
สร้างใหม่จาก A Guy Named Joe (1943) หนึ่งในแรงบันดาลใจ Steven Spielberg ให้อยากเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ นำเสนอเรื่องราวความเชื่อว่าเมื่อคนรักตายจากไป อีกฝ่ายจะกลายเป็นวิญญาณ ยังคงล่องลอยอยู่เคียงข้าง ‘ตลอดไป’
สร้างใหม่จาก A Guy Named Joe (1943) หนึ่งในแรงบันดาลใจ Steven Spielberg ให้อยากเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ นำเสนอเรื่องราวความเชื่อว่าเมื่อคนรักตายจากไป อีกฝ่ายจะกลายเป็นวิญญาณ ยังคงล่องลอยอยู่เคียงข้าง ‘ตลอดไป’
สองสามีภรรยาหลบหนีออกจากเรือนจำ ปล้นรถตำรวจ ลักพาตัวสายตรวจ มุ่งหน้าสู่ Sugarland เพื่อทวงคืนสิทธิ์การเลี้ยงดูบุตรชาย แต่ความเพ้อฝันของพวกเขาไม่ได้เคลือบด้วยน้ำตาล มันคือหนทางด่วนมุ่งสู่หายนะต่างหาก!
ภรรยาล้มป่วยหนักไม่มีเงินค่ารักษา สามีจึงตัดสินใจปั่นจักรยาน 7 วัน 7 คืน อยากจะทำเหมือน Ace in the Hole (1951) แต่ก็ได้แค่เวียนวนไปวนมา วังวนแห่งหายนะของผู้อพยพชาว Afghan
เด็กชายถูกทอดทิ้งอยู่บริเวณเมืองท่าติดอ่าวเปอร์เซีย ต้องหาหนทางต่อสู้ดิ้นรน ทำงานหาเลี้ยงชีพรอดด้วยตนเอง ใช้การวิ่งคือนัยยะเชิงสัญญะ ฉันจะดำเนินชีวิตต่อไปได้ไกลแค่ไหน มีโอกาสถึงเป้าหมายเส้นชัยหรือไม่
หนึ่งในภาพยนตร์ได้รับการยกย่อง “Best Iranian Film of all time” เรื่องราวของเด็กชาย Bashu หลบหนีสงคราม Iran–Iraq War (1980-88) จากทางตอนใต้มาถึงภาคเหนือของอิหร่าน พบเจอกลุ่มชาติพันธุ์ Gilak ที่แม้พูดคุยสื่อสารไม่รู้เรื่อง แต่ผู้ชมจักได้เรียนรู้จักสิ่งเรียกว่ามนุษยธรรม, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ไม่ใช่ Close-Up (1990) หรือ A Separation (2011) แต่คือ The Deer (1974) ได้รับการโหวตอย่างเอกฉันท์จากทั้งผู้ชมและนักวิจารณ์ชาวอิหร่าน ให้เป็นภาพยนตร์ยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล! รวมถึง Behrouz Vossoughi กลายเป็นนักแสดงอันดับหนึ่งของชาวเปอร์เซีย
วัวตัวเดียวทำเสียวทั้งหมู่บ้าน! การเสียชีวิตของมันสามารถสะท้อนจิตวิทยา แฝงปรัชญา ความเชื่อศรัทธา ศาสนา การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯ ไม่ใช่แค่จุดเริ่มต้น Iranian New Wave แต่ต้องเรียกว่ามาสเตอร์พีซแห่งวงการภาพยนตร์, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
เต่าเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ แน่นอนว่าบินไม่ได้! แต่ถ้ามันตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องโบยบิน นั่นแสดงถึงช่วงเวลาหมดสิ้นหวัง ไร้หนทางธำรงชีพรอด … จะว่าไปภาพโปสเตอร์เด็กสาวกำลังแบกเด็กชาย แลดูเหมือนกระดองเต่า ไม่น่าจะโบกบินได้เช่นกัน
การเป็นผู้หญิงในประเทศอิหร่าน มันช่างมีความเหนือจริงยิ่งนัก! เต็มไปด้วยกฎระเบียบข้อบังคับ เด็กหญิงต้องสวมฮิญาบตอนอายุ 9 ขวบ ห้ามเล่นกีฬา ห้ามปั่นจักรยาน ต้องแต่งงานตามคำสั่งครอบครัว แต่ด้วยวิถีของโลกยุคสมัยใหม่ การมีเงินทองจะทำให้ทุกสิ่งอย่างปรับเปลี่ยนแปลงไป!
ใครมีโอกาสพบเห็นแสงสีเขียว (Green Ray หรือ Green Flash) หรืออีกชื่อว่า แสงแห่งโชค (Lucky Light) จะช่วยปัดเป่าสิ่งเลวร้าย พรุ่งนี้จักได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ และประสบแต่ความโชคดี, คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice
The Marquise of O… สูญเสียสามีไปหลายปี จู่ๆตั้งครรภ์โดยไม่ทราบสาเหตุ แม้พยายามอ้างความบริสุทธิ์ใจ แต่ถูกครอบครัวขับไล่ ผลักไส ไม่สามารถยินยอมรับพฤติกรรมสำส่อน ก่อนค้นพบว่าบุคคลข่มขืนเธอนั้นคือ … มนุษย์ทุกคนล้วนมีดี-ชั่วในตัวเอง, คว้ารางวัล Grand Prix (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของ ‘Six Moral Tales’ ชักชวนผู้ชมตั้งคำถาม จุดไหนถือเป็นการคบชู้นอกใจ? ตั้งแต่ครุ่นคิดเพ้อฝัน เริ่มสานสัมพันธ์หญิงอื่น หรือถึงขั้นร่วมรักหลับนอน ต่อให้อ้างว่าฉันบริสุทธิ์ใจ ยึดถือมั่นในศีลธรรม แต่คนพรรค์นี้มีความน่าเชื่อถือตรงไหนกัน?
La Collectionneuse (แปลว่า The Collector) คือคำเรียกหญิงสาวที่ชื่นชอบสะสมแฟนหนุ่ม เก็บแต้มผู้ชายไม่เลือกหน้า แต่แท้จริงแล้วเธอเป็นเช่นนั้นหรือไหม? คว้ารางวัล Silver Bear: Extraordinary Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Berlin, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
เริ่มต้นจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศคลุ้มคลั่ง โหยหาประสบการณ์เฉียดเป็นเสี่ยงตาย จนได้มีเพศสัมพันธ์ทั้งชาย-หญิง ประตูหน้า-หลัง และกับรถยนต์ กลายเป็นแรงบันดาลใจ Julia Ducournau สร้างผลงาน Titane (2021)
ปลดเปลื้องจิตวิญญาณของผู้แต่งโคตรนวนิยาย William S. Burroughs นำเสนอจินตนาการ เหตุการณ์เหนือจริง หรือคือภาพหลอนระหว่างเสพสารพัดยา (มอร์ฟีน เฮโรอีน ฯ รวมเรียกว่า ‘black meat’) การเสียชีวิตของภรรยา คือจุดเริ่มต้นทำให้เขาตัดสินใจเป็นนักเขียนที่ราวกับถูกวิญญาณร้ายเข้าสิง
ฝาแฝดสยาม (Siamese twins) คือสิ่งมีชีวิตที่มีความลึกลับ -รับบทโดย Jeremy Irons ในการแสดงน่าจะยอดเยี่ยมที่สุด- มักมีบางสิ่งอย่างเชื่อมโยงถึงกัน แต่ถึงแยกแยะลักษณะทางกายภาพไม่ออก อุปนิสัย สภาพจิตใจของพวกเขาย่อมมีความแตกต่าง(ขั้วตรงข้าม)
หลังหย่าร้างภรรยา ผู้กำกับ David Cronenberg พัฒนาบทภาพยนตร์ The Brood (1979) เพราะความหวาดกลัวว่าบุตรสาวจะต้องตกอยู่ในการเลี้ยงดูของมารดาที่ … โดยไม่รู้ตัวสร้างขึ้นปีเดียวกับ Kramer vs. Kramer (1979) แต่มีความสม(เหนือ)จริงกว่าไหนๆ
ชมรมการต่อสู้กับตัวตนเอง เพื่อก้าวออกมาจากโลกที่เต็มไปด้วยวัตถุ สิ่งข้าวของ ระบอบทุนนิยม ล้างสบู่ในอ่างทองคำ แล้วจุดระเบิดทำลายล้างทุกสรรพสิ่งอย่าง แต่ทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นภายในความครุ่นคิด จิตใต้สำนึกของผู้กำกับ David Fincher เท่านั้น!
บิดาของผู้กำกับ Andrzej Żuławski ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ยินยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อครอบครัว เข้าร่วมวิจัยโรคไข้รากสาดใหญ่ (Typhus) ด้วยการให้เห็บ/หมัด ดื่มเลือดเป็นอาหาร (lice-feeding) … แค่คิดแม้งก็สยองแล้ว
ภาพยนตร์เรต X ถูกแบนในหลายๆประเทศ เพราะความสุดโต่งเหนือจริงของการล่าแม่มด พฤติกรรมเก็บกดทางเพศของแม่ชี หรือแม้แต่กษัตริย์ King Louis XIII ยังถูกตีความว่าเป็น Queer แต่ถ้าเราสามารถมองผ่านสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายเหล่านั้น ก็อาจพบเห็นสรวงสวรรค์ที่แท้จริง