ครั้งแรกครั้งเดียวที่ผู้กำกับ Alfred Hitchcock สร้างภาพยนตร์จากเหตุการณ์จริง ตำรวจจับผู้ร้ายผิดคน! พยายามเก็บรายละเอียด ถ่ายทำยังสถานที่จริง รวมถึงตัวประกอบ/พยานในที่เกิดเหตุ ทำออกมาในสไตล์กึ่งสารคดี (Docu-Drama)
ป้ายกำกับ: docudrama
La Pyramide humaine (1961)
หลังจากหลายๆประเทศในแอฟริกาได้รับการปลดแอก ประกาศอิสรภาพ หลุดพ้นจากลัทธิอาณานิคม ผู้กำกับ Jean Rouch ทำการทดลองให้กลุ่มนักเรียนคนขาว vs. ชาวแอฟริกัน มาอาศัยอยู่ร่วมชั้นเรียนเดียวกัน พวกเขาจะสามารถปรับตัว เปลี่ยนแปลงทัศนคติ ยินยอมรับกันและกันได้หรือไม่?
แม้เต็มไปด้วยข้อจำกัดยุคสมัย แต่ผู้กำกับ Jean Rouch ยังสามารถรังสรรค์สร้างสารคดีบันทึกวิถีชีวิตผู้อพยพชาว Nigerien เดินทางมาปักหลักใช้แรงงานอยู่ยัง Treichville, Abidjan เมืองหลวงประเทศ Côte d’Ivoire (Ivory Coast) ท่ามกลางยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม ใกล้จะได้รับการปลดแอก ประกาศอิสรภาพจากฝรั่งเศส
Sol’ Svanetii (1930)
หนังเงียบกึ่งสารคดี ถ่ายทำวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ Svans อาศัยบนเทือกเขาในจังหวัด Svanetia (ปัจจุบันคือประเทศ Georgia) มีความแร้นเค้น ทุรกันดาร ต่อสู้ชีวิตอย่างทุกข์ยากลำบาก แต่ด้วยแผนพัฒนาประเทศ 5 ปี (1928-32) ของ Joseph Stalin ดินแดนห่างไกลแห่งนี้กำลังจะมีท้องถนนตัดผ่าน
นักผจญเพลิง (Firefighter) ถือเป็นวีรบุรุษของประเทศอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง คอยดับไฟจากเครื่องบินทิ้งระเบิดไม่ให้ลุกลามบานปลาย นำเสนอสไตล์สารคดีแต่ผลลัพท์ไม่ต่างจากภาพยนตร์ชวนเชื่อ (Propaganda)
A Night to Remember (1958)
แม้ไม่ประสบความสำเร็จด้านรายรับ แต่ค่ำคืนนั้นได้รับการจดจำว่าสามารถจุดประกายภาพยนตร์แนวหายนะ (Disaster Films) เต็มไปด้วยรายละเอียดใกล้เคียงประวัติศาสตร์ และอาจยอดเยี่ยมยิ่งกว่าหนังเคยทำเงินสูงสุดในโลกเรื่องนั้น!
Man of Aran (1934)
ภาพยนตร์กึ่งสารคดี (Docudrama) ที่ต่อมาได้รับการแยกย่อยเป็น Ethnofiction นำเสนอวิถีชีวิตชาวไอริชบนเกาะ Aran Island, ชายฝั่งตะวันตกประเทศ Ireland เรื่องราวจริงบ้าง-ไม่จริงบ้าง แต่มีความงดงามราวกับบทกวี
จากความสำเร็จของ Nanook of the North (1922) ทำให้ผู้กำกับ Robert J. Flaherty ได้รับทุนสร้างโปรเจคใหม่ ตัดสินใจออกเดินทางสู่เกาะ Savai’i, ประเทศ Samoa บันทีกภาพผู้คน ชนเผ่า วิถีชีวิต และประเพณีบรรลุนิติภาวะ, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Life, and Nothing More… (1992) : Abbas Kiarostami ♥♥♥♥
ไม่ได้ต้องการสร้างภาคต่อ Where Is the Friend’s Home? (1987) แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในประเทศอิหร่านเมื่อปี ค.ศ. 1990 ประมาณการเสียชีวิตกว่า 30,000 คน! ผู้กำกับ Abbas Kiarostami เลยแบกกล้องออกเดินทางหวนกลับสู่เมือง Koker เพื่อติดตามหานักแสดงเด็กๆเคยร่วมงาน จะยังมีใครหลงเหลือชีวิตรอดอยู่บ้างไหม
ทองปาน (พ.ศ. ๒๕๑๙) : ไพจง ไหลสกุล, สุรชัย จันทิมาธร, ยุทธนา มุกดาสนิท, รัศมี เผ่าเหลืองทอง ♥♥♥♡
ภาพยนตร์ ‘ประหลาด’ ของไทย หาญกล้าวิพากษ์วิจารณ์นโยบายพัฒนาชนบทของรัฐบาล ต่อการสร้างเขื่อนผามอง กั้นแม่น้ำโขง ช่วงหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ ซึ่งพอหนังเสร็จประจวบกับการมาถึงของ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ จึงถูกแบนห้ามฉาย ต้องอ้อมโลกไปโด่งดังไกล กว่าจะได้หวนกลับมาสู่สายตาคนไทย
Apollo 13 (1995) : Ron Howard ♥♥♥♥
มีสองสิ่งที่มนุษย์ให้ความสนใจอย่างสูง ครั้งแรกของโลก (เช่น นักบินอวกาศคนแรก, เหยียบดวงจันทร์คนแรก ฯ) และการประสบหายนะ ช่วงเวลาเป็น-ตาย รอด-ไม่รอด ครึ่งหนึ่งส่งกำลังใจเชียร์-อีกครึ่งคงแช่งให้ประสบความล้มเหลว แต่ถือเป็นช่วงเวลาที่มวลมนุษยชาติ มีจิตใจจดจ่ออยู่กับสิ่งหนึ่งเดียว หลงลืมความเหน็ดเหนื่อย ขัดแย้ง สงครามเย็นไปชั่วขณะหนึ่ง
The Greatest Show on Earth (1952) : Cecil B. DeMille ♥♥♥
ภาพยนตร์เรื่องที่คว้า Oscar: Best Picture แต่ได้รับการโหวต ‘worst Oscar winners’ จากหลายๆสำนัก จะว่าไปตัวหนังก็ไม่ได้เลวร้ายเท่าไหร่นะ โปรดักชั่น ไดเรคชั่น ความบันเทิงจัดเต็ม แถมแจ้งเกิด Charlton Heston และ James Stewart หลบซ่อนตัวอยู่ภายใต้ใบหน้าตัวตลกได้อย่างแนบเนียน
Salaam Bombay! (1988)
Salaam Bombay! (1988) Bollywood : Mira Nair ♥♥♥♥
หนัง bollywood เรื่องที่สองของอินเดียที่ได้เข้าชิง Oscar สาขา Best Foreign Language Film โดยผู้กำกับหญิง Mira Nair, ถ้าชีวิตนี้คุณอยากไปเที่ยว Bombay (หรือ Mumbai) จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดูหนังเรื่องนี้ เพราะความสมจริงที่สวยงามและเจ็บปวด จะทำให้คุณรู้ว่าเมืองนี้เป็นยังไง น่าหลงใหลขนาดไหน
Miracle (2004) hollywood : Gavin O’Connor ♥♥♥♥
มีปาฏิหาริย์หนึ่งเกิดขึ้นตอน 1980 Lake Placid Winter Olympics, New York ทีม Ice Hocky ของสหภาพโซเวียต ผู้ไม่เคยพ่ายแพ้ทีมใดมากว่า 20 ปี พ่ายแพ้ต่อม้ามืดทีมชาติอเมริกาในนัดชิงชนะเลิศ นี่คือ Miracle on Ice ช่วงเวลาแห่งชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในวงการกีฬา (ของอเมริกา) นำแสดงโดย Kurt Russell
Close-Up (1990)
พบเห็นอัจฉริยภาพของผู้กำกับ Abbas Kiarostami ในระยะประชิดใกล้ (Close-Up) จากการผสมผสานครึ่งจริง-ครึ่งแต่ง เรื่องราวของชายที่แอบอ้างตนเองเป็นผู้กำกับดัง อะไรคือสิ่งดลใจให้เขาทำเช่นนั้น?
Salvatore Giuliano (1962)
Salvatore Giuliano (1962) Italian : Franceso Rosi ♥♥♥♡
นี่เป็นหนังที่ค่อนข้างแปลก ของผู้กำกับ Franceso Rosi ในสไตล์ Neorealist, Salvatore Giuliano ผู้ซึ่งเปรียบได้กับ Che Guevara ของอิตาลี ด้วยการเล่าเรื่องกึ่งดราม่าชีวประวัติ กึ่งสารคดี (DocuDrama) ที่เราจะได้เห็นแค่หลังไวๆของ Giuliano เท่านั้น, ครึ่งแรกทำแบบ Citizen Kane ส่วนครึ่งหลังมีส่วนผสมของ Rashômon, อีกหนึ่งหนังโปรดของ Martin Scoresese
El sol del membrillo (1992)
El sol del membrillo (1992) Spainish : Victor Erice ♠♠♠♠♠
The Quince Tree Sun เป็นหนังที่ดูยากมากๆ ให้ตายเถอะ ดูซ้ำ 10 รอบก็อาจไม่เข้าใจอะไรเลย แต่เมื่อใดที่คุณบรรลุหนังเรื่องนี้ จะพบว่า มันคือหนังเกี่ยวกับชีวิตที่มีชั้นเชิงการเล่าเหนือชั้นมากๆ โดยผู้กำกับชาวสเปนระดับตำนาน Victor Erice ทั้งชีวิตสร้างหนังยาว 3 เรื่อง นี่คือเรื่องสุดท้าย แม้เจ้าตัวจะยังมีชีวิตอยู่ (2016) แต่ไม่คิดว่าเขาจะสร้างหนังเรื่องยาวออกมาอีกแล้ว
Edvard Munch (1974)
Edvard Munch (1974) Norwegian : Peter Watkins ♥♥♥♥
ภาพวาดที่ผมใส่เป็นโปสเตอร์วันนี้ คุณรู้รึเปล่าครั้งหนึ่งมันเป็นภาพวาดที่ถูกประมูลในราคาสูงถึง $119.9 ล้านดอลลาร์ นี่เป็นหนังชีวประวัติของ Edvard Munch ศิลปิน Expressionist สัญชาติ Norwegian ผู้วาดภาพ The Scream ที่โด่งดัง
ภาพยนตร์ที่ถูกขนานนามว่า ‘สารคดีขนาดยาวเรื่องแรกของโลก’ นำเสนอภาพวิถีชีวิตชนเผ่า Inuit อาศัยอยู่ตอนเหนือของ Quebec, Canada ระหว่างการออกล่า Walrus (คล้ายๆสิงโตทะเล), สร้าง Igloo, ต่อสู้เอาตัวรอดจากสภาพแวดล้อมที่โหดร้าย, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”