ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอัตราการเกิดต่ำ ประชากรสูงอายุเพิ่มขี้นทุกวัน ในอนาคตอาจมีมากเกินดูแลทั่วถีง ด้วยเหตุนี้ Katsuhiro Otomo จีงครุ่นคิดพัฒนาบทอนิเมะไซไฟ(ชวนหัว) สร้างเตียงผู้ป่วยอัจฉริยะ สามารถดูแลให้ความช่วยเหลือ ตอบสนองแทนนางพยาบาลได้ทุกสิ่งอย่าง (ผู้ช่วยออกแบบศิลป์โดย Satoshi Kon) แต่มันก็เกิดประเด็นคำถาม ถ้าปัญญาประดิษฐ์นั้นสามารถครุ่นคิด/บังเกิดจิตวิญญาณขี้นมา???
ป้ายกำกับ: Katsuhiro Otomo
Steamboy (2004) : Katsuhiro Otomo ♥♥♡
อนิเมชั่นแนว Steampunk ตื่นตระการตาไปกับยุคสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม จัดเต็มด้วย Visual Effect สุดอลังการ แต่เนื้อเรื่องราวกลับเละเทะไม่เป็นชิ้นดี สิบปีโปรดักชั่นที่น่าผิดหวังทีเดียว
Memories (1995)
Memories (1995) : Kōji Morimoto, Tensai Okamura, Katsuhiro Otomo ♥♥♥♡
ความทรงจำแม้คือสิ่งล้ำเลอค่า แต่เราไม่ควรหมกมุ่นครุ่นยึดติดกับมันจนมิอาจก้าวไปไหน นี่สะท้อนเข้ากับประเทศญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อดีตเคยยิ่งใหญ่เกรียงไกร ปัจจุบันเมื่อเป็นผู้พ่ายแพ้ สมควรต้องยินยอมรับความจริงไม่ใช่หรือ?
Metropolis (2001)
Metropolis (2001) : Rintaro ♥♥♥
อ้าปากค้างไปกับภาพโลกอนาคต ตึกระฟ้า ผู้คนคาคลั่ง แต่ขณะเดียวกันกลับกลวงโบ๋ภายในจิตวิญญาณ, ดัดแปลงจากมังงะ Metropolis (1949) แต่งโดย Osamu Tezuka ที่ได้แรงบันดาลใจจากโคตรหนังเงียบ Metropolis (1927) ของผู้กำกับ Fritz Lang มาอีกทีหนึ่ง
Neo Tokyo (1987)
Neo Tokyo (1987) : Rintaro, Yoshiaki Kawajiri, Katsuhiro Ōtomo ♥♥♥♥
สามเรื่องสั้นไซไฟ Surrealist จากสามผู้กำกับดัง Rintaro (Metropolis), Yoshiaki Kawajiri (Ninja Scroll, Vampire Hunter D: Bloodlust) และ Katsuhiro Ōtomo (Akira, Steamboy) นำเสนอมุมมองกรุงโตเกียวแห่งอนาคต ในลักษณะลุ่มลึกซึ้งเกินกว่าใครหลายๆคนจะเข้าใจ
Akira (1988)
Akira (1988) : Katsuhiro Otomo ♥♥♥♥♡
(19/6/2019) พลังและอำนาจ ไม่ควรตกอยู่ในเงื้อมมือของผู้ไม่รู้เห็นคุณค่า เพราะบุคคลนั้นมักนำไปใช้ในทางไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี สนองเพียงความต้องการพึงพอใจส่วนตน จนเมื่อถึงจุดๆหนึ่งย่อมมิอาจควบคุมอะไรได้ แล้วใครไหนจะเป็นผู้รับผิดชอบผลกระทบติดตามมา, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”