
โลกอนาคตที่วิทยาศาสตร์ เหตุผลและตรรกะคือทุกสิ่งอย่าง อารมณ์จักกลายเป็นภาระต้องถูกกำจัดให้สิ้นซาก เช่นนั้นแล้วมนุษย์จะยังรับรู้จักความรัก มีอิสรภาพในการครุ่นคิดแสดงออกได้อย่างไร? คว้ารางวัล Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
โลกอนาคตที่วิทยาศาสตร์ เหตุผลและตรรกะคือทุกสิ่งอย่าง อารมณ์จักกลายเป็นภาระต้องถูกกำจัดให้สิ้นซาก เช่นนั้นแล้วมนุษย์จะยังรับรู้จักความรัก มีอิสรภาพในการครุ่นคิดแสดงออกได้อย่างไร? คว้ารางวัล Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
Memories (1995) : Kōji Morimoto, Tensai Okamura, Katsuhiro Otomo ♥♥♥♡
ความทรงจำแม้คือสิ่งล้ำเลอค่า แต่เราไม่ควรหมกมุ่นครุ่นยึดติดกับมันจนมิอาจก้าวไปไหน นี่สะท้อนเข้ากับประเทศญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อดีตเคยยิ่งใหญ่เกรียงไกร ปัจจุบันเมื่อเป็นผู้พ่ายแพ้ สมควรต้องยินยอมรับความจริงไม่ใช่หรือ?
Metropolis (2001) : Rintaro ♥♥♥
อ้าปากค้างไปกับภาพโลกอนาคต ตึกระฟ้า ผู้คนคาคลั่ง แต่ขณะเดียวกันกลับกลวงโบ๋ภายในจิตวิญญาณ, ดัดแปลงจากมังงะ Metropolis (1949) แต่งโดย Osamu Tezuka ที่ได้แรงบันดาลใจจากโคตรหนังเงียบ Metropolis (1927) ของผู้กำกับ Fritz Lang มาอีกทีหนึ่ง
Neo Tokyo (1987) : Rintaro, Yoshiaki Kawajiri, Katsuhiro Ōtomo ♥♥♥♥
สามเรื่องสั้นไซไฟ Surrealist จากสามผู้กำกับดัง Rintaro (Metropolis), Yoshiaki Kawajiri (Ninja Scroll, Vampire Hunter D: Bloodlust) และ Katsuhiro Ōtomo (Akira, Steamboy) นำเสนอมุมมองกรุงโตเกียวแห่งอนาคต ในลักษณะลุ่มลึกซึ้งเกินกว่าใครหลายๆคนจะเข้าใจ
Battle Angel Alita (1993) : Hiroshi Fukutomi ♥♥♥♡
ท่ามกลางเศษซากกองขยะอันไร้ค่า ถูกทิ้งขว้างลงมาจากมหานครบนฟากฟ้า กลับพบเจอไซบอร์กสาว ผู้มีสติปัญญา สามารถ คิดอ่าน สมองเหมือนมนุษย์ ถือเป็นสิ่งงดงามเลิศล้ำ ‘เพชรในตม’ มูลค่ามากมายมหาศาล ยิ่งกว่าความเพ้อฝันทะเยอทะยานใดๆเสียอีก
Things to Come (1936) : William Cameron Menzies ♥♥♥♡
ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างขึ้นก่อนหน้าการมาถึงของสงครามโลกครั้งที่สอง แต่สามารถพยากรณ์อนาคตได้อย่างถูกต้องแม่นยำ แถมยังจินตนาการล้ำต่อด้วยว่า ถ้าสงครามยืดเยื้อไปจนถึงปี 2036 มนุษย์โลกคงต้องอาศัยอยู่ใต้ดิน และสร้างจรวดเพื่อหนีความขัดแย้งมุ่งสู่ดวงจันทร์
Fantastic Planet (1973) : René Laloux ♥♥♥♥♡
บนดาวเคราะห์อันไกลโพ้น Planet Ygam มนุษย์ต่างดาวสีฟ้า Draag ดวงตาแดงกล่ำ ไม่มีผม-ขน ใบหูครีบปลา อายุยืนยาวหลายร้อยพันปี มากด้วยเทคโนโลยีล้ำจินตนาการ สามารถแยกจิตออกจากกาย และมีมนุษย์เป็นสัตว์เลี้ยงเรียกว่า Oms, คว้ารางวัล Special Award จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
Vampire Hunter D: Bloodlust (2000) : Yoshiaki Kawajiri ♥♥♥♥
อนิเมะภาคต่อของ Vampire Hunter D (1985) สร้างโดยผู้กำกับ Wicked City (1987), Ninja Scroll (1993) ฯ คุณภาพก้าวผ่านต้นฉบับแทบทุกประการ งานศิลป์สวยเลิศระดับวิจิตร สถาปัตยกรรม Techno-Gothic ขนาดมหึมา ตัวร้าย Tragic Villain ที่น่าเห็นใจ แต่มันเป็นสิ่งที่ใครๆน่าจะรับรู้ได้อยู่แล้ว มนุษย์กับแวมไพร์จะตกหลุมรักกันได้อย่างไร
Vampire Hunter D (1985) : Toyoo Ashida ♥♥♥♥
อย่ามองอนิเมะเรื่องนี้เพียงแค่นักล่าฆ่าแวมไพร์ที่กลายเป็น Cult Classic ดำเนินเรื่องในอนาคตแสนไกลแต่กลับมีสภาพเหมือนยุคกลาง เหล่าแวมไพร์เรียกตัวเองว่า Nobles ชนชั้นสูงผู้ปกครองเหล่ามนุษย์ด้วยความหวาดกลัว แต่การมาถึงของ D นำพาให้อัตตาธิปไตยกำลังถึงการล่มสลาย
Blade Runner 2049 (2017) : Denis Villeneuve ♥♥♥♥♡
สิ่งที่ Ryan Gosling ออกตามหาคือ ‘ปาฏิหารย์แห่งชีวิต’ สิ่งมีชีวิตที่ถือกำเนิดจากหุ่น Replicants นี่ชวนให้ตั้งคำถามว่า แล้ว ‘จิตวิญญาณ’ (Soul) คืออะไร? มีจุดเริ่มต้นจากที่ไหน? และสิ้นสุดลงเมื่อไหร่?, ผู้กำกับสัญชาติแคนาเดียน Denis Villeneuve ได้สร้างปาฏิหารย์ก้าวผ่านต้นฉบับ Blade Runner (1982) ในทุกๆระดับ ไม่ใช่แค่งานภาพที่ลึกล้ำยุค แต่รวมถึงปรัชญาร่วมสมัย คงเหลือแค่กาลเวลาจะผ่านไปเมื่อไหร่เท่านั้น
The Fifth Element (1997) : Luc Besson ♥♥♥
หนังไซไฟล้ำจินตนาการ สนองราคะของเด็กหนุ่ม Luc Besson ที่พัฒนาเรื่องราวนี้ตั้งแต่อายุ 16 ได้สร้างจริงตอนอายุ 37-38, เหมือนหนังต้องการเล่าบอกอะไรสักอย่าง แต่กลับถูกร่างอวตาร John McClane ของ Bruce Willis และ Visual Effect ยุค Futurist กลบบดบังเสียมิดชิด
Playtime (1967) : Jacques Tati ♥♥♥♥♥
สงสัย Monsieur Hulot นั่งเครื่องบินไปลงดาวเคราะห์อีกดวง (ที่ไม่ใช่โลก) สิ่งที่ผู้ชมจะได้เห็นจากผลงาน Masterpiece เรื่องนี้ อารมณ์ประมาณนั่งจิบกาแฟอยู่ในห้าง เหม่อมองดูผู้คนเดินไปมา ไม่ได้มีสาระประโยชน์อะไร แต่เพลิดเพลินใจชะมัด, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Mon Oncle (1958) French : Jacques Tati ♥♥♥♥
ลุงของฉัน Monsieur Hulot อาศัยอยู่ระหว่างสองโลก (ยุคเก่า-ยุคใหม่) ในห้องเช่าที่เหมือนสองตึกแถว เขาเป็นคนไร้เป้าหมายชีวิต แต่มันจำเป็นต้องมีด้วยเหรอ?, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” หนังรางวัล Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Cannes และคว้า Oscar สาขา Best Foreign Language Film
โลกอนาคต ค.ศ. 2027 แห่งมหานคร Metropolis คือมุมมองผู้กำกับ Fritz Lang ต่อความเจริญก้าวหน้าของสหรัฐอเมริกา การมาถีงของยุคสมัยอุตสาหกรรรม ก่อเกิดปัญหาขัดแย้งอันเนื่องจากความไม่เทียมเท่ากันในสังคม ประชาชนถูกกดขี่ข่มเหงจากผู้นำเผด็จการ Fascism และ Communism
Akira (1988) : Katsuhiro Otomo ♥♥♥♥♡
(19/6/2019) พลังและอำนาจ ไม่ควรตกอยู่ในเงื้อมมือของผู้ไม่รู้เห็นคุณค่า เพราะบุคคลนั้นมักนำไปใช้ในทางไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี สนองเพียงความต้องการพึงพอใจส่วนตน จนเมื่อถึงจุดๆหนึ่งย่อมมิอาจควบคุมอะไรได้ แล้วใครไหนจะเป็นผู้รับผิดชอบผลกระทบติดตามมา, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
A Clockwork Orange (1971) : Stanley Kubrick ♥♥♥♥♡
(9/7/2018) โลกอนาคตในจินตนาการของผู้กำกับ Stanley Kubrick มี Malcolm McDowell ถูกสังคมแปรสภาพด้วย Ludovico Technique ให้กลายเป็นเสมือนหุ่นจักรกล หลงเหลือเพียงรูปลักษณ์ภายนอกยังคงความเป็นมนุษย์ มิอาจครุ่นคิดตัดสินใจกระทำอะไรได้ด้วยตนเองอย่างอิสระเสรี