เลือนลางระหว่างภาพยนตร์-ละคอนเวที มีเพียงเส้นชอล์กขีดแบ่งบ้านแต่ละหลัง ทุกสิ่งอย่างล้วนเปิดกว้าง แต่ทุกคนกลับสร้างบางอย่างขึ้นมากีดขวางกั้น เรียกร้องโน่นนี่นั่น เพื่อให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคเท่าเทียม นี่นะหรือวิถีอเมริกัน? ดินแดนแห่งโอกาส สำหรับเติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน แต่เมื่ออาศัยอยู่นานวัน สันดานธาตุแท้ผู้คนจักค่อยๆเปิดเผยออกมา
ป้ายกำกับ: Experimental
Europa (1991)
ผู้กำกับ Lars von Trier ได้รับการเปิดเผยจากมารดาก่อนเสียชีวิต บุคคลที่เลี้ยงดูเขามาเป็นเพียงพ่อบุญธรรม เมื่อมีโอกาสพบเจอหน้าบิดาแท้ๆ กลับถูกปฏิเสธต่อต้าน นั่นคือจุดเริ่มต้นความสิ้นหวัง ไม่ต่างจากยุโรป/เยอรมันหลังสงครามโลกครั้งที่สอง, คว้ารางวัล Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของ Lars von Trier เมื่อตำรวจสวมวิญญาณเป็นอาชญากร (คล้ายๆแบบนักแสดงสวมบทบาทเป็นตัวละคร) เพื่อติดตามหาฆาตกรต่อเนื่อง “Lotto Murderer” แต่เขากลับไม่สามารถควบคุมตนเอง ก่ออาชญากรรมเสียเอง นั่นสะท้อนความสิ้นหวังของยุโรป ไม่ต่างจากวันโลกาวินาศ
La Pyramide humaine (1961)
หลังจากหลายๆประเทศในแอฟริกาได้รับการปลดแอก ประกาศอิสรภาพ หลุดพ้นจากลัทธิอาณานิคม ผู้กำกับ Jean Rouch ทำการทดลองให้กลุ่มนักเรียนคนขาว vs. ชาวแอฟริกัน มาอาศัยอยู่ร่วมชั้นเรียนเดียวกัน พวกเขาจะสามารถปรับตัว เปลี่ยนแปลงทัศนคติ ยินยอมรับกันและกันได้หรือไม่?
Erosu + Gyakusatsu (1969)
ภาพยนตร์ระดับมหากาพย์ (ความยาว 216 นาที) ที่ทำการถกเถียงปรัชญาการเมือง + เรื่องส่วนบุคคล, พวกนักปฏิวัติพยายามเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาคเท่าเทียม แต่พอเป็นเรื่องส่วนตัว เสรีในรัก (Free Love & Free Sex) รวมถึงการปลดแอกทางเพศ (Sexual Liberation) กลับถูกปฏิเสธต่อต้านด้วยความรุนแรง อาฆาตแค้น ลอบสังหาร
Honō to Onna (1967)
ผลงานจากหนึ่งในผู้กำกับรุ่น Shōchiku Nouvelle Vague (หรือ Japanese New Wave) ที่แพรวพราวไปด้วย ‘Mise-en-scène’ แต่ประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับเด็กหลอดแก้วคือลูกของใคร? มันช่างเฉิ่มเฉย ตกยุคสมัย
อนิเมชั่นเรื่องแรกๆของ Mushi Production (ก่อตั้งโดย Osamu Tezuka) ทำการทดลองสร้างตัวละครจากภาพโปสเตอร์ที่ติดอยู่ตามตรอกซอกซอย แม้ไม่สามารถขยับเคลื่อนไหว แต่ใช้ลูกเล่นตัดต่อสร้างจังหวะให้สอดคล้องบทเพลง แถมยังมีเรื่องราวจับต้องได้, คว้ารางวัล Ōfuji Noburō Award
Russkij kovcheg (2002)
เตรียมงานสร้างสี่ปี สำหรับถ่ายทำเพียงหนึ่งวัน ผิดพลาดได้สี่ครั้ง เพื่อภาพยนตร์เทคเดียว ‘Single Take’ ความยาว 87 นาที! นำเสนอผ่านมุมมองวิญญาณล่องลอย เดินทางข้ามกาลเวลา ประวัติศาสตร์รัสเซียยาวนานกว่า 300+ ปี สำหรับประชาสัมพันธ์ Hermitage Museum ตั้งอยู่ St. Petersburg
Entr’acte (1924)
เริ่มต้นบนชั้นดาดฟ้า ปืนใหญ่โบราณกำลังเคลื่อนเข้ามา (ด้วยเทคนิค Stop Motion) จากนั้นศิลปินดาด้า Francis Picabia และคีตกวี Erik Satie ค่อยๆกระย่องกระแย้ง (อย่าง Slow Motion) มายืนโต้ถกเถียง เตรียมจุดปืนใหญ่ใส่กรุง Paris แล้วกระโดดถอยหลังออกจากเฟรม (Reverse Shot)
À propos de Nice (1930)
ระหว่างกำลังร้อยเรียงภาพเมือง Nice, France รวมถึงเทศกาล Nice Carnival (Carnaval de Nice) จู่ๆมีการแทรกภาพจระเข้ หญิงสาวเปลือยกาย ชายทาครีมกันแดดสีดำ หลากหลายสิ่งอัปลักษณ์ปรากฎแวบขึ้นมา เพื่อจะสื่อว่าเปลือกภายนอกที่ดูวิจิตรงดงาม อาจซุกซ่อนเร้นสิ่งชั่วร้ายบางอย่าง
Regen (1929)
ร้อยเรียงภาพความงดงามของหยาดฝน พรำลงบน Amsterdam, Netherlands สร้างความเปียกปอน ชุ่มฉ่ำ เบิกบานหฤทัย (Cinéma Pur) ได้รับการยกย่อง “Masterpiece of Dutch Avant-Garde Cinema”
Rien que les heures (1926)
สำรวจวิถีชนชั้นล่างในกรุง Paris ด้วยแนวคิด ‘city symphony’ แพรวพราวเทคนิคภาพยนตร์ แต่ตอนจบอาจดูมึนๆงงๆ ผู้กำกับ Alberto Cavalcanti คงต้องการสื่อถึงทุกสถานที่บนโลกใบนี้ ล้วนไม่มีความแตกต่างกัน
Manhatta (1921)
ร้อยเรียงภาพภูมิทัศน์ ‘city symphony’ สิ่งก่อสร้าง ตึกระฟ้าสูงใหญ่บนเกาะ Manhattan แห่งมหานคร New York ดินแดนที่ถือเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การเงิน วัฒนธรรม ความเจริญอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกา และหนังสั้นเรื่องนี้ยังได้รับการตีตรา “First American Avant-Garde Film”
ชำเลืองมองเศษเสี้ยวความทรงจำของ Jonas Mekas ในภาพยนตร์แนวทดลอง ‘Diary Films’ ความยาวเกือบๆห้าชั่วโมง แปะติดปะต่อฟุตเทจถ่ายทำไว้ตั้งแต่ทศวรรษ 70s ไม่ได้มีเนื้อเรื่องราวอะไร แต่มีความงดงามจับใจ
ผลงานเรื่องสุดท้ายของผู้กำกับ Darek Jarman หลังติดเชื้อไวรัส HIV ทำให้สายตาพร่าบอด สรรค์สร้างโคตรภาพยนตร์แนวทดลองเรื่องนี้ โดยใช้เพียงเสียงบรรยายและฉายภาพสีน้ำเงิน International Klein Blue (#002FA7) แทนความเจ็บปวด เศร้าโศก แต่ไม่เคยตกอยู่ในความหมดสิ้นหวัง
Scorpio Rising (1963)
โคตรๆๆภาพยนตร์แนวทดลองที่ทำการบุกเบิกแนวคิด ‘Music Video’ ดำเนินเรื่องผ่านบทเพลงฮิตอย่าง Blue Velvet, (You’re the) Devil in Disguise, Hit the Road Jack, I Will Follow Him ฯ ฟังดูเหมือนไม่มีอะไรอันตราย แต่การฉาย Scorpio Rising (1963) มีความเสี่ยงอาจโดนจับติดคุกโดยไม่รู้ตัว!
Ballet Mécanique (1924)
การเริงระบำของจักรกล คือภาพยนตร์แนวทดลอง (Experimental) ด้วยอิทธิพลของ Dadaism เปรียบเทียบระหว่างมนุษย์กับเครื่องยนต์กลไก ทั้งภาพและเสียงต่างมีความตื่นหู ตื่นตา แปลกใหม่ เปิดประสบการณ์ไม่ซ้ำแบบใคร
นำกล้องติดตั้งบนแขนจักรกล สามารถเคลื่อนหมุนรอบทุกทิศทาง ตั้งไว้กลางทิวทัศน์ธรรมชาติไร้ผู้คน แล้วทดลองบันทึกภาพความยาว 3 ชั่วโมงอาจดูน่าเบื่อหน่าย แต่บางคนคงเพลิดเพลินกับความเป็นไปได้ไม่รู้จบ
Wavelength (1967)
ได้รับยกย่อง “Masterpiece of Experimental Cinema” ทั้งๆมีเพียงการถ่ายภาพภายในห้องพัก 45 นาทีค่อยๆซูมเข้าไปยังรูปภาพ’คลื่น’ทะเลบนฝาผนัง แต่กลับเต็มไปด้วยรายละเอียดชวนให้ขบครุ่นคิด โดยเฉพาะการใช้เสียงลวงหู ‘Auditory Illusion’ ทุกสิ่งอย่างพบเห็นล้วนคือภาพลวงตา ‘Strawberry Fields Forever’
ประมาณ 8 ชั่วโมงกับภาพถ่ายตึก Empire State Building ตั้งแต่พระอาทิตย์ใกล้ตกดิน จนท้องฟ้ามืดมิด แล้วเปิดไฟส่องสว่าง บางคนอาจสามารถเพลิดเพลินผ่อนคลาย แต่สำหรับอีกหลายคนกลับรู้สึกน่าเบื่อหน่ายชิบหาย