Violette Nozière ถูกจับกุมข้อหาวางยาพิษฆ่าบิดา ก่อนให้การว่าตนเองถูกข่มขืน (Incest) มาตั้งแต่เด็ก ถึงอย่างนั้นกลับยังถูกตัดสินโทษประหารชีวิตด้วยกิโยติน, สุดยอดการแสดงของ Isabelle Huppert (คว้ารางวัล Cannes: Best Actress) และ Stéphane Audran (คว้ารางวัล César Awards: Best Supporting Actress)
ป้ายกำกับ: Family
La Rupture (1970)
เริ่มต้นเช้าวันหนึ่ง สามีตรงเข้ามาทำร้ายร่างกายภรรยาและบุตร ฝ่ายหญิงจึงโต้ตอบด้วยการใช้กระทะทุบศีรษะ! ความรุนแรงบังเกิดขึ้นนี้คงทำให้ใครต่อใครตีตราว่าร้าย รับไม่ได้กับความรุนแรง ต้องเลิกราหย่าร้างเท่านั้น แต่เบื้องหลังความจริงเป็นไร เราคนนอกอย่าเพิ่งรีบด่วนตัดสินใจ
Festen (1998)
งานเลี้ยงแซยิด (วันเกิดครบรอบ 60 ปี) ของบิดา รายล้อมด้วยลูกๆหลานๆ ญาติพี่น้อง ผองเพื่อน แต่ด้วยความที่เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกจากกลุ่มเคลื่อนไหว Dogme 95 มันจึงความบ้าคลั่ง เสียสติแตก ความจริงบางอย่างกำลังได้รับการเปิดเผยอย่างช้าๆ, คว้ารางวัล Jury Prize (ที่สาม) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
The Silences of the Palace (1994)
หญิงสาวแวะเวียนกลับมาเยี่ยมเยียนสถานที่บ้านเกิด ณ พระราชวัง Bey’s Palace มารดาเคยทำงานสาวใช้ และชู้รักเจ้านาย, ใจจริงไม่อยากหวนกลับมาสักเท่าไหร่ เพราะทำให้ความทรงจำเลวร้ายวัยเด็กที่เก็บกดไว้ ค่อยๆตื่นขึ้นอย่างช้าๆ โดยเฉพาะบิดาแท้ๆ(ที่คาดเดาไม่ยากว่าคือใคร)ต้องการที่จะ !@#$%
ณ หมู่บ้านเล็กๆในประเทศ Burkina Faso แทบทุกคนเรียกหญิงชราคนหนึ่งว่า ‘แม่มด’ ไร้ญาติขาดมิตร ชอบทำตัวแปลกแยกจากผู้อื่น แต่ไม่ใช่สำหรับเด็กชายวัยสิบขวบเรียกเธอว่า Yaaba แปลว่า Grandmother เมื่อน้องสาวล้มป่วยได้ย่าคนนี้ช่วยชีวิตไว้, นำเสนอด้วยวิธีการอันเรียบง่าย บริสุทธิ์ แต่มีความงดงามจับใจ
ชายหนุ่มต้องการแต่งงานกับหญิงสาว แต่ประเพณีของชาว Cameroonian ฝ่ายชายต้องจ่ายค่าสินสอดทองหมั้น แล้วเขาจะไปหาเงินทองจากไหนกัน? ผิดกับลุงแท้ๆ ร่ำรวย มือเติบ ชิงตัดหน้าซื้อเธอมาเป็นภรรยาคนที่ห้า มันช่างเป็นเรื่องราวความรักอันเจ็บปวด หัวใจแตกสลาย
Honō to Onna (1967)
ผลงานจากหนึ่งในผู้กำกับรุ่น Shōchiku Nouvelle Vague (หรือ Japanese New Wave) ที่แพรวพราวไปด้วย ‘Mise-en-scène’ แต่ประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับเด็กหลอดแก้วคือลูกของใคร? มันช่างเฉิ่มเฉย ตกยุคสมัย
Tokyo Sonata (2008)
Sonata (คำนาม) ดนตรีที่เรียบเรียงสำหรับเครื่องดนตรีหนึ่งหรือสองชิ้น, Tokyo Sonata นำเสนอเรื่องราวครอบครัวธรรมดาๆ บิดา-มารดา และบุตรชายทั้งสอง ต่างสนเพียงบรรเลงบทเพลงชีวิตของตนเอง โดยไม่ใคร่ให้ความใจสมาชิกคนอื่น สุดท้ายแล้วออร์เคสตราที่เรียกว่าครอบครัว เลยดำเนินมาใกล้ถึงจุดแตกแยก, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Mùi đu đủ xanh (1993)
กลิ่นมะละกอ (Papaya) บางคนว่าหอมหวน บางคนว่าเหม็นหืน แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ตลบอบอวลด้วยความทรงจำผู้กำกับ Trần Anh Hùng จากบ้านเกิดมาตั้งแต่อายุสิบสอง มองย้อนกลับไปรู้สึกสงสารเห็นใจ ประเทศเวียดนามยังคงยึดถือมั่นในสังคมปิตาธิปไตย (Patriarchy)
Taiyō no Ōji Horusu no Daibōken (1968)
ร่วมงานครั้งแรกระหว่าง Isao Takahata และ Hayao Miyazaki (Concept Artist, Scene Design และ Key Animation) แม้โปรดักชั่นล่าช้ากว่าสามปี บางฉากเหมือนยังไม่เสร็จดี ตัดต่อเร่งรีบรวบรัดเกินไป เข้าฉายไม่กี่วันก็เงียบหาย แต่กลับได้รับกระแสคัลท์ติดตามมา สร้างอิทธิพลให้วงการอนิเมชั่น จนกลายเป็นหนึ่งในอนิเมะยอดเยี่ยมตลอดกาล!
Wanpaku Ōji no Orochi Taiji (1963)
หลังทดลองผิดลองถูก สะสมประสบการณ์มาจนถึงภาพยนตร์อนิเมชั่นลำดับที่หกของ Toei Animation แต่ถือเป็นมาสเตอร์พีซเรื่องแรก สำแดงความเป็นญี่ปุ่น ดัดแปลงตำนานเทพปกรณัมเมื่อครั้น Izanami และ Izanagi ให้กำเนิดหมู่เกาะ Ōyashima (ประเทศญี่ปุ่น) และบุตรชาย Susanoo ต่อสู้อสูรกายแปดหัว Yamata no Orochi
Vozvrashcheniye (2003)
วันหนึ่งบิดาผู้ทอดทิ้งครอบครัวไปกว่า 12 ปี ได้หวนกลับมาที่บ้าน เพราะอะไร? ทำไม? สร้างความฉงนสงสัยให้บุตรชายทั้งสอง ชักชวนร่วมออกเดินทาง รื้อฟื้นความสัมพันธ์ แต่มันสามารถทำได้จริงๆนะหรือ? คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice
Kramer vs. Kramer (1979)
ภาพยนตร์ชวนเชื่อสิทธิบุรุษ (Men’s Rights Propaganda) นั่นเพราะมารดา Meryl Streep ตัดสินใจทอดทิ้งบุตรชายให้กับบิดา Dustin Hoffman ผ่านไปปีกว่าๆหวนกลับมายื่นฟ้องขอสิทธิ์ในการเลี้ยงดู แล้วศาลตัดสินให้ได้รับชัยชนะ อิหยังวะ? คว้ารางวัล Oscar จำนวน 5 สาขา พร้อมภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี!
มีคำเรียก Odorama เมื่อซื้อตั๋วหนังจะได้รับแผ่นกระดาษ (Scratch-and-Sniff Card) ที่มีหมายเลข 1-10 ระหว่างรับชมพบเห็นตัวเลขอะไร ก็ให้เอาเหรียญขูดๆ สูดดมกลิ่น สดชื่นบ้าง เหม็นหึ่งบ้าง สร้างประสบการณ์แปลกใหม่ในการรับชมภาพยนตร์
ปิดไตรภาค ‘Lost Trilogy’ ของ Sofia Coppola ด้วยการสังเกตบิดา (Francis Ford Coppola) รวมถึงบรรดานักแสดง Hollywood เมื่อประสบความสำเร็จในอาชีพการงาน แต่ชีวิตกลับเหมือนกำลังขับรถเวียนวน ไม่รู้แห่งหน ราวกับไร้ตัวตน เพียงหวนกลับสู่จุดเริ่มต้น, คว้ารางวัล Golden Lion อย่างเป็นเอกฉันท์จากเทศกาลหนัง Venice
Distant Voices, Still Lives (1988)
กระเบื้องโมเสกความทรงจำ อัตชีวประวัติผู้กำกับ Terence Davies นำเสนอการจากไปของบิดา ที่ยังคงสร้างอิทธิพลให้ลูกหลานสืบต่อมา งดงามวิจิตรศิลป์ แต่อาจมีความเฉพาะตัวเกินไปสักนิด
Bashu, the Little Stranger (1989)
หนึ่งในภาพยนตร์ได้รับการยกย่อง “Best Iranian Film of all time” เรื่องราวของเด็กชาย Bashu หลบหนีสงคราม Iran–Iraq War (1980-88) จากทางตอนใต้มาถึงภาคเหนือของอิหร่าน พบเจอกลุ่มชาติพันธุ์ Gilak ที่แม้พูดคุยสื่อสารไม่รู้เรื่อง แต่ผู้ชมจักได้เรียนรู้จักสิ่งเรียกว่ามนุษยธรรม, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของ ‘Six Moral Tales’ ชักชวนผู้ชมตั้งคำถาม จุดไหนถือเป็นการคบชู้นอกใจ? ตั้งแต่ครุ่นคิดเพ้อฝัน เริ่มสานสัมพันธ์หญิงอื่น หรือถึงขั้นร่วมรักหลับนอน ต่อให้อ้างว่าฉันบริสุทธิ์ใจ ยึดถือมั่นในศีลธรรม แต่คนพรรค์นี้มีความน่าเชื่อถือตรงไหนกัน?
หลังหย่าร้างภรรยา ผู้กำกับ David Cronenberg พัฒนาบทภาพยนตร์ The Brood (1979) เพราะความหวาดกลัวว่าบุตรสาวจะต้องตกอยู่ในการเลี้ยงดูของมารดาที่ … โดยไม่รู้ตัวสร้างขึ้นปีเดียวกับ Kramer vs. Kramer (1979) แต่มีความสม(เหนือ)จริงกว่าไหนๆ