ครั้งแรกของผู้กำกับ Alfred Hitchcock นำเสนอเรื่องราวในพื้นที่จำกัด (Limited Setting) ถ่ายทำบนเรือชูชีพ หลังถูกโจมตีโดยเรือดำน้ำ Nazi U-boat แต่เมื่อมีทหารเยอรมันคนหนึ่งได้รับการช่วยเหลือ พวกเขาจะทำอะไรยังไงกับชายคนนี้ดี?
ป้ายกำกับ: Ensemble Cast
Dogville (2003)
เลือนลางระหว่างภาพยนตร์-ละคอนเวที มีเพียงเส้นชอล์กขีดแบ่งบ้านแต่ละหลัง ทุกสิ่งอย่างล้วนเปิดกว้าง แต่ทุกคนกลับสร้างบางอย่างขึ้นมากีดขวางกั้น เรียกร้องโน่นนี่นั่น เพื่อให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคเท่าเทียม นี่นะหรือวิถีอเมริกัน? ดินแดนแห่งโอกาส สำหรับเติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน แต่เมื่ออาศัยอยู่นานวัน สันดานธาตุแท้ผู้คนจักค่อยๆเปิดเผยออกมา
Festen (1998)
งานเลี้ยงแซยิด (วันเกิดครบรอบ 60 ปี) ของบิดา รายล้อมด้วยลูกๆหลานๆ ญาติพี่น้อง ผองเพื่อน แต่ด้วยความที่เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกจากกลุ่มเคลื่อนไหว Dogme 95 มันจึงความบ้าคลั่ง เสียสติแตก ความจริงบางอย่างกำลังได้รับการเปิดเผยอย่างช้าๆ, คว้ารางวัล Jury Prize (ที่สาม) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
Moonstruck (1987)
พระจันทร์เป็นใจ เต็มไปด้วยเรื่องราวรักๆใคร่ๆ ความวุ่นๆวายๆของคนขี้เหงา ทั้งหนุ่ม-สาว กลางคน สูงวัย อาจเพราะหวาดกลัวความตาย เลยต้องมองหาใครสักคนเคียงข้างกาย
Moscow Does Not Believe in Tears คือสุภาษิตรัสเซีย (Russian Proverb) สอนให้เลิกบ่น หยุดร่ำร้องไห้ หรือเอาแต่เรียกร้องความสนใจ มีปัญหาอะไรควรรู้จักแก้ไขด้วยตนเอง! คว้ารางวัล Oscar: Best Foreign Language Film
Adaptation (2002)
Charlie Kaufman เคยพยายามดัดแปลงหนังสือ The Orchid Thief แต่เพราะมันแทบไม่มีเนื้อเรื่องราว จุดหักเห รวมถึงไคลน์แม็กซ์ จึงไม่สามารถขบครุ่นคิด หาวิธีพัฒนาบทหนัง ตกอยู่ในสภาวะสมองตัน (Writer’s Block) เมื่อถึงจุดๆหนึ่งก็ช่างหัวแม้ง ทำออกมาคล้ายๆแบบ 8½ (1963) ระบายทุกสิ่งอย่างอัดอั้นภายในออกมา
The Grand Budapest Hotel (2014)
โรงแรมสุดหรูที่ Wes Anderson เพ้อรำพัน ฝันจินตนาการ ช่วงเวลาที่เขาเองไม่เคยพานผ่าน แต่ครุ่นคิดอยากเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์, คว้ารางวัล Silver Berlin Bear: Grand Jury Prize (ที่สอง) และอีก 4 รางวัล Oscar
ครั้งแรกๆของภาพยนตร์รวมดารา (Ensemble Cast) ดำเนินเรื่องภายในโรงแรมหรูหรา Grand Hotel ณ กรุง Berlin แต่ทั้งหมดถ่ายทำยังสตูดิโอ MGM สามารถคว้ารางวัล Oscar: Best Picture ด้วยการเข้าชิงเพียงสาขาเดียว
49th Parallel (1941)
ภาพยนตร์ชวนเชื่อรวมดารา ผลงานลำดับที่สามของ Powell & Pressburger, ถ่ายภาพโดย Freddie Young, ตัดต่อโดย David Lean, เมื่อกลุ่มทหารนาซีเยอรมันถูกปล่อยเกาะบนผืนแผ่นดินแคนาดา อุดมการณ์ที่ไม่ยอมแปรเปลี่ยน เมื่อต้องเผชิญหน้าแนวคิดเสรีภาพ มันช่างเป็นความคู่ขนานกันโดยสิ้นเชิง
ดัดแปลงจากนวนิยายของ E. M. Forster (Howards End, A Passage to India) นำเสนอวิวทิวทัศน์แห่งความรัก ชักชวนเชื่อให้ตอบกลับความรู้สึกของหัวใจ แม้ขัดแย้งขนบสังคมประเทศอังกฤษก็ช่างหัวมันประไร แจ้งเกิดนักแสดงยังสาวสวย Helena Bonham Carter แถมด้วยบทบ้าๆบอๆของ Maggie Smith และ Daniel Day-Lewis
Sense and Sensibility (1995)
Sense คือสัมผัสทางจิตวิญญาณ, Sensible คือความอ่อนไหวในการแสดงออก สองสิ่งขั้วตรงข้ามเหตุผล-อารมณ์ เรื่องราวความรักของสองพี่น้อง Emma Thompson vs. Kate Winslet ใครจะได้ครองคู่แต่งงานกับใคร ด้วยความละเมียดไมจากผู้กำกับ Ang Lee คว้ารางวัล Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
Chinesisches Roulette (1976)
สามีและหญิงชู้ จับพลัดจับพลูพบเจอ ภรรยาและชายชู้ โดยบุคคลผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าว คือบุตรสาวพิการของทั้งคู่ เพราะเธอสูญเสียความรักจากบิดา-มารดา เลยไม่ยินยอมให้พวกเขาแอบไปมีความสุขขณะที่ตนเองต้องทนทุกข์ทรมาน
La caduta degli dei (1969)
ตระกูลต้องคำสาปที่ใกล้ถึงวันล่มสลาย ภายในเต็มไปด้วยความขัดแย้ง เกมการเมือง แก่งแย่งชิงให้ได้มาซึ่งอำนาจ ทรยศหักหลังญาติพี่น้อง พร้อมกระทำสิ่งโฉดชั่วนานัปการ (หนังได้รับการจัด X-Rated) สะท้อนการขึ้นมาเรืองอำนาจของ Nazi Germany ได้อย่างลุ่มลึก ทรงพลัง!
Le Plaisir (1952)
โลกใบนี้อาจถึงการล่มสลาย ถ้าบุรุษไม่ได้อิสตรีเคียงข้างกาย! เพียงค่ำคืนเดียวที่ซ่องโสเภณีปิดให้บริการ กลับสร้างความสับสนอลม่าน ก่อเกิดเหตุทะเลาะวิวาท ทำให้ทั้งคนหนุ่ม-แก่ ชนชั้นสูง-ต่ำ ตกอยู่ในสภาพแห้งเหี่ยวเฉา หมดสิ้นหวังอาลัย
La Ronde (1950)
ร้อยเรียงเรื่องราวความรักที่ต่างคนต่างมีสองความสัมพันธ์ นำเสนอในลักษณะส่งต่อกันเหมือนไม้ผลัด ก่อนเวียนวนกลับสู่จุดเริ่มต้นกลายเป็นวัฏจักร คล้ายเครื่องเล่นม้าหมุน หรือการเต้นจังหวะ Waltz (ที่มักเริงระบำไปรอบห้อง)
ร้อยเรียงวัยอลวลของหนุ่ม-สาวมัธยมปลาย ในวัน-คืนสุดท้ายก่อนปิดภาคการศึกษาฤดูร้อน เต็มไปด้วยพลัง ความสุดเหวี่ยง อะดรีนาลีนหลั่งคลั่ง อนาคตเด็กๆเหล่านี้ช่างว่างเปล่าเหมือนเนื้อเรื่องราว แต่จักกลายเป็นความทรงจำไม่รู้ลืม เก็บฝังไว้ใน Time Capsule
ผมมองความล้มเหลวของ Dune (1984) เกิดจากวิสัยทัศน์ผู้กำกับ David Lynch ไม่เข้าใจนวนิยายต้นฉบับเพียงพอ ใส่ความเป็นตัวตนเองมากเกินไป และมิอาจต่อรองโปรดิวเซอร์จนสูญเสียการควบคุมทั้งโปรเจค, กาลเวลาทำให้หนังเข้าสู่กระแส Cult Classic ดูแบบไม่คิดอะไรก็น่าจะเพลิดเพลินไปกับมันได้
Die freudlose Gasse (1925)
ผู้กำกับ G. W. Pabst ต้องการตีตนออกห่าง German Expressionism เลยสรรค์สร้างผลงานเรื่องที่สาม The Joyless Street (1925) ริเริ่มต้นยุคสมัย New Objectivity และยังช่วยขัดเกลา Greta Garbo ก่อนออกเดินทางมุ่งสู่ Hollywood
Die Nibelungen (1924)
มหากาพย์แฟนตาซี Nibelungenlied เกี่ยวกับการเดินทางของนักฆ่ามังกร Siegfried ตกหลุมรักครองคู่สาวงาม Kriemhild แล้วกลับถูกพี่เขย/พี่ร่วมสาบาน King Gunther ทรยศหักหลักเข่นฆ่าตกตาย เพื่อจะได้มีโอกาสแก้แค้นคืนให้คนรัก เธอยินยอมกระทั่งแต่งงานใหม่กับ King Etzel ผู้มีหน้าตาอัปลักษณ์ นิสัยป่าเถื่อนดุร้าย
Kanchenjungha (1962)
Kanchenjungha (1962) : Satyajit Ray ♥♥♥♡
ครอบครัวหนึ่งเดินทางมาพักผ่อนยังเมือง Darjeeling, West Bengal มองเห็นลิบๆยอดเขาสูงอันดับสามของโลก Kanchenjunga ดำเนินเรื่องสลับสับเปลี่ยนมุมมองไปมาด้วยเทคนิค ‘hyperlink film’ ซึ่งสภาพอากาศเดี๋ยวแดดออก หมอกลง เมฆบดบังพระอาทิตย์ ส่งผลกระทำต่อจิตใจตัวละครให้เรรวนปรวนแปร ผันเปลี่ยนแปลงไปมาไม่หยุดนิ่ง