ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรกของ Hayao Miyazaki ดัดแปลงจากมังงะ Lupin the Third ปรับเปลี่ยนอาชญากรผู้เหี้ยมโหด โฉดชั่วร้าย ให้กลายเป็นจอมโจรโรแมนติก ปล้นสิ่งสำคัญที่สุดก็คือหัวใจหญิงสาว
ป้ายกำกับ: japan anime
Taiyō no Ōji Horusu no Daibōken (1968)
ร่วมงานครั้งแรกระหว่าง Isao Takahata และ Hayao Miyazaki (Concept Artist, Scene Design และ Key Animation) แม้โปรดักชั่นล่าช้ากว่าสามปี บางฉากเหมือนยังไม่เสร็จดี ตัดต่อเร่งรีบรวบรัดเกินไป เข้าฉายไม่กี่วันก็เงียบหาย แต่กลับได้รับกระแสคัลท์ติดตามมา สร้างอิทธิพลให้วงการอนิเมชั่น จนกลายเป็นหนึ่งในอนิเมะยอดเยี่ยมตลอดกาล!
Wanpaku Ōji no Orochi Taiji (1963)
หลังทดลองผิดลองถูก สะสมประสบการณ์มาจนถึงภาพยนตร์อนิเมชั่นลำดับที่หกของ Toei Animation แต่ถือเป็นมาสเตอร์พีซเรื่องแรก สำแดงความเป็นญี่ปุ่น ดัดแปลงตำนานเทพปกรณัมเมื่อครั้น Izanami และ Izanagi ให้กำเนิดหมู่เกาะ Ōyashima (ประเทศญี่ปุ่น) และบุตรชาย Susanoo ต่อสู้อสูรกายแปดหัว Yamata no Orochi
อนิเมชั่นเรื่องแรกๆของ Mushi Production (ก่อตั้งโดย Osamu Tezuka) ทำการทดลองสร้างตัวละครจากภาพโปสเตอร์ที่ติดอยู่ตามตรอกซอกซอย แม้ไม่สามารถขยับเคลื่อนไหว แต่ใช้ลูกเล่นตัดต่อสร้างจังหวะให้สอดคล้องบทเพลง แถมยังมีเรื่องราวจับต้องได้, คว้ารางวัล Ōfuji Noburō Award
ภาพยนตร์อนิเมชั่นฟีล์มสีเรื่องแรกของญี่ปุ่น และเรื่องแรกของ Toei Animation แต่กลับดัดแปลงตำนานนางพญางูขาว นิทานพื้นบ้านชาวจีน นั่นสะท้อนยุคสมัยหลังสงคราม (Post-War) ความพ่ายแพ้ทำให้ญี่ปุ่นสูญเสียจิตวิญญาณ ความเชื่อมั่น เป็นตัวตนเอง จำต้องพึ่งพามหาอำนาจในการเริ่มต้นทำสิ่งต่างๆ
Okko เด็กหญิงวัย 12 ขวบ สูญเสียครอบครัวจากอุบัติเหตุบนท้องถนน จำต้องมาอาศัยอยู่กับคุณย่าดูแลโรงแรมเล็กๆแห่งหนึ่ง เพราะไม่มีทางเลือกอื่นเธอจึงกลายเป็นผู้จัดการรุ่นเยาว์ ค่อยๆเรียนรู้ เติบโต ก้าวข้ามผ่านความทรงจำอันเลวร้าย
Kitarō Kōsaka นักอนิเมเตอร์ชื่อดังจากสตูดิโอ Ghibli ผู้หลงใหลการปั่นจักรยานเป็นชีวิตจิตใจ ได้รับคำแนะนำและผลักดันจาก Hayao Miyazaki ที่ก็มีความชื่นชอบเช่นเดียวกัน กลายมาเป็น ‘passion project’ ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรกฉายยังเทศกาลหนังเมือง Cannes
Rizu to Aoi Tori (2018)
จดหมายรักของผู้กำกับ Naoko Yamada ต่อ Kyoto Animation เปรียบตนเองเหมือนนกสีฟ้า (Blue Bird) สักวันก็ต้องโบยบินจากไป ถึงอย่างนั้นความสัมพันธ์ระหว่างเราจักไม่มีวันเสื่อมสลาย ฉันจะรักษาช่วงเวลาอันทรงคุณค่านี้ไว้ให้ได้นานที่สุด
Penguin Highway (2018)
โลกทัศน์ของเด็กสิบขวบ เมืองอาศัยอยู่เปรียบดั่งจักรวาล พี่สาวหน้าอกใหญ่คือสิ่งมหัศจรรย์น่าหลงใหล ทางด่วนที่เพนกวินออกเดินทางผจญภัย เพื่อหวนกลับไปหาจุดเริ่มต้น-สิ้นสุด ตัวตนเองของผู้แต่งนวนิยาย Tomihiko Morimi จินตนาการสำคัญกว่าความรู้
Kimi to, Nami ni Noretara (2019)
จากเรื่องราวโรแมนติกหวานแหวว แปรสภาพสู่จิตวิเคราะห์เพื่อปรับตัวเข้ากับการสูญเสีย ทำอย่างไรถึงก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาอันเลวร้าย ลุกขึ้นมาตอบโต้คลื่นชีวิตได้ด้วยตนเอง แม้ไม่มีเธอเคียงข้าง แต่จักคงอยู่ในใจไม่เหินห่าง
เด็กสาวเงือก Lu มาพร้อมรอยยิ้มและภยันตราย เมื่อได้ยินเสียงจังหวะดนตรี ครีบหางของเธอสามารถสลับสับเปลี่ยนเป็นขาสองข้าง (Merfolk) พอถูกมนุษย์พบเห็นเลยกลายเป็นศูนย์กลางความสนใจ ถูกใช้กอบโกยผลประโยชน์โดยไม่สนอะไร และเมื่อเกิดเหตุร้ายๆก็พร้อมขับไล่ผลักไสส่งอย่างไร้เยื่อใย … ทำไมพล็อตเรื่องมันเฉิ่มเชยขนาดนี้!
Yoru wa Mijikashi Aruke yo Otome (2017)
ค่ำคืนแห่งการสารภาพรักของรุ่นพี่หนุ่ม กับรุ่นน้องสาว ช่างมีความเยิ่นยาวนานยิ่งนัก ต่างมีเรื่องให้พลัดพรากจาก พบเจอเหตุการณ์เหนือธรรมชาติมากมาย ท้ายที่สุดแล้วความบังเอิญจะแปรเปลี่ยนเป็นโชคชะตาสำเร็จหรือไม่ แต่ผู้ชมต้องใช้สติปัญญาครุ่นคิดตีความเข้าใจจนสมองแทบระเบิด
Kaijū no Kodomo (2019)
ภาพยนตร์อนิเมชั่นที่ชักชวนให้ผู้ชมครุ่นคิดตั้งคำถามอภิปรัชญา เปรียบเทียบชีวิตก็คือจักรวาล! มนุษย์สามารถเรียนรู้ทุกสิ่งสรรพสิ่งอย่าง ได้จากความเข้าใจในตัวเราเอง, ตราตรึงไปกับความงดงามของฝูงสรรพสัตว์ใต้ท้องทะเล และเพลงประกอบโดย Joe Hisaishi
ผู้กำกับ Mamoru Hosoda พยายามครุ่นคิดแทนลูกชายวัย 4 ขวบ ทำไมถึงแสดงพฤติกรรมขี้อิจฉาต่อน้องสาวเพิ่งคลอด แต่แทนที่จะนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาสำหรับผู้ใหญ่ กลับเสี้ยมสั่งสอนมโนธรรมต่อเด็กอายุแค่นั้นเนี่ยนะ!
ปรมาจารย์ Hayao Miyazaki ป่าว(เปล่า)ประกาศจะรีไทร์ สองจิตสองใจเลือกใครเป็นผู้สืบทอดระหว่าง Mamoru Hosoda หรือ … (ใครดีละ?) … แต่ก่อนจะไปถึงวันนั้น Hosoda กำลังจะกลายเป็นพ่อคน แบบอย่างมีอยู่ก็พึ่งพาไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่ ทำอย่างไรฉันถึงสามารถกลายเป็น ‘คมดาบในจิตใจ’ เมื่อลูกเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่
มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญหน้าสายลม มรสุม ทั้งลูกเล็ก-ใหญ่ บางคนเลือกปล่อยตัวปล่อยใจล่องลอยไป แต่สำหรับผู้กำกับ Hayao Miyazaki ทั้งชีวิตพยายามพุ่งชน ต่อต้าน ย่างก้าวเดินไปข้างหน้า เฉกเช่นเดียวกับ Jirô Horikoshi วิศวกรออกแบบเครื่องบินขับไล่ Mitsubishi A6M (Zero Fighter) ทั้งรู้ต้องถูกนำไปใช้ในสงคราม เข่นฆ่าคนตายนับไม่ถ้วน ขณะเดียวกันนั่นคือความเพ้อฝันใฝ่ ได้มีโอกาสสรรค์สร้างเครื่องบินโลกจดจำ
The Sky Crawlers (2008)
สันติสุขไม่มีทางจะบังเกิดขึ้นหากปราศจากการสงคราม! แต่โลกยุคสมัยปัจจุบันเหินห่างความขัดแย้งมายาวนาน มันจึงแปรสภาพสู่ความบันเทิงรูปแบบหนึ่ง ผ่านการนำเสนอของสื่อภาพยนตร์ อนิเมชั่น ล้วนสอดไส้ความรุนแรง ปรุงปั้นแต่งการต่อสู้ ชีวิต-ความตายกลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ เราควรครุ่นคิด/รู้สึกเช่นนั้นจริงๆนะหรือ?
Hauru no Ugoku Shiro (2004)
Hayao Miyazaki ตัดสินใจกำกับ Howl’s Moving Castle เมื่อตอนอายุก้าวผ่าน 60 ปี แม้ร่างกายเริ่มแห้งเหี่ยว พละกำลังโรยรา ทรงผมขาวหงอกโพลนทั่วศีรษะ แต่จิตใจยังคงหนุ่มแน่น แข็งขัน มากด้วยประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ พร้อมเป็นพลังขับเคลื่อนปราสาท Ghibli ให้โบยบินบนฟากฟ้าชั่วนิรันดร์
Jin-Roh (1999)
ในโลกคู่ขนานที่นาซีเยอรมันชนะสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศญี่ปุ่นตกอยู่ภายใต้การควบคุมครอบงำโดยฝ่ายอักษะ ทหาร/ตำรวจใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมต่อต้าน แต่เบื้องลีกมีความเน่าเฟะเละยิ่งไปกว่านั้น, สร้างจากเนื้อเรื่องพัฒนาโดย Mamoru Oshii ตั้งคำถามหนักอึ้งเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์-สันชาติญาณสัตว์ (Jin = มนุษย์, Roh=หมาป่า) ปัจจุบันเราหลงเหลืออะไรอยู่ภายใน
Kurenai no Buta (1992)
หนึ่งในความลุ่มหลงใหลคลั่งไคล้ของ Hayao Miyazaki คือทุกสิ่งอย่างเกี่ยวกับการบิน ตั้งแต่เริ่มออกแบบ สรรค์สร้าง สัมพันธ์ภาพเครื่องยนต์-คนขับ การต่อสู้ศัตรู-มิตรสหาย รวมไปถึงเรื่องเล่าหลังความตาย ทั้งหมดนี้ปรากฎอยู่ใน Porco Rosso ผลงานได้รับการพูดถึงน้อยสุด แต่มีความงดงาม ตราตรึง สัมผัสหวนระลึกถึง (Nostalgia) และเพลงประกอบไพเราะอันดับหนึ่งของ Joe Hisaishi