งานเลี้ยงแซยิด (วันเกิดครบรอบ 60 ปี) ของบิดา รายล้อมด้วยลูกๆหลานๆ ญาติพี่น้อง ผองเพื่อน แต่ด้วยความที่เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกจากกลุ่มเคลื่อนไหว Dogme 95 มันจึงความบ้าคลั่ง เสียสติแตก ความจริงบางอย่างกำลังได้รับการเปิดเผยอย่างช้าๆ, คว้ารางวัล Jury Prize (ที่สาม) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
ป้ายกำกับ: Jury Prize
Europa (1991)
ผู้กำกับ Lars von Trier ได้รับการเปิดเผยจากมารดาก่อนเสียชีวิต บุคคลที่เลี้ยงดูเขามาเป็นเพียงพ่อบุญธรรม เมื่อมีโอกาสพบเจอหน้าบิดาแท้ๆ กลับถูกปฏิเสธต่อต้าน นั่นคือจุดเริ่มต้นความสิ้นหวัง ไม่ต่างจากยุโรป/เยอรมันหลังสงครามโลกครั้งที่สอง, คว้ารางวัล Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
Yeelen (1987)
จอมขมังเวทย์ฉบับหมอผีแอฟริกัน! บิดาไม่รู้จงเกลียดจงชังอะไรบุตรชาย ถึงขนาดใช้มนต์ดำออกไล่ล่าติดตามหา จำต้องหลบหนีหัวซุกหัวซุน ผจญโลกกว้าง เรียนรู้สิ่งต่างๆ เตรียมพร้อมเผชิญหน้า พิสูจน์ตนเอง เพื่ออนาคตลูกหลาน, คว้ารางวัล Jury Prize (ที่สาม) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
La Collectionneuse (1967)
La Collectionneuse (แปลว่า The Collector) คือคำเรียกหญิงสาวที่ชื่นชอบสะสมแฟนหนุ่ม เก็บแต้มผู้ชายไม่เลือกหน้า แต่แท้จริงแล้วเธอเป็นเช่นนั้นหรือไหม? คว้ารางวัล Silver Bear: Extraordinary Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Berlin, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Sanatorium pod klepsydrą (1973)
ในสถานพยาบาลแห่งนี้ เวลามีการผันแปรเปลี่ยนเหมือนนาฬิกาทราย อดีต-ปัจจุบัน โลกความจริง-จินตนาการเพ้อฝัน พลิกกลับไปกลับมาอย่างน่าฉงนสงสัย แต่ทุกสิ่งอย่างล้วนดูเสื่อมโทรม ปรักหักพัง สะท้อนเข้ากับสภาพประเทศโปแลนด์ยุคสมัยนั้น, คว้ารางวัล Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
Harakiri (1962)
Harakiri (1962) : Masaki Kobayashi ♥♥♥♥♡
Seppuku หรือ Harakiri คือพิธีกรรมอย่างหนึ่งของซามูไร เมื่อมีเหตุให้ต้องสูญเสียเกียรติ ศักดิ์ศรี หรือไม่สามารถอดรนทนต่อบางสิ่งอย่างได้ จึงกระทำอัตวินิบาตกรรมด้วยการคว้านท้องไส้ แต่นั่นสมควรได้รับยกย่องเชิดชูสูงสุดจริงๆนะหรือ?, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Lobster (2015)
The Lobster (2015) : Yorgos Lanthimos ♥♥♥♡
โลกที่ทุกสิ่งอย่างมีความสุดโต่งไร้กึ่งกลาง ชายโสดมีระยะเวลา 45 วัน ในการค้นหาคู่ครองถูกต้องตามวิถีทางกฎหมาย มิเช่นนั้นจะถูกทำอะไรสักอย่างให้กลายเป็นสัตว์เดรัจฉาน! แต่เรื่องของความรักหาใช่จะมาเร่งรีบบีบบังคับ จับแพะชนแกะ เพนกวิ้นและหมาป่าย่อมมิอาจครองคู่
The Decameron (1971)
The Decameron (1971) : Pier Paolo Pasolini ♥♥♥♡
ร้อยเรียงตำนานสิบราตรี ผลงานชิ้นเอกของ Giovanni Boccaccio นักประพันธ์ชาวอิตาเลี่ยน ยุคสมัย Italian Renaissance อุปมานิทัศน์ถึงเรื่องราวความรักแบบต่างๆ เปิดตำนาน Trilogy of Life ของผู้กำกับ Pier Paolo Pasolini ตีความในมุมของตัณหาราคะ พร้อมกับ Sex, คว้ารางวัล Silver Bear: Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
Persepolis (2007)
Persepolis (2007) : Marjane Satrapi, Vincent Paronnaud ♥♥♥♡
‘ไม่มีชีวิตแสงสีใดๆในประเทศอิหร่าน’ นี่คือเหตุผลให้ Marjane Satrapi เขียนเรื่องราวชีวประวัติของตนเองเป็น Graphic Novel และดัดแปลงสร้างอนิเมชั่นสองมิติ มีเพียงสองสีขาว-ดำ คว้ารางวัล Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
The Trial of Joan of Arc (1962) : Robert Bresson ♥♥
คงเป็นไปไม่ได้ ถ้าจะไม่เปรียบเทียบเรื่องนี้กับหนังเงียบในตำนาน The Passion of Joan of Arc (1928) ของผู้กำกับ Carl Theodor Dreyer เพราะคือฉบับพูดน้ำไหลไฟดับ ระหว่างการพิพากษา Jeanne d’Arc จนกระทั่งตัดสินโทษเผาทั้งเป็น แต่ด้วยไดเรคชั่น ‘สไตล์ Bresson’ อาจทำให้หลายๆคนผิดหวัง
Like Father, like Son (2013)
Like Father, like Son (2013) : Hirokazu Kore-eda ♥♥♥♥
โรงพยาบาลสลับเด็กตอนคลอด พ่อแม่เลี้ยงดูจนลูกอายุครบ 6 ขวบ ถึงค่อยได้รับรู้ความจริง แล้วนี่จะทำยังไงต่อไป มีหนทางออกดีที่สุดสำหรับเหตุการณ์แบบนี้หรือเปล่า?, คว้ารางวัล Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Cannes “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Goodbye to Language (2014) : Jean-Luc Godard ♥♥♥
สิ่งที่ทำให้ผู้ชม/นักวิจารณ์ จากเทศกาลหนังเมือง Cannes ปีนั้นขนลุกเนื้อเต้น ถึงขนาดต้องมอบรางวัล Jury Prize ให้กับปู่ Jean-Luc Godard คือการบัญญัติไวยากรณ์ใหม่ให้ภาษาภาพยนตร์สามมิติ หลับตาซ้ายเห็นภาพหนึ่ง หลับตาขวาเห็นอีกอย่างหนึ่ง แต่ประสบการณ์นี้อาจต้องรับชมในโรงภาพยนตร์เท่านั้นกระมัง (และอาจเกาหัวจนผมร่วงหมดศีรษะ เพราะไม่เข้าใจว่าหนังต้องการนำเสนออะไร)
Kwaidan (1965) : Masaki Kobayashi ♥♥♥♥
รวม 4 เรื่องเล่าผีญี่ปุ่น (Kaidan = Ghost Stories) ที่จะทำให้คุณขนหัวลุกพอง อกสั่นขวัญผวา ด้วยการเล่าเรื่องเนิบๆช้าๆ สร้างบรรยากาศอันเย็นยะเยือก ชวนให้เสียวสันหลังวาบ, คว้ารางวัล Special Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Cannes และเป็นตัวแทนของญี่ปุ่นติด 5 เรื่องสุดท้ายเข้าชิง Oscar: Best Foreign Language Film
Z (1969)
เมื่อนักการเมืองคนหนึ่งถูกเข่นฆาตกรรม! แต่บุคคลผู้อยู่เบื้องหลังคือสมาชิกระดับสูงของหน่วยงานรัฐ เช่นนั้นแล้วประชาชนจะหลงเหลือความหวังอะไร, คว้ารางวัล Oscar: Best Foreign Language Film
Mon Oncle (1958)
Mon Oncle (1958) French : Jacques Tati ♥♥♥♥
ลุงของฉัน Monsieur Hulot อาศัยอยู่ระหว่างสองโลก (ยุคเก่า-ยุคใหม่) ในห้องเช่าที่เหมือนสองตึกแถว เขาเป็นคนไร้เป้าหมายชีวิต แต่มันจำเป็นต้องมีด้วยเหรอ?, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” หนังรางวัล Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Cannes และคว้า Oscar สาขา Best Foreign Language Film
Songs from the Second Floor (2000) Swedish : Roy Andersson ♥♥♥♥
หนังรางวัล Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Cannes เรื่องนี้ เป็นแนว Surrealist ที่ดูยากมากๆ แต่มีความลึกล้ำน่าค้นหา คล้ายๆกับ The Color of Pomegranates (1969) ใช้การตั้งกล้องทิ้งไว้เฉยๆ นักแสดงทำอะไรบางอย่าง บางครั้งน่าขบขัน บางครั้งจุกอก รวมๆเรียกว่า ‘ชีวิต’
Woman in the Dunes (1964)
Woman in the Dunes (1964) Japanese : Hiroshi Teshigahara ♥♥♥♥♡
หญิงสาวในทะเลทราย Suna no Onna หนังรางวัล Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Cannes ของผู้กำกับ Hiroshi Teshigahara นี่ไม่ใช่หนัง Sci-Fi แต่เป็น Drama สุดเข้มข้น ที่จะพาคุณไปสู่โลกอันสุด Extreme กับสถานการณ์ที่เงินไม่มีความหมาย การยังมีชีวิตเท่านั้นสำคัญที่สุด, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
L’Eclisse (1962) Italian : Michelangelo Antonioni ♥♥♥♥
หนังรางวัล Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Cannes ของผู้กำกับ Michelangelo Antonioni หน้าหนังคือหญิงสาวเลิกกับแฟนเก่า แล้วคบหากับชายหนุ่มคนใหม่ แต่ใจความเป็นหนังที่นำเสนอมุมมองของอดีต และอนาคต ในขณะช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านที่คลาสเคลื่อนกัน, นี่เป็นหนังที่ดูยาก และผู้กำกับพยายามบอกว่า ‘Modern love is rubbish.’
สัตว์ประหลาด (2004)
สัตว์ประหลาด (2004) : อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล
หนังไทยเรื่องนี้ คงไม่มีคนคิดว่าจะสามารถกลายเป็นหนังเรื่องโปรดของใครได้ ผมก็ยังแปลกใจตัวเอง ไฉนตกหลุมพลางของเสือสมิงที่แปลงร่างเป็นมนุษย์มาหลอกเอาได้ คงเพราะสมิงตัวนั้นเป็นสาวสวยเหมือนตัวที่มาหลอกนายพราน พอถูกฆ่าแล้วกลายเป็นวิญญาณสัตว์ประหลาด ที่คิดทำอะไรไม่เหมือนใคร ต้องการแค่เพื่อนเล่นหยอกล้อไปวันๆ
L’ Avventura (1960)
L’Avventura (1960) Italian : Michelangelo Antonioni ♥♥♥♥♡
(8/12/2016) ภาพยนตร์บางเรื่อง จำต้องใช้ประสบการณ์ในการดูหนังที่ค่อนข้างสูง และใช้หัวสมองคิดวิเคราะห์เป็นอย่างมาก, ถ้าคุณมีสองสิ่งนี้พร้อมเมื่อไหร่ ก็ค่อยลองหา L’Avventura ของ Michelangelo Antonioni มาท้าพิสูจน์ดูนะครับ เมื่อนั้นคุณก็อาจเห็นสัจธรรมบางอย่าง ที่มีคุณค่ามากกว่าคนทั่วไปจะสามารถมองเห็นได้