
ชีวิตสามศตวรรษของ Orlando พบเห็นความเปลี่ยนแปลงมากมาย แต่สิ่งน่าสนใจที่สุดคือบทบาททางทางเพศในสังคมผู้ดีอังกฤษ เมื่อชายกลับกลายเป็นหญิง รับบทโดยนักแสดงคนเดียว Tilda Swinton (เล่นเป็นทั้งชายและหญิง) งดงาม ท้าทาย แต่อาจต้องปีนป่ายบันไดสูงสักหน่อย
ชีวิตสามศตวรรษของ Orlando พบเห็นความเปลี่ยนแปลงมากมาย แต่สิ่งน่าสนใจที่สุดคือบทบาททางทางเพศในสังคมผู้ดีอังกฤษ เมื่อชายกลับกลายเป็นหญิง รับบทโดยนักแสดงคนเดียว Tilda Swinton (เล่นเป็นทั้งชายและหญิง) งดงาม ท้าทาย แต่อาจต้องปีนป่ายบันไดสูงสักหน่อย
ยัยเฉื่อย Wanda เป็นคนเชื่องชักช้า ขาดความกระตือรือร้น ตัวแทนชนชั้นแรงงาน (Working Class) โชคชะตานำพาให้กลายเป็นโจรปล้นธนาคาร ถูกศาลตัดสินจำคุก 20 ปี พูดขอบคุณผู้พิพากษา ทำให้ตนเองมีที่ซุกหัวนอนเสียที
หนึ่งในภาพยนตร์ได้รับการยกย่อง “Best Iranian Film of all time” เรื่องราวของเด็กชาย Bashu หลบหนีสงคราม Iran–Iraq War (1980-88) จากทางตอนใต้มาถึงภาคเหนือของอิหร่าน พบเจอกลุ่มชาติพันธุ์ Gilak ที่แม้พูดคุยสื่อสารไม่รู้เรื่อง แต่ผู้ชมจักได้เรียนรู้จักสิ่งเรียกว่ามนุษยธรรม, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
การเป็นผู้หญิงในประเทศอิหร่าน มันช่างมีความเหนือจริงยิ่งนัก! เต็มไปด้วยกฎระเบียบข้อบังคับ เด็กหญิงต้องสวมฮิญาบตอนอายุ 9 ขวบ ห้ามเล่นกีฬา ห้ามปั่นจักรยาน ต้องแต่งงานตามคำสั่งครอบครัว แต่ด้วยวิถีของโลกยุคสมัยใหม่ การมีเงินทองจะทำให้ทุกสิ่งอย่างปรับเปลี่ยนแปลงไป!
เรื่องราวการไต่เต้า ก้าวสู่จุดสูงสุดของ Maria Braun (รับบทโดย Hanna Schygulla) สะท้อนอิทธิพลสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากเยอรมันราบเรียบเป็นหน้ากลอง ค่อยๆก่อร่างสร้างตัวขึ้นใหม่ จนกระทั่งหวนกลับมายิ่งใหญ่เทียบเท่าอดีตอีกครั้ง
ทั้งตัวละครของ Marlene Dietrich และผู้กำกับ Josef von Sternberg ต่างถูกตีตราว่ามีความโฉดชั่ว อันตราย ไม่ต่างจากปีศาจร้าย เพียงเพราะต้องการใช้ชีวิตอย่างอิสรภาพ สรรค์สร้างภาพยนตร์ด้วยวิสัยทัศน์ส่วนตน แต่ทัศนคติของผู้คนสมัยนั้น และสตูดิโอใน Hollywood มิอาจยินยอมรับความเป็นปัจเจกบุคคลของพวกเขา
Giulietta degli spiriti (1965) : Federico Fellini ♥♥♥♥
ราวกับภาคต่อของ 8½ (1963) โดยสลับจากอวตารผู้กำกับ Federico Fellini กลายมาเป็นศรีภรรยา Giulietta Masina รับบท Juliet ผู้สามารถมองเห็นวิญญาณ ผสมผสานระหว่างความจริง-เพ้อฝัน อดีต-ปัจจุบัน และเมื่อผีบอกว่าชายคนรักลักลอบมีชู้ ชีวิตคู่ของพวกเขาจะลงเอยเฉกเช่นไร
Queen Christina (1933) : Rouben Mamoulian ♥♥♥♥♡
หนึ่งในการแสดงยอดเยี่ยมสุดของ Greta Garbo รับบท Christina, Queen of Sweden ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชันษา 6 พรรษา คว้าชัยชนะสงครามสามสิบปี จากนั้นเรียกร้องให้มีความสงบสุขสันติภาพ ต้องการเปิดประเทศสานสัมพันธ์ต่างชาติ แต่แล้วตกหลุมรักหนุ่มชาวสเปน (รับบทโดย John Gilbert) นั่นทำให้พระองค์เกือบจะกลายเป็นกบฎต่อผืนแผ่นดิน เลยตัดสินใจสละราชบังลังก์ เพื่อเติมเต็มเสียงเพรียกเรียกร้องของจิตใจ
Tootsie (1982) : Sydney Pollack ♥♥♥♥
Dustin Hoffman เคยให้สัมภาษณ์ถึงวันแรกที่ทดสอบแต่งสาว กลับไปบ้านร่ำร้องไห้กับภรรยา สารภาพว่าบทบาทนี้ทำให้เขาครุ่นคิดถึงมุมมองเพศหญิง เข้าใจบางสิ่งไม่เคยตระหนักถึงมาก่อน, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Filibus (1915) : Mario Roncoroni ♥♥♥
Filibus คือชื่อจอมโจรสาว จ้าวแห่งการปลอมตัว และมีเรือเหาะเป็นยานพาหนะ … หนังเงียบที่คือจินตนาการอนาคตของประเทศอิตาลี เพราะยุคสมัยนั้นอิสตรียังมิได้รับสิทธิเสมอภาคเท่าเทียมใดๆ เมื่อแต่งงานไปต้องก้มหัวให้ผู้ชาย ไม่มีสิทธิ์เสียงขอหย่า หรือแค่เพียงสมัครสมาชิกนิตยสาร/หนังสือพิมพ์ใดๆ
Volver (2006) : Pedro Almodóvar ♥♥♥♥
เมืองเล็กๆ La Mancha (บ้านเกิดของผู้กำกับ Pedro Almodóvar) มีความเชื่อว่า คนตายไม่หายไปไหน มักหวนกลับมาให้พบเห็นเพราะครุ่นคิดถึงลูกหลาน เรื่องวุ่นๆเกิดขึ้นเมื่อแม่ผู้ล่วงลับไปนานแล้วของ Penélope Cruz แอบขึ้นรถติดตามไปอยู่ด้วย ณ กรุง Madrid
Sans toit ni loi (1985) : Agnès Varda ♥♥♥♥
ลองจินตนาการ Citizen Kane (1942) นำเสนอด้วยไดเรคชั่น French New Wave และตัวละครหลักคือเพศหญิง เพียงเท่านี้ก็ทำให้ท่านแม่ทูนหัว Agnès Varda คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Gertrud (1964) : Carl Theodor Dreyer ♥♥♥♥♡
Swan Song ของปรมาจารย์ผู้กำกับ Carl Theodor Dreyer ที่มีความเป็น ‘pure cinema’ เน้นถ่ายทำ Long Take เพียง 90 คัทในระยะเวลา 116 นาที ตัวละครแค่พูดคุยสนทนา เดินนั่งสลับตำแหน่ง แต่กลับทรงพลังระดับล้างผลาญ, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
La Vérité (1960) : Henri-Georges Clouzot ♥♥♥♥
Brigitte Bardot -น่าจะเป็นการแสดงยอดเยี่ยมที่สุดในชีวิต- ได้ทำการเข่นฆาตกรรมแฟนหนุ่ม ถูกจับกุมขึ้นศาลเพื่อค้นหาสาเหตุแรงจูงใจสำหรับตัดสินโทษ แต่ลูกขุนทั้งคณะล้วนคือเพศชาย แถมทนายฝ่ายตรงข้ามก็คอยแต่พูดจาดูถูกถากถาง นี่นะหรือกระบวนการยุติธรรมที่น่านับถือ!
จดหมายจากหญิงสาวลึกลับ อธิบายเรื่องราวที่ผู้รับหลงลืม ทำให้สามารถฟื้นตื่นสร่างเมา ตระหนักถึงความโง่เขลา เอาแต่ใจ ทุกสิ่งอย่างล้วนสายเกินแก้ไข หลงเหลือเพียงการเผชิญหน้าท้าความตาย
La Coquille et le Clergyman (1928) : Germaine Dulac ♥♥♥♥
ความสำเร็จอันล้นหลามของ Un chien andalou (1928) ทำให้ใครๆต่างครุ่นคิดเข้าใจว่าคือ ‘ภาพยนตร์ Surrealist เรื่องแรกของโลก’ แต่แท้จริงแล้ว The Seashell and the Clergyman (1928) เรื่องนี้ต่างหากออกฉายก่อนหน้าหลายเดือนทีเดียว
La Souriante Madame Beudet (1922) : Germaine Dulac ♥♥♥♡
หนังเงียบขนาดสั้น Impressionist ว่ากันว่าคือ ‘ภาพยนตร์ Feminist เรื่องแรกของโลก’ พรรณาความอึดอัดอั้นทุกข์ทรมานของ Madame Beudet ต้องการทำบางสิ่งอย่างเพื่อหลุดจากกรงขังพันธนาการของสามี
นักวิจารณ์ต่างยกให้เป็นเอกฉันท์ “Masterpiece of the Feminine’ ด้วยความยาว 201 นาที ดำเนินไปอย่างเอื่อยๆเฉื่อยๆ (Slow Cinema) ด้วยวิธีการสุดเรียบง่าย (สไตล์ Minimalist) ไม่เกินสิบนาทีหลายคนคงได้หลับสนิท แต่ถ้าอดรนทนไปเรื่อยๆจะตระหนักถึงความทรงพลัง สิ่งที่มารดาต้องแบกภาระ เสียสละ กระทำซ้ำทุกวี่วันเพื่ออนาคตของบุตร
Cléo de 5 à 7 (1962) : Agnès Varda ♥♥♥♥
ต่อให้โชคชะตาฟ้ากำหนดแล้วไง! สุดท้ายมันอยู่ที่ตัวฉันจะครุ่นคิด ตัดสิน กระทำตามเสียงเพรียกเรียกร้องของหัวใจ, ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องที่สองของท่านแม่ทูนหัว Agnès Varda น่าจะเรียกได้ว่า Masterpiece เรื่องแรกของ Feminist และ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Favourite (2018) : Yorgos Lanthimos ♥♥♥♥
‘ฉันพร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่ออำนาจ เติมเต็มความฝัน ได้รับชัยชนะยิ่งใหญ่อันดับหนึ่ง!’ นี่คือค่านิยม’โปรด’ของมนุษย์ไม่ว่าจะยุคสมัยไหน ฟังดูช่างน่ายกย่องสรรเสริญในความทุ่มเทพยายาม แต่มองอีกด้านกลับพบเห็นความบิดเบี้ยวคอรัปชั่น กัดกร่อนบ่อนทำลายจิตวิญญาณความเป็นคนให้ค่อยๆสูญสิ้นไป