
ใครมีโอกาสพบเห็นแสงสีเขียว (Green Ray หรือ Green Flash) หรืออีกชื่อว่า แสงแห่งโชค (Lucky Light) จะช่วยปัดเป่าสิ่งเลวร้าย พรุ่งนี้จักได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ และประสบแต่ความโชคดี, คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice
ใครมีโอกาสพบเห็นแสงสีเขียว (Green Ray หรือ Green Flash) หรืออีกชื่อว่า แสงแห่งโชค (Lucky Light) จะช่วยปัดเป่าสิ่งเลวร้าย พรุ่งนี้จักได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ และประสบแต่ความโชคดี, คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice
หลังโศกนาฎกรรมบังเกิดขึ้นกับครอบครัว Juliette Binoche พยายามละทอดทิ้งทุกสิ่งอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่ง ‘เสรีภาพ’ แต่หลังจากใช้ชีวิตเพียงลำพังอยู่สักพักก็ตระหนักว่า ไม่มีทางที่มนุษย์จะอาศัยอยู่ตัวคนเดียว ต้องแสวงหาใครสักคนแม้ต้องอดรนทนต่อความขื่นขม เพื่อแลกกับอุดมคติชาวตะวันตกที่เรียกว่าความรัก
เพราะได้รับทุนสร้างจากรัฐบาลจีน ผู้กำกับจางอี้โหมวเลยยืนกรานว่าหนังไร้ซึ่งนัยยะทางการเมือง แต่เพียงเพื่อโบนัสไม่กี่สิบหยวน ครูสาววัยสิบสามกลับยินยอมทำทุกสิ่งอย่าง จนหลงลืมหน้าที่รับผิดชอบแท้จริงของตนเอง, คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice
นโยบายลูกคนเดียวของเติ้งเสี่ยวผิง ไม่ต่างอะไรจากการเตะผ่าหมากสามีของชิวจู (นำแสดงโดย กงลี่ ในบทบาทเจิดจรัสที่สุด) เธอรู้สึกว่ามันเป็นสิ่งไม่ถูกต้องจึงพยายามร้องเรียนหน่วยงานรัฐ แต่ไม่ว่าองค์กรท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด กระทั่งขึ้นศาลยุติธรรม ล้วนได้รับคำตัดสินแบบเดียวกัน, คว้ารางวัล Golden Lion และ Volpi Cup for Actress จากเทศกาลหนังเมือง Venice
Sans toit ni loi (1985) : Agnès Varda ♥♥♥♥
ลองจินตนาการ Citizen Kane (1942) นำเสนอด้วยไดเรคชั่น French New Wave และตัวละครหลักคือเพศหญิง เพียงเท่านี้ก็ทำให้ท่านแม่ทูนหัว Agnès Varda คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Jeux interdits (1952) : René Clément ♥♥♥♥
พ่อแม่ถูกยิงเสียชีวิตช่วงระหว่างสงคราม เด็กหญิงวัยห้าขวบยังไม่รู้ด้วยซ้ำจะร้องไห้ ดีใจ แสดงออกอย่างไร เก็บภาพทรงจำตราฝังลึกจิตใจ สร้างโลกใบเล็กๆ เกมต้องห้าม ‘Forbidden Games’ เพื่อหลบซ่อนเร้นอยู่ภายใน, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Roma (2018) : Alfonso Cuarón ♥♥♥♥♡
พื้นกระเบื้องเมื่อถูกน้ำสาดทำความสะอาด พบเห็นเงาสะท้อนเครื่องบินบนฟากฟ้า เรื่องราวชีวิตของคนใช้ตัวเล็กๆ ก็สามารถสะท้อนมหภาคกับประเทศชาติ โลกของเราได้เช่นกัน, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Au Revoir Les Enfants (1987) : Louis Malle ♥♥♥♥♡
ผู้กำกับ Louis Malle เมื่อครั้นอายุ 11 ปี ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ครอบครัวส่งไปโรงเรียนประจำ วันหนึ่งพบเห็นทหารเยอรมัน (Gestapo) จับกุมเพื่อนสามคน ที่แท้จริงแล้วมีเชื้อสาย Jews พาตัวส่งไปค่าย Auschwitz ด้วยความยังไม่รู้ประสีประสาอะไรทั้งนั้น แต่เหตุการณ์ครั้งนั้นได้กลายเป็นตราบาป ความทรงจำประทับฝังใจไม่รู้ลืมเลือน, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Shape of Water (2017) : Guillermo del Toro ♥♥♥♥♡
มีฉากหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ถ้าคุณรับได้ มันจะเปลี่ยนแปลงมุมมอง โลกทัศนคติ ต่อความรักและจักรวาลสัตว์ประหลาดไปโดยสิ้นเชิง คู่ควรกับคำว่า Masterpiece, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Brokeback Mountain (2005) : Ang Lee ♥♥♥♥♡
แม้หนังเรื่องนี้จะถูกตีตราว่า ‘Gay Cowboy Movie’ แท้จริงคือเรื่องราวของมนุษย์สองคนที่ตกหลุมรัก โหยหา พบเจอบ้างประปราย แต่มิอาจได้อาศัยอยู่เคียงข้าง เมื่อกาลเวลาผ่านไป หลงเหลือเพียงหุบเขาเร้นรัก Brokeback Mountain สถานที่แห่งความทรงจำของพวกเขา, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Last Year at Marienbad (1961) : Alain Resnais ♠♠♠♠♠
หนังรางวัล Golden Lion เรื่องนี้ ใครก็ตามที่พยายามทำความเข้าใจ คงได้แต่กุมขมับ บ่นขรม นี่มันหนังบัดซบบรมอะไร! บอกตามตรงผมเองก็ไม่เข้าใจเท่าไหร่ หาอ่านบทความวิเคราะห์จากที่ไหนก็ไม่มีใครตอบได้ แต่ไฉนกลับมีคนหลงใหลคลั่งไคล้มากมายขนาดนี้
Belle de Jour (1967) : Luis Buñuel ♥♥♥♥
อีกหนึ่ง Masterpiece รางวัล Golden Lion ของ Luis Buñuel กับหนัง Erotic แมวๆ นำแสดงโดยนางเหมียว Catherine Deneuve ชื่อในวงการ Belle de Jour (คนสวยตอนกลางวัน) สำหรับเธอนั้น ความรักกับ Sex เป็นคนละเรื่องกัน
Marianne and Juliane (1981) : Margarethe von Trotta ♥♥♥♡
ภาพยนตร์รางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice โดยผู้กำกับหญิงสัญชาติเยอรมัน Margarethe von Trotta ที่ต้องการนำเสนอว่า ‘การเมือง เรื่องส่วนตัวและหญิงสาวเป็นของคู่กัน’
Monsoon Wedding (2001) Indian : Mira Nair ♥♥♥♡
หนังรางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice โดยผู้กำกับหญิงสัญชาติอินเดีย Mira Nair ที่ปกติไม่ค่อยทำหนังของชาติตัวเองเท่าไหร่, เรื่องราววุ่นๆราวกับพายุมรสุม ในงานแต่งงานที่ผสมผสานวัฒนธรรมอินเดียดั้งเดิมเข้ากับค่านิยมของโลกสมัยใหม่
Ordet (1955) Danish : Carl Theodor Dreyer ♠♠♠♠♠
หนังเรื่องนี้สร้างขึ้นโดยพระเจ้า … จริงๆนะครับ, ถ้าคุณนับถือศาสนาคริสต์ และต้องการท้าพิสูจน์ความเชื่อ ศรัทธาในพระเจ้า Ordet ของ Carl Theodor Dreyer จะทำให้คุณเบื่อ แล้วจะอึ้ง ทึ่ง ช็อค เป็นลมล้มพับ ทรุดลงคุกเข่า นอนตายตาหลับตรงนั้น
The Great King (1942) German : Veit Harlan ♥♥♥♥
หนึ่งในภาพยนตร์ชวนเชื่อ (Propaganda) ของนาซีอันเลื่องชื่อ Der große König นำเสนอภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ช่วงเวลาสงครามของ พระเจ้าฟรีดริชมหาราช (Frederick the Great) กษัตริย์ปรัสเซีย (Prussia) เพื่อขยายดินแดนและรวบรวมแผ่นดิน Germany ในศตวรรษที่ 18 ให้เป็นปึกแผ่น, การันตีด้วยรางวัล Mussolini Cup: Best Foreign Film (เป็นชื่อเดิมของ Golden Lion) จากเทศกาลหนังเมือง Venice
Lust, Caution (2007) : Ang Lee ♥♥♥♥♡
หนังรางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice เรื่องที่ 2 ของปรมาจารย์ผู้กำกับ Ang Lee, หนัง Erotic ผสม Sadistic ที่มีความวิจิตรประณีตลุ่มลึก ถ้าไม่ใช่คนเอเชียคงไม่สามารถดื่มด่ำไปกับรสสัมผัสของหนังได้เป็นแน่
Ivan’s Childhood (1962) USSR : Andrei Tarkovsky ♥♥♥♡
ภาพยนตร์เรื่องแรกของ Andrei Tarkovsky ที่แม้จะรับไม้ต่อมาอีกที แต่ก็มีรูปแบบ สไตล์ที่ถือเป็นพิมพ์เขียวของหนังแนว Tarkovskian อยู่ครบ, ได้ฉายในเทศกาลหนังเมือง Venice และคว้ารางวัล Golden Lion มาครองได้
A City of Sadness (1989) : Taiwan – Hou Hsiao-Hsien
หนังรางวัล Golden Lion ของประเทศจีน-Taiwan โดยผู้กำกับ Hou Hsian-Hsien (The Puppetmaster – 1991, The Assassin – 2015) เรื่องราวของ A City of Sadness เกิดขึ้นในช่วงเหตุการณ์ญี่ปุ่นแพ้สงคราม ออกตัวจาก Taiwan ไปถึง การสังหารหมู่ 228 (White Terror) อันนำไปสู่การประกาศอัยการศึกถึง 38 ปีของก๊กมินตั๋ง พรรคชาตินิยมจีน นำแสดงโดย Tony Leung Chiu-Wai, Jack Kao และ Sung Young Chen
The Battle of Algiers (1966) : Italy – Gillo Pontecorvo
หนังอิตาลีรางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice เรื่องราวเกี่ยวกับการต่อสู้ของกลุ่มคณะปฏิวัติ National Liberation Front (FLN) ในประเทศ Algeria ที่ต้องการแยกตนเป็นอิสระจากการปกครองของฝรั่งเศส โดยผู้กำกับ Gillo Pontecorvo สร้างสรรค์เพลงประกอบโดย Ennio Morricone หนังติดอันดับ 48 นิตยสาร Sight & Sound และอันดับ 6 จาก The 100 Best Films Of World Cinema ของนิตยสาร Empire