายลับมาดเท่ห์ James Bond ในโลกความจริง Richard Burton -กับบทบาทเข้าชิง Oscar: Best Actor- เป็นสปายที่ต้องทำตัวกะล่อนปลิ้นปล้อน โกหกหลอกลวง นกสองหัวเพื่อตลบหลังศัตรูและพวกพ้อง แค่หมากตัวหนึ่งในกระดาน ไร้ซึ่งสามัญสำนึกมโนธรรม ทำตามคำสั่งหน้าที่จากผู้บังคับบัญชาเท่านั้น ความเป็นตายก็เช่นกัน
The Water Magician (1933) : Kenji Mizoguchi ♥♥♥♥
ปกติแล้วมนุษย์ชอบเล่นกับไฟ (ตัณหาราคะ ความต้องการเอาชนะครอบครอง) แต่หนังเรื่องนี้นางเอกเล่นกับน้ำ จิตใจสงบร่มเย็น ทำหลายสิ่งอย่างเสียสละให้ผู้อื่น แม้แต่ความตายของตนเองเพื่อคนรัก ก็ไม่มีสุขอื่นใดเอ่อล้นมากกว่านี้อีกแล้ว, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Trial of Joan of Arc (1962) : Robert Bresson ♥♥
คงเป็นไปไม่ได้ ถ้าจะไม่เปรียบเทียบเรื่องนี้กับหนังเงียบในตำนาน The Passion of Joan of Arc (1928) ของผู้กำกับ Carl Theodor Dreyer เพราะคือฉบับพูดน้ำไหลไฟดับ ระหว่างการพิพากษา Jeanne d’Arc จนกระทั่งตัดสินโทษเผาทั้งเป็น แต่ด้วยไดเรคชั่น ‘สไตล์ Bresson’ อาจทำให้หลายๆคนผิดหวัง
The People vs. Larry Flynt (1996) : Miloš Forman ♥♥♥
Larry Flynt (นำแสดงโดย Woody Harrelson) คือผู้ก่อตั้งนิตยสารโป๊ Hustler Magazine เมื่อปี 1974 เจ้าแรกที่ได้ทำการตีพิมพ์ภาพอวัยวะเพศหญิงแบบไม่มีมุมกล้องบดบังเซ็นเซอร์ รวมถึงภาพการร่วมรักอย่างโจ๋งครึ่มตรงไปตรงมา ก็แน่ละคนหัวโบราณมือถือสากปากถือศีลย่อมเดือดเนื้อร้อนตัวรับไม่ได้ แต่ยอดขายตีพิมพ์เดือนละ 3 ล้านเล่มสมัยนั้น มันบ่งบอกอะไรๆได้เยอะ, หนังคว้ารางวัล Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin และเข้าชิง Oscar 2 สาขา
The Reader (2008) : Stephen Daldry ♥♥♥♥
ถ้าคุณชื่นชอบใครสักคนหนึ่ง อดีตของเขาหรือเธอจะเป็นปัจจัยต่อความรักนั้นหรือไม่? Kate Winslet ในบทบาทคว้า Oscar: Best Actress คืออดีตเจ้าหน้าที่หญิง Nazi ผู้ผลักดันชาวยิวเข้าห้องรมแก๊ส กักขังพวกเขาไว้ในโบสถ์แล้วเผาให้ตายทั้งเป็น … คนที่มีอดีตชั่วร้ายขนาดนี้ จะยังมีใครรักลงอีกไหม
Judgment at Nuremberg (1961) : Stanley Kramer ♥♥♥♡
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ได้รับชัยชนะ จัดตั้งตุลาการศาลระหว่างประเทศ (Tribunal) ขึ้นที่ Nuremberg, Germany เพื่อตัดสินโทษความผิดของเหล่าอาชญากรสงคราม นำแสดงโดย Spencer Tracy สมทบด้วย Burt Lancaster, Richard Widmark, Marlene Dietrich, Judy Garland, William Shatner, Montgomery Clift และ Maximilian Schell หนึ่งเดียวที่คว้า Oscar: Best Actor
A Few Good Men (1992) : Rob Reiner ♥♥♥♡
หนึ่งในภาพยนตร์ Courtroom Drama สุดเข้มข้น จากบทละครเวทีของ Aaron Sorkin เมื่อ Tom Cruise รับบททนายทหาร แก้ต่างข้อหาฆาตกรรมให้สองนายทหาร ที่กระทำการตามคำสั่งสกปรกของนายพล Jack Nicholson ผู้อ้างว่าเพื่อความสงบสุขเรียบร้อยของประเทศชาติ, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Witness for the Prosecution (1957) : Billy Wilder ♥♥♥♥♡
อีกหนึ่งภาพยนตร์ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” ของแนว Courtroom Drama ดัดแปลงจากเรื่องสั้น/บทละครของ Agatha Christie เข้าชิง Oscar 6 สาขา นำแสดงโดย Charles Laughton ที่คงไม่มีเรื่องไหนตลกร้ายไปกว่านี้, Marlene Dietrich เริดเชิดหยิ่ง กับเรียวขาสุดเซ็กซี่ในตำนาน, Elsa Lanchester กัดกับสามีอย่างเมามัน, และ Tyrone Power ผลงานเรื่องสุดท้าย
Bratya Karamazovy (1969) : Kirill Lavrov, Ivan Pyryev, Mikhail Ulyanov ♥♥♥♥
สามพี่น้อง Karamazov ต้องอดทนกับพ่อผู้ปากร้าย จิตใจเลวทราม วันๆหมกมุ่นสุรานารี ไม่รู้เมื่อไหร่จะตายๆไปเสียสักที กองมรดกจะได้ตกถึงลูกหลาน แต่แค่การคิดแบบนี้ ไม่นานเวรกรรมก็ตามสนองพวกเขาแล้ว, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Brothers Karamazov (1958) : Richard Brooks ♥♥
(mini Review) ดัดแปลงจากวรรณกรรมชิ้นเอกเรื่องสุดท้ายของ Fyodor Dostoevsky แต่กลับถูก Hollywood นำมาใช้เท้าเขี่ยเล่น ตัดทิ้งหลายประเด็นใจความสำคัญจนกลวงโบ๋ เหลือเพียงการแสดงของ Yul Brynner กับ Lee J. Cobb เท่านั้นที่ยังเป็นตำนาน
The Exorcism of Emily Rose (2005) : Scott Derrickson ♥♥♥♡
เรื่องราวการไล่ผีออกจากร่างของหญิงสาว Emily Rose ถ้ามันเป็นผลสำเร็จคงไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ความตายของเธอได้ถูกสังคมวิพากย์และพยายามใช้กฎหมายของมนุษย์เป็นสิ่งตัดสิน แต่มันถูกต้องเหมาะสมแล้วหรือ?
Roxie Hart (1942) hollywood : William A. Wellman ♥♥♥♥♡
เป็นคุณจะให้อภัยไหม ‘ถ้าหญิงสาวสุดสวยเซ็กซี่ ยิงคนตายแล้วอ้างว่าป้องกันตัว’ ดัดแปลงจากบทละครเรื่อง Chicago โดยผู้กำกับ William A. Wellman (Wings-1927) นำแสดงโดย Ginger Rogers กับทรงผมหยิกสุดเซ็กซี่ และ George Montgomery หนุ่มทื่อๆสุดน่ารัก
แพรดำ (พ.ศ.2504) หนังไทย : รัตน์ เปสตันยี ♥♥♥♡
‘ความดีและความชั่วนั้นย่อมอำนวยผลต่างกัน’ แค่ประโยคแรกของหนัง ก็สื่อถึงใจความสำคัญของหนังเรื่องนี้, รัตน์ เปสตันยี ควบตำแหน่งอำนวยการสร้าง กำกับ เขียนบท ถ่ายภาพและตัดต่อ จะมีคนทำหนังไทยสักกี่คนที่สามารถทำได้ กับแนว film noir เรื่องแรกของไทย หนึ่งในหนังไทยคลาสสิกสุดควรค่า สร้างเพื่อให้คนไทยได้รับชม
To Kill a Mockingbird (1962) hollywood : Robert Mulligan ♥♥♥♥◊
It was a sin to kill a mockingbird. มันเป็นบาปถ้าจะฆ่า Mockingbird นกชนิดนี้มันไม่เคยสร้างความเดือนร้อนให้ใคร วันๆเอาแต่ส่งเสียงร้องจนกว่าจะพึงพอใจ, จากนิยายรางวัล Pulitzer Prize ของ Harper Lee ดัดแปลงเป็นภาพยนตร์โดยผู้กำกับ Robert Mulligan นำแสดงโดย Gregory Peck, เวลานึกถึงหนังแนว Courtroom Drama เมื่อพูดถึง 12 Angry Men ต้องพูดถึง To Kill a Mockingbird ทุกครั้ง สองเรื่องนี้เติมเต็มซึ่งกันและกัน และ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” ทั้งคู่
12 Angry Men (1957) : Sidney Lumet ♥♥♥♥◊
ลูกขุนที่เป็นชาย 12 คน ลงมติเพื่อตัดสินความผิดโทษฐานฆาตกรรมของชายคนหนึ่ง, หนังสุดเทคนิคโดยผู้กำกับ Sidney Lumet ที่ใครๆก็น่าจะรู้จัก เรื่องราวเกิดขึ้นในห้องตัดสินเล็กๆห้องหนึ่ง มีฉากเดียวทั้งเรื่อง และตัวละครทั้งหมด 12 คน ถ้าคุณยังไม่เคยดูหนังเรื่องนี้ก็ถือว่าเสียชาติเกิดแล้ว
Awaara (1951) : Raj Kapoor ♥♥♥♥♥
(2/1/2018) อุดมการณ์ หลักการ ความเชื่อของมนุษย์หาใช่สิ่งต้องถูกต้องเสมอไป กับผู้พิพากษาที่มีทัศนคติ ‘พ่อเป็นโจร มีลูกย่อมต้องกลายเป็นโจร’ แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์กลับตารปัตร ลูกแท้ๆของตนเองกลับกลายเป็นโจร ทุกสิ่งอย่างที่เคยยึดถือมั่นพลันพังทลายสูญสิ้น, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Passion of Joan of Arc (1928) : Carl Theodor Dreyer ♠♠♠♠♠
(13/12/2016) อย่าริเรียกตัวเองว่าคนรักหนัง หากยังไม่เคยรับชม La Passion de Jeanne d’Arc โคตรหนังเงียบได้รับการยกย่องว่ามีความงดงาม เลอค่าทางศิลปะที่สุดในโลก ด้วยการแสดงอันสมจริงทรงพลังของ Renée Jeanne Falconetti สัมผัสความทุกข์ทรมานเอ่อล้นจากภายใน และแนวทางการกำกับของ Carl Theodor Dreyer เป็นภาษาภาพยนตร์โดดเด่นแตกต่างไม่เหมือนใคร