
สันชาติญาณพื้นฐานของทุกสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วยการต่อสู้ดิ้นรนเอาตัวรอด และสืบเผ่าพันธุ์ นั่นคือสิ่งที่ตัวละครของ Sharon Stone พยายามชี้นำทาง ชักจูงจมูก Michael Douglas จนท้ายสุดยินยอมละทอดทิ้งทุกสิ่งอย่างแล้วตอบสนองกามตัณหาของตนเอง
สันชาติญาณพื้นฐานของทุกสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วยการต่อสู้ดิ้นรนเอาตัวรอด และสืบเผ่าพันธุ์ นั่นคือสิ่งที่ตัวละครของ Sharon Stone พยายามชี้นำทาง ชักจูงจมูก Michael Douglas จนท้ายสุดยินยอมละทอดทิ้งทุกสิ่งอย่างแล้วตอบสนองกามตัณหาของตนเอง
The Thin Blue Line (1988) : Errol Morris ♥♥♥♥
ชายคนหนึ่งถูกตัดสินโทษประหารชีวิต ทั้งๆไม่เคยกระทำความผิดใดๆ ค้นพบโดยผู้กำกับ Errol Morris ออกสืบสวนสอบสวนจนได้ข้อสรุปใหม่ ตีแผ่ออกมาในรูปแบบสารคดี พร้อมจำลองภาพเหตุการณ์คดีฆาตกรรม เพลงประกอบโดย Philip Glass สร้างความสั่นสะเทือนเลือนลั่นให้กับระบบยุติธรรม และกลายเป็นอิทธิพลทรงคุณค่ายิ่งต่อวงการภาพยนตร์
Memories of Murder (2003) : Bong Joon-ho ♥♥♥♥
ความทรงจำต่อเหตุการณ์ฆาตกรรมต่อเนื่อง ไม่เพียงตราฝังตรึงในความทรงจำตัวละคร ผู้กำกับ Bong Joon-ho แต่ยังชาวเกาหลีใต้ทั้งประเทศ สามารถสะท้อนได้ถึงเหตุการณ์สังหารหมู่ประชาชนของรัฐบาลเมื่อไม่กี่ปีก่อน ใครกันจะไปหลงลืมเลือน
L’Assassin habite au 21 (1942) : Henri-Georges Clouzot ♥♥♥♡
ฆาตกรอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 21 แต่สถานที่แห่งนี้คือห้องเช่า (Boarding House) ทำให้มีผู้ต้องสงสัยหลายคนทีเดียว แล้วใครกันละคือ whodunit? ผลงานฉายเดี่ยวเรื่องแรกของผู้กำกับ Henri-Georges Clouzot สร้างขึ้นช่วงเวลาฝรั่งเศสถูกยึดครองโดยนาซี มีหรือจะไม่สอดแทรกอะไรบางอย่างเข้ามา
Chinatown (1974) : Roman Polanski ♥♥♥♥
ในมุมชาวอเมริกัน (และอีกหลายๆประเทศ) มอง Chinatown นอกจากอาหารอร่อย คือสถานที่ชั่วร้ายอันตราย แหล่งมั่วสุมกบดานอาชญากร ความตายเกิดขึ้นประเดี๋ยวเดียวก็ถูกหลงลืม … ผมว่าชาวจีนแท้ๆ อาจไม่ปลื้มเท่าไหร่กับโลกทัศนคตินี้
The Big Sleep (1946) : Howard Hawks ♥♥♥♡
วันหนึ่งระหว่างการถ่ายทำ Humphrey Bogart สอบถามผู้กำกับ Howard Hawks ใครกันแน่คือฆาตกร? ทุกคนตีหน้ามึนตอบไม่ได้ โทรเลขไปถามเจ้าของนวนิยาย Raymond Chandler บอกว่า ‘ก็ไม่รู้เหมือนกัน’ อ่าว … แล้วใครจะไปดูรู้เรื่องเนี่ย!
The Maltese Falcon (1941) : John Huston ♥♥♥♥♡
รูปปั้นเหยี่ยวจากประเทศ Malta คือสิ่งที่ใครๆใฝ่ฝันหมายปอง ต่างแสดงออกโดยไม่สนดี-ชั่ว ถูก-ผิด ศีลธรรมจรรยา เพื่อให้ได้มาครอบครองเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว, ผลงานแรกแจ้งเกิดผู้กำกับ John Huston สร้างเอกลักษณ์การแสดงให้ Humphrey Bogart และถือเป็นจุดกำเนิด Film Noir สู่กระแสหลักแห่งวงการภาพยนตร์
Le Samouraï (1967) : Jean-Pierre Melville ♥♥♥♥
โคตรหนัง Neo-Noir เรื่องนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับซามูไรแม้แต่เล็กน้อย แค่เปรียบเทียบเข้ากับตัวละครของ Alain Delon นักฆ่าผู้มีชีวิตอย่างสันโดษเดี่ยว ยึดมั่นแน่แน่วในหลักการของตนเอง แตกต่างแค่ใช้ปืนแทนดาบสังหารคน (แต่ฟังดู ก็ยังไม่ได้มีความคล้ายคลึงกับซามูไรสักเท่าไหร่เลยนะ)
High and Low (1963) : Akira Kurosawa ♥♥♥♥
ประเทศญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รับอิทธิพลหลายอย่างจากชาติตะวันตกเพื่อฟื้นฟูพัฒนาประเทศ การมาถึงของแนวคิดทุนนิยม ทำให้ช่องว่างระหว่างชนชั้น คนรวยกับคนจนมีระยะห่างกว้างมากขึ้น นี่รวมถึงจิตสำนึกมโนธรรมของมนุษย์ที่ค่อยๆตกต่ำลงด้วย ขณะที่ตัวละครของ Toshiro Mifune เสพสุขราวกับอยู่บนสรวงสวรรค์ Tsutomu Yamazaki เงยหน้าขึ้นไปมีแต่เพียงความอิจฉาริษยา, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
All the President’s Men (1976) : Alan J. Pakula ♥♥♥♥
Robert Redford กับ Dustin Hoffman รับบทสองนักข่าวหนังสือพิมพ์ The Washington Post ที่ขุดคุ้ยคดี Watergate Scandal แฉเหตุอื้อฉาวทางการเมืองครั้งสำคัญ นำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีของ Richard Nixon
The Changeling (1980) : Peter Medak ♥♥♡
กับคนขวัญอ่อนคงหลอนแบบเย็นยะเยือก เสียวสันหลังวาบ แต่ไม่สำหรับผมเลยสักนิด เห็นการแสดงของ George C. Scott ที่ไม่ยี่หร่าต่ออะไรทั้งนั้นทำให้เข้าใจเลยว่า หนังแนว Horror ทำไมถึงไม่ค่อยมีชายสูงวัยวิ่งหนีผีเสียเท่าไหร่
The Wicker Man (1973) : Robin Hardy ♥♥♥♥
นิตยสาร Cinefantastique ยกย่องหนังเรื่องนี้ว่า ‘The Citizen Kane of horror movies’ ทั้งๆที่ไม่ได้มีองค์ประกอบของความ Horror แม้แต่น้อย, นำพาทัวร์ Summerisle เมืองสมมติแถบหมู่เกาะ Hebridean, ประเทศ Scotland ที่มีความสวยงามเก่าแก่ ในวิถีชีวิต วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี แต่คือนรกบนดินของชาว Christian, นำแสดงโดย Christopher Lee ทุ่มสุดตัวแบบไม่รับค่าจ้าง และเป็นหนังที่เจ้าตัวบอกว่าชื่นชอบโปรดปรานสุดในชีวิต
Z (1969) : Costa-Gavras ♥♥♥♥
หนังรางวัล Jury Prize โดยเอกฉันท์จากเทศกาลหนังเมือง Cannes และ Oscar: Best Foreign Language Film นำเสนอชัยชนะของฝ่าย Left Wing Politics (ซ้ายจัด) ต่อหน่วยงานรัฐฝั่งอนุรักษ์นิยมและตำรวจกังฉิน แต่กับความตายที่เกิดขึ้นมันคุ้มแล้วหรือที่จะเรียกว่า ‘ชัยชนะ’
The Third Man (1949)
หนังรางวัล Grand Prix จาก Cannes เรื่องนี้ ได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นหนัง British ที่ดีที่สุด ติดอันดับ 1 BFI (British Film Institute) ชาร์ทของประเทศอังกฤษ คล้ายกับ AFI (American Film Institute) ซึ่งเป็นชาร์ทของอเมริกา ซึ่ง The Third Man ก็ติด AFI ด้วย จัดอันดับครั้งปัจจุบันอยู่ที่ 57 มีตัวร้ายติดอันดับ 37 และติดอันดับ 5 หนังแนว Mystery