หลังก่อตั้งกลุ่มเคลื่อนไหว Dogme 95 เพื่อทำลายกฎกรอบภาพยนตร์ ให้หลงเหลือเพียงความบริสุทธิ์ของเรื่องราวและการแสดง แต่ทว่าผู้กำกับ Lars von Trier กลับแหกคำปฏิญาณเหล่านั้นเสียเองในการสรรค์สร้าง Breaking the Waves (1996), คว้ารางวัล Grand Prix (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
ป้ายกำกับ: Marriage
ชายหนุ่มต้องการแต่งงานกับหญิงสาว แต่ประเพณีของชาว Cameroonian ฝ่ายชายต้องจ่ายค่าสินสอดทองหมั้น แล้วเขาจะไปหาเงินทองจากไหนกัน? ผิดกับลุงแท้ๆ ร่ำรวย มือเติบ ชิงตัดหน้าซื้อเธอมาเป็นภรรยาคนที่ห้า มันช่างเป็นเรื่องราวความรักอันเจ็บปวด หัวใจแตกสลาย
เรื่องวุ่นๆของเจ้าหมวกฟางอิตาเลี่ยน สร้างความสับสน โกลาหล วุ่นวายสุดๆในวันงานแต่งงานของ Albert Préjean แต่ทุกสิ่งอย่างล้วนอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้กำกับ René Clair ด้วยอิทธิพลของ Georges Méliès
The Blue Kite (1993)
ว่าวสีฟ้าไม่สามารถต้านทานกระแสแรงลม ล้วนถูกมรสุมทางการเมืองของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่การรณรงค์ต่อต้านพวกความคิดเอียงขวา (1957-59), การก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้า (1958-62) และการปฏิวัติทางวัฒนธรรม (1966-76) รวมถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ไม่รอดพ้นการถูกแบนห้ามฉายในจีนแผ่นดินใหญ่ แต่กลับได้รับยกย่องมาสเตอร์พีซในระดับนานาชาติ
The Wedding Banquet (1993)
บิดา-มารดาพยายามเรียกร้องขอให้บุตรชายหาคู่ครองแต่งงาน แต่เขาเป็นเกย์และมีคู่ขาคนรักอยู่แล้ว จึงครุ่นคิดแผนจัดงานแต่งหลอกๆกับหญิงสาวคนหนึ่ง ตั้งใจให้เป็นแค่ปาร์ตี้เล็กๆ กลับขยับขยายจนเรื่องราวบานปลายไปใหญ่, คว้ารางวัล Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
Four Weddings and a Funeral (1994)
มหกรรมการเข้าร่วมงานแต่งงานของ Hugh Grant เป็นทั้งเพื่อนเจ้าบ่าว ผู้มาร่วมงาน อดีตคนรัก(ของเจ้าสาว) และ… เต็มไปด้วยความหลากหลายทางอารมณ์ สนุกสนาน หวานขม เศร้าโศกเสียใจ ก่อนชักชวนให้ผู้ชมตั้งคำถาม งานเลี้ยงเหล่านี้มันมีความสำคัญอะไร?
Giulietta degli spiriti (1965)
Giulietta degli spiriti (1965) : Federico Fellini ♥♥♥♥
ราวกับภาคต่อของ 8½ (1963) โดยสลับจากอวตารผู้กำกับ Federico Fellini กลายมาเป็นศรีภรรยา Giulietta Masina รับบท Juliet ผู้สามารถมองเห็นวิญญาณ ผสมผสานระหว่างความจริง-เพ้อฝัน อดีต-ปัจจุบัน และเมื่อผีบอกว่าชายคนรักลักลอบมีชู้ ชีวิตคู่ของพวกเขาจะลงเอยเฉกเช่นไร
Præsidenten (1919) : Carl Theodor Dreyer ♥♥♥
ผลงานเรื่องแรกของปรมาจารย์ผู้กำกับ Carl Theodor Dreyer นำเสนอเรื่องราวคนสามรุ่น วุ่นเวียนวนประสบเหตุการณ์คล้ายคลึงเดิมซ้ำถึงสามครั้งครา นั่นแปลว่าบางสิ่งอย่างเคยยึดถือมั่นคงมา สมควรต้องเรียนรู้จักการปรับเปลี่ยนแปลงเสียบ้างแล้วหนา
The Private Life of Henry VIII (1933) : Alexander Korda ♥♥♡
Charles Laughton ในบทบาทคว้า Oscar: Best Actor สวมวิญญาณเป็น King Henry VIII of England (1491-1547, ครองราชย์ 1509 – 1547) เลืองลือนามจากการสมรสถึงหกครั้ง แต่กาลเวลาไม่ทำให้เรื่องดังกล่าวน่าหัวร่อสักเท่าไหร่
La Pointe Courte (1955)
La Pointe Courte (1955) : Agnès Varda ♥♥♥♥
Agnès Varda จากช่างถ่ายภาพนิ่ง เกิดแรงผลักดันบางอย่างหลังกลับจากเมืองท่า La Pointe Courte ต้องการสร้างภาพที่สามารถขยับเคลื่อนไหว แม้ไร้ซึ่งประสบการณ์ความรู้ใดๆ ทดลองจับผิดจับถูก จนสามารถรังสรรค์ผลงานแรกแจ้งเกิด กลายเป็นจุดเริ่มต้นแท้จริงของยุคสมัย Franch New Wave
Angst essen Seele auf (1974)
ความรักที่ใครๆต่างบอกว่าเป็นไปไม่ได้ แต่มีอะไรในโลกนี้ที่เป็นไปไม่ได้! Ali: Fear Eats the Soul คือภาพยนตร์ระดับ Masterpiece นำเสนอความหวาดสะพรึงกลัวที่ค่อยๆกัดกร่อนทำลายจิตวิญญาณ ถ้าเรามัวสนแต่รับฟังเรื่องร้ายๆจากขี้ปาก สายตา และการกระทำของผู่อื่น, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Philadelphia Story (1940)
The Philadelphia Story (1940) : George Cukor ♥♥♥♥♡
เพื่อให้รอดพ้นจากการถูกเรียกว่า ‘Box-Office Poison’ แม่หญิง Katharine Hepburn ว่าจ้าง Philip Barry พัฒนาบทละครเวที The Philadelphia Story (โดยมี Howard Hughes ส่งน้ำเลี้ยงอยู่เบื้องหลัง) เกลี้ยกล่อมให้ Louis B. Mayer ซื้อลิขสิทธิ์ดัดแปลง เลือกผู้กำกับ ติดต่อนักแสดง ทำทุกสิ่งอย่างด้วยตนเองจนประสบความสำเร็จล้นหลาม แม้จะพลาด Oscar: Best Actress แต่ก็สามารถหลุดจากคำสาปอันชั่วร้ายนี้เสียที
An Autumn Afternoon (1962)
An Autumn Afternoon (1962) : Yasujirō Ozu ♥♥♥♥♡
ผลงาน Masterpiece เรื่องสุดท้ายของปรมาจารย์ผู้กำกับ Yasujirō Ozu ชีวิตบั้นปลายยามบ่ายของพ่อ จำต้องหาทางส่งเสียลูกสาวให้ได้แต่งงานเป็นฝั่งฝา แม้หาใช่ความตั้งใจก็มิอาจหลบหลีกเลี่ยง เพราะเสี่ยงจะกลายเป็นเหมือนอาจารย์ ผู้มีลูกสาวขึ้นคานเป็นแบบอย่าง, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The End of Summer (1961) : Yasujirō Ozu ♥♥♥♡
หลังจากแม่เสีย พ่อเริ่มหวนกลับไปพบเจอชู้รักเก่า สร้างความว้าวุ่นวายใจให้กับลูกๆหลานๆ จะมาเสียแก่อะไรเอาตอนนี้! แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นวัยกำลังใกล้ลงโลง ไม่ใช่ว่าเราควรปล่อยให้ท่านได้ใช้ชีวิตบั้นปลายตามสุขใจอยากหรอกหรือ? ผลงานสุดท้ายของ Setsuko Hara ในหนังรองสุดท้ายของ Yasujirō Ozu คำพูดประโยคท้ายๆของเธอ ฟังแล้วใจน่าหายไม่น้อย
Equinox Flower (1958)
Equinox Flower (1958) : Yasujirō Ozu ♥♥♥♥
เกิดเป็นพ่อนั้นยากลำบาก สามารถแนะนำคนอื่นให้ได้แต่งงานครองรักกับบุคคลที่ใช่ แต่พอลูกสาวของตนเองแท้ๆ กลับหัวรั้นชนฝาไม่ยินยอมพร้อมใจ แล้วเรื่องวุ่นๆก็เกิดขึ้นใน ‘สไตล์ Ozu’ เมื่อคนรุ่นเก่าต้องศิโรราบต่อโลกยุคสมัยใหม่, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Quiet Man (1952)
The Quiet Man (1952) : John Ford ♥♥♥♥
ผู้กำกับ John Ford พา John Wayne ไปยังประเทศ Ireland ถ่ายภาพชนบทสวยๆ (คว้า Oscar: Best Cinematography, Color) แต่งงานกับ Maureen O’Hara แต่เธอกลับเล่นตัวไม่ยอมให้เข้าห้องหอ เพราะยังไม่ได้เงินค่าสินสอดจำนวน 350 ปอนด์จากพี่ชาย Victor McLaglen กลายเป็นคู่มวยนัดหยุดโลก Tradition vs. Modernity, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Mayabazar (1957)
Mayabazar (1957) Indian : K. V. Reddy ♥♥♥♥♡
หนังเพลง Hollywood ต้องชิดซ้าย Bollywood ชิดขวา กับภาพยนตร์เรื่องที่ชาวอินเดียโหวตให้เป็นอันดับ 1 จากการสำรวจของ CNN-IBN เมื่อปี 2013 คือ Mayabazar หนังเพลงภาษา Telugu (Tollywood) เรื่องราวแฟนตาซีสุดคลาสสิกอลังการ ดัดแปลงจากเทวตำนาน Sasirekha Parinayam ที่ได้แรงบันดาลใจจากมหากาพย์ภารตะ เราจะเห็นพระกฤษณะ (Krishna) พยายามหาทางช่วยอภิมันยู (Abhimanyu) ลูกชายของอรชุน (Arjuna) ให้ได้แต่งงานครองคู่กับศศิเรขา (Sasirekha), “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Fiddler on the Roof (1971)
Fiddler on the Roof (1971) hollywood : Norman Jewison ♥♥♥♥
ก่อนการปฏิวัติรัสเซีย ชาวยิวกลุ่มเล็กๆในเมือง Anatevka, ประเทศ Ukraine อาศัยอยู่ด้วยประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนาน แต่เมื่อโลกภายนอกพยายามแทรกตัวเข้าไปมีอิทธิพล ทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่าง, เล่าเรื่องในลักษณะหนังเพลง เข้าชิง Oscar 8 สาขา ได้มา 3 รางวัล ถ่ายภาพยอดเยี่ยม, บันทึกเสียง และเพลงประกอบดัดแปลงของ John Williams, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Seven Chances (1925)
Seven Chances (1925) hollywood : Buster Keaton ♥♥♥♥♡
(mini Review) Buster Keaton มีโอกาสขอหญิงสาวแต่งงาน 7 ครั้ง เพราะถ้าเขาได้แต่งงานก่อน 7 p.m. (1 ทุ่ม) ในวันเกิดครบรอบ 27 ปี (วันนี้แหละ) จะได้มรดกจำนวน 7 ล้านเหรียญ แต่จะมีผู้หญิงคนไหนที่ตอบตกลงแต่งงานกับเขา, ต้องบอกว่า Keaton ใช้ครบทุกโอกาสอย่างคุ้มค่า ฮาจนทวารทั้ง 7 ปิดไม่ลงเลย
Seven Brides for Seven Brothers (1954)
Seven Brides for Seven Brothers (1954) hollywood : Stanley Donen ♥♥♥♡
หนังเพลงจากผู้กำกับ Singin’ in the Rain (1952) หนุ่มดอย 7 คน มีชีวิตอย่างโดดเดี่ยวอ้างว้าง ตัดสินใจร่วมกันลงมาลักพาตัวหญิงสาวชาวเมือง 7 คน ขึ้นไปอาศัยอยู่ด้วยกัน เพื่อเป็น 7 เจ้าสาวของพี่น้องทั้ง 7 คน