หลังก่อตั้งกลุ่มเคลื่อนไหว Dogme 95 เพื่อทำลายกฎกรอบภาพยนตร์ ให้หลงเหลือเพียงความบริสุทธิ์ของเรื่องราวและการแสดง แต่ทว่าผู้กำกับ Lars von Trier กลับแหกคำปฏิญาณเหล่านั้นเสียเองในการสรรค์สร้าง Breaking the Waves (1996), คว้ารางวัล Grand Prix (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
ป้ายกำกับ: melodrama
The Nightingale’s Prayer (1959)
หญิงบ้านนอกถูกบังคับให้ต้องเดินทางเข้าเมือง ทำงานเป็นคนรับใช้ พบเห็นพี่สาวถูกนายจ้างทำให้สูญเสียเกียรติ ครุ่นคิดวางแผนแก้ล้างแค้น ด้วยการอาสาดูแลงานบ้านชายคนนั้น แล้วละเล่นกลเกมให้เขาตกหลุมรัก แต่โดยไม่รู้ตัวเธอกลับค่อยๆมีใจ
Moscow Does Not Believe in Tears คือสุภาษิตรัสเซีย (Russian Proverb) สอนให้เลิกบ่น หยุดร่ำร้องไห้ หรือเอาแต่เรียกร้องความสนใจ มีปัญหาอะไรควรรู้จักแก้ไขด้วยตนเอง! คว้ารางวัล Oscar: Best Foreign Language Film
มีคำเรียก Odorama เมื่อซื้อตั๋วหนังจะได้รับแผ่นกระดาษ (Scratch-and-Sniff Card) ที่มีหมายเลข 1-10 ระหว่างรับชมพบเห็นตัวเลขอะไร ก็ให้เอาเหรียญขูดๆ สูดดมกลิ่น สดชื่นบ้าง เหม็นหึ่งบ้าง สร้างประสบการณ์แปลกใหม่ในการรับชมภาพยนตร์
Händler der vier Jahreszeiten (1971)
ฤดูกาลกำลังผันแปรเปลี่ยน Rainer Werner Fassbinder หลังจากค้นพบภาพยนตร์ของ Douglas Sirk เกิดความมุ่งมั่นตั้งใจ ‘ต่อจากนี้จะหันมาสร้างหนังสไตล์ Hollywood ใน Germany’ เริ่มต้นจาก The Merchant of Four Seasons (1971) พร้อมเก็บเกี่ยวความสำเร็จโดยทันที!
ลมยิ่งพัดแรง จะสร้างความเสียหายให้กลายเป็นภัยพิบัติ เฉกเช่นเดียวกับมรสุมความรัก ยิ่งเร่งรีบ เร่าร้อน รุนแรง ก็อาจบังเกิดการสูญเสีย บานปลายสู่โศกนาฎกรรม, แต่การจะเข้าถึงภาพยนตร์เรื่องนี้นั้น นักวิจารณ์ Roger Ebert บอกว่าอาจสลับซับซ้อนยิ่งกว่าผลงานชิ้นเอกของผู้กำกับ Ingmar Bergman
ผลงานที่การันตีความสำเร็จใน Hollywood ของ Douglas Sirk ด้วยความพยายาม ‘ชวนเชื่อ’ ให้ผู้ชมลดละทิฐิ ความเห็นแก่ตัว รู้จักทำประโยชน์เพื่อสาธารณะ แต่พฤติกรรมหมกมุ่นมากเกินพอดี ไม่เห็นมันจะมีความ ‘Magnificent’ ตรงไหนกัน?
Flesh and the Devil (1926)
อีกหนี่ง Masterpiece แห่งยุคหนังเงียบ ที่ก่อกำเนิดเรื่องอื้อฉาว (Scandal) ครั้งแรกๆของ Hollywood ระหว่างนักแสดงนำ John Gilbert พบเจอครั้งแรก (ในกองถ่าย) ตกหลุมรัก Greta Garbo ทิ้งลูกทิ้งเมีย (ว่ากันว่า)ขอแต่งงานในกองถ่าย นี่มันชีวิตจริงหรือพล็อตหนังกันเนี่ย, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Make Way for Tomorrow (1937)
Make Way for Tomorrow (1937) : Leo McCarey ♥♥♥♡
ภาพยนตร์ที่มีเนื้อเรื่องราวเป็นแรงบันดาลใจให้ Tokyo Story (1953) พ่อ-แม่เมื่อแก่เฒ่า หลังสูญเสียบ้านเพราะยุคสมัย Great Depression คาดหวังว่าลูกๆจะช่วยเหลืออุปการะ แต่… ถึงแม้ลีลาไดเรคชั่นไม่สไตล์ลิสต์เท่า แต่เล่าแบบ Melodrama ใครกันจะไปกั้นธารน้ำตาไม่ให้หลั่งไหลริน, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Faces (1968)
Faces (1968) : John Cassavetes ♥♥♥♥
ภาพยนตร์ที่จะกระชาก’หน้ากาก’สังคมอเมริกัน เปิดเผยธาตุแท้ตัวตน ปลุกให้ตื่นจากความเพ้อใฝ่ฝัน เพราะโลกความจริงนั้นเต็มไปด้วยสิ่งอัปลักษณ์ หาได้งดงามสวยเลิศหรูเลยสักนิด!
Gertrud (1964)
Gertrud (1964) : Carl Theodor Dreyer ♥♥♥♥♡
Swan Song ของปรมาจารย์ผู้กำกับ Carl Theodor Dreyer ที่มีความเป็น ‘pure cinema’ เน้นถ่ายทำ Long Take เพียง 90 คัทในระยะเวลา 116 นาที ตัวละครแค่พูดคุยสนทนา เดินนั่งสลับตำแหน่ง แต่กลับทรงพลังระดับล้างผลาญ, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Beau Travail (1999)
กองทหารต่างด้าวฝรั่งเศส (French Foreign Legion) ครั้งหนึ่งทำการซ้อมรบด้วยการบุกเข้าไปยังอาคารร้าง ไม่แตกต่างจากวิธีการลัทธิจักรวรรดินิยมเข้ายึดครอบครองอาณานิคม (Colonialism) แต่สถานที่แห่งนี้ไม่ได้มีอะไรสักสิ่งอย่าง แล้วทั้งหมดที่ทำไปเพื่ออะไรกัน?
Crows and Sparrows (1949)
Crows and Sparrows (1949) : Zheng Junli ♥♥♥♡
อพาร์ทเม้นท์เล็กๆแห่งนี้กำลังถูกขาย แล้วผู้เช่าจะย้ายไปอาศัยอยู่ไหน? ลักลอบสร้างขึ้นช่วงบั้นปลายสงครามกลางเมืองจีน เมื่อรัฐบาลก๊กมินตั๋นกำลังพ่ายแพ้ต่อพรรคคอมมิวนิสต์ เชิดชูการร่วมมือร่วมใจเผชิญหน้าอยุติธรรม รับชมปัจจุบันอาจไม่ตระหนักถึงใจความชวนเชื่อสักเท่าไหร่
Frau im Mond (1929)
Frau im Mond (1929) : Fritz Lang ♥♥♥
หนังเงียบเรื่องสุดท้ายที่ถูกหลงลืมของ Fritz Lang แต่ถือเป็นครั้งแรกแบบจริงจังกับภาพยนตร์แนว Sci-Fi สร้างยานอวกาศ นับถอยหลัง จุดระเบิด ไร้แรงโน้มถ่วง ลงจอดบนดวงจันทร์ สุดล้ำไปกับจินตนาการ กลายเป็นแรงบันดาลใจจริงๆให้กับขีปนาวุธ V-2 rocket ของนาซีเยอรมัน
The Water Magician (1933)
The Water Magician (1933) : Kenji Mizoguchi ♥♥♥♥
ปกติแล้วมนุษย์ชอบเล่นกับไฟ (ตัณหาราคะ ความต้องการเอาชนะครอบครอง) แต่หนังเรื่องนี้นางเอกเล่นกับน้ำ จิตใจสงบร่มเย็น ทำหลายสิ่งอย่างเสียสละให้ผู้อื่น แม้แต่ความตายของตนเองเพื่อคนรัก ก็ไม่มีสุขอื่นใดเอ่อล้นมากกว่านี้อีกแล้ว, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Bratya Karamazovy (1969)
Bratya Karamazovy (1969) : Kirill Lavrov, Ivan Pyryev, Mikhail Ulyanov ♥♥♥♥
สามพี่น้อง Karamazov ต้องอดทนกับพ่อผู้ปากร้าย จิตใจเลวทราม วันๆหมกมุ่นสุรานารี ไม่รู้เมื่อไหร่จะตายๆไปเสียสักที กองมรดกจะได้ตกถึงลูกหลาน แต่แค่การคิดแบบนี้ ไม่นานเวรกรรมก็ตามสนองพวกเขาแล้ว, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Day for Night (1973) : François Truffaut ♥♥♥♥
หนังเกี่ยวกับการสร้างหนัง เพื่อคนรักหนังและคนทำหนัง แต่ไม่ใช่สำหรับผู้กำกับ Jean-Luc Godard ที่รอบปฐมทัศน์เดินออกกลางคันอย่างหัวเสีย เขียนจดหมายต่อว่า François Truffaut ว่าทำหนังเรื่องนี้อย่าง ‘หลอกลวง’ เป็นเหตุให้มิตรภาพของทั้งสองขาดสะบั้น ไม่เคยได้พูดคุยกันอีกในชาตินี้
Way Down East (1920) : D. W. Griffith ♥♥♥♡
ขณะธารน้ำแข็งกำลังเคลื่อนไหลเข้าใกล้ถึงน้ำตก มีสองนักแสดงเสี่ยงตายเพื่อผลงานศิลปะ Lillian Gish กับ Richard Barthelmess หญิงสาวนอนสลบไสลไร้สติบนธารน้ำแข็ง ชายหนุ่มต้องหาทางกระโดดข้ามไปมาเพื่อช่วยชีวิตเธอ, ภาพยนตร์โดยปรมาจารย์ผู้กำกับ D. W. Griffith ทำเงินถล่มถลายสูงสุดแห่งปี “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
María Candelaria (1944)
María Candelaria (1944) Mexican : Emilio Fernández ♥♥♥♥
หนังรางวัล Grand Prix (Palme d’Or) และ Best Cinematography จากเทศกาลหนังเมือง Cannes, เรื่องราวดั่งภาพวาดชีวิตของ María Candelaria หญิงสาวจนๆอาศัยอยู่ที่ Xochimilco ประเทศเม็กซิโก ก็ไม่รู้กรรมเวรอะไร แทบทุกคนในเมืองแห่งนี้รังเกียจต่อต้านไม่ยอมรับ จะมีไหมใครสักคนรู้จักรักเธอด้วยความบริสุทธิ์จริงใจ
Meghe Dhaka Tara (1960)
Meghe Dhaka Tara (1960) : Ritwik Ghatak ♥♥♥♥♡
ผลงาน Masterpiece เรื่องนี้มีความลึกล้ำในทุกๆระดับ, หน้าหนังเล่าถึงความเหน็ดเหนื่อยของหญิงสาว ที่ต้องทำงานหาเงินเลี้ยงดูแลครอบครัวเพียงลำพัง เพราะพ่อเจ็บป่วย แม่ไม่ได้ทำงาน พี่ชายเอาแต่เพ้อฝัน น้องสาวไล่จับผู้ชาย ฯ แต่ใจความของหนังเป็นการแสดงทัศนะของผู้กำกับ Ritwik Ghatak ต่อเหตุการณ์แบ่งแยกดินแดน 1947 (Partition of India), ถึงคุณไม่ใช่คนอินเดีย ยังขอแนะนำว่า “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”