หนึ่งในอนิเมชั่นงดงามที่สุดในโลก! วาดภาพสีน้ำมันด้วยมือ ทีละเฟรม ลงบนกระจก ด้วยสัมผัส Romantic Realism ดัดแปลงจากโคตรวรรณกรรมของ Ernest Hemingway คว้ารางวัล Oscar: Best Animated Short Film, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ป้ายกำกับ: Impressionist
Howards End (1992)
ขณะที่ Emma Thompson (ในบทคว้ารางวัล Oscar: Best Actress) สามารถให้อภัยชายคนรักจากความผิดพลาดทุกสิ่งอย่างในอดีต แต่ Anthony Hopkins กลับปฏิเสธยกโทษน้องสะใภ้ Helena Bonham Carter เพียงเพราะตั้งครรภ์โดยไม่รู้ใครเป็นพ่อของเด็ก, วรรณกรรมชิ้นเอกของ E. M. Forster สู่ภาพยนตร์มาสเตอร์พีซของ James Ivory
ดัดแปลงจากนวนิยายของ E. M. Forster (Howards End, A Passage to India) นำเสนอวิวทิวทัศน์แห่งความรัก ชักชวนเชื่อให้ตอบกลับความรู้สึกของหัวใจ แม้ขัดแย้งขนบสังคมประเทศอังกฤษก็ช่างหัวมันประไร แจ้งเกิดนักแสดงยังสาวสวย Helena Bonham Carter แถมด้วยบทบ้าๆบอๆของ Maggie Smith และ Daniel Day-Lewis
J’accuse (1919)
ผลงานสร้างชื่อระดับนานาชาติของปรมาจารย์ผู้กำกับ Abel Gance กล่าวโทษถึงความจำเป็นของสงคราม ตั้งคำถามชีวิตที่ดับสิ้นสูญมันคุ้มค่าแล้วหรือ? “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Kapurush (1965)
Kapurush (1965) : Satyajit Ray ♥♥♥♥
ชายหนุ่มรถเสียกลางทาง ได้รับอนุเคราะห์จากชายแปลกหน้าให้พักอาศัยค้างแรม พอไปถึงบ้านพบเห็นภรรยาซึ่งคืออดีตคนรักเก่า ทำให้เขาพร่ำรำพันโหยหาอดีตไม่เป็นอันหลับนอน
La Souriante Madame Beudet (1922) : Germaine Dulac ♥♥♥♡
หนังเงียบขนาดสั้น Impressionist ว่ากันว่าคือ ‘ภาพยนตร์ Feminist เรื่องแรกของโลก’ พรรณาความอึดอัดอั้นทุกข์ทรมานของ Madame Beudet ต้องการทำบางสิ่งอย่างเพื่อหลุดจากกรงขังพันธนาการของสามี
La Chute de la maison Usher (1928)
La Chute de la maison Usher (1928) : Jean Epstein ♥♥♥♥
ในบรรดาหนังเงียบแนว Horror ที่ยังคงทรงพลังตราตรึง สร้างความหลอกหลอน สั่นสะพรึง ‘Impressionist’ ประทับจิตใจผู้ชม มากยิ่งกว่า Nosferatu (1922) คงมีเพียง The Fall of the House of Usher (1928) ดัดแปลงจากเรื่องสั้นของ Edgar Allan Poe โดยมี Luis Buñuel เป็นผู้ช่วย Jean Epstein
คือฉัน (1990)
…คือฉัน (พ.ศ. ๒๕๓๓) : แจ๊สสยาม ♥♥♥♥♡
การจดทะเบียนสมรส คือมโนคติที่คนยุคสมัยนี้ครุ่นคิดว่าจะสามารถผูกมัดชาย-หญิง สิ่งยืนยันความเป็นสามี-ภรรยา แต่แท้จริงแล้วมันไม่เกี่ยวเลยสักนิด สองคนรักกันอยู่ที่ใจใช่แผ่นกระดาษ นี่ไม่ใช่ความคิดหัวก้าวหน้าอะไรใหม่ คนโบราณเก่าก่อนยึดถือปฏิบัติมานมนากาเล, โคตรหนัง Feminist น่าจะยอดเยี่ยมที่สุดของเมืองไทย “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Jujiro (1928)
Jujiro (1928) : Teinosuke Kinugasa ♥♥♥♥
หนังเงียบสัญชาติญี่ปุ่นเรื่องนี้ เปรียบได้ดั่งภาพวาด Impressionist ของชายหนุ่มผู้คลุ้มคลั่งในรักต่อหญิงโสเภณีคนหนึ่งจนตามืดบอด (ในความหมายทั้งรูปธรรมและนามธรรม) ได้รับการช่วยเหลือจากพี่สาวพยายามทำทุกสิ่งอย่างให้น้องกลับมามองเห็น แต่เมื่อหายเป็นปกติกลับเลือกทิ้งขว้างคนใกล้ตัว หวนกลับไปเผชิญหน้ากับความหมกมุ่นหลงใหลของตนเอง จนสุดท้าย…
Doctor Zhivago (1965)
Doctor Zhivago (1965) British : David Lean ♥♥♥♡
รถไฟของรัสเซียสายหนึ่ง ได้นำพา Doctor Zhivago ผจญภัยข้ามผ่านท้องทุ่งหิมะ อันขาวโพลนสุดลูกหูลูกตา และปราสาทหิมะที่สวยงามราวกับเทพนิยาย, David Lean ยกทีมงานมาแทบทั้งชุด หลังเสร็จจาก Lawrence of Arabia (1962) ที่ถ่ายความร้อนระอุแห้งเหือดของทะเลทราย Doctor Zhivago เปลี่ยนขั้วองศา ถ่ายความหนาวเหน็บ เย็นยะเยือกของของโลกอุณหภูมิต่ำกว่าศูนย์
Macbeth (1948)
Macbeth (1948) hollywood : Orson Welles ♥♥♥♥♡
จากบทละครของ William Shakespeare ฉบับของ Orson Welles ขณะออกฉายได้รับการตอบรับที่แย่มากๆจากนักวิจารณ์ แต่เมื่อเวลาผ่านไป นี่อาจคือ Macbeth ฉบับภาพยนตร์ที่ดีที่สุด
A Man and a Woman (1966)
A Man and a Woman (1966) French : Claude Lelouch ♥♥♥♥
จะมีหนังสักกี่เรื่องที่ได้ทั้ง Palme d’Or และ Oscar: Best Foreign Language Film โดยผู้กำกับสุดติสต์ชาวฝรั่งเศส Claude Lelouch ถ่ายทำด้วยฟีล์ม 3 แบบ ขาว-ดำ, ซีเปีย, ภาพสี ตามอารมณ์ฉัน (และตามทุนสร้างที่มี) เรื่องราวของพ่อหม้ายลูกชายติด กับแม่หม้ายลูกสาวติด ที่บังเอิญมาพบกันเพราะลูกของทั้งสองอยู่โรงเรียนเดียวกัน นำแสดงโดย Anouk Aimée (La Dolce Vita, 8 1/2), Jean-Louis Trintignant (The Man Who Lies, Z, Amour) และเพลงประกอบเพราะๆของ Francis Lai
Van Gogh (1991)
เป็นศิลปินต้องอดรนทนต่อเสียงเห่าหอนของหมูหมากาไก่ คำวิจารณ์เสียๆหายๆของใครต่อใคร ความพ่ายแพ้ของ Vincent van Gogh คือบทเรียนสอนผู้กำกับ Maurice Pialat ยิ่งถูกด่ายิ่งต้องเข้มแข็งแกร่ง บังเกิดภูมิต้านทานให้เอาชีพรอดในสังคมที่เหี้ยมโหดร้าย
Lust for Life (1956)
Lust for Life (1956) hollywood : Vincente Minnelli ♥♥♥
คงมีบางคนที่เห็นชื่อหนังแล้วคิดว่าเป็นหนัง 18+ ไม่ใช่นะครับ หนังเรื่องนี้เป็นชีวประวัติจิตรกรเอกของโลก Vincent van Gogh เล่าถึงแรงบันดาลใจ แนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ไปจนถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต ดัดแปลงมาจากนิยายชื่อเดียวกันของ Irving Stone กำกับโดย Vincente Minnelli (An American in Paris-1951) นำแสดงโดย Kirk Douglas (Spartacus-1960) รับบท Vincent Van Gogh ว่ากันว่านี่เป็นการแสดงที่ทุ่มเทที่สุดและดีที่สุดของเขาเลย