
ภาพยนตร์เกี่ยวกับการเล่นยาเรื่องแรกๆที่นำเสนอผ่านมุมมองของผู้เสพ (จะหายาเสพติดก็ต้องปล้น ร้านขายยา!) ตอนออกฉายได้รับเสียงฮือฮา ‘Universal Acclaim’ แต่กาลเวลาทำให้แปรสภาพสู่ ‘อเมริกันคลาสสิก’ ถึงอย่างนั้นก็ยังสมควรค่า “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ภาพยนตร์เกี่ยวกับการเล่นยาเรื่องแรกๆที่นำเสนอผ่านมุมมองของผู้เสพ (จะหายาเสพติดก็ต้องปล้น ร้านขายยา!) ตอนออกฉายได้รับเสียงฮือฮา ‘Universal Acclaim’ แต่กาลเวลาทำให้แปรสภาพสู่ ‘อเมริกันคลาสสิก’ ถึงอย่างนั้นก็ยังสมควรค่า “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
หลังเสร็จจาก To Live (1994) ผู้กำกับจางอี้โหมวจงใจเลือกผลงานถัดไปเกี่ยวกับกลุ่มอาชญากร เจ้าพ่อมาเฟีย (ที่สามารถสื่อถึงชนชั้นผู้นำประเทศจีน) พอดิบพอดีใกล้จะเลิกราแฟนสาวกงลี่ นี่คือการร่วมงานครั้งสุดท้าย (ขณะนั้น) จึงแทรกใส่เรื่องราวของคนทรยศหักหลัง … เป็นหนังที่สวยแต่รูป จูบไม่หอมสักเท่าไหร่
ภาพยนตร์เรื่องแรกของผู้กำกับ Rainer Werner Fassbinder ที่ทำการทดลองผิดลองถูก (Avant-Garde) แทบไม่มีการขยับเคลื่อนกล้อง ดำเนินไปอย่างเชื่องช้า Long Take รับชมแล้วรู้สึกทุกข์ทรมานยิ่งกว่าความตาย
เรื่องราวของ Archibaldo de la Cruz (รับบทโดย Ernesto Alonso) ผู้มีความหมกมุ่นที่จะก่ออาชญากรรม ต้องการเข่นฆ่าคนตาย แต่สุดท้ายไม่เคยได้กระทำ เพราะเป้าหมายล้วนมีเหตุให้ต้องเสียชีวิตจากไปก่อน เฉกเช่นนั้นแล้วเขาถือเป็นอาชญากรหรือไม่?
Paul Muni รับบทชายที่โดนหลอกให้เป็นโจร ปล้นเงินเพียง 5 ดอลลาร์ แต่กลับได้รับตัดสินโทษใช้แรงงานหนัก 10 ปี ถูกล่ามโซ่ตรวน (Chain Gang) ต้องเดินก้มหน้าก้มตา จะเช็ดหน้ายังต้องขออนุญาตผู้คุม สภาพชีวิตไม่ต่างจากนรกบนดิน นี่มันใช่สิ่งถูกต้องเหมาะสมแล้วหรือ?
ยุคสมัยนั้นใครๆต่างรับรู้ว่า Scarface คือฉายาของ Al Capone แต่เพราะภาพยนตร์มิอาจนำเสนอชีวประวัติอาชญากรออกมาตรงๆ จึงใช้การหลีกเลี่ยง ปรับเปลี่ยนโน่นนี่นั่น ท้าชนกองเซนเซอร์อยู่เกือบปีจน Howard Hawks บอกช่างแม้ง นำออกฉายทั้งๆไม่ผ่านการอนุมัติ ดิบ เถื่อน รุนแรงสุดเท่าที่จะสามารถนำเสนอออกมาได้ (ขณะนั้น)
แทนที่จะนำเสนอชีวประวัติอาชญากรแบบตรงไปตรงมา The Public Enemy (1931) สรรค์สร้างข้ออ้างการศึกษาสภาพสังคม ‘social study’ ร้อยเรียงวิถีชีวิตที่ต้องต่อสู้ดิ้นรน พานผ่านสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง, ช่วงเวลา Great Depression และยุคสมัย Prohibition ใครกันแน่คือศัตรูของสาธารณะ?
จากโจรกระจอกสู่เจ้าพ่อมาเฟีย (rags-to-richs) แจ้งเกิดโด่งดัง Edward G. Robinson ทั้งยังจุดประกายกระแสนิยมภาพยนตร์แนว Gangster ในยุคสมัย pre-code จนทำให้สตูดิโอ Warner Bros. ช่วงทศวรรษ 30s ได้รับฉายา ‘The King of the Gangster Film’
ท่าเรือ คือสรวงสวรรค์ของหนังนัวร์ สถานที่บรรจบกันระหว่างชีวิต-ความตาย โลกความจริง-จินตนาการเพ้อฝัน รวมไปถึงชาย-หญิง มีโอกาสพบเจอ แต่งงาน และพลัดพรากจาก เรียกได้ว่าชีวิตถือกำเนิดขึ้นยังที่แห่งนี้
รุ่งอรุณภาพยนตร์แนวอาชญากรรม (pre-gangster film) ที่ยังเป็นผลงานแจ้งเกิดผู้กำกับ Josef von Sternberg และคว้ารางวัล Oscar: Best Original Story ในการประกาศรางวัลครั้งที่หนึ่ง
Palme d’Or ที่ได้รับเสียงโห่มากกว่าปรบมือ สะท้อนเสียดสี ล้อเลียนวิถีอเมริกัน ใครๆต่างเพ้อใฝ่ฝัน ต้องการไปให้ถึงสรวงสวรรค์หลังสายรุ้ง The Wizard of Oz แต่โลกความจริงกลับมีสภาพต่ำตม นรกบนดิน ผู้ชมก็แทบดับดิ้นถ้าอยากจะเข้าใจภาพยนตร์ NC-17 เรื่องนี้
เพี้ยนมาจากคำอ่านออกเสียง Tekkin Konkurito แปลว่า Steel-Reinforced Concrete, คอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งเป็นการสื่อถึงเมือง Takaramachi (แปลว่า Treasure Town) ป่าคอนกรีตที่เด็กชายสองคน Black & White ใช้ชีวิตอาศัย ต่อสู้ดิ้นรน บนความเปลี่ยนแปลงวิถีโลก
แม้ว่าตอนจบของ Dr. Mabuse, der Spieler (1922) อาชญากร/จิตแพทย์/นักสะกดจิต Dr. Mabuse จะคลุ้มคลั่งเข้าโรงพยาบาลบ้าไปแล้ว แต่ภาคต่อเรื่องนี้จักหวนกลับมาสร้างความหลอกหลอนในลักษณะสืบสาน ส่งต่อแนวคิด อุดมการณ์ จิตวิญญาณ เพื่อสรรค์สร้างจักรวรรดิแห่งอาชญากรรม สื่อตรงๆถึงพรรคนาซีและว่าที่ท่านผู้นำ Adolf Hitler
Dr. Mabuse กระทำการฉ้อฉล โกงกลไพ่ ปลอมตัวก่ออาชญากรรมมากมาย สะกดจิตให้ผู้อื่นยินยอมคล้อยตามคำสั่ง พฤติกรรมดังกล่าวราวกับพยากรณ์การมาถึงของ Adolf Hiter กลายเป็นผลงานแจ้งเกิดผู้กำกับ Fritz Lang ความยาวเกือบๆ 4 ชั่วโมงครี่ง ไม่มีความน่าเบื่อเลยสักนิด!
มือของนักเปียโน Orlac (รับบทโดย Conrad Veidt) ประสบอุบัติเหตุใช้งานไม่ได้ แพทย์จีงนำมือนักโทษประหารชีวิตมาปลูกถ่ายให้ ทั้งๆตนเองไม่เคยเข่นฆ่าใครแต่กลับเกิดอาการ ‘Shell Shock’ เพ้อคลั่งแทบเสียสติแตก ยินยอมรับอดีตของมือใหม่นั้นมิได้
หนังเงียบรายเดือนเรื่องนี้ (Serial Film) ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับผีดิบ/ค้างคาว/แวมไพร์ คือชื่อองค์กรชั่วร้ายก่อการปล้น/ฆ่า กำลังถูกไล่ล่าติดตามโดยยอดนักข่าว Philippe Guérande (รับบทโดย Édouard Mathé) สุดท้ายจะถูกจับกุมตัวได้หรือไม่
Mildred Pierce (1945) : Michael Curtiz ♥♥♥♡
Joan Crawford คว้า Oscar: Best Actress จากบทบาทแม่ Mildred Pierce ผู้พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่ออนาคตของลูกสาว Veda (รับบทโดย Ann Blyth) แต่เธอกลับพยายามทำทุกสิ่งอย่างเช่นกันเพื่อปฏิเสธ ต่อต้าน ไม่ยินยอมรับความปรารถนาดีดังกล่าว, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Thin Blue Line (1988) : Errol Morris ♥♥♥♥
ชายคนหนึ่งถูกตัดสินโทษประหารชีวิต ทั้งๆไม่เคยกระทำความผิดใดๆ ค้นพบโดยผู้กำกับ Errol Morris ออกสืบสวนสอบสวนจนได้ข้อสรุปใหม่ ตีแผ่ออกมาในรูปแบบสารคดี พร้อมจำลองภาพเหตุการณ์คดีฆาตกรรม เพลงประกอบโดย Philip Glass สร้างความสั่นสะเทือนเลือนลั่นให้กับระบบยุติธรรม และกลายเป็นอิทธิพลทรงคุณค่ายิ่งต่อวงการภาพยนตร์
Memories of Murder (2003) : Bong Joon-ho ♥♥♥♥
ความทรงจำต่อเหตุการณ์ฆาตกรรมต่อเนื่อง ไม่เพียงตราฝังตรึงในความทรงจำตัวละคร ผู้กำกับ Bong Joon-ho แต่ยังชาวเกาหลีใต้ทั้งประเทศ สามารถสะท้อนได้ถึงเหตุการณ์สังหารหมู่ประชาชนของรัฐบาลเมื่อไม่กี่ปีก่อน ใครกันจะไปหลงลืมเลือน
Trainspotting (1996) : Danny Boyle ♥♥♥♥
Train-Spotting กิจกรรมจับจ้องรถไฟเคลื่อนผ่านไปมา ในมุมคนทั่วไปคงมองว่าเป็นงานอดิเรกที่โคตรไร้สาระ แต่สำหรับบุคคลกำลังมึนเมาเสพยา นั่นคือช่วงเวลาอันสุดมหัศจรรย์เหนือจินตนาการ (ผมก็อธิบายไม่ได้ว่าเป็นอย่างไร) ก็เหมือนภาพยนตร์เรื่องนี้อาจทำให้คุณรู้สึกโคตรเสียเวลารับชม แต่สะท้อนวัฒนธรรม ค่านิยม และจิตวิญญาณชนชาวอังกฤษยุคสมัยนั้นออกมาได้อย่างตราตรึง