
อุบัติเหตุทางกายไม่นานเดี๋ยวก็หาย แต่ความเจ็บปวดทางใจจากการถูกทรยศหักหลัง เจ้าหญิงในอุดมคติกลับมีพฤติกรรมสำส่อน นั่นจักตราฝังความทรงจำไม่รู้ลืมเลือน, คว้ารางวัล Grand Prix (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
อุบัติเหตุทางกายไม่นานเดี๋ยวก็หาย แต่ความเจ็บปวดทางใจจากการถูกทรยศหักหลัง เจ้าหญิงในอุดมคติกลับมีพฤติกรรมสำส่อน นั่นจักตราฝังความทรงจำไม่รู้ลืมเลือน, คว้ารางวัล Grand Prix (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
ห่าฝนที่ตกลงมา ชุ่มฉ่ำเสียงหัวเราะด้วยภาษาภาพยนตร์สุดจัดจ้าน และชอกช้ำคราบน้ำตาเพราะนำเสนอหายนะของประเทศอิหร่าน, แนะนำโดย Martin Scorsese รวบรวมอยู่ใน World Cinema Project
ค่ำคืนวันคริสต์มาสกับ Maud (รับบทโดยสุดสวย Françoise Fabian) ที่แม้มีเพียงการพูดคุยสนทนา (All-Talk) กลับทำให้ Jean-Louis Trintignant ผู้เคร่งศาสนา ยึดถือมั่นในอุดมการณ์ กล้าลุกขึ้นมากระทำสิ่งบางสิ่งอย่างตอบสนองความต้องการของหัวใจ, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
หนังสั้นเรื่องแรกของ ‘Six Moral Tales’ ที่จะสร้างความฉงนสงสัย เรื่องราวดังกล่าวแฝงข้อคิด คติสอนใจ ศีลธรรมอันดีงามประการใด? แต่ผกก. Rohmer เคยกล่าวไว้ว่า ขอแค่ผู้ชมได้ขบครุ่นคิด โต้ถกเถียงถึงหนทางเลือกตัวละคร นั่นแหละคือ ‘Moral’ ของศิลปะภาพยนตร์
เขาชื่อกานต์ (พ.ศ. ๒๕๑๖) เปี่ยมล้นด้วยอุดมการณ์ของท่านมุ้ย แจ้งเกิดทั้งสรพงศ์ ชาตรี, นัยนา ชีวานันท์, ภิญโญ ทองเจือ แต่กาลเวลาทำให้คุณค่าหลงเหลือเพียงอุดมคติ และความเป็นคลื่นลูกใหม่แห่งวงการภาพยนตร์ไทย
แสร้งว่าคือ Musical? ภาพยนตร์เฉลิมฉลองการตั้งครรภ์ระหว่าง Jean-Luc Godard และ Anna Karina แต่ชีวิตจริงหาได้สวยหรูดั่งเทพนิยาย เพราะเขาไม่เคยอยู่เคียงชิดใกล้ แม้กระทั่งตอนแท้งลูกก็หาได้ใคร่สนใจ
ภาพยนตร์ชีวประวัติกึ่งสารคดีนักแสดงหนังเงียบที่กลายเป็นตำนาน หยวนหลิงอวี้ (Ruan Lingyu) รับบทโดยจางม่านอวี้ (คว้ารางวัล Best Actress จากเทศกาลหนังเมือง Berlin) ไม่เพียงพยายามสร้างฉากจากภาพยนตร์ที่สูญหาย (Lost Film) ยังชักชวนให้ผู้ชมครุ่นคิดตั้งคำถาม โศกนาฎกรรมบังเกิดขึ้นกับเธอเพราะอะไร?
ดัดแปลงจากนวนิยายของ E. M. Forster (Howards End, A Passage to India) นำเสนอวิวทิวทัศน์แห่งความรัก ชักชวนเชื่อให้ตอบกลับความรู้สึกของหัวใจ แม้ขัดแย้งขนบสังคมประเทศอังกฤษก็ช่างหัวมันประไร แจ้งเกิดนักแสดงยังสาวสวย Helena Bonham Carter แถมด้วยบทบ้าๆบอๆของ Maggie Smith และ Daniel Day-Lewis
นี่คือภาพยนตร์ที่มีความรุนแรงเหี้ยมโหดร้ายที่สุดของ Martin Scorsese ทั้งๆไม่มีฉากต่อสู้ เข่นฆ่า ทาสีบ้าน แต่ในยุคสมัยทองชุบ Gilded Age (1865–1914) ภายนอกดูสวยหรูระยิบระยับ จิตใจมนุษย์กลับมีเพียงความเลือดเย็นชา
ท่ามกลางแมกไม้นานาพันธุ์ เรื่องราวความรักสามเส้าระหว่างหลิวเต๋อหัว และทาเคชิ คาเนชิโร่ ใครจะได้ครอบครองดอกไม้งาม ‘นางล่มเมือง’ จางจื่ออี๋ ต่างฝ่ายต่างเหมือนถูกคมมีดบินทิ่มแทงกลางใจ ถ้ามิได้ใช้ชีวิตกับหญิงคนรัก ฆ่ากันให้ตายเสียยังดีกว่า!
ผู้กำกับ Michael Cimino ทำสัญญาปีศาจเพื่อสรรค์สร้างโปรเจคในฝัน Heaven’s Gate (1980) ใส่ใจทุกรายละเอียดถ่ายทำ 50+ กว่าเทค ได้ฟีล์มความยาวประมาณ 1.3 ล้านฟุต (220 ชั่วโมง) งบประมาณบานปลาย 4 เท่าตัว เมื่อนักวิจารณ์ส่ายหัว ผู้ชมไม่เอาด้วย เลยถูกตีตรา ‘Worst Movie of All-Time’ แต่ตัวหนัง Director’s Cut ความยาว 216 นาที ก็ไม่ได้เลวร้ายขนาดนั้น
ขณะที่ Jules and Jim (1962) ถือเป็นภาพยนตร์ของวัยรุ่นหนุ่ม, Two English Girls (1971) คือชีวิตและการเติบโตของ François Truffaut เพียงไม่ถึงสิบปีก็ได้พานผ่านอะไรๆมามาก ดีบ้าง ร้ายบ้าง โชคชะตาของรักสามเส้า ทั้งน่าเห็นใจและสมน้ำเน่า
Emil Jannings ทอดทิ้งภรรยาและบุตร เพื่อแสดงกายกรรมผาดโผนร่วมกับคนรักใหม่ Lya de Putti แต่การมาถึงของหนุ่มหล่อมือที่สาม Warwick Ward น่าจะพอคาดเดากันได้ว่าจักบังเกิดอะไรขึ้นต่อไป
เรื่องราวรักสามเส้าเชยๆ หญิงสาวถูกบีบบังคับให้ต้องแต่งงานกับคนที่ไม่ได้รัก เฝ้ารอคอยความช่วยเหลือจากชายในฝัน ‘damsel in distress’ แต่ด้วยวิธีการนำเสนอ French Impressionist จักสร้างความประทับใจให้ผู้ชม ตื่นตระการตาด้วยเทคนิค ภาษาภาพยนตร์ งดงามราวกับบทกวี
ผลงานสร้างชื่อระดับนานาชาติของปรมาจารย์ผู้กำกับ Abel Gance กล่าวโทษถึงความจำเป็นของสงคราม ตั้งคำถามชีวิตที่ดับสิ้นสูญมันคุ้มค่าแล้วหรือ? “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ผู้กำกับ Jean Cocteau นำเทพนิยายกรีก Orpheus มากระทำการปู้ยี้ปู้ยำ ตีความใหม่ ดำเนินเรื่องในยุคสมัยปัจจุบัน(นั้น) ณ กรุง Paris สอดไส้แนวคิดทัศนคติส่วนตน ตื่นตระการตาด้วยลูกเล่น ‘มายากล’ ราวกับหลุดเข้าไปยังโลกแห่งความเพ้อฝัน แฟนตาซี ชีวิตและความตาย
Kapurush (1965) : Satyajit Ray ♥♥♥♥
ชายหนุ่มรถเสียกลางทาง ได้รับอนุเคราะห์จากชายแปลกหน้าให้พักอาศัยค้างแรม พอไปถึงบ้านพบเห็นภรรยาซึ่งคืออดีตคนรักเก่า ทำให้เขาพร่ำรำพันโหยหาอดีตไม่เป็นอันหลับนอน
The Philadelphia Story (1940) : George Cukor ♥♥♥♥♡
เพื่อให้รอดพ้นจากการถูกเรียกว่า ‘Box-Office Poison’ แม่หญิง Katharine Hepburn ว่าจ้าง Philip Barry พัฒนาบทละครเวที The Philadelphia Story (โดยมี Howard Hughes ส่งน้ำเลี้ยงอยู่เบื้องหลัง) เกลี้ยกล่อมให้ Louis B. Mayer ซื้อลิขสิทธิ์ดัดแปลง เลือกผู้กำกับ ติดต่อนักแสดง ทำทุกสิ่งอย่างด้วยตนเองจนประสบความสำเร็จล้นหลาม แม้จะพลาด Oscar: Best Actress แต่ก็สามารถหลุดจากคำสาปอันชั่วร้ายนี้เสียที
A Place in the Sun (1951) : George Stevens ♥♥♥♥
Montgomery Clift ต้องการไต่เต้าจากความมืดมิดสู่แสงสว่าง ค้นพบวิธีการเดียวเท่านั้นคือทอดทิ้งทำลายอดีต Shelly Winters แล้วครองรักแต่งงานกับ Elizabeth Taylor นั่นเป็นสิ่งถูกต้องเหมาะสมควรแล้วหรือ?, คว้า Oscar 6 สาขา แต่พลาดภาพยนตร์ยอดเยี่ยมให้ An American in Paris อย่างน่าหงุดหงิดใจ! “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Yentl (1983) : Barbra Streisand ♥♥♡
ถึง Steven Spielberg จะยกย่องหนังเรื่องนี้ว่า ‘การกำกับภาพยนตร์เรื่องแรกดีที่สุดตั้งแต่ Citizen Kane (1941)’ ทั้งยังทำให้ Barbra Streisand กลายเป็นผู้หญิงคนแรกคว้ารางวัล Golden Globe: Best Director กระนั้นความพิลึกพิลั่นของเรื่องราว ก้าวล้ำเส้นเหมาะสมไปสู่ความไม่รู้จักสิ้นสุด ทำให้อุดมการณ์ เป้าหมาย ทุกสิ่งอย่าง พังทลายป่นปี้ย่อยยับเยินลงในพริบตา